วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

1.คุมสอบครึ่งวัน เบิกค่าเครื่องดื่มคนละ 15 หรือ 30 บาท, 2.เงินอุดหนุนรายหัวเหลือจากปีก่อน เปลี่ยนโครงการใช้จ่ายได้ไหม, 3.มีคนว่า กศน.ไม่ได้มาตรฐาน, 4.จากอยุธยาไปเชียงใหม่ ไปขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง เบิกได้ไหม, 5.ตอบไปก็แสลงใจผู้รับจ้างเหมาบริการต่าง ๆ, 6.จนท.บันทึกข้อมูล/ธุรการ ที่จ้างด้วยเงินอุดหนุน คุมสอบปลายภาคไม่ได้, 7.เรียน ป.บัณฑิต พ่อเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันอาทิตย์ที่ 20 ส.ค.60 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ค่าเครื่องดื่มในการสอบคนละ 30 บาทต่อวันต่อคน..ถ้าคุมสอบครึ่งวัน เบิก 15 บาท/คน..ใช่หรือเปล่า

             เรื่องนี้ ผมไม่แน่ใจ จึงเรียนถามต่อไปยัง หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ว่า  ในหนังสือที่แจ้งเรื่องค่าใช้จ่าย/ค่าบำรุงสนามสอบ ถ้าเป็นค่าตอบแทนกรรมการ จะระบุว่าไม่เกิน 300 บาทต่อครึ่งวัน ไม่เกิน 600 บาทต่อวัน แต่ในส่วนของค่าเครื่องดื่ม ไม่พูดถึงครึ่งวันเลย ระบุเพียงว่า "ค่าเครื่องดืม วันละไม่เกิน 30 บาท/คน" เมื่อระบุอย่างนี้ กรรมการที่คุมสอบครึ่งวัน จะเบิกค่าเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 15 บาท หรือไม่เกิน 30 บาท
             อ.สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน ตอบตอนค่ำวันอาทิตย์ ว่า  ระเบียบระบุเป็นวัน หากคุมสอบครึ่งวันซึ่งระเบียบไม่ระบุครึ่งวัน ให้อยู่ในดุลพินิจของ ผอ.กศน.อำเภอผู้อนุมัติเบิก ว่าจะให้เบิกไม่เกิน 15 บาท หรือไม่เกิน 30 บาท

         2. ค่ำวันอาทิตย์ที่ 20 ส.ค.60 ผมเรียนถาม อ.สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ว่า  เงินอุดหนุนรายหัวปี 59 ยังใช้ไม่หมด ปกติจังหวัดต้องทำแผน/โครงการใช้จ่ายเงิน ส่งคลังจังหวัดเพื่อนำเงินมาเก็บไว้ในบัญชีธนาคารใช่ไหม  ถ้ามีนโยบายเร่งด่วนเช่นเรื่องลูกเสือ จะใช้เงินนี้นำ นศ.ไปเข้าค่ายลูกเสือ แต่ในแผน/โครงการที่ทำไว้ไม่มีโครงการนี้ จะใช้จ่ายได้ไหม หรือจะปรับแก้แผนได้ไหม

             อ.สุนีย์ ตอบว่า  เงินอุดหนุนปี 59 ต้องใช้จ่ายตามโครงการที่ขออนุมัติไว้ก่อนสิ้นปี งปม.59 เท่านั้น เปลี่ยนโครงการไม่ได้ .. เรื่องเข้าค่ายลูกเสือให้ใช้เงินพัฒนาผู้เรียนปี 60
             ( ปกติ งบพัฒนาผู้เรียน ปี 60 ก็ต้องเสนอแผนให้ สนง.กศน.จังหวัดล่วงหน้า แต่ก็ขออนุมัติปรับเปลี่ยนแผนกับ ผอ.จังหวัดได้ )





         3. ดึกวันที่ 22 ส.ค.60 หลังจากผมโพสต์คลิปท่านเลขาธิการ กศน.ตอบเรื่องมีผู้บอกว่า กศน.ไม่ได้มาตรฐานไป ก็ไม่ผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  ถ้าเราคิดว่า กศน.ให้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เราก็ควรใช้ว่าเทียบเท่า แต่วุฒิเรามันมีศักดิ์และสิทธิเท่าในระบบโรงเรียน ประเด็นนี้แหละที่ทำให้คนดูถูกและมีปัญหามาตลอด เรื่องนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ กป.ไปทำ MOU กับ Seven Eleven เขาอยากได้เด็ก ม.ปลายของเราไปทำงาน แต่พอเอาไปอบรมก่อนออกทำงาน ปรากฏว่าเด็กเราอ่อนความรู้ ไม่ get ideas ซักเรื่อง  เขาพูดว่าวุฒิมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับเด็กในระบบแต่ทำไมเด็กเรากับเด็กในระบบจึงมีความรู้ต่างกันมาก  ถ้าเราใช้เทียบเท่ามันก็ไม่เกิดปัญหา เพราะยังไง ๆ มันก็ไม่เท่า หรือว่าไง

             ผมตอบว่า   กศน.เราอยากได้ทุกอย่าง อยากเรียนง่ายจบเร็ว แล้วก็อยากได้ศักดิ์และสิทธิ์เหมือนในระบบ  ( ครู กศน.ก็อยากสอนแบบพัฒนาชุมชน ไม่อยากยุ่งยากเหมือนครูในระบบ แต่ก็อยากได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเพื่อให้มีสิทธิสอบเป็น ขรก.ครูและมีวิทยฐานะ ) มันก็มีปัญหาเรื่อยไป
             ( แต่ ปวช.ก็ไม่เหมือน ม.ปลายในระบบ เชาเรียนวิชาสามัญนิดเดียวเน้นวิชาชีพ แต่เขาก็มีศักดิ์และสิทธิเท่า ม.ปลายในระบบเหมือนกันนะ เพียงแต่เขาแยกเป็นคำว่า ปวช.ให้แตกต่าง )

         4. คืนวันที่ 22 ส.ค.60 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  จากอยุธยาเดินทางไปราชการที่เชียงใหม่ หากไปรถไฟ เราจะไปขึ้นรถที่หัวลำโพงได้ไหม กรณีเบิกค่าเดินทาง แต่รถจอดยุดยาด้วย คือจะตีตั๋วพร้อมกันหลายคน เพื่อได้ที่นั่งใกล้กัน

             เรื่องนี้  ผมคิดว่า ตามหลักการคงไม่ได้ แต่เพื่อความแน่ใจผมจึงเรียนถามหน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ตอนดึกวันเดียวกัน ท่านตอบว่า
             ไม่ได้  เป็นการเดินทางย้อน ต้องเบิกจากอยุธยาไปเชียงใหม่ แล้วอย่าลืมเก็บกากตั๋วรถไฟเป็นหลักฐานเบิกด้วยนะคะ เพราะกลุ่มงานคลังเคยเวียนแจ้งไปแล้วกรณีเบิกค่าโดยสารรถไฟ
             ( ราชการไม่รับเหตุผลส่วนตัวที่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และ การจะได้ที่นั่งใกล้กันหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขึ้นรถต้นทางหรือไม่ แต่อยู่ที่จองเร็วที่นั่งยังว่างมาก รวมกันให้คน ๆ เดียวจอง ก็ได้ที่นั่งใกล้กัน )

         5. ดึกวันเสาร์ที่ 26 ส.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ ถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  การจ้างเหมาตามระเบียบพัสดุ ตำแหน่งครู ศรช. ครู ปวช. ครูสอนคนพิการ บรรณารักษ์ ปี 2560 ต้องทำการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างหรือไม่ เพราะสัญญาบอกสิ้นสุด 30 กย 60 / ปึ 61 สอบคัดเลือกใหม่ใช่ไหม

             ผมตอบว่า   ที่จริง การประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างนั้น ไม่ถูกต้อง ตอบไปก็จะแสลงใจผู้รับจ้างเหมาบริการต่าง ๆ  ( การ สอบคัดเลือกก็ไม่จำเป็น )
             เรื่องนี้  เมื่อเดือน ก.ค.53 กระทรวงการคลังส่งหนังสือเวียน ด่วนมาก ถึงส่วนราชการต่าง ๆ
             ( สำนักงาน กศน. ส่งหนังสือกระทรวงการคลังฉบับนี้ไปให้ทุกจังหวัด ตามหนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.117/2782 ลงวันที่ 9 ส.ค.53  และที่ สนง.กศน.จ.อย. ก็ส่งหนังสือนี้ต่อให้ทุกอำเภอ แต่เนื่องจากหนังสือมันยาว หลายแห่งจึงอ่านไม่เข้าใจ )
             หนังสือฉบับนี้สรุปได้ว่า
             " ปัจจุบัน ส่วนราชการหลายแห่งได้ดำเนินการจ้างเอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ( กศน. ก็จ้างเหมาบริการหลายตำแหน่งหน้าที่ ด้วยวิธีจ้างเอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ) เพื่อปฏิบัติงานในลักษณะเช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้
             ผู้รับจ้างคิดว่าเป็นบุคลากรของรัฐ และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เหมือนบุคลากรของรัฐ
             ดังนั้นเพื่อลดปัญหาข้อโต้แย้ง จึงให้ส่วนราชการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด ดำเนินการจ้างตามระเบียบพัสดุ ไม่ใช่ระเบียบลูกจ้าง
             - จ้างดำเนินงานเฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจ้างเต็มปีงบประมาณ และ มิให้ทำสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง
             - อัตราค่าจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่ให้เป็นอัตราค่าจ้างปกติทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับงานนั้น โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย
             - ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ จากทางราชการ แต่เป็น "ผู้รับจ้างทำของ" ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ผู้รับจ้างสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตามมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม "

.             หนังสือฉบับนี้ คุณดำรงศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัสดุ กลุ่มงานคลัง กศน. ปี 53 ท่านยกตัวอย่างการจ้างตามระเบียบพัสดุว่า การค้ำประกันสัญญาจ้างต้องใช้ทรัพย์ไม่ใช่ใช้คนค้ำฯ และ
            
ไม่ทำสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง คือไม่ใช้วิธีประเมินผลงานแล้วจ้างคนเดิมต่อเหมือนลูกจ้างชั่วคราว แต่ต้องดำเนินการเรื่องจ้างใหม่ทุกครั้ง ซึ่งอาจจะได้คนเดิมหรือไม่ก็ได้
             ( อนึ่ง ถึงแม้ว่า กระทรวงการคลังจะกำหนดว่า อัตราค่าจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่การจ่ายค่าจ้างตามวุฒิก็ไม่ผิด เพราะกระทรวงการคลังแค่ใช้คำว่า "ไม่จำเป็น" )
             ส่วนการ "ประกาศสอบคัดเลือก" ผู้รับจ้างเหมาบริการนั้น จริง ๆ แล้วไม่ถูกตามหนังสือกระทรวงการคลังฉบับนี้ ซึ่งให้ดำเนินการจ้างตามขั้นตอนของระเบียบพัสดุ  ( แต่ถ้าการสอบคัดเลือกนั้น เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อหาคนที่เหมาะสม นอกเหนือจากการดำเนินการตามระเบียบพัสดุถูกต้องครบทุกขั้นตอนด้วย ก็คงไม่เป็นไร )
             ผมเคยตอบเรื่องนี้เช่น ใน
             - ข้อ 2 ที่  
https://www.gotoknow.org/posts/406637
             - ตอบ อ.สุพจน์ ตอนท้ายที่  
https://www.gotoknow.org/posts/445618

         6. วันอาทิตย์ที่ 27 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/เจ้าหน้าที่ธุรการที่จ้างด้วยเงินอุดหนุน สามารถคุมสอบปลายภาคเรียนได้หรือเปล่า

             ผมตอบว่า   ใน คู่มือดำเนินการจัดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาฯหน้า 22 ข้อ 2.6 ( ดูได้ในข้อ 3 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2016/05/testkill.html ) กำหนดว่า กรรมการกำกับห้องสอบ เป็นครูของ กศน. ครู ศรช. สพฐ.
             เรื่อง
คู่มือการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคนี้ จะมีการปรับปรุง โดยผมได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งสำนักงาน กศน.ที่ 80/2560 ให้เป็นคณะทำงานจัดทำคู่มือดำเนินการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนและการจัดสอบ E-Exam  ซึ่งคณะทำงานประชุมเมื่อวันที่ 30 พ.ค.- 1 มิ.ย.60 และเสนอวิธีดำเนินการจัดสอบในเรื่องต่าง ๆ เช่น ในส่วนของกรรมการกำกับห้องสอบ ให้เป็น ข้าราชการทุกสังกัด พนักงานราชการทุกสังกัด ครูในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน แต่ครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน กศน.ไม่ให้กำกับห้องสอบนักศึกษาของตนเอง  ( ดูในข้อ 2 ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207165722541804 )
             ฉะนั้น จึงให้ จนท.บันทึกข้อมูล/ธุรการ ที่จ้างด้วยเงินอุดหนุน คุมสอบปลายภาคไม่ได้ เพราะ ไม่ใช่ข้าราชการ-ไม่ใชพนักงานราชการ-ไม่ใช่ครู
             ท่าน ผชช.พรรณทิพา ( ผชช.เฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐาน กศน. อดีต ผอ.กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ ) บอกว่า จนท.กศน. ทั้งข้าราชการ-พนักงานราชการ-จ้างเหมา ทุกตำแหน่ง เป็นกรรมการกลางได้

             ( จริง ๆ แล้ว เงินอุดหนุนรายหัว ใช้จ้าง จนท.ธุรการ ไม่ได้นะ เพราะธุรการเป็นเรื่อง กศ.ขั้นพื้นฐาน โดยอ้อมไม่ใช่โดยตรง )

         7. วันเสาร์ที่ 26 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ถามเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายค่าเล่าเรียนบุตรหน่อย คือลูกสาวอายุ 22 ปี และเรียนจบ ศศ.บ.เอกภาษาอังกฤษ จาก ม.ราชภัฎกำแพงเพชร และกำลังมารายงานตัวเพื่อเข้าเรียนต่อ ป.บัณฑิต ที่เดิม  พ่อจะยังมีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้อีกหรือไม่ เพราะว่าลูกสาวอายุยังไม่ถึง 25 ปี แต่ว่าเรียน ป.บัณฑิต

             ผมตอบว่า   เบิกไม่ได้  ค่าการศึกษาบุตรเบิกได้แค่ระดับ ป.ตรี และเบิกในระดับ ป.ตรี ได้เพียงหลักสูตรเดียว  ( ป.บัณฑิต เป็นหลักสูตรที่สูงกว่า ป.ตรี แต่ต่ำกว่า ป.โท )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย