สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 3 พ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ ถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ชื่อพ่อ นศ. ยศ จ่าสิบตรี ในใบ รบ. ต้องใส่ยศ ยังไง
1. วันที่ 3 พ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ ถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ชื่อพ่อ นศ. ยศ จ่าสิบตรี ในใบ รบ. ต้องใส่ยศ ยังไง
ผมตอบว่า ชื่อบิดามารดาของ นศ.
พิมพ์ตามในทะเบียนบ้าน
2. วันที่ 5 พ.ค.60 มีครู กศน.ตำบล ถาม-ตอบ กับผม ในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ดังนี้
2. วันที่ 5 พ.ค.60 มีครู กศน.ตำบล ถาม-ตอบ กับผม ในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ดังนี้
ถาม : กรณีนักศึกษา ม.ปลาย รหัส 5513 ลงทะเบียยเรียนและสอบครบตามเนื้อหาหลักสูตร ม.ปลาย ในภาคเรียนที่ 2/2556
แต่กิจกรรม กพช. ได้ 50 ชม.
ต่อมาปลายเดือนเมษายน 2560 นี้ นักศึกษามาติดต่อขอทำเรื่องจบ
ทาง กศน.อำเภอ.... ได้ทำการตรวจสอบแล้วปรากฏว่า เมื่อนับถึงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 รหัสนักศึกษามีอายุเกิน 10 ภาคเรียน และทาง กศน.อำเภอ ยังไม่ได้อนุมัติจบ เนื่องจาก กพช.ไม่ครบ 100
ชม. และแจ้งว่าเป็นนักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว
มีข้อสอบถามว่า รายวิชาที่ผ่านเกณฑ์สามารถเก็บไว้ได้ถึง 5 ปี ในกรณีที่ผลการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 นั้นเกิน 5 ปี แต่ผลการเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ถึงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สามารถนำมาใช้เทียบโอนหรือยังใช้ได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างใรในเคสนี้
ตอบ : ถ้าพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว ( ขาดการรักษาสภาพติดต่อกันเกิน 6 ภาคเรียน ) จะทำอะไรไม่ได้เลย โปรแกรมจะไม่ยอมให้ออกใบ รบ.เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานการเทียบโอนด้วย ( ไม่ยอมให้ลาออก ) หลักฐานที่จะใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับประถม-ม.ต้น-ม.ปลาย คือ ใบระเบียนแสดงผลการเรียน ( ใบ รบ.)
มีวิธีหนึ่งที่ก็ไม่ถูกต้อง คือ เข้าโปรแกรม เปลี่ยนภาคเรียนปัจจุบันไปยังภาคเรียนที่ยังไม่พ้นสภาพ แล้วลาออก-ออกใบ รบ.ว่าศึกษาต่อที่อื่น ย้อนหลัง ตั้งแต่ภาคเรียนที่ยังไม่พ้นสภาพ ( นายทะเบียนและ ผอ.ที่จะเซ็นใบ รบ.ย้อนหลัง ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในภาคเรียนย้อนหลังนั้น ) เมื่อได้ใบ รบ.แล้ว จะหยุดนับอายุวิชาในใบ รบ. นั้น จะใช้ใบ รบ.นั้น มาเทียบโอนสมัครเข้าเรียนใหม่เมื่อไรก็ได้
( ที่ถูกต้อง เมื่อเขาหายไปนานมากแล้ว ก็ควรเริ่มเรียนใหม่เลย )
มีข้อสอบถามว่า รายวิชาที่ผ่านเกณฑ์สามารถเก็บไว้ได้ถึง 5 ปี ในกรณีที่ผลการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 นั้นเกิน 5 ปี แต่ผลการเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ถึงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สามารถนำมาใช้เทียบโอนหรือยังใช้ได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างใรในเคสนี้
ตอบ : ถ้าพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาไปแล้ว ( ขาดการรักษาสภาพติดต่อกันเกิน 6 ภาคเรียน ) จะทำอะไรไม่ได้เลย โปรแกรมจะไม่ยอมให้ออกใบ รบ.เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานการเทียบโอนด้วย ( ไม่ยอมให้ลาออก ) หลักฐานที่จะใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับประถม-ม.ต้น-ม.ปลาย คือ ใบระเบียนแสดงผลการเรียน ( ใบ รบ.)
มีวิธีหนึ่งที่ก็ไม่ถูกต้อง คือ เข้าโปรแกรม เปลี่ยนภาคเรียนปัจจุบันไปยังภาคเรียนที่ยังไม่พ้นสภาพ แล้วลาออก-ออกใบ รบ.ว่าศึกษาต่อที่อื่น ย้อนหลัง ตั้งแต่ภาคเรียนที่ยังไม่พ้นสภาพ ( นายทะเบียนและ ผอ.ที่จะเซ็นใบ รบ.ย้อนหลัง ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในภาคเรียนย้อนหลังนั้น ) เมื่อได้ใบ รบ.แล้ว จะหยุดนับอายุวิชาในใบ รบ. นั้น จะใช้ใบ รบ.นั้น มาเทียบโอนสมัครเข้าเรียนใหม่เมื่อไรก็ได้
( ที่ถูกต้อง เมื่อเขาหายไปนานมากแล้ว ก็ควรเริ่มเรียนใหม่เลย )
ถาม : ในกรณีที่นักศึกษาครบหน่วยกิตตั้งแต่ภาคเรียนที่
2
ปีการศึกษา 2556 ก็ยังต้องมีการรักษาสภาพไว้ใช่ไหม
ตอบ : ใช่.. ถ้า "ยังไม่จบ" ต้องรักษาสภาพ ( ขาดเงื่อนไขการจบหลักสูตรแม้เพียงข้อเดียวใน 4 ข้อ ก็คือยังไม่จบ )
ตอบ : ใช่.. ถ้า "ยังไม่จบ" ต้องรักษาสภาพ ( ขาดเงื่อนไขการจบหลักสูตรแม้เพียงข้อเดียวใน 4 ข้อ ก็คือยังไม่จบ )
ถาม : การรักษาสภาพ ต้องทำในรูปแบบใด
ตอบ : มี "แบบคำร้องการรักษาสถานภาพนักศึกษา" อยู่ในคู่มือการดำเนินงานฯทุกเล่ม ( ถ้าเป็นเล่มปกสีเลือดหมูจะอยู่ในหน้า 191 ) นักศึกษาต้องลงลายมือฃื่อในใบคำร้องการรักษาสถานภาพนี้ด้วยตนเอง ผู้อื่นจะลงลายมือชื่อแทนไม่ได้ เช่นเดียวกับการลงทะเบียนเรียน
( ถ้าใช้วิธีแก้โดยให้รักษาสภาพย้อนหลัง วิชาที่หมดอายุก็ยังหมดอายุอยู่เหมือนเดิม )
3. คืนวันที่ 8 พ.ค.60 Kittiwara Thongfong ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เครื่องแบบการแต่งกายของนักศึกษา กศน.มีกระดุม หัวเข็มขัด ตุ้งติ้ง เนคไท ปกติในการแต่งกาย กศน.มีรึป่าว
ตอบ : มี "แบบคำร้องการรักษาสถานภาพนักศึกษา" อยู่ในคู่มือการดำเนินงานฯทุกเล่ม ( ถ้าเป็นเล่มปกสีเลือดหมูจะอยู่ในหน้า 191 ) นักศึกษาต้องลงลายมือฃื่อในใบคำร้องการรักษาสถานภาพนี้ด้วยตนเอง ผู้อื่นจะลงลายมือชื่อแทนไม่ได้ เช่นเดียวกับการลงทะเบียนเรียน
( ถ้าใช้วิธีแก้โดยให้รักษาสภาพย้อนหลัง วิชาที่หมดอายุก็ยังหมดอายุอยู่เหมือนเดิม )
3. คืนวันที่ 8 พ.ค.60 Kittiwara Thongfong ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เครื่องแบบการแต่งกายของนักศึกษา กศน.มีกระดุม หัวเข็มขัด ตุ้งติ้ง เนคไท ปกติในการแต่งกาย กศน.มีรึป่าว
ผมตอบว่า เรื่องนี้เคยตอบนานมากแล้ว ว่า ตอนต้นปี 2555
กศน.มีการประกวดออกแบบอุปกรณ์เครื่องแบบนักศึกษา กศน.
เพื่อจะจดลิขสิทธิ์/ออกระเบียบเครื่องแบบนักศึกษา กศน. แต่.. ในที่สุดเรื่องนี้ก็ยกเลิกไป
ถ้าจำไม่ผิดเป็นเพราะมี นักศึกษา/ผู้ปกครอง
ร้องเรียนเรื่องเครื่องแบบเนื่องจากสิ้นเปลื้องด้วย และไม่สอดคล้องกับหลักการ กศน.
โดยมี กศน.อำเภอ/เขต บางแห่งเก็บเงิน
นศ.เพื่อการจัดทำ/จัดซื้ออุปกรณ์ประกอบเครื่องแบบเหล่านี้ ซึ่งไม่ถูกต้อง
ปัจจุบันส่วนกลางจึงไม่ได้กำหนดเครื่องแบบนักศึกษา
กศน.
สถานศึกษาสามารถกำหนดเองได้ แต่ถ้าเครื่องแบบที่กำหนดนั้นมีค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองกว่าปกติทั่วไป ก็จะบังคับให้ นศ.แต่งเครื่องแบบนั้นไม่ได้นะ
4. วันที่ 8 พ.ค.60 นางศรัณยา ช่อชั้น ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า นักศึกษาสมัครใหม่จบจากปีนัง มาสมัครเรียน กศน. ต้องนำใบแสดงผลการเรียนไปเทียบได้ที่ไหน
สถานศึกษาสามารถกำหนดเองได้ แต่ถ้าเครื่องแบบที่กำหนดนั้นมีค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองกว่าปกติทั่วไป ก็จะบังคับให้ นศ.แต่งเครื่องแบบนั้นไม่ได้นะ
4. วันที่ 8 พ.ค.60 นางศรัณยา ช่อชั้น ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า นักศึกษาสมัครใหม่จบจากปีนัง มาสมัครเรียน กศน. ต้องนำใบแสดงผลการเรียนไปเทียบได้ที่ไหน
( จบระดับชั้นใดก็ไม่บอก
จะได้ไม่ต้องเสียเวลาตอบเวี่ยงแหยาว )
ผมตอบหลังจากผมถามคุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน.เพื่อความแน่ใจแล้ว ว่า
ระดับประถมปัจจุบันไม่มีที่รับ "เทียบวุฒิ", สพฐ.รับเทียบวุฒิ ระดับ ม.ต้น/ม.ปลาย ส่วน ก.พ.รับเทียบวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผมตอบหลังจากผมถามคุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน.เพื่อความแน่ใจแล้ว ว่า
ระดับประถมปัจจุบันไม่มีที่รับ "เทียบวุฒิ", สพฐ.รับเทียบวุฒิ ระดับ ม.ต้น/ม.ปลาย ส่วน ก.พ.รับเทียบวุฒิระดับอุดมศึกษา
1) ถ้าจบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.ต้น
ให้เขาไปเทียบวุฒิ ที่ สพฐ. ในกระทรวงศึกษาธิการ
2) ถ้าไม่ได้จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.ต้น …
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ป.1-ป.6 ให้สมัครเรียน กศน.ระดับประถม แล้ว "เทียบโอน" บางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.1-ม.2 แต่ไม่มีใบวุฒิประถม ให้สมัครเรียน กศน.ระดับประถมแล้วเทียบโอนเช่นเดียวกัน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.1-ม.2 และมีใบวุฒิประถมของไทย ให้สมัครเรียน กศน.ระดับ ม.ต้น แล้วเทียบโอนบางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.4-ม.5 และมีใบวุฒิ หรือเทียบวุฒิ ม.ต้นแล้ว ให้สมัครเรียน กศน.ระดับ ม.ต้น และเทียบโอนบางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ป.1-ป.6 ให้สมัครเรียน กศน.ระดับประถม แล้ว "เทียบโอน" บางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.1-ม.2 แต่ไม่มีใบวุฒิประถม ให้สมัครเรียน กศน.ระดับประถมแล้วเทียบโอนเช่นเดียวกัน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.1-ม.2 และมีใบวุฒิประถมของไทย ให้สมัครเรียน กศน.ระดับ ม.ต้น แล้วเทียบโอนบางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
- จบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.4-ม.5 และมีใบวุฒิ หรือเทียบวุฒิ ม.ต้นแล้ว ให้สมัครเรียน กศน.ระดับ ม.ต้น และเทียบโอนบางวิชาตามคู่มือการเทียบโอน
( การเทียบโอน
จะเทียบโอนได้ครบทุกวิชาไม่ได้ ต้องเรียนเพิ่มอีกอย่างน้อย 1
ภาคเรียน เช่น แม้จะจบระดับชั้นที่เทียบเท่า ม.2 แล้ว
แต่ถ้าไม่มีใบวุฒิประถม ต้องสมัครเรียน กศน.ระดับประถม โดยเทียบโอนบางวิชา
แล้วต้องเรียนระดับประถมอย่างน้อย 1
ภาคเรียนจึงจะจบได้วุฒิระดับประถม )
ดูคำตอบเก่า ๆ
เพิ่มเติม ใน
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/09/15000.html
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/06/etv.html
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/09/15000.html
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/06/etv.html
5. คืนวันพืชมงคล
12 พ.ค.60 Ploy Ploy ถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ถ้าจังหวัดอื่นเรียกใช้บัญชีครู กศน.ตำบล
แต่ไม่ไป จะตัดลาดับที่ทิ้ง หรือคงไว้
ผมตอบว่า จะไม่ตัดทิ้ง ( ดูที่ข้อ 10
ในประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ
พ.ศ.2552 ตามภาพประกอบโพสต์นี้ )
6. วันที่ 19 พ.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ฉันเป็นจ้างเหมาบริการอยู่ กศน.อำเภอ
และเจ้าหน้าที่การเงินบน กศน.จว บอกว่า จ้างเหมาบริการไม่สามารถเบิกค่าเดินทาง
ค่าที่พักในการไปอบรมได้เนื่องจากเป็นบุคคลภายนอก
เรื่องนี้ระเบียบใหม่เป็นอย่างนี้หรอ
ผมตอบว่า เรื่องนี้ผมเคยโพสต์แล้ว 2 ส่วน คือ
1) ในข้อ 1 ย่อหน้าที่ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/02/stopday.html
ว่า
ปกติจะให้ผู้รับจ้างเหมาบริการไปประชุมอบรมไม่ได้ ลักษณะเดียวกับการจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไม่ถือว่าผู้รับจ้างเป็นบุคลากรของส่วนราชการ จะให้ผู้รับจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไปประชุมอบรมเรื่องการพิมพ์หนังสือเรียนหรือเรื่องอื่น โดยเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักค่าเดินทางจากส่วนราชการ ไม่ได้ เช่น การจ้างบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ ต้องเลือกจ้างจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานบรรณารักษ์อยู่แล้ว จ้างมาให้ทำงานเลย ไม่ใช่การฝึกงาน จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องงานบรรณารักษ์อีกไม่ได้ จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องอื่นก็ไม่ได้เพราะอยู่นอกเหนือบทบาทหน้าที่ .. แต่.. ถ้ามีเหตุผล เช่น ส่วนกลางกำหนดแนวปฏิบัติมาให้ห้องสมุดทุกแห่งปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน จึงต้องจัดอบรมชี้แจงแนวปฏิบัติ เป็นต้น.. ลักษณะนี้ก็ให้ไปอบรมและเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักได้
ปกติจะให้ผู้รับจ้างเหมาบริการไปประชุมอบรมไม่ได้ ลักษณะเดียวกับการจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไม่ถือว่าผู้รับจ้างเป็นบุคลากรของส่วนราชการ จะให้ผู้รับจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไปประชุมอบรมเรื่องการพิมพ์หนังสือเรียนหรือเรื่องอื่น โดยเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักค่าเดินทางจากส่วนราชการ ไม่ได้ เช่น การจ้างบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ ต้องเลือกจ้างจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานบรรณารักษ์อยู่แล้ว จ้างมาให้ทำงานเลย ไม่ใช่การฝึกงาน จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องงานบรรณารักษ์อีกไม่ได้ จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องอื่นก็ไม่ได้เพราะอยู่นอกเหนือบทบาทหน้าที่ .. แต่.. ถ้ามีเหตุผล เช่น ส่วนกลางกำหนดแนวปฏิบัติมาให้ห้องสมุดทุกแห่งปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน จึงต้องจัดอบรมชี้แจงแนวปฏิบัติ เป็นต้น.. ลักษณะนี้ก็ให้ไปอบรมและเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักได้
( ผู้รับจ้างเหมาบริการจะเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้ก็ต่อเมื่อกำหนดในสัญญาจ้างไว้ชัดเจนว่าให้เบิกได้อย่างไร
)
2) ในข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2016/07/prgchenge.html
ว่า
วันที่ 23 มิ.ย.59 ส่วนกลางส่งเรื่องการจ้างครูประเภทต่าง ๆ แบบจ้างเหมาบริการ ให้ทุกจังหวัด
ดูได้ที่ https://www.dropbox.com/s/0yevos15vb5ixx6/teacherJang.pdf?dl=1
ส่งตัวอย่างแบบฟอร์มสัญญาจ้างให้ด้วย ซึ่งสัญญาจ้างมีข้อกำหนดและเงื่อนไขการจ้าง ไว้ใน ผนวก 3 ว่า
“ การจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
กรณีที่ทางราชการมีความประสงค์จะให้ผู้รับจ้างไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ต่าง ๆ ... เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 240 บาท ค่าที่พักตามระเบียบกระทรวงการคลัง ค่าพาหนะอย่างประหยัดตามความจำเป็น
กรณีทำงานนอกเหนือจากที่กำหนดตามสัญญา เงินเพิ่มในวันทำการปกติชั่วโมงละ 50 บาท ไม่เกินวันละ 150 บาท วันหยุดราชการชั่วโมงละ 50 บาท ไม่เกินวันละ 350 บาท ”
วันที่ 23 มิ.ย.59 ส่วนกลางส่งเรื่องการจ้างครูประเภทต่าง ๆ แบบจ้างเหมาบริการ ให้ทุกจังหวัด
ดูได้ที่ https://www.dropbox.com/s/0yevos15vb5ixx6/teacherJang.pdf?dl=1
ส่งตัวอย่างแบบฟอร์มสัญญาจ้างให้ด้วย ซึ่งสัญญาจ้างมีข้อกำหนดและเงื่อนไขการจ้าง ไว้ใน ผนวก 3 ว่า
“ การจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
กรณีที่ทางราชการมีความประสงค์จะให้ผู้รับจ้างไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ต่าง ๆ ... เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 240 บาท ค่าที่พักตามระเบียบกระทรวงการคลัง ค่าพาหนะอย่างประหยัดตามความจำเป็น
กรณีทำงานนอกเหนือจากที่กำหนดตามสัญญา เงินเพิ่มในวันทำการปกติชั่วโมงละ 50 บาท ไม่เกินวันละ 150 บาท วันหยุดราชการชั่วโมงละ 50 บาท ไม่เกินวันละ 350 บาท ”
ปกติวิธีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ สำหรับผู้รับจ้างเหมาบริการนี้ ต้องทำเป็นเรื่องจ้างตามระเบียบพัสดุอีกต่างหาก (
แต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ บางจังหวัดอนุโลมให้เบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการรวมไปกับบุคลากรประเภทอื่น
)
ส่วนค่าทำงานนอกเวลา อ.สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า ต้องทำเป็นเรื่องจ้างทำของตามระเบียบพัสดุแยกต่างหากเฉพาะผู้รับจ้างเหมาบริการ และการทำงานนอกเวลาต้องให้ทำเฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถทำในเวลาได้ทันเท่านั้น การจ้างทำงานนอกเวลานี้ก็ให้เบิกจ่ายจากงบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำนั้น เช่น บรรณารักษ์ห้องสมุดฯทำงานนอกเวลาเพื่อเปิดบริการห้องสมุดฯ ก็เบิกจากงบดำเนินงานห้องสมุดฯ โดยอาจทำเรื่องจ้างเดือนละครั้ง
7. วันเสาร์ที่ 20 พ.ค.60 สิริราชวิทย์ ธรรมายอดดี ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีเรี่องอยากสอบถามคือตอนนี้ผมจบกศนตอนต้นปีนี้แต่เกครไม่เป็นที่หน้าพอใจเลยอยากจะสอบถามวามีวิธีที่สมาถเพิ่มเกดรได้รึเปล่า รบกวนด้วยครับ
ส่วนค่าทำงานนอกเวลา อ.สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า ต้องทำเป็นเรื่องจ้างทำของตามระเบียบพัสดุแยกต่างหากเฉพาะผู้รับจ้างเหมาบริการ และการทำงานนอกเวลาต้องให้ทำเฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถทำในเวลาได้ทันเท่านั้น การจ้างทำงานนอกเวลานี้ก็ให้เบิกจ่ายจากงบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำนั้น เช่น บรรณารักษ์ห้องสมุดฯทำงานนอกเวลาเพื่อเปิดบริการห้องสมุดฯ ก็เบิกจากงบดำเนินงานห้องสมุดฯ โดยอาจทำเรื่องจ้างเดือนละครั้ง
7. วันเสาร์ที่ 20 พ.ค.60 สิริราชวิทย์ ธรรมายอดดี ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีเรี่องอยากสอบถามคือตอนนี้ผมจบกศนตอนต้นปีนี้แต่เกครไม่เป็นที่หน้าพอใจเลยอยากจะสอบถามวามีวิธีที่สมาถเพิ่มเกดรได้รึเปล่า รบกวนด้วยครับ
ผมตอบว่า
- ถ้าขอจบแล้วจะเพิ่มเกรดไม่ได้แล้ว
- วิชาที่เคยเรียนได้เกรด 1 ขึ้นไปแล้วจะเรียนใหม่ไม่ได้ เพราะ กศน.เปิดสำหรับผู้ขาด/พลาด/ด้อยโอกาส ได้เงินอุดหนุนที่มาจากภาษีประชาชนให้เรียนฟรีคนละรอบเดียว และ กศน.ไม่มีการรีไทร์ จึงไม่มีการรีเกรด
- ถ้าจบแล้ว มาเรียนเพิ่มวิชาที่ยังไม่เคยเรียน ได้ แต่เกรดเฉลี่ยเดิมจะไม่เปลี่ยน
- แต่ถ้ายังไม่ขอจบ สามารถเรียนวิชาเลือกเพิ่มเติมไปได้อีกแม้หน่วยกิตจะครบแล้ว ( เรียนวิชาเลือกเกินได้ ) และมีผลต่อเกรดเฉลียด้วย เช่นถ้าวิชาที่เรียนเพิ่มได้เกรดสูงกว่าเกรดเฉลี่ยเดิม ก็จะดึงให้เกรดเฉลี่ยสูงขึ้นได้นี๊ดดดหน่อย เพราะเกรดจาก 1-2 วิชา จะไม่ค่อยมีผลกับเกรดเฉลี่ยเดิมที่มาจากหลายวิชา
- ถ้าขอจบแล้วจะเพิ่มเกรดไม่ได้แล้ว
- วิชาที่เคยเรียนได้เกรด 1 ขึ้นไปแล้วจะเรียนใหม่ไม่ได้ เพราะ กศน.เปิดสำหรับผู้ขาด/พลาด/ด้อยโอกาส ได้เงินอุดหนุนที่มาจากภาษีประชาชนให้เรียนฟรีคนละรอบเดียว และ กศน.ไม่มีการรีไทร์ จึงไม่มีการรีเกรด
- ถ้าจบแล้ว มาเรียนเพิ่มวิชาที่ยังไม่เคยเรียน ได้ แต่เกรดเฉลี่ยเดิมจะไม่เปลี่ยน
- แต่ถ้ายังไม่ขอจบ สามารถเรียนวิชาเลือกเพิ่มเติมไปได้อีกแม้หน่วยกิตจะครบแล้ว ( เรียนวิชาเลือกเกินได้ ) และมีผลต่อเกรดเฉลียด้วย เช่นถ้าวิชาที่เรียนเพิ่มได้เกรดสูงกว่าเกรดเฉลี่ยเดิม ก็จะดึงให้เกรดเฉลี่ยสูงขึ้นได้นี๊ดดดหน่อย เพราะเกรดจาก 1-2 วิชา จะไม่ค่อยมีผลกับเกรดเฉลี่ยเดิมที่มาจากหลายวิชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย