สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. คืนวันเสาร์ที่
14 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตอนนี้มีการชะลอการย้าย พนักงานราชการ กศน
ใช่ไหมคะ
ผมตอบว่า ใช่ครับ กำหนดตาม “แนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ
สังกัดสำนักงาน กศน.” ข้อ 4.6 ว่า มิให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน ในเดือน
ก.ย.ของทุกปี
2. วันที่
23 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เป็นครู กศน.ตำบล อยากสอบถามว่า
1) กรณีที่เราไม่ได้เข้ารับการประเมิน พนง.ราชการ ครั้งที่ 2 เรายังสามารถจะต่อสัญญาทำงานที่ กศน.ได้หรือเปล่า สัญญาจ้าง พนง.ราชการ หมดสัญญาปี 2563
2) ไม่เข้ารับการประเมิน เพราะ
- สุขภาพร่างกายป่วย มีโรคประจำตัว ภาวะเครียด แต่ไม่ได้แอดมิด รพ. นะ มีแต่การไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรค
- เอกสารที่เข้ารับการประเมิน มีน้อย ไม่ครบตามตัวชี้วัด จึงขอไม่เข้ารับการประเมิน
1) กรณีที่เราไม่ได้เข้ารับการประเมิน พนง.ราชการ ครั้งที่ 2 เรายังสามารถจะต่อสัญญาทำงานที่ กศน.ได้หรือเปล่า สัญญาจ้าง พนง.ราชการ หมดสัญญาปี 2563
2) ไม่เข้ารับการประเมิน เพราะ
- สุขภาพร่างกายป่วย มีโรคประจำตัว ภาวะเครียด แต่ไม่ได้แอดมิด รพ. นะ มีแต่การไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรค
- เอกสารที่เข้ารับการประเมิน มีน้อย ไม่ครบตามตัวชี้วัด จึงขอไม่เข้ารับการประเมิน
ผมตอบว่า บรรจุเป็นครู กศน.ตำบลตำแหน่งนี้ตั้งแต่เมื่อไร
ขอไม่เข้ารับการประเมินได้ด้วยหรือ ปกติไม่เคยมีแบบนี้
ถ้าป่วยก็ขอเลื่อนวันกับจังหวัด แล้วจังหวัดเขาว่ายังไงล่ะ
ผู้ถาม ตอบว่า ปี 54
คือวันที่มีการประเมิน ไม่มาประเมิน แต่ไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งเป็นคำพูดกับเพื่อยร่วมงาน
ผมถามซ้ำว่า แล้วจังหวัดเขาว่ายังไงล่ะ
ผู้ถาม ตอบว่า มีการพูดคุยกับ ผอ.อำเภอ ท่านให้ดูระเบียบฯ ว่าถ้าครู กศน.ตำบล ไม่เข้ารับการประเมิน จะไม่สามารถต่อสัญญาจ้างครั้งต่อไปได้ ตอนนี้คือ ท่าน ผอ.ให้ทำงานจนถึงสิ้นเดือน และให้เขียนใบลาออกเพื่อเสนอไป สนง.กศน.จังหวัด
ผมตอบว่า เลยไม่รู้ว่าจังหวัดเขาว่ายังไง
- ปกติถ้าป่วย ก็เสนอขอเลื่อนวันประเมิน ในการประเมินนั้นถ้าคณะกรรมการประเมินเขาเห็นว่าป่วยมากจริงเป็นเหตุให้ผลงานน้อยจริง ถ้าเขาคิดว่าน่าเห็นใจจริง เขาก็อาจจะให้คะแนนประเมินเพียงแค่ผ่าน อาจจะได้เลื่อนค่าตอบแทนน้อย
- พนักงานราชการ จะประเมินปีละ 2 ครั้ง นำคะแนน 2 ครั้งมารวมกันแล้วหารด้วย 2 เป็นคะแนนทั้งปี จะใช้คะแนนทั้งปีนี้สรุปว่าผ่านประเมินหรือไม่ ผ่านระดับใด ส่งผลถึงจำนวนเงินเลื่อนค่าตอบแทนประจำปี ถ้าคะแนนไม่ผ่านประเมินก็เลิกจ้าง
เว้นแต่ จะเพิ่งบรรจุเข้าทำงานหลังช่วงประเมินครั้งที่ 1 ก็จะประเมินเฉพาะครั้งที่ 2 เพียงครั้งเดียว ใช้คะแนนครั้งที่ 2 โดยไม่ต้องหารด้วย 2 ซึ่งถ้าเพิ่งบรรจุหลังวันที่ 1 ก.พ.จะเป็นการประเมินเพื่อจ้างต่ออย่างเดียว เลื่อนค่าตอบแทนไม่ได้
( ตามระเบียบหลักเกณฑ์การประเมิน มีวัตถุประสงค์ได้ 4 อย่าง คือ
ก. การเลื่อนค่าตอบแทน
ข. การเลิกจ้าง
ค. การต่อสัญญาจ้าง
ง. อื่น ๆ
การประเมินปีนี้ เพื่อการเลื่อนค่าตอบแทนและการเลิกจ้าง )
- ถ้าคะแนนการประเมินทั้งปี ต่ำกว่า 75 % จังหวัดต้องสั่งเลิกจ้างครับ
กรณีประเมินเฉพาะครั้งที่ 1 จะทำให้คะแนนประเมินครั้งที่ 2 ได้ 0 คะแนน คะแนนทั้งปีคือคะแนนครั้งที่ 1 บวก 0 แล้วหารด้วย 2 ซึ่งก็จะเหลือต่ำกว่า 75 % จังหวัดต้องสั่งเลิกจ้าง เว้นแต่จังหวัดจะให้จัดประเมินครั้งที่ 2 เฉพาะรายนี้ใหม่
3. วันที่ 20 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีวาระกี่ปีต้องย้ายจากที่เดิม
คือวันที่มีการประเมิน ไม่มาประเมิน แต่ไม่ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งเป็นคำพูดกับเพื่อยร่วมงาน
ผมถามซ้ำว่า แล้วจังหวัดเขาว่ายังไงล่ะ
ผู้ถาม ตอบว่า มีการพูดคุยกับ ผอ.อำเภอ ท่านให้ดูระเบียบฯ ว่าถ้าครู กศน.ตำบล ไม่เข้ารับการประเมิน จะไม่สามารถต่อสัญญาจ้างครั้งต่อไปได้ ตอนนี้คือ ท่าน ผอ.ให้ทำงานจนถึงสิ้นเดือน และให้เขียนใบลาออกเพื่อเสนอไป สนง.กศน.จังหวัด
ผมตอบว่า เลยไม่รู้ว่าจังหวัดเขาว่ายังไง
- ปกติถ้าป่วย ก็เสนอขอเลื่อนวันประเมิน ในการประเมินนั้นถ้าคณะกรรมการประเมินเขาเห็นว่าป่วยมากจริงเป็นเหตุให้ผลงานน้อยจริง ถ้าเขาคิดว่าน่าเห็นใจจริง เขาก็อาจจะให้คะแนนประเมินเพียงแค่ผ่าน อาจจะได้เลื่อนค่าตอบแทนน้อย
- พนักงานราชการ จะประเมินปีละ 2 ครั้ง นำคะแนน 2 ครั้งมารวมกันแล้วหารด้วย 2 เป็นคะแนนทั้งปี จะใช้คะแนนทั้งปีนี้สรุปว่าผ่านประเมินหรือไม่ ผ่านระดับใด ส่งผลถึงจำนวนเงินเลื่อนค่าตอบแทนประจำปี ถ้าคะแนนไม่ผ่านประเมินก็เลิกจ้าง
เว้นแต่ จะเพิ่งบรรจุเข้าทำงานหลังช่วงประเมินครั้งที่ 1 ก็จะประเมินเฉพาะครั้งที่ 2 เพียงครั้งเดียว ใช้คะแนนครั้งที่ 2 โดยไม่ต้องหารด้วย 2 ซึ่งถ้าเพิ่งบรรจุหลังวันที่ 1 ก.พ.จะเป็นการประเมินเพื่อจ้างต่ออย่างเดียว เลื่อนค่าตอบแทนไม่ได้
( ตามระเบียบหลักเกณฑ์การประเมิน มีวัตถุประสงค์ได้ 4 อย่าง คือ
ก. การเลื่อนค่าตอบแทน
ข. การเลิกจ้าง
ค. การต่อสัญญาจ้าง
ง. อื่น ๆ
การประเมินปีนี้ เพื่อการเลื่อนค่าตอบแทนและการเลิกจ้าง )
- ถ้าคะแนนการประเมินทั้งปี ต่ำกว่า 75 % จังหวัดต้องสั่งเลิกจ้างครับ
กรณีประเมินเฉพาะครั้งที่ 1 จะทำให้คะแนนประเมินครั้งที่ 2 ได้ 0 คะแนน คะแนนทั้งปีคือคะแนนครั้งที่ 1 บวก 0 แล้วหารด้วย 2 ซึ่งก็จะเหลือต่ำกว่า 75 % จังหวัดต้องสั่งเลิกจ้าง เว้นแต่จังหวัดจะให้จัดประเมินครั้งที่ 2 เฉพาะรายนี้ใหม่
3. วันที่ 20 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีวาระกี่ปีต้องย้ายจากที่เดิม
ผมตอบว่า เป็นไปตามมาตรา 60 แห่ง
พรบ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 คือ ไม่เกิน 4 ปี เว้นแต่จำเป็น
ต่อได้คราวละ 1 ปี รวมไม่เกิน 6 ปี
หมายรวมถึง ผอ./รอง ผอ.จังหวัด และ ผอ./รอง ผอ.สถานศึกษา ( รวม ผอ.กศน.อ./ข. ) ด้วย
หมายรวมถึง ผอ./รอง ผอ.จังหวัด และ ผอ./รอง ผอ.สถานศึกษา ( รวม ผอ.กศน.อ./ข. ) ด้วย
4. เช้าวันที่
24 ก.ย.62 มี ผอ.กศน.อ. ถามผมทางไลน์ ว่า ถ้าตรวจสอบวุฒิที่อื่นส่งมา แล้วพบว่าครู
กศน.ตำบลทำวุฒิปลอมเอง จะดำเนินการอย่างไร
ผมตอบว่า
1) ตอบกลับไปยังหน่วยที่ส่งมาให้ตรวจว่า เป็นใบวุฒิปลอม ( ไม่ได้ออกโดย กศน.อำเภอ )
2) รายงานจังหวัดโดยเร็ว ให้จังหวัดรายงานส่วนกลาง
3) แจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ กศน.อำเภอนั้น
ครั้งแรกผมไม่แน่ใจว่าถ้าบุคลากรภายในปลอมเองควรรีบแจ้งความหรือไม่ วันนี้ผมจึงเรียนถามท่าน ผอ.กจ.กศน.ในเรื่องนี้ ท่านบอกว่าแม้ผู้ปลอมเป็นบุคลากรภายในของเราเอง ก็ต้องแจ้งความ ( กรณีรู้ตัวคนปลอมว่าเป็นบุคลากรของเรา ต้องทำทั้ง 2 ส่วน คือ แจ้งความด้วย วินัยด้วย )
นอกจากนี้ กศน.เราต้องทำประกาศว่า ใบวุฒิฉบับนั้นไม่ได้ออกโดย กศน.อ.เราด้วย
1) ตอบกลับไปยังหน่วยที่ส่งมาให้ตรวจว่า เป็นใบวุฒิปลอม ( ไม่ได้ออกโดย กศน.อำเภอ )
2) รายงานจังหวัดโดยเร็ว ให้จังหวัดรายงานส่วนกลาง
3) แจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ กศน.อำเภอนั้น
ครั้งแรกผมไม่แน่ใจว่าถ้าบุคลากรภายในปลอมเองควรรีบแจ้งความหรือไม่ วันนี้ผมจึงเรียนถามท่าน ผอ.กจ.กศน.ในเรื่องนี้ ท่านบอกว่าแม้ผู้ปลอมเป็นบุคลากรภายในของเราเอง ก็ต้องแจ้งความ ( กรณีรู้ตัวคนปลอมว่าเป็นบุคลากรของเรา ต้องทำทั้ง 2 ส่วน คือ แจ้งความด้วย วินัยด้วย )
นอกจากนี้ กศน.เราต้องทำประกาศว่า ใบวุฒิฉบับนั้นไม่ได้ออกโดย กศน.อ.เราด้วย
ผอ.ถามต่อ ว่า แจ้งความ กศน.อำเภอเป็นคนแจ้ง หรือจังหวัดแจ้ง
ผมตอบว่า
1) ผู้เสียหายคือ สถานศึกษาที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ออกใบวุฒิปลอมนั้น ( ถูกปลอมแปลงเอกสาร )
ฉะนั้น ผู้ต้องแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดตามกฏหมายอาญา ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร คือ กศน.อ.เรา หากไม่ดำเนินการแจ้งความและรายงานผ่านไปให้สำนักงาน กศน.ทราบโดยด่วน จะเป็นความผิดฐาน “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่”
ส่วน สถานศึกษาที่ผู้ใช้วุฒิปลอมนำไปใช้ แล้วเขาส่งมาให้เราตรวจ เขาจะแจ้งความดำเนินคดี ข้อหาใช้ข้อความเท็จ ( ยังไม่จบแต่มาแจ้งเท็จว่าเรียนจบมาแล้ว ) หรือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษานั้น อาจแค่ไม่รับสมัครคนนั้นเข้าเป็น นศ.เท่านั้น ( แต่ถ้าเป็น มสธ. ใครเอาวุฒิปลอมไปสมัครเรียนกับเขา เขาจะแจ้งความดำเนินคดีทุกราย )
2) ถ้าเป็นคดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน สถานศึกษาจะแจ้งความเองไม่ได้ ต้องเสนอเรื่องผ่านจังหวัดให้ปลัดกระทรวงฯมอบอำนาจให้ ผอ.สถานศึกษาไปแจ้งความ ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่นการปลอมแปลงเอกสารของทางราชการนี้ เมื่อทราบเรื่อง สถานศึกษาต้องเป็นผู้ไปแจ้งความในเบื้องต้น แล้วรายงานผ่านจังหวัดไปให้ส่วนกลางมอบอำนาจให้จังหวัดดำเนินคดีอาญาต่อไป
แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการแจ้งความเป็นอำนาจของปลัดกระทรวง ( นิติบุคคล ) ถ้า ผอ.มอบอำนาจให้คนอื่นไปแจ้งความ จะเป็นการมอบต่อช่วง ฉะนั้น ให้ ผอ.กศน.อ.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจด้วยตนเอง
5. วันที่ 24 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ฉันเป็นครู ศรช. มีนักศึกษาที่สมัครเรียนภาคเรียนที่ 1 /62 แต่ขาดสอบ ผอ.จะไม่ยอมให้เด็กลงทะเบียน แบบนี้จะทำได้ไหม
ผมตอบว่า
1) ผู้เสียหายคือ สถานศึกษาที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ออกใบวุฒิปลอมนั้น ( ถูกปลอมแปลงเอกสาร )
ฉะนั้น ผู้ต้องแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดตามกฏหมายอาญา ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร คือ กศน.อ.เรา หากไม่ดำเนินการแจ้งความและรายงานผ่านไปให้สำนักงาน กศน.ทราบโดยด่วน จะเป็นความผิดฐาน “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่”
ส่วน สถานศึกษาที่ผู้ใช้วุฒิปลอมนำไปใช้ แล้วเขาส่งมาให้เราตรวจ เขาจะแจ้งความดำเนินคดี ข้อหาใช้ข้อความเท็จ ( ยังไม่จบแต่มาแจ้งเท็จว่าเรียนจบมาแล้ว ) หรือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษานั้น อาจแค่ไม่รับสมัครคนนั้นเข้าเป็น นศ.เท่านั้น ( แต่ถ้าเป็น มสธ. ใครเอาวุฒิปลอมไปสมัครเรียนกับเขา เขาจะแจ้งความดำเนินคดีทุกราย )
2) ถ้าเป็นคดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน สถานศึกษาจะแจ้งความเองไม่ได้ ต้องเสนอเรื่องผ่านจังหวัดให้ปลัดกระทรวงฯมอบอำนาจให้ ผอ.สถานศึกษาไปแจ้งความ ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่นการปลอมแปลงเอกสารของทางราชการนี้ เมื่อทราบเรื่อง สถานศึกษาต้องเป็นผู้ไปแจ้งความในเบื้องต้น แล้วรายงานผ่านจังหวัดไปให้ส่วนกลางมอบอำนาจให้จังหวัดดำเนินคดีอาญาต่อไป
แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการแจ้งความเป็นอำนาจของปลัดกระทรวง ( นิติบุคคล ) ถ้า ผอ.มอบอำนาจให้คนอื่นไปแจ้งความ จะเป็นการมอบต่อช่วง ฉะนั้น ให้ ผอ.กศน.อ.ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจด้วยตนเอง
5. วันที่ 24 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ฉันเป็นครู ศรช. มีนักศึกษาที่สมัครเรียนภาคเรียนที่ 1 /62 แต่ขาดสอบ ผอ.จะไม่ยอมให้เด็กลงทะเบียน แบบนี้จะทำได้ไหม
ผมตอบว่า ที่จริง
ผอ.ก็สามารถมีนโยบายอย่างนั้นได้ถ้าคิดว่าเป็นลักษณะของนักศึกษาผี
แต่จะเหมาะสมหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ผอ.บางท่านมีนโนยายว่าถ้าขาดสอบแล้วจะลงทะเบียนในเทอมต่อไปอีก ต้องให้นักศึกษามาพูดคุยกับ ผอ.ก่อนว่าจะเรียนจริงจึงยอมให้ลงทะเบียนเรียนอีก ผอ.บางท่านก็มีนโยบายว่าถ้าขาดสอบติดต่อกัน 2 ภาคเรียน ไม่ให้ลงทะเบียนเรียนอีก
6. คืนวันที่ 27 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เป็นจ้างเหมาบริการ กศน.อำเภอ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ใช้เงินงบอุดหนุนในการจ้าง ตอนนี้ยังลูกผีลูกคนไม่มีทีทางว่าจะได้ทำงานต่อไหม อยากจะเรียนถาม อ. ว่า จ้างเหมาบริการที่ใช้เงินอุดหนุนนั้น ทางกรมเค้าจะจ้างต่อไหม
ผอ.บางท่านมีนโนยายว่าถ้าขาดสอบแล้วจะลงทะเบียนในเทอมต่อไปอีก ต้องให้นักศึกษามาพูดคุยกับ ผอ.ก่อนว่าจะเรียนจริงจึงยอมให้ลงทะเบียนเรียนอีก ผอ.บางท่านก็มีนโยบายว่าถ้าขาดสอบติดต่อกัน 2 ภาคเรียน ไม่ให้ลงทะเบียนเรียนอีก
6. คืนวันที่ 27 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เป็นจ้างเหมาบริการ กศน.อำเภอ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ใช้เงินงบอุดหนุนในการจ้าง ตอนนี้ยังลูกผีลูกคนไม่มีทีทางว่าจะได้ทำงานต่อไหม อยากจะเรียนถาม อ. ว่า จ้างเหมาบริการที่ใช้เงินอุดหนุนนั้น ทางกรมเค้าจะจ้างต่อไหม
ผมตอบว่า โดยส่วนตัวผมคิดว่า คล้ายปีก่อน คือ
ถ้าเป็นตำแหน่งเดิม/อัตราเดิม/คนเดิม และเดิมก็จ้างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกอย่าง
ก็สามารถดำเนินการจ้างต่อเนื่องได้ (
ดำเนินการจัดจ้างและให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ้างไว้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 30 ก.ย.
ตามข้อ 2.ในหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0408.4/ว351
ลงวันที่ 9 ก.ย.48 ) แต่ยังลงนามในสัญญาจ้างไม่ได้จนกว่าจะได้รับจัดสรรเงิน
( ถ้าจะลงนามในสัญญาจ้างต้องระบุในสัญญาว่า สัญญาจะมีผลเมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว
) ซึ่งเมื่อสัญญายังไม่มีผล
ก็ยังจะไม่ได้รับค่าจ้าง
แต่เมื่อใดที่สัญญามีผลโดยดำเนินการจ้างต่อเนื่องไว้ก่อนแล้วก็เบิกจ่ายเงินค่าจ้างย้อนหลังไปตั้งแต่
1 ต.ค.62 ได้
ในส่วนของการจ้างด้วยเงินอุดหนุน นอกจากจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกอย่างแล้ว ยังต้องดูงบอุดหนุนที่แต่ละแห่งได้รับตามจำนวนนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐานด้วย เรื่องการจ้างด้วยเงินอุดหนุนจึงต้องถามแต่ละแห่งแม้จะเป็นอัตราเดิมตำแหน่งเดิมคนเดิมก็ตาม
ในส่วนของการจ้างด้วยเงินอุดหนุน นอกจากจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกอย่างแล้ว ยังต้องดูงบอุดหนุนที่แต่ละแห่งได้รับตามจำนวนนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐานด้วย เรื่องการจ้างด้วยเงินอุดหนุนจึงต้องถามแต่ละแห่งแม้จะเป็นอัตราเดิมตำแหน่งเดิมคนเดิมก็ตาม
หลักเกณฑ์การจ้างคือ
1) จ้างในชื่อตำแหน่ง และค่าจ้าง ตามที่ส่วนกลางกำหนด โดยในแต่ละแห่งไม่จ้างในชื่อตำแหน่งเดียวกับข้าราชการหรือพนักงานราชการ เช่นถ้า กศน.อำเภอใดมีพนักงานราชการตำแหน่งบรรณารักษ์แล้วก็ให้หยุดจ้างเหมาบริการตำแหน่งบรรณารักษ์
2) ถ้าจ้างด้วยเงินอุดหนุนรายหัว ต้องจ้างในตำแหน่งที่ทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ตามเกณฑ์จำนวนนักศึกษาต่อครู ที่กำหนด เพราะ กศน.ได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวมาตามจำนวน นศ.ขั้นพื้นฐาน มิฉะนั้นจะเป็นการใช้เงินผิดประเภท ซึ่งผิด
3) ถ้าจ้างด้วยงบดำเนินงานผลผลิตที่ 4-5 แต่ละจังหวัดต้องจ้างจำนวนคนไม่เกินที่ส่วนกลางกำหนด แต่การจ้างด้วยเงินอุดหนุน ส่วนกลางไม่ได้กำหนดจำนวนคน ( ยกเว้นครูที่ ศกพ.ดูแล เช่น ครูผู้สอนคนพิการ-เด็กเร่ร่อน) จำนวนคนที่จ้างด้วยเงินอุดหนุนนั้นนอกจากจะดูข้อ 1) และ 2) นี้แล้ว แต่ละจังหวัดแต่ละแห่งต้องดูเงินอุดหนุนรายหัวที่ได้รับตามจำนวน นศ.กศ.ขั้นพื้นฐาน ด้วย
4) ถ้าจะจ้าง “คนใหม่” ยังดำเนินการจ้างไม่ได้ จนกว่าจะได้รับจัดสรรเงิน และจะจ้างย้อนหลังไปวันก่อนได้รับจัดสรรเงินไม่ได้
ปีนี้ต่างจากปีก่อน ที่ปีนี้ พรบ.งบประมาณปี 63 ยังไม่ผ่านสภาฯ ( วันนี้ 28 ก.ย.62 ยังไม่เข้าสภาฯเลย ) จะส่งผลกับการจ้างเหมาบริการงบใดมากขึ้นอย่างไรหรือไม่ ให้ถามกลุ่มแผนงาน กศน. ได้ความว่ายังไง มาเล่าให้ฟังด้วยนะ
7. วันที่ 26 ก.ย.62 หลังจากที่ผมโพสต์ตอบคำถามเรื่อง “ผอ.กศน.อ.จะไม่ยอมให้เด็กที่ไม่มาสอบปลายภาค ลงทะเบียนเรียนอีก แบบนี้จะทำได้ไหม” ลงในแฟนเพจเฟซบุ๊กไป
ปรากฏว่าคุณ Tk Sarajit Betta ได้นำภาพเอกสาร “รัฐธรรมนูญ มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา” มาลงต่อท้ายโพสต์ผม โดยคุณ Tk Sarajit Betta ไม่ได้เขียนข้อความอะไรเลย
1) จ้างในชื่อตำแหน่ง และค่าจ้าง ตามที่ส่วนกลางกำหนด โดยในแต่ละแห่งไม่จ้างในชื่อตำแหน่งเดียวกับข้าราชการหรือพนักงานราชการ เช่นถ้า กศน.อำเภอใดมีพนักงานราชการตำแหน่งบรรณารักษ์แล้วก็ให้หยุดจ้างเหมาบริการตำแหน่งบรรณารักษ์
2) ถ้าจ้างด้วยเงินอุดหนุนรายหัว ต้องจ้างในตำแหน่งที่ทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ตามเกณฑ์จำนวนนักศึกษาต่อครู ที่กำหนด เพราะ กศน.ได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวมาตามจำนวน นศ.ขั้นพื้นฐาน มิฉะนั้นจะเป็นการใช้เงินผิดประเภท ซึ่งผิด
3) ถ้าจ้างด้วยงบดำเนินงานผลผลิตที่ 4-5 แต่ละจังหวัดต้องจ้างจำนวนคนไม่เกินที่ส่วนกลางกำหนด แต่การจ้างด้วยเงินอุดหนุน ส่วนกลางไม่ได้กำหนดจำนวนคน ( ยกเว้นครูที่ ศกพ.ดูแล เช่น ครูผู้สอนคนพิการ-เด็กเร่ร่อน) จำนวนคนที่จ้างด้วยเงินอุดหนุนนั้นนอกจากจะดูข้อ 1) และ 2) นี้แล้ว แต่ละจังหวัดแต่ละแห่งต้องดูเงินอุดหนุนรายหัวที่ได้รับตามจำนวน นศ.กศ.ขั้นพื้นฐาน ด้วย
4) ถ้าจะจ้าง “คนใหม่” ยังดำเนินการจ้างไม่ได้ จนกว่าจะได้รับจัดสรรเงิน และจะจ้างย้อนหลังไปวันก่อนได้รับจัดสรรเงินไม่ได้
ปีนี้ต่างจากปีก่อน ที่ปีนี้ พรบ.งบประมาณปี 63 ยังไม่ผ่านสภาฯ ( วันนี้ 28 ก.ย.62 ยังไม่เข้าสภาฯเลย ) จะส่งผลกับการจ้างเหมาบริการงบใดมากขึ้นอย่างไรหรือไม่ ให้ถามกลุ่มแผนงาน กศน. ได้ความว่ายังไง มาเล่าให้ฟังด้วยนะ
7. วันที่ 26 ก.ย.62 หลังจากที่ผมโพสต์ตอบคำถามเรื่อง “ผอ.กศน.อ.จะไม่ยอมให้เด็กที่ไม่มาสอบปลายภาค ลงทะเบียนเรียนอีก แบบนี้จะทำได้ไหม” ลงในแฟนเพจเฟซบุ๊กไป
ปรากฏว่าคุณ Tk Sarajit Betta ได้นำภาพเอกสาร “รัฐธรรมนูญ มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา” มาลงต่อท้ายโพสต์ผม โดยคุณ Tk Sarajit Betta ไม่ได้เขียนข้อความอะไรเลย
ผมตอบว่า จะบอกว่าอะไรหรือครับ Tk Sarajit Betta
ถ้าหมายถึง จะไม่รับลงทะเบียน ไม่ได้ นั้น
1) การที่มีชื่อลงทะเบียน แต่ไม่มีตัวมาสอบ อาจเป็นนักศึกษาผี ( มีตัวตนแต่ไม่ได้สมัครเรียนเอง โดยมีผู้นำชื่อมาลงทะเบียนเพื่อนับจำนวนผู้เรียนให้ได้ตามที่กำหนด )
2) กศน.ให้โอกาสผู้ที่ขาดโอกาส โดยผู้ที่ลงทะเบียนเรียนทุกภาคเรียน รัฐบาลต้องจัดสรรเงินงบประมาณจากเงินภาษีประชาชนและเงินกู้ มาเป็นเงินอุดหนุนรายหัวทุกหัว รายนี้ให้โอกาสลงทะเบียนเรียนไปแล้ว แต่ไม่ยอมเรียนให้จบ รัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนรายหัวให้ทุกภาคเรียนไปเรื่อย ๆ เป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษีทุกคน รัฐไม่ควรให้โอกาสอย่างนี้
3) เพื่อแก้ปัญหา ผอ.อาจมีนโยบายให้นักศึกษามาคุยกันก่อนลงทะเบียนใหม่ เพื่อโชว์ตัวว่าสมัครเรียนเองจริง และแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ไม่ได้มาสอบ
ถ้าหมายถึง จะไม่รับลงทะเบียน ไม่ได้ นั้น
1) การที่มีชื่อลงทะเบียน แต่ไม่มีตัวมาสอบ อาจเป็นนักศึกษาผี ( มีตัวตนแต่ไม่ได้สมัครเรียนเอง โดยมีผู้นำชื่อมาลงทะเบียนเพื่อนับจำนวนผู้เรียนให้ได้ตามที่กำหนด )
2) กศน.ให้โอกาสผู้ที่ขาดโอกาส โดยผู้ที่ลงทะเบียนเรียนทุกภาคเรียน รัฐบาลต้องจัดสรรเงินงบประมาณจากเงินภาษีประชาชนและเงินกู้ มาเป็นเงินอุดหนุนรายหัวทุกหัว รายนี้ให้โอกาสลงทะเบียนเรียนไปแล้ว แต่ไม่ยอมเรียนให้จบ รัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนรายหัวให้ทุกภาคเรียนไปเรื่อย ๆ เป็นการเอาเปรียบประชาชนผู้เสียภาษีทุกคน รัฐไม่ควรให้โอกาสอย่างนี้
3) เพื่อแก้ปัญหา ผอ.อาจมีนโยบายให้นักศึกษามาคุยกันก่อนลงทะเบียนใหม่ เพื่อโชว์ตัวว่าสมัครเรียนเองจริง และแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ไม่ได้มาสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย