วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

1.ข้อมูลจากท่าน ผอ.กจ., 2.เรียน กศน.จะเข้ามหาวิทยาลัยได้ยังไง, 3.คิดเปอร์เซ็นต์เลื่อนขั้นอย่างไร, 4.จบ ป.บัณฑิต ต้องสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับคุรุสภาอีก, 5.คิดค่าตอบแทนกรรมการประเมินภาคประสบการณ์อย่างไร, 6.อายุเกิน 60 เป็นครู ศรช.ได้ไหม, 7.คศ.1 เงินเดือนหมื่นเจ็ด ติดอินทรธนูกี่ขีด



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันอาทิตย์ที่ 27 ก.ค.57 ผมเรียนถามท่าน ผอ.กจ. 3 เรื่อง  ได้รับข้อมูลดังนี้
             1)  จะเปิดสอบเป็น ขรก.บุคลากรทาง กศ.อื่น ม.38 ค.(2) เช่นบรรณารักษ์ เมื่อไร   ท่านบอกว่า  ว่าจะนำเรื่องขอสอบนี้เข้าที่ประชุม อ.ก.ค.ศ. สป.ศธ. ครั้งต่อไป  ซึ่งยังไม่มีกำหนดว่า อ.ก.ค.ศ.จะประชุมครั้งต่อไปเมื่อไร ( ปกติจะประชุมเดือนละครั้ง )
             2)  มีผู้สงสัยว่าทำไม สพฐ.ให้สิทธิ ศน.เชี่ยวชาญสอบเป็น ผอ.เขตพื้นที่ได้  แต่ กศน.ไม่ให้สิทธิ ศน.เชี่ยวชาญสอบเป็น ผอ.กศน.จังหวัด   ท่านบอกว่า ก.ค.ศ.เป็นผู้กำหนดคุณสมบัติ  และเข้าใจว่า สพฐ.ก็ไม่ได้ให้สิทธิ ศน.เชี่ยวชาญทุกคนสอบเป็น ผอ.เขตพื้นที่ แต่ให้เฉพาะ ศน.ที่เป็นหัวหน้าหน่วย
             3)  ได้ข่าวจาก ผอ.จรัสว่าจะเรียกบรรจุครูผู้ช่วยครั้งต่อไป ประมาณเดือน ต.ค.57 โดยเรียกจากบัญชีจังหวัดทั่วไปประมาณ 40 คน ( ลำดับ 71-110)  และบัญชี จชต. ประมาณ 10 คน (ลำดับ 11-20) ใช่หรือไม่   ท่านบอกว่า ใช่

         2.
ENN ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย เผยแพร่ข้อมูลเรื่อง เรียน กศน. จะเข้ามหาวิทยาลัยได้ยังไง ?”
             ผมเห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาปรับและเผยแพร่ต่อในเฟซบุ๊คเมื่อคืนวันที่ 29 ก.ค.57  ดังนี้
             การเข้ามหาวิทยาลัย มี 2 แบบ คือ สอบตรง และแอดมิชชั่น  การสอบตรงนั้น ทั้งในระบบ และผู้ที่จบ กศน. ต้องติดตามข่าวสารและคุณสมบัติที่สาขา/คณะ นั้นๆ กำหนดเอง (http://admissions.enn.co.th/)
             ส่วนการแอดมิชชั่น ( รับโดยส่วนกลาง ) นั้น  สิ่งที่ต้องมีคือ
             1)  GPAX : คะแนนเฉลี่ยสะสมจากทุกภาคเรียนในระดับ ม.ปลาย  ( ต่างจาก GPA โดย GPA คือคะแนนเฉลี่ยในแต่ละภาคเรียน )  ซึ่ง ระดับผลการเรียนเฉลี่ยในใบ รบ.ของ กศน. ก็คือ GPAX
             2)  คะแนน O-NET  ( รับสมัครสอบ O-NET สำหรับสังกัด กศน. และอื่นๆ ประมาณช่วงวันที่ 1-15 พฤศจิกายน ของทุกปี และจะสอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป  ลองอ่านในเว็บ สทศ. http://www.niets.or.th/)  ( ใช้คะแนน N-NET แทนไม่ได้ )
             3)  คะแนน GAT PAT  แยกเป็นหลายฉบับ  แต่ละคณะกำหนดให้สอบ GAT PAT ต่างกัน  อยากเข้าคณะไหนต้องหาข้อมูลก่อน จากนั้นก็ลงสอบวิชาที่เกี่ยวข้อง
                  การสอบ GAT (วิชาความถนัดทั่วไป) และ PAT (ความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ) จะมีการสอบ 2 ครั้ง สามารถเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ในการ Admissions  ( คะแนน GAT/PAT ครั้งที่ 1 ยังสามารถนำไปยื่นสมัครรับตรงหลาย ๆ โครงการได้ด้วย )  สมัครสอบได้ที่  http://www.niets.or.th/
             ( ถ้าจะไปสมัครสอบตรง ในบางคณะ บางมหาวิทยาลัย ต้องสอบ 7 วิชาสามัญอีกด้วย คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา  ไม่ใช่ N-NET ไม่ใช่ O-NET และก็ไม่ใช่ GAT PAT ด้วย  ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT  ใช้ประกอบการสมัครรับตรงในบางคณะ บางมหาวิทยาลัย )
             ผู้จัดสอบ O-NET GAT PAT และ 7 วิชาสามัญ คือ สทศ. โดยนักศึกษา กศน.ต้องสมัครสอบกับ สทศ. ด้วยตนเอง ไม่ผ่านสถานศึกษา กศน.
             ( สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊คศูนย์ข่าวการศึกษาไทย หรือที่อีเมล enn.news2013@hotmail.com )

         3. วันเสาร์ที่ 2 ส.ค.57 "Kru Chanai" ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  รร.สังกัด อปท. มีครูมีตัว จำนวน 1 คน ณ วันที่ 1 กันยา แต่มี อัตราว่าง 3 คน  แล้วรอบวันที่ 1 ตุลา จะพิจารณา 1 ขั้นได้มั้ย  แล้ว 15 เปอร์เซ็นจะคิดแบบไหน
             ผมตอบว่า  ไม่รู้ว่าของ อปท. เหมือนกับของ กศน.หรือเปล่า  ของ กศน. ( ข้าราชการครู ) เลื่อนเงินเดือนเป็นขั้น ยังไม่ได้เลื่อนเป็นเปอร์เซ็นต์
             1)  จำนวนผู้ที่จะได้เลื่อน 2 ครั้ง ( 1 เมษายน กับ 1 ตุลาคม ) รวมกันเป็น 2 ขั้น (กรณีพิเศษ) ต้องอยู่ในโควต้าร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ "ที่มีตัวอยู่ ณ วันที่ 1 มีนาคม
” (
รวมข้าราชการที่เงินเดือนเต็มขั้นและที่จะเกษียณอายุด้วย )  ถ้ามีจำนวนข้าราชการน้อย คำนวณออกมาแล้วจะได้เลื่อนขั้นกรณีพิเศษไม่ถึง 1 คน แต่ถึง 0.6 คน ให้เลื่อนขั้นกรณีพิเศษได้ 1 คน  นอกจากนี้ให้สำรองได้อีกไม่เกิน 1 คน
             2)  วงเงินที่ใช้ในการเลื่อนขั้นทั้งหมด 2 ครั้งรวมกัน ต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการที่ปฏิบัติงาน ณ วันที่ 1 มีนาคม


         4. วันเสาร์ที่ 9 ส.ค.57
กศน.แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ที่ราชมงคลพระนคร บอกว่า การเรียนป.บัณฑิต จบแล้วจะไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพทันที แต่จะต้องสอบที่คุรุสภาอีกครั้งหนึ่ง ผ่านถึงได้   อ.ที่ราชมงคลพระนคร บอกว่าเป็นอย่างนี้ทุกมหาลัย  คำถามคือ 1.จริงหรือไม่ ที่ไม่ได้ใบประกอบทันที (ปี่ที่แล้วรุ่นพี่เรียนที่สวนดุสิต ทางมหาลัยเขาจัดการให้เลย)  2.รายละเอียดการเรียน ป.บัณฑิต ปีนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงอะไรหรือเปล่า
             เรื่องนี้  วันที่ 18 ส.ค.57 ผมถามคุรุสภาอีกครั้งว่า เรียนจบ ป.บัณฑิต รุ่นใหม่ ( ที่ให้ 42 สถาบันการศึกษาเปิดสอนผู้ที่มีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก่อนวันที่ 19 ก.ย.57 นี้ ) เมื่อเรียนจบจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยอัตโนมัติเหมือนรุ่นปีที่แล้วหรือไม่
             คุรุสภาตอบว่า  รุ่นใหม่ปีการศึกษา 2557 นี้ จบแล้วต้องสอบรับใบอนุญาตฯกับคุรุสภาอีกครั้ง
             แต่ตอนนี้ยังไม่ได้กำหนดวิธีสอบ ว่าจะสอบด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวหรืออย่างไร  ( คงไม่ใช่สอบ 9 หรือ 11 ฉบับ ๆ ละ 1 มาตรฐาน )

         5. เช้าวันที่ 14 ส.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ PeterPaul & Marry ที่ถามทาง Line ว่า  ค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมินภาคประสบการณ์ท่านละเท่าไร คิดยังไง
             ผมตอบว่า   ถ้าเป็นการเทียบระดับฯสูงสุดฯ ตามระเบียบ เบิกจ่ายได้ไม่เกินในข้อ 7 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/538893  โดยถ้าได้รับเงินจัดสรรน้อย ( เข้าใจว่าส่วนกลางคำนวณจัดสรรให้เพียงหัวละ 100 บาท ต่อกรรมการทั้งคณะ แต่ตามระเบียบสามารถจ่ายให้กรรมการได้คนละ 100 บาท/หัว ไม่ใช่คณะละ 100 บาท/หัว ) ก็จ่ายต่ำกว่าระเบียบหลักเกณฑ์ เช่น ถ้าจะจ่ายหัวละ 100 บาทต่อกรรมการทั้งคณะ วิชาใดใช้ผู้ประเมิน 5 คน กรรมการก็ได้ค่าประเมินคนละ 20 บาท/หัว  ( ห้ามใช้กรรมการต่ำกว่า 3 คน  ถ้าวิชาไหนใช้กรรมการ 3 คน ก็ได้คนละ 33 บาท )
             แต่ละจังหวัดมีวิธีการคำนวณเบิกจ่ายต่างกัน แต่รวมแล้วต้องเบิกจ่ายไม่เกินตามระเบียบ และไม่เกินเงินที่มี

         6. คืนวันเดียวกัน ( 14 ส.ค.) ผมตอบคำถามคุณ
รัชนี คงฤทธิ์ กศน.อ.นครชัยศรี ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  คุณสมบัติของครู ศรช กำหนดอายุตัวว่าต้องเท่าไรหรือไม่  ถ้าอายุ 61-63 ปี สมัครเป็นครู ศรช ได้หรือไม่
             ผมตอบว่า   อายุเกิน 60 ปี สมัครไม่ได้ ปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ใน หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเรื่องการบริหารงานบุคคลลูกจ้างชั่วคราว” ( ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0527.6/ว 31 ลงวันที 26 เมษายน 2542 ) โดยอนุโลม  ซึ่งกำหนดให้จ้างอายุไม่เกิน 60 ปี  ส่วนการจ้างผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว จ้างได้เมื่อมีกรณีจำเป็นแท้จริงที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและหรือความเชี่ยวชาญชำนาญเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ซึ่งไม่อาจหาได้โดยทั่วไป หรือเกี่ยวกับความไว้วางใจในงานที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ ให้จ้างในลักษณะ เจ้าหน้าที่บริหารงานในโครงการต่อเนื่องและในด้านผู้ชำนาญงาน และอายุต้องไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์  ( ครู ศรช. ไม่เข้าข่ายที่จ้างเกินอายุ 60 ปีเหล่านี้ )

         7. วันที่ 19 ส.ค.57
วรวรรณ จิตรนิยม กศน.อ.สามร้อยยอด ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ตอนนี้เป็นครู คศ.1 เงินเดือนประมาณ 17000 จะติดแถบเครื่องหมายบนบ่า ทั้งชุดกากี ชุดขาว อันไหน
             ผมตอบว่า   ให้ดูที่ "บัญชีเงินเดือนข้าราชการครู" ซึ่งบัญชีที่ใช้อยู่ในวันนี้ ( ส.ค.57 ) ขั้นที่ 3.0 ของ คศ.1 คือ 15,020 บาท  ฉะนั้น ถ้าเป็นครู คศ.1 เงินเดือน 15,020 บาทขึ้นไป เครื่องแบบปฏิบัติราชการปกติ(กากี) ติดอินทรธนูแบบ 1 แถบใหญ่ 1 แถบเล็กขมวด   ส่วนเครื่องแบบพิธีการ(ขาว) ติดอินทรธนูแบบช่อชัยพฤกษ์  ( ดูที่ลำดับที่ 4 ในภาพ )