วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562

1.เขตพื้นที่ฯ/ร.ร. ไม่ยอมส่งตัวมาเรียน กศน., 2.คำนำหน้าชื่อที่เป็นยศ ในโปรแกรม ITw ม.ต้น กับ ม.ปลาย ไม่เหมือนกัน ?!, 3.ใช้วุฒิ ป.6 จากต่างประเทศ มาสมัครเรียน ม.ต้น ทำอย่างไร, 4.เทียบวุฒิเปรียญธรรม 5 ประโยค ที่ไหน, 5.วุฒิเดิมสมัยก่อน เทียบระดับใด ดูในคู่มือหน้า 121, 6.เงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน ใช้จัดกิจกรรมค่ายลูกเสือยุวกาชาดได้ไหม, 7.โรงเรียนจะส่งเด็ก 10 ขวบ มาเรียน กศน.


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันหยุดชดเชย 20 พ.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  เด็กอายุไม่ถึง 15 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครอง เพื่อจะเข้ามาเรียน กศน.ใช่ไหม
             ผมตอบว่า   ตามหนังสือราชการที่แจ้งมา ใช้หนังสือรับรองจากผู้ปกครองไม่ได้ ถ้าอายุยังไม่เต็ม 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่จบ ม.ต้น ต้องมีหนังสือส่งตัวมาจากเขตพื้นที่การศึกษา  เขตพื้นที่ฯเขาจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเรียน กศน.
             ผู้ถาม บอกต่อ ว่า  เขตไม่ยอมออกให้.. รร ก็ไม่ยอมทำหนังสือส่งตัวมาให้
             ผมตอบว่า  ถ้าผู้เรียน/ผู้ปกครอง มีเหตุผลที่ต้องเรียน กศน. ให้เขาหารือ กศจ. หรือรอจนกว่าจะอายุเต็ม 15 ปีบริบูรณ์ จะสามารถมาเรียน กศน.ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือส่งตัวจากเขตพื้นที่ฯ
             ( ถึงแม้จะอายุ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าโรงเรียนเดิมไม่ออกใบวุฒิประถมให้ ก็ให้เขาแจ้ง กศจ. หรือมาเริ่มเรียน กศน.ใหม่ตั้งแต่ระดับประถม )

         2. วันที่ 17 พ.ค.62 มีผู้ถามผมในไลน์กลุ่ม ส.การศึกษาตลอดชีวิต ว่า  จนท.itกศน.อำเภอเขาปริ๊นท์กศน.2ตรงช่องชื่อบิดาปรากฎว่าของม.ต้นคนทีมียศดาบตำรวจ ใช้ ด.ต. ส่วนม.ปลาย เปีนนายดาบตำรวจ เขาถามว่าจะใช้อะไรกันแน่ ถ้าคำเต็มเป็นดาบตำรวจ ไม่มีคำว่านายใช่หรือไม่
             ผมตอบว่า   ยศ ด.ต.นั้น ช่วงก่อนที่ พ.ร.บ.ตำรวจ 2547 จะมีผลบังคับใช้ จะอ่านว่า "นายดาบตำรวจ" ( มีคำว่า "นาย" ) แต่พอ พ.ร.บ.นี้ประกาศใช้แล้วตัดคำว่า "นาย" ออกเหลือเพียงคำว่า "ดาบตำรวจ" เท่านั้น
             แต่ ปกติชื่อบิดามารดา เราจะยึดตามทะเบียนบ้านที่เขานำมาเป็นหลักฐานสมัครเรียน ไม่สนใจว่าชื่อในทะเบียนบ้านเขาจะผิดหรือถูก ถ้าไม่มีใบเปลี่ยนชื่อมาแนบด้วยก็ยึดตามทะเบียนบ้าน  ถ้าในทะเบียนบ้านไม่ใส่ยศ เราก็ไม่ใส่ ถ้าในทะเบียนบ้านมียศก็ใส่ให้เหมือนในทะเบียนบ้าน ถ้าเขาย่อก็ย่อตาม  ถ้าในตัวเลือกของโปรแกรม ITw ไม่มีเหมือนในทะเบียนบ้านก็พิมพ์ตัวเลือกเพิ่มเข้าไป หรือแก้ไขตัวเลือกในโปรแกรม ITw ได้

         3. วันที่ 23 พ.ค.62 มีผู้ถามทางไลน์ ( ถามทางไลน์ส่วนตัวก่อน แล้วผมบอกให้ถามทางไลน์สแควร์กลุ่ม กศน. จะได้แลกปลี่ยนพร้อมกันหลายคน ) ว่า  ถ้ามีนร.จบป.6จากต่างประเทศและจะเข้าเรียนกศน.ในระดับม.ต้น จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ (วุฒิเป็นวุฒิจากต่างประเทศ)ยังไม่ได้แปล
             ผมตอบว่า   ถ้าจะใช้วุฒิต่างประเทศเป็น “วุฒิเดิม” เพื่อสมัครเรียนระดับสูงขึ้น ( ไม่ใช่ใช้เทียบโอน ) นี้ เดิมต้องไปเทียบวุฒิที่ สพฐ.ก่อน แต่ ตอนนี้ สพฐ.ไม่รับเทียบวุฒิระดับประถมแล้ว จึงไม่ได้แล้ว
             ต้องเรียนระดับประถมใหม่ และให้เขานำใบจบ ป.6 จากต่างประเทศนั้นไปให้สถาบันการแปล แปลโดยประทับตราสถาบันรับรองมาด้วย นำมาให้คณะกรรมการเทียบโอนของสถานศึกษาพิจารณาเทียบโอนเป็นบางวิชาในระดับประถม เพื่อจะได้เรียนระดับประถมจบเร็วขึ้น

         4. วันที่ 23 พ.ค.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  เอาวุฒิ ปธ.๕ ไปเทียบ ม.ปลายได้ที่ไหน
             ผมตอบว่า   เดิมไปเทียบที่กรมวิชาการ แต่ปัจจุบันไม่มีกรมวิชาการแล้ว ให้ลองติดต่อที่ สพฐ.ส่วนกลาง ( ในกระทรวงศึกษาธิการ )

         5. วันที่ 27 พ.ค.62 มีผู้ถามผมในไลน์สแควร์ กศน. ที่ห้องแชต ข่าวสารครูเอกชัย ว่า  สอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนต้น จบปี พ.ศ.2520 เทียบได้กับวุฒิอะไร
             ผมตอบว่า   เรื่องแบบนี้ ควรถามในห้องแชต "กศน." เลยนะ จะได้แลกเปลี่ยนพร้อมกันหลายคน
             และผมตอบต่อ ว่า  ให้ดูในคู่มือการดำเนินงานฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 ปกสีเลือดหมู หน้า 121 จะเห็นว่า ประโยคประถมศึกษาตอนต้น (จบระหว่าง 2507-2524) คือ ป.4
             (ให้สมัครเรียนระดับประถม แล้วเทียบโอนได้ 24 หน่วยกิต)

         6. เย็นวันที่ 30 พ.ค.62 มีผู้ถามในไลน์สแควร์กลุ่ม กศน. ว่า  เราสามารถใช้ งบอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมค่ายลุกเสือหรืออาสายุวกาชาดได้ไหมคะ
             (มีผู้ตอบก่อนผม 2 คน ว่า ส่วนใหญ่ใช้งบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผูเรียนนะครับ, ได้ค่ะ)
             ผมร่วมตอบ ว่า  เงินอุดหนุน เบิกจ่ายได้ 15 ข้อ ตามคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 605/59 ( เฉพาะข้อ 15 ต้องพิจารณาโดยส่วนกลาง )
             สถานศึกษาส่วนใหญ่ใช้ค่าจัดการเรียนการสอน ซื้อวัสดุอุปกรณ์/สื่อ ตามข้อ 11
             แต่สามารถใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมหลักสูตรตามข้อ 8 ได้เช่นเดียวกับงบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนซึ่งก็เป็นเงินอุดหนุนเช่นกันนี่แหละ
             โดยเฉพาะหลักสูตรสถานศึกษามีวิชาลูกเสือ การจัดกิจกรรมค่ายลูกเสือสำหรับนักศึกษาก็ชัดเจนว่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมหลักสูตร

         7. คืนวันที่ 29 พ.ค.62 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊กผม ว่า  ขอปรึกษานะคะ วันนี้รับโทรศัพท์ ผอ โรงเรียนในระบบแ่่งหนี่งในจังหวัดจะให้เรารับเด็ก อายุแค่ 10 ขวบ มาเรียน กศน
             ผมตอบว่า  เขาบอกเหตุผลว่าอย่างไรหรือ ?
             อายุ 10 ขวบ อยู่ในวัยการศึกษาภาคบังคับ ถ้ามีเหตุผลความจำเป็นที่เรียนโรงเรียนในระบบไม่ได้ โรงเรียนควรแนะนำให้ผู้ปกครองไปติดต่อเขตพื้นที่การศึกษา ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาทำหนังสือส่งตัวเด็กมาเรียน กศน.
             ผู้ถาม บอกว่า  เด็กสมาธิสั้น และเรียนซ้ำชั้นมาสองปีแล้วค่ะอาจารย์
             ผมตอบว่า  อืม.. ก็ควรให้ผู้ปกครองและเขตพื้นที่การศึกษาฯร่วมพิจารณาด้วยว่า เหตุผลนี้ควรแก้ปัญหาอย่างไร
             แล้วถ้าเขตพื้นที่การศึกษาฯส่งตัวมาสมัครเรียน กศน. เราจะจัดการศึกษาอย่างไร หรือว่าเราทำให้ดีที่สุดได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
             ( ถ้าเขตพื้นที่การศึกษา+ผู้ปกครอง+โรงเรียน พิจารณาเห็นว่าในพื้นที่นั้นไม่มีที่อื่นดีกว่า กศน. แล้วทำหนังสือส่งตัวมาเรียน กศน. เราก็คงไม่รับไม่ได้
             ผมเข้าใจว่าสมาธิสั้น เข้าข่ายเป็นความพิการอย่างหนึ่ง ซึ่ง กศน.กำหนดว่า “คนพิการประเภทที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา-ทางการเรียนรู้-ทางการพูดและภาษา-ทางพฤติกรรมหรืออารมณ์-บุคคลออทิสติก-พิการซ้อน  จำนวนไม่ต่ำ 5 คน แต่ไม่เกิน 8 คน ให้ใช้เงินอุดหนุนจ้างครูผู้สอนคนพิการโดยเฉพาะได้ 1 คน )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย