วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ศรช.มีคณะกรรมการไหม, โปรแกรม ITw (Windows 8 ตัวยึกยือ, สอบซ่อมได้ 0 เกรดไม่ขึ้น, เทียบระดับฯสูงสุดฯ, คำว่า “ของ” ใน “ปรัชญา ของ เศรษฐกิจพอเพียง”, ให้มีครูประจำกลุ่ม 3 ประเภทเท่านั้น, จ่ายเงินเดือนจากเงินเหลือจ่าย



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. คุณธณัชชา ครู กศน.ตำบล กศน.อ.เมืองนครราชสีมา ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  กศน.ตำบลจำเป็นต้องมีคณะกรรมการ กศน.ตำบลไหม ถ้าต้องมี กรอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคืออะไร   และถ้าเป็น ศรช. จะต้องมีกรรมการด้วยรึปล่าว
             ( มีผู้ตอบว่า  ศรช. เป็นส่วนหนึ่ง ของ กศน.ตำบล ใช้คณะกรรมการ กศน.ตำบล ชุดเดียวกัน )

             วันที่ 15 ต.ค.56 ผมตอบว่า
             จริง ๆ แล้ว ถ้ามีมากกว่าตำบลละ
1 แห่ง จะให้แห่งหนึ่งเป็น กศน.ตำบล ส่วนแห่งอื่น ๆ เป็น ศรช.  ( ผู้ที่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ จะไม่ชินกับการมีมากกว่าตำบลละ 1 แห่ง เพราะแค่แห่งเดียวก็ตั้งยากแล้ว )    ถ้าตำบลใดมีแห่งเดียว ก็ให้เป็น กศน.ตำบลไปเลย   ถ้าตำบลใดมีมากกว่า 1 แห่ง แห่งอื่น ๆ จะเป็น ศรช.  จะมีคณะกรรมการของแต่ละ ศรช. ต่างหาก
             ดูในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. 2552 ที่ http://web.krisdika.go.th/.../%ca80/%ca80-2g-2552-a0001.pdf
             - ถ้าเป็นศูนย์การเรียนชุมชนระดับชุมชน ( หมู่บ้าน  หรือ ชุมชนในเขตเทศบาล/กทม. ฯลฯ ) ประกาศจัดตั้งโดย กศน.อำเภอ/เขต ตามระเบียบข้อ 6 (1)  สามารถจัดตั้งได้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ตามความพร้อม  ( แต่งตํ้งคณะกรรมการตามระเบียบข้อ 9  ส่วนหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปตามระเบียบข้อ 10 )
             - ถ้าเป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ( มีตำบลละแห่งเดียว )  ปัจจุบันเปลี่ยนไปตั้งเป็น กศน.ตำบลแทน
             คณะกรรมการ กศน.ตำบล ดูในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ.2553 ที่  http://www.nfe5110.com/showdownload2.php?no_pp=682  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตามระเบียบข้อ 9  ส่วนหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปตามระเบียบข้อ 12


         2. วันเดียวกัน ( 15 ต.ค.) “บทเรียนชีวิต ที่แลกมาด้วยอนาคต” กศน.ดอยสะเก็ด ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  โปรแกรม itw51 เอาไปติดตั้งในโน๊ตบุ๊คเป็นwindow8 เข้าโปรแกรมแล้วตัวอักษรอ่านไม่ได้ ต้องแก้ไขยังไง

             เรื่องนี้  คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ITw  บอกว่า  ถ้าหา Control Panel เจอ ก็เซ็ทคล้าย Windows 7 คือ เข้าไปที่ Control Panel > Region > Administrative > Change System Locale > Thai  แล้ว Reboot เครื่อง


         3. วันที่ 16-18 ต.ค.56 ผมไปเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ของสำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา

             ในระหว่างการประชุม มีผู้เข้าประชุมด้วยกันคือ ครู กศน.อ.บางปะหัน ถามผมว่า  คะแนนสอบซ่อมถ้าได้ 0  เมื่อคีย์เลข 0 ลงในโปรแกรม ITw จะไม่มีเกรดขึ้นมา  ต้องทำอย่างไร  และถ้าขาดสอบซ่อม จะคีย์อย่างไร

             เรื่องนี้  คุณสุขุม  ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ITw บอกว่า  ไม่มีเกรดขึ้นมา ก็คือ เกรดเป็น 0  ( จะไม่ปรากฏในใบ รบ. ) โดยถ้าคะแนนระหว่างภาค รวมกับคะแนนสอบซ่อม ไม่ถึง 50 จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดเป็น 0 )    ถ้าขาดสอบซ่อม ก็ไม่ต้องคีย์ข้อมูลใดลงไป ปล่อยว่างไว้ ซึ่งก็จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดไม่ขึ้นก็คือเกรดเป็น 0 เช่นกัน )


         4. คืนวันที่ 22 ต.ค.56 ผมเผยแพร่เรื่องการจ่ายเงินเดือนต้นปีงบประมาณจากเงินเหลือจ่าย ในเฟซบุ๊ค ดังนี้
เย็นวันที่ 22 ต.ค. ท่านรอง ผอ.สนง.กศน.จังหวัดหนึ่ง ( รอง ผอ.ป้ายแดง ) ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า "เงินเดือนครู ศรช.เดือนตุลาคม 2556 นี้ จะใช้เงินงบอุดหนุนที่เหลือจ่ายจากปี งปม.2556 มาจ่ายได้หรือไม่"
เรื่องนี้ หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ กลุ่มงานคลัง กศน. ตอบว่า ถ้าจังหวัดไหน มีเงินอุดหนุนปี 56 เหลือ และทำเรื่องกันเงินไว้ โดยวางฎีกาเบิกเงินอุดหนุนมาเข้าบัญชีออมทรัพย์แล้ว ก็สามารถเบิกจ่ายเป็นเงินเดือนครู ศรช. ต่อไปได้
( เงินอุดหนุนที่กันเงิน นำเข้าบัญชีออมทรัพย์ไว้นี้ ใช้เบิกจ่ายได้เฉพาะที่เคยเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุน )


         5. วันปิยมหาราช 23 ต.ค.56 ผมนำปฏิทิน เทียบระดับฯเดิม+กศ.ขั้นพื้นฐาน+เทียบระดับฯสูงสุดฯ  ปี งปม.57  ของคุณณัฐมน กลุ่มพัฒนา กศน. มาเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค  โดยสรุปในส่วนของการเทียบระดับฯสูงสุดฯ ว่า
             - ปฐมนิเทศ ม.ค.57
             - สอบของ สทศ. เหลือครั้งเดียว

             1)  การคุมสอบ
                  - กรรมการคุมสอบ ต้องไม่เป็นบุคลากรสังกัด กศน.
                  - ไม่ให้ครูที่ปรึกษามายุ่งเกี่ยวกับการจัดสอบ
                  - ผู้เข้าสอบต้องนำ บัตรประชาชน และ บัตรผู้เข้าเทียบระดับ ไปในวันสอบด้วย
             2)  เฉพาะในส่วนการสอบของ กศน. สามารถเพิ่มสนามสอบได้ 500 คนต่อ 1 สนามสอบ   สำหรับสนามสอบในส่วนของ สทศ. ให้ตกลงกับ สทศ.
             3)  แผนการดำเนินงาน
                  - พ.ย.-ธ.ค. รับสมัคร
                  - ม.ค. ปฐมนิเทศ/แนะแนว
                  - ม.ค.-ส.ค. ทบทวนความรู้/จัดเตรียมแฟ้มประสบการณ์
                  - เม.ย. สอบทฤษฎีของ กศน. ครั้งที่ 1
                  - 10-11 พ.ค. สอบทฤษฎีของ สทศ. ( เหลือครั้งเดียว )
                  - ก.ค. สอบทฤษฎีของ กศน. ครั้งที่ 2
                  - มิ.ย.-ก.ค. ประเมินประสบการณ์ ครั้งที่ 1
                  - ส.ค. ประเมินประสบการณ์ ครั้งที่ 2
                  - ก.ย. อนุมัติผล

             ( ดูที่ http://www.pattanadownload.com/download/g.3/g3.28.PDF )






         6. วันเดียวกัน ( 23 ต.ค.) คุณศรีสุดา ขรก.ครู กศน.อำเภอวังหิน ถามผมทางอีเมล ว่า  เรียน ปริญญาโท กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ... ..."  คำว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คำไหน เป็นคำที่ถูกต้อง  ท่าน ผศ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตัดคำว่า "ของ" ออกไป  สื่อ เช่น คำแถลงนโยบายรัฐบาล, นโยบายกศน.ปี ๕๖, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑, แผนการศึกษาแห่งชาติ  เป็นต้น  มีคำว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด  แต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีคำว่า "ของ"  และท่านผอ.กศน.อำเภอ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยให้ ก็ติงเช่นเดียวกันว่าใช้คำไม่ถูกต้อง   จะมีสื่อไหนที่สามารถอ้างอิงที่มาที่ไปของแต่ละคำได้คะ
             ผมตอบว่า

             ความเป็นมาของคำว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว ตั้งแต่ในโอกาสที่พระองค์ท่านไปในงานพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2517 เป็นต้นมา  พระองค์ท่านจะรับสั่ง หรือมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด   จนถึงช่วงปี 2539-2540 ประเทศไทยมีวิกฤติเศรษฐกิจ พระองค์ท่านก็เน้นย้ำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น จนพวกเราได้ยินและรู้จักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น หลายส่วนก็อยากจะนำไปใช้ แต่ว่า ณ วันนั้น หลักฐาน คำนิยมต่างๆ ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ค่อยจะมี

             ทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็คิดจะเขียนแผนฯ 9 ให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เพราะไม่มีนิยามที่เป็นลายลักษณ์อักษร

             จึงระดมผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่ง รวมทั้งผู้ใหญ่ในสภาพัฒฯ ร่วมกันยกร่างนิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้นมาเป็นบทความชื่อ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์มาจากพระบรมราโชวาทตามโอกาสต่างๆ

             และทำจดหมายกราบทูลไปยังสำนักราชเลขาฯ เพื่อขอพระบรมราชานุญาติให้พระองค์ท่านวินิจฉัยว่า นิยามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ ถูกต้องหรือไม่

             จากการที่ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์พระบรมราโชวาทต่าง ๆ พบว่า คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเพียงเรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่หมายรวมถึงความพอเพียงในเรื่องอื่นๆ ด้วย  จึงมีข้อสรุปว่าควรใส่คำว่า ของ ไว้ข้างหน้า เศรษฐกิจพอเพียง  กล่าวคือ ถ้าเป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตรง ๆ จะหมายถึงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ถ้าเป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นหลักคิด แนวคิด กรอบคิด ฯลฯ ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะมีความหมายที่กว้างและครอบคลุมทุกด้าน

             พระราชเลขาฯ ได้เสนอบทความกราบบังคมทูล   พระองค์ท่านก็ได้พิจารณาบทความดังกล่าว และทรงแก้ไขลงมาให้ ว่าที่นำเสนอมา ได้ปรับแก้ให้แล้ว  และส่งกลับไปยังสภาพัฒฯ ว่า ให้เอาไปใช้และเผยแพร่ต่อไปได้  โดยไม่ได้ทรงปรับแก้ในส่วนคำว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

             จดหมายฉบับที่สำนักพระราชเลขาฯ ทำตอบกลับมายังประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีข้อความว่า

             ... ตามที่ท่านได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย บทความเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำบทความดังกล่าวไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป นั้น

             ... ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว  ทรงกระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานญาต ตามที่ขอพระมหากรุณา

             จดหมายนี้ จึงเป็นครั้งแรกที่พวกเราได้มีนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมิต้องไปเดาสุ่มอะไร และเราใช้บทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นี้ เป็นเอกสารอ้างอิงในการดำเนินการต่าง ๆ



         7. วันที่ 24 ต.ค.56 ผมเผยแพร่หนังสือราชการ 2 ฉบับ เรื่องให้จ้างครูประจำกลุ่มเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ในเฟซบุ๊ค   หนังสือ 2 ฉบับนี้ เป็นหนังสือเก่า แต่ ยังไม่เคยมีหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงประเด็นนี้
             อนึ่ง ในช่วงนี้ มีเอกสารออกมาอีก 2 ฉบับ ที่กำหนดประเด็นนี้ คือ

             1)  แนวนโยบายจุดเน้นการปฏิบัติในการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( ส่งตามหนังสือสำนักงาน กศน.ที่ ศธ 0210.03/5504 ลงวันที่ 12 พ.บ.56 )
                  กำหนดไว้ในย่อหน้าท้ายของแนวนโยบายที่ 1 ว่า  “สำหรับครูประจำกลุ่ม ให้มีได้ 3 ประเภทเท่านั้น คือ กลุ่มทหาร กลุ่มนักศึกษาในเรือนจำ และกลุ่ม อสม.  ทั้งนี้ อนุโลมให้แต่งตั้งบุคลากร/เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงาน กศน.จังหวัด ครูบรรณารักษ์ ครูคนพิการ ที่ไม่มีวุฒิครูแต่ต้องการมีวุฒิครู เป็นครูประจำกลุ่มได้ ทั้งนี้ต้องไปทำการสอน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทน และเมื่อมีวุฒิ ป.บัณฑิตแล้วไม่ต้องเป็นครูประจำกลุ่มอีก”  ( ดูรายละเอียดที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/pt157.pdf )

             2)  สรุปการประชุมและการมอบหมายภารกิจ จากการประชุมชี้แจงนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2547 วันที่ 24-25 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า จ.สงขลา

                  สรุปไว้ในข้อ 4.5 ว่า  “การจ้างครูประจำกลุ่ม ห้ามไม่ให้จ้างครูประจำกลุ่มประเภทนักศึกษาปกติ ให้จ้างครูประจำกลุ่มเฉพาะกลุ่มเป้าหมายทหาร ผู้ต้องโทษในเรือนจำ และ อสม.”  ( ดูรายละเอียดได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/policy57.pdf )



            ( นอกเหนือจากนี้ ให้จ้างเป็นครู ศรช. ถ้ารับผิดชอบนักศึกษาไม่ครบ 60 คน ให้เบิกรายหัว ๆ ละไม่เกิน 150 บาท/เดือน )

             สำหรับหนังสือราชการเก่าที่ผมเผยแพร่ คือ









วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อายุต่ำกว่า 15 ต้องเรียน 3 ปี (โปรแกรม ITw รุ่น 7 ต.ต.56), เพิ่มมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูจาก 9 เป็น 11 ข้อแล้ว, สำรวจอบรมครู กศน.ปี 57 อีก, อัพโหลดผู้เข้าสอบเทียบสูงสุดครั้งที่ 2 ภายใน 17 ต.ค.



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  4  เรื่อง ดังนี้


10 ต.ค.56  รมว. จาตุรนต์ ฉายแสง แจกถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ที่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา




         1. วันที่ 7 ต.ค.56 คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ITw ได้ส่งลิ้งค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้ง ITw51 2.0 รุ่น 7 ต.ค.56 มาให้ผม    โปรแกรมรุ่นใหม่นี้ มีรายการแก้ไขดังนี้

             1)  เพิ่มรหัสกลุ่มเป้าหมายใหม่ อีก 4 กลุ่ม  รวมเป็น 27 กลุ่ม  คือ
                  -
24 เด็กต่างด้าว (อายุ 6-15 ปี)
                  -
25 เด็กชาวเล
                  -
26 เด็กเร่ร่อน
                  -
27 ผู้หนีภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
                สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่
24-26
( เด็กต่างด้าว เด็กชาวเล เด็กเร่ร่อน )  จะมีการเช็คเงื่อนไขการจบต่างจากปกติคือ ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 3 ปี (ยกเว้นมีการเทียบโอน)   และอายุต้องไม่น้อยกว่า 12 ปีในวันที่จบ
             2)  แก้ไขรายงานสรุปผลการลงทะเบียนตามกลุ่ม/ตำบล ให้แสดงผลแต่ละกลุ่ม/ตำบล ด้วยจำนวนวิชาที่ไม่เหมือนกัน   และเพิ่มปุ่มบันทึกรายงานเป็น
Excel
             ใครสนใจ ดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้ง ได้ที่
             -
https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/itw51_07102013_setup.zip   หรือ
             -
https://docs.google.com/file/d/0B6tQobXfGWLEa0UxNENIWWlmcUk/edit?usp=sharing

เตรียมกันได้แล้ว ..
10 ต.ค.56  ประชุมสรุป "สุดยอด กศน. 56" และเตรีบมจัด "สุดยอด กศน. 57"



