สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 4 มิ.ย.58 อ.ฐิฎา กศน.อ.อุทัย ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า ผอ.ขอดู หนังสือหรือระเบียบหลักเกณฑ์ ที่ว่า สอบซ่อมได้กี่คะแนนก็ผ่าน หาดูในคู่มือแล้ว ไม่ชัด จะให้ดูหนังสือหรือระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับไหน
1. วันที่ 4 มิ.ย.58 อ.ฐิฎา กศน.อ.อุทัย ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า ผอ.ขอดู หนังสือหรือระเบียบหลักเกณฑ์ ที่ว่า สอบซ่อมได้กี่คะแนนก็ผ่าน หาดูในคู่มือแล้ว ไม่ชัด จะให้ดูหนังสือหรือระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับไหน
เรื่องนี้ ระเบียบหลักเกณฑ์กำหนดไว้ใน
หนังสือ “คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555)”
ปกสีเลือดหมู ที่ส่งให้ กศน.อำเภอทุกแห่ง เมื่อต้นเดือน ธ.ค.55
หน้า 44 ข้อ 4) กำหนดว่า
“การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนด้วย”
“การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนด้วย”
จากระเบียบหลักเกณฑ์นี้ ก็สามารถสรุปได้แล้วว่า สอบปลายภาค หรือสอบซ่อม ( รวมทั้งคะแนนระหว่างภาค
) ได้กี่คะแนนก็ผ่าน ถ้า คะแนนระหว่างภาครวมกับคะแนนปลายภาคหรือคะแนนสอบซ่อมแล้วได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ
50 โดยเข้าสอบปลายภาคเรียนด้วย
ต่อมา ปี 2555 จึงมีประกาศสำนักงาน กศน. ฉบับลงวันที่
8 ต.ค.55 กำหนดเพิ่มเติม ว่า
“1. คะแนนสอบปลายภาคเรียนในรายวิชาบังคับทุกระดับการศึกษา
ผู้เรียนต้องได้คะแนนสอบปลายภาคเรียนอย่างน้อยร้อยละ 30 ของคะแนนสอบปลายภาค
(12 คะแนนจาก 40)”
ประกาศเพิ่มเติมฉบับนี้ กำหนดบังคับเฉพาะ “สอบปลายภาค
วิชาบังคับ” เท่านั้น
ส่วนสอบปลายภาควิชาเลือก และ สอบซ่อม ยังเหมือนเดิม คือ ได้กี่คะแนนก็ผ่าน
ส่วนสอบปลายภาควิชาเลือก และ สอบซ่อม ยังเหมือนเดิม คือ ได้กี่คะแนนก็ผ่าน
อย่างไรก็ตาม แม้ส่วนกลางไม่ได้กำหนดเกณฑ์การผ่านการสอบปลายภาควิชาเลือกและการสอบซ่อม
แต่สถานศึกษาแต่ละแห่งก็สามารถกำหนดเกณฑ์นี้ขึ้นมาเองหรือไม่ก็ได้
ผมเคยเขียนเรื่องการสอบซ่อม ไว้ในข้อ 5-6 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/04/etv.html
ผมเคยเขียนเรื่องการสอบซ่อม ไว้ในข้อ 5-6 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/04/etv.html
2. วันที่ 8
มิ.ย.58 พุธ
ศรีภักดี ถามในไทม์ไลน์เฟซบุ๊คผม ว่า
1) เป็นข้าราชการครู ย้ายเมื่อมิถุนายน 2557 สามารถย้ายได้อีกเมื่อไร
2) ข้าราชการครู ย้ายเมื่อเมษายน 2558 สามารถย้ายสับเปลี่ยนกับข้าราชการครูที่ย้ายเมื่อมิถุนายน 2557 ได้หรือเปล่า สามารถเขียนได้ตอนไหน
3) ผู้บริหารย้ายเมื่อกุมภาพันธ 2558 สามารถย้ายได้อีกตอนไหน
ผมตอบว่า ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 ก.ค.49 ดูได้ที่ https://db.tt/8IFK2giK ) กำหนดคุณสมบัติของผู้ย้าย การย้ายกรณีปกติ ไว้ในข้อ 5.1.2 ว่า “ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบันไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ”
( หลักเกณฑ์นี้ ใช้กับการย้ายสับเปลี่ยน และใช้กับผู้บริหาร ด้วย )
3. วันที่ 10 มิ.ย.58 Ake Zy ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า ถ้าจะย้ายสับเปลี่ยนพื้นที่ปฎิบัติงานอยู่ในอำเภอเดียวกันและตำแหน่งครู กศน.ตำบลเหมือนกัน ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างไร
1) เป็นข้าราชการครู ย้ายเมื่อมิถุนายน 2557 สามารถย้ายได้อีกเมื่อไร
2) ข้าราชการครู ย้ายเมื่อเมษายน 2558 สามารถย้ายสับเปลี่ยนกับข้าราชการครูที่ย้ายเมื่อมิถุนายน 2557 ได้หรือเปล่า สามารถเขียนได้ตอนไหน
3) ผู้บริหารย้ายเมื่อกุมภาพันธ 2558 สามารถย้ายได้อีกตอนไหน
ผมตอบว่า ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 ก.ค.49 ดูได้ที่ https://db.tt/8IFK2giK ) กำหนดคุณสมบัติของผู้ย้าย การย้ายกรณีปกติ ไว้ในข้อ 5.1.2 ว่า “ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบันไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ”
( หลักเกณฑ์นี้ ใช้กับการย้ายสับเปลี่ยน และใช้กับผู้บริหาร ด้วย )
3. วันที่ 10 มิ.ย.58 Ake Zy ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า ถ้าจะย้ายสับเปลี่ยนพื้นที่ปฎิบัติงานอยู่ในอำเภอเดียวกันและตำแหน่งครู กศน.ตำบลเหมือนกัน ต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างไร
ผมตอบว่า ถึงจะสับเปลี่ยนอยู่ในอำเภอเดียวกัน
ก็ต้องส่งเรื่องไปถึงส่วนกลาง เหมือนกันกับการสับเปลี่ยนข้ามจังหวัด ( ทั้ง 2 คน
ทำบันทึกขอสับเปลี่ยน เสนอผ่าน ผอ.กศน.อำเภอ ๆ ลงความเห็นส่งไปที่จังหวัด
จังหวัดพิจารณาส่งต่อไปที่ส่วนกลาง ) ดูขั้นตอนวิธีการย้ายข้ามอำเภอ/ข้ามจังหวัดได้ในข้อ
4 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/463102
เพียงแต่ขั้นตอนจะน้อยลงตรงที่ตัดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอื่นออกไป และจังหวัดอาจไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเพราะสับเปลี่ยนอยู่ภายในการดูแลของ ผอ.กศน.อำเภอคนเดียว และ ผอ.ก็เสนอความเห็นมาแล้ว
เพียงแต่ขั้นตอนจะน้อยลงตรงที่ตัดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอื่นออกไป และจังหวัดอาจไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเพราะสับเปลี่ยนอยู่ภายในการดูแลของ ผอ.กศน.อำเภอคนเดียว และ ผอ.ก็เสนอความเห็นมาแล้ว
การที่ สับเปลี่ยนครู กศน.ตำบลภายในอำเภอเดียวกัน ต้องส่งเรื่องถึงส่วนกลาง
เพราะ เลขที่ตำแหน่งของครู กศน.ตำบล ระบุลึกถึงว่าเป็นเลขที่ตำแหน่งของตำบลใด
ไม่ใช่ระบุแค่อำเภอเหมือนตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ
( ผมเคยเขียนเรื่องนี้ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/11/etv.html )
( ผมเคยเขียนเรื่องนี้ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/11/etv.html )
ดูตัวอย่างในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ 1123/58 ( ดูที่ https://db.tt/LRKFjKPI )
จะเห็นว่าในคำสั่งนี้ เลขที่ตำแหน่งบางตำแหน่ง ระบุพื้นที่แค่จังหวัด ไม่ระบุอำเภอ และบางตำแหน่งระบุพื้นที่ถึงระดับอำเภอไม่ระบุตำบล แต่ เลขที่ตำแหน่งของตำแหน่งครู กศน.ตำบล จะระบุพื้นที่ลงลึกถึงตำบล
ฉะนั้น การสับเปลี่ยนตำแหน่งครู กศน.ตำบล แม้สับเปลี่ยนอยู่ภายในอำเภอเดียวกัน ก็ต้องเป็นคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพราะต่างตำบลก็เลขที่ตำแหน่งต่างกัน
ในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงฉบับนี้ จะเห็นตัวอย่างการสับเปลี่ยนภายในอำเภอเดียวกันอยู่หลายคน เช่นคนที่ 3, 5-11, 17 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในคำสั่งนี้ยังมีตัวอย่างการเกลี่ยตำแหน่งโดยไม่ต้องมีคู่สับเปลี่ยน ( คนที่ 12 กับ 19 ) เป็นกรณีเช่น ครู กศน.ตำบล ใน ตำบลที่มีตำแหน่งครู กศน.ตำบลมากกว่า 1 คน ขอเปลี่ยนไปตำบลที่ยังไม่มีตำแหน่งครู กศน.ตำบล ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยไม่ต้องมีคู่สับเปลี่ยน
จะเห็นว่าในคำสั่งนี้ เลขที่ตำแหน่งบางตำแหน่ง ระบุพื้นที่แค่จังหวัด ไม่ระบุอำเภอ และบางตำแหน่งระบุพื้นที่ถึงระดับอำเภอไม่ระบุตำบล แต่ เลขที่ตำแหน่งของตำแหน่งครู กศน.ตำบล จะระบุพื้นที่ลงลึกถึงตำบล
ฉะนั้น การสับเปลี่ยนตำแหน่งครู กศน.ตำบล แม้สับเปลี่ยนอยู่ภายในอำเภอเดียวกัน ก็ต้องเป็นคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพราะต่างตำบลก็เลขที่ตำแหน่งต่างกัน
ในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงฉบับนี้ จะเห็นตัวอย่างการสับเปลี่ยนภายในอำเภอเดียวกันอยู่หลายคน เช่นคนที่ 3, 5-11, 17 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในคำสั่งนี้ยังมีตัวอย่างการเกลี่ยตำแหน่งโดยไม่ต้องมีคู่สับเปลี่ยน ( คนที่ 12 กับ 19 ) เป็นกรณีเช่น ครู กศน.ตำบล ใน ตำบลที่มีตำแหน่งครู กศน.ตำบลมากกว่า 1 คน ขอเปลี่ยนไปตำบลที่ยังไม่มีตำแหน่งครู กศน.ตำบล ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยไม่ต้องมีคู่สับเปลี่ยน
ผู้ถาม ถามต่อ ว่า ส่วนกลางต้องใช้ระยะเวลาพิจารณาประมาณกี่ภาคเรียน
ผมตอบว่า ไม่แน่นอน ( ไม่เกี่ยวกับภาคเรียน ) แต่นาน เพราะ ส่วนกลางจะคอยรวมพิจารณาพร้อมกันหลายจังหวัด
ผมตอบว่า ไม่แน่นอน ( ไม่เกี่ยวกับภาคเรียน ) แต่นาน เพราะ ส่วนกลางจะคอยรวมพิจารณาพร้อมกันหลายจังหวัด
4. วันเสาร์ที่
13 มิ.ย.58 ณภัทร
กานต์ ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ผลการเรียนจากโรงเรียนต่างประเทศ นำมาเทียบการเรียนการศึกษาพื้นฐานนอกระบบหลักสูตร
กศน.51 ได้หรือไม่ (กรณี เรียนไม่จบระดับ ม.ปลาย
จากต่างประเทศแต่มีผลการเรียนที่ออกจากโรงเรียนต่างประเทศเอาวุฒิ
ม.ต้นมาสมัครเรียน กศน.)
ผมร่วมตอบว่า ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง การ “เทียบวุฒิ” กับการ “เทียบโอน”
1) การเทียบวุฒิการศึกษา หรือรับรองวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ คือ กรณี เรียน “จบ” ชั้นตัวประโยคแล้ว ( ป.6 ม.3 ม.6 ) ถ้าเป็นการเทียบวุฒิการศึกษาในระดับ กศ.ขั้นพื้นฐาน ( ไม่เกิน ม.ปลาย ) เป็นอำนาจหน้าที่ของ สพฐ.ส่วนกลาง ถ้าระดับปริญญา จะรับรองโดย กพ.
2) การเทียบโอน คือ กรณี ยังเรียน “ไม่จบ” ชั้นตัวประโยค เช่นเรียนแค่ ป.5 ม.2 ม.5 เป็นต้น )
ถ้ายังเรียนไม่จบ ลาออกมาเรียนต่อ กศน. ไม่ว่าจะเรียนมาจากหลักสูตรในหรือต่างประเทศ ก็สถานศึกษา กศน.นี่แหละเป็นผู้เทียบโอน โดย กศน.อำเภอ/เขต มีหน้าที่เทียบโอนตามหนังสือแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนฯ
1) การเทียบวุฒิการศึกษา หรือรับรองวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ คือ กรณี เรียน “จบ” ชั้นตัวประโยคแล้ว ( ป.6 ม.3 ม.6 ) ถ้าเป็นการเทียบวุฒิการศึกษาในระดับ กศ.ขั้นพื้นฐาน ( ไม่