วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

1.Dropbox เปิดไม่ได้, 2.ใช้เงินอุดหนุนจ้างเหมาตำแหน่งหน้าที่อื่นที่จ้างได้ ให้มาทำหน้าที่ จนท.ธุรการ ได้ไหม ?, 3.กำหนดอัตราจ้างเหมาหน้าที่บรรณารักษ์ในแต่ละแห่ง, 4.ทำไมไม่ชัดเจนเรื่องจ้างนักวิชาการศึกษา(จังหวัดบอกว่าอย่าเสี่ยง), 5.เงินอุดหนุนควรใช้ได้เหมือนเงิน บกศ.?, 6.พนักงานราชการได้ขั้นดีเด่นติดต่อกันสองปีได้ไหม, 7.ยังสงสัยเรื่องจ้างเหมาฯตามกรอบปี 61



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. คืนวันที่ 15 ก.ย.60 มีผู้เขียนต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ก ว่า  Dropbox เปิดไม่ได้

             ผมตอบว่า   เปิด Dropbox โดย คลิกที่ลิ้งค์ หรือ ก็อปปี้ลิ้งค์ไปให้ครบถ้วน ตั้งแต่ h ตัวแรก ไปจนถึงเลข 1 ตัวสุดท้าย โดยไม่มี .... ตรงกลาง

         2. มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ก ว่า ถ้าใช้เงินอุดหนุนรายหัวจ้าง จนท.ธุรการไม่ได้ จะแก้ปัญหาโดยจ้างตำแหน่งหน้าที่อื่นที่จ้างได้ แต่ให้ทำหน้าที่ จนท.ธุรการได้ไหม

             ( การจ้างเหมาบริการ ต้องจ้างให้ตรงกับเงินที่ใช้จ้าง เช่น จะจ้างในหน้าที่บรรณารักษ์ ต้องได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการจ้างเหมาบริการในหน้าที่บรรณารักษ์โดยเฉพาะ
               ถ้าจะใช้เงินอุดหนุนจ้าง ก็จะจ้างในหน้าที่ที่ไม่ใช่การทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่นจ้างในตำแหน่ง จนท.ธุรการ การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้ เป็นความผิด ฐานใช้เงินผิดประเภท ไม่มีระเบียบรองรับ )

             วันอาทิตย์ที่ 17 ก.ย.60 ผมได้เรียนถามเรื่องนี้ กับท่านสัจจา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กศน. ( อดีต ผอ.กจ.) และท่านอาจารย์สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน.
             ทั้งสองท่านตอบเหมือนกันว่า การจ้างเหมาบริการตามระบียบพัสดุ ไม่จำเป็นต้องจ้างยาวตลอดปี ให้จ้างเป็นจ๊อบเป็นงาน ที่ จนท.ประจำทำไม่ทัน เมื่อหมดสัญญาไม่ต้องเลิกจ้างก็เลิกจ้างโดยปริยาย
             ท่านอาจารย์สุนีย์บอกว่า การใช้เงินอุดหนุน ตามคำสั่ง สป.ที่ 605 ข้อ 4 ให้เบิกจ่ายเงินอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนบุคลากร
ดำเนินงานการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือ จ้างได้เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรงเท่านั้น
             ผมเรียนถามว่า  หน้าที่ต่อไปนี้ หน้าที่ใดเกี่ยวกับ กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง
             
นักวิชาการศึกษา, นักวิชาการเงินและบัญชี, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, บรรณารักษ์, เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี, เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์, เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, เจ้าหน้าที่บริการสื่อ, เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์, เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล, เจ้าหน้าที่งานธุรการ, เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี, พนักงานบริการ
             ท่านตอบว่า
             จนท.บันทึกข้อมูล เกี่ยวโดยตรง ส่วน การเงิน บัญชี ไม่เกี่ยวโดยตรง ทั้งนี้ให้พิจารณาจาก
ขอบเขตงานจ้าง
             ( ดู ขอบเขตงานจ้าง ของ 39 หน้าที่ ที่ส่วนกลางกำหนดไว้ ได้ที่
              
https://www.dropbox.com/s/cado5gh88umz65a/EmployMaoDoc.pdf?dl=1
               ดูหนังสือสั่งการในเรื่อง ขอบเขตงานจ้าง 39 หน้าที่ ได้ที่
              
https://www.dropbox.com/s/fad7kuqa8z8lwav/EmployMao.pdf?dl=1 )

             สรุป ใช้เงินอุดหนุนรายหัว จ้างในหน้าที่ จนท.บันทึกข้อมูล ได้, ส่วน จนท.งานธุรการ การเงิน บัญชี พนักงานบริการ ไม่ได้
             แต่อย่างไรก็ตาม จ้างในหน้าที่ใด ก็ต้องปฏิบัติงานตาม ขอบเขตงานจ้าง ของหน้าที่นั้น

             ดูเรื่องเดิม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น ใน

             - ข้อ 2 ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10203169103708831

             - ข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2017/08/oudnhun.html

         3. วันที่ 18 ก.ย.60 Chaloemsa Muicharoen ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เรื่องบรรณารักษ์อัตราจ้าง ที่มีอัตราให้จ้างในปี 61 จัดลงเฉพาะในห้องสมุดที่ไม่มีข้าราชการและพนักงานราชการแล้ว ยังมีอัตราเหลือ ไม่ทราบว่ามีแนวทางให้จัดลงที่ไหนอีกบ้าง เช่น ห้องสมุดเฉลิมราช จ้างคู่กับข้าราชการได้มั้ย หรืออยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละจังหวัด  พอดีหนูเป็น ขรก. เพิ่งย้ายมาอยู่เฉลิมราช ถ้าย้ายมาปุป น้องอัตราจ้างที่อยู่มา 5-6 ปี ต้องออก จะรู้สึกแย่มากๆเลย

             ผมตอบว่า   ส่วนกลาง กศน. จะมีข้อมูลว่า จัดสรรอัตราจ้างเหมา ให้ที่ไหนบ้าง ลองถาม กจ.ดู 02-2800324

             ต่อมา ผู้ถามแจ้งผมว่า  โทรคุยกับอาจารย์ปรารถนา กจ. ที่ดูแลกรอบอัตราแล้ว ได้รับแจ้งว่า
             1)  ให้อัตราจ้างเหมาฯกับ หสม.จังหวัด/หสม.อำเภอ ที่ไม่มี ขรก.หรือพนักงานราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ แห่งละ 1 อัตรา
             2)  ให้อัตราจ้างเหมาฯกับห้องสมุดฯเฉลิมราชฯ แห่งละ 1 อัตรา แม้จะมี ขรก.หรือพนักงานราชการตำแหน่งบรรณารักษ์แล้ว 1 คน ( รวมเป็น 2 คน )

         4. คืนวันที่ 18 ก.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เรื่องใช้เงินอุดหนุนจ้างเหมาบริการตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ที่ใช้คำว่าน่าจะจ้างได้นั้น เหมือนขาดความมั่นใจในทางปฏิบัติ ได้ปรึกษาจังหวัด จังหวัดให้ความเห็นว่าอย่าเสี่ยงเลย   ส่วนกลางควรซักซ้อมให้จัดเจน จ้างได้บอกให้ชัดเจน จ้างไม่ได้ก็ไม่ได้ เหมือนให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ปฏิบัติโดยไม่มีที่อ้างอิง

             ผมตอบว่า  ที่อ้างอิงคือ
             1)  คำสั่ง สป.ศธ.ที่ 605/59 เรื่องหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงาน กศน. ( ซึ่งกำหนดในข้อ 4 ว่า ค่าตอบแทนบุคลากรดำเนินงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน” )
             2)  ขอบเขตงานจ้าง 39 หน้าที่ ( ในส่วนของ 39 หน้าที่นี้ ส่วนกลางสั่งการชัดเจนไว้ในข้อ 1-3 ของหนังสือที่  https://www.dropbox.com/s/fad7kuqa8z8lwav/EmployMao.pdf?dl=1 )
             ซึ่ง ผู้จ้าง ( จังหวัด ) เป็นผู้รับผิดชอบ/เป็นผู้พิจารณา ถ้าจังหวัดบอกว่า อย่าเสี่ยงเลย ก็คือไม่จ้าง จบ

              ( ที่มาของข้อ 4 ตามคำสั่ง สป.ที่ 605/59 นั้น มาจาก สมัยก่อนไม่ได้เรียนฟรี มีการเก็บเงินบำรุงการศึกษา และมีหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนมากที่ กค 0526.7/9614 ลว.12 มี.ค.40 กำหนดว่า
              ตามที่ กศน.จัดตั้งสถานศึกษาและมีผู้สนใจเรียนจำนวนมาก ทำให้จ้างบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยปฏิบัติงาน เช่น การทำทะเบียนนักศึกษา การรับสมัคร พิมพ์และตรวจสอบหลักฐานการศึกษา การบันทึกข้อมูลของผู้เรียน ฯลฯ นั้น ให้สถานศึกษาเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคคลภายนอกที่มาช่วยปฏิบัติงานในระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.ได้ *ไม่เกิน 45 วันก่อนเปิดภาคเรียน* ในอัตราวันละไม่เกิน 200 บาท โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณหรือเงินบำรุงการศึกษา จำนวนบุคลากรอยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา

             ต่อมาเมื่อมีเงินอุดหนุนมาเพื่อการเรียนฟรี จึงได้นำหลักการตามหนังสือกรมบัญชีกลางนี้ มาเป็นข้อ 4 ของคำสั่ง สป.ที่ 605
             โดยกระทรวงการคลังให้จ้างเป็นจ๊อบ ๆ ( จ้างชิ้นงาน ) ซึ่งจะเห็นว่า หน้าที่นักวิชาการศึกษา ไม่สอดคล้องโดยตรงกับข้อกำหนดนี้ และมีหน้าที่ จนท.บันทึกข้อมูล ให้จ้างอยู่แล้ว อีกทั้งขอบเขตงานจ้างในหน้าที่นักวิชาการศึกษาไม่ได้ทำเฉพาะ กศ.ขั้นพื้นฐาน ไม่เหมาะจะใช้เงินอุดหนุน ส่วนกลางจึงใช้งบดำเนินงานจัดสรรอัตราจ้างเหมาในหน้าที่นักวิชาการศึกษา

         5. หลังจากที่ผมโพสต์ในเฟซบุ๊ก ว่า  ถ้าจะใช้เงินอุดหนุนจ้าง ก็จะจ้างเหมาบริการในหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่นจ้างในตำแหน่ง จนท.งานธุรการ การเงิน บัญชี พนง.บริการ ไม่ได้ เป็นความผิด ฐานใช้เงินผิดประเภท ไม่มีระเบียบรองรับ
             ต่อมา คืนวันอาทิตย์ที่
17 ก.ย.60 Nathanont Amnartcharoen เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผมในเฟซบุ๊ก ว่า เราต้องให้ สำนักงาน กศน. ตีความคำว่า เงินอุดหนุน ใหม่ ซึ่งตามความเป็นจริง เงินอุดหนุนได้มาเพื่อทดแทนเงินบำรุงการศึกษา เพราะฉะนั้นจะต้องใช้ได้เหมือนเงินบำรุงการศึกษา ทุกประการ

             ผมตอบว่า   เมื่อก่อนมีเงิน บกศ. ( เงินบำรุงการศึกษา ) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเงินรายได้สถานศึกษาแทน แต่ ทั้งเงิน บกศ.และเงินรายได้สถานศึกษา นั้น สถานศึกษาก็ไม่สามารถใช้จ่ายได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ แม้ว่าสถานศึกษาจะเป็นผู้เก็บเงิน/รับเงินจากนักศึกษามาเอง ไม่ใช่เงินงบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีอากรก็ตาม เพราะ อาคารโรงเรียนสร้างจากเงินงบประมาณ เงินเดือน ผอ.และครูก็เป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน ไม่ใช่กิจการส่วนตัว จึงต้องใช้จ่ายเงิน บกศ./รายได้สถานศึกษา ตามระเบียบที่ราชการกำหนด เช่น
            
- จะใช้เงิน บกศ.จ้างลูกจ้างชั่วคราว ต้องได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง  ( ปัจจุบัน กศน.ไม่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลางให้จ้างลูกจ้างชั่วคราวอีกแล้ว  ซึ่งผู้รับจ้างเหมาฯไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราว )
             - ใช้เงิน บกศ.หรือเงินงบดำเนินงาน จ่ายค่าจ้างบุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติงาน เช่น การบันทึกข้อมูลของผู้เรียน ได้ไม่เกิน 45 วันก่อนเปิดภาคเรียน ในอัตราวันละไม่เกิน 200 บาท  ( ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ข้อ 4 ในคำสั่ง สป.ที่ 605 )
             เป็นต้น

            ปัญหาเรื่องการจ้างเหมาฯหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยเงินอุดหนุนนี้ คงไม่ค่อยเกิดข้อสงสัยในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก เพราะแค่จ้างครู ศรช.ให้ครบทุกตำบลที่ไม่มีครู กศน.ตำบล เงินอุดหนุนก็ไม่เหลือจ้างหน้าที่อื่น
            ส่วนภาคเหนือ ภาคอิสาน และ กทม. มีครู กศน.ตำบล ครบทุกตำบลแล้ว จึงมีเงินอุดหนุนเหลือจ้างหน้าที่อื่นนอกเหนือจากครู ศรช.  ( นิติกร กจ. บอกว่า มีปัญหากรณีจ้างเหมาฯ ที่ผู้รับจ้างต้องจ่ายเงินให้ผู้บริหาร )

         6. เย็นวันที่ 19 ก.ย.60 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ก ว่า  พนักงานราชการได้ขั้นดีเด่นติดต่อกันสองปีได้หรือไม่

             ผมตอบว่า   ผลการประเมิน ได้ดีเด่นติดต่อกันกี่ปีก็ได้ เป็นไปตามผลประเมินการปฏิบัติงาน ถ้าปฏิบัติงานดีเด่นติดต่อกันทุกปีก็เลื่อนค่าตอบแทนตามเปอร์เซ็นดีเด่นได้ทุกปี

         7. หลังจากมีหนังสือเรื่อง "แนวทางการปฏิบัติในการจ้างเหมาบริการปี งปม.61" ออกมาเมื่อวันที่ 19 ก.ย.60 ก็ยังมีหลายคนที่มีข้อสงสัย เช่น มีผู้ไปโพสต์ในกลุ่มไลน์ "เมืองนักอ่าน 2560" ว่า
            
"เรื่องบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ หนังสือส่วนกลางออกมาให้ส่วนจังหวัดดำเนินการขาดความชัดเจนและต้องให้จังหวัดมาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง เกิดความสับสนอย่างมากในตอนนี้ ส่วนในเรื่องอำเภอที่มีข้าราชการก็ยังไม่ชัดเจน ตอนนี้น้องบรรณารักษ์เครียดมาก"
            
"ขอสังเกตุ..ในหนังสือสำนักงาน กศน. ลว. 19 กย.60 กรณีนอกกรอบเมื่อหมดสัญญาก็ไม่สามารถต่อสัญญาได้
               *** หสม.ใดที่มีบรรณารักษ์ที่เป็นพนักงานราชการ และมีบรรณารักษ์อัตราจ้าง เช่น อ.สัตหีบ ในปีงบ 61 จะต้องทำสัญญา 1 ปี (กรณีที่คิดจะช่วย) เพราะถ้าทำสัญญาแค่ 6 เดือน เมื่อหมดสัญญาก็ไม่สามารถต่อสัญญาได้ เช่นเดียวกัน ทำสัญญา 1 ปี เมื่อหมดสัญญา ก็ไม่สามารถต่อสัญญาได้เช่นกัน
               สรุป..ท้ายสุด หมดสัญญาเมื่อไหร่ ไม่จ้างต่อแน่นอน จึงควรจ้างเต็ม 1 ปี สรุปอีกครั้ง ถ้าทำสัญญา 6 เดือน ก็อยู่แค่ 6 เดือน ไม่สามารถต่อสัญญาได้ ถ้าทำสัญญา 1 ปี ก็อยู่ได้ 1 ปี"
             
"บรรณารักษ์ที่เป็นข้าราชการและมีบรรณารักษ์อัตราจ้างด้วย จะทำอย่างไร เพราะในหนังสือกล่าวถึง บรรณารักษ์ที่เป็นพนักงานราชการเท่านั้น"

             วันที่ 20 ก.ย.60 ผมจึงเรียนถามท่าน ผชช.พิเศษ อดีต ผอ.กจ. กับ อ.ปรารถนา กจ. ได้รับข้อมูลดังนี้
             1)  กรณีนอกกรอบ ให้จ้างคนเดิมต่อไปได้จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งจะจ้างได้ไม่เกิน 30 ก.ย.61 เมื่อหมดสัญญาก็พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ แล้วจ้างต่อไม่ได้ทั้งคนเดิมหรือคนใหม่
            
2)  คำว่า "หากได้รับการจัดสรรอัตราพนักงานราชการ" ให้หมายความรวมถึง "ได้รับการจัดสรรอัตราข้าราชการในตำแหน่งเดียวกัน" ด้วย ซึ่งจะจ้างเหมาฯต่อไปได้จนพ้นตำแหน่งหน้าที่หรือหมดสัญญา ไม่ว่าจะเป็นอัตราในกรอบหรือนอกกรอบก็ตาม เมื่อมีข้าราชการหรือพนักงานราชการทดแทนแล้วให้ลดกรอบอัตราจ้างเหมาฯ
            
3)  กรณีที่มีข้าราชการหรือพนักงานราชการ ซ้ำซ้อนกับอัตราจ้างเหมา อยู่ ณ ปัจจุบันนี้แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเลิกจ้างเหมาฯในวันที่ 30 ก.ย.60 นี้ แต่สามารถจ้างคนเดิมต่อในปี 61 จนกว่าจะพ้นสภาพ ( ไม่เกิน 30 ก.ย.61 ) เช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย