วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563

1.ตัวอย่างคำสั่งต่างๆในการบริหารงานพนักงานราชการ, 2.ให้ตรวจสอบลายนิ้วมือและใบวุฒิของพนักงานราชการ+ลูกจ้างประจำทุกคน, 3.วิชาเลือกที่ กศน.อำเภอพัฒนาขึ้น เป็นวิชาเลือกบังคับได้หรือไม่, 4.กศน.ตำบล ชื่อเต็มว่าอย่างไร, 5.การทำชำนาญการ/พิเศษ สายงานจัดการงานทั่วไป/สายงานวิชาการศึกษา, 6.ผอ.กับนายทะเบียน คนเดียวกันได้ไหม-รักษาการ ผอ.ตั้งนายทะเบียนได้ไหม, 7.อบรมพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ เบิกได้ไหม


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. ตัวอย่างคำสั่งต่าง ๆ ในการบริหารงานพนักงานราชการ

             เป็นตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากหลายจังหวัด ขอให้นำไปปรับใช้ โดยยึดคำสั่งมอบอำนาจของหน่วยงานเป็นหลัก คือถ้าเป็นสถานศึกษาขึ้นตรง คำสั่งมอบอำนาจจะต่างจากจังหวัด เป็นต้น
             ขอให้เซฟไฟล์ตัวอย่างต่าง ๆ นี้เก็บรวมไว้ในไฟล์พนักงานราชการ เพื่อคนที่เข้ามาทำต่อจากเราจะใด้ใช้งานและแบบฟอร์มไปในทิศทางเดียวกัน
             ดาวน์โหลดตัวอย่างคำสั่งต่าง ๆ ได้ที่
             http://bit.ly/2Zc1E5N
             ที่มา : ณัฐพนธ์ กจ.กศน.

         2. ไม่ใช่ตรวจสอบวุฒิ เฉพาะใบวุฒินักศึกษานะ
             ให้ตรวจสอบใบวุฒิ+ตรวจสอบประวัติและพฤติกรรม(ตรวจสอบลายนิ้วมือ) ของพนักงานราชการและลูกจ้างประจำทุกคน ! ตามรายละเอียดในหนังสือที่แจ้งทุกจังหวัดแล้ว
             - การตรวจสอบวุฒิการศึกษา ให้ผู้ที่ได้รับการจัดจ้างเดิมกรอกให้ครบทุกคน ( พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานอยู่และจะหมดสัญญาจ้างรอบที่ 4 ในวันที่ 1 ต.ค.63 ค่อยกรอกตอนต่อสัญญาจ้างใหม่ )
                โดยหนังสือตรวจสอบวุฒิฯ ให้ส่งทางไปรษณีย์ ไปที่สถานศึกษาที่ระบุในใบวุฒิ
             - การตรวจสอบประวัติและพฤติกรรม( ตรวจสอบลายนิ้วมือ ) ให้ผู้ได้รับการจัดจ้างถือไปที่สถานีตำรวจใกล้เคียง เพราะต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย เมื่อเรื่องเสร็จทางสถานีตำรวจจะส่งเอกสารยืนยันกลับมาที่สำนักงาน กศน.จังหวัดตามที่อยู่ที่แจ้ง
             ที่มา : ณัฐพนธ์ กจ.กศน.

         3. วันที่ 20 ธ.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  วิชาเลือกที่ กศน.อำเภอ พัฒนา ขึ้น เป็นวิชาเลือกบังคับได้หรือไม่ หากสถานศึกษาได้กำหนดไว้ ในหลักสูตรสถานศึกษา ว่านักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชา...
ปัญหาที่ฉันพบ คือ นักศึกษาทหาร ลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกบัง แค่ 1 วิชา 3 หน่วย แต่มีเทียบโอนผลการเรียน จึงทำให้มีหน่วยกิตในหมวดวิชาครบ อยากทราบว่านักศึกษาคนนี้จะจบหลักสูตรได้หรือไม่

             ผมตอบว่า   วิชาเลือกที่ กศน.อำเภอพัฒนาขึ้น ถือเป็นวิชาเลือกเสรี ถ้าสถานศึกษาคิดว่าวิชานั้นเป็นวิชาที่นักศึกษาทุกคนในอำเภอนั้นควรต้องเรียน ก็อาจกำหนดให้นักศึกษาทุกคนเรียนได้ แต่จะถึงกับบังคับกำหนดให้เป็นเกณฑ์การจบหลักสูตรไม่ได้ และจะกระทบกับวิชาเลือกบังคับของส่วนกลางไม่ได้ คือนักศึกษารหัส 591..... เป็นต้นมา ทุกคนยังต้องเรียน “วิชาเลือกบังคับของส่วนกลาง” อย่างน้อย 2 วิชา จึงจะจบหลักสูตร
             เว้นแต่กรณีมีการเทียบโอนแล้วเหลือหน่วยกิตวิชาเลือกที่ต้องเรียนเพิ่มอีกไม่ถึง 6 หน่วยกิต ( ม.ต้น-ปลาย ) ก็จบได้โดยไม่ต้องเรียนวิชาเลือกบังคับก็ได้
             ถ้าเทียบโอนได้ไม่หมดโดยยังเหลือหน่วยกิตวิชาเลือกที่ต้องเรียนเพิ่มอีก 6 หน่วยกิตขึ้นไปก็ต้องเรียนวิชาเลือกบังคับของส่วนกลาง 2 วิชาขึ้นไปจึงจะจบ
             ทั้งนี้ โปรแกรม ITw จะเช็คให้เองโดยอัตโนมัติว่าจบได้หรือไม่

         4. เย็นวันที่ 23 ธ.ค.62 ผมดีใจที่ท่านผู้ใหญ่ระดับสูงที่ผมนับถือ โทร.ไลน์มาหา (ท่านเคยปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กศน. เกษียณปี 2556 ตอนหลังเห็นชื่อท่านในตำแหน่งต่างๆเช่นกรรมการ สมศ. ผมเคยร่วมไปดูงานการปฏิรูประบบราชการที่สิงคโปร์โดยท่านเป็นผู้นำคณะตั้งแต่ปี 2539 โน่น)
             ท่านโทร.มาเรื่องอื่นแต่ท่านก็ชมที่ผมตอบคำถามต่างๆของคน กศน.
             เรื่องที่ท่านโทร.มาคือ ท่านตรวจปริญญานิพนธ์ของลูกศิษย์ระดับปริญญาเอกแล้วท่านสงสัยว่า คำว่า กศน.ตำบล มีชื่อเต็มว่าอย่างไร

             ผมตอบว่า   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ.2553 ข้อ 3 กำหนดชื่อเต็มของ กศน.ตำบลหรือแขวง ว่า "ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง”

         5. เงื่อนไข-ขอบเขต-มาตรฐาน การทำชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ ของข้าราชการ 38 ค.(2) สังกัด สนง.กศน.จ./กทม. สายงานจัดการงานทั่วไปและสายงานวิชาการศึกษา

             ดาวน์โหลดได้ที่  http://bit.ly/2ub5Nf0

         6. เช้าวันเสาร์ที่ 11 ม.ค.63 Jatuporn Thaharnthai ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  ผอ.กับนายทะเบียนคนเดียวกันได้รึเปล่าคะ

             ผมตอบว่า
             - สถานศึกษา กศน.ใช่ไหม
             - จะแต่งตั้งนายทะเบียนหรือจะทำอะไร
             กรุณาถามให้ชัดเจนจะได้ไม่เสียเวลาตอบยาว
             ปกติ จะแต่งตั้ง ผอ.เป็นนายทะเบียนไม่ได้
             แต่กรณีแต่งตั้งนายทะเบียนไว้แล้ว มีช่วงที่ไม่มี ผอ. ถ้าจังหวัดแต่งตั้งให้นายทะบียนรักษาการในตำแหน่ง ผอ.ด้วย ช่วงที่รักษาการฯนี้ นายทะเบียนก็เป็นคนเดียวกับ ผอ. คนเดียวลงนามได้ทั้ง 2 แห่ง
             ดูคุณสมบัติของผู้จะเป็นนายทะเบียนได้จากคำสั่งที่ 856/51 ตามภาพประกอบโพสต์นี้
             แต่การออกคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียนเป็นอำนาจตามหลักสูตรของหัวหน้าสถานศึกษาโดยตรง ไม่ใช่อำนาจของส่วนกลางจึงไม่มีคำสั่งมอบอำนาจ ให้อ้างคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 104/2553 ข้อ 4
             ( คำสั่งนี้มีอยู่ในหน้า 156 ของหนังสือคู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555 ปกสีเลือดหมูที่ส่งให้ทุกอำเภอต้นเดือน ธ.ค.55
             และในคู่มือการดำเนินงานฯเล่มสีเหลืองอ่อน ในชุดเอกสาร 9 เล่ม ที่แจกครูทุกคนตอนอบรมหลักสูตรใหม่ก็มีคำสั่งนี้อยู่ในหน้า 153
             ถ้าจะดูเรื่องงานทะเบียนนักศึกษา ให้ดูในบทที่ 5 ของหนังสือทั้งสองเล่มนี้ )

             ผู้ถาม ถามต่อ ว่า  ผอ.ย้ายไปอยู่ที่อื่น..จังหวัดจึงแต่งตั้งให้นายทะเบียนรักษาการแทน รักษาการสามารถเป็นนายทะเบียนได้อีกหรือเปล่า..และถ้าไม่อยากเป็น..รักษาการสามารถแต่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานขั้นพื้นฐาน เป็นได้หรือไม่.
             ผมตอบว่า  รักษาการเป็นนายทะเบียนได้
             ปกติรักษาการฯจะมีอำนาจเต็มในตำแหน่งที่รักษาการ เพียงแต่โดยมารยาทถ้ารักษาการไม่นานมักจะไม่ลงนามเรื่องสำคัญเช่นเรื่องเงิน เรื่องบุคลากร(การแต่งตั้งนายทะเบียนเป็นการลงนามเรื่องบุคลากร) ถ้ารักษาการนานก็สามารถแต่งตั้งผู้อื่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่นเป็นข้าราชการ ให้เป็นนายทะเบียนได้





         7. เย็นวันที่ 10 ม.ค.63 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  การอบรมเพื่อขอวิทยฐานะ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ไหม

             ผมตอบว่า   เบิกได้
             ( ปกติจะให้เบิกค่าพาหนะค่าที่พักและค่าเบี้ยเลี้ยงส่วนต่างจากต้นสังกัด ส่วนค่าอาหารกลางวันค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างการพัฒนาให้เบิกจากโครงการ )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย