วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

1.ทำไมไม่ทำสัญญาจ้างครู ศรช. ทั้งปี ?, 2.เป็นคนไม่รักองค์กร, 3.รับสมัครแล้ว บอกใหม่ว่าวิชาเอกนี้สมัครไม่ได้ ( สมัครพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ), 4.ครู ศรช. แต่งชุดสีกากีไม่ได้, 5.เครื่องราชฯสำหรับพนักงานราชการ, 6.นศ.มียศตำรวจทหาร รูปติดใบ รบ.ต้องแต่งเครื่องแบบหรือไม่, 7.วิธีตรวจสอบ นศ.ลงทะเบียน 2 แห่ง



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันเสาร์ที่ 29 พ.ย.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง ทำไมไม่ทำสัญญาจ้างครู ศรช. ทั้งปี ?  ว่า
             มีผู้ถามผม
3 คน ตั้งแต่ ต.ค.57 ว่า ทำไมปี งปม.นี้ จึงต่อสัญญาจ้างครู ศรช.ไม่ครบ 1 ปี ทั้งที่ท่านประเสริฐ บุญเรือง กล่าวไว้ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ว่า ให้ทำสัญญาจ้างครู ศรช.ครั้งละ 1 ปี  พอจะมีช่องทางปรึกษาท่านเลขากาธิการ กศน. การุณ สกุลประดิษฐ์ เพื่อขวัญกำลังใจไหม"

             ผมตอบว่า   ปัญหานี้เป็นเพียงบางจังหวัดเท่านั้น จังหวัดส่วนใหญ่ทำสัญญา 1 ปี   ผมไม่รู้ว่าท่านประเสริฐ บุญเรือง กล่าวไว้ว่าอย่างไร เป็นนโยบายชัดเจนแค่ไหน มีรายละเอียดอย่างไร  แต่โดยปกติ การทำสัญญาจ้างลักษณะนี้ถ้าเงินงบประมาณโอนมาครบทั้งปีแล้ว จะต้องจ้างทั้งปี จะแบ่งซื้อแบ่งจ้างไม่ได้   จะแบ่งจ้างได้ถ้ามีเหตุผล เช่น
             - เงินงบประมาณยังโอนมาไม่ครบทั้งปี
             - ยังไม่แน่ว่าจะจ้างอัตรานี้ตลอดทั้งปีหรือไม่  เช่นปีที่แล้ว จะให้จ้าง 15,000 บาทตั้งแต่ พ.ค.57 จึงให้ทำสัญญาตอนต้นปี ระหว่าง ต.ค.-เม.ย.ก่อน
             - ยังไม่แน่ว่าจะจ้างอัตรานี้ตลอดทั้งปีหรือไม่ เพราะ ภาคเรียนต่อไปอาจมีนักศึกษาไม่ครบ 60 คน ต้องจ้างรายหัว

             คิดว่าจังหวัดนี้คงใช้เหตุผลที่ 3 ซึ่งสามารถทำได้ ไม่ผิด

             เนื่องจากเป็นเพียงบางจังหวัด จึงต้องปรึกษาหารือขอความอนุเคราะห์ภายในจังหวัดกันเอง
             ลองเสนอจังหวัดว่า ท่านเลขาธิการมีนโยบายให้ทำสัญญาจ้างตลอดปีเพื่อขวัญกำลังใจของบุคลากร จะใช้วิธีกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญาได้ไหมว่า "ถ้าภาคเรียนใดมีนักศึกษาไม่ครบ 60 คน จะจ่ายค่าจ้างตามจำนวนนักศึกษา รายละไม่เกิน 150 บาท/เดือน"

         2. เช้าวันที่ 2 ธ.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง คนไม่รักองค์กร  ว่า
             มีผู้อื่น โพสต์ในอินบ็อกซ์ผม ว่า  องค์กรมีความสำคัญ คำว่า รักองค์กร ไม่ใช่การคอยปกป้องคนผิดคนทุจริต ฉันถูกกล่าวหาว่า เป็นคนไม่รักองค์กร มันเจ็บลึกๆ บางครั้งคิดถึงการลาออกจากราชการไปทำสวนหรือค้าขาย แต่... ที่อยู่ได้และมีกำลังใจสู้ในทุกวันนี้ คือ เพราะคำสั่งสอนของคุณพ่อคุณแม่ และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ กำลังใจที่มาจากการที่ฉันรักในหลวง รักประเทศไทย...

             ผมตอบว่า   การเปิดเผยข้อมูลการทุจริต ถ้ามีจุดประสงค์เพื่อกวาดล้างทำความสะอาดองค์กร ก็ไม่ใช่ ไม่รักองค์กร แต่เป็น คนรักองค์กร    ขอเป็นกำลังใจให้คนรักองค์กรทุกคน ขอให้ประสบความสำเร็จ

         3. วันเดียวกัน ( 2 ธ.ค. ) มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์ ว่า  การสมัครสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ใบสมัครกำหนดในข้อ 5.2 ว่า ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือวุฒิอื่นที่ ก.ค.ศ.รับรอง  หนูซึ่งจบวุฒิ วทบ.เกษตร จึงได้สอบถามทางผู้รับสมัครแล้วถึงสาขาที่รับ ได้คำตอบจากเจ้าหน้าที่ที่รับสมัครว่า ได้ทุกสาขา หนูจึงได้ทำการสมัครสอบและเตรียมตัวสำหรับการสอบ ซึ่งในใบรับสมัครบอกว่าจะประกาศ รายชื่อในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 หนูจึงรอฟังประกาศทั้งวัน แต่ก็ไม่มีการประกาศ จนถึงเวลา 17.30 น มีโทรศัพท์มาจาก สำนักงาน กศน.จังหวัด ... ว่าหนูและผู้สมัครอีก 6 คน ไม่มีสิทธิเข้าสอบ เพราะว่าคุณสมบัติไม่ผ่านตรงข้อ 5.2 คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง  หนูบอกว่าหนูได้สอบถามก่อนที่จะสมัครแล้ว  ทาง กศน.จังหวัดห ... จึงถามเลขที่บัญชีเพื่อที่จะคืนค่าสมัครให้ ในกรณีนี้หนูควรจะทำยังไง
             ผมตอบว่า   ถ้าวุฒินี้ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติ ก็เป็นความบกพร่องของบุคคล ( คนรับสมัคร ที่บอกว่า
ได้ทุกสาขา" )  แต่เมื่อคุณสมบัติไม่ครบก็ต้องสมัครไม่ได้ เราคงทำอะไรไม่ได้
             เราได้รับความเสียหายไม่มาก ( เสียเวลา เสียควารู้สึก ... ) แต่ฟ้องร้องไม่ได้เพราะ การรับสมัครอย่างนี้มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบคุณสมบัติอีกครั้งหลังจากสมัครแล้ว


             ทุกคน ตรวจสอบปริญญาที่ ก.ค.ศ.รับรอง ได้โดยเข้าเว็บ ก.ค.ศ. ที่
http://qualification.otepc.go.th/menu.php  แล้ว
             - ชี้ที่ "คุณวุฒิ  คลิกที่ รับรองก่อน 6 ก.ย.54"
             - ใส่ชื่อมหาวิทยาลัยในช่อง ค้นหา ให้ถูกต้อง
             - คลิกที่ปุ่มค้นหา (รูปแว่นขยาย)  ก็จะโชว์วุฒิที่ ก.ค.ศ.รับรอง ( อาจมีหลายหน้า ให้คลิกดูทีละหน้า )  ถ้าดูทุกหน้าแล้วไม่มีวุฒิที่หา ให้กลับออกมาแล้วคลิกเข้าไปหาที่ "คุณวุฒิ รับรองหลัง 6 ก.ย.54" ด้วย  ถ้าไม่มีอีก แสดงว่าวุฒินั้นไม่ได้รับการรับรอง  ถ้าไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถาม ก.ค.ศ.

         4. คืนวันที่ 4 ธ.ค.57 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์ผม ว่า ครู ศรช. สามารถติดแถบแพรย่อเหรียญที่ระลึกได้หรือไม่
            
ผมถามกลับว่า  จะติดกับชุดอะไร ผู้ถามตอบว่า ชุดกากี  ผมบอกว่า ครู ศรช. ใส่ชุดกากีไม่ได้นี่  ผู้ถามบอกว่า กศน.อ.มัญจาคีรีให้ใส่

             วันนี้ 8 ธ.ค.57 ผมเรียนถามท่าน ผอ.กจ.กศน. ว่า  ผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ-พนักงานราชการ เช่น ครู ศรช.-พนักงานจ้างเหมาบริการ  จะใส่ชุดสีกากี ( ไม่ประดับอินทรธนู ) ได้หรือไม่
             ท่าน ผอ.กจ.บอกว่า  ถ้าผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนและไม่ใช่ลูกจ้างประจำ แต่งกาย “เหมือนหรือคล้าย” กับเครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือลูกจ้างประจำหรือข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งมีกฎหมายรับรองสิทธิ์ในการแต่งเครื่องแบบไว้  จะผิดกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146  ส่วนราชการมิอาจกำหนดให้ผู้ที่มิใช่ข้าราชการและมิใช่ลูกจ้างประจำ แต่งกายเหมือนหรือคล้ายเครื่องแบบข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ   การแต่งชุดสีกากีแม้จะไม่ประดับอินทรธนู ก็ยัง “คล้าย” เครื่องแบบข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ
             ผมถามต่อให้ชัดเจนว่า “ไม่ควร” แต่งชุดสีกากี หรือว่าแต่ง “ไม่ได้”  ท่าน ผอ.กจ.บอกว่า แต่ง “ไม่ได้” ไม่ใช่แค่ “ไม่ควร”


             ( ครู ศรช.ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราว  ส่วนกลางเคยมีหนังสือแจ้งจังหวัด ( สำนักผู้เบิกเงินจากคลัง ) และผมเคยนำเลขที่หนังสือที่ส่วนกลางแจ้งจังหวัดว่าครู ศรช.ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราวนี้ มาตอบบ่อย ๆ เช่นในข้อ 4 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/538893   ครู ศรช.ไม่ได้เป็นข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ-ลูกจ้างชั่วคราว แต่เป็น ครู ศรช. ( คล้ายวิทยากรสอนวิชาชีพ ครูประจำกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นกัน )  ดังนั้นแต่ละหน่วยงานสามารถออกแบบเครื่องแบบเองได้ ( แต่ต้องไม่ออกแบบให้ผิดกฎหมาย ) ซึ่งโดยปกติของ กศน.ถ้าไม่ได้เป็นข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ-ลูกจ้างชั่วคราว ก็ให้ใส่ชุดสีกรมท่าของ กศน.  ชุดสีกรมท่าของ กศน. ประดับเข็มเชิดชูเกียรติ/เข็มวิทยพัฒน์ได้ )

         5. เช้าวันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค.57 บิ๊ก กิตติวินท์ ครู กศน.ตำบล กศน.อ.กระทุ่มแบน ถามในอินบ็อกซ์ผม ว่า การขอและประดับเครื่องราชฯ ของพนักงานราชการ มีหลักเกณฑ์ยังไง

             ผมตอบว่า
             เกณฑ์การขอพระราชทานฯ  ดูใน ข้อ 9 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/436408
             ใครเป็นผู้ขอพระราชทาน  ดูใน ข้อ 2 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/462139
             ลักษณะเครื่องราชฯ  ดูใน
             - ข้อ 4.2 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/434586
             - ข้อ 6 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/310038
             การแต่งเครื่องแบบพิธีการ  ดูใน
             - ข้อ 4 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/511068
             - ข้อ 1 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/511761
             การจ่ายเหรียญเครื่องราชฯ  ดูใน
             - ข้อ 5 และ 8.4 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/503537
             - ข้อ 3 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/466345

         6. วันเดียวกัน ( วันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค.) ปนันท์ญา ตันทอง ครูอาสาฯ กศน.อ.ท่าวังผา ถามในอินบ็อกซ์ผม ว่า  การขอวุฒิของ น.ศ. ที่มียศตำรวจหรือทหาร ถ้ารูปภาพที่ส่งมาเป็นรูป น.ศ.ปกติ ไม่ได้แต่งตามยศ จะออก รบ.ได้หรือเปล่า

             ผมตอบว่า   ให้ขอรูปเขาใหม่ ใช้รูปที่แต่งเครื่องแบบตำรวจ/ทหาร
             รูปถ่ายที่ติดใบ รบ. ต้องสัมพันธ์กับคำนำหน้าชื่อในวันออกใบ รบ. ถ้าคำนำหน้าชื่อเป็นพระภิกษุ สามเณร รูปถ่ายก็ต้องสวมจีวร  ถ้าคำนำหน้าชื่อเป็นยศตำรวจทหาร รูปถ่ายก็ต้องแต่งเครื่องแบบตำรวจทหาร
             ถ้าตอนสมัครเรียน เป็นพระภิกษุ แต่ในวันออกใบ รบ.เป็นฆราวาส ( ลาสิกขาก่อนเรียนจบ ) ก็ใช้รูปถ่ายฆราวาส โดยแก้คำนำหน้าชื่อในทะเบียน เป็น นายก่อนออกใบ รบ.  ( ลักษณะคล้ายการเปลี่ยนชื่อ-สกุล เมื่อนักศึกษานำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุลก่อนจบ มายื่น นายทะเบียนก็เปลี่ยนชื่อ-สกุลในทะเบียน แต่ถ้าเขาไปเปลี่ยนชื่อ-สกุลหลังจบ เราจะเปลี่ยนชื่อ-สกุลในใบ รบ.ให้ไม่ได้ )
             รูปถ่ายที่ติดใบ รบ. ต้องเป็นรูปปัจจุบัน ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน  ถ้าใช้เวลาเรียนเกิน 6 เดือน รูปที่ใช้ติดใบสมัครกับรูปที่ติดใบ รบ. จะไม่ใช่รูปเดียวกัน

             ต่อมาวันที่ 11 ธ.ค.57 ผมถาม อ.กิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน.ว่า  ที่ผมตอบนี้ถูกต้องหรือไม่  อ.กิตติพงษ์ตอบว่า ถูกต้อง  ถ้าจะดูหนังสืออ้างอิง ให้ดูในคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร 51 (ฉบับปรับปรุง 2555) หน้า 139 ข้อ 4

         7. คืนวันเดียวกัน ( วันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค.) ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องวิธีการตรวจสอบจำนวนนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ลงทะเบียน 2 แห่ง บัตรประชาชน ซ้ำซ้อน/ไม่ถูกต้อง  ว่า
             เข้าไปที่  http://203.172.142.230/NFE-MIS/student_itw_conclus_process.php
             แล้วคลิกที่ชื่อจังหวัด เพื่อดูข้อมูลแต่ละอำเภอ
             ถ้ามีจำนวนนักศึกษาที่มีปัญหา ให้คลิกที่ตัวเลขจำนวนนักศึกษาที่มีปัญหานั้น เพื่อดูรายชื่อนักศึกษาที่มีปัญหา
             และคลิกต่อที่ชื่อนักศึกษาที่มีปัญหา เพื่อดูข้อมูลว่าซ้ำซ้อนกับอำเภอใด

             ดูทุกวันได้ยิ่งดี เพราะสำนักงาน กศน. จะประมวลรายชื่อนักศึกษาซ้ำซ้อน ทุกวัน
             บางครั้งวันนี้ไม่ซ้ำซ้อน แต่วันต่อไป อำเภออื่นเพิ่งส่งข้อมูล อาจมีนักศึกษามาซ้ำซ้อนกับอำเภอเราก็ได้


             กลุ่มแผนงาน กศน. บอกว่า อำเภอที่มี นศ. ซ้ำกัน จะไม่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวของ นศ.รายนั้นทั้ง 2 อำเภอ ถ้าพ้นวันที่ 12 ธ.ค.57 ข้อมูลในเว็บฯยังซ้ำอยู่ ก็จะตัดออกทั้ง 2 อำเภอ

             ถ้าอำเภอที่ซ้ำประสานงานตกลงกันแล้วว่า อำเภอใดจะเป็นฝ่ายถอนการลงทะเบียน เมื่อถอนการลงทะเบียนแล้ว อำเภอนั้นต้องนำส่งข้อมูลขึ้นเว็บใหม่ ( บางจังหวัดใหอำเภอส่งข้อมูลขึ้นเว็บเอง บางจังหวัดให้อำเภอส่งข้อมูลให้จังหวัดเป็นผู้นำขึ้นเว็บ ) โดยต้องนำข้อมูลใหม่ขึ้นเว็บไม่ให้เหลือข้อมูลซ้ำ ภายในวันที่ 12 ธ.ค.57
            
( อย่าลืมเข้าไปตรวจสอบจำนวน นศ. นอกงบประมาณด้วย โดยคลิกเลือกที่หัวตาราง เปลี่ยนจาก ในงบประมาณเป็น นอกงบประมาณ  มีบางอำเภอคีย์ข้อมูลลงโปรแกรม ITw เข้ากลุ่มนี้หลายคนโดยไม่ตั้งใจ ถ้ามีจำนวนอยู่ในกลุ่มนี้ จะไม่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว
             นอกจากนี้ควรตรวจสอบข้อมูล รายงานสรุปจำนวนนักศึกษาพิการ รายงานสรุปจำนวนนักศึกษา
English Program  ที่  http://203.172.142.230/NFE-MIS/student_itw_is.php  ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย