สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. เช้าวันเสาร์ที่ 20 มี.ค.64 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก
ว่า ผู้หญิงเข้ารับเครื่องราชชั้นสายสะพาย
ในพิธีต้องสวมหมวกไหม..พอดีเพื่อนจะเข้ารับ..ค้นหาไม่เจอ..
หาเจอแล้ว.ไม่ต้องสวมหมวก..ถูกต้องไหม
ผมตอบว่า ใช้ระเบียบการแต่งเครื่องแบบฯ คือ
ถ้าพิธีภายในอาคารไม่ต้องสวมหมวก พิธีภายนอกอาคารสวมหมวก (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง)
ซึ่งพิธีรับเครื่องราชฯจะจัดภายในอาคาร
จึงไม่ต้องสวมหมวก ( ตัวอย่างตามขั้นตอนปฏิบัติในการเข้าเฝ้ารับพระราชทานเครื่องราชฯ
ในภาพประกอบ )
อนึ่ง
ในกำหนดการพิธีต่าง ๆ จะระบุไว้ว่าให้สวมหมวกหรือไม่ เช่นระบุว่า "การแต่งกาย
เครื่องแบบปกติขาวสวมหมวก" ถ้ากำหนดการระบุว่า "การแต่งกาย
เครื่องแบบปกติขาว" จะหมายถึงไม่ต้องสวมหมวก ( ตัวอย่างตามภาพประกอบ )
2. คืนวันจักรี 6 เม.ย.64 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ตำแหน่งพนักงานราชการครู กศน.ตำบล สามารถทำเรื่อฃขอยกเว้นการเกณฑ์ทหารได้ไหม เหมือนครูในระบบที่ครูอัตราจ้างก้อสามารถทำได้
ผมตอบว่า ใช้ระเบียบฉบับเดียวกัน
( ใช้คำว่า
“ยกเว้น” ถูกแล้ว ครู=ยกเว้น นักเรียน=ผ่อนผัน )
ครูที่จะขอยกเว้นการเข้ารับราชการทหารได้
จะต้องเป็น “ครูประจำ” ( ครูอัตราจ้างก็ขอยกเว้นได้ถ้าเป็นครูประจำ )
ที่มีคุณสมบัติดังนี้
- ทำการสอนนักเรียนนิสิตนักศึกษา
ไม่น้อยกว่า 15 คน ( ถ้าห้องใดมีนักเรียน 15-29 คน แต่มีครูมากกว่า 1 คน
ขอยกเว้นให้ครูได้เพียง 1 คน ) และ
-
สอนระดับมัธยมศึกษาลงมาสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง หรือ
สอนระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง
ทั้งนี้
ครูที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องไปตรวจเลือกทหาร ( เกณฑ์ทหาร )
โดยปกติสถานศึกษา
กศน.ต้องส่งเรื่องถึง สนง.กศน.จังหวัด/กทม. ภายในเดือน ธ.ค.
ซึ่งครูต้องยื่นคำร้องถึงสถานศึกษา ดังนี้
1) ใบสำคัญ ( แบบ สด.9 )
2) หมายเรียก ( แบบ สด.35 )
3) บัตรประจำตัวประชาชน
4) สำเนาทะเบียนบ้าน
5) คำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู
6) ตารางสอน
ดาวน์โหลดตัวอย่างแบบฟอร์มขอยกเว้นฯได้ที่ http://www.spm18.go.th/2017/datas/file/1547092312.pdf
ปกติจะยกเว้นไปจนพ้นจากฐานะ
( หมดคุณสมบัติ ) หรืออายุ 30 ปี ( อายุ 30 ปลดจากทหารกองเกินเป็นทหารกองหนุนชั้นที่
2 ไม่ต้องเกณฑ์ทหารแล้ว ) ถ้าหมดคุณสมบัติก่อนอายุ 30 ปี เช่น
พ้นจากการเป็นครูประจำ นักเรียนไม่ครบ 15 คน ชั่วโมงสอนไม่ครบสัปดาห์ละ 18 ชม.
ผู้ได้รับการยกเว้นต้องแจ้งนายอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร ตามมาตรา 15
แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.รับราชการทหาร (ฉบับที่ 4) ภายใน 30 วัน
นับจากวันพ้นจากฐานะ ถ้าไม่แจ้งจะมีโทษตามมาตรา 43 (
ตอนหลังรู้สึกว่าเขาจะให้สถานศึกษาแจ้งอีกส่วนหนึ่งด้วย )
3. วันสงกรานสต์ 13 เม.ย.64
มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า
ครูบรรจุใหม่กู้สร้างบ้านอีกอำเภอ..แล้วยื่นย้ายไปอยู่ทีหลัง..จะเบิกค่าเช่าบ้านเพื่อส่งธนาคารได้หรือเปล่า
ผมตอบว่า ถ้าได้ย้ายตามคำร้องขอของตนเองเบิกไม่ได้
ถ้าไม่ต้องห้ามตามเงื่อนไข 3 ข้อ จะเบิกได้..
กรณีการทำสัญญากู้เงินจากธนาคารเพื่อนำมาซื้อบ้านหรือจ้างปลูกสร้างบ้านก่อนที่จะย้ายไปรับราชการในท้องที่นั้น
ต่อมาภายหลังหาก “ได้รับคำสั่งย้ายไปสำนักงานต่างท้องที่” ให้ไปประจำในท้องที่ที่มีบ้านที่ได้กู้เงินธนาคารมาซื้อหรือสร้างบ้าน
แม้จะซื้อหรือสร้างก่อนมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
บ้านหลังดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิแต่ยังมีหนี้ค้างชำระ จึงไม่ต้องห้ามตาม ม.7
(2) และถ้าไม่ต้องห้ามตามเงื่อนไขอื่น ๆ อีก 3
ข้อคือ
1) ราชการจัดที่พักอาศัยให้
2) มีบ้านอื่นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสโดยไม่มีค้างชำระในท้องที่
3) ได้ย้ายตามคำร้องขอของตนเอง
ย่อมเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งสามารถนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านหลังดังกล่าวมาใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
4. เช้าวันที่ 3 พ.ค.64 (
วันหยุดชดเชยวันแรงงานของผู้ใช้แรงงาน ) มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า เครื่องราชฯ ที่เราได้รับ
พอเวลาวันที่เราเกษียนอายุราชการแล้วเราต้องคืน ใช่ไหมคะอาจารย์ หนูเคยได้ยิน
พวกคุณครูที่เขาเกษียนมาแล้ว เขาบอกค่ะ
ผมตอบว่า เหรียญตราเครื่องราชฯที่ได้รับจัดสรรจากส่วนกลาง
( ไม่รวมถึงที่จัดซื้อจัดหาเอง-ไม่รวมประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯ-ไม่รวมแพรแถบย่อ
) มีระเบียบการส่งคืน 4 ข้อ ตามภาพประกอบ ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีข้อที่ระบุว่า เกษียณ
คือเมื่อได้รับพระราชทานฯแล้ว ถ้าไม่เข้าข้อ 1-2 ก็ประดับไปได้ตลอดชีวิต
แต่หลายคนเมื่อเกษียณก็จะส่งคืนเลยเพื่อไม่เป็นภาระแก่ทายาทตามข้อ 3 เพราะทายาทที่รับมรดกต้องรับผิดชอบ
ถ้าไม่ส่งคืน ทายาทจะมีความผิดตามกฎหมาย ถ้าหาไม่พบต้องชดใช้ตามข้อ 4
ซึ่งราคาแพงมาก
การส่งคืน
ส่งคืนได้ 3 ที่
1) สนง.กศน.จังหวัด/กทม.
2) กบ.กศน.
3) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์)
ในบริเวณทำเนียบรัฐบาล
5. เย็นวันที่ 21 ก.ย.64 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ถ้าประเมินพนักงานราชการไตรมาศ 1-2 ได้ 62 คะแนน ไตรมาศ 3-4 ได้ 78 ระดับดี ยังจะได้ทำงานไหมคะ เพราะเขาบอกว่า ต้องเอาคะแนนไตรมาศ 1-2 มารวมกับคะแนน ไตรมาศ 3-4 แล้วเอามาหาร 2 ต้องอยู่ในระดับดี
ผมตอบว่า มี 2 เรื่อง คือ
1) ถ้าเป็นการประเมินในปีที่จะต่อสัญญาจ้าง ต้องผ่านครบทั้งสองข้อจึงจะต่อสัญญาจ้าง
คือ
- ได้
"คะแนน" ระดับ ดี (75 คะแนน)ขึ้นไป อย่างน้อย 1 ครั้ง
- "คะแนนเฉลี่ย"
ของ 2 ครั้ง ระดับ ดี (75 คะแนน)ขึ้นไป
2) ถ้าเป็นการประเมินในปีที่ไม่ได้จะหมดสัญญาจ้าง
ต้องผ่านแค่ข้อเดียวคือ ได้ "คะแนน" ระดับ ดี (75 คะแนน)ขึ้นไป อย่างน้อย
1 ครั้ง ก็ไม่เลิกจ้าง ไม่ดูคะแนนเฉลี่ย (คะแนนเฉลี่ยใช้พิจารณาจำนวนเงินเพิ่มค่าตอบแทน)
กรณีที่คุณแจ้ง ผ่านข้อ 1
ข้อเดียว คือได้ต่ำกว่า 75 คะแนน เพียงครั้งแรกครั้งเดียว ผ่านเกณฑ์ข้อ 1
ถ้าไม่ใช่ปีที่จะต่อสัญญาจ้างก็ยังจะได้ทำงานต่อ
แต่ถ้าเป็นปีที่จะต่อสัญญาจ้าง
ก็จะไม่ต่อสัญญาจ้าง เพราะ คะแนนเฉลี่ย 2 ครั้ง (62+78)/2=70 ต่ำกว่า 75
ไม่ผ่านเกณฑ์ข้อ 2 ผ่านเกณฑ์ข้อเดียว ไม่ต่อสัญญาจ้าง
6. วันที่ 31 ส.ค.64 มีบุคลากร สนง.กศน.จังหวัด โทร.มาถามผมถึงวิธีออกหลักฐานการศึกษากรณี นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 4 รับไปแล้วสูญหายมาขอใหม่
ผมตอบทางไลน์ ว่า
เรื่องนี้ผมเคยตอบใน
- ข้อ 4
ที่ https://www.gotoknow.org/posts/472755
- ข้อ 2
ที่ https://www.gotoknow.org/posts/535023
- https://www.gotoknow.org/posts/442192
ว่า
ถ้าแน่ใจว่าเขาจบจริง
หลักสูตรเก่า ๆ ก่อนหลักสูตร 2544 ให้ออกเป็นหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่ https://www.gotoknow.org/posts/442192
( คำว่า
“รหัสประจำวัน” แก้เป็น “รหัสประจำตัว” )
โดยสามารถ
ปรับส่วนที่เป็นผลการเรียน ให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรนั้น ๆ
(
เพื่อความแน่ใจว่าวิธีนี้ถูกต้อง ผมได้ถามเรื่องนี้ที่กลุ่มพัฒนา กศน.อีกครั้ง
เมื่อ ธ.ค.54 ได้รับคำตอบจาก คุณกรวรรณ ว่า ให้ออกเป็นหนังสือรับรองนี้อย่างเดียว
ใช้แทนใบ รบ. โดยถ้าไม่มีผลการเรียน ให้ดูโครงสร้างหลักสูตรนั้นว่าต้องเรียนวิชาใดบ้าง
ถ้าเรียนเหมือนกันทุกคนก็ใส่วิชาที่เรียนลงไปด้วย ถ้าผลการเรียนเป็น ผ่าน ก็ใส่ว่า
ผ่าน หรือไม่ต้องมีผลการเรียนก็ได้
และถ้าไม่สามารถทราบได้ว่าเรียนวิชาใดบ้างก็ไม่ต้องใส่ทั้งวิชาและผลการเรียน )
7. วันที่ 27 ก.ย.64 มีผู้ถามผมทางไลน์ เรื่องเงินบำเหน็จตกทอด และเงินช่วยพิเศษ ว่า ผู้มีคู่สมรส มีบุตร ต้องทำพินัยกรรมหรือไม่คะ
ผมตอบว่า
-
ถ้าเป็นบำเหน็จตกทอด จะจ่ายให้ทายาทโดยไม่ต้องทำเรื่องระบุ ถ้าไม่มีทายาทเหลือ
จึงจะจ่ายให้ผู้ที่ระบุไว้
- ถ้าเป็นเงินช่วยพิเศษกรณีเสียชีวิต
ถ้าระบุไว้ จะจ่ายให้ผู้ที่ระบุไว้ ไม่จ่ายให้ทายาท ถ้าไม่ระบุไว้
จึงจะจ่ายให้ทายาท
- กรณีในวันที่เราเสียชีวิต
ไม่เหลือทายาทด้วยและไม่ระบุไว้ด้วย เงินจะตกเป็นของแผ่นดินทั้ง 2 อย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย