วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1.ปกติไม่ให้พนักงานราชการเป็นกรรมการทำลายหนังสือ, 2.เพิ่มวิชาเลือกบังคับอีกสองวิชา, 3.นศ.ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว ต้องมาพบกลุ่ม 75 % ของ 18 สัปดาห์หรือไม่, 4.ปัญหาวิชาเลือกบังคับ, 5.ครู ศรช.มีนักศึกษาไม่ครบ 80 คน เบิกเป็นรายหัวถูกไหม, 6.ซักซ้อมแนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ, 7.เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ คุมสอบปลายภาคได้ไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. สำนักนายกรัฐมนตรี ออกระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณฉบับที่ 3 ให้ ขรก.พลเรือนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับปฏิบัติการ/ชำนาญงาน ขึ้นไป หรือพนักงานราชการ รับรองสำเนาหนังสือ สำเนาถูกต้อง
             และ โดยปกติให้แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือจาก ขรก.พลเรือนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับปฏิบัติการ/ชำนาญงาน ขึ้นไป

             ( ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีใช้ทั่วไป
                การทำลายหนังสือตามระเบียบสารบรรณ ผอ.กศน.อำเภอแต่งตั้งกรรมการไม่ได้ ต้องแต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจคือ ผอ.กศน.จังหวัด
                ส่วนกรรมการ ก็คล้ายกับกรรมการตรวจรับพัสดุ คือ เดิม "ปกติ"ก็ไม่ให้พนักงานราชการตรวจรับพัสดุ เราต้องให้ข้าราชการอำเภออื่นมาเป็นกรรมการ แต่กรณีไม่ปกติเช่นหารือว่าไม่มีข้าราชการ ลำบาก ตอนนี้ก็ผ่อนพันให้พนักงานราชการตรวจรับพัสดุได้ แต่ก็ยังไม่ให้เป็นประธานกรรมการ
                สรุป กรณีไม่ปกติ ให้ขอความเห็นชอบ
                การแต่งตั้งผู้รักษาการ ผอ.กศน.อำเภอ ก็คล้ายกัน บางอำเภอไม่มีข้าราชการ ก็ต้องให้ข้าราชการอำเภออื่นมารักษาการ ยังไม่ยอมให้ลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการรักษาการ อำเภอใดมีข้าราชการก็ให้รักษาการ ผอ.ได้ ไม่ยุ่งยาก )






         2. เพิ่มวิชาเลือกบังคับอีก 2 วิชา คือ วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย กับ วิชาลูกเสือวิสามัญ ทั้ง 3 ระดับ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/61 เป็นต้นไป ซึ่งจะสอบปลายภาคโดยข้อสอบกลาง
             ถ้าสถานศึกษาใดให้ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่
2/60 นี้ เฉพาะภาคเรียนที่ 2/60 นี้ให้ กศน.จังหวัดกับสถานศึกษาจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเอง






         3. วันที่ 26 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.เขต โทร.มาถามผม ว่า  ที่ว่า นศ.ต้องมาเรียนไม่น้อยกว่า 75 % ของเวลาเรียนนั้น ถ้าครูจัดพบกลุ่มวิชาละ 2 สัปดาห์ โดยตลอดภาคเรียนรวมเป็นจัดพบกลุ่ม 18 สัปดาห์ นศ.คนที่ภาคเรียนนี้ลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว จะต้องมาพบกลุ่มให้ครบ 75 % ของ 18 สัปดาห์ หรือมาเพียง 2 ครั้งแล้วไม่ต้องมาอีก

.............ผมตอบว่า   ตามประกาศสำนักงาน กศน.ฉบับลงวันที่ 8 ต.ค.55 ข้อ 2 กำหนดว่า ต้องมีเวลาพบกลุ่มหรือพบครูไม่น้อยกว่า 75 % ของเวลาตามแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตกลงร่วมกับครู จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปลายภาคเรียน ถ้าผู้เรียนมีระยะเวลาการพบกลุ่มหรือพบครูไม่ถึงร้อยละ 75 แต่ถึงร้อยละ 50 ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะพิจารณาอนุญาตให้เข้าสอบปลายภาคเรียน ( ถ้าไม่ถึงร้อยละ 50 ผู้บริหารก็อนุญาตให้เข้าสอบไม่ได้ ยกเว้น นศ.ของสถาบัน กศ.ทางไกล ) นั้น
.............หมายถึง
75 % ของเวลาตามแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล เช่น ถ้าผู้เรียนบางคนลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว และครูจัดพบกลุ่มวิชานั้นตลอดภาคเรียน 2 ครั้ง รวม 12 ชม. ผู้เรียนคนนั้นก็ต้องมาพบกลุ่มในวิชานั้น 75 % ของ 12 ชั่วโมง คือ 9 ชม., ถ้าผู้เรียนรายใดลงทะเบียนเรียน 2 วิชา และครูจัดพบกลุ่ม 2 วิชานั้นรวมตลอดภาคเรียน 24 ชม. ผู้เรียนคนนนั้นก็ต้องมาพบกลุ่มใน 2 วิชานั้น ให้ได้อย่างน้อย 18 ชม. ก็จะมีสิทธิเข้าสอบ 2 วิชานั้น เป็นต้น ส่วนวันพบกลุ่มวันอื่น ๆ ที่ไม่มีการพบกลุ่มวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องมา
.............แต่ ถ้าจัดแผนการพบกลุ่มแบบสัปดาห์ละหลายวิชา เช่นเรียนวิชาละ
30 นาที โดยแต่ละครั้งเรียนทุกวิชาทั้ง 18 ครั้ง แม้ผู้เรียนจะลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว ก็ต้องมาพบกลุ่มให้ได้ 75 % ของ 18 ครั้ง คืออย่างน้อย 13.5 ครั้ง 






         4. เช้าวันที่ 27 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผมในเฟซบุ๊กกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  วิชาเลือก แต่บังคับ ภาษาวิบัติหมด ทำไมไม่เอาไปใส่ในวิชาบังคับหมวดสังคม ทุกคนจะได้เรียน ..พื้นฐานเขาเอาไปไว้ในหมวดสังคม นะ ..งงจริงๆกับนักวิชาการ กศน.

             ผมตอบว่า   "เลือกบังคับ" คือ ไม่ถึงกับบังคับ ไม่ต้องเรียนก็จบได้
            
"วิชาเลือกบังคับ" ในแต่ละระดับมีมากกว่า 2 วิชา ตอนนี้ ( ธ.ค.60 ) มี 6 วิชาแล้ว แต่ให้เลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับนี้ไม่น้อยกว่า 2 วิชา จะเลือกเรียนเพียง 2 วิชาก็ได้ เมื่อเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับแล้วหน่วยกิตยังไม่ครบก็ไปเลือกเรียนจากวิชาเลือกเสรีให้ครบ
            
( สรุปว่า การเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับ+วชาเลือกเสรีที่มีทั้งหมด ต้องเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับอย่างน้อย 2 วิชา )
             ถ้านำวิชาเลือกบังคับไปรวมไว้ใน "วิชาบังคับ" ทุกคนก็ต้องเรียน จะเลือกไม่ได้
             และการเปลี่ยนวิชาบังคับต้องเปลี่ยนหลักสูตร ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจเปลี่ยน เปลี่ยนยากกว่ามาก ขณะนี้จึงเปลี่ยนแบบนี้ไปก่อนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนหลักสูตร

             ผอ.ผู้เขียน เขียนต่อ ว่า  ความต่างมันอยู่ที่วิชาเลือกนี้ถ้าเลือกไปสองวิชาแล้ว วิชาเลือกหมวดวิทยาศาสตร์ 19 หน่วย ภาษาอังกฤษเลือก และคณิตศาตร์เพิ่มเติ่มที่เป็นทางเลือกให้กับ นศ.กศน.ที่จะไปเรียนพยาบาล หรือสายวิทย์ หน่วยกิตจะเกิน ..ถ้า จะเอาแค่พอดีกับหน่วยกิต โดยมีวิชาเลือกบังคับด้วย ทางเลือกที่ว่า ก็หมดกัน
             ผมตอบว่า  วิชาในวิชาเลือกบังคับ น่าจะเป็นวิชาสายวิทย์ด้วยนะ ( วิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
, การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ, วัสดุศาสตร์ ) แต่ถ้าไม่ใช่ และการต้องเรียนวิชาเลือกบังคับ 2 วิชา ทำให้วิชาเลือกเสรีเหลือไม่พอที่จะเป็นสายวิทย์ ก็คงต้องเรียนวิชาเลือกเสรีเกินกว่าที่กำหนด ( บางคนเรียนจบไปแล้วยังมาเรียนเพิ่มบางวิชาเพื่อให้เป็นสายวิทย์ )

         5. คืนวันที่ 26 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ครู ศรช มีนักศึกษาไม่ครบ80คนให้เบิกค่าตอบแทนเป็นรายหัวถูกไหม ถ้า80คนเหมาจ่าย15000บาทใช่ไหม

             ผมตอบว่า   ดูข้อมูลที่ผมเคยโพสต์ในข้อ 4 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/12/thai.html
             ซึ่งสรุปได้ว่า

             - เกณฑ์สำหรับครู ศรช. ให้แต่ละจังหวัดกำหนดเอง ไม่จำเป็นต้องเป็น 80 คน ( แต่ถ้าครบ 100 คน ก็เบิกเหมาจ่าย 15,000 บาทได้แล้ว จังหวัดจะกำหนดว่าเกิน 100 คนจึงจะให้เบิกเหมาจ่าย 15,000 บาท ไม่ได้ )
            
- ถ้ามี นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์ที่จังหวัดกำหนด เช่นจังหวัดนั้นกำหนด 50-90 คน แล้วมีไม่ครบ 50 คน หนังสือสั่งการฉบับล่าสุดไม่ได้ระบุให้เบิกจ่ายเป็นรายหัวแบบที่เมื่อก่อนเคยกำหนด
            
- แต่ถ้าเป็น ครูประจำกลุ่ม จากหนังสือสั่งการ 2 ฉบับล่าสุด สรุปให้เบิกจ่ายเป็นรายหัวได้ถ้า นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์
            
- ฉะนั้น ถ้า นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์ น่าจะจ้างเป็นครูประจำกลุ่ม โดยถ้ามี นศ. 40-50 คน ครูประจำกลุ่มเบิกเหมาจ่ายเดือนละ 3,200 บาท  ถ้าไม่ครบ 40 คน เบิกรายหัว ๆ ละ 80 บาท

         6. ซักซ้อมความเข้าใจแนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ กศน. เช่นเรื่อง การให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ( ย้าย : ต้องมีเลขที่ตำแหน่งว่างในตำแหน่งเดียวกัน ), การขอใช้บัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรของจังหวัดอื่น
             ดาวน์โหลดได้ที่ 
https://www.dropbox.com/s/jx7mfhgzu03eg4m/PRGunderstan.pdf?dl=1

         7. วันที่ 29 ธ.ค.60 มีผู้โทร.ถามผม ( ให้ตอบด่วนทางไลน์ ) ว่า เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ คุมสอบปลายภาคได้ไหม

             ผมตอบว่า   ผมเคยโพสต์เรื่องนี้ 4-5 ครั้ง เช่นใน
            
- ข้อ 6 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/08/oudnhun.html
            
- ข้อ 6 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/09/relax.html
             ซึ่งสรุปว่า
            
- ในส่วนของกรรมการคุมห้องสอบ ต้องเป็น ข้าราชการทุกสังกัด(ไม่รวมผู้เกษียณแล้ว) พนักงานราชการทุกสังกัด ครูในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน ( ผู้รับจ้างเหมาบริการ คุมสอบได้เฉพาะตำแหน่งครูต่าง ๆ เท่านั้น ) แต่ครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน กศน. ไม่ให้คุมห้องสอบนักศึกษาของตนเอง
            
- ในส่วนของกรรมการกลาง จนท.กศน. ทั้งข้าราชการ-พนักงานราชการ-จ้างเหมา ทุกตำแหน่ง เป็นกรรมการกลางได้


วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1.ไม่มีสัญชาติไทย สมัครเทียบระดับฯไม่ได้, 2.ใบ สด.8 เทียบโอนได้วิชาอะไร, 3.ครู กศน.ไม่มีวุฒิครู สอบครูผู้ช่วยได้ไหม, 4.ครู ศรช.รับผิดชอบ นศ.ได้กี่คน เกินเท่าไรจึงจะจ้างครู ศรช.เพิ่ม จ้างเป็นครูประจำกลุ่มได้ไหม, 5.จนท.กศน.จังหวัด เป็นวิทยากรให้ กศน.อำเภอ ในวันราชการ เบิกค่าวิทยากร ชม.ละ 600 บาทได้ไหม, 6.จนท.บอกว่าเครื่องราชฯ จะขอได้เฉพาะกลุ่มบริหารทั่วไป, 7.เบิกค่าวิทยากรให้กับวิทยากรของศูนย์วิทย์ได้ไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 1 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.เขต ถามผมทางไลน์ ว่า  เทียบระดับ คนที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่สามารถเรียนได้ใช่ไหม พอดีตรวจสอบแล้ว มีเรียน 1 คน เลขบัตรประจำตัวขึ้นด้วยเลข 8  แล้วหนังสือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ ศธ 0210.03/6217 ลว. 6 พ.ย. 49 ที่ให้สถานศึกษาสามารถรับสมัครและออกหลักฐานการศึกษาให้เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยได้ ฉบับนี้ ยังมีผลอยู่หรือไม่

             ผมตอบว่า   หนังสือฉบับที่ให้รับสมัครและออกหลักฐานการศึกษาแก่ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยได้ ยังมีผลอยู่ แต่หนังสือฉบับนี้เป็นเรื่อง "การศึกษา (การเรียน)"
             แต่ "การเทียบระดับ" ไม่ใช่การเรียน  การเทียบระดับเป็นการประเมินเพื่อยอมรับระดับความรู้ที่เขามีความรู้อยู่แล้ว
             ตามคู่มือการดำเนินงานเทียบระดับการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559 ( ดาวน์โหลดได้ที่ 
https://www.dropbox.com/s/tzgrwkyven6m08x/manualTeab59.pdf?dl=1 ) กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการประเมินเทียบระดับฯ ไว้ที่หน้า 9 ข้อ 1.1 ว่า มีสัญชาติไทยฉะนั้นคนที่ไม่มีสัญชาติไทยจึงไม่สามารถสมัครเทียบระดับได้

         2. วันที่ 4 ธ.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  มีนักศึกษาเอาใบสด8 มาเทียบโอน ในระดับม.ปลาย ไม่ทราบว่าเทียบโอนได้รายวิชาอะไรบ้าง

             ผมตอบว่า   จะเทียบโอนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ( กลุ่มทหารกองประจำการหรือทหารเกณฑ์ ) ใช่ไหม
             สด.8 คืออะไร เขาได้มาโดยการเรียน รด.ปี 3 หรือโดยการเป็นทหารกองประจำการครบตามที่ พรบ.การรับราชการทหารกำหนด
?
             ถ้าเป็นทหารกองประจำการครบจึงจะเทียบโอนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนี้ได้
             ( หลักฐานที่ใช้คือ สมุดประจำตัวทหารกองหนุน หรือ หนังสือรับรองการปลดประจำการจากผู้บังคับหน่วยทหารตั้งแต่ระดับกองพันหรือผู้บังคับบัญชากองร้อยอิสระหรือผู้บังคับการเรือชั้น 3 ขึ้นไป )

             เทียบโอนได้รายวิชาอะไรบ้าง ดูในหนังสือปกสีเขียว แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน จากความรู้และประสบการณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชช 2551”  หนังสือนี้ ส่วนกลางส่งให้ทุกอำเภอแล้ว  ส่งให้พร้อมกับเล่มสีน้ำเงิน การเทียบโอนจากหลักสูตร 44 เข้าสู่หลักสูตร 51
             ดูภาพปกในข้อ 2 ที่ 
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/487113
             ถ้าหาเล่มสีเขียวนี้ไม่เจอ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ 
https://www.dropbox.com/s/e10tvqv7b5t1tk9/teboon.rar?dl=1
             หรือ เมื่อปี 59 ให้ครูทุกคนเข้าอบรมขับเคลื่อนการจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล ในเอกสารประกอบการอบรมก็มีเรื่องการเทียบโอนฯกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ นี้

         3. วันที่ 8 ธ.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เรื่องสอบครูผู้ช่วย กศน. ในกรณีปัจจุบันเป็นครู กศน.ตำบล แต่ยังไม่มีวุฒิครู จะสอบได้ไหม

             ผมตอบว่า   วุฒิครู คือ ปริญญาทางการศึกษา  คุณสมบัติในการสมัครสอบครูผู้ช่วยมีหลายข้อ ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งก็สมัครไม่ได้ โดยมีข้อหนึ่งกำหนดว่า มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด
             ฉะนั้น แม้จะเป็นครู กศน. แต่ถ้าไม่มีทั้งปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด ก็ไม่มีสิทธิสมัครสอบครูผู้ช่วย
             แต่.. ปริญญาทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนด มีมากกว่าหนึ่งหมื่นเก้าพันคุณวุฒินะ มีวุฒิอะไรบ้าง ตรวจสอบได้ในเว็บ ก.ค.ศ. ที่  
http://qualification.otepc.go.th/menu.php โดย
             - ชี้ที่ "คุณวุฒิ
คลิกที่ รับรองก่อน 6 ก.ย.54"
             - ใส่ชื่อมหาวิทยาลัยในช่อง ค้นหา
             - คลิกที่ปุ่มค้นหา (รูปแว่นขยาย) ก็จะโชว์วุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง ( อาจมีหลายหน้า ให้คลิกดูทีละหน้า ) ถ้าดูทุกหน้าแล้วไม่มีวุฒิที่หา ให้กลับออกมาแล้วคลิกเข้าไปหาที่ "คุณวุฒิ รับรองหลัง 6 ก.ย.54" ด้วย ถ้าไม่มีอีก แสดงว่าวุฒินั้นไม่ได้รับการรับรอง ถ้าไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถาม ก.ค.ศ.

             ส่วนคำว่า ปริญญาทางการศึกษา” ( ที่ภาษาพูดว่า วุฒิครู” ) นั้น ได้แก่
             1)  การศึกษา
             2)  ครุศาสตร์
             3)  ศึกษาศาสตร์
             4)  ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
             5)  ศิลปศาสตร์ ( ศึกษาศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์การสอน )
             6)  วิทยาศาสตร์ ( ศึกษาศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์การสอน หรือ การสอน )
             7)  คหกรรมศาสตร์ วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ศึกษา
             8)  เกษตรศาสตร์ วิชาเอกเกษตรศึกษา
             9)  บริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจศึกษา

             และ.. ปกติ พนักงานราชการ กศน. ตำแหน่งครู ( เช่นครูอาสาฯ ครู กศน.ตำบล ) ทุกคน จะต้องมีปริญญาทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.รับรอง อยู่แล้วนะ เพราะ คุณสมบัติในการสมัครเป็นพนักงานราชการ กศน. ตำแหน่งครู ก็กำหนดให้มีปริญญาทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.รับรอง เช่นกัน
             ถ้าพนักงานราชการ กศน.ตำแหน่งครูคนใดไม่มีปริญญาทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.รับรอง แสดงว่า จังหวัดนั้นทำผิดในการคัดเลือกพนักงานราชการตำแหน่งครู
             โดย รุ่นเก่าจะกำหนดคุณสมบัติว่า "มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน."
             ส่วนรุ่นหลัง ตั้งแต่ 24 ก.พ.58 เป็นต้นมา เปลี่ยนเป็นกำหนดคุณสมบัติว่า
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา เฉพาะ 3 วุฒิ คือ ศึกษาศาสตร์ การศึกษา ครุศาสตร์ ถ้าเป็นคนในสังกัด กศน.เพิ่มอีก 1 วุฒิ คือ ป.บัณฑิต

         4. วันที่ 12 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.เขต ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า  ครู ศรช.รับผิดชอบ นศ.ได้กี่คน เกินเท่าไรจึงจะจ้างครู ศรช.เพิ่มได้อีก จ้างเป็นครูประจำกลุ่มได้ไหม

             ผมตอบว่า   หนังสือแจ้งแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเกณฑ์สำหรับครู ฉบับล่าสุดเป็นฉบับเมื่อ 30 พ.ย.2558 ( หนังสือ สป.ศธ.ที่ ศธ 0210.03/14360 ดาวน์โหลดได้ที่  https://www.dropbox.com/s/zjbq6ciwb9oguln/criteria.pdf?dl=1 ) หลังจากนั้นยังไม่มีฉบับที่ใหม่กว่า
             ในเรื่องของการจ้างครูประจำกลุ่ม ค่อนข้างสับสน เปลี่ยนกลับไปมา แต่ละกลุ่มงานในส่วนกลางก็มีความรู้ความเข้าใจที่เป็นปัจจุบันทันสมัยไม่เท่ากัน บางคนก็ยังใช้ฉบับที่เก่าแล้วนำขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นฉบับหลังไปอีก
             ซึ่งเดิมเคยให้ยกเลิกการจ้างครูประจำกลุ่มไปแล้ว เหลือเฉพาะครูประจำกลุ่มของกลุ่มเป้าหมายพิเศษเช่นกลุ่มทหาร กลุ่มผู้ต้องขัง  สมัยท่านประเสริฐ บุญเรื่องก็มีการย้ำชัดว่าให้จ้างครูประจำกลุ่มได้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ส่วนกลุ่มทั่วไปให้จ้างเป็นครู ศรช.
             แต่หนังสือฉบับวันที่ 30 พ.ย.58 นี้ ออกมาในสมัยท่านสุรพงษ์ จำจด พูดถึงการจ้างครูประจำกลุ่มในกลุ่มทั่วไป
             ผมจึงขอสรุปตามหนังสือฉบับล่าสุด ณ ขณะนี้ ว่า จ้างเป็นครูประจำกลุ่มได้

             หนังสือฉบับนี้ กำหนดในข้อ 2 ว่า ครู กศน.ตำบล รับผิดชอบ 1 กลุ่ม ไม่เกิน 40 คน หากจะให้รับผิดชอบจำนวน 2 กลุ่ม ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน กศน.จังหวัด ( ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 2 กลุ่ม )
             นั่นคือ ครู กศน.ตำบล ต้องรับผิดชอบ นศ. ไม่เกิน 80 คน อำเภอใดมีจำนวน นศ.ไม่พอให้ครู กศน.ตำบลรับผิดชอบได้ถึงรายละ 40 คน ครู กศน.ตำบลก็รับผิดชอบ นศ.ต่ำกว่า 40 คนได้ ( แต่จะให้ครู กศน.ตำบลไม่ต้องรับผิดชอบ นศ. เพื่อใช้ นศ.สำหรับจ้างครู ศรช.เพิ่ม ไม่ได้ )
             ในข้อ 6 กำหนดว่า
ครู ศรช.รับผิดชอบผู้เรียนตั้งแต่ 1 กลุ่มขึ้นไป กลุ่มละไม่เกิน 40 คน ทั้งนี้หากมีผู้เรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ให้นับรวมกับผู้เรียน/ผู้ร่วมกิจกรรม กศ.นอกระบบและ กศ.ตามอัธยาศัย ( ที่ตนรับผิดชอบ ) ใน แต่ละเดือน ต้องรวมเป็นรับผิดชอบไม่น้อยกว่า 100 คน จึงจะเบิกเหมาจ่ายตามวุฒิ ไม่ได้ระบุว่าถ้ารวมแล้วก็ยังไม่ครบ 100 คน ให้เบิกจ่ายเป็นรายหัวแบบที่เมื่อก่อนเคยกำหนด
             ( เรื่องการนับรวมกับจำนวนผู้เรียน/ผู้ร่วมกิจกรรม กศ.ต่อเนื่อง/อัธยาศัย
ในแต่ละเดือนนี้ ยากในการปฏิบัติ ต้องนับใหม่กันทุกเดือน กศ.ต่อเนื่องบางรุ่นก็เรียนเดือนเดียวจบ จำนวนที่นับได้จึงไม่เท่ากันทุกเดือน บางเดือนรวมถึง 100 คน แต่บางเดือนไม่ถึง 100 คน ยากในการเบิกจ่ายของ จนท.การเงิน )
             ในส่วนของเกณฑ์สำหรับ ครู ศรช.นี้ ส่วนกลางไม่กำหนดจำกัดว่าไม่เกินกี่กลุ่ม ให้แต่ละจังหวัดกำหนดเอง
             ในข้อ 9 กำหนดว่า
ครูประจำกลุ่ม รับผิดชอบผู้เรียนกลุ่มละไม่เกิน 40 คน ให้ได้รับค่าตอบแทนทุกเดือนเป็นรายหัว ๆ ละไม่เกิน 80 บาท
             แต่ในหนังสือ สป.ศธ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.117/7247 ลว.21 มิ.ย.59 เรื่องทบทวนการจ้างครูฯ  กำหนดให้จ้างครู กศน.(บุคคลภายนอก) ทุกตำแหน่ง เป็นการจ้างเหมาฯ ระบุให้ครูประจำกลุ่มรับผิดชอบนักศึกษาไม่เกิน 50 คน แต่อัตราการจ้างยังเป็น 19,200 บาท/ภาคเรียน ( 3,200 บาท/เดือน )

             สรุป
             1)  จ้างเหมาบริการเป็นครูประจำกลุ่มได้  ครูประจำกลุ่มรับผิดชอบ นศ.ไม่เกิน 50 คน คิดค่าจ้างจากรายหัว ๆ ละไม่เกิน 80 บาท ถ้ารับผิดชอบ นศ.40-50 คน ค่าจ้างเดือนละ 3,200 บาท
             2)  เกณฑ์จำนวน นศ.สำหรับครู ศรช. จะเป็นเท่าไร ให้แต่ละจังหวัดกำหนด ส่วนที่เกินเกณฑ์หรือไม่ถึงเกณฑ์น่าจะจ้างเป็นครูประจำกลุ่ม เช่น จังหวัด ก. กำหนดให้ครู ศรช.รับผิดชอบ นศ.รายละ 50-90 คน ถ้าอำเภอ ข. มี นศ.เหลือจากการรับผิดชอบของครูประเภทอื่น 100-180 คน ก็จ้างครู ศรช.ได้ 2 คน
                  ถ้ามี นศ.เหลือ 49 คน ก็จ้างครูประจำกลุ่ม 1 คน
, ถ้ามี นศ.เหลือ 181 คน ก็จ้างครู ศรช. 2 คน กับครูประจำกลุ่ม 1 คน เป็นต้น  ( ถ้าจังหวัดกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ 50 คน จะต้องมีจำนวน นศ.เหลือเศษถึง 50 คน จึงจะจ้างครู ศรช.เพิ่มได้อีก 1 คน )

         5. วันที่ 15 ธ.ค.60  มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เจ้าหน้าสำนักงาน กศน.จังหวัด เป็นวิทยากรให้ กศน.อำเภอ ในวันและเวลาราชการ สามารถเบิกค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาทได้ไหม

             ผมตอบว่า   ก่อนอื่นต้องดูว่าเป็นวิทยากรงานอะไร เช่น เป็นวิทยากรการประชุม หรือเป็นวิทยากรการฝึกอบรม หรืองานการศึกษาต่อเนื่อง หรืองานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแต่ละงานมีระเบียบหลักเกณฑ์และอัตราที่แตกต่างกัน
             ถ้าเป็นวิทยากรการฝึกอบรม ท่านอาจารย์สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า  ปัจจุบันยังใช้มาตรการประหยัดงบประมาณของ สป.ศธ.ฉบับล่าสุด คือฉบับปี 56 อยู่ ( ดูได้ที่ 
https://www.dropbox.com/s/m9oghdbtsd26p9n/saveMeasure.pdf?dl=1 ) ซึ่งให้ใช้ไปจนกว่าจะมีฉบับใหม่ โดยฉบับนี้ กำหนดในเรื่องการฝึกอบรม ไว้ในข้อ 7.6 ว่า
            
7.6 ค่าสมนาคุณวิทยากร บุคลากรในสังกัด สป.ให้เบิกได้เฉพาะวิทยากรต่างสำนัก/หน่วยงานกับผู้จัดการฝึกอบรม ( เช่น ถ้าหน่วยงานสังกัด กศน.จัดฝึกอบรม ก็ไม่ให้วิทยากรที่สังกัด กศน.เบิกค่าสมนาคุณวิทยากร ) กรณีมีความจำเป็นจะเบิกจ่าย ให้ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ ( ปลัดกระทรวง ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรณี ๆ ไป

         6. คืนวันอาทิตย์ที่ 17 ธ.ค.60 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  หากเคยบรรจุเป็นพนักงานราชการในวุฒิ ปวส.หรือเทียบเท่า..ต่อมามีตำแหน่งที่เป็นวุฒิปริญญาตรี ได้สอบและได้เลื่อนมาเป็นวุฒิปริญญาตรี การขอเครื่องราชฯ จะนับระยะเวลาต่อเนื่องเลยมั๊ย หรือต้องเริ่มนับตอนที่บรรจุวุฒิปริญญาตรี เนื่องจาก จนท.บอกว่าเครื่องราชฯ จะขอได้เฉพาะตำแหน่งบริหารทั่วไป

             ผมตอบว่า
            
1)  พนักงานราชการวุฒิ ปวส. กลุ่มงานบริการ ก็ขอเครื่องราชฯได้ ( ดูในบัญชีในข้อ 3 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/10/soldier.html ) ผมเพิ่งจะโพสต์เรื่องนี้เมื่อ ต.ค.60 นี้
            
2)  แต่เมื่อเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป เนื่องจากการเปลี่ยนตำแหน่ง/เปลี่ยนกลุ่มงานของพนักงานราชการต้องลาออกและสอบใหม่ ระเบียบ ณ ปัจจุบัน ( 2560 ) ถ้าลาออกการนับเวลาเพื่อการขอเครื่องราชฯจะไม่นับต่อกัน ต้องเริ่มนับเวลาใหม่ ( ถ้านับเวลาเพื่อการสอบเป็นครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ จะนับต่อเนื่องด้วย การนับเวลาเพื่อแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน )
             อนึ่ง ถ้าตอนเป็นพนักงานราชการกลุ่มงานบริการครบ
5 ปีขึ้นไปขอเครื่องราชฯได้แล้ว ไม่ต้องส่งคืน ประดับต่อเนื่องไปได้ และเมื่อเป็นพนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไปจนถึงเวลาขอเครื่องราชฯที่เคยได้แล้วก็ไม่ต้องขอซ้ำอีก ควรแจ้งฝ่ายบุคลากรของจังหวัดว่าเราเคยได้รับเครื่องราชฯใดแล้ว

         7. วันที่ 20 ธ.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  กศน.อำเภอจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ค่ายวิทย์ฯที่ กศน.อำเภอ เชิญบุคลากรของศูนย์วิทย์มาเป็นวิทยากร กศน.อำเภอเบิกเงินค่าวิทยากรให้กับวิทยากรของศูนย์ฯวิทย์ได้หรือเปล่า

             เรื่องนี้  ผมเคอยบอกแล้วว่า ก่อนอื่นต้องดูว่าเป็นวิทยากรงานอะไร เช่น เป็นวิทยากรการประชุม หรือเป็นวิทยากรการฝึกอบรม หรืองานการศึกษาต่อเนื่อง หรืองานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแต่ละงานมีระเบียบหลักเกณฑ์และอัตราที่แตกต่างกัน
             ท่านอาจารย์สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า ถ้าจัดฝึกอบรม
นักศึกษา จ่ายจากเงินอุดหนุนตามคำสั่ง สป.ที่ 605 ( เป็นงาน กศ.ขั้นพื้นฐาน จึงไม่ใช้ระเบียบการฝึกอบรม และไม่โยงกับมาตรการประหยัดงบประมาณ ) สามารถจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร ให้วิทยากรที่เป็นบุคลากรในสังกัด กศน.ด้วยกันได้ไม่เกินชั่วโมงละ 200 บาทต่อคน ( ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาทต่อคณะ 3 คนขึ้นไป )   แต่เขาไม่ควรเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการซ้ำซ้อนกับรับค่าตอบแทนวิทยากร
             และถ้าไปเข้าค่ายในศูนย์วิทยฯมีผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ซึ่งเป็นหน้าที่ตามตำแหน่งอยู่แล้ว ไม่สามารถเบิกค่าตอบแทนได้


วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1.กพช. เทียบโอนได้, 2.มาอีกแล้ว ค่าอบรมคนละ 3,900 บ., 3.สอบครูผู้ช่วย กศน. สอบวิชาอะไรบ้าง, 4.อบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ, 5.กศน.ก็ใส่แบบนี้ใช่มั้ย, 6.เล่าเรื่องแพรแถบย่อ, 7.ตำหนิ ผอ.เรื่องย้ายพนักงานราชการ



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. กิจกรรมพัฒนาตนเองชุมชนสังคมและกิจกรรมจิตอาสา ที่ นศ.ทำก่อนขึ้นทะเบียนเป็น นศ. ( ไม่รวมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ทำระหว่างเรียนในระบบโรงเรียน ) สามารถเทียบโอนเป็น กพช.ได้ไม่เกิน 150 ชม.
             ( กิจกรรมใดใช้เทียบโอนในระดับใดแล้ว จะใช้เทียบโอนในระดับอื่นอีกไม่ได้ และถ้าใช้เทียบโอนเป็น กพช.แล้ว กิจกรรมนั้นจะใช้เทียบโอนเป็นรายวิชาอีกไม่ได้ )
             ดูรายละเอียดในเอกสารที่
             https://www.dropbox.com/s/076dsp7falp0tnn/TeabGPSh.pdf?dl=1
 





         2. วันที่ 17 พ.ย.60 มีผู้ส่งข้อความทางไลน์ ว่า  สมาคมห้องสมุดมาแล้วคนละ3900 เดี๋ยวชมรมห้องสมุดอีก ( จัดประชุมอบรมเก็บค่าลงทะเบียนกันประจำทั้งสมาคม และชมรมห้องสมุด ) แห่กันไป พอห้ามก็เป็นการขัดใจบรรณ ขอบคุณบางแห่งที่ไม่เรียกเก็บค่าลงทะเบียนการอบรม เช่นนานมีบุ๊ค ปัจจุบันงบประมาณของสำนักงานกศน.จังหวัดต่างๆค่อนข้างจำกัด ในปีที่ผ่านมามีผอ.จวหลายท่านปรารภถึงการส่งคนเข้ารับการอบรม   ในการนี้ขอเสนอแนะว่าให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บริหาร ค่าลงทะเบียนสามารถเบิกได้ก็จริงควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายตลอดปีและการอบรมที่กศน.จะต้องจัด ถึงเวลาก็พบปัญหาหมดงบ ประเภทที่เรียกเก็บเงินแล้วกลับมาไม่นำมาทำอะไรควรระมัดระวังเพราะเขาทำกันเป็นธุรกิจ

             ผมเสริมว่า   แล้วก็มีหนังสือจากส่วนกลางแจ้งกำกับไปว่าให้สนับสนุนงบค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัด  อำเภอต้องใช้งบอื่นเช่นเงินอุดหนุนรายหัว มาช่วยสมทบค่าดำเนินงานต่าง ๆ ของอำเภอ แต่งบห้องสมุดไม่เหลือไปช่วย
             ไปประชุมอบรมอย่างนี้ทุกปี บางปี 2 ครั้ง 3 ครั้ง กลับมาก็ไม่เห็นพัฒนางานห้องสมุดให้มีชีวิตมากขึ้น ผอ.ที่ไหนบ่นก็โดนพวกบรรณนินทา ที่ไหนให้ไปพวกบรรณก็สรรเสริญ ในขณะที่บุคลากรอื่น เช่น ขรก.ครู ไม่ค่อยได้ไปประชุมต่างจังหวัดที่ไหน
             อำเภอ/จังหวัด ควรพิจารณาให้ไปหรือไม่ให้ไปอบรมลักษณะนี้ตามบริบทที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเกรงใจใคร ไม่ต้องเกรงคำว่า
สมาคมฯในพระราชูปถัมภ์

         3. วันเสาร์ที่ 18 พ.ย.60 ສາວ ມີນ ມີນ ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  อยากสอบถามเรื่องการประกาศสอบครั้งที่แล้ว ว่ามีเนื้อหาวิชาที่ใช้สอบครูผู้ช่วย กศน. วิชาอะไรบ้าง พอดียังไม่เคยสอบ

             ผมตอบว่า   คราวที่แล้ว กศน.ประกาศรับสมัคร ส.ค.56 ยังไม่ได้ใช้ ว16 ถ้าจะประกาศรับสมัครใหม่ในเดือนหน้าหรือต้นปีหน้า บางอย่างจะต่างจากเดิมแล้ว หลักเกณฑ์วิธีการและหลักสูตรการสอบเปลี่ยนไปแล้ว
             อ่านที่ผมเคยโพสต์เรื่องนี้ เช่นในข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2017/02/n-net.html ให้จบนะ
              ( ว.16 ตอนท้าย จะบอกว่า ภาค ก ภาค ข ภาค ค สอบอะไรบ้าง ดาวน์โหลดลิ้งค์นั้นไปอ่านดูหลักสูตรการสอบ )

         4. วันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 18 พ.ย.) มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  สนใจจะไปอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ต้องถามหน่วยงานไหนของ กศน. แล้วพอจะทราบมั้ยว่ามีอบรมช่วงไหน

             ผมตอบว่า   หลักเกณฑ์เดิม ว 17/52 ต้องผ่านการอบรมก่อนเลื่อนวิทยฐานะ แต่หลักเกณฑ์ใหม่ ว 21/60 ต้องผ่านการพัฒนาตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ไม่ต้องอบรมพัฒนาก่อนแต่งตั้งอีก
             อย่างไรก็ตาม ผู้ที่บรรจุอยู่ก่อนวันที่ 6 ก.ค.60 สามารถยื่นขอตามหลักเกณฑ์เดิมได้  ต้องถามเรื่องอบรมที่ กจ.กศน. 02- 2800425, 2822159
              ( กจ.กศน.บอกว่า ปี งปม.61 กศน.ไม่จัดอบรมพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์เดิม ส่วนปี งปม.62 ยังไม่แน่
                ขรก.ครูสามารถไปขอร่วมอบรมพัฒนาที่หน่วยงานอื่นจัดตามหลักสูตรของ ก.ค.ศ.ตามหลักเกณฑ์เดิม ได้ โดยยื่นขอเข้ารับการพัฒนาผ่านไปทาง กศน.
                คนละอย่างกับหลักสูตรการอบรมที่ผ่านการพิจารณาของสถาบันคุรุพัฒนาตามหลักเกณฑ์ใหม่ ว.20-22 )

         5. คืนวันอาทิตย์ที่ 19 พ.ย.60 มีผู้ส่ง ภาพของ สพฐ. มาถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  กศน.ก้อใส่แบบนี้ใช่มั้ย

             ผมตอบว่า   เดิมทุกกรมในกระทรวงศึกษาธิการ ใช้ เครื่องแบบปกติ” ( บางคนเรียกชุดตรวจการ ) ของพนักงานราชการ ตามประกาศ สป.ศธ.ฉบับเดียวกันทุกกรม ซึ่งเป็นประกาศปี 2548 เข็มขัดสีดำ เสื้อมีสายอินทรธนูแต่ไม่มีการประดับเครื่องหมายอินทรธนู
             ส่วน
เครื่องแบบพิธีการใช้ตามประกาศของ ค.พ.ร. เหมือนกันทุกกรมทุกกระทรวง ( เดิมกำหนดเป็นชุดสูทสากลนิยม แต่งในพิธีที่ข้าราชการแต่งเครื่องแบบเสื้อขาว  ต่อมาวันที่ 29 ก.ค.52 ให้เปลี่ยนจากชุดสากลนิยม เป็นเครื่องแบบเสื้อขาวเหมือนลูกจ้างประจำแต่อินทรธนูคิดขึ้นมาใหม่สำหรับพนักงานราชการโดยเฉพาะ พนักงานราชการทั่วไปให้ใช้อินทรธนูที่มีดอกพิกุล 2 ดอกตลอดไป ส่วนพนักงานราชการพิเศษใช้อินทรธนูที่มีดอกพิกุล 3 ดอกตลอดไป ดูประกาศได้ที่  https://www.dropbox.com/s/8nh64ulcutheb53/CeremonialUniform.pdf?dl=1 )

             ต่อมา สป.ศธ.เปลี่ยนเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการใหม่โดยประกาศปี 2554 ( กศน.ส่งประกาศนี้ให้ทุกจังหวัด 2 รอบแล้ว ดูได้ที่  https://www.dropbox.com/s/4c70t0n8ldwv6mx/formPRGnfe.pdf?dl=1 ) ให้ใช้อินธนูเหมือนของลูกจ้างประจำ โดยพนักงานราชการทั่วไป ( กลุ่มงาน บริการ, เทคนิค, บริหารทั่วไป ซึ่งในส่วนภูมิภาคจะมีแต่พนักงานราชการทั่วไป ) ให้ใช้อินทรธนูที่มี 2 ขีด ตลอดไป ส่วนพนักงานราชการพิเศษ ( กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ) ให้ใช้อินทรธนูที่มี 3 ขีด ตลอดไป
             สำหรับเข็มขัด ไม่ได้แก้ไข ยังเป็นสีดำเหมือนเดิม
            
( เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ไม่ประดับอินทรธนู )

             ต่อมาอีก กศน.เสนอขอเปลี่ยนระเบียบใหม่อีก ขอให้เข็มขัดเป็นสีกากี และใช้ 3 ขีด สำหรับผูที่ที่อายุราชการในตำแหน่งพนักงานราชการยังไม่ครบ 9 ปี ถ้าครบ 9 ปี ให้เปลี่ยนเป็น 4 ขีด
             แต่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือที่ นร
0306/2137 ลว.26 มี.ค.55 ว่า
            
ส่วนราชการไม่อาจนำอินทรธนูของเครื่องแบบข้าราชการหรือเครื่องแบบลูกจ้างประจำ ไปใช้กับเครื่องแบบของพนักงานราชการ  เครื่องแบบพนักงานราชการจักต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องแบบข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ” ( ผิดกฏหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 )
             กศน.จึงเสนอร่างระเบียบใหม่ขอใช้ตราเสมาติดทับบนอินทรธนู เพื่อให้แตกต่างจากอินทรธนูของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ( คล้ายอินทรธนูข้าราชการชั้นพิเศษที่มีตราครุฑทับบนอินทรธนู )  ท่านปลัดกระทรวง ศธ. ให้ทำหนังสือหารือสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า เครื่องแบบตามร่างระเบียบใหม่นี้ เหมือนหรือคล้ายเครื่องแบบของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำหรือไม่ และจะแบ่งอินทรธนูออกเป็น
4 กลุ่ม/ระดับได้หรือไม่ ทั้งนี้ ได้ส่งหนังสือหารือออกจาก สป.ศธ. เมื่อวันที่ 14 มี.ค.56
             สำนักนายกรัฐมนตรีตอบข้อหารือมาว่า
            
1)  การนำตราเสมาปิดทับบนอินทรธนู ก็ยังคล้ายอินทรธนูของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ( เครื่องหมายของเครื่องแบบเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละประเภท ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกัน )
            
2)  การแบ่งอินทรธนูเป็น 4 ระดับ 4 แบบ ไม่ถูกต้องเหมาะสม ควรมีเพียง 2 ระดับ สำหรับพนักงานราชการทั่วไป กับ พนักงานราชการพิเศษ

             เราเลยต้องหยุด เพราะถ้าเสนอต่อไป แทนที่จะได้ 3 ขีด แม้แต่ 2 ขีดก็อาจจะต้องถอด
             เมื่อเราไม่ขอเปลี่ยนระเบียบแล้ว ปัจจุบันอินทรธนูในระเบียบจึงยังเป็น
2 ขีดมีวงกลม เข็มขัดก็เลยยังเป็นสีดำด้วย
             ปัจจุบันมีเพียงเครื่องแบบพนักงานราชการ สป.ศธ.(กศน.) แห่งเดียวเท่านั้น ที่ใช้ขีดเหมือนลูกจ้างประจำ
             แม้แต่พนักงานราชการของ สพฐ.ซึ่งอยู่ในกระทรวงเดียวกัน เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย เขาจึงแยกออกประกาศใหม่เฉพาะของเขาเมื่อวันที่
2 ธ.ค.57 เขาออกแบบขีดขึ้นมาใหม่ไม่ให้เหมือนหรือคล้ายขีดของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ โดยไม่ให้มีวงกลม
             สรุป  ปัจจุบัน (
2560 ) เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ กศน. กับ สพฐ. ไม่เหมือนกัน
             โดย สป.ศธ.(กศน.) เป็นกรมเดียวในประเทศไทยที่ให้พนักงานราชการใช้ขีดของลูกจ้างประจำ
            
( บางคนใช้ 3 ขีดอีกต่างหาก ซึ่งพนักงานราชการทั่วไปใช้ 3 ขีดผิดระเบียบกฎหมายทุกฉบับ )






         6. เล่าเรื่องการติดแพรแถบย่อ

             - หลายคนรวมทั้งผม เคยเข้าใจผิดว่า ผู้ที่มีสิทธิประดับเหรียญที่ระลึกใดจะต้องเกิดก่อนปีที่โปรดเกล้าฯพระราชทานเหรียญนั้น  แต่ที่จริงการออกแต่ละเหรียญจะตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ( ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา ) โดยกำหนด บุคคลผู้มีสิทธิประดับเหรียญ รายละเอียดของลักษณะเหรียญ วิธีการประดับเหรียญ การสร้างเหรียญ และกิจการอื่นที่จําเป็น  ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดในมาตรา 4 เพียงสั้น ๆ ว่าบุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ หมายความว่าทุกคนประดับเหรียญนั้นได้โดยไม่ต้องเกิดก่อนปีที่ออกเหรียญนั้น
                ดูตัวอย่างจาก พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี พ.ศ.2549 ได้ที่
                http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00190345.PDF
                ยกเว้นเพียงเหรียญที่ระลึกงานฉลอง 25 ปีพุทธศตวรรษ ( 2500 ) และเหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐและยุโรป ( 2503 ) ซึ่งมีพระราชบัญญัติกำหนดไว้เฉพาะว่า ผู้มีสิทธิ์ประดับต้องเกิดก่อนปี พ.ศ. ที่ทรงโปรดเกล้าฯ
            
- แพรแถบย่อนี้ใช้ประดับแทนเหรียญจริง ( เหรียญจริงใช้ประดับเครื่องแบบครึ่งยศ/เต็มยศ เสื้อขาวกางเกงกระโปรงดำ, ส่วนแพรแถบย่อใช้ประดับเครื่องแบบปกติขาว หรือเครื่องแบบปกติกากี ) โดยสีและลายของแพรแถบย่อจะเหมือนกับสีและลายของสายแพรของเหรียญนั้น ๆ ซึ่งแต่ละเหรียญจะมีสีและลายของสายแพรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเหรียญนั้น ๆ ( ดูสายแพรของเหรียญในภาพประกอบ 1 )
             แพรแถบย่อ
1 แถวหรือ 1 แท่งแนวนอนจะมีไม่เกิน 3 เหรียญ ( 3 ท่อน ) ต่อกัน ( ดูในภาพประกอบที่ 2 จะเข้าใจง่ายขึ้น )
             - เรามักเรียกว่าเหรียญที่ระลึก แต่ที่จริงบางเหรียญเป็นเหรียญที่ระลึก เช่น เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.2539  บางเหรียญเป็นเหรียญเฉลิมพระเกียรติ เช่น เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 พ.ศ. 2542
            
- จากภาพประกอบที่ 3 จะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2493 ถึง 2559 ออกมา 20 เหรียญแล้ว  ถ้าจะติดให้ครบ แผงแพรแถบย่อจะใหญ่มาก ต้องมี 7 แถว ๆ ละ 3 เหรียญ โดยแถวบนสุดมี 2 เหรียญ นี่ยังไม่รวมแพรแถบย่อของเครื่องราชฯซึ่งจะติดรวมไว้อีกไม่เกิน 2 เหรียญที่ด้านซ้ายแถวบนสุดนะ ( แพรแถบย่อของเครื่องราชฯจะมีรูปมงกุฎหรือช้างอยู่ด้วย )
                แพรแถบย่อเหรียญที่ระลึกเหล่านี้ เป็นแพรแถบย่อชั้นต้น ที่ประชาชนทั่วไปซื้อมาประดับกี่เหรียญก็ได้ตามที่มีสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับความพอใจและความสวยงาม ติดข้ามหรือเว้นบางเหรียญก็ได้ แต่ถ้าติด
2 เหรียญขึ้นไปต้องเรียงลำดับให้เหรียญล่าสุดที่ออกทีหลังสุด อยู่แถวล่างมุมขวา คือเรียงลำดับเหรียญใหม่ไปเก่าจากขวาไปซ้ายและล่างขึ้นบน โดยมุมซ้ายของแถวบนสุดก่อนจะถึงเหรียญเครื่องราชฯจะเป็นเหรียญเก่าที่ออกมาก่อนสุด
            
( แต่เหรียญเครื่องราชฯ ถ้ามี 2 เหรียญ จะเรียงเหรียญที่ศักดิ์สูงกว่า ได้รับพระราชทานทีหลัง ไว้ที่แถวบนสุดด้านซ้าย )
             สำหรับคนที่แผงอกไม่กว้าง การติดเหรียญหรือแพรแถบย่อมากไปก็ทำให้ดูไม่สวยและเทอะทะ  ผู้หญิงมักจะติดไม่เกิน
2 แถว ผู้ชายอาจติด 3 แถว หรือ 4 แถวถ้ามีเครื่องราชฯอยู่แถวบน






         7. เนื่องจากมีการตำหนิ ผอ.กันในเฟซบุ๊กกลุ่มครูนอกระบบ เรื่องการย้าย(เปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน)ข้ามจังหวัดของพนักงานราชการ เช่น

             - หวงตำแหน่งกันจัง ทำไมไม่ตัดตำแหน่งให้เขาไป .. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน เอาแต่งานจนลืมคุณภาพชีวิตครู กศน.
             -
ขอชื่นชม ผอ.กศน.จังหวัดที่อีสานและอีกหลายจังหวัด ครู กศน.ตำบล คนไหนจะขอย้ายข้ามจังหวัด ท่านก็ตัดตำแหน่งให้ไปเลย ไม่มีกั๊ก ไม่ต้องรอคนมาแลกตำแหน่ง ไม่เคยคิดว่าจะได้งบประมาณน้อยลง .. หัวใจของการบริหารงานบุคคลอยู่ตรงนี้ เมื่อขอย้ายไม่ได้ก็ต้องลาออกไปเพื่อจะได้กลับบ้าน .. สุดท้ายองค์กรจะสมองไหล ไม่เหลือใครให้คอยใช้งาน .. แล้วองค์กรของเรายังจะอยู่สุขสบายดีมั้ย
             -
เห็นใจน้องๆครูจัง..ใครเจอผู้บริหารใจกว้างก็โชคดีไป
             -
การให้ครูตำบลย้ายข้ามจังหวัดและเอาตำแหน่งไปด้วยเป็นอำนาจของ ผอ.อำเภอ ถ้ายอมให้เอาตำแหน่งติดตัวไปด้วยครูก็ได้กลับบ้าน บางจังหวัดก็ไม่ยอมให้ตำแหน่งไปเพราะหวงตำแหน่ง ที่อีสานเขาไม่หวงตำแหน่ง เช่น อยู่อุดรอยากไปขอนแก่นท่านก็ตัดตำแหน่งไปลงที่ว่างได้... ปัญหาตอนนี้คือ หวงตำแหน่ง ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายอมเพื่อให้ครูได้กลับบ้านบ้าง วันนึงจะมีคนขอมาแทนตำแหน่งที่ว่างของท่าน ทุกอย่างลื่นไหลได้ตามระบบ.. ลองคิดหน้าคิดหลังดูดีๆ นะท่านผู้บริหาร ข้อดีมีมากกว่าเสีย
             -
แจ้งผอเรื่องย้ายกลับบ้าน เพราะไกลจากบ้านเกิดแต่ต้องตัดเลขที่ตำแหน่งไปแค่นั้น ผอ ก็ไม่อนุมัติ เสียใจอย่างแรง
             -
ก็คือว่าที่จะลงมีตำแหน่งว่าง แต่ไม่มีเลขที่ตำแหน่งเราต้องตัดเลขที่ตำแหน่งไปด้วยเท่านั้นแหละ จบ
             -
อยากให้ผอ.สนง.กศน.จังหวัด....ตัดตำแหน่งให้เพราะตำแหน่งครูอาสาสมัครไม่มีที่ว่างลงถ้าไม่ตัดตำแหน่งเพราะอยากกลับบ้านเกิดมารดาอายุ84ปีสุขภาพไม่แข็งแรง

             ผมตอบไปบ้างแล้ว เช่น
             1)  การตัดอัตราหรือย้ายเลขที่ตำแหน่งไปนั้น คือการเกลี่ยอัตรา  ที่ผ่านมามีแต่ส่วนกลางเกลี่ยจากจังหวัดที่เกินกรอบไปยังตำบลที่ยังไม่มีครู กศน.ตำบล ไม่ได้เกลี่ยจากตำบลที่มีครู กศน.ตำบลคนเดียว ไปยังตำบลที่มีครู กศน.ตำบลแล้ว  ทั้งนี้เพื่อเกลี่ยให้ทั่วประเทศมีครู กศน.ตำบลครบทุกตำบล
                  ( ที่ว่า
การให้ครูตำบลย้ายข้ามจังหวัดและเอาตำแหน่งไปด้วยเป็นอำนาจของ ผอ.อำเภอนั้น ไม่เป็นความจริง )
             2)  นอกจากเกลี่ยอัตรา(ตัดตำแหน่ง)ไปลงเฉพาะตำบลที่ไม่มีครู กศน.ตำบลแล้ว ที่เดิมของผู้ขอย้ายยังต้องมีครู กศน.ตำบลอยู่หลายตำแหน่งด้วยนะ
                  ถ้าที่เดิมมีตำแหน่งเดียวจะตัดไปไม่ได้ ไม่ใช่อำนาจจังหวัด ส่วนกลางก็ยังไม่เคยทำ  ถ้ามีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าส่วนกลางเคยทำจึงจะนำข้อมูลไปต่อรองกับส่วนกลางได้
                  และที่ว่า "วันหนึ่งจะมีคนตัดตำแหน่งมาแทน" นั้น ไม่มีข้อมูลว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน หรือนานแค่ไหน จะมีวันที่เกลี่ยครู กศน.ตำบลได้ครบทุกตำบลไหม
             แม้จะอ้างนั่นอ้างนี่ว่าเพื่อประโยชน์ราชการ แต่เป็นเหตุผลที่คิดเข้าข้างตัวเอง เพื่อประโยชน์ในการย้ายของตัวเอง
             ( ผอ.ที่ไม่ให้ตัดตำแหน่ง ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แต่เห็นแก่ประโยชน์ของหน่วยงาน กศน.อำเภอ เพราะท่านจะอยู่ที่ กศน.อำเภอนั้นเพียงประมาณ 4 ปี แต่เมื่อไม่มีเลขที่อัตราแล้วจังหวัดนั้นจะบรรจุคนใหม่มาแทนไม่ได้ นอกจากจะกระทบเพื่อนร่วมงานที่ต้องช่วยกันแบ่งภาระไป ยังกระทบไปถึงผู้ที่รอบรรจุในจังหวัดนั้นด้วย  ถ้า ผอ.ยอมตัดตำแหน่ง ท่านอาจได้รับคำชื่นชมจากคนที่ได้ย้ายหรืออาจได้มากกว่าคำชื่นชม แต่ กศน.อำเภอจะขาดอัตรากำลังไปไม่มีกำหนด  บางคนบอกว่าเป็นการเห็นแก่ตัวของ ผอ.ที่ให้ตัดตำแหน่ง )

             3)  บุคลากรของรัฐแต่ละประเภทย่อมต้องแตกต่างกัน เช่น ผู้รับจ้างเหมาบริการย้ายไม่ได้ ข้าราชการพลเรื่อนรวมทั้งข้าราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ของเราแม้แต่ตำแหน่งเดียวกันแต่ถ้าทำงานมานานไม่เท่ากันจนคนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์ชำนาญการอีกคนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ก็ยังย้ายสับเปลี่ยนกันไม่ได้เลย ต้องบรรณารักษ์ชำนาญการด้วยกัน หรือชำนาญการพิเศษด้วยกันจึงจะย้ายสับเปลี่ยนกันได้
                  ขรก.ครู ใช้ระเบียบของ ก.ค.ศ.ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงศึกษาฯ มีระเบียบให้ย้ายเพราะต้องทำงานโดยไม่ต้องต่อสัญญาไปจนเกษียณ ( ระเบียบใหม่ ขรก.ครูที่บรรจุใหม่ยังไม่ถึง 4 ปี ก็ห้ามขอย้าย )  ส่วนพนักงานราชการ ใช้ระเบียบของ กพร.นอกเหนืออำนาจ รมว.กระทรวงศึกษาฯ โดยให้จ้างตามโครงการ จึงไม่ให้ย้าย ( แต่ กศน.เราเห็นใจจึงเลี่ยงบาลีโดยใช้คำว่า "ให้ไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่" ไม่ใช่ "ย้าย" )

.             หลังจากผมตอบไปแล้ว ผมได้เรียนถามเรื่องนี้จาก 3 ท่าน คือท่าน ผอ.กจ., ท่าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสถิติข้อมูล กศน.(สัจจา วงศาโรจน์), และคุณณัฐพล จนท.กจ.กศน.  ได้รับข้อมูลว่า
             - การย้าย(เปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน)ที่แจ้งครั้งนี้ หมายถึงให้ขอไปยังที่ที่ตำแหน่งว่าง  คำว่างตำแหน่งว่าง คือ มีเลขที่ตำแหน่งว่างอยู่แล้ว เท่านั้น  ไม่ได้ให้ตัดอัตรา/เกลี่ยอัตรา หรือแม้แต่สับเปลี่ยน
             - ผมถามต่อ ว่า  ถ้ามีผู้ขอสับเปลี่ยนในตำแหน่งเดียวกัน หรือขอตัดอัตราจากตำบลที่มีครู กศน.ตำบลหลายอัตรา ไปยังตำบลที่ไม่มีเลขที่อัตราเลยแม้แต่อัตราเดียว ไม่ใช่ตัดจากตำบลที่มีคนเดียวไปยังตำบลที่มีอยู่ 1 คนแล้ว จะได้ไหม   บางท่านตอบว่าครั้งนี้ไม่ได้ บางท่านตอบว่าต้องพิจารณากันอีกครั้ง