สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 6 มิ.ย.60 ผมเผยแพร่ข้อมูลจากกลุ่มงานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กศน. ลงในเฟซบุ๊ก ว่า กรณีที่มีการเปลี่ยนบุคลากร ซึ่งมีชื่อรับผิดชอบงานอยู่ในระบบ DMIS60 เช่นมีครู กศน.ตำบลลาออกหรือย้าย ให้เข้าไปดำเนินการโอน/เปลี่ยน โดยเข้าโปรแกรมในระบบระดับอำเภอหรือจังหวัด ดังนี้
1. วันที่ 6 มิ.ย.60 ผมเผยแพร่ข้อมูลจากกลุ่มงานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กศน. ลงในเฟซบุ๊ก ว่า กรณีที่มีการเปลี่ยนบุคลากร ซึ่งมีชื่อรับผิดชอบงานอยู่ในระบบ DMIS60 เช่นมีครู กศน.ตำบลลาออกหรือย้าย ให้เข้าไปดำเนินการโอน/เปลี่ยน โดยเข้าโปรแกรมในระบบระดับอำเภอหรือจังหวัด ดังนี้
1) ถ้ามีคนใหม่มาทำงานแทน
ให้เพิ่มบุคลากรคนใหม่เข้าในระบบ
2) เข้าที่เมนู โครงการนอกแผน >> โอนงาน แล้วโอนงานของคนที่ย้ายหรือลาออก ให้กับคนใหม่ หรือคนเก่าคนอื่นที่มีชื่ออยู่ในระบบอยู่ก่อนแล้ว
3) เปลี่ยนสถานะคนที่ย้ายหรือลาออก จากสถานะ ทำงาน เป็น ย้าย หรือ ลาออก
2. ดึกวันที่ 12 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ขอโทษที่รบกวนถามตอนดึกนะคะ เพราะกลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไรดี.. สิทธิ์ลาคลอดของพนักงานราชการลาได้ 90 วันใช่ไหมคะ? แต่พอดี ท่านหัวหน้าเขาให้ลาได้แค่ 45 วัน เรามีสิทธิ์ที่จะขอลาแบบเต็ม 90 วันได้ไหมคะ เพราะว่างานสอนกับงานโครงการที่ตำบลเราก็ต้องรับผิดชอบทำตามเป้าหมายอยู่แล้วค่ะ
2) เข้าที่เมนู โครงการนอกแผน >> โอนงาน แล้วโอนงานของคนที่ย้ายหรือลาออก ให้กับคนใหม่ หรือคนเก่าคนอื่นที่มีชื่ออยู่ในระบบอยู่ก่อนแล้ว
3) เปลี่ยนสถานะคนที่ย้ายหรือลาออก จากสถานะ ทำงาน เป็น ย้าย หรือ ลาออก
2. ดึกวันที่ 12 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ขอโทษที่รบกวนถามตอนดึกนะคะ เพราะกลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไรดี.. สิทธิ์ลาคลอดของพนักงานราชการลาได้ 90 วันใช่ไหมคะ? แต่พอดี ท่านหัวหน้าเขาให้ลาได้แค่ 45 วัน เรามีสิทธิ์ที่จะขอลาแบบเต็ม 90 วันได้ไหมคะ เพราะว่างานสอนกับงานโครงการที่ตำบลเราก็ต้องรับผิดชอบทำตามเป้าหมายอยู่แล้วค่ะ
ผมตอบว่า ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า
รู้แล้วใช่ไหมว่าถ้าลาเกิน 45 วัน
อำเภอต้องแจ้งจังหวัดเพื่องดเบิกจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่เกิน 45 วัน
เรื่องนี้ ถ้าตาม “ความคิดเห็น” ของแต่ละคน จะคิดต่างกัน 2 ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งคิดว่า พนักงานราชการส่วนใหญ่เขาก็ลากันแค่ 45 วันนะ แม้แต่ข้าราชการซึ่งลาแล้วได้เงินเดือนเต็มหลายคนก็ลาแค่ 45 วัน เพราะเห็นแก่งาน หัวหน้าบางคนบอกว่า “ตอนสมัยฉันลาคลอด แค่ครึ่งเดือนฉันก็มาทำงานแล้ว”
อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่า ถ้าการลาดคลอด 90 วัน มันไม่เหมาะสม แล้วเขาจะกำหนดระเบียบนี้มาทำไม ?!?
ฝ่ายหนึ่งคิดว่า พนักงานราชการส่วนใหญ่เขาก็ลากันแค่ 45 วันนะ แม้แต่ข้าราชการซึ่งลาแล้วได้เงินเดือนเต็มหลายคนก็ลาแค่ 45 วัน เพราะเห็นแก่งาน หัวหน้าบางคนบอกว่า “ตอนสมัยฉันลาคลอด แค่ครึ่งเดือนฉันก็มาทำงานแล้ว”
อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่า ถ้าการลาดคลอด 90 วัน มันไม่เหมาะสม แล้วเขาจะกำหนดระเบียบนี้มาทำไม ?!?
( แม้แต่ลูกจ้างเอกชน
ถ้านายจ้างไม่ให้ลาคลอดบุตร 90 วัน นายจ้างก็ผิดกฎหมายแรงงาน
แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าลูกจ้างร้องเรียนไปที่กรมแรงงาน ลูกจ้างก็มักจะถูกนายจ้างหาทางเลิกจ้างในภายหลัง )
แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าลูกจ้างร้องเรียนไปที่กรมแรงงาน ลูกจ้างก็มักจะถูกนายจ้างหาทางเลิกจ้างในภายหลัง )
กรณีนี้ ถ้ายืนยันจะลาเกิน 45 วัน ยื่นเสนอใบลาไปแล้ว ผอ.เกษียณในใบลาว่าให้ลาเพียง 45 วัน ใบลานี้ก็จะเป็นหลักฐานให้ใช้ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไปได้
แต่การร้องเรียน อาจจะทำให้การทำงานต่อไปไม่รุ่ง ( เพื่อนร่วมงานก็มี 2 แบบ บางคนถ้าได้รับผลกระทบต้องทำงานแทนเราเพียงส่วนหนึ่งก็ไม่พอใจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่งานใดจะไม่ทำงานเกิน 45 วันโดยไม่มีผลกระทบใด ๆ เลย )
แต่การร้องเรียน อาจจะทำให้การทำงานต่อไปไม่รุ่ง ( เพื่อนร่วมงานก็มี 2 แบบ บางคนถ้าได้รับผลกระทบต้องทำงานแทนเราเพียงส่วนหนึ่งก็ไม่พอใจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่งานใดจะไม่ทำงานเกิน 45 วันโดยไม่มีผลกระทบใด ๆ เลย )
ควรปรึกษาหารือดี ๆ กับ ผอ. จะลาไม่เกิน 45 วันได้ไหม ถ้ามีความจำเป็นต้องลาเกิน 45 วัน ก็ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นให้ ผอ.เข้าใจ
( ตามระเบียบ พนักงานราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน ได้รับค่าตอบแทน 45 วัน เว้นแต่ผู้ลาประสงค์จะใช้สิทธิการลาคลอดบุตรน้อยกว่าสิทธิที่ตนมีอยู่ หรือขอถอนการลาบางส่วนภายหลัง และไม่มีระเบียบให้ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกตัวกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างการลาคลอดบุตรได้แต่อย่างใด )
3. วันที่ 14 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า อยากได้หนังสือการแบ่งโครงสร้าง กศน.อำเภอ... พอดีจังหวัดเค้าให้ทำโครงสร้างอำเภอ จึงต้องการโครงสร้าง กศน.อำเภอ มาประกอย
( ตามระเบียบ พนักงานราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน ได้รับค่าตอบแทน 45 วัน เว้นแต่ผู้ลาประสงค์จะใช้สิทธิการลาคลอดบุตรน้อยกว่าสิทธิที่ตนมีอยู่ หรือขอถอนการลาบางส่วนภายหลัง และไม่มีระเบียบให้ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกตัวกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างการลาคลอดบุตรได้แต่อย่างใด )
3. วันที่ 14 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า อยากได้หนังสือการแบ่งโครงสร้าง กศน.อำเภอ... พอดีจังหวัดเค้าให้ทำโครงสร้างอำเภอ จึงต้องการโครงสร้าง กศน.อำเภอ มาประกอย
ผมตอบว่า ทั้งขนาดและโครงสร้าง มีกำหนดในกรอบอัตรากำลัง
ตามหนังสือสำนักงาน กคศ. ที่ ศธ 0206.5/34 ลว. 25 ม.ค.53
ซึ่งโครงสร้าง กศน.อ./ข. แบ่งเป็น 5 ขนาด แต่ละขนาดมีอัตรากำลังต่างกัน แต่ทุกขนาดกำหนดให้มี 3 กลุ่มเหมือนกัน คือ กลุ่มอำนวยการ-กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ-กลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ แต่ละแห่งกำหนดเอง
ซึ่งโครงสร้าง กศน.อ./ข. แบ่งเป็น 5 ขนาด แต่ละขนาดมีอัตรากำลังต่างกัน แต่ทุกขนาดกำหนดให้มี 3 กลุ่มเหมือนกัน คือ กลุ่มอำนวยการ-กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ-กลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ แต่ละแห่งกำหนดเอง
ดาวน์โหลดโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง (
ทั้งจังหวัด/อำเภอ ทุกขนาด ) ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/framework.pdf
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/framework.pdf
4. เช้าวันที่
15 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เงินค่าสาธารณูปโภคของห้องสมุดประชาชนหมดแล้ว
สามารถใช้เงินส่วนไหนได้ แต่ก่อน
กศน.อำเภออยู่กับห้องสมุด เดี่ยวนี้แยกกันอยู่เป็นเอกเทศ
ผมตอบว่า ใช้เงินค่าสาธารณูปโภคงบบริหาร กศน.อำเภอ
ก็ได้ แม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน เพราะ กศน.อำเภอต้องดูแลทั้งอำเภอ
เมื่อผมตอบไปแล้ว
ผู้ถามก็หมดปัญหาแล้ว แต่ ผมเองยังสงสัยต่อว่า ค่าสาธารณูปโภคงบบริหาร กศน.อำเภอ
ส่วนใหญ่ก็ไม่พอด้วย ต้องเบิกจากเงินอุดหนุนรายหัวอยู่แล้ว .. ผมจึงเรียนถาม
อ.สกุลนา หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ว่า เงินอุดหนุนรายหัว
จะเบิกจ่ายเป็นค่าสาธารณูปโภคห้องสมุดได้หรือไม่
อ.สกุลนา บอกว่า ถ้ามิเตอร์สาธารณูปโภคเป็นชื่อห้องสมุด จะเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวไม่ได้ ถ้ามิเตอร์รวมกับ กศน.อำเภอและเป็นชื่อ กศน.อำเภอ ก็พอจะถูไถเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวไปได้
กรณีแยกมิเตอร์นี้ ถ้าค่าสาธารณูปโภคงบบริหาร กศน.อำเภอก็ไม่พอด้วย ให้รายงานจังหวัด โดยให้จังหวัดสำรวจกรณีนี้ทุกอำเภอว่ารวมตลอดปีไม่พอเท่าไร แล้วเสนอของบค่าสาธารณูปโภคเพิ่ม ไปที่ส่วนกลาง
5. วันที่ 15 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า การออกคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียน กศ.ต่อเนื่อง จะใช้ระเบียบหลักเกณฑ์ใด
อ.สกุลนา บอกว่า ถ้ามิเตอร์สาธารณูปโภคเป็นชื่อห้องสมุด จะเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวไม่ได้ ถ้ามิเตอร์รวมกับ กศน.อำเภอและเป็นชื่อ กศน.อำเภอ ก็พอจะถูไถเบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวไปได้
กรณีแยกมิเตอร์นี้ ถ้าค่าสาธารณูปโภคงบบริหาร กศน.อำเภอก็ไม่พอด้วย ให้รายงานจังหวัด โดยให้จังหวัดสำรวจกรณีนี้ทุกอำเภอว่ารวมตลอดปีไม่พอเท่าไร แล้วเสนอของบค่าสาธารณูปโภคเพิ่ม ไปที่ส่วนกลาง
5. วันที่ 15 มิ.ย.60 มีผู้ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า การออกคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียน กศ.ต่อเนื่อง จะใช้ระเบียบหลักเกณฑ์ใด
ผมตอบว่า ไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์การแต่งตั้งนายทะเบียน
กศ.ต่อเนื่อง โดยตรง (
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2554 ก็ไม่ระบุเรื่องการแต่งตั้งนายทะเบียน )
ในการแต่งตั้งให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของหน่วยงาน/สถานศึกษา เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ อยู่แล้ว ตามกฏหมายหลัก เช่น ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 จึงแต่งตั้งได้โดยไม่ต้องมีระเบียบหลักเกณฑ์โดยตรงในบางเรื่อง คือสามารถออกคำสั่งแต่งตั้งในลักษณะเดียวกับ การออกคำสั่งแบ่งงาน/มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบทั่วไป
ในการแต่งตั้งให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของหน่วยงาน/สถานศึกษา เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้บริหาร/ผู้อำนวยการ อยู่แล้ว ตามกฏหมายหลัก เช่น ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 จึงแต่งตั้งได้โดยไม่ต้องมีระเบียบหลักเกณฑ์โดยตรงในบางเรื่อง คือสามารถออกคำสั่งแต่งตั้งในลักษณะเดียวกับ การออกคำสั่งแบ่งงาน/มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบทั่วไป
6. วันเสาร์ที่
17 มิ.ย.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ ถามผมทางไลน์ ว่า ปัจจุบัน ครู
ศรช.เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ จากเงินอุดหนุนรายหัวได้ไหม การเงินบอกว่าครู ศรช. เป็นการจ้างเหมาบริการ
เบิกงบอุดหนุนรายหัวไม่ได้ ต้องเบิกงบดำเนินการ ( งบบริหาร กศน.อำเภอ )
งบนี้อำเภอได้น้อยมาก ไม่พอ ต้องเบิกอุดหนุนทุกปี
การเงินอยู่เหนือผู้บริหารจังหวัดอีก
ผมตอบว่า ที่ถูกต้อง
ให้เบิกจ่ายจากงบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไปราชการนั้น ถ้าไปราชการในเรื่องการจัด
กศ.ขั้นพื้นฐาน ก็เบิกจากเงินอุดหนุนรายหัวได้ตามคำสั่ง สป.ศธ.
เรื่องหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนฯ ที่ 605/59 ข้อ 10
( ส่วนงบบริหาร กศน.อำเภอ ก็ใช้ได้กับทุกงานของ กศน.อำเภอ ถ้าไปราชการในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการจัด กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง จะเบิกจากเงินอุดหนุนรายหัวไม่ได้ และ โดยปกติเงินอุดหนุนรายหัวจะใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องทำแผนฯก่อน )
การเบิกค่าไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ( ไปราชการ ) ของผู้รับจ้างเหมาบริการนี้ บางจังหวัดก็อนุโลมให้เบิกรวมไปกับบุคลากรอื่น บางจังหวัดให้ทำเป็นเรื่องจ้างตามระเบียบพัสดุต่างหาก แต่ถึงจะทำเป็นเรื่องจ้างฯก็เบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวได้ถ้าไปราชการในเรื่องการจัด กศ.ขั้นพื้นฐาน
( ส่วนงบบริหาร กศน.อำเภอ ก็ใช้ได้กับทุกงานของ กศน.อำเภอ ถ้าไปราชการในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการจัด กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง จะเบิกจากเงินอุดหนุนรายหัวไม่ได้ และ โดยปกติเงินอุดหนุนรายหัวจะใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องทำแผนฯก่อน )
การเบิกค่าไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ( ไปราชการ ) ของผู้รับจ้างเหมาบริการนี้ บางจังหวัดก็อนุโลมให้เบิกรวมไปกับบุคลากรอื่น บางจังหวัดให้ทำเป็นเรื่องจ้างตามระเบียบพัสดุต่างหาก แต่ถึงจะทำเป็นเรื่องจ้างฯก็เบิกจ่ายจากเงินอุดหนุนรายหัวได้ถ้าไปราชการในเรื่องการจัด กศ.ขั้นพื้นฐาน
ผอ.ผู้ถาม บอกข้อมูลต่อ ว่า ไปอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย
ตามที่สำนักงานแจ้ง แล้วมาจัดกิจกรรมขยายผล ซึ่งก็จัดกับ นศ.
แผนก็เขียนไว้กว้างๆว่า เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของครู
ผมตอบว่า แผนฯเขียนไว้กว้าง ๆ ได้ ( จังหวัดควรอนุโลมให้เขียนแผนกว้าง ๆ ได้ในบางเรื่องที่ไม่สามารถรู้รายละเอียดล่วงหน้า )
ถ้าตอนให้ไปราชการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ระบุว่า ไปอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อนำมาจัดกิจกรรมขยายผลกับ นศ. กศ.ขั้นพื้นฐาน ก็เบิกเงินอุดหนุนรายหัวได้
7. วันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 17 มิ.ย.) มีผู้ถามผมทางอีเมล์ ว่า ฉันทำหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงิน ทำเรื่องไปขอเปลี่ยนลายมือชื่อเพื่อใช้ในการสั่งจ่ายเช็ค ชื่อที่ใช้ในเช็คยังเป็น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เจ้าหน้าที่ธนาคารถามว่า ทำไมไม่เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาให้เป็นชื่อปัจจุบัน เค้าให้แนบหนังสือที่เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ... รบกวนขอหนังสือเรื่องนี้
ผมตอบว่า แผนฯเขียนไว้กว้าง ๆ ได้ ( จังหวัดควรอนุโลมให้เขียนแผนกว้าง ๆ ได้ในบางเรื่องที่ไม่สามารถรู้รายละเอียดล่วงหน้า )
ถ้าตอนให้ไปราชการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ระบุว่า ไปอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อนำมาจัดกิจกรรมขยายผลกับ นศ. กศ.ขั้นพื้นฐาน ก็เบิกเงินอุดหนุนรายหัวได้
7. วันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 17 มิ.ย.) มีผู้ถามผมทางอีเมล์ ว่า ฉันทำหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงิน ทำเรื่องไปขอเปลี่ยนลายมือชื่อเพื่อใช้ในการสั่งจ่ายเช็ค ชื่อที่ใช้ในเช็คยังเป็น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เจ้าหน้าที่ธนาคารถามว่า ทำไมไม่เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาให้เป็นชื่อปัจจุบัน เค้าให้แนบหนังสือที่เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ... รบกวนขอหนังสือเรื่องนี้
ผมตอบว่า เรื่องการเปลี่ยนชื่อ ศบอ.เป็น กศน.อ. นี้
ในเอกสารประวัติ กศน.อำเภอ ของหลายอำเภอ มักจะบอกว่า เปลี่ยนชื่อตาม พรบ.กศน.ปี 51 เมื่อ 4 มี.ค.51 ซึ่งไม่ค่อยถูกต้องชัดเจน
ที่ถูกต้องชัดเจนคือ เปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 มี.ค.51 โดย “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551” ลงวันที่ 10 มี.ค.51 แต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 ม.ค.51
ดาวน์โหลดประกาศฉบับนี้ ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/cheingeNFEd.pdf
ที่ถูกต้องชัดเจนคือ เปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 มี.ค.51 โดย “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551” ลงวันที่ 10 มี.ค.51 แต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 ม.ค.51
ดาวน์โหลดประกาศฉบับนี้ ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/cheingeNFEd.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย