สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1.พาะ) และออกเป็น 2 ภาษา คือ ไทยและอังกฤษหรือไม่
1.พาะ) และออกเป็น 2 ภาษา คือ ไทยและอังกฤษหรือไม่
ผมตอบว่า ใบ รบ. หลักสูตร EP เหมือนกันกับหลักสูตรปกติ
สามารถออกได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษเช่นเดียวกัน ( มีแนวคิดให้ประทับคำว่า “English
Program” ลงไปในใบ รบ. แต่ตอนนี้ยังไม่มีแนวปฏิบัติแจ้งออกมา )
2. ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียน ไม่เข้าใจและกังวล ให้ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ผมจึงเผยแพร่เรื่องกำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของข้าราชการครู กศน. ในเฟซบุ๊ค เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.57 ดังนี้
2. ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียน ไม่เข้าใจและกังวล ให้ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ผมจึงเผยแพร่เรื่องกำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของข้าราชการครู กศน. ในเฟซบุ๊ค เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.57 ดังนี้
ก.ค.ศ.
ได้กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของ ขรก.ครู กศน. ไว้เมื่อปี 2553 โดยกำหนดจำนวนชั่วโมง “ภาระงานสอน” ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )
แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดย 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )
แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดย 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
ซึ่ง แม้แต่ข้อ 1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสอนในห้องเรียนเท่านั้น
แต่หมายถึงการสอนทั้งหมดที่มีตารางกำหนดเวลา เช่น การสอน การฝึกอบรม การสาธิต
การเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การจัดนิทรรศการ การจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ การเผยแพร่ความรู้ การแนะแนว
การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/teachwork.pdf
3. เย็นวันที่ 6 มิ.ย.57 คุณ Mickeymouse FC ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ตามนโยบายที่ท่านเลขาสั่งห้ามทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ แต่อนามัยในตำบลทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรและวัสดุอุปกรณ์มาถึง กศน.ให้ไปสอนการทำน้ำยาล้างจานให้กับผู้สูงอายุในชุมชน .. สงสัยว่าถ้าเป็นแบบนี้ กศน.จะจัดให้บริการตามคำขอของหน่วยงานนั้นๆได้ไหม
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/teachwork.pdf
3. เย็นวันที่ 6 มิ.ย.57 คุณ Mickeymouse FC ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ตามนโยบายที่ท่านเลขาสั่งห้ามทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่างๆ แต่อนามัยในตำบลทำหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรและวัสดุอุปกรณ์มาถึง กศน.ให้ไปสอนการทำน้ำยาล้างจานให้กับผู้สูงอายุในชุมชน .. สงสัยว่าถ้าเป็นแบบนี้ กศน.จะจัดให้บริการตามคำขอของหน่วยงานนั้นๆได้ไหม
ผมตอบว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย.56 ท่านเลขานุการ กศน. มอบนโยบายปี 57 แก่ผู้บริหาร กศน. ที่หอประชุมประจักษ์วิทยาคม ศาลากลาง จ.หนองคาย หลายเรื่อง
เช่น .. “งบ ส.ส. ให้โทรหา ส.ส.ด่วน
ศูนย์อาชีพชุมชนให้สอนสายอาชีพร่วมกับอาชีวศึกษา เปิดสอนพวกช่างยนต์ ซ่อมคอมฯ ให้มีงานทำมีรายได้
ให้หยุดสอนวิชาต้องห้าม ( น้ำยาล้างจาน ยาสระผม ทำดอกไม้จันทน์ ยาดม ฯลฯ )”
ท่านหมายถึงศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้สอนวิชาชีพที่เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ ส่วนวิชาการทำน้ำยาพวกนี้ถ้ากลุ่มเป้าหมายต้องการจริง ๆ และ กศน.อำเภอจะจัดให้ ก็จัดในหลักสูตรอื่นที่ไม่ใช่การฝึกอาชีพชุมชน เช่น จัดเป็นทักษะชีวิต
4. คืนวันเสาร์ที่ 7 มิ.ย.57 คุณ เจ๊น้อง อิ๋ง อิ๋ง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นักศึกษาเทียบระดับสอบผ่านทั้ง 9 วิชา ต้องผ่านการเข้าอบรม ทำไมต้องออกค่าไช้จ่ายเองทั้งหมดซึ่งมันไม่น้อยเลย อย่างรอบที่ผ่านมาอบรมสามวันสองคืนออกค่าไช้จ่ายไป 2500 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทางนะ
ท่านหมายถึงศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้สอนวิชาชีพที่เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ ส่วนวิชาการทำน้ำยาพวกนี้ถ้ากลุ่มเป้าหมายต้องการจริง ๆ และ กศน.อำเภอจะจัดให้ ก็จัดในหลักสูตรอื่นที่ไม่ใช่การฝึกอาชีพชุมชน เช่น จัดเป็นทักษะชีวิต
4. คืนวันเสาร์ที่ 7 มิ.ย.57 คุณ เจ๊น้อง อิ๋ง อิ๋ง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นักศึกษาเทียบระดับสอบผ่านทั้ง 9 วิชา ต้องผ่านการเข้าอบรม ทำไมต้องออกค่าไช้จ่ายเองทั้งหมดซึ่งมันไม่น้อยเลย อย่างรอบที่ผ่านมาอบรมสามวันสองคืนออกค่าไช้จ่ายไป 2500 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทางนะ
ผมตอบว่า ที่จริงเขาให้สถานศึกษากับผู้ที่ผ่านทั้ง 9 วิชา
ตกลงร่วมกันว่าจะสัมมนาวิชาการเรื่องอะไรที่ไหนค่าใช้จ่ายเท่าไร
แล้วผู้จะเข้าสัมมนาทุกคนเฉลี่ยกันออก ถ้าเราเห็นว่ามากไปก็เสนอในช่วงที่ตกลงกัน
ถ้าจัดในโรงแรมก็แพงหน่อยเป็นธรรมดา
อาจลงมติตามเสียงส่วนใหญ่ (
ถ้าสถานศึกษากำหนดเองเลย ก็ไม่ค่อยเป็นไปตามหลักการ ) แต่ถ้าบางสถานศึกษามีผู้ผ่าน 9 วิชาจำนวนน้อย จัดสัมมนาวิชาการเองยิ่งจะสิ้นเปลืองมาก จะส่งไปรวมสัมมนากับสถานศึกษาอื่น
ก็ต้องเป็นไปตามที่สถานศึกษาอื่นนั้นเขากำหนดกัน
5. ดึกวันเดียวกัน ( 7 มิ.ย.) คุณ ช. เมืองใจ (น้อย) กศน.จ.นครราชสีมา ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า ขนาดของ กศน.ใช้เกณฑ์กำหนดอย่างไร ใช้ตำบลเป็นเกณฑ์หรือเปล่า แล้วจะหาเอกสารการกำหนดขนาดได้ที่ไหน
5. ดึกวันเดียวกัน ( 7 มิ.ย.) คุณ ช. เมืองใจ (น้อย) กศน.จ.นครราชสีมา ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า ขนาดของ กศน.ใช้เกณฑ์กำหนดอย่างไร ใช้ตำบลเป็นเกณฑ์หรือเปล่า แล้วจะหาเอกสารการกำหนดขนาดได้ที่ไหน
ผมตอบว่า หมายถึงขนาด กศน.จังหวัด, กศน.อำเภอ ที่กำหนดโดย
ก.ค.ศ.เพื่อเป็นกรอบโครงสร้างจำนวนบุคลากรใช่ไหม เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งไม่ได้ใช้จำนวนตำบล
จำนวนอำเภอ อย่างเดียว แต่ใช้ข้อมูลอื่น
เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ ด้วย โดยให้คะแนนแต่ละข้อมูลแล้วนำคะแนนมารวมกัน
จากนั้นแบ่งขนาดตามคะแนนรวมว่า ช่วงคะแนนรวมเท่าไรเป็นขนาดใด
สรุปออกมาเป็นเอกสาร ระบุแต่ละแห่งเลยว่า ที่ไหนเป็นขนาดไหน
ดูเรื่องการกำหนดขนาดนี้ได้ ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/03/40.html
( ถ้าหมายถึงขนาดที่กำหนดโดย สมศ. เพื่อการพิจารณาจำนวนกรรมการประเมิน จะแบ่งขนาดตามจำนวนตำบล แต่ตอนหลังไม่ว่าจะขนาดใดก็ใช้กรรมการประเมิน 3 คน )
6. วันอาทิตย์ที่ 8 มิ.ย.57 ผมเผยแพร่เรื่องคำย่อต่าง ๆ ของ กศน. ในเฟซบุ๊ค ว่า
สรุปออกมาเป็นเอกสาร ระบุแต่ละแห่งเลยว่า ที่ไหนเป็นขนาดไหน
ดูเรื่องการกำหนดขนาดนี้ได้ ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/03/40.html
( ถ้าหมายถึงขนาดที่กำหนดโดย สมศ. เพื่อการพิจารณาจำนวนกรรมการประเมิน จะแบ่งขนาดตามจำนวนตำบล แต่ตอนหลังไม่ว่าจะขนาดใดก็ใช้กรรมการประเมิน 3 คน )
6. วันอาทิตย์ที่ 8 มิ.ย.57 ผมเผยแพร่เรื่องคำย่อต่าง ๆ ของ กศน. ในเฟซบุ๊ค ว่า
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/prbNFE51.pdf
- ข้อ 5- 20 กำหนดโดย ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/EducationAuthority.pdf
7. วันที่ 9 มิ.ย.57 คุณ Nok Nong ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การอบรมคุณธรรมจริยธรรมของคุรุสภาที่ผ่าน สพท. บังคับทุกคนหรือเปล่า บางคนพูดว่าต้องผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรของคุรุสภาเท่านั้น จึงจะเอาไปแนบขอต่ออายุใบประกอบวิชาชีพได้ สามารถใช้วุฒิบัตรอื่นแทนได้ไหม
ผมตอบว่า ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
กรณีที่เป็นครูอยู่ ต้องมีคุณสมบัติครบ 3 ด้าน คือ
ก. วุฒิ
ข. การพัฒนาตนเองใน 5 ปีที่ผ่านมา
ค. การประพฤติตนตามจรรยาบรณ
ดูรายละเอียดในข้อ 7 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/ksm.html
สำหรับข้อ ข.การพัฒนาตนเอง ต้องพัฒนาตนเองอย่างน้อย 3 กิจกรรม จากทั้งหมด 12 กิจกรรม ซึ่งการอบรมที่ได้รับวุฒิบัตรของคุรุสภา เป็นกิจกรรม 1 ใน 12 กิจกรรม ( อยู่ในกิจกรรมที่ 2 "เข้ารับการอบรมและได้รับวุฒิบัตรแสดงความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของคุรุสภา" )
ถ้าเราพัฒนาตนเองในกิจกรรมอื่นครบ 3 กิจกรรมแล้วก็ไม่ต้องทำกิจกรรมที่ 2 นี้
( เฉพาะกิจกรรมที่ 2 นี้ ก็มีให้เลือกหลายหลักสูตร เช่นหลักสูตร "การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้" ที่สถาบันการศึกษาทางไกล กศน.จัดร่วมกับคุรุสภาอยู่ )
ก. วุฒิ
ข. การพัฒนาตนเองใน 5 ปีที่ผ่านมา
ค. การประพฤติตนตามจรรยาบรณ
ดูรายละเอียดในข้อ 7 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/ksm.html
สำหรับข้อ ข.การพัฒนาตนเอง ต้องพัฒนาตนเองอย่างน้อย 3 กิจกรรม จากทั้งหมด 12 กิจกรรม ซึ่งการอบรมที่ได้รับวุฒิบัตรของคุรุสภา เป็นกิจกรรม 1 ใน 12 กิจกรรม ( อยู่ในกิจกรรมที่ 2 "เข้ารับการอบรมและได้รับวุฒิบัตรแสดงความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของคุรุสภา" )
ถ้าเราพัฒนาตนเองในกิจกรรมอื่นครบ 3 กิจกรรมแล้วก็ไม่ต้องทำกิจกรรมที่ 2 นี้
( เฉพาะกิจกรรมที่ 2 นี้ ก็มีให้เลือกหลายหลักสูตร เช่นหลักสูตร "การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้" ที่สถาบันการศึกษาทางไกล กศน.จัดร่วมกับคุรุสภาอยู่ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย