วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

1.ราคากลางการซื้อพัสดุ, 2.วิธีหาพิกัด-MOEnet-ค่าครุภัณฑ์, 3.เครื่องแบบพนักงานราชการหญิง ปล่อยเอวไม่คาดเข็มขัดได้, 4.ที่ไหนใช้ MOEnet ถ้าอินเตอร์เน็ตขัดข้อง ให้รีบโทร.แจ้งหมายเลขวงจร, 5.ให้ผู้เรียน ป.บัณฑิต ฝึกสอนที่ กศน.ได้- เพิ่มการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้เข้าเทียบระดับฯ-การจัดและเบิกจ่ายงานการศึกษาต่อเนื่องแบบอบรม, 6.นักศึกษาที่เป็นทหารชายแดนใต้ จะใช้การคุ้มครองครู-พระ เป็น กพช.ได้ไหม, 7.เก็บเอกสารประวัตินักศึกษาที่งานทะเบียน หรือที่ครู



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. ดึกวันที่ 19 ก.พ.59 มีผู้ถามผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ค ว่า  หนูเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของ รร. ถามเพื่อความแน่ใจ ว่า ณ ปัจจุบัน ปี 2559 ไม่มีการกำหนดราคากลางกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษแล้วใช้ไหม  แล้วราคากลางกระดาษของกรมบัญชีกลางจากเว็บไซต์ ... ... อันนี้ คืออะไร

             ผมตอบว่า
             1)  ราคากลางกระดาษยกเลิกตั้งแต่ 1 เม.ย.50  ส่วนไฟล์เอกสารราคากลางกระดาษของกรมบัญชีกลาง ... ... นี้ คงเป็นไฟล์เอกสารเก่าตั้งแต่ก่อน 1 เม.ย.50
                   ( อ่านใน
                     - ข้อ 1 (2) ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/01/n-net.html และ
                     - ที่ http://www2.cgd.go.th/webboard_topicdetail.asp… )
                  แต่ การซื้อ/จ้าง พัสดุ ราคาเกินแสนบาท ต้องกำหนดราคากลาง ถ้าไม่กำหนดราคากลาง ก็ผิด

 

         2. ดึกวันที่ 26 ก.พ.59 ผมเผยแพร่เรื่อง วิธีหาพิกัด-MOEnet-ค่าครุภัณฑ์ ลงในเฟซบุ๊ค  ดังนี้

             2.1  วิธีหาพิกัดโดยใช้กูเกิ้ลแมพ  ( อยู่ที่ไหนก็ดูพิกัดได้ ไม่ต้องไปถึงที่ )

                   1)  เข้าดูแผนที่ ที่  https://www.google.co.th/maps/@14,100,7z?hl=th
                   2)  หาดูว่าจุดที่ต้องการจะดูพิกัด นั้น อยู่บริเวณใดของแผนที่ แล้วเลื่อนให้บริเวณนั้นมาอยู่กลางจอ  ( เลื่อนโดยใช้เม้าส์คลิกซ้ายที่แผนที่ค้างไว้แล้วลาก )
                   3)  ขยายภาพแผนที่โดยคลิกที่เครื่องหมาย +  แล้วเลื่อนให้บริเวณที่ต้องการมาอยู่กลางจออีก  ค่อย ๆ ขยายภาพและเลื่อนภาพสลับกันไป จนไม่สามารถขยายได้อีก
                   4)  เปลี่ยนมุมมอง จากมุมมองแผนที่ เป็นมุมมองภาพถ่ายโลกจากดาวเทียม  โดยคลิกที่สัญลักษณ์ภาพ Earth
                   5)  หาว่าจุดที่ต้องการ ( เช่น กศน.ตำบล ) นั้น อยู่ตรงไหน แล้วใช้เม้าส์ชี้ให้ตรงกลางหลังคา กศน.ตำบล ค้างไว้แล้วคลิกขวา ( ตอนคลิกขวานี้ อย่าให้เม้าส์ขยับเขยื่อนออกไปนอกหลังคา ) แล้วเลื่อนเม้าส์มาคลิกซ้ายเลือก ที่นี่มีอะไร ( What’s here? )”  ก็จะมีชื่อสถานที่และเลขพิกัดขึ้นมา เช่น 14.458139, 100.370531  ( เลขจำนวนแรกคือละติจูดหรือองศาเหนือ จำนวนหลังคือลองจิจูดหรือองศาตะวันออก )
                   6)  เราอาจจะจดเลขพิกัดไว้ หรือคลิกซ้ายที่เลขพิกัดนั้น เลขพิกัดจะไปปรากฏที่มุมขวาบน ให้เราสามารถลากคลุมตัวเลขและก็อปปี้เพื่อไปวางที่อื่นได้





             2.2  อินเทอร์เน็ตของ กศน.จังหวัด อำเภอ และห้องสมุด  อยู่ในเครือข่าย MOEnet  จ่ายค่าใช้อินเทอร์เน็ตโดยกระทรวง  ถ้าระบบอินเทอร์เน็ตเสีย ให้รีบแจ้ง 1477 โดยบอกหมายเลขวงจร  ( มีข้อตกลงว่า เขาต้องแก้ไขภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าเสียเกิน 15 วัน กระทรวงจะไม่จ่ายค่าใช้อินเทอร์เน็ตเดือนนั้น )

             2.3  ค่าซ่อมลำโพงโทรศัพท์มือถือของ ผอ. เป็นค่าครุภัณฑ์



         3. คืนวันที่ 8 มี.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า การแต่งกายของพนักงานราชการ ครู กศน.ตำบล ชุดสีกากี ที่สวมในทุกวันจันทร์ สิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือ เข็มขัดสีดำ แต่มีครู กศน.ตำบลบางท่านที่เป็นผู้หญิง..ใส่แบบเสื้อปิดกระโปรง.. เขาแจ้งว่าเป็นชุดลำลอง ไม่มีใครใส่เข็มขัดสีดำกันหรอก... การแต่งกายแบบนี้ถูกต้องหรือ

             เรื่องนี้  ถ้าเป็นข้าราชการพลเรือนหญิง จะมีเสื้อแบบปล่อยเอว ( ปล่อยชายทับกระโปรง ) แต่ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนที่จริง เสื้อแบบปล่อยเอวก็ให้มีเข็มขัดคาดทับเสื้อ แต่เป็นเข็มขัดผ้า หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า ไม่ใช่เข็มขัดหัวโลหะตราครุฑ
             แต่ข้าราชการพลเรือนหญิงที่ใส่เสื้อแบบปล่อยเอวส่วนใหญ่จะใช้เสื้อเข้ารูปแล้วไม่คาดเข็มขัด

             ผมเรียนถามเรื่องนี้กับ กจ.กศน.วันที่ 9 มี.ค.59  ได้รับคำตอบว่า พนักงานราชการหญิง ใส่เครื่องแบบมาปฏิบัติงานปกติ โดยใส่เสื้อแบบ คอแบะ ปล่อยเอว เข้ารูป ไม่คาดเข็มขัด ได้
 

         4. อินเทอร์เน็ตของ กศน.ภาค/จังหวัด/สถานศึกษาขึ้นตรง/อำเภอ/ห้องสมุด ทุกแห่ง รวมทั้ง ศรช.บางแห่ง ที่ใช้เครือข่ายของกระทรวงศึกษาธิการ ( MOEnet ) จะเหมาจ่ายค่าใช้อินเทอร์เน็ตโดยส่วนกลาง ( สป.ศธ.)  ถ้าระบบอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ให้รีบโทร.แจ้ง 1477 โดยบอกหมายเลขวงจร

             ดูหมายเลขวงจรของแต่ละแห่งที่  https://db.tt/65pk60db
              ( คลิกเลือกจังหวัดจากตัวกรองที่หัวคอลัมน์ จังหวัด” )

             มีข้อตกลงว่า  เขาต้องแก้ไขภายใน 24 ชั่วโมง
             และถ้าขัดข้องเกิน 15 วัน กระทรวงจะไม่จ่ายค่าใช้อินเทอร์เน็ตเดือนนั้น ฉะนั้นถ้าขัดข้องเกิน 15 วัน ให้แจ้ง สป.ศธ. ( MOEnet )

              ( สำหรับ กศน.ตำบล/ศรช. ที่ไม่ได้ใช้ MOEnet ของกระทรวง ศธ. จะดูลักษณะอินเตอร์เน็ตและหมายเลข ได้ที่  https://db.tt/BcNb2Kud )

         5. คืนวันที่ 11 ถึงคืนวันที่ 15 มี.ค.59 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง เกณฑ์การประเมินพนักงานราชการ  เรื่องให้ผู้เรียน ป.บัณฑิต ฝึกสอนที่ กศน.ได้  เรื่องเพิ่มการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้เข้าเทียบระดับฯ  เรื่องการจัดและเบิกจ่ายงานการศึกษาต่อเนื่องแบบอบรม  ว่า

             5.1  กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
                   ดูรายละเอียดที่ https://db.tt/KMnqJLi8

             5.2  ให้ผู้เรียน ป.บัณฑิต ฝึกสอน ( ฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และปฏิบัติการสอน ) ในสถานศึกษา กศน. ได้





             5.3  เพิ่มการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้เข้าเทียบระดับฯ จากรายละ 1,500 บาท เป็น 3,000 บาท ( รายเก่า ที่เคยเก็บ 750 บาท ก็เปลี่ยนเป็น 3,000 บาท ทุกครั้งที่ลงทะเบียน )




             5.4  จัดและเบิกจ่ายงานการศึกษาต่อเนื่องแบบอบรมได้แล้ว
             การศึกษาต่อเนื่อง.. อะไรจัดและเบิกจ่ายแบบฝึกอบรมได้เท่าไร อะไรไม่ได้ ?
             กศน.โดย กป. ได้จัดทำคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่องแบบฝึกอบรม 1 เล่ม และแบบกลุ่มสนใจ/ชั้นเรียน 1 เล่ม  ดาวน์โหลดได้ที่
             - คู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ( ฉบับปรับปรุง 2559 ) แบบกลุ่มสนใจ/ชั้นเรียน
               https://db.tt/zDLTGTrC
             - คู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่อง แบบฝึกอบรม
               https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/ManualTrain.pdf


               ถ้าแบ่ง กศน.ต่อเนื่อง ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ( เอกสารแต่ละฉบับอาจแบ่งต่างกัน )  คือ
              1)  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/ศูนย์ฝึกอาชีพ ( งบรายจ่ายอื่น ) เช่น
                   1.1)  พัฒนาอาชีพ ( ต่อยอดอาชีพเดิม )  ให้จัดในรูปแบบกลุ่มสนใจหรือชั้นเรียน
                   1.2)  1 อำเภอ 1 อาชีพ  ให้จัดในรูปแบบกลุ่มสนใจหรือชั้นเรียน
                   1.3)  ช่างพื้นฐาน  ต้องจัดในรูปแบบชั้นเรียน
             2)  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ( งบดำเนินงาน หรือรายจ่ายอื่น ) เช่น
                   2.1  พัฒนาทักษะชีวิต 10 ประการ ให้แก่ประชาทุกช่วงวัย ใน 7 เรื่อง ( สุขภาพกาย-จิต ยาเสพติด เพศศึกษา คุณธรรม-ค่านิยม ความปลอดภัย ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย )  จัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของงบประมาณและเนื้อหา
                   2.2  ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ให้จัดในรูปแบบชั้นเรียนหรือฝึกอบรม
                   2.3  พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ( งบรายจ่ายอื่น ) ให้จัดในรูปแบบฝึกอบรม
                         - หลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ ( 70 และ 420 ช.ม.)
                         - เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
             3)  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ( งบดำเนินงาน ) ให้จัดในรูปแบบฝึกอบรม เช่น
                   3.1  กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนชน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ-ศาส-กษัตริย์ การคุ้มครองผู้บริโภค การป้องกันการทุจริต เศรษฐกิจชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อม
                   3.2 เรียนรู้ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

             การจัดการศึกษาต่อเนื่องทั้ง 3 ประเภทนี้ ทุกประเภทต้องมีหลักสูตร  แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
             1)  รูปแบบกลุ่มสนใจและชั้นเรียน ( ไม่ต้องทำโครงการ )  ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน. ใช้วิทยากรในการสอน เบิกได้เฉพาะค่าตอบแทนวิทยากรกับค่าวัสดุ แบ่งย่อยเป็น 2 แบบ  ดังนี้
                   1.1  แบบกลุ่มสนใจ  เป็นการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรละไม่เกิน 30 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้เรียนกลุ่มละ 6 คนขึ้นไป  เบิกค่าตอบแทนวิทยากรไม่เกิน 120 บาท/ชม. กรณีมีการฝึกปฏิบัติเบิกค่าวัสดุได้ไม่เกิน 1,000 บาท/กลุ่ม
                   1.2  แบบชั้นเรียนวิชาชีพ  เป็นการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น 31-100 ช.ม. หรือระยะยาว 100 ช.ม.ขึ้นไป  ผู้เรียนกลุ่มละ 11 คนขึ้นไป  ส่วนกลางไม่กำหนดจำนวนชั่วโมงต่อวัน ผู้บริหารระดับจังหวัด/อำเภอสามารถกำหนดอย่างไรหรือไม่ก็ได้  เบิกค่าตอบแทนวิทยากรไม่เกิน 200 บาท/ชม.  ค่าวัสดุเบิกได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมดังนี้
                         - หลักสูตร 31-50 ชม. ไม่เกิน 3,000 บาท/กลุ่ม
                         - หลักสูตร 51-70 ชม. ไม่เกิน 4,000 บาท/กลุ่ม
                         - หลักสูตร 71 ชม.ขึ้นไป ไม่เกิน 5,000 บาท/กลุ่ม
             2)  รูปแบบอบรมประชาชน ( ต้องทำโครงการ )  เป็นหลักสูตรที่ใช้กระบวนการฝึกอบรมให้กับประชาชน ไม่ต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน. เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้
                  ค่าตอบแทนวิทยากร ไม่เกิน 200 บาท/ชม.
                  ค่าอาหารมื้อหลัก ไม่เกินมื้อละ 70 บาท/คน
                  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ไม่เกินมื้อละ 25 บาท/คน
                  ค่าวัสดุในการจัดฝึกอบรม เท่าที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด
                  ค่าจ้างเหมายานพาหนะในการศึกษาดูงาน  ตามที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บโดยประหยัด
                  ค่าเช่าสถานที่อบรมตามความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด ตามที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บ โดยให้พิจารณาสถานที่ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นอันดับแรก
                  ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ตามความจำเป็นเหมาะสมและประหยัด
                  ค่าของสมนาคุณในการศึกษาดูงาน เบิกเท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกิน 1,500 บาท
 

         6. วันที่ 16 มี.ค. 59 จ๊ะเอ๋ เพชรทอง ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า  นักศึกษาที่เป็นทหารเกณฑ์อยู่สามจังหวัดชายแดนใต้ สามารถทำกิจกรรม กพช. โดยเอากิจกรรมที่เขาปฏิบัติ เช่น เป็นทหารที่คอยรับส่งครู พระ มาเขียนเป็นกิจกรรม. กพช.ได้หรือเปล่า มีหนังสือสั่งการโดยตรงหรือเปล่า

             ผมตอบว่า   ไม่มีหนังสือสั่งการเป็นรายกรณี แต่ให้พิจารณาจากกรอบการทำ กพช. ว่า กิจกรรมนั้น โยงเข้ากรอบการทำ กพช. ข้อใดได้หรือไม่
             ดูกรอบการทำ กพช. ได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/QualityOfLife.pdf
             เช่น การคุ้มครองครู-พระ ถ้าทำโดยสมัครทำ ( ไม่ใช่ทำเพราะเป็นบทบาทหน้าที่กำหนดโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ) ก็เป็น กพช. ประเภทกิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน ตามกรอบ กพช. ข้อ 4.2 (2) ได้

         7. วันที่ 17 มี.ค.59 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า  การเก็บประวัตินักศึกษา เก็บที่งานทะเบียนหรือเก็บที่คุณครู

             ผมตอบว่า   เก็บ ใบสมัคร+หลักฐานเอกสารประกอบ+ใบลงทะเบียน+ฯลฯ ที่งานทะเบียน