สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7
เรื่อง ดังนี้
1. เย็นวันที่ 10 มี.ค.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า การต่อใบอนุญาตประกอบวิขาชีพครูรูปถ่ายต้องสวมชุดปกติขาวหรือสีกากี
ผมตอบว่า ได้ทั้ง 2 อย่าง ( รูปถ่ายชุดสุภาพ หน้าตรง
ครึ่งตัว ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน )
2. วันที่ 20 เม.ย.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า กรณีนักศึกษาที่เป็นพระจบการศึกษารูปที่ใช้ติดวุฒิใช้เป็นรูปพระหรือเสื้อขาวเนื่องจากทางไอทีบอกว่ารูปติดวุฒิต้องเป็นเสื้อขาวเท่านั้น
2. วันที่ 20 เม.ย.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า กรณีนักศึกษาที่เป็นพระจบการศึกษารูปที่ใช้ติดวุฒิใช้เป็นรูปพระหรือเสื้อขาวเนื่องจากทางไอทีบอกว่ารูปติดวุฒิต้องเป็นเสื้อขาวเท่านั้น
ผมตอบว่า ที่ว่า
"รูปติดวุฒิต้องเป็นเสื้อขาวเท่านั้น"
เข้าใจว่าเป็นข้อมูลผิดที่มีผู้พูดกันเมื่อนานมากแล้ว (นานมาแล้ว
มีการบอกว่าห้ามพระภิกษุสามเณรเรียน ม.ปลาย)
ที่ถูกต้อง รูปติดใบวุฒิต้องสอดคล้องกับคำนำหน้าชื่อในใบวุฒินั้น ถ้าคำนำหน้าชื่อเป็นพระ รูปก็ต้องสวมจีวร และ รูปต้องถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันขอใบวุฒิ
คำนำหน้าชื่อก็ให้ตรงกับความเป็นจริงตอนเรียนจบ ไม่ใช่ความเป็นจริงตอนสมัคร
ที่ถูกต้อง รูปติดใบวุฒิต้องสอดคล้องกับคำนำหน้าชื่อในใบวุฒินั้น ถ้าคำนำหน้าชื่อเป็นพระ รูปก็ต้องสวมจีวร และ รูปต้องถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันขอใบวุฒิ
คำนำหน้าชื่อก็ให้ตรงกับความเป็นจริงตอนเรียนจบ ไม่ใช่ความเป็นจริงตอนสมัคร
เช่นตอนสมัครเป็นฆราวาส
แต่เพิ่งบวชเป็นพระภายหลัง และในวันขอใบวุฒิไม่มีรูปฆราวาสที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ก็ต้องแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อเป็นพระ
และใช้รูปพระ
แต่ถ้าตอนสมัครเป็นฆราวาส หลังจากนั้นบวช แต่ไม่แจ้งเปลี่ยนคำนำหน้า รวมทั้งในวันขอใบวุฒิ นศ.มีรูปฆราวาสที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ก็อนุโลมให้ใช้ชื่อฆราวาสและรูปฆราวาสได้
3. เช้าวันเสาร์ที่ 18 เม.ย.63 มีผู้ถามในไลน์โอเพนแช็ทกลุ่ม กศน. ว่า ในใบ รบ.กศน.1 ของ กศน. ปกติเป็น เลข นก. แต่ที่ทางสถานศึกษาฉันสั่งมามีเลข นข ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) หรือว่าทางโรงพิมพ์พิมพ์ผิด
แต่ถ้าตอนสมัครเป็นฆราวาส หลังจากนั้นบวช แต่ไม่แจ้งเปลี่ยนคำนำหน้า รวมทั้งในวันขอใบวุฒิ นศ.มีรูปฆราวาสที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ก็อนุโลมให้ใช้ชื่อฆราวาสและรูปฆราวาสได้
3. เช้าวันเสาร์ที่ 18 เม.ย.63 มีผู้ถามในไลน์โอเพนแช็ทกลุ่ม กศน. ว่า ในใบ รบ.กศน.1 ของ กศน. ปกติเป็น เลข นก. แต่ที่ทางสถานศึกษาฉันสั่งมามีเลข นข ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) หรือว่าทางโรงพิมพ์พิมพ์ผิด
ผมตอบว่า ตามคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน 51 (ฉบับปรับปรุง 55) ปกสีเลือดหมู หน้า 157 กำหนดไว้ว่า
2.2.1 อักษรย่อ สถานศึกษาสังกัด กศน.+ในกำกับ+ภาคีเครือข่าย ใช้อักษร น
2.2.3 เลขที่ประจำ รบ. ให้ใช้เลข 6 หลัก โดยเริ่มตั้งแต่ ๐๐๐๐๐๑ จนถึง ๙๙๙๙๙๙ และใช้อักษรคุมเป็นชุด ๆ ตั้งแต่อักษร ก เป็นชุดแรก
โดยองค์การค้า สกสค. จะจัดพิมพ์ รบ.เริ่มตั้งแต่เลขที่ น ก ๐๐๐๐๐๑ ไปจนถึง น ก ๙๙๙๙๙๙ จากนั้น เลขที่ต่อไปจะเป็น น ข ๐๐๐๐๐๑ และเมื่อพิมพ์จำหน่ายไปจนถึงเลขที่ น ข ๙๙๙๙๙๙ แล้ว ลำดับถัดไปก็จะพิมพ์เป็นเลขที่ น ค ๐๐๐๐๐๑ ตามลำดับ
(เลขที่ใบ รบ.ของแต่ละคนแต่ละใบ ตั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต เลขที่จะไม่ซ้ำกัน)
2.2.1 อักษรย่อ สถานศึกษาสังกัด กศน.+ในกำกับ+ภาคีเครือข่าย ใช้อักษร น
2.2.3 เลขที่ประจำ รบ. ให้ใช้เลข 6 หลัก โดยเริ่มตั้งแต่ ๐๐๐๐๐๑ จนถึง ๙๙๙๙๙๙ และใช้อักษรคุมเป็นชุด ๆ ตั้งแต่อักษร ก เป็นชุดแรก
โดยองค์การค้า สกสค. จะจัดพิมพ์ รบ.เริ่มตั้งแต่เลขที่ น ก ๐๐๐๐๐๑ ไปจนถึง น ก ๙๙๙๙๙๙ จากนั้น เลขที่ต่อไปจะเป็น น ข ๐๐๐๐๐๑ และเมื่อพิมพ์จำหน่ายไปจนถึงเลขที่ น ข ๙๙๙๙๙๙ แล้ว ลำดับถัดไปก็จะพิมพ์เป็นเลขที่ น ค ๐๐๐๐๐๑ ตามลำดับ
(เลขที่ใบ รบ.ของแต่ละคนแต่ละใบ ตั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต เลขที่จะไม่ซ้ำกัน)
4. วันที่ 21 เม.ย.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เครื่องราชสำหรับ
พรก.ได้รับครั้งแรกประกาศในราชกิจจา ฯ ปี 55
หากทำเรื่องขอส่วนกลางไปอีกครั้งที่ 2 ต้องทำในปี 56 ใช่มัยคะ และประกาศรายชื่อในปี 60
หนูเข้าใจถูกต้องมัย ครั้งแรก บช ครั้งที่ 2 จม ค่ะ
ผมตอบว่า คงจะเป็นพนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไปใช่ไหมครับ
จึงเริ่มขอที่ บ.ช.
( ดูตามภาพที่ผมนำมาลงประกอบนะ )
ถ้าขอ บช.ประจำปี 2554 แล้วได้ ก็ถือว่าได้ประจำปี 2554 ( แม้ว่าจะประกาศในราชกิจจาฯปี 2555 หรือปีใดก็ตาม )
เมื่อได้ บ.ช.แล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ( นับถึงวันที่ 28 ก.ค.ของปีที่เสนอขอ ) ก็เสนอขอ จ.ม.ได้
เช่นถ้าเคยได้ บ.ช.ประจำปี 2554 ( ถือว่าได้เมื่อ 5 ธ.ค.54 พอถึง 5 ธ.ค.59 ก็ครบ 5 ปี กรณีนี้จะขอประจำปี 2559 ไม่ได้ เพราะปัจจุบันไม่ได้นับถึง 5 ธ.ค.แล้ว แต่นับถึง 28 ก.ค.59 ซึ่งก็จะยังไม่ครบ 5 ปี
จึงต้องเสนอขอประจำปี 2560 ( ขอตอนต้นปี 2560 หรือปลายปี 2559 แล้วแต่ส่วนกลางจะแจ้งมา )
ส่วนการประกาศในราชการกิจจาฯนั้น ไม่แน่นอน อย่างเร็วก็ประกาศปลายปีนั้น ส่วนใหญ่ประกาศในปีถัดไป แต่สองปีหลังนี้ เกินปี เป็น 2 ปีแล้ว ยังไม่เห็นประกาศเลย
( ดูตามภาพที่ผมนำมาลงประกอบนะ )
ถ้าขอ บช.ประจำปี 2554 แล้วได้ ก็ถือว่าได้ประจำปี 2554 ( แม้ว่าจะประกาศในราชกิจจาฯปี 2555 หรือปีใดก็ตาม )
เมื่อได้ บ.ช.แล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ( นับถึงวันที่ 28 ก.ค.ของปีที่เสนอขอ ) ก็เสนอขอ จ.ม.ได้
เช่นถ้าเคยได้ บ.ช.ประจำปี 2554 ( ถือว่าได้เมื่อ 5 ธ.ค.54 พอถึง 5 ธ.ค.59 ก็ครบ 5 ปี กรณีนี้จะขอประจำปี 2559 ไม่ได้ เพราะปัจจุบันไม่ได้นับถึง 5 ธ.ค.แล้ว แต่นับถึง 28 ก.ค.59 ซึ่งก็จะยังไม่ครบ 5 ปี
จึงต้องเสนอขอประจำปี 2560 ( ขอตอนต้นปี 2560 หรือปลายปี 2559 แล้วแต่ส่วนกลางจะแจ้งมา )
ส่วนการประกาศในราชการกิจจาฯนั้น ไม่แน่นอน อย่างเร็วก็ประกาศปลายปีนั้น ส่วนใหญ่ประกาศในปีถัดไป แต่สองปีหลังนี้ เกินปี เป็น 2 ปีแล้ว ยังไม่เห็นประกาศเลย
5. วันพืชมงคล 11 พ.ค.63 มี ขรก.ที่เหลืออีกปีกว่าจะเกษียณ
โทร.ไลน์มาถามผม ว่า ถ้าลาออกจากราชการโดยขอรับบำนาญ
จะได้บำเหน็จดำรงชีพ 2 แสนบาทแรก ตั้งแต่ลาออกเลย หรือได้ตอนอายุ 60 ปี
ผมตอบว่า เมื่อข้าราชการเกษียณอายุราชการ
หรือลาออกจากราชการเหตุสูงอายุหรือรับราชการนาน และเลือกรับบำนาญ
มีสิทธิยื่นขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพพร้อมการขอรับบำนาญ ( รับบำเหน็จดำรงชีพ 2
แสนบาทแรก พร้อมรับบำนาญเลย )
6. ดึกวันที่ 19 พ.ค.63 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า กศน ไต่ระดับยังมีไหม ถ้ายังมีแล้วเราสามารถเรียนพวกกลุ่มวิท-คณิตเพิ่มได้ไหม
6. ดึกวันที่ 19 พ.ค.63 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า กศน ไต่ระดับยังมีไหม ถ้ายังมีแล้วเราสามารถเรียนพวกกลุ่มวิท-คณิตเพิ่มได้ไหม
ผมตอบว่า การเทียบระดับการศึกษา แบบเทียบไต่ไปทีละระดับ
ยังมีอยู่ แต่การเทียบระดับจะได้ใบวุฒิที่ไม่ระบุเกรด
นำไปใช้เรียนต่อได้เฉพาะที่เขาไม่ดูเกรด
ส่วนการเรียนวิชากลุ่มวิท-คณิตเพิ่มหลังได้วุฒิเทียบระดับแล้ว สามารถเรียนเพิ่มเติมได้โดยสมัครเรียนเพิ่มเติมในหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่เทียบระดับ แต่จะได้ใบระเบียนหลักฐานการเรียนเพิ่มเติมอีกใบหนึ่งต่างหาก
ถ้าสถานศึกษาที่จะไปเรียนต่อเขากำหนดว่าต้องผ่านวิชากลุ่มวิท-คณิต 20 หน่วยกิต ก็ต้องเรียนเพิ่มกลุ่มวิท-คณิตทั้ง 20 หน่วยเลย เพราะใบวุฒิเทียบระดับไม่มีหน่วยกิตไม่มีเกรด
และถ้าสถานศึกษานั้นเขาดูเกรดเฉลี่ยด้วย ก็จะสมัครไม่ได้เพราะต้องดูเกรดเฉลี่ยจากใบวุฒิหลักคือใบวุฒิเทียบระดับซึ่งไม่มีเกรดให้ดู
7. คืนวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ค.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีนักศึกษาเข้าสอบ N-Net แค่ครึ่งวัน สามารถจบได้ไหม
ส่วนการเรียนวิชากลุ่มวิท-คณิตเพิ่มหลังได้วุฒิเทียบระดับแล้ว สามารถเรียนเพิ่มเติมได้โดยสมัครเรียนเพิ่มเติมในหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่เทียบระดับ แต่จะได้ใบระเบียนหลักฐานการเรียนเพิ่มเติมอีกใบหนึ่งต่างหาก
ถ้าสถานศึกษาที่จะไปเรียนต่อเขากำหนดว่าต้องผ่านวิชากลุ่มวิท-คณิต 20 หน่วยกิต ก็ต้องเรียนเพิ่มกลุ่มวิท-คณิตทั้ง 20 หน่วยเลย เพราะใบวุฒิเทียบระดับไม่มีหน่วยกิตไม่มีเกรด
และถ้าสถานศึกษานั้นเขาดูเกรดเฉลี่ยด้วย ก็จะสมัครไม่ได้เพราะต้องดูเกรดเฉลี่ยจากใบวุฒิหลักคือใบวุฒิเทียบระดับซึ่งไม่มีเกรดให้ดู
7. คืนวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ค.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีนักศึกษาเข้าสอบ N-Net แค่ครึ่งวัน สามารถจบได้ไหม
ผมตอบว่า ต้องสอบให้ครบ
2 วิชา เมื่อสอบครบ 2 วิชาในภาคเรียนใด จึงจะบันทึกในโปรแกรม ITw ที่เมนู 1-5-1 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน
- บันทึกการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ - บันทึกการประเมิน ) ว่า
"เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติในภาคเรียน .../..." (
ที่บรรทัดสุดท้าย )
ถ้ายังสอบไม่ครบ 2 วิชา ก็ยังไม่ต้องระบุภาคเรียนตรงบรรทัดสุดท้ายนี้
ต่อมาเมื่อสอบ E-Exam ในภาคเรียนใด จึงจะบันทึกภาคเรียนที่สอบ E-Exam ที่เมนูนี้
ถ้ายังสอบไม่ครบ 2 วิชา ก็ยังไม่ต้องระบุภาคเรียนตรงบรรทัดสุดท้ายนี้
ต่อมาเมื่อสอบ E-Exam ในภาคเรียนใด จึงจะบันทึกภาคเรียนที่สอบ E-Exam ที่เมนูนี้
( เรื่องนี้.. เช้าวันที่ 25 พ.ค.63 อ.ธานี
กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ กศน. ตอบทางไลน์ว่า “การสอบ N-NET ต้องเข้าสอบทั้ง 2 วิชา
จึงจะถือว่าได้เข้ารับการประเมินฯ ถ้าเข้าสอบวิชาใดวิชาหนึ่งจะถือว่าขาดสอบ
ซึ่งจะต้องสอบ E-Exam แทน” )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย