วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

โปรแกรมไม่เป็นภาษาไทยที่อ่านได้, เงิน 15,000 อัตราจ้าง, พนักงานราชการเทียบเท่าซีอะไร, ใครแต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล, ระเบียบเบิกจ่ายสอบ N-NET, แบบเสื้อ กศน.(เสื้อซาฟารีสูท), การตั้ง ศรช.



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


         1. วันเสาร์ที่ 18 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ว่า  เคยมีสองคน ถามว่า โปรแกรม ITw ( และโปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ KSM )  ตรงภาษาไทยจะเป็นตัวยึกยืออ่านไม่ได้ จะแก้อย่างไร

             เรื่องนี้ คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ บอกว่า ต้องเปลี่ยนภาษาของระบบ ให้เป็นภาษาไทย
             โดยเข้าไปใน Control Panel ( แผงควบคุม ) แล้วหาหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษาของระบบ ซึ่งวินโดว์แต่ละรุ่นจะตั้งชื่อหัวข้อนี้ไม่เหมือนกัน บางรุ่นจะต้องเข้าไปเปลี่ยนในหัวข้อชื่อ System locale ( ภาษาของระบบ )
             ถ้าเป็นวินโดว์ 8 จะต้องเข้าไปเปลี่ยนในหัวข้อชื่อ Region ( ภูมิภาค )
             เมื่อเข้าไปใน Region แล้ว ให้เลือกแท็บ Administrative ( การดูแลระบบ )
             แล้วคลิกที่ Change system locale... ( เปลี่ยนภาษาของระบบ )
             ในช่อง Current system locale ( ภาษาปัจจุบันของระบบ )  ให้เลือกเป็น Thai (Thailand)
             จากนั้น คลิก OK แล้ว Restart


         2. วันเดียวกัน ( 18 ม.ค.) ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ว่า  ยังมีผู้ถามเรื่องเงิน 15,000 บาท ( บรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ ) อยู่เป็นระยะ ๆ
             ผมจึงถามหัวหน้ากลุ่มงบประมาณ กลุ่มแผนงาน กศน. อีกครั้ง เมื่อวันที่ 13 ม.ค.57 ( เคยถามครั้งก่อนทีหนึ่ง  ครั้งก่อนก็ถามหลังจากที่โอนเงินจัดสรรให้เท่าเดิมแล้วนะ )
             ได้รับคำตอบลักษณะเดิม ว่า ท่านเลขาก็ยังพยายามจะให้บรรณารักษ์จ้างเหมาได้ 15,000 อยู่ แต่หัวหน้ากลุ่มงบประมาณบอกว่า สถานภาพทางการเงินของเรายังไม่รู้ว่าจะหางบประมาณมาให้ได้ไหม ปลายเดือน เม.ย.57 จึงจะชัดเจน
             เดิมโอกาสที่จะได้ 15,000 บาท มีมากกว่า 50 % แต่ถามครั้งหลังนี้ ฟังน้ำเสียงหัวหน้ากลุ่มงบประมาณแล้วผมรู้สึกว่าโอกาสจะได้ 15,000 บาทมีน้อยกว่า 50 %  แต่ก็ยังไม่แน่นะ
              ( สำหรับครู ศรช. แน่แล้วว่า ให้จังหวัด+อำเภอ บริหารจัดการเงินอุดหนุนตามอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ ให้ครู ศรช. ได้ 15,000 บาท เริ่ม พ.ค.57 )


         3. เย็นวันอาทิตย์ที่ 19 ม.ค.57 คุณ Konlayoot Rojana ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  พนักงานราชการเทียบกับข้าราชการได้ซีอะไร

             ผมตอบว่า   เดี๋ยวนี้ข้าราชการก็ไม่มีซีแล้วนะ   ต้องบอกว่าจะเทียบเพื่ออะไร เช่น เทียบเพื่อเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
             ตาม ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ.2554” ข้อ 6 ( 2 ) ระบุว่า พนักงานราชการที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการโดยอนุโลม
              ( ดูประกาศนี้ได้ที่ https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/799/772/original_benefit54.pdfhttps://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/799/772/original_benefit54.pdf )
             คือเบิกได้เหมือนข้าราชการ ซึ่งปกติต้องดูอีกว่า พนักงานราชการเทียบเท่าข้าราชการตำแหน่งใด
             ( ดูการเทียบตำแหน่งได้ที่ https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/799/604/original_teabtumnang.pdf )
             เช่น
             1)  พนักงานราชการกลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิค เทียบเท่าข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน
             2)  พนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป เทียบเท่าข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ ดังนี้
                  - อายุราชการไม่เกิน 9 ปี เทียบเท่าระดับปฏิบัติการ
                  - อายุราชการ 10-17 ปี เทียบเท่าระดับชำนาญการ
                 - อายุราชการ 17 ปีขึ้นไป เทียบเท่าระดับชำนาญการพิเศษ

             อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอัตราค่าเบี้ยเลี้ยง-ที่พักในการเดินทางไปราชการของข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษลงมา เป็นอัตราเดียวกันหมด จึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันพนักงานราชการ กศน.ในระดับจังหวัดและอำเภอ ซึ่งมีแต่กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานบริหารทั่วไป เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง-ที่พักในการเดินทางไปราชการ ได้เท่ากับ ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ
              แต่ถ้าเป็นค่าพาหนะ ระดับปฏิบัติการ ( ไม่เกิน 9 ปี ) กับระดับชำนาญการขึ้นไป ( 10 ปีขึ้นไป ) จะเบิกได้ไม่เหมือนกัน ดูในข้อ 4 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2015/03/40.html


         4. วันเสาร์ที่ 18 ม.ค.57 กศน.แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค เรื่องการแต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล /แขวง ว่า
            
1)  ใครมีอำนาจในการแต่งตั้ง
             2)  มีวิธีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้มีการแต่งตั้ง
             3)  ปัจจุบันต้องมี่คำสั่งแต่งตั้งหรือไม่ หรือเป็นโดยตำแหน่ง

             ผมตอบว่า
            
1)  ผอ.กศน.จ./กทม. เป็นผู้แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล ตามข้อ 8 ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ.2553 ที่ https://www.dropbox.com/s/2mz5vjdw74e1zd2/GSNtambon.pdf?dl=1
             2)  ทุกจังหวัดน่าจะแต่งตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2 ปีแล้วนะ ลองหาเรื่องเดิมดู  ถ้าจะแต่งตั้งใหม่หรือเปลี่ยนแปลง ให้ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต ส่งเรื่องเสนอให้ ผอ.จังหวัด/กทม. แต่งตั้ง
             3)  หัวหน้า กศน.ตำบล ต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง  ( ตำแหน่ง "ครู กศน.ตำบล" ต่างจาก "หัวหน้า กศน.ตำบล"  ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล อาจไม่ใช่ครู กศน.ตำบล ก็ได้ )


         5. วันที่ 20 ม.ค. คุณ ตะวัน ยอแสง ถามผมในกลุ่มครูนอกระบบนี้ ว่า ขอระเบียบเบิกจ่ายสนามสอบ N-NET จำไม่ได้ว่ามีมาใหม่ไหม
ผมตอบว่า ตอนนี้ยังอยู่ในปีการศึกษา 2556 เหมือนภาคเรียนก่อน จึงคงยังใช้ระเบียบเดิม ดูระเบียบเดิมใน - หน้า 9 ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/N-NETmoney.pdf - ข้อ 7 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/518664

         6.
วันเดียวกัน ( 20 ม.ค.) ว่าที่ ร.ต. ธณเดช เสนารักษ์ ครู ศรช. กศน.จ.ชัยนาท ถามในกลุ่มครูนอกระบบนี้ ขอรายละเอียดการปักตรา กศน. ที่บอกขนาดตรา และขนาดตัวอักษร...จะปักเสื้อกรม

ผมตอบว่า ดูที่
                  1)  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/shirt_nfe.pdf  
                 2)  http://www.gotoknow.org/posts/295778
                 แต่ตอนนี้ สำนักงาน กศน.เรา ผลิตอาร์มตรา กศน.จำหน่ายนะ หาเงินเข้าสวัสดิการ กศน. เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับชาว กศน. ช่วยกันซื้อหน่อย ตราละ 50 บาท ดูรายละเอียดที่ https://db.tt/ZwDNjiVQ


         7.
วันที่ 22 ม.ค.57 “แม่ตุ้ม ของน้องข้าว คำหงษา” ขรก.ครู กศน.อ.สังคม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า เดี๋ยวนี้ประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน เป็นอำนาจของใคร

             ผมตอบว่า   ตามย่อหน้าสุดท้ายในระเบียบข้อ 5 ถ้าเป็นศูนย์การเรียนชุมชนระดับ ชุมชน ( หมู่บ้าน หรือ ชุมชนในเขตเทศบาล/กทม. ฯลฯ ) ประกาศจัดตั้งโดย กศน.อำเภอ/เขต ตามความพร้อม
             ถ้าเป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ( มีตำบลละแห่งเดียว ปัจจุบันเปลี่ยนไปตั้งเป็น กศน.ตำบลแทน ) ประกาศจัดตั้งโดย ผวจ.
             ดูระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. 2552 ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/SRCh52.pdf


วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

เทียบระดับ ไม่ต้องทำอาชีพในเขตอำเภอ-วันอนุมัติจบ, ให้ครูอาสาฯเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล, ครูเตรียมคำตอบประเมินฯ, ได้รับเข็ม 2 เข็ม ติดยังไง, โปรแกรมเทียบระดับสูงสุด+คู่มือ, ต่ออายุใบประกอบอาชีพ



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. วันเสาร์ที่ 4 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง  ประกาศเพิ่มสถานศึกษาทำหน้าที่เทียบระดับเป็น 695 แห่ง  ( ประกาศที่ www.pattanadownload.com/download/g.3/g3.33.3.PDF  และ  http://www.pattanadownload.com/download/g.3/g3.34.pdf 
             โดยระบุในข้อ 2. ของประกาศฯว่า
             "กำหนดให้กรุงเทพมหานครและจังหวัด เป็นเขตบริการเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 695 แห่ง ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน"
             ข้อนี้หมายความว่า  ผู้ที่ประกอบอาชีอยู่ในเขตจังหวัดใด สามารถสมัครเทียบระดับใน กศน.อำเภอใดก็ได้ ที่ทำหน้าที่เทียบระดับในจังหวัดนั้น  ไม่จำเป็นต้องสมัครเทียบระดับเฉพาะในอำเภอที่ประกอบอาชีพ ขอเพียงเป็นจังหวัดที่ประกอบอาชีพ และเมื่อสมัครที่อำเภอใด ก็ดำเนินการเทียบระดับโดยอำเภอนั้น  ไม่ต้องให้อำเภอที่ประกอบอาชีพอยู่เป็นผู้ดำเนินการเทียบระดับ
             ( เดิมเขตบริการของแต่ละแห่งจะกำหนดเพียงประมาณ 2 อำเภอ ก็ต้องประกอบอาชีพอยู่ภายใน 2 อำเภอนั้น เช่น กศน.อ.ผักไห่ทำหน้าที่เทียบระดับในเขตบริการอำเภอผักไห่กับอำเภอบางซ้าย ผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่ภายในเขตอำเภอผักไห่กับอำเภอบางซ้ายก็ต้องมาสมัครที่อำเภอผักไห่เท่านั้น ( ดูในประกาศฉบับเก่า )  แต่ประกาศฉบับใหม่นี้ ให้ทั้งจังหวัดเป็นเขตบริการเดียว คือผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดใด ให้สมัครในอำเภอใดก็ได้ที่ทำหน้าที่เทียบระดับในจังหวัดนั้น  ( ส่วนใหญ่เขาต้องการสมัครในอำเภอที่เขาอยู่อาศัย ) ส่วนการประเมินภาคประสบการณ์ก็ประเมินโดยอำเภอ สอบภาคทฤษฎีสอบโดยจังหวัด



         2. ดึกวันที่ 9 ม.ค.56 คุณอารีรัตน์ แสนวงศ์ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  วันอนุมัติจบของผู้เข้าเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน วันที่เท่าไหร่

             ผมตอบว่า   วันอนุมัติจบ ของแต่ละแห่ง ไม่เหมือนกัน โดยอนุมัติจบได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของการสัมมนาวิชาการ



         3. วันที่ 10 ม.ค.56 คุณอุดมพร ครูอาสาฯ กศน.อ.บางปะหัน ขอผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ขอหนังสือที่ให้ออกคำสั่งตั้งครูอาสาฯ เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล

             ผมตอบว่า   อยู่ในหน้าสุดท้าย บรรทัดสุดท้าย ของแนวนโยบายฯ ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/Practice10Dec57.pdf   กำหนดว่า ให้แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล ให้ครบทุกตำบล โดยคัดเลือกจากครูอาสาสมัครเป็นอันดับแรก



         4. วันเสาร์ที่ 11 ม.ค.56 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ว่า  คำถามของผู้ประเมินฯภายนอก ในตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ที่ครูผู้สอนควรเตรียมคำตอบไว้  คือ

             1)  ทำไมท่านต้องกำหนดเป้าหมาย ( จุดประสงค์, ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ) ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
             2)  ท่านได้กำหนดเป้าหมายตามข้อ 1 ไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร
             3)  ท่านคิดว่า การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล สร้างภาระงานให้ครูหรือไม่ อย่างไร
             4)  ท่านได้ดำเนินการวิเคราะห์ผู้เรียนหรือไม่
             5)  ท่านนำผลการวิเคราะห์ไปดำเนินการอะไรบ้าง
             6)  ท่านคิดว่าการออกแบบการเรียนรู้ แตกต่างจากการเขียนแผนการสอนอย่างไร
             7)  ท่านสอนวิชาใด แผนการสอนของท่านได้มาจากวิธีการใด
             8)  ท่านมีวิธีการจัดบรรยากาศชั้นเรียนให้เอื้อต่อผู้เรียน อย่างไร
             9)  ท่านใช้สื่อประกอบการสอนหรือไม่ มีอะไรบ้าง
            10)  ท่านมีวิธีการประเมินความก้าวหน้าผู้เรียนหรือไม่ อย่างไร
            11)  ท่านมีวิธีสรุปความก้าวหน้าของผู้เรียนหรือไม่ อย่างไร
            12)  ท่านกำหนดแหล่งข้อมูลที่จะใช้เพื่อการวางแผนซ่อมเสริมผู้เรียนหรือไม่ อย่างไร
            13)  ท่านมีการจำแนกผู้เรียนก่อนจัดซ่อมเสริมหรือไม่ อย่างไร
            14)  ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ท่านทำวิจัยกี่เรื่อง เรื่องอะไรบ้าง
            15)  ที่มาของงานวิจัยนี้ ท่านได้ใช้ข้อมูลจากแหล่งใด
            16)  ผลการวิจัยของท่านครั้งนี้เป็นอย่างไร

             ใครสนใจตัวอย่างการตอบคำถาม 16 ข้อนี้ ดูได้ที่
             https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/exampleAnswer.pdf



         5. วันที่ 13 ม.ค.56 คุณ Palmy Ritthisan ครู กศน.ตำบล  กศน.อ.เสนา  ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  เข็มวิทยพัฒน์ ประดับตรงไหนของเครื่องแบบสีกากี
            
และเมื่อวันที่ 12 ส.ค.56 คุณจิดาภา ครูอาสาฯ กศน.อ.ผักไห่ ก็ถามผมว่า  เข็มวิทยพัฒน์ กับ เข็มเชิดชูเกียรติ ( 10-15-20 ปี )  ประดับตรงไหนของเครื่องแบบเสื้อสีขาว

             ผมตอบว่า   ประดับที่กระเป๋าเสื้อด้านขวา  ถ้าเป็นเครื่องแบบสีขาวของสตรีไม่มีกระเป๋าเสื้อ ก็ประดับที่อกเสื้อด้านขวา  ประดับเข็มที่มีศักดิ์สูงกว่าเข็มเดียวก็พอ โดยผมบอกว่าเข็มเชิดชูเกียรติมีศักดิ์สูงกว่า เพราะเข็มวิทยพัฒน์แสดงว่าผ่านการอบรมพัฒนาเท่านั้น แต่เข็มเชิดชูเกียรติแสดงว่ารับราชการมาเป็นเวลานาน ซึ่งย่อมจะต้องเคยผ่านการอบรมพัฒนามาด้วยแล้ว
             ในการประดับเข็มนี้ ถึงแม้ว่า เข็มวิทยพัฒน์กับเข็มเชิดชูเกียรติของ กศน. จะยังไม่มีระเบียบ/ประกาศ/ข้อบังคับ รองรับที่ชัดเจน แต่คุณณัฐมน กลุ่มพัฒนา กศน. บอกผม ( ตั้งแต่ยังอยู่ กป.กศน. ) ว่า  ประดับได้
             ( ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในข้อ 4 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/485388 )

Pin3.jpg



         6. คืนวันที่ 16 ม.ค.56 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง โปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ (KSM) รุ่นวันที่ 12 ม.ค. 57 พัฒนาโดย คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ว่า

             รุ่นนี้มีรายการปรับปรุงแก้ไขดังนี้
             1)  แก้ไขการอ่านคะแนนภาคทฤษฎีจากแฟ้มคะแนนสอบ (เมนูหลัก 3 ย่อย 1) ที่อ่านคะแนนไม่ได้ถ้ารหัสสถานศึกษาในแฟ้มคะแนนไม่ตรงกับรหัสสถานศึกษาในโปรแกรม (รหัสสถานศึกษาของอำเภอส่วนใหญ่ที่ส่งไปให้ สทศ. ไม่ตรงกับในโปรแกรม)
                  ในกรณีนี้โปรแกรมจะเปลี่ยนไปเช็คจากชื่อสถานศึกษาในแฟ้มข้อมูลแทน ถ้าตรงกันจะอ่านคะแนนเข้าไปได้
             2)  แก้ไขการบันทึกคะแนนภาคทฤษฎีรอบสอง (เมนูหลัก 3 ย่อย 2) ในส่วนวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ที่มีปัญหาไม่สามารถบันทึกคะแนนได้ในบางกรณี
             3)  แก้ไขรายงานสถิติผลการสอบ (เมนูหลัก 3 ย่อย 1-6) ที่แสดงผลจำนวนผู้มีสิทธิสอบรอบสองไม่ถูกต้อง
             4)  แก้ไขรายงานสั่งข้อสอบภาคทฤษฎี (เมนูหลัก 2 ย่อย 8) ปรับรูปแบบไฟล์ที่บันทึกเป็น excel ใหม่ โดยเพิ่มรหัสสถานศึกษาและเลขบัตรประชาชน
             5)  เพิ่มแบบฟอร์มหนังสือรับรองของนายจ้าง/ผู้บังคับบัญชา (เมนูหลัก 5 ย่อย 2)
             6)  แก้ไขการติดตั้ง/ถอนการติดตั้งโปรแกรม ไม่ให้ลบแบบฟอร์มต่างๆที่ได้แก้ไขไปแล้ว (เช่นใบ รบ. ใบประกาศนียบัตร)
             7)  แก้ไขการสร้างแบบรวบรวมคะแนนภาคประสบการณ์ ไม่นำคนที่ผ่านวิชานั้นมาแสดงในแบบรวบรวมคะแนน
             8)  ปรับแก้ไขผลสอบของวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ทั้งสองรอบให้ถูกต้อง (คะแนนที่อยู่ในช่วง 50-59 ปรับให้เป็นไม่ผ่าน)
             9)  แก้ไขรายงานสรุปผลการประเมินภาคทฤษฎี เพิ่มตัวเลือกคะแนนสอบทั้งสองรอบและตัวเลือกขอบเขตข้อมูล

             link สำหรับ download โปรแกรมติดตั้ง
             https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/KSM_Setup.zip   หรือ
             https://drive.google.com/file/d/0B6tQobXfGWLEYXFqR1EwYUFUUTg/edit?usp=sharing

             link สำหรับ dawnload คู่มือการใช้โปรแกรม
             https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/KSM_Manual.pdf



         7. คืนวันที่ 17 ม.ค.57 ผมเผยแพร่เรื่อง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหลายคน ( 5 แสนกว่าคน )  จะหมดอายุพร้อมกันในวันที่ 8 ธ.ค.57  ว่า

             ข้อบังคับคุรุสภากำหนดว่า การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จะต้องยื่นคำขอต่ออายุล่วงหน้า 180 วัน ( ประมาณ 6 เดือน ) ก่อนครบอายุ 5 ปี  คือเราจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 11 มิ.ย.57  แต่เนื่องจากในปีนี้จะมีผู้ยื่นช่วงเดียวกันจำนวนมาก คุรุสภาจึงแนะนำให้ยื่นภายในวันที่ 15 พ.ค.57
             ส่วนใหญ่ก็จะมีคุณสมบัติที่ต่ออายุได้ แต่ก็ไม่ใช่ 100 % เต็ม

             การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องมีคุณสมบัติครบ 3 ด้าน คือ ก.ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ( วุฒิ )   ข.ด้านการปฏิบัติงาน ( การพัฒนาตนเองที่ผ่านมา )  และ ค.ด้านการประพฤติตนตามจรรยาบรรณ
             ถ้าเป็นการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครู จะมีรายละเอียดใน 3 ด้าน ดังนี้

             ก.  ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ( วุฒิ )
                  ต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
                   (1)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า เช่น กศ.บ. ค.บ. ค.อ.บ. ศษ.บ.( ไม่ใช่ ศศ.บ.)  หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                   (2)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) ที่คุรุสภารับรองหรืออยู่ในระหว่างศึกษาตามหลักสูตรดังกล่าว
                   (3)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ปวค.) ที่สำเร็จการศึกษาก่อนวันที่ 9 เม.ย.52
                   (4)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา (ทดสอบ-ฝึกอบรม-เทียบโอน) ครบ 9 มาตรฐาน หรืออยู่ในระหว่างการเสนอขอรับรอง
                   (5)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ศึกษาความรู้วิชาชีพครูจำนวน ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
                   (6)  มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
                   (7) มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี หรืออยู่ในระหว่างศึกษาให้มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง

                  ผู้ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาหรือคุณวุฒิและประสบการณ์วิชาชีพตามข้างต้น ให้นำเสนอคณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี

                  จะเห็นว่า ถึงแม้จะไม่มีวุฒิทางการศึกษาตามคุณสมบัติข้อ (1) แต่ถ้ามีคุณสมบัติตามข้อ (2) - (7) ข้อใดข้อหนึ่ง ก็ได้

              ข.  ด้านการปฏิบัติงาน ( การพัฒนาตนเองที่ผ่านมา )
                   ใน 5 ปีที่ผ่านมา ต้องทำกิจกรรมการพัฒนาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ หรือมีกิจกรรมที่แสดงการเพิ่มพูนสมรรถนะในงาน อย่างน้อย 3 ใน 12 กิจกรรมต่อไปนี้
                    (1)  เข้ารับการศึกษาให้มีวุฒิเพิ่มขึ้นในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
                    (2)  เข้ารับการอบรมและได้รับวุฒิบัตรแสดงความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา
                    (3)  ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
                    (4)  ผ่านการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น หรือ อยู่ระหว่างการพิจารณาประเมิน
                    (5)  เป็นวิทยากรในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา
                    (6)  เขียนตำรา บทความ ผลงานทางวิชาการในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา
                    (7)  สร้างนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
                    (8)  ทำวิจัยในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้และการศึกษา
                    (9)  ได้รับรางวัลจากคุรุสภา หรือจากหน่วยงานทางการศึกษาอื่น
                   (10)  เข้าฟังการบรรยาย อภิปราย ประชุมปฏิบัติการ ประชุมสัมมนาหรืออื่น ๆ โดยมีการลงทะเบียนและมีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
                   (11)  ศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
                   (12)  จัดทำผลงานหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา

              ค.  ด้านการประพฤติตนตามจรรยาบรรณ
                    ด้านนี้คงไม่มีปัญหา เพราะให้รับรองตนเองว่าได้ประพฤติตนตามจรรยาบรรณ

              การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และ ศึกษานิเทศก์  สามารถยื่นได้ 4 ช่องทาง โดยเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้
              1)  ยื่นผ่านสถานศึกษา/หน่วยงานทางการศึกษาที่ตนสังกัด โดยสถานศึกษาใช้โปรแกรมการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (KSP Renew) และ Upload ผ่านระบบ Internet
                   ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตฯ ส่งแบบคำขอฯ (คส. 02) และแบบแสดงคุณสมบัติฯ (ของครูคือ คส. 02.10) ที่รับรองคุณสมบัติเรียบร้อยแล้ว พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ และใบเสร็จค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตฯ ( 200 บาท ) ณ สถานศึกษาที่สังกัด เพื่อดำเนินการต่อไป
              2)  ยื่นผ่านคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา
              3)  ยื่น ณ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา กทม.
              4)  ยื่นผ่านทางไปรษณีย์  ( มักจะเงียบหาย เพราะถ้าเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน คุรุสภาจะไม่แจ้งให้ทราบ เนื่องจากผู้ยื่นมีจำนวนมาก ผู้ยื่นต้องติดตาม/ติดต่อสอบถามเอง )

              ถาม :  ใครเป็นผู้รับรองการขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
              ตอบ :  กรณีผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับรองตนเอง   กรณีครู ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้รับรอง

              ถาม :  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีใบประกอบวิชาชีพ 2 ใบ คือ ใบอนุญาตตามสถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทั้ง 2 ใบหรือไม่
              ตอบ :  ให้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตตามสถานภาพของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา  ส่วนจะต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วยหรือไม่ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ถือใบอนุญาตที่พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วยหรือไม่

              ถาม :  หลักฐานการขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพส่งให้คุรุสภาหรือไม่
              ตอบ :  หลักฐานการขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ต้องส่งไปให้คุรุสภา แต่ให้เก็บรวบรวมไว้ที่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่คุรุสภาต้องการตรวจสอบ

              ดูรายละเอียดใน คู่มือการปฏิบัติงานการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่
              https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/Renewmanuallicense.pdf


วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีจบไม่พร้อมรุ่น, ประเมินภายนอก 57 ระยะแรก ช่วง 2, โปรแกรม ITw กพช. 200 ชม., เครื่องราชฯพนักงานราชการ, ปรับเพิ่มเงินเดือน ขรก.ครู ม.ค.56-57, คำนวณ ตช. 1.5 (ภายใน) จากขีดจำกัดล่าง, เอกสารการเบิกค่าตอบครูที่ปรึกษา



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. เช้าวันที่ 13 ธ.ค.56 คุณพิชญานิน ขรก.ครู กศน.อ.ระโนด ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  นักศึกษาสอบ N-net 2/55 1 ชุด และสอบ 1/56 1 ชุด ถือว่าได้ผ่านการสอบแล้ว จบการศึกษา 1/56 แต่ทางอำเภอยังไม่ได้อนุมัติจบรายนี้ใน 1/56 ถ้าจะอนุมัติในระหว่างภาคเรียน 2/56 ได้หรือไม่

             ผมตอบว่า   การอนุมัติจบ อนุมัติเมื่อครบเงื่อนไขการจบหลักสูตร 4 ข้อ ใครครบเมื่อไรก็อนุมัติได้เลย แม้แต่อนุมัติวันอาทิตย์ กศน.เราก็ว่าทำได้
             ถ้าเขาครบเงื่อนไขในภาค 1/56 แต่เราไม่ได้อนุมัติพร้อมรุ่น ก็สามารถอนุมัติย้อนหลังไม่พร้อมรุ่นแต่อยู่ภายในภาค 1/56 ก็ยังได้
             วิธีดำเนินการ ในการจบไม่พร้อมรุ่น ให้อ่านใน
             - ข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/485388
             - ข้อ 3 (1) ที่ http://www.gotoknow.org/posts/484069
             - ข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/499858
             - ข้อ 13.1 (5) ที่ http://www.gotoknow.org/posts/506950



         2. วันที่ 17 ธ.ค.56 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องกำหนดการประเมินฯภายนอก ปี 57 ระยะแรก ช่วงที่ ว่า

             ปี งปม. 57 สมศ.กำหนดการประเมินฯภายนอก กศน.อำเภอ/เขต เป็น 2 ระยะ
             - ระยะแรก 41 จังหวัด 354 แห่ง
             - ระยะสอง ประเมินระหว่างเดือน พ.ค.- ก.ค.57 จำนวน 16 จังหวัด 150 แห่ง

             ในส่วนของระยะแรกนั้น แบ่งย่อยเป็น 2 ช่วง
             - ช่วงแรก ประเมินระหว่างเดือน ธ.ค.56 - ม.ค.57 จำนวน 180 แห่ง
             - ช่วงที่สอง จำนวน 174 แห่ง ในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ชัยภูมิ นครราชสีมาบางส่วน (20 อำเภอ) นครสวรรค์ ปราจีนบุรี เพชรบูรณ์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ร้อยเอ็ด เลย ลำปาง สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชธานี และอุทัยธานี
                ระยะแรกช่วงที่สองนี้ สมศ.บอกว่า จะประเมินประมาณ มี.ค.-เม.ย.57  ผมบอกเขาว่า มี.ค.-เม.ย.57 เป็นช่วงสอบปลายภาคและปิดภาคเรียน ถ้าเข้าประเมินช่วงนั้นก็จะไม่ได้ดูการสอน กศ.ขั้นพื้นฐานนะ  สมศ.ตอบว่า "ก็ยังไม่แน่นอน 100 %"
             สรุปว่ากำหนดการประเมินฯระยะแรกช่วงที่สอง รวมทั้งระยะที่สอง ยังไม่แน่ 100 %



         3. คืนวันเดียวกัน ( 17 ธ.ค.) ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องปัญหาจากการแก้ไขโปรแกรม ITw ให้ กพช.เป็น 200 ชั่วโมง  ว่า

             คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ITw บอกว่า ถ้าเริ่ม กพช. 200 ชั่วโมง เฉพาะนักศึกษาใหม่ 2/56 เป็นต้นไป ก็จะแก้ไขโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นใหม่ออกมา ผมก็เล่าให้เขาฟังว่าท่านเลขาฯให้รวมนักศึกษาเก่าด้วย  ถ้าเป็นอย่างนี้จะแก้ที่ตัวโปรแกรมไม่ได้ ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนที่ "ตัวแปรระบบ" เอง เปลี่ยนที่เมนู 2 - 1 ( ตัวแปรระบบ - ตัวแปรระบบ - เกณฑ์การจบ ) แก้กิจกรรม กพช. เป็น 200 ชั่วโมง แล้วคลิก "บันทึก"
             แต่เมื่อแก้แล้ว นศ.คนที่เราจะทำให้จบหลังจากนั้น ต้องทำ กพช. 200 ชั่วโมง
             ฉะนั้น ก่อนแก้ให้เป็น 200 ชั่วโมง เราต้องทำจบให้นักศึกษาเก่าทุกคนที่จบภายในภาค 1/56 ก่อน   ทำจบที่เมนู 1 - 8 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน - การจบหลักสูตร ) เสร็จแล้วจึงค่อยแก้ตัวแปรระบบให้ กพช.เป็น 200 ชั่วโมง

             แต่ถ้าแก้ตัวแปรระบบให้ กพช.เป็น 200 ชั่วโมงไปแล้ว มาพบภายหลังว่ามี นศ.บางคนที่จบภายในภาค 1/56 แล้วยังไม่ได้ทำจบ ก็ลองแก้ตัวแปรระบบ ( เมนู 2 - 1 ) ให้ กพช.กลับไปเป็น 100 ชั่วโมง แล้วเข้าไปทำให้ นศ.คนนั้นจบ แต่ไปทำที่เมนู 1 - 1 - 5 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน - บันทึกประวัตินักศึกษา - แก้ไขข้อมูลการจบออก )  เสร็จแล้วจึงกลับมาแก้ตัวแปรระบบให้ กพช.เป็น 200 ชั่วโมงใหม่อีก



         4. วันที่ 18 ธค.56 คุณ Questions Handdom โพสท์ในกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ไม่ทราบหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์พนักงานราชการ

             เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้หลายตอน เช่น
             1)  หลักเกณฑ์การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์พนักงานราชการ ในข้อ 9 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/436408
             2)  ดูการประดับอินทรธนูและเครื่องราชอิสริยาภรณ์พนักงานราชการ ตอนท้ายข้อ 4.2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/434586
             3)  เหรียญตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ใช้ประดับกับชุดเสื้อขาวกางเกงกระโปงดำเท่านั้น ถ้าเป็นชุดสีกากี หรือชุดเสื้อขาวกางเกงกระโปงขาว ให้ประดับแพรแถบย่อแทนเหรียญตรา   ดูเรื่องแพรแถบย่อเครื่องราชฯของข้าราชการและพนักงานราชการ ในข้อ 6 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/310038
             4)  การขอพระราชทานฯ ดูในข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/462139









         5. วันอาทิตย์ที่ 22 ธ.ค.56 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง ปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการครูเก่า 1 ม.ค.56, 1 ม.ค.57 ( รวมศึกษานิเทศก์ )  ว่า

             มีบัญชีเป็นตารางกำหนดละเอียดเลยว่า วุฒิอะไร อันดับอะไร เงินเดือน ณ 31 ธ.ค.55, 31 ธ.ค.56 กี่บาท จะได้ปรับเป็นกี่บาท เช่น

             - ม.ค.56
                ถ้าวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี อันดับ คศ.2 เงินเดือน ณ 31 ธ.ค.55 ได้ 17,970 บาท จะได้ปรับเพิ่มย้อนหลังตั้งแต่ ม.ค.56 อีก 1,000 บาท ( 1 ขั้น ) เป็น 18,970 บาท เป็นต้น
                ดูรายละเอียดในบัญชีได้ที่ http://203.146.15.33/images/document/2556/12/v21-56-3-1.pdf
                การปรับเพิ่ม ณ 1 ม.ค.56 นี้ ถ้าเป็นพนักงานราชการ+ข้าราชการพลเรือน+ลูกจ้างประจำ+บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) จะปรับเพิ่มไปเรียบร้อยแล้ว
                ของข้าราชการครูเพิ่งจะมีบัญชีตารางการปรับออกมา ต้องออกคำสั่งแก้ไขคำสั่งต่าง ๆ ย้อนหลังกันอีกแล้ว ไม่รู้ว่า กจ.กศน. จะใช้เวลากี่เดือน แต่จะได้ตกเบิกเฉพาะส่วนที่เกิน 15,000 บาท

             - ม.ค.57
                ถ้าวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี อันดับ คศ.2 เงินเดือน ณ 31 ธ.ค.56 ได้ 18,970 บาท จะได้ปรับเพิ่มตั้งแต่ ม.ค.57 อีก 980 บาท ( 1 ขั้น ) เป็น 19,950 บาท เป็นต้น
                สำหรับผู้ที่วุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี อันดับ คศ.1 ที่เงินเดือนเกิน 25,240 บาทแล้ว จะไม่ได้ปรับเพิ่ม
                สำหรับผู้ที่วุฒิปริญญาเอก อันดับ คศ.5 ที่เงินเดือนเกิน 40,360 บาทแล้ว จะไม่ได้ปรับเพิ่ม
                ดูรายละเอียดในบัญชีได้ที่ http://203.146.15.33/images/document/2556/12/v21-56-3-2.pdf



         6. วันที่ 24 ธ.ค.56 คุณอิ่มจิต ครูอาสาฯ กศน.อ.ศรีสารคาม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  วิธีหาค่าขีดจำกัดล่าง เพื่อคำนวณ ตัวบ่งชี้ 1.5 ลง SAR ทำอย่างไร

             ผมตอบว่า   ค่าขีดจำกัดล่าง สำหรับการประเมินฯภายใน ( SAR ) นั้น กลุ่มพัฒนา กศน. สรุปไว้ให้แล้ว

             วิธีการคำนวณ ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทำ SAR
             - ให้โปรแกรม ITw คำนวณให้ ง่ายนิดเดียว
             - SAR เป็นการประเมินภายใน ใช้ค่าขีดจำกัดล่างของการสอบ
ปลายภาค และเปรียบเทียบ 2 ปีงบประมาณ ( ถ้าเป็นการประเมินภายนอกโดย สมศ. จึงจะใช้ค่าขีดจำกัดล่างของ N-NET และเปรียบเทียบ 2 ปีการศึกษา )
             - ทำ SAR ปีงบประมาณ 2556 ต้องเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณ 2556 (ภาค 2/55 และ 1/56 )กับ ปีงบประมาณ 2555 ( ภาค 2/54 และ 1/55 )
             - เข้าโปรแกรม ITw ไปที่เมนู1  - A - 1 - 4 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน - รายงาน - รายงานผลการเรียน... - รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน )
             - จะเห็นว่าโปรแกรมกรอกค่าขีดจำกีดล่างของภาค 2/54 กับ 1/55 ไว้ให้แล้วให้เราเลือกปีงบประมาณ 2556 แล้วกรอกค่าขีดจำกัดล่างภาค 2/55, 1/56 เอง โดยใช้ข้อมูล
               ภาค 2/55 ที่  http://www.pattanadownload.com/download/g.2/g2.15.zip  หรือ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/lowerlimit2-55.xls
               ภาค 1/56 ที่  http://www.pattanadownload.com/download/g.2/g.2.23.xls
                (ค่าขีดจำกัดล่างคือค่า Y ใน Sheet1  กรอกเพียงทศนิยม 2 ตำแหน่ง ตัดตำแหน่งที่ 3 ทิ้งไป ไม่ต้องปัด  กรอกเสร็จแล้วอย่าลืมคลิกที่ "บันทึกค่าขีดจำกัดล่าง")
               แค่ เพียงเราคลิกที่ "ตัวอย่างก่อนพิมพ์" หรือ "พิมพ์" เท่านั้น โปรแกรมก็จะคำนวณให้เสร็จเรียบร้อยเลย ในชั่วพริบตา ( เพราะมีคะแนนสอบปลายภาคอยู่แล้ว โปรแกรมบวกลบคูณหารให้เอง )
             - ในกรณีที่ค่าขีดจำกัดล่างบางภาคเรียนยังไม่ออก ถ้าต้องรีบส่ง SAR ให้ปล่อยว่างภาคเรียนนั้นไว้ก่อน  คำนวณเท่าที่มีไปก่อน  แต่เมื่อภายหลังได้ค่าขีดจำกัดล่างแล้ว ต้องเข้ามากรอกในโปรแกรม คำนวณใหม่ ปรับแก้ SAR ในส่วนนี้ใหม่



         7. ดึกวันที่ 2 ม.ค.57 คุณดุษฎี ครูอาสาฯ กศน.อำเภอวชิรบารมี ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  การทำเบิกค่าตอบแทนครูที่ปรึกษา แบบฟอร์มและเอกสารควรมีอะไรบ้าง เหมือนครูประจำกลุ่มไหม
             ผมตอบว่า   คงต้องออกแบบหลักฐานขึ้นมาใหม่ ในลักษณะเดียวกับค่าตอบแทนครูประจำกลุ่ม ซึ่งควรประกอบด้วย
             1)  บันทึกขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
             2)  ใบสำคัญรับเงิน  ( ตัวอย่าง
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/moneyCT.jpg )
             3)  บัญชีรายชื่อผู้เข้าเทียบระดับฯ ปริ้นท์จากโปรแกรม
KSM เมนู 2 5 ( ลงทะเบียน รายงานสรุปการลงทะเบียนตามกลุ่ม ) ภาคทฤษฎี
             4)  คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา
             5)  บัญชีลงเวลาการเป็นครูที่ปรึกษา  ( ตัวอย่าง  https://db.tt/XiDpTqeG )
             6)  สำหรับการเบิกจ่ายครั้งแรกให้แนบประกาศกระทรวงฯฉบับวันที่ 8 พ.ค.57 ด้วย  ดาวน์โหลดได้ที่
http://www.pattanadownload.com/download/g.7command/g7.1.pdf หรือที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/teacherCM.jpg