         2. วันที่ 4 ต.ค.56 ประกาศใช้ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.56  โดยยกเลิกข้อบังคับและประกาศฉบับเก่าที่เกี่ยวข้อง

            เนื้อหาสาระที่ข้อบังคับฯฉบับใหม่นี้ แตกต่างจากฉบับเก่า เช่น
             ก. มาตรฐานความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพครู มี 11 ข้อ ( เดิมมี 9 ข้อ )  คือ
                  1)  ความเป็นครู  ( เดิม อยู่ข้อสุดท้าย ย้ายมาเป็นข้อแรก )
                  2)  ปรัชญาการศึกษา  ( เพิ่มใหม่ )
                  3)  ภาษาและวัฒนธรรม  ( เพิ่มใหม่ )
                  4)  จิตวิทยาสำหรับครู  ( เดิม )
                  5)  หลักสูตร  ( เดิมคือ การพัฒนาหลักสูตร )
                6)  การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน  ( รวม 2 ข้อเดิม เป็นข้อเดียว คือ การจัดการเรียนรู้ กับ การบริหารจัดการในห้องเรียน )
                  7)  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  ( เดิมคือ การวิจัยทางการศึกษา )
                  8)  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  ( เดิม )
                  9)  การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้  ( เดิมคือ การวัดผลและประเมินผลการศึกษา )
                 10)  การประกันคุณภาพการศึกษา  ( เพิ่มใหม่ )
                 11)  คุณธรรม จริยธรรม ละจรรยาบรรณ  ( เพิ่มใหม่ )
                 ( ข้อเดิมที่ตัดออกไปคือ ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู )

             ข. มาตรฐานความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา มี 7 ข้อ ( เดิมมี 10 ข้อ ),    ปรับแก้มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา,    เพิ่มมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์,    เพิ่มหมวดมาตรฐานการปฏิบัติตน

             ค. บทเฉพาะกาล
                 - ให้สถาบันซึ่งจัดการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาหรือประกาศนียบัตร ใช้หลักสูตรเดิมได้ไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ 5 ต.ค.56
                 - ผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเดิม ให้ขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับแต่วันที่สำเร็จการศึกษา
                 - คุณวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรเดิม ให้ใช้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ 5 ต.ค.56


             ดูรายละเอียด ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/TeacherStandards56.PDF   



         3. ตามที่มีผู้ยังไม่ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพครู กศน. และเคยสำรวจเพื่อจะเข้าโครงการในปี 57 นั้น  ตอนนี้ให้จังหวัดแจ้งรายชื่ออีกครั้ง ภายในวันที่ 25 ต.ค.56  ( สำรวจให้หมดนะ จะได้ไปรับเข็มวิทยพัฒน์ที่พัทยา )   ดูรายละเอียดที่
             http://203.172.142.111/webnfe/index.php?option=com_content&view=article&id=36728:---2557&catid=110:2010-11-29-13-37-01&Itemid=205




         4. เรื่องการสอบภาคทฤษฎี เทียบระดับฯขั้นสูงสุดฯ ครั้งที่ 2   ให้สถานศึกษาดาวน์โหลดฟอร์มข้อมูลนักเรียน จากเว็บ สทศ. ที่ http://www.niets.or.th/nnet8m/examweb/frmlogin.aspx  ในเมนู "ข้อมูลนักเรียน"  มากรอกเติมเฉพาะ "เลขประจำตัวนักเรียน" ( เลขประจำตัวนักศึกษา 10 หลัก ไม่ต้องมีขีด ตามคู่มือดำเนินงานฯ หน้า 63 ข้อ 6.2 )   ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ให้ตรวจสอบที่คีย์ไว้ให้แล้ว ถ้าพบข้อผิดพลาด แก้ไขเองไม่ได้ ให้ติดต่อ สทศ. 02-217-3800
             จากนั้น นำส่ง ( อัพโหลด ) ข้อมูลนักเรียน ขึ้นเว็บ  ระหว่างวันที่ 11-17 ต.ค.56   และให้จังหวัดตรวจสอบ-จัดห้องสอบ-สนามสอบ ภายใน 20 ต.ค.56  ( ดูรายละเอียดในคู่มือฉบับสีส้ม ที่แจกครั้งที่แล้ว )