วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

1.การโอนเปลี่ยนตำแหน่งใน กศน.และการโอนมาจากต่างสังกัด, 2.สงสัยการประเมินพนักงานราชการ, 3.ข้อสอบติวเทียบระดับฯวิชาคอมพิวเตอร์, 4.จบประถมมาเลเซียมาสมัครเรียน ม.ต้น กศน, 5.ครูอาสาฯเป็นกรรมการเทียบระดับ เบิกค่าตอบแทนได้หรือไม่, 6.อายุเท่าไรแน่มาเรียน กศน.ได้, 7.หนังสือที่แจ้งว่าให้บรรณารักษ์จ้างเหมาฯได้ 15,000



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 19 ก.ย.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการโอนเปลี่ยนตำแหน่งใน กศน. และการโอนจากต่างสังกัด มา กศน. ( บทบาทและผลงานหนึ่งของ อ.ก.ค.ศ.สป. ) ว่า
             เพื่อให้การโอนเปลี่ยนตำแหน่งใน กศน. และการโอนจากต่างสังกัด มา กศน. มีมาตรฐาน ชัดเจน รัดกุม เป็นธรรมกว่าที่ผ่านมา  คณะ อ.ก.ค.ศ.สป.ศธ. จึงมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติเรื่องนี้ ในการประชุม อ.ก.ค.ศ.ครั้งที่ 4/2557 เมื่อ 22 ส.ค.57
             โดยมีแนวปฏิบัติต่าง ๆ  ( เผยแพร่โดย อ.จักราวุธ คำทวี ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ.สป. )  เช่น
             - ให้ สนง.กศน.ประกาศจำนวนตำแหน่งว่างของ หน่วยงาน/สถานศึกษา ที่มีความประสงค์จะรับโอน
             - รับโอนในตำแหน่งใด จะต้องไม่มีบัญชีรอการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่จะขอโอนค้างอยู่
             - หน่วยงาน/สถานศึกษาที่ได้รับแบบคำร้องขอโอน จะต้องเร่งส่งแบบคำขอโอนไปยัง สนง.กศน.โดยไม่ชักช้า
             ฯลฯ

             ใครสนใจรายละเอียดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัตินี้ ดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/transfer.pdf  

         2. ดึกวันที่ 22 ก.ย.57 Aoy Sudthida กศน.เมืองหนองคาย ถามผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  การประเมินครูอาสากับครู กศน.ตำบลใช้หลักเกณฑ์เดียวกันไหม ถ้าคนละเกณฑ์แยกการประเมินและเรียงคะแนนต่างหากรึเปล่า หรือเอาคะแนนมาเรียงกันทั้ง ครู กศน.ตำบลและครูอาสาฯภายในอำเภอนั้น

             ผมตอบว่า
             1)  แบบประเมินพนักงานราชการเป็นลักษณะเดียวกัน แต่มีความยืดหยุ่นให้ปรับเพิ่มเติมรายละเอียดได้ ฉะนั้นรายละเอียดในแบบประเมินของครูอาสาฯกับครู กศน.ตำบลจึงต่างกันได้ ( แต่นโยบายท่านประเสริฐ บุญเรือง ให้ครูอาสาฯ และครู กศน.ตำบล ทำงานเหมือนกัน และถ้าบอกว่าปัจจุบันครูอาสาฯไม่ต้องสอนแล้ว จะผิดบทบาทหน้าที่ที่ตกลงไว้กับ กพร.  อาจส่งผลให้ กพร.ยุบพนักงานราชการตำแหน่งครูอาสาฯ )
             2)  หลักเกณฑ์การประเมิน เหมือนกัน เช่น ต้องได้คะแนนเฉลี่ย 2 ครั้งในระดับดี ( 75 % ) ขึ้นไป จึงจะได้เลื่อนค่าตอบแทน
             3)  จะแยกการประเมินเป็น 3 กลุ่ม โดยเรียงคะแนนในแต่ละกลุ่มแยกกัน  หรือ เอาคะแนนมาเรียงกันทั้งหมด ไม่แยกกลุ่ม ก็ได้  อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละอำเภอ  ( 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มครูปอเนาะ
, 2.กลุ่มครู กศน.ตำบล,
3.กลุ่มครูอาสาฯรวมอื่นๆ )
             ถ้าไม่แยกกลุ่ม โดยทุกคนอยู่กลุ่มเดียวกันและอำเภอเดียวกัน ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่า จะได้ % เลื่อนค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าไม่ได้  แต่ถ้าแยกกลุ่ม ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่าอาจะได้ % เลื่อนค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าในกลุ่มอื่นหรืออำเภออื่นได้  ( ตำแหน่งเดียวกันแต่อยู่ต่างอำเภอถือเป็นคนละกลุ่ม  เรียงลำดับเฉพาะในกลุ่มเดียวกัน )
             การประเมินแต่ละครั้ง ก็ย่อมมีผู้ไม่พอใจ  มีทั้งการประเมินไม่ยุติธรรม และ ผู้รับการประเมินคิดเข้าข้างตัวเอง

         3. วันเดียวกัน ( 22 ก.ย.) ผมเผยแพร่แนวข้อสอบสำหรับติวสอบเทียบระดับฯสูงสุดฯวิชาคอมพิวเตอร์ ในเฟซบุ๊ค คือ 
             ข้อสอบสำหรับติวเทียบระดับฯสูงสุด วิชาคอมพิวเตอร์ 100 ข้อ โดย อาคม จันตะนี กศน.อ.บางโพธิ์เหนือ
http://www.bangphonua.com/   ( เนื้อหานำมาจากหนังสือของสำนักงาน กศน. และส่วนหนึ่งมาจากคู่มือสอนเสริม )   ดาวน์โหลดได้ที่
            
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/COMPUTERtest.pdf
 

         4. วันที่ 23 ก.ย.57 Say Day Stadaup Be กศน.อ.เมืองเชียงราย ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  มีเด็กมาสมัครเรียน ซึ่งมีวุฒิระดับประถมจากประเทศมาเลเซีย สามารถเรียนต่อ ม.ต้นของ กศน.ได้ไหม

             ผมตอบโดยปรึกษาคุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน. และคุณกิตติพงศ์ก็ถามท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนาต่อให้ด้วย  ได้รับคำตอบว่า   ในกรณีถ้าจบชั้นตัวประโยค ( ป.6 ม.3 ม.6 ) จะเป็นการเทียบวุฒิจากต่างประเทศ ไม่ใช่การเทียบโอน  ( การเทียบโอนต้องยังเรียนไม่จบชั้นตัวประโยค เช่นเรียนแค่ ป.5 ม.2 ม.5 เป็นต้น )
             การเทียบวุฒิที่จบแล้วในระดับ กศ.ขั้นพื้นฐาน เป็นอำนาจหน้าที่ของ สพฐ. ส่วนการเทียบโอนจึงจะเป็นเรื่องของเรา
             ปัญหาคือ ตอนนี้ สพฐ.เลิกการเทียบวุฒิระดับประถมแล้ว เขาจะเทียบเฉพาะระดับ ม.3 ม.6
             กรณีนี้ยังไม่จบ ม.3  เทียบวุฒิ ม.3 ก็ไม่ได้  จะเทียบวุฒิประถมก็เลิกเทียบแล้ว  จึงเท่ากับไม่มีวุฒิอะไรเลย  ( ถ้าจะมาสมัครเรียน ม.ต้นกับเรา ก็ต้องเทียบวุฒิ ป.6 มาด้วย ซึ่ง สพฐ.ไม่เทียบให้แล้ว )  ฉะนั้น ต้องใช้วิธีมาสมัครเรียนประถมใหม่ แล้วเทียบโอนจากหลักสูตรต่างประเทศแบบยังไม่จบประถม ตามคู่มือฯหน้า 42 เท่าเกรด 5 ต้องมาเรียนประถมอีก 2 ภาคเรียน  ( ให้เขานำใบวุฒิไปให้สถาบันที่เชื่อถือได้ แปลเป็นภาษาไทยมาก่อน  ให้สถาบันที่แปลประทับตรารับรองการแปลมาด้วย   ถ้าไปสมัครเรียนในระบบ อาจจะเรียน ม.ต้นได้เลย )


         5. วันที่ 25 ก.ย.57 Pattanan Dondee ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การเบิกจ่ายค่าตอบแทนกรรมการประเมินภาคประสบการณ์เทียบระดับสูงสุดฯ ในกรณีที่ครูอาสาฯเป็นกรรมการและเลขานุการ สามารถเบิกค่าตอบแทนได้หรือไม่

             เรื่องนี้  อ.สกุลนา หัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบและติดตามผล หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ตอบว่า  ถ้าเป็นกรรมการประเมินภาคประสบการณ์ ก็เบิกค่าตอบแทนการประเมินภาคประสบการณ์ได้  ( ระเบียบให้แต่งตั้งกรรมการจากผู้มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้ห้ามแต่งตั้งจากคน กศน.ตำแหน่งใด  ถ้าเป็นครูที่ปรึกษาจึงจะห้ามแต่งตั้งจากบุคลากร กศน. )
             และแม้จะประเมินภาคประสบการณ์ในวันเวลาราชการ ก็เบิกค่าตอบแทนกรรมการลักษณะรายหัวนี้ได้ เพียงแต่จะเบิกซ้อนกับค่าตอบแทนอื่นเช่น ค่าคุมสอบ ค่าปฏิบัติงานนอกเวลา ไม่ได้ เพราะจะทำงาน 2 อย่างพร้อมกันไม่ได้


         6. เย็นวันเดียวกัน ( 25 ก.ย.) กศน.อำเภอโพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  เกณฑ์อายุในการรับสมัครนักศึกษา กศน. 15 ปี 1 วัน  หรือ 16 ปี 1 วัน  แล้วนักศึกษาที่ยังไม่จบภาคบังคับจากในระบบ จะสมัครเข้ามาเรียน กศน.ได้หรือไม่ถ้าอายุยังไม่ถึง 16 ปี 1 วัน (กรณีเรียนไม่จบมาสมัครใหม่) ไม่ใช่เทียบโอนนะ จะรับได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีเกณฑ์ออกมาที่แตกต่างกัน

             ผมตอบว่า   อายุ 15 ปีพอดี ไม่ต้อง 15 ปี 1 วัน ก็มาสมัครเรียน กศน.ได้แล้ว  ตามหนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.04/5719 เรื่องการรับนักเรียนในระบบเข้าศึกษาในสถานศึกษา กศน. ลงวันที่ 11 ธ.ค.51 ระบุว่า  กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ เข้าเรียนภาคบังคับในสถานศึกษา กศน. ให้ สนง.เขตพื้นที่การศึกษาทำหนังสือส่งตัวมา และต้องมาใช้เวลาเรียน กศน.ไม่น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่เรียนอยู่ในโรงเรียนปกติ   ( แต่ถ้าจบภาคบังคับแล้ว มาสมัครเรียน กศน.ม.ปลาย อายุเท่าไหร่ก็มาสมัครได้ และใช้เวลาเรียนตามระเบียบเรา )

         7. วันอาทิตย์ที่ 28 ก.ย.57 Yanna Ruangprat กศน.อ.ลาดบัวหลวง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ถ้าอยากจะได้หนังสือคำสั่งจากกรมที่ปรับเงินบรรณารักษ์(จ้างเหมาบริการ) เป็น 15000 จะเอาได้ที่ไหน

             ผมตอบว่า   ดูที่
             - https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/EmployMao.pdf   และ
             - https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/EmployMaoDoc.pdf


วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

1.พนักงานราชการเสียชีวิต ได้อะไร, 2.จ่ายเบี้ยประชุมกรรมการสถานศึกษาไม่ได้ ถ้าจ่ายไปแล้วทำอย่างไร, 3.ขาดสอบ N-NET ต้องสอบ e-Exam เท่านั้นหรือ, 4.โปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ รุ่น 1.4 (12 ส.ค.57), 5.ครูสอนคนพิการ ครู ศรช.เบิกค่าคุมสอบ, 6.เรียน ม.4 ปีเดียว เทียบโอนได้ไหม, 7.จ้างเหมาบริการหลังสิ้นปี งปม.+จ้างแบบไม่ใช้เงินค้ำประกัน



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. คืนวันที่ 8 ก.ย.57 คนเลี้ยงหมู สุกรไทย ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  กรณีพนักงานราชการไปราชการแล้วตาย เหมือน กีฬา กศน  ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง น้องๆถามหลายคน
             ผมตอบว่า   ตามประกาศเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ.2554 ข้อ 7 ( ดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/benefit54.pdf )  กำหนดให้พนักงานราชการมีสิทธิตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537
             โดย พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 กำหนดว่า  กรณีถึงแก่ความตายระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ไปราชการ ให้ได้รับ ค่าทำศพ หนึ่งร้อยเท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน” ( ทายาทที่มีสิทธิ์ ต้องยื่นขอภายใน 180 วัน )  ดูแนวทางปฏิบัติและแบบฟอร์มได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/benefit.pdf

         2. คืนวันเดียวกัน ( 8 ก.ย.) ผมเผยแพร่หนังสือกลุ่มงานคลัง ในเฟซบุ๊ค ว่า  สรุปว่า คณะกรรมการสถานศึกษา รับเบี้ยประชุม ไม่ได้  ดูรายละเอียดที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/meetingmoney.pdf  
             คืนวันเดียวกัน Kanchana Chanchoung ครู กศน.ตำบล จ.ปทุมธานี ถามเรื่องนี้ในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  ถ้าที่ผ่านมาเบิกจ่ายไปแล้ว จะทำอย่างไร
             ผมตอบว่า  เรื่องนี้ ส่วนกลางแจ้ง ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ทุกแห่ง ตั้งแต่
24 ต.ค.56 ว่า กรมบัญชีกลางแจ้งว่าคณะกรรมการสถานศึกษาไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม   จึงขอให้ชะลอการเบิกจ่ายไปก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมบัญชีกลางต่อไป  ( ดูคำตอบเก่าซึ่งมี LINK หนังสือฉบับนี้ ได้ในข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/04/9.html )
             ถ้าเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้คณะกรรมการสถานศึกษา ไปก่อนวันที่
24 ต.ค.56 คือก่อนที่ส่วนกลางจะแจ้งให้ชะลอการจ่าย ก็เป็นการจ่ายตามที่ส่วนกลางจัดสรรเงินเบี้ยประชุมมาให้ ( ส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบ ) ถ้าส่วนกลางอยู่เฉย ๆ เราก็อยู่เฉย ๆ   แต่ถ้าจ่ายหลังวันที่ 24 ต.ค.56 ควรส่งคืน  ถ้าคิดว่าไม่เหมาะที่จะไปขอคืนกับกรรมการสถานศึกษา ก็ใช้เงินอื่นส่งคืน
             เงินค่าเบี้ยประชุมที่ได้รับจัดสรรนี้ ดูวิธีการเบิกจ่ายในคำตอบเก่าที่  
https://www.facebook.com/groups/nfeteacher/permalink/777429968945046/
            
( ผมเป็นกรรมการสถานศึกษาของ โรงเรียนผักไห่ สุทธาประมุขซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ หลายปี  ประชุมภาคเรียนละ 2
ครั้ง เขาก็ไม่เคยให้เบี้ยประชุม ส่วนใหญ่มีแต่ กาแฟ+ขนม บางครั้งจึงจะมีอาหารกลางวัน )

         3. วันเดียวกัน ( 8 ก.ย.) จิตรัตน์ดา นากรณ์ ครู กศน.ตำบล กศน.อ.ธาตุพนม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  นศ.กศน.ที่ขาดสอบ N-NET ทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนแจ้งว่าจะไม่มีสิทธิ์สอบ N-NET ในภาคเรียนต่อไป ต้องสอบ e-exam เท่านั้น จริงหรือเปล่า
             ผมตอบว่า   ถ้ามีเหตุผลความจำเป็นที่ขาดสอบ N-NET ภาคเรียนนี้ และต้องรีบจบก็สามารถเข้าสอบ e-Exam "ภาคเรียนนี้" แทนได้  ถ้าภาคเรียนนี้ไม่เข้าสอบ e-Exam อีก ภาคเรียนต่อไปให้เข้าสอบ N-NET

         4. วันที่ 10 ก.ย.57 ผมเผยแพร่โปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ (KSM) รุ่น 1.4 ( 12 ส.ค.57 ) ที่คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ส่งมาให้ผมทางอีเมล์ ลงในเฟซบุ๊ค ว่า  มีรายการปรับแก้ไขคือ
             1)  แก้ไขการบันทึกคะแนนภาคทฤษฎีของ สทศ. จากรอบเดียวเป็นสองรอบ  (ปรับแก้คะแนนที่บันทึกไปแล้วให้ถูกต้อง)
             2)  แก้ไขการอ่านคะแนนภาคทฤษฎีจากไฟล์  ( ป้องกันการอ่านคะแนนของการลงทะเบียนซ้ำในวิชาที่ผ่านแล้ว )
             3)  เพิ่มตัวเลือกรายงานสรุปการลงทะเบียน ให้แสดงผลแยกกลุ่มหรือรวมทั้งหมด
             4)  เพิ่มรายงานการออกประกาศนียบัตร ( เมนู 4-9 )
             5)  เพิ่มบัญชีการออกระเบียนแสดงผลการเทียบระดับฯ ( เมนู 4-7 )
             link download โปรแกรมสำหรับติดตั้งโปรแกรม KSM 1.4 วันที่ 12 ส.ค. 57
             -
https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/KSM_12082014_Setup.zip  หรือ
             -
https://drive.google.com/file/d/0B6tQobXfGWLEeGI0cERCbmJjT3c/edit?usp=sharing


         5. เย็นวันที่ 14 ก.ย.57 ผมตอบคำถาม ชายอ้น อ้นคอมพิวเตอร์ ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ครูผู้สอนคนพิการ ครู ศรช. คุมสอบเบิกค่าคุมสอบได้ไหม
             ผมตอบว่า   ดูในข้อ 1. ที่  http://www.gotoknow.org/posts/522210

         6. เย็นวันที่ 18 ก.ย.57 Aed Ka ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  เรียนมาปีเดียว ( แค่ ม.4 ) เทียบโอนได้มั้ย
             ผมตอบว่า   ถ้าลาออกมา ก็เอาใบระเบียนไปให้ กศน.อำเภอดูว่าจะเทียบโอนวิชาอะไรได้บ้างไหม  ต้องดูว่าวิชาที่เรียนมาแล้วได้เกรด 1 ขึ้นไป ตรงกับวิชาอะไรของ กศน.อำเภอนั้นบ้าง  ตอบแทนกันไม่ได้ เพราะวิชาเลือกของแต่ละ กศน.อำเภอ ไม่เหมือนกัน

         7. วันที่ 18 ก.ย.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้างเหมาบริการ เช่นบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ และตำแหน่งอื่น ๆ หลังวันที่ 30 ก.ย.57 ว่า
             กลุ่มแผนงาน กศน. บอกว่า  จ้างได้ตั้งแต่ 1 ต.ค.57 ตามอัตราเดิม ( จำนวนคน และจำนวนค่าจ้าง เท่าเดิม )
             ให้ดำเนินการจัดจ้าง และให้ผู้มีอำนาจ อนุมัติให้จ้างไว้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 30 ก.ย. ( ตามข้อ 2. ในหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0408.4/ว351 ลงวันที่ 9 ก.ย.48 )
             โดยถ้าจะทำสัญญาจ้างให้ระบุในสัญญาว่า สัญญาฉบับนี้จะมีผลเมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว
             ( การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ ถ้าวงเงินตลอดสัญญาจ้างเกินหนึ่งแสนบาท จะจ้างโดยวิธีตกลงราคาไม่ได้ ต้องจ้างโดยวิธีสอบราคา หรือวิธีพิเศษ แล้วแต่เหตุผลความจำเป็น )
             และวันที่ 19 ก.ย. ผมเผยแพร่เพิ่มเติม เรื่องการจ้างพนักงานจ้างเหมาบริการแบบไม่ต้องใช้เงินค้ำประกันสัญญา ว่า  จากการหารือหัวหน้างานใน สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา และ หัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มงานคลัง กศน.
             มีวิธีการจ้างพนักงานจ้างเหมาบริการ แบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้
             1)  การจ้างโดยวิธีพิเศษ สามารถใช้ใบสั่งจ้างแทนสัญญาก็ได้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จ้าง ถ้าไม่ต้องทำสัญญา ก็ไม่ต้องมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา
                  ( ถ้าจ้างโดยวิธีสอบราคา วงเงินเกิน 100,000 บาท ต้องทำสัญญา ใช้แบบสัญญาตามที่ กวพ.กำหนด )
             2)  การจ้างในหน้าที่ทีมีความเสี่ยง เช่น จ้างพนักงานขับรถ ควรทำสัญญาจ้าง เพื่อให้มีหลักประกัน
             3)  ในใบสั่งจ้าง สามารถเพิ่มเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ รวมทั้งระบุว่า ใบสั่งจ้างฉบับนี้จะมีผลเมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว
             4)  กรณีเป็นการจ้างที่มีวงเงินเกิน 10,000 บาท ผู้รับจ้างต้องติดอากรแสตมป์ในใบสั่งจ้าง
             5)  การจ้างวงเงินเกิน 100
,000 บาท ต้องจ้างวิธีสอบราคา หรือวิธีพิเศษ ถ้าจะจ้างบรรณารักษ์โดยวิธีพิเศษ ให้อ้างเหตุผลตามระเบียบข้อ 24 (1) คือ เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

1.ลองภูมิเรื่องการเทียบโอนฯ, 2.ทำชำนาญการ, 3.พนักงานราชการจะลาเพื่อดูแลภรรยาคลอดบุตร, 4.นายทะเบียนขั้นพื้นฐาน กับเทียบระดับ ต้องเป็นคนเดียวกันไหม, 5.นักศึกษาขาดสอบเกินครึ่ง ผอ.ให้บันทึกไปจังหวัด จะมีผลอย่างไร, 6.เลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำปี, 7.ไปรับเข็มไม่ได้ จะได้รับเข็มหรือไม่ อย่างไร



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

        
1. วันที่ 21 ส.ค.57 ผมเผยแพร่เรื่องการเทียบโอนฯ ในเฟซบุ๊ค ว่า  เมื่อวันที่ 19 ส.ค.57 ผมไปเป็นวิทยากรเรื่องการเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน 51 ที่ กศน.อ.เสนา ( 09:00 - 15:00 น.)  โดยมีการทดสอบทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี   ข้อสอบภาคทฤษฎีมี 16 ข้อ ตามตัวอย่างข้างล่างนี้  ( ใครสนใจ PowerPoint ที่ผมทำไปประกอบการบรรยาย  เนื้อหาครอบคลุมคำตอบทั้ง 16 ข้อ  ดาวน์โหลดได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/tiebOon.rar )
             3)  ทำไมครู กศน. ต้องรู้เรื่องการเทียบโอนฯ ?
                  ก. เป็นกรรมการเทียบโอน
                  ข. เป็นผู้ดำเนินการเทียบโอน
                  ค. เป็นผู้ตรวจสอบรักษาสิทธิ์ให้นักศึกษา
                  ง. เป็นผู้ แนะนำ/แนะแนว/ตอบคำถาม นักศึกษา
             5)  เทียบโอนผลการเรียนเพื่ออะไร ?
                  ก. เรียนน้อย ๆ จบเร็ว ๆ
                  ข. ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
                  ค. ส่งเสริมการเรียนหลักสูตรอื่น ๆ
                  ง. ไม่ต้องเรียนซ้ำในวิชาที่มีความรู้แล้ว
             7)  เทียบโอนแบบใด ให้ผลการเทียบโอนเป็นเกรด ?
                  ก. ป.
4
                  ข. การศึกษาต่อเนื่อง
                  ค. หลักสูตรต่างประเทศ
                  ง. ประเมินความรู้และประสบการณ์
            13)  เรียน ปวช. มา
                  - วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ 2 นก. ได้เกรด 2
                  - วิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน 2 นก. ได้เกรด 2
                  - วิชาวิถีธรรมวิถีไทย 2 นก. ได้เกรด 2.5
                  เทียบโอนเป็นวิชาสังคมศึกษา (
3 นก.) กับ ศาสนาและหน้าที่พลเมือง (2 นก.) ได้เกรดเท่าไร?
                  ก. ได้เกรด
2 ทั้งสองวิชา
                  ข. ได้เกรด
2.17 ทั้งสองวิชา
                  ค. ได้เกรด
2.5 ทั้งสองวิชา
                  ง. สังคมฯได้
2 ศาสนาและหน้าที่พลเมืองได้ 2.5
             16)  กศน.อำเภอ จัดสอนทักษะอาชีพ ดนตรีไทย 50 ชม. ดนตรีสากล 50 ชม. ผู้ผ่านทั้งสองวิชาจะเทียบโอนเป็นรายวิชาศิลปศึกษา ได้หรือไม่ ?
                  ก. ไม่ได้
                  ข. ได้ระดับเดียว
                  ค. ได้ไม่เกินระดับ ม.ต้น
                  ง. ได้เฉพาะระดับประถม

         2. เย็นวันที่ 22 ส.ค.57 Rossiri Thong-am เขียนในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ขอแบบประเมินเพื่อปรับระดับจากปฏิบัติการเป็นชำนาญการ ของบุคลากรทางการศึกษา 38 ค (2)  รวมถึงขั้นตอนกระบวนการที่จะปรับระดับด้วย
             ผมตอบว่า   บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ นักวิชาการศึกษา หรืออื่น ๆ ก็เหมือนกัน  ถ้าบรรจุใหม่ รับเงินเดือนในระดับปฏิบัติการ จะทำชำนาญการ ( บุคลากรทางการศึกษาอื่น จะไม่ใช้คำว่า วิทยฐานะ ) ได้เมื่อครบ 6 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี ), หรือครบ 4 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาโททางสาขาที่กำหนด ), หรือครบ 2 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาเอกทางสาขาที่กำหนด )
             ปัจจุบันไม่มีการกำหนดคุณสมบัติเรื่องเงินเดือนขั้นต่ำ  ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และเฉพาะ อ.นาทวี อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย ใน จ.สงขลา ) นับระยะเวลาเป็นทวีคูณ จึงลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง เช่น ทำชำนาญการได้เมื่อเป็นบรรณารักษ์ครบ 3 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี )
             การทำ  ให้ยื่นแบบ ปส. ลักษณะเดียวกับการทำชำนาญการพิเศษ แต่เปลี่ยนคำว่าชำนาญการพิเศษในแบบฟอร์ม เป็นชำนาญการเฉย ๆ  ( ดูลักษณะแบบฟอร์ม ปส. ในหนังสือที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/library.pdf )

             รายละเอียดและตัวอย่างการทำ ลองสมัครเข้ากลุ่มในเฟซบุ๊คเช่น "กลุ่มบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน..คนขยัน" แล้วถามสมาชิกในกลุ่ม
             อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดปลีกย่อยอีก  ติดต่อสอบถามโดยตรงที่ สนง.กศน.จ. หรือ กจ.กศน.


         3. เย็นวันอาทิตย์ที่ 31 ส.ค.57 ดอกหญ้า ไกลบ้าน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  พนักงานราชการ กศน.มีสิทธิ์ลาดูแลภรรยาคลอดบุตรได้ไหม
             ผมตอบว่า   พนักงานราชการทุกตำแหน่ง ทุกกระทรวง ยังไม่ได้ปรับแก้ระเบียบให้ลาประเภทนี้ได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีสิทธิ์ลาประเภทนี้  ( ดูคำตอบเก่า ในข้อ 5 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/533649 )

         4. วันที่ 3 ก.ย.57 กี้ เปรี้ยวซ่อนหวาน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  นายทะเบียนขั้นพื้นฐาน กับเทียบระดับ ต้องเป็นคนๆเดียวกันมั้ย สถานศึกษาหนึ่งๆนายทะเบียนมีคนเดียวใช่มั้ย
             ผมตอบว่า  ถ้าเป็นการจัดการศึกษาคนละประเภท/คนละหลักสูตร นายทะเบียนจะเป็นคนเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เช่น กศ.ขั้นพื้นฐาน การเทียบระดับฯแบบเดิม การเทียบระดับฯสูงสุด กศ.ต่อเนื่อง อาจมีนายทะเบียนเป็น 1-4 คน ก็ได้

         5. เย็นวันอาทิตย์ที่ 22 ก.ย.57 Kanokwan Khuawara ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ถ้านักศึกษาขาดสอบเกิน 50 % จะมีผลอย่างไร แก้ปัญหายังไง   ผอ.ให้บันทึกข้อความไปจังหวัด ไม่รู้จะโดนอะไรอีก
             ผมตอบว่า   อยู่ที่ผู้บริหารแต่ละอำเภอแต่ละจังหวัด  ต้องดูพฤติกรรมอื่น ๆ ของครูด้วย  ( คนส่วนใหญ่รู้วิธีแก้ปัญหา แต่.. ถ้า กศน.จัดการศึกษาเพื่อปริมาณ เพื่อให้ครูมีงานทำ ก็แก้ยาก )

         6. คืนวันที่ 2 ถึงดึกวันที่ 4 ก.ย.57 ปรเมศวร์ อ่อนสกุล ครู กศน.ตำบล กศน.อ.จัตุรัส ถามผมทางข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ถามทางแฟนเพจ และทางอีเมล์  ว่า  การประเมินพนักงานราชการจะทำปีละ 2 ครั้งคือช่วงเดือนเมษายนกับตุลาคมใช่หรือไม่ เดือนเมษายนต้องมีการประเมินเพื่อปรับเงินเดือนอีกหรือไม่ การที่ กศน.จังหวัดไม่มีการประเมินหรือปรับเงินเดือนพนักงานราชการตอนเดือนเมษายนจะมีผลอย่างไรบ้างหรือสามารถประเมินแล้วปรับรวบตอนเดือนตุลาคมได้ ถ้าเดือนตุลาคมมีการประเมินปรับเงินเดือนโดยไม่เอาของเดือนเมษายนมารวมจะถือว่าเราเสียสิทธิ์หรือไม่
             ผมตอบว่า   การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการมีมากกว่า 1 กรณี เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่กรณี คือ การเลื่อนค่าตอบแทน การเลิกจ้าง การต่อสัญญาจ้าง และอื่น ๆ
             ในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีเพื่อการเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการทั่วไป ใช้ผลการประเมินปีละ 2 รอบหรือ 2 ครั้ง แต่เลื่อนค่าตอบแทนปีละครั้งเดียว
             - รอบที่ 1  ประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่าง 1 ต.ค.- 31 มี.ค.
             - รอบที่ 2  ประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่าง 1 เม.ย.- 30 ก.ย.
             ผู้ที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทน จะต้องได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 2 รอบ ( นำคะแนนรอบที่ 1 กับรอบที่ 2 มาบวกกัน แล้วหารด้วย 2 ) ไม่ต่ำกว่าระดับ ดี  คือได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 75 %
             ดูรายละเอียดในระเบียบหลักเกณฑ์ที่  
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/evalPRG.pdf  


         7. วันที่ 5 ก.ย.57 ผมเผยแพร่เรื่องไปรับเข็มไม่ได้ จะได้รับเข็มหรือไม่ อย่างไร  ลงในเฟซบุ๊ค ว่า 
             ถ้าเป็นเข็มเชิดชูเกียรติ ( 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี ) เป็นเรื่องของ กป.
             อ.สร้อยทิพย์ กป. บอกว่า เหมือนปีก่อน ๆ คือ จะส่งเข็มพร้อมประกาศนียบัตรไปที่จังหวัด โดย
             - กรณีไม่ได้ตอบรับว่าจะไปรับ ก็ไม่ต้องทำอะไรอีก หลังงาน กป.จะส่งไปให้ที่จังหวัด
             - กรณีตอบรับว่าจะไปรับ แล้วพอถึงเวลาไปไม่ได้ จะติดเชียร์/แข่งกีฬา ฯลฯ  ต้องรีบแจ้ง อ.สร้อยทิพย์ ทางโทรศัพท์ 086-9713168 ด่วน  จะได้รีบจัดคิวใหม่และแจ้งลดอาหารทัน ( ค่าอาหารหัวละ 300 บาท )  กรณีนี้ถ้าจะให้คนอื่นรับแทนก็ได้ แต่ก็ต้องรีบแจ้งอย่างเป็นทางการเช่นกัน โดยผู้ขึ้นรับแทนแต่ละคนจะรับได้ชุดเดียวเท่านั้น ( แต่งเครื่องแบบเช่นกัน ) คนเดียวจะขึ้นรับของตนเองและขึ้นรับแทนคนอื่นอีกไม่ได้
             ส่วนเข็มวิทยพัฒน์ ( ผู้ผ่านการอบรมพัฒนาฯ ) เป็นเรื่องของ กจ.
             ลักษณะเดียวกับ กป. ให้ติดต่อ อ.อุบลวรรณ กจ. 089-444-7196