สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันเสาร์ที่ 24 ส.ค.62 มีผู้ถามผมทางไลน์
ว่า ฉันเป็น จนท.การเงินศฝช......
อยากสอบถามเรื่องเอกสารการเบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรจัดการศึกษาต่อเนื่อง/ค่าใช้จ่ายฝึกอบรมบุคคลภายนอก(ค่าอาหาร, อาหารว่าง,
สถานที่)ค่าวัสดุจัดการศึกษาต่อเนื่องที่เป็นอาหารสดเล็กน้อยทั่วไป
การรับเงินดังกล่าวข้่างต้นผู้มีสิทธิจะเซ็นรับเงินในใบสำคัญรับเงินพร้อมแนบสำเนาบัตร
ปชช., บช.ธนาคาร จึงอยากถามว่าสามารถใช้สำเนาเอกสาร บัตร
ปชช., หน้า บช.ธนาคาร ที่
ผู้มีสิทธิ์ส่งไลน์ให้คณะครูได้รึไม่ เนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของครูอาสาสมัครอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารระยะทางไกลทำให้ไม่เกิดความคล่องตัวในการปฎิบัติงาน
ในการปฎิบัติงานด้านการเงินจะใช้เป็นเอกสารที่ถ่ายจากตัวจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความเสี่ยงในการเบิกจ่าย จึงเกิดข้อสงสัยว่าสามารถใช้เอกสารปริ้นเอาท์จากไลน์ได้หรือไม่หากใช้ได้หรือไม่ได้มี นส.ตัวใดสามารถใช้อ้างอิงได้บ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจนและความคล่องตัวของผู้ปฏิบัติและถูกระเบียบ
ในการปฎิบัติงานด้านการเงินจะใช้เป็นเอกสารที่ถ่ายจากตัวจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความเสี่ยงในการเบิกจ่าย จึงเกิดข้อสงสัยว่าสามารถใช้เอกสารปริ้นเอาท์จากไลน์ได้หรือไม่หากใช้ได้หรือไม่ได้มี นส.ตัวใดสามารถใช้อ้างอิงได้บ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจนและความคล่องตัวของผู้ปฏิบัติและถูกระเบียบ
ผมตอบว่า จะใช้ได้หรือไม่ เป็นไปตามระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
“การยืนยันตัวตน” ว่ากระทำ/รับรู้ โดยเจ้าตัว จริง ซึ่ง หลักฐานที่สำคัญในการยืนยันตัวตนคือ
“ลายมือชื่อ”
หลักฐานสำคัญการยืนยันตัวตนในการรับเงินของ “บุคคลภายนอก” คือ ลายมือชื่อผู้รับเงินประกอบกับบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนหน้าบัญชีธนาคารเป็นเอกสารที่ช่วยให้โอนเงินไม่ผิดคนไม่ผิดบัญชี
1) ในใบสำคัญรับเงิน ผู้รับเงิน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้รับเงินโดยมีหลักฐานการมอบอำนาจ จะต้องลงลายมือชื่อรับเงิน ด้วยตนเองจริง คือใน “เอกสารที่หน่วยผู้จ่ายเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน ต้องเป็นลายเซ็นจริง”
การเซ็นจริงแล้วส่งผ่านไลน์ เอกสารที่ปริ้นท์ต่อจากไลน์ก็จะเหมือนถ่ายเอกสาร ไม่ใช่ลายเซ็นจริง จึงใช้ไม่ได้
2) ส่วนบัตรประชาชน ใช้ประกอบว่าผู้ที่ลงนามรับเงินนั้น คือตัวจริง ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายไม่ให้เรียก “สำเนา” บัตรฯจากประชาชน โดยหน่วยงานมหาดไทยและเครือข่ายจะเรียกบัตรฯได้จากระบบออนไลน์ของมหาดไทย แต่สถานศึกษาของเราไม่ได้เชื่อมโยงระบบออนไลน์นี้โดยตรง ต้องใช้เครื่องอ่านบัตร ซึ่งแม้ผู้รับเงินไม่ต้องถ่ายสำเนาบัตรฯมาให้แต่ก็ต้องนำบัตรฯจริงมาให้เราอ่านด้วยเครื่องอ่านบัตร
ถ้าครูอาสาฯได้ตรวจบัตรฯฉบับจริง แล้วลงลายมือชื่อรับรองสำเนาบัตร ก็อาจอนุโลมได้ ( ผู้รับรองคือเจ้าตัว หรือเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการ ) แต่ลายเซ็นรับรองสำเนาบัตรนั้นก็ต้องเป็นลายเซ็นจริง ผู้เซ็นรับรองเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ถ้ารับรองแล้วส่งผ่านไลน์ ก็ใช้ไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน
เว้นแต่ “ผู้จ่ายเงิน” จะเป็นผู้ปริ้นท์สำเนาบัตรออกมาจากบัตรจริงหรือออกมาจากระบบออนไลน์ด้วยตนเอง
ถ้าปริ้นท์จากไลน์ได้ภาพที่ชัดเจน แล้วครูอาสาฯลงนามรับรองสำเนาหลังปริ้นท์ จากนั้นส่ง จนท.การเงินโดยตรง ก็ใช้ได้ ไม่ใช่ลงนามรับรองแล้วจึงส่งให้ จนท.การเงินผ่านไลน์
( ถ้าถ่ายด้วยมือถือปกติจะไม่ชัดเจนพอ ถ้าสแกนหรือถ่ายด้วยแอพฯสำหรับถ่ายเอกสาร จะได้ภาพที่ชัดเจนพอ )
3) ในส่วนของหน้าบัญชีธนาคาร ก็เช่นเดียวกับบัตร แม้เป็นเพียงเอกสารที่ช่วยให้โอนเงินไม่ผิดคนไม่ผิดบัญชี ก็ต้องมีลายมือชื่อผู้รับรองที่เป็นลายเซ็นจริง อาจอนุโลมให้ครูอาสาฯลงลายมือชื่อรับรองและรับผิดชอบให้ได้ แต่ถ้าเซ็นรับรองแล้วจึงส่งต่อทางไลน์อีก ต้นฉบับที่ใช้ในการส่งไลน์ก็อาจจะไม่ใช่ลายเซ็นจริงด้วยก็ได้ เจ้าของลายเซ็นอาจอ้างว่าตนไม่ได้เซ็นก็ได้
ถ้าเกิดปัญหาจ่ายเงินผิดตัว โดยถ้าหลักฐานการยืนยันตัวตนใช้ในศาลหรือใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ ผู้รับรอง ผู้จ่ายเงินและหน่วยจ่ายเงิน ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
หลักฐานสำคัญการยืนยันตัวตนในการรับเงินของ “บุคคลภายนอก” คือ ลายมือชื่อผู้รับเงินประกอบกับบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนหน้าบัญชีธนาคารเป็นเอกสารที่ช่วยให้โอนเงินไม่ผิดคนไม่ผิดบัญชี
1) ในใบสำคัญรับเงิน ผู้รับเงิน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้รับเงินโดยมีหลักฐานการมอบอำนาจ จะต้องลงลายมือชื่อรับเงิน ด้วยตนเองจริง คือใน “เอกสารที่หน่วยผู้จ่ายเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน ต้องเป็นลายเซ็นจริง”
การเซ็นจริงแล้วส่งผ่านไลน์ เอกสารที่ปริ้นท์ต่อจากไลน์ก็จะเหมือนถ่ายเอกสาร ไม่ใช่ลายเซ็นจริง จึงใช้ไม่ได้
2) ส่วนบัตรประชาชน ใช้ประกอบว่าผู้ที่ลงนามรับเงินนั้น คือตัวจริง ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายไม่ให้เรียก “สำเนา” บัตรฯจากประชาชน โดยหน่วยงานมหาดไทยและเครือข่ายจะเรียกบัตรฯได้จากระบบออนไลน์ของมหาดไทย แต่สถานศึกษาของเราไม่ได้เชื่อมโยงระบบออนไลน์นี้โดยตรง ต้องใช้เครื่องอ่านบัตร ซึ่งแม้ผู้รับเงินไม่ต้องถ่ายสำเนาบัตรฯมาให้แต่ก็ต้องนำบัตรฯจริงมาให้เราอ่านด้วยเครื่องอ่านบัตร
ถ้าครูอาสาฯได้ตรวจบัตรฯฉบับจริง แล้วลงลายมือชื่อรับรองสำเนาบัตร ก็อาจอนุโลมได้ ( ผู้รับรองคือเจ้าตัว หรือเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการ ) แต่ลายเซ็นรับรองสำเนาบัตรนั้นก็ต้องเป็นลายเซ็นจริง ผู้เซ็นรับรองเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ถ้ารับรองแล้วส่งผ่านไลน์ ก็ใช้ไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน
เว้นแต่ “ผู้จ่ายเงิน” จะเป็นผู้ปริ้นท์สำเนาบัตรออกมาจากบัตรจริงหรือออกมาจากระบบออนไลน์ด้วยตนเอง
ถ้าปริ้นท์จากไลน์ได้ภาพที่ชัดเจน แล้วครูอาสาฯลงนามรับรองสำเนาหลังปริ้นท์ จากนั้นส่ง จนท.การเงินโดยตรง ก็ใช้ได้ ไม่ใช่ลงนามรับรองแล้วจึงส่งให้ จนท.การเงินผ่านไลน์
( ถ้าถ่ายด้วยมือถือปกติจะไม่ชัดเจนพอ ถ้าสแกนหรือถ่ายด้วยแอพฯสำหรับถ่ายเอกสาร จะได้ภาพที่ชัดเจนพอ )
3) ในส่วนของหน้าบัญชีธนาคาร ก็เช่นเดียวกับบัตร แม้เป็นเพียงเอกสารที่ช่วยให้โอนเงินไม่ผิดคนไม่ผิดบัญชี ก็ต้องมีลายมือชื่อผู้รับรองที่เป็นลายเซ็นจริง อาจอนุโลมให้ครูอาสาฯลงลายมือชื่อรับรองและรับผิดชอบให้ได้ แต่ถ้าเซ็นรับรองแล้วจึงส่งต่อทางไลน์อีก ต้นฉบับที่ใช้ในการส่งไลน์ก็อาจจะไม่ใช่ลายเซ็นจริงด้วยก็ได้ เจ้าของลายเซ็นอาจอ้างว่าตนไม่ได้เซ็นก็ได้
ถ้าเกิดปัญหาจ่ายเงินผิดตัว โดยถ้าหลักฐานการยืนยันตัวตนใช้ในศาลหรือใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ ผู้รับรอง ผู้จ่ายเงินและหน่วยจ่ายเงิน ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ถ้าต้องการเอกสารอ้างอิงที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติ
คงต้องทำหนังสือหารือให้สำนักงาน กศน.ส่วนกลางตอบเป็นลายลักษณ์อักษร
2. คืนวันที่ 28 ส.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า อยากปรึกษา ครับ คือผม เรียน กศน อยู่ จังหวัดเชียงราย ผม สอบมาทั้ง หมด 4 รอบ ครับ พลาดสอบ N-NET ในปีที่แล้วครับ และ ปีนี้ ผมว่าจะสอบเอ็กแซม แต่ไม่มีชื่อใน ระบบ ผมต้องทำยังไง ครับ คือ ผมพลาดสอบ เทอม ที่ 2 ด้วย ครับ แต่ก็ได้สอบซ่อมไปแล้วในเทอมที่ 5 ครับ
2. คืนวันที่ 28 ส.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า อยากปรึกษา ครับ คือผม เรียน กศน อยู่ จังหวัดเชียงราย ผม สอบมาทั้ง หมด 4 รอบ ครับ พลาดสอบ N-NET ในปีที่แล้วครับ และ ปีนี้ ผมว่าจะสอบเอ็กแซม แต่ไม่มีชื่อใน ระบบ ผมต้องทำยังไง ครับ คือ ผมพลาดสอบ เทอม ที่ 2 ด้วย ครับ แต่ก็ได้สอบซ่อมไปแล้วในเทอมที่ 5 ครับ
ผมตอบว่า ยังมีความเข้าใจผิดอย่างน้อย 2 เรื่องนะ
1) การสอบซ่อมของ กศน. ต้องทำปลายภาคเรียนนั้นๆ ไม่ใช่เรียนเทอม 2 แต่ข้ามไปสอบซ่อมเทอม 5
เข้าใจว่าในเทอม 5 เขาให้คุณเรียนวิชาที่เรียนในเทอม 2 ใหม่ เป็นการ “เรียนใหม่” ไม่ใช่ “สอบซ่อม” แต่คุณคงไม่ได้ไปพบกลุ่มในเทอม 5 เลย ไปสอบอย่างเดียว คุณจึงเข้าใจว่าเป็นการสอบซ่อม ( ใบลงทะเบียนที่ นศ.ต้อง ลงชื่อด้วยตนเอง ก็คงไม่ได้อ่านว่าเป็นใบลงทะเบียนเรียนหรือลงทะเบียนสอบซ่อม หรือครูลงชื่อแทนให้ซึ่งผิด อันเป็นเหตุหนึ่งของ นศ.ผี )
2) เนื่องจากมีการไม่เข้าสอบ N-NET แต่คอยสอบ E-Exam แทน จำนวนมาก จนห้องสอบ E-Exam รับไม่ไหว ส่วนกลาง กศน.จึงกำหนดขั้นตอนการจะขอลงทะเบียนสอบ E-Exam เพิ่ม แต่ครูและ กศน.อำเภอ/เขต หลายแห่งยังไม่เข้าใจ ไม่ดำเนินการตามขั้นตอน พอถึงเวลาก็ลงทะเบียนสอบ E-Exam ให้ไม่ได้
ขอแนะนำให้คุณไปติดต่อครูและ กศน.อำเภอที่คุณเรียน ขอร้องให้ช่วยศึกษาและดำเนินการให้คุณได้เข้าสอบ อย่างรอบคอบ เพราะถ้าไม่รอบคอบ การดำเนินการไม่ครบขั้นตอน ก็อาจจะแก้ปัญหาไม่ทัน ต้องคอยไปเทอมต่อไปอีก โดยคุณควรให้เวลาติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะรู้กำหนดวันสอบ
3. วันที่ 27 ส.ค.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ก ว่า ทำไมยอดเสียชีวิตถึงมาตรฐานทุกเดือน ห้าร้อย หกร้อย ทุกเดือน แต่เวลาขอตำแหน่งบรรจุครูทำไมน้อยจังเลย
1) การสอบซ่อมของ กศน. ต้องทำปลายภาคเรียนนั้นๆ ไม่ใช่เรียนเทอม 2 แต่ข้ามไปสอบซ่อมเทอม 5
เข้าใจว่าในเทอม 5 เขาให้คุณเรียนวิชาที่เรียนในเทอม 2 ใหม่ เป็นการ “เรียนใหม่” ไม่ใช่ “สอบซ่อม” แต่คุณคงไม่ได้ไปพบกลุ่มในเทอม 5 เลย ไปสอบอย่างเดียว คุณจึงเข้าใจว่าเป็นการสอบซ่อม ( ใบลงทะเบียนที่ นศ.ต้อง ลงชื่อด้วยตนเอง ก็คงไม่ได้อ่านว่าเป็นใบลงทะเบียนเรียนหรือลงทะเบียนสอบซ่อม หรือครูลงชื่อแทนให้ซึ่งผิด อันเป็นเหตุหนึ่งของ นศ.ผี )
2) เนื่องจากมีการไม่เข้าสอบ N-NET แต่คอยสอบ E-Exam แทน จำนวนมาก จนห้องสอบ E-Exam รับไม่ไหว ส่วนกลาง กศน.จึงกำหนดขั้นตอนการจะขอลงทะเบียนสอบ E-Exam เพิ่ม แต่ครูและ กศน.อำเภอ/เขต หลายแห่งยังไม่เข้าใจ ไม่ดำเนินการตามขั้นตอน พอถึงเวลาก็ลงทะเบียนสอบ E-Exam ให้ไม่ได้
ขอแนะนำให้คุณไปติดต่อครูและ กศน.อำเภอที่คุณเรียน ขอร้องให้ช่วยศึกษาและดำเนินการให้คุณได้เข้าสอบ อย่างรอบคอบ เพราะถ้าไม่รอบคอบ การดำเนินการไม่ครบขั้นตอน ก็อาจจะแก้ปัญหาไม่ทัน ต้องคอยไปเทอมต่อไปอีก โดยคุณควรให้เวลาติดตามสอบถามความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะรู้กำหนดวันสอบ
3. วันที่ 27 ส.ค.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ก ว่า ทำไมยอดเสียชีวิตถึงมาตรฐานทุกเดือน ห้าร้อย หกร้อย ทุกเดือน แต่เวลาขอตำแหน่งบรรจุครูทำไมน้อยจังเลย
ผมตอบว่า ถ้าสมาชิก
ช.พ.ค.เสียชีวิตเป็นผู้เกษียณไปก่อนแล้ว ก็จะไม่มีผลต่ออัตราบรรจุครูใหม่
เพราะคืนอัตราไปตั้งแต่ตอนเกษียณแล้ว
จำนวนผู้เสียชีวิตนี้รวมทุกสังกัดนะ ส่วนใหญ่สังกัด สพฐ. ซึ่งแต่ละปี สพฐ.สอบบรจุครูใหม่ทั้งกรณีรับคนในสังกัดและกรณีรับคนทั่วไป จำนวนมากนะ ถ้าเอาผู้เสียชีวิต 700 คน คูณ 12 เดือน ปีนึงแค่ 8,400 คนเอง สพฐ.สอบบรรจุปีนึงเยอะ
( บางคนบอกว่า ข้องใจ ทำไมจำนวนผู้เสียชีวิตเท่ากันทุกเดือน ผมก็ไม่เห็นเท่ากันนะ
ชื่อ-สกุล-จังหวัด ผู้เสียชีวิต ก็ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
บางคนสมัครเป็นสมาชิก ชพค.เพื่อกู้เงิน พอกู้ได้เรียบร้อยก็มีปัญหานู่นนี่นั่น )
4. หลังจากผมโพสต์เรื่องสอบ E-Exam แทนการสอบ N-NET ไปแล้ว วันเดียวกัน 29 ส.ค.62 มี ผอ.กศน.อำเภอท่านหนึ่งเขียนถึงผมทางไลน์กลุ่มหนึ่ง ว่า ตอนนี้การสอบ E-exam เปลี่ยนไป..นศ.ที่ขาดสอบN-NETภาคเรียนนี้ก็ไม่สามารถลงทะเบียนสอบE-examได้เลย.. ต้องไปลงทะเบียนสอบอีกภาคเรียนนึง..
จำนวนผู้เสียชีวิตนี้รวมทุกสังกัดนะ ส่วนใหญ่สังกัด สพฐ. ซึ่งแต่ละปี สพฐ.สอบบรจุครูใหม่ทั้งกรณีรับคนในสังกัดและกรณีรับคนทั่วไป จำนวนมากนะ ถ้าเอาผู้เสียชีวิต 700 คน คูณ 12 เดือน ปีนึงแค่ 8,400 คนเอง สพฐ.สอบบรรจุปีนึงเยอะ
( บางคนบอกว่า ข้องใจ ทำไมจำนวนผู้เสียชีวิตเท่ากันทุกเดือน ผมก็ไม่เห็นเท่ากันนะ
ชื่อ-สกุล-จังหวัด ผู้เสียชีวิต ก็ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
บางคนสมัครเป็นสมาชิก ชพค.เพื่อกู้เงิน พอกู้ได้เรียบร้อยก็มีปัญหานู่นนี่นั่น )
4. หลังจากผมโพสต์เรื่องสอบ E-Exam แทนการสอบ N-NET ไปแล้ว วันเดียวกัน 29 ส.ค.62 มี ผอ.กศน.อำเภอท่านหนึ่งเขียนถึงผมทางไลน์กลุ่มหนึ่ง ว่า ตอนนี้การสอบ E-exam เปลี่ยนไป..นศ.ที่ขาดสอบN-NETภาคเรียนนี้ก็ไม่สามารถลงทะเบียนสอบE-examได้เลย.. ต้องไปลงทะเบียนสอบอีกภาคเรียนนึง..
ผมตอบว่า เหรอครับ คงเป็นเพราะกำหนดวันลงทะเบียนสอบ E-Exam อยู่ใกล้กับวันสอบ N-Net และเห็นว่าต้องส่งเรื่องถึงส่วนกลางก่อนจึงจะลงทะเบียนสอบได้ด้วย
ทำให้ไม่ทัน ( หรืออาจจะแก้พวกที่จงใจไม่เข้าสอบ N-NET คอยสอบ
E-Exam )
ที่จริงกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ กำหนดวันกระชั้นชิดตามความจำเป็นของเขาฝ่ายเดียวมากไป
เช่นกำหนดวันแจ้งจำนวนข้อสอบที่ให้แจ้งโดยเร็วหลังลงทะเบียนเรียนเสร็จ แล้ว กศน.อำเภอ/เขตจะสำรวจผู้มีสิทธิสอบทันได้อย่างไร จะแจ้งตามจำนวนผู้สมัครเรียนทั้งหมดก็จะมีจำนวนผู้ขาดสอบมากในวันสอบปลายภาค เป็นปัญหาต่าง ๆ อีก เราจึงต้องใช้วิธีการประมาณคาดเดา
5. วันที่ 29 ส.ค.62 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์กลุ่มหนึ่ง ว่า มีสิทธิ์แต่งชุดนี้ ( ชุดสีกรมท่าติดตรา กศน.) ไปงานโน่นนั่นนี่ หลังเกษียณได้ไหม
ที่จริงกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ กำหนดวันกระชั้นชิดตามความจำเป็นของเขาฝ่ายเดียวมากไป
เช่นกำหนดวันแจ้งจำนวนข้อสอบที่ให้แจ้งโดยเร็วหลังลงทะเบียนเรียนเสร็จ แล้ว กศน.อำเภอ/เขตจะสำรวจผู้มีสิทธิสอบทันได้อย่างไร จะแจ้งตามจำนวนผู้สมัครเรียนทั้งหมดก็จะมีจำนวนผู้ขาดสอบมากในวันสอบปลายภาค เป็นปัญหาต่าง ๆ อีก เราจึงต้องใช้วิธีการประมาณคาดเดา
5. วันที่ 29 ส.ค.62 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์กลุ่มหนึ่ง ว่า มีสิทธิ์แต่งชุดนี้ ( ชุดสีกรมท่าติดตรา กศน.) ไปงานโน่นนั่นนี่ หลังเกษียณได้ไหม
ผมตอบว่า แต่งได้
- ถ้าว่ากันตามกฎหมายก็ไม่ผิดกฏหมาย เพราะเครื่องแบบนี้ไม่ได้ออกเป็นระเบียบกฎหมาย
ถ้าเป็นเครื่องแบบข้าราชการ จะมีระเบียบกฎหมายกำหนดให้ไม่เหมือนเดิม เปลี่ยนเล็กน้อย เกษียณแล้วติดเข็มสังกัด ( เสมาธรรมจักร ) เข็มเดียว
- ถ้าว่ากันทางสังคม เกษียณแล้วก็ยังเป็นเครือข่ายใกล้ชิดส่วนหนึ่งของ กศน. แต่งด้วยเจตนาทางบวก ( ภาคภูมิใจ-ศรัทธาใน กศน.) เป็นเรื่องดี
6. วันที่ 2 ก.ย.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า การออกหนังสือรับรองการจบหลักสูตร เป็นภาษาอังกฤษนะคะ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมไหมคะ
- ถ้าว่ากันตามกฎหมายก็ไม่ผิดกฏหมาย เพราะเครื่องแบบนี้ไม่ได้ออกเป็นระเบียบกฎหมาย
ถ้าเป็นเครื่องแบบข้าราชการ จะมีระเบียบกฎหมายกำหนดให้ไม่เหมือนเดิม เปลี่ยนเล็กน้อย เกษียณแล้วติดเข็มสังกัด ( เสมาธรรมจักร ) เข็มเดียว
- ถ้าว่ากันทางสังคม เกษียณแล้วก็ยังเป็นเครือข่ายใกล้ชิดส่วนหนึ่งของ กศน. แต่งด้วยเจตนาทางบวก ( ภาคภูมิใจ-ศรัทธาใน กศน.) เป็นเรื่องดี
6. วันที่ 2 ก.ย.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า การออกหนังสือรับรองการจบหลักสูตร เป็นภาษาอังกฤษนะคะ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมไหมคะ
ผมตอบว่า ไม่ต้องจ่าย (
ไม่มีระเบียบให้เก็บค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการจบหลักสูตร )
ผู้ถาม เขียนต่อ ว่า ขอบคุณอาจารย์คะ อ.คะ หนูอยากได้ระเบียบอัตราการจ่ายค่าธรรมเนียม การขอเอกสารการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หนูหาได้จากที่ไหนคะ
ผมตอบว่า ในคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง 55 ปกสีเลือดหมู หน้า 89 ระบุเรื่อง
“ค่าธรรมเนียมที่กระทรวงศึกษาธิการเรียกเก็บในเรื่องการออกหลักฐานการศึกษา
- การออกหลักฐานแสดงผลการเรียน ชุดที่ 2
- การแปลหลักฐานแสดงผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ( คนละอย่างกับหนังสือรับรองการจบหลักสูตร ภาษาอังกฤษ )
- การออกใบแทนประกาศนียบัตร
- การขอรับใบประกาศนียบัตรพ้นกำหนด 10 ปี
สำหรับอัตราการเรียกเก็บให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง”
ผู้ถาม เขียนต่อ ว่า ขอบคุณอาจารย์คะ อ.คะ หนูอยากได้ระเบียบอัตราการจ่ายค่าธรรมเนียม การขอเอกสารการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หนูหาได้จากที่ไหนคะ
ผมตอบว่า ในคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง 55 ปกสีเลือดหมู หน้า 89 ระบุเรื่อง
“ค่าธรรมเนียมที่กระทรวงศึกษาธิการเรียกเก็บในเรื่องการออกหลักฐานการศึกษา
- การออกหลักฐานแสดงผลการเรียน ชุดที่ 2
- การแปลหลักฐานแสดงผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ( คนละอย่างกับหนังสือรับรองการจบหลักสูตร ภาษาอังกฤษ )
- การออกใบแทนประกาศนียบัตร
- การขอรับใบประกาศนียบัตรพ้นกำหนด 10 ปี
สำหรับอัตราการเรียกเก็บให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง”
แต่ ก็ไม่เห็นมีอัตราการเรียกเก็บที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง
ออกมา
เห็นแต่ในคู่มือหลักสูตร กศน.44 มั้ง ระบุว่า "การออกหลักฐานแสดงผลการเรียน ( Transcript ) ชุดแรกไม่เรียกเก็บ ชุดต่อไปเก็บฉบับละ 20 บาท"
( หลักฐานแสดงผลการเรียนของเราคือ ใบ รบ. คนละอย่างกับ หนังสือรับรองการจบหลักสูตร )
ทั้งนี้ เมื่อเดือน เม.ย.2556 อ.เบญจวรรณ กลุ่มพัฒนา กศน. บอกว่า ยังใช้อัตรา 20 บาทอยู่
ดูข้อมูลอื่นในคำตอบเดิมของผมในข้อ 4 ที่
https://www.gotoknow.org/posts/534315
ถ้าเป็น "หนังสือรับรองการจบหลักสูตร” ( หนังสือนี้มีแต่ภาษาอังกฤษ ) ไม่มีระเบียบให้เก็บค่าธรรมเนียม
ถ้าเป็นใบ รบ. ออกครั้งแรกไม่เก็บ ไม่ว่าจะภาษาอะไร หลักสูตรไหน ถ้าสูญหายขอใหม่เก็บ 20 บาท ( ถ้าไม่มีหลักฐาน ต้องใช้วิธีสืบสอบแทน เก็บ 100 บาท )
7. คืนวันที่ 9 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า พนักงานราชการ ของ กศน จะขอพระราชฐานเพลิงศพให้พ่อแม่ได้ไหมค่ะ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง
เห็นแต่ในคู่มือหลักสูตร กศน.44 มั้ง ระบุว่า "การออกหลักฐานแสดงผลการเรียน ( Transcript ) ชุดแรกไม่เรียกเก็บ ชุดต่อไปเก็บฉบับละ 20 บาท"
( หลักฐานแสดงผลการเรียนของเราคือ ใบ รบ. คนละอย่างกับ หนังสือรับรองการจบหลักสูตร )
ทั้งนี้ เมื่อเดือน เม.ย.2556 อ.เบญจวรรณ กลุ่มพัฒนา กศน. บอกว่า ยังใช้อัตรา 20 บาทอยู่
ดูข้อมูลอื่นในคำตอบเดิมของผมในข้อ 4 ที่
https://www.gotoknow.org/posts/534315
ถ้าเป็น "หนังสือรับรองการจบหลักสูตร” ( หนังสือนี้มีแต่ภาษาอังกฤษ ) ไม่มีระเบียบให้เก็บค่าธรรมเนียม
ถ้าเป็นใบ รบ. ออกครั้งแรกไม่เก็บ ไม่ว่าจะภาษาอะไร หลักสูตรไหน ถ้าสูญหายขอใหม่เก็บ 20 บาท ( ถ้าไม่มีหลักฐาน ต้องใช้วิธีสืบสอบแทน เก็บ 100 บาท )
7. คืนวันที่ 9 ก.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า พนักงานราชการ ของ กศน จะขอพระราชฐานเพลิงศพให้พ่อแม่ได้ไหมค่ะ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง
ผมตอบว่า การขอพระราชทานเพลิงศพบิดามารดา ต้องเข้า
“หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ” ข้อ 7-10 ( ดูหลักเกณฑ์ในภาพประกอบโพสต์นี้
) ซึ่งพนักงานราชการจะไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อ 7-10 นี้ ( ในข้อ 8 เรื่องเครื่องราชฯ
พนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ขอพระราชทานเครื่องราชฯได้ถึง ต.ม. ไม่ถึง
ต.ช.)
พนักงานราชการจึงขอพระราชทานเพลิงศพบิดามารดาไม่ได้
เว้นแต่ บิดามารดาที่เสียชีวิตนั้น จะมีคุณสมบัติของตัวเองตาม “หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ” ข้อ 1-12 หรือ “หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ” ข้อ 1-6
( ดูรายละเอียดที่ http://bit.ly/2kqrzad)
พนักงานราชการจึงขอพระราชทานเพลิงศพบิดามารดาไม่ได้
เว้นแต่ บิดามารดาที่เสียชีวิตนั้น จะมีคุณสมบัติของตัวเองตาม “หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ” ข้อ 1-12 หรือ “หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ” ข้อ 1-6
( ดูรายละเอียดที่ http://bit.ly/2kqrzad)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย