วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเมินฯภายนอก ปี 57 ระยะแรก ช่วง 2, จะทำแผนบูรณาการหรือแผนรายวิชา-บันทึกหลังสอนวันละกี่ครั้ง, จัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ต้องเป็นกลุ่ม OTOP หรือ MBA หรือไม่, คำว่า แผนปฏิบัติราชการ กับแผนปฏิบัติงาน, ขอโอนมา กศน., 4 ปี จึงย้ายได้, งบพัฒนาผู้เรียนจ่ายค่าอะไรได้



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 12 ก.พ.57 ผมเผยแพร่กำหนดการประเมินฯภายนอก ปี 57 ระยะแรก ว่า  ช่วงที่ 2 ใน 20 จังหวัด 177 อำเภอ/เขต  เข้าประเมินระหว่างวันที่ 5 ก.พ.- 7 มี.ค.57  
             ( ประกาศรายชื่อคณะกรรมการประเมินฯแต่ละแห่ง http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/download.php?LinkPath=../../upload/NewsPublish/download/2641-8158-0.pdf&DownloadFile=2641-8158-0.pdf&DownloadID=3902&path=../../upload/NewsPublish/download/2641-8158-0.pdf )

             20 จังหวัด ประกอบด้วย
             กรุงเทพมหานคร, ชัยภูมิ, นครราชสีมา ( 20 อำเภอ), นครสวรรค์, ปราจีนบุรี, เพชรบูรณ์, พัทลุง, พิจิตร, พิษณุโลก, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ร้อยเอ็ด, เลย, ลำปาง, สระแก้ว, สุโขทัย, สุรินทร์, อุดรธานี,
อุบลราชธานี และ อุทัยธานี

         2.
ดึกวันเดียวกัน ( 12 ก.พ.) ครูเรวัตร สังกัดเขตราชเทวี ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  แผนการสอน 9 ชม ในภาคเรียนนี้ ต้องทำเป็นแผนรายวิชาใช่ไหม (ที่ผ่านมาทำเป็นแผนบูรณาการ)  และถ้าเป็นรายวิชา การเขียนบันทึกหลังการสอนต้องทำทุกรายวิชาหรือเปล่า  ทุกวิชาต้องสอนครบ 18 ครั้งหรือเปล่า หรือเอาแต่ละวิชามาสอนต่อๆ กันใน 7 วิชา ให้ครบ 9 ชม ใน 18 ครั้ง

             ผมตอบว่า
             1)  จะทำเป็นแผนรายวิชา หรือแผนบูรณาการ ก็ได้เหมือนเดิม
             2)  การเขียนบันทึกหลังการสอน ต้องบันทึกหลังสอนทุกครั้ง ตามแผนการสอนแต่ละแผน
                  แผนการสอน 1 แผน ต้องใช้เวลาสอนไม่เกิน 1 วัน  เช่น ในวันที่ 1 นาย ก. สอน 1 ชั่วโมง  ต่อด้วยนาง ข. สอนอีก 2 ชั่วโมง   นาย ก. ก็ทำแผนการสอน 1 ครั้ง เมื่อสอนจบก็บันทึกหลังการสอน   ส่วนนาง ข. อาจทำแผนการสอน 1 หรือ 2 ครั้งก็ได้  ถ้าทำแผนการสอนแบบบูรณาการ อาจทำแผนครั้งเดียว 2 ชั่วโมง เมื่อสอนจบตามแผน 2 ชั่วโมงแล้วจึงบันทึกหลังการสอน 1 ครั้ง   ถ้าทำแผนการสอนรายวิชา เป็นวิชาเดียว 2 ชั่วโมง ก็ทำแผนการสอน 1 ครั้ง สอนจบ 2 ชั่วโมง จึงบันทึกหลังการสอน 1 ครั้ง   แต่ถ้า 2 ชัวโมงนั้น แยกสอน 2 รายวิชาต่อกัน อาจแยกทำแผนการสอน 2 แผน หรือรวมแผนการสอนเป็น 1 แผนก็ได้  แต่กรณีนี้ควรแยกแผนการสอนออกเป็น 2 แผนให้ชัดเจน  ถ้ามี 2 แผน ก็บันทึกหลังการสอน 2 ครั้ง   ( สรุปคือ เมื่อสอนตามแผนการสอน 1 แผนเสร็จ ก็บันทึกหลังการสอน 1 ครั้ง  โดยแผนการสอน 1 แผน ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาสอนเพียง 1 ชั่วโมง )
                  3)  ทุกวิชาไม่จำเป็นต้องสอน 18 ครั้ง แล้วแต่เราจะทำแผนการสอนแบบใดก็ได้  ถ้าเป็นแผนการสอนรายวิชา แต่ละสัปดาห์อาจสอนหลายวิชา หรือสอนสัปดาห์ละแค่ 1-2 รายวิชา ให้จบรายวิชานั้น ๆ ไป แล้ว สัปดาห์ที่ 4-5 ก็สอนวิชาอื่น ก็ได้   วิชาที่หน่วยกิตมาก มีเนื้อหาที่ยาก ก็ต้องใช้เวลาสอนที่มากกว่าวิชาที่หน่วยกิตน้อยหรือวิชาที่ง่ายเรียนด้วยตนเองได้


         3.
วันที่ 18 ก.พ.57 คุณ "Supa Boo" ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  ต้องเป็นกลุ่ม OTOP หรือ MBA อะไรหรือเปล่า

             ผมตอบว่า   เนื่องจากในปีก่อน กศน.อำเภอมักจะจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนโดยฝึกอาชีพเป็นหลักสูตรเพียง 30-50 ชั่วโมง ซึ่งจะได้รับความรู้น้อย ไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพตามนโยบายรัฐบาลได้จริง และจัดสอนหลักสูตร "OTOP MINI MBA" ค่อนข้างน้อย   ส่วนกลางจึงเน้นให้ จัดสอนหลักสูตรอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่มีจำนวนชั่วโมงสอนตั้งแต่ 50-100 ชั่วโมง และ 100 ชั่วโมงขึ้นไป  รวมทั้งจัดอบรมหลักสูตร "OTOP MINI MBA" ให้แก่สมาชิกกลุ่ม OTOP "ให้มากขึ้น"


         4.
เย็นวันเดียวกัน ผมตอบคำถามที่สองของคุณ Supa Boo ที่ถามว่า  สรุปผลการทำงานประจำปีของสถานศึกษา ควรใช้ว่า สรุปผลการปฏิบัติราชการ หรือสรุปผลการปฎิบัติงาน สองอย่างนี้มีข้อแตกต่างอย่างไร ตอนนี้หาข้อสรุปตอบท่านผู้บริหารไม่ได้

             ผมตอบว่า   ปัจจุบันมีการใช้สองคำนี้ปะปนกัน บางอำเภอเคยใช้แผนปฏิบัติงาน-สรุปผลการปฏิบัติงาน พอเห็นส่วนกลางใช้คำว่าแผนปฏิบัติราชการ ก็เปลี่ยนไปใช้ตามบ้าง   ที่จริง คำว่าแผนการปฏิบัติราชการ หรือสรุปผลการปฏิบัติราชการ จะเป็นแผนที่ระบุข้อมูลกว้าง ๆ ว่า แต่ละยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ มีโครงการอะไรบ้าง และระบุ "หน่วยงานรับผิดชอบ" แต่จะไม่ระบุกิจกรรมย่อย ๆ ของแต่ละโครงการ และไม่ระบุระยะเวลาในการดำเนินโครงการที่ละเอียดว่าดำเนินการในวัน/เดือนใด  หน่วยงานที่ทำแผนการปฏบัติราชการคือ หน่วยงานระดับกรม หรือหน่วยงานที่มี “หน่วยงานดำเนินงาน” อยู่ในในสังกัดหลายหน่วยงาน
             ส่วน แผนปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติการ (
Action Plan ) เป็นแผนที่ระบุรายละเอียดของแต่ละโครงการว่า มีขั้นตอน/กิจกรรมอะไรบ้าง ดำเนินการในวัน/เดือนใด และระบุ "ผู้รับผิดชอบ"   หน่วยงานที่ทำแผนปฏิบัติงานคือ หน่วยงานดำเนินงาน เช่น สถานศึกษา กศน.อำเภอ/เขต


         5.
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ถามผมเรื่องขั้นตอนการขอย้ายจากต่างสังกัด มาสังกัด กศน. ถึง 3 คน ( ตอนที่ถามคนแรก ผมก็ตอบสั้น ๆ ว่าให้ติดต่อ กจ.กศน. แต่เมื่อถามถึง 3 คน จึงเรียบเรียงคำตอบให้ยาวขึ้น )
             ตอบว่า   การโอนจากต่างสังกัดมา กศน. ( สป.ศธ.) ไม่มีกำหนดช่วงเวลาว่าขอโอนได้เมื่อไร ( ถ้าข้ามสังกัด หรือเปลี่ยนตำแหน่ง จะใช้คำว่าโอน )  ยื่นได้ตลอด แต่ขึ้นอยู่กับระเบียบและนโยบายผู้บริหารว่าจะรับโอนเราหรือไม่

             ระเบียบ เช่น ถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่ง เราต้องมีคุณสมบัติตามตำแหน่งใหม่ ถ้าจะโอนเป็นครูก็ต้องมีปริญญาทางที่กำหนด มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นต้น
             ส่วนนโยบายผู้บริหาร แต่ละยุค นโยบายอาจต่างกัน เช่น ยุคที่ผ่านมา กำหนดนโยบายว่า ต้องเคยทำงาน กศน.มาก่อน อายุไม่เกิน
35 ปี มีประวัติการทำงานที่ดี  ยุคนี้อาจมีนโยบายให้นำอัตราว่างทั้งหมดมาสอบบรรจุคนภายในก่อน เสร็จแล้วถ้ายังมีอัตราว่างจึงจะรับโอน เป็นต้น

             ขั้นตอนการขอโอนมาสังกัด กศน. ( สป.ศธ.)

             1)  เจ้าตัวผู้จะขอโอนต้องหาอัตราว่างที่จะรับโอนก่อน  โดยถ้าต้องการโอนมาที่ไหน ก็ติดต่อสอบถามที่นั่น ว่ามีอัตราว่างไหม  หรือติดต่อสอบถามกลุ่มการเจ้าหน้าที่.กศน. ( 02-2822159 ) ว่ามีหรือจะมีอัตราว่างที่ไหนหรือไม่  ( แต่ถ้าจะโอนโดยนำอัตราเงินเดือนตามตามมาด้วย ก็ง่ายเลย ไม่ต้องมีอัตราว่าง เพียงแต่ที่เดิมเขามักจะไม่ยอม เพราะเขาจะบรรจุคนใหม่แทนเราไม่ได้ )
             2)  เจ้าตัวผู้จะขอโอน ไปติดต่อ สป.ศธ. ( กศน.) หรือผู้บริหารหน่วยงานที่มีความประสงค์จะโอนไป ว่ายินดีจะรับโอนหรือไม่ ( นำหลักฐานวุฒิการศึกษา และสำเนา ก.พ.
7 ไปประกอบการพิจารณาด้วย )   ถ้ามีตำแหน่งว่างที่จะรับโอน และยินดีรับโอน ก็ขอให้ทำบันทึกข้อความว่ายินดีจะรับโอน ให้ด้วย
             3)  เจ้าตัวผู้จะขอโอน เป็นผู้ทำเรื่องขอโอนผ่านต้นสังกัดเดิม โดยแนบบันทึกยินดีรับโอนไปประกอบการพิจารณาด้วย
             4)  ต้นสังกัดเดิมพิจารณา ทำเรื่องขอโอน ส่งมาที่ สป.ศธ. ( กศน.)
             5)  สป.ศธ. ( กศน.) ออกคำสั่งรับโอน ส่งไปยังต้นสังกัดเดิม
             6)  ต้นสังกัดเดิมออกคำสั่งให้โอน และมีหนังสือส่งตัวผู้ขอโอนพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ก.พ.7 มารายงานตัวที่ สป.ศธ. ( กศน.)
             หมายเหตุ  ขั้นตอนต่าง ๆ นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ควรติดต่อสอบถามข้อมูลจาก กลุ่มการเจ้าหน้าที่ กศน.


         6.
วันที่ 21 ก.พ.57 ที่ประชุม ก.ค.ศ. ให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ โดยกำหนดว่า ผู้ที่ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วย จะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 4 ปีจึงขอย้ายได้ เพื่อจะลดปัญหาครูขอย้ายออกนอกพื้นที่ได้ช่วงเวลาหนึ่ง


         7.
เย็นวันที่ 21 ก.พ.57 คุณ “Kungking Mn กศน.อ.พาน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การเบิกจ่ายตามโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในส่วนของกีฬาและนันทนาการ สามารถเบิกอะไรได้บ้าง

             ผมตอบว่า   ถามกว้างจัง น่าจะถามว่า จ่ายค่านั่นได้ไหม จ่ายค่านี่ได้ไหม  ถามกว้างก็ตอบกว้าง ๆ  ในคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่องของ กป.กศน. เขาพูดถึงการจ่ายงบพัฒนาผู้เรียนจากเงินอุดหนุนไว้ด้วย ว่า  งบพัฒนาผู้เรียน ( เงินอุดหนุน ) ทุกกิจกรรม จ่ายเป็นค่าวัสดุได้ เช่นค่าวัสดุกีฬา แต่จ่ายกับตัวผู้เรียนไม่ได้ ( คือจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้ผู้เรียนไม่ได้ จ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มไม่ได้ ) เพราะผู้เรียนไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ  ส่วนอาหารมื้อหลักจ่ายได้เฉพาะลักษณะเข้าค่ายที่ใช้สถานที่เอกชนหรือส่วนราชการอื่น โดยจ่ายให้เอกชนหรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้รับเงิน ให้เขาเป็นผู้จัดอาหารมื้อหลักให้ และไม่ต้องเชิญแขกผู้มีเกียรติ เพราะการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นงานประจำตามปกติของสถานศึกษา  จ่ายค่ายานพาหนะและค่าเช่าที่พัก/ค่าเช่าสถานที่ได้


วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เขียนชื่อ กศน.ตำบล และหน่วยงาน กศน.ต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ, การรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น, แนวข้อสอบ ศน., ออกจากประกันสังคม, คุมสอบคนเดียวได้ไหม, ชื่อรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ, คุณสมบัติสอบ ผอ.-รอง ผอ.



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


        
1. วันเสาร์ที่ 8 ก.พ.57 คุณประชิต หัวหน้า กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.จังหาร ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  กศน.ตำบล เขียนภาษาอังกฤษแบบไหน

             ผมตอบว่า
            
- ดูชื่อหน่วยงาน กศน.ภาษาอังกฤษ ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/stk.pdf
            
- ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง พ.ศ. 2553 ข้อ 3  ที่  http://www.nfe5110.com/acc/a2945142gorsornortambol.pdf   กำหนดชื่อเต็มของ กศน.ตำบลหรือแขวง คือ  "ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง"  จึงเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า  "ชื่อตำบล Sub-District Non-formal and Informal Education Centre"
            
- ถ้าเป็น กศน.อำเภอ เช่น กศน.อ.นครหลวง เขียนว่า  Nakhon Luang District Non-Formal and Informal Education Centre.
            
- ดูชื่อตำบล ภาษาอังกฤษ ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/Tambol.xls
            
- ดูชื่ออำเภอ-จังหวัด ภาษาอังกฤษ ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/nameprovincedistrict.pdf


         2. วันที่ 7 ก.พ.57 มีผู้ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ได้รับงบสนับสนุนหน่วยงานอื่น เช่นหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ต้องทำอย่างไร

             เรื่องนี้  ผมและเพื่อนในเฟซบุ๊ค เช่น ผอ.นงนุช ผอ.กศน.อ.งาว, คุณมัณฑนา หัวหน้า กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.อรัญประเทศ, คุณโสพิศ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กศน.อ.พุนพิน  รวมกันตอบว่า
             - การรับเงินต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายตามระเบียบ และบันทึกสมุดทะเบียน และรายงานเงินคงเหลือประจำวัน   ผู้เซ็นชื่อรับเงินในใบเสร็จรับเงินต้องรับผิดชอบถ้าไม่บันทึกลงบัญชีและไม่มีหลักฐานเอกสารการเบิกจ่ายเหมือนเงินงบประมาณ  
( ปัจจุบัน ถ้าไม่มีการร้องเรียน สตง.จะไม่มีเวลาเข้าตรวจ กศน.อำเภอ จึงเกิดการหละหลวมกันมาก )
             - เจ้าหน้าที่การเงิน กศน.อำเภอ รับเช็คจากหน่วยงานอื่นที่สนับสนุนงบประมาณ โดยเจ้าหน้าที่การเงินอำเภอออกใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงานนั้น แล้วนำเช็คไปฝากเข้าบัญชีธนาคารของ กศน.อำเภอ เป็นเงินรายได้สถานศึกษา ( ถ้าจะเบิกจ่ายไม่ทันภายใน 15 วัน จึงจะต้องนำฝากจังหวัด )   ส่วนเจ้าของงานที่เกี่ยวข้องทำเรื่องขออนุมัติใช้จ่ายเงินจากผู้บริหาร กศน.อำเภอ จัดซื้อจัดจ้างตามโครงการที่ตกลงกับหน่วยงานนั้น เบิกจ่ายตามระเบียบเหมือนเงินงบประมาณทุกอย่าง โดยใช้แบบจัดซื้อจัดจ้างตามแบบของเรา

             - การบันทึกในทะเบียน
                 (1)  บันทึกในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ประเภท ... ... ( เช่นประเภทเงินอุดหนุน อบต.)  ช่องรับ จำนวนเงิน ... ... บาท  ( ถ้าฝากจังหวัด บันทึกช่องคงเหลือ เงินฝากจังหวัด ... ... บาท

                 (2)  บันทึกสมุดคู่ฝาก ช่องฝาก และออกยอดช่องคงเหลือ
                 (3)  รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
                 เมื่อจ่ายเงิน ถ้าถอนเงินจาก จว. ใช้ใบเบิกเงินฝาก
(คำขอถอน) โดยใช้หลักฐานการจ่าย ใบเสร้จรับเงินร้านค้า หลักฐานการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุ   บันทึกสมุดทะเบียนโดย
                 (1)  ทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงิน ... ... ช่องจ่าย จำนวนเงิน ... ... บาท (ที่เบิกจ่ายจริง อาจไม่เท่ากับจำนวนที่รับเงิน)   ช่องคงเหลือ ลดยอดเงินฝากจังหวัด
                 (2)  บันทึกสมุดคู่ฝาก ช่องถอน และลดยอดช่องคงเหลือ
                 (3)  รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
                 สำหรับหน่วยงานอื่นที่ให้เงิน กศน.อำเภอ ถ้าเขาได้รับใบเสร็จรับเงินจาก กศน.อำเภอเป็นหลักฐานแล้ว ให้หลักฐานการจ่ายไว้ที่ กศน.อำเภอ รอการตรวจสอบตามปกติ   ถ้าหน่วยงานอื่นต้องการหลักฐานการจ่าย ให้ส่งหลักฐานชุดสำเนาไปให้ ส่วนต้นฉบับจริงเก็บไว้ที่ กศน.อำเภอ รอการตรวจสอบตามปกติ


         3. วันอาทิตย์ที่ 9 ก.พ.57 ผมเผยแพร่แนวข้อสอบ ศึกษานิเทศก์ ภาค ก. ของท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป.  ลงในเฟซบุ๊ค  ( แนวข้อสอบของ อ.จักราวุธ จะตรงกับข้อสอบของ กศน. มากกว่าแนวข้อสอบที่อื่น )

             ดูรายละเอียด ได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/DOC/testSN.docx


        4. วันเดียวกัน ( 9 ก.พ.) คุณนิยม โพธิ์ทอง ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ถ้าเป็นครู กศน.ตำบล ที่จ่ายประกันสังคมมาแล้วสอบได้เป็นครูผู้ช่วย ซึ่งใช้สิทธิข้าราชการ  จะได้รับสิทธิประโยชน์ใดจากประกันสังคมบ้างไหม

             ผมร่วมตอบว่า
             1)  ถ้าลาออกไปบรรจุเป็นครูผู้ช่วย ยังสามารถส่งประกันสังคมต่อไปแบบสมัครใจ โดยต้องสมัครตามมาตรา 39  แต่ถ้าจะไม่สมัครตามมาตรา 39 ก็ไม่ต้องทำอะไร สิทธิจะคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนใน 4 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย   และเมื่อนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบส่วนของเราติดต่อกัน 6 เดือน สิทธิของเราจะหมดไป เหลือเพียงเงินสงเคราะห์กรณีชราภาพเท่านั้น
                  ( การออกไปบรรจุเป็นข้าราชการ เขาจะไม่สมัครตามมาตรา 39 ต่อกัน เพราะจะขอจ่ายสมทบต่อเฉพาะเงินออมกรณีชราภาพไม่ได้ ต้องจ่ายรวมส่วนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งส่วนอื่น ๆ จะได้สิทธิ์คุ้มครองจากระบบข้าราชการที่ดีกว่าแล้ว )

             2)  กรณีไม่สมัครตามมาตรา 39 ต่อ
                  - จะได้คืนเฉพาะส่วนของเงินออมกรณีชราภาพ แต่จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์  โดยเมื่ออายุ 55 ปี สปส. จะมีหนังสือแจ้งให้ไปยื่นขอใช้สิทธิกรณีชราภาพ ส่งไปตามที่อยู่ของฐานทะเบียนราษฎร์ของเรา ถ้าเราไม่ได้พักอาศัยตามทะเบียนราษฎร์ก็อาจจะไม่ได้รับหนังสือ ต้องติดตามสอบถามเอง
                     ถ้าอยากรู้ว่าเงินออมกรณีชราภาพนี้มีอยู่เท่าไรแล้ว สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองที่ http://www.sso.go.th/wpr/login.jsp โดยถ้าเข้าเว็บครั้งแรกต้องสมัครสมาชิกใหม่ก่อน   ( กรณีชราภาพนี้ เริ่มมีการเก็บเงินสมทบเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 )
                  - เงินส่วนอื่น ๆ จะไม่ได้คืน เพราะ สปส.จ่ายเงินเหมาจ่ายส่วนของเราให้โรงพยาบาลไปทุกปีแล้ว


         5. วันที่ 11 ก.พ.57 คุณ “วาฬ ชานนท์ สมิธ” ถามสมาชิกในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  หากจะจัดสนามสอบปลายภาค กศ.ขั้นพื้นฐาน โดยใช้กรรมการกำกับห้องสอบ ห้องสอบละ 1 คน ได้หรือไม่ มีระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ หรือคู่มืออะไรรองรับมั้ย

             ผมตอบว่า   ตามหนังสือกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 1106/5409 ลงวันที่ 16 ส.ค.2536  ( หนังสือฉบับนี้เก่าแล้ว แต่ยังใช้ปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ ส่วนอัตราการจ่ายเงินจะไม่ใช้หนังสือฉบับนี้แล้ว )  กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า "กรรมการควบคุมการสอบ ห้องสอบละไม่เกิน 2 คน"  นั่นคือ ห้องสอบละ 1 คนได้  ( แต่ คงไม่เหมาะสมนะ )


         6. เย็นวันเดียวกัน ( 11 ก.พ.) ผมตอบคำถามคุณ Nima Jessadapha ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  จะออก รบ.เป็นภาษาอังกฤษให้นักศึกษา แต่ติดที่วิชาเลือก 2 วิชาที่ไม่มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ 1.วิชาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 2.วิชาอาเซียนศึกษา มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร

             ผมตอบว่า
            
1)  วิชาพวกนี้เอามาจากไหน ก็ถามผู้พัฒนาหลักสูตรวิชานี้ ถ้าหาไม่ได้ก็ให้คนเก่งภาษาอังกฤษแปลให้เลย ( ทั้งอำเภอน่าจะมีคนเก่งภาษาอังกฤษนะ )
            
2)  วิชา "ความเป็นพลเมืองในระบอบบประชาธิปไตย" เอามาจากไหน ไม่มีในสารบบรายวิชา กศน.  วิชาเลือกที่คิดขึ้นเองต้องนำเข้าระบบของกลุ่มพัฒนา กศน. ให้ได้รหัสวิชาก่อน จึงจะใช้สอนได้นะ   เคยเห็นแต่วิชา สค02002 ความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย  ใช่ไหม   ถ้าแม้แต่ชื่อวิชาภาษาไทยยังเขียนผิด แปลเป็นภาษาอังกฤษก็คงถูกไปไม่ได้
            
3)  ตอนนี้ครู กศน.กำลังเรียนทางไกลวิชา อาเซียนศึกษากันไม่ใช่หรือ เอกสารประกอบการเรียนก็มีชื่อวิชาภาษาอังกฤษให้ ใช้ตามนั้นก็ได้
            
4)  วิชาอาเซียนศึกษาอาจแปลว่า ASEAN Studies   ส่วนวิชาความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย อาจแปลว่า Thailand Citizenship in a Democracy.


          7. เช้าวันที่ 14 ก.พ.57 ผมนำ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าสอบเป็น ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร, รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการสถานศึกษา ( กศน.อำเภอ/เขต ), รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  โดย ท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป.  ไปเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค 

             ดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/boss.pdf


วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คศ.3 ขอสายสะพาย, โปรแกรมคิดคะแนนของกรรมการ สมศ.-ถ้ากรอกได้แปลว่าพร้อมรับการประเมินแล้ว-เข้าใจผิดประเมินโดยต้นสังกัด, เนื้อหาและแนวข้อสอบครูผู้ช่วย, ลงคะแนนเทียบระดับฯ, อัตราสอบผู้บริหาร, วิจัยในชั้นเรียน, สอบครูผู้ช่วยมีเส้นไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 23 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง คศ.3 ยื่นขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย ไม่ต้องรอเกษียณ  ว่า
             ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ( ป.ม.) ได้ตามบัญชี 41 ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ที่ระบุเงื่อนไขและระยะเวลาการขอพระราชทานไว้เพียง 2 ข้อ คือ
             1)  ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับชำนาญการพิเศษ
             2)  ได้ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
             ไม่มีเงื่อนไขที่ต้องรอถึงปีที่จะเกษียณ
             ดูบัญชี 41 นี้ ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/rach52.pdf
             แต่บัญชี 41 นี้ ใช้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ไม่ใช่ข้าราชการครู

             ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการ โดย ก.ค.ศ. ได้เสนอการเทียบตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กับ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ประเภทวิชาการ ตามหลักเกณฑ์บัญชี 41 เพื่อประโยชน์ในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ให้ ก.พ.อนุมัติการเทียบตำแหน่ง แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ โดยเทียบตำแหน่งครู/ศึกษานิเทศก์/รองผู้อำนวยการ/ผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ เท่ากับ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
             ดูตารางทียบตำแหน่งต่าง ๆ ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/relativeposition.pdf

             และได้หารือแนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชฯตามบัญชี 41  ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตอบข้อหารือมาแล้วตามหนังสือที่ นร 0508/พท 5298 ลงวันที่ 8 ก.ค.56   โดย สป.ศธ. ( กศน. ) ได้ส่งหนังสือตอบข้อหารือฉบับนี้มาให้ สนง.กศน.จ. ทุกจังหวัดแล้ว ตามหนังสือที่ ศธ 0210.118/2409 ลงวันที่ 24 ก.ค.56 ( ดาวน์โหลดได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/SashFullteacher.pdf )
             ระบุว่า  ให้ใช่บัญชี 41 ได้  แต่การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯชั้น ป.ม.ให้ข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่มีคุณสมบัติ
             1)  ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของอันดับ คศ.3 ( 53,080 บาท )
             2)  ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯชั้น ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
             ให้จัดทำบัญชีเสนอขอ ป.ม. แยกเป็น 3 ประเภท คือ
             - กรณีขอในปีที่เกษียณ
             - กรณีขอในปีก่อนปีที่จะเกษียณ
             - กรณีที่ไม่ใช่ปีที่เกษียณ หรือปีก่อนปีที่จะเกษียณ

             สรุปว่า  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ยื่นขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย ( ป.ม. ) ได้โดยไม่ต้องรอเกษียณ ซึ่งขอได้ตั้งแต่ปี 56
             แต่... ผลการขอปี 56 ที่ออกมาแล้ว ยังมีแต่ผู้บริหารที่เกษียณ ( ดูประกาศผลปี 56 ได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/B/030/1.PDF )
             ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริหารและผู้ที่ยังไม่เกษียณ ไม่ทราบว่า ผลจะออกภายหลัง หรือว่าไม่ได้รับพระราชทาน !?

             อย่างก็ตาม กจ.กศน. บอกว่า ปี 2557 นี้ ก็จะให้จังหวัดเสนอขอไปอีก
             ประมาณเดือน เม.ย.- พ.ค.57 ก็ถึงเวลาขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
             ใครที่คุณสมบัติครบ ควรบอก จนท.งานบุคลากร สนง.กศน.จ./กทม. ว่าอย่าลืมขอพระราชทาน ป.ม.ให้ด้วย คุณสมบัติครบคือ
             1)  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เงินเดือนถึง 53,050 บาท ตั้งแต่ ก่อนวันที่ 1 ต.ค.57  ( สำหรับผู้ที่จะเกษียณปีนี้ ถ้าเงินเดือนจะถึง 53,050 บาท ในวันที่ 1 ต.ค.57 ก็ขอปีนี้ )
             2)  ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธ.ค.57

             อนึ่ง การเทียบตำแหน่งนี้ เป็นการเทียบตำแหน่งเพื่อประโยชน์ในการใช้บัญชี 41  ซึ่งการเทียบตำแหน่งเพื่อเรื่องที่ต่างกัน ก็เทียบต่างกัน  จะนำการเทียบตำแหน่งแต่ละเรื่องไปใช้กับเรื่องอื่นไม่ได้  เช่น การเทียบตำแหน่งเพื่อบัญชี 41 กำหนดให้ครูทุกคนที่ยังไม่มีวิทยฐานะชำนาญการ เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการระดับ ปฏิบัติการเท่านั้น   แต่ถ้าเป็นการเทียบตำแหน่งเพื่อการแต่งเครื่องแบบฯ ถึงแม้ครูจะยังไม่ได้วิทยฐานะชำนาญการ ถ้าเงินเดือนถึงขั้นที่ 3 ของ คศ.1 ก็ให้เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนระดับ ชำนาญการเลย
             เวลาที่มีผู้ถามเรื่องการเทียบตำแหน่ง ผมจึงต้องถามกลับว่าจะเทียบเพื่ออะไร เช่นเทียบเพื่อเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง
             บางคนเห็นว่า ก.พ. เทียบตำแหน่งบรรณารักษ์ชำนาญการไว้ระดับเดียวกับครูชำนาญการ ก็คิดว่า บรรณารักษ์ชำนาญการสามารถสมัครสอบเป็น ผอ.กศน.อำเภอได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด  การเทียบของ ก.พ.นั้น เป็นคนละเรื่องกับการเทียบตำแหน่งเพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะในการกำหนดตำแหน่ง   คุณสมบัติเฉพาะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้น ก.ค.ศ.ไม่ได้กำหนดให้บรรณารักษ์ชำนาญการเทียบเท่าครูชำนาญการหรือ อาจารย์ 2 ระดับ 7   แต่ ก.ค.ศ.กำหนดว่า "ถ้าเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่น ต้องมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี"  ซึ่งตำแหน่ง "บรรณารักษ์" ไม่ใช่หัวหน้ากลุ่มตามกฎหมาย ฉะนั้นบรรณารักษ์ชำนาญการ หรือชำนาญการพิเศษ จึงสมัครสอบ ผอ.กศน.อำเภอ และ ผอ.กศน.จังหวัด ไม่ได้
             ( ดูการเทียบตำแหน่งเพื่อการแต่งเครื่องแบบ/การใช้อินทรธนู ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/gif/fromteacher2.gif
                และ  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/kp1.jpg )


       2. วันเสาร์ที่ 25 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องโปรแกรมคิดคะแนนของกรรมการ สมศ.-ถ้ากรอกได้แปลว่าพร้อมรับการประเมินแล้ว-เข้าใจผิดประเมินโดยต้นสังกัด  ในเฟซบุ๊ค ว่า 
             เอกสารสำหรับกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ทั้ง 3 รายการต่อไปนี้ ถึงแม้จะเป็นเอกสารสำหรับกรรมการใช้ แต่อยากให้ผู้ดูแลแต่ละมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ทดลองกรอก เพราะถ้ากรอกได้ก็หมายความว่า จะสามารถให้ข้อมูลหรือตอบคำถามกรรมการได้ ซึ่งสรุปได้ว่า พร้อมแล้วที่จะรับการประเมินฯ
             1)  แบบรวบรวมข้อมูลภาคสนามการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=..%2F..%2Fupload%2Fdownload%2Fuploadfile%2F550-2832.doc&DownloadFile=550-2832.doc&DownloadID=550
             2Template โปรแกรมช่วยประมวลผลการประเมินรอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)(ปรับปรุง 25 กรกฎาคม 2556)
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=../../upload/download/uploadfile/480-2209.xls&DownloadFile=480-2209.xls&DownloadID=480
             3)  รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสามการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=..%2F..%2Fupload%2Fdownload%2Fuploadfile%2F547-1340.doc&DownloadFile=547-1340.doc&DownloadID=547

             โดยเฉพาะโปรแกรมช่วยประมวลผลฯนั้น เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป เมื่อกรอกข้อมูลลงไป 3 ปี โปรแกรมจะคำนวณออกมาเป็นคะแนนให้เอง  ถ้าเราลองกรอก เราจะรู้อะไรหลายอย่าง รู้ว่าเราต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

             ( เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในส่วนของการประเมินภายในโดยต้นสังกัด หลายอำเภอเข้าใจผิดคิดว่าคณะกรรมการจะใช้ข้อมูลตาม SAR ปีล่าสุด ปีเดียว ซึ่งที่ถูกแล้วกรรมการต้องใช้ข้อมูล 3 ปีจึงจะคำนวณคะแนนออกมาได้เช่นกัน   กว่าจะรู้ก็ถึงวันที่คณะกรรมการไปถึงแล้ว หาข้อมูล 3 ปีไม่ทันแล้ว
                ในเรื่องของการคำนวณตัวบ่งชี้ภายใน ที่ 1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ  กรรมการก็ใช้ข้อมูล 3 ปี ปรากฏว่าโปรแกรม ITw คำนวณของปี งปม.54 ผิด ( คะแนนเชิงปริมาณถูก แต่เชิงพัฒนาการผิด ) เพราะ ปี งปม.54 เชิงพัฒนาการต้องเปรียบเทียบระหว่าง ปี 54 กับปี 53  แต่ปี 53 ยังไม่มีค่าขีดจำกัดล่าง จึงเปรียบเทียบไม่ได้ โปรแกรม ITw ให้คะแนนพัฒนาการปี 54 เต็ม ซึ่งผิด  ที่ถูกนั้น ต้องมีคะแนนพัฒนาการเฉพาะปี 55 กับ 56 เฉลี่ยด้วยการรวมกัน 2 ปี แล้วหารด้วย 2 ไม่ใช่หารด้วย 3


         3. เช้าวันที่ 29 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องเนื้อหาและแนวข้อสอบครูผู้ช่วย กศน. ฉบับสมบูรณ์ รวบรวมและเรียบเรียงโดย ผอ. รัฐเขต เชื้อมหาวัน ( ผอ.กศน.ข.บางรัก )  ว่า
             ผอ.รัฐเขต รวบรวมจากในอินเตอร์เน็ต มาเรียบเรียงให้ตรงตามหัวข้อ ตรงตามวิชาที่จะสอบ
             ในส่วนของกลุ่ม ภาค ก กับกลุ่ม ภาค ข จะมีทั้งเนื้อหาและแนวข้อสอบที่เฉลยในข้อเลย โดยแยกให้รู้ว่าแต่ละภาคให้ศึกษาเรื่องใดบ้าง

             ไฟล์ร้อยกว่าเม็กฯ บีบอัดเป็นไฟล์สกุล rar ไฟล์ใหญ่มาก บางคนที่ใช้คอมฯใช้เน็ตความเร็วต่ำ อาจมีปัญหาในการดาวน์โหลด
             สามารถดาวน์โหลดได้ 2 ที่
             1)  ที่  http://www.4shared.com/rar/xjV1dN_Wce/001.html  ( คลิกที่ปุ่ม ดาวน์โหลดปุ่มเล็ก แล้วคลิกที่ ดาวน์โหลดฟรี” ... ... )
             2)  ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/testHelpTeacher.rar  ( อาจใช้เวลาดาวน์โหลดนานเป็นชั่วโมง )


         4. วันที่ 4 ก.พ.57 “เสรีชน คนแคมของ” ครู กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.ธาตุพนม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ไฟล์คะแนนสอบเทียบระดับ ที่สำนักส่งให้ เป็นไฟล์เอ็กเซล แต่ต้องใส่รหัสผ่าน รหัสผ่านคืออะไร

             เรื่องนี้  คุณวรวุฒิ บัวสด สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา  บอกว่า  นำเข้าโปรแกรมเทียบระดับฯได้เลย ไม่ต้องใส่รหัสผ่าน   แต่ถ้าจะเปิดดูไฟล์ในระบบวินโดว์ จึงจะต้องใส่รหัสผ่าน และเขาก็ไม่บอกรหัสผ่านด้วย กลัวว่าเราเข้าไปดูไฟล์คะแนนได้แล้วจะมีการแก้ไขคะแนนก่อนนำเข้าโปรแกรมเทียบระดับ  ( ให้นำเข้าโปรแกรมฯเลย ห้ามแก้ไขคะแนน )


         5. คืนวันที่ 4 ก.พ.57 ผมนำข้อมูลอัตราว่างในการจะสอบผู้บริหาร กศน. จากท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป. ไปเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค  ดังนี้

             ก)  ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม.

                   1)  รอง.ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัด (4 อัตรา)  แยกเป็น
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 2 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 2 อัตรา
                   2)  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัด (13 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที - อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 6 อัตรา  รวมเป็น 6 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 6 อัตรา  รวมเป็น 7 อัตรา

             ข)  การสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา และ รอง ผอ.สถานศึกษา พื้นที่ปกติ นอกเหนือจากเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้
                   1)  รอง.ผอ.สถานศึกษา (14 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 6 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก – อัตรา  รวมเป็น 6 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 7 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 8 อัตรา
                   2)  ผอ.สถานศึกษา (74 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 34 อัตรา  รวมเป็น 36 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 36 อัตรา  รวมเป็น 38 อัตรา

             ค)  การสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา และ รอง ผอ.สถานศึกษา พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา
                   1)  รอง.ผอ.สถานศึกษา (1 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที - อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก - อัตรา  รวมเป็น - อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก – อัตรา  รวมเป็น 1 อัตรา
                   2)  ผอ.สถานศึกษา (7 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 2 อัตรา  รวมเป็น 3 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 2 อัตรา  รวมเป็น 4 อัตรา


         6. ถ้ากรรมการประเมินฯภายนอก ถามครูว่า งานวิจัยในชั้นเรียนของครู มีที่มาอย่างไร ( เช่น ทำไมทำวิจัยเรื่องนั้น ) ครูจะตอบว่าอย่างไร    ( คำตอบหลัก ๆ คือมาจากปัญหาในชั้นเรียน แต่อาจมีที่มาจากทางอื่นได้ด้วย )

             ตอนดึกวันที่ 4 ก.พ.57 คุณ Sulkiflee Sama-ae ให้ข้อมูลที่น่าสนใจในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เกี่ยวกับเรื่อง “วิจัยในชั้นเรียน ส่วนหนึ่งที่ได้รับคำแนะนำจาก สมศ./กศน. ( เพิ่งผ่านการประเมินมา )” ว่า
             1)  วิจัยในชั้นเรียน ต้องทำบันทึกการสอน/ระบุปัญหาที่เกิด/มี นศ. ที่มีปัญหา
             2)  เลือก 1 ปัญหาที่ บันทึกหลังการสอนมาทำวิจัย
             3)  เช่น นาย ก และ นาย จ มีปัญหาการเขียนคำสะกดภาษาไทย ครูเลยทำวิจัยเรื่องแบบฝึกเขียนการสะกด
             4)  ทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 2 คน จากกี่คนที่ลงทะเบียน
             5)  มีแบบฝึก / ผลการฝึกของ นาย ก และนาย จ / เทียบ ก่อน-หลัง
             6)  บทสรุปการวิจัย เปรียบเทียบว่า ก่อน-หลังเป็นอย่างไร
             7)  ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนมีมาก หาได้ใน google เอาที่สอดคล้องมาเป็นแนว  ( ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/researchClassroomWord.rar ก็มีตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน มากมาย เป็นไฟล์ Word สามารถปรับแก้ได้ )
             8)  ทำย้อนหลัง 3 ปี


         7. วันเสาร์ที่ 8 ก.พ.57 ผมเผยแพร่เรื่อง สอบครูผู้ช่วย กศน.มีเส้นไหม ในเฟซบุ๊ค  ดังนี้
             คนที่เคยสอบไม่ได้ก็บอกว่ามีเส้น
             พวกที่สอบได้ ย่อมรู้ดีกว่า ว่า ตนเองต้องใช้เส้นหรือไม่
             ลองดูตัวอย่างคำพูดของครูผู้ช่วย กศน. ที่สอบได้ครั้งที่แล้ว

             1)  คุณนาวี ผู้สอบครูผู้ช่วย กศน. ครั้งที่แล้ว ได้บรรจุทันทีชุดแรก  บรรจุที่ กศน.เขตป้อมปราบฯ บอกว่า  ตอนครั้งแรกที่คิดจะสอบผมเองก็คิดเหมือนหลายคนว่าเปิดสอบภายในมี้เส้นแน่นอน แต่ผมคิดผิดครับ เรื่องเส้นสายขอบอกเลยว่าในยุคท่านเลขาฯ ประเสริฐ บุญเรือง ไม่คิดว่าจะมีครับ ถ้ามีผมคงไม่ได้มาอยู่ที่ตรงจุดนี้ ทั้งที่ผมเป็นลูกตาสี หลานยายสา ไม่มีคนใหญ่หรือแบล็คหนุนหลัง และยังได้อันดับต้น ๆ ด้วย คนที่คิดจะสอบอย่ากลัวครับ ...
             2)  คุณ “Tuesday Mju” บอกว่า  "เป็นอีกคนค่ะ ที่ผ่านการสอบครูผู้ช่วย บรรจุ 15 กพ. 2555 นั่งยัน นอนยัน และยืนยันค่ะ ว่า โดยส่วนตัวที่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ และตัวเองสอบบรรจุได้ครูผู้ช่วย ไม่มีเส้นแน่คะ พวกเราทุกคนตั้งใจทำ ตั้งใจอ่าน ทุกคนมีภาระครอบครัวค่ะ ลูกเล็ก ไม่มีใครดูแล งานบ้านทั้งหมดอยู่ที่เรา  เวลาทำงาน ทำงานค่ะ เวลาเย็นทำงานบ้าน เวลาอ่านหนังสือ คือ สี่ทุ่ม ถึง ตีสาม เป็นแบบนี้ทุกวัน  คุณอย่ามาว่าใครใช้เส้น กรุณาดูว่าคุณเองพยายามดีที่สุดแล้วหรือยังจะดีกว่าค่ะ"
             3)  คุณ “Kung Mu Thadinjan” บอกว่า  "ไม่เห็นต้องใช้เส้นสายเลยค่ะ เป็นครูผู้ช่วยมาครบสองปีแล้ว จำได้ว่าก่อนสอบอ่านหนังสือ ก็แค่นั้นเอง"
             4)  คุณกฤติยา กศน.อ.พนัสนิคม ( อดีตครูอาสาฯ ) บอกว่า  "ให้กำลังใจทุกท่านที่จะสอบนะคะ พึ่งตัวเองก่อนนะคะ อย่าเพิ่งนึกถึงวาสนา สู้ๆ นะคะ เหนื่อยจากงานก็นอนให้อิ่มเพราะร่างกายเราล้า ตื่นมาอ่านตีสามแทบทุกวัน และต้องตั้งใจทำงาน มันเป็นบุญนะคะ ข้อสอบอยู่ในงานที่คุณตั้งใจทำทั้งนั้น"
             5)  คุณธีรตา “Theerata Uttaman” ครูผู้ช่วย ( อดีตครูอาสาฯ ) บอกว่า  "ลูกตาสีตาสาชาวบ้านธรรมดา...เข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น..ไม่เคยมีเส้นมีสายอะไรเลย...แต่...ไม่เคยดูถูกตัวเอง..และไม่ดูถูกข้อสอบ...ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเนื้องานที่เราทำ...ถ้างานไหนยังไม่รู้..อ่านเลยค่ะ..อ่านให้เข้าใจ..มองให้ทะลุ...เวลาทำข้อสอบก็ตีโจทย์ให้แตก..วิเคราะห์ว่าข้อสอบวัดอะไร... ขอเป็นกำลังให้ทุกท่านที่จะสอบครูผู้ช่วยนะคะ..."
             6)  คุณ Yawaluck Soblansawat กศน.สมุทรปราการ บอกว่า  "ลูกชาวนา เลือด กศน. เป็นครูดอย แค่อ่านหนังสือใต้แสงไฟดวงเล็กๆ จดทุกสิ่งที่จะลืม จำทุกอย่างที่คิดว่าใช่.. ไม่เคยมีเส้นที่ไหนช่วย ท้ังตอนสอบและเลือกพื้นที่ ..ไม่เคยมีใครใช้เส้น ใช้ความสามารถล้วนๆๆ"
             7)  คุณเปมิกา กศน.อ.บางบ่อ บอกว่า  "คืนวันสอบวันสุดท้ายของภาค ข. จำได้ว่าอ่านหนังสือยันเช้า แม้แต่ตอนเข้าห้องน้ำ..หลังชนฝา..อ่านจนถึงวินาทีสุดท้าย..จริงๆค่ะ..ไร้เส้น...มีแต่น้ำยา..ขอฝากไว้..จากครูผู้ช่วย..อีกคน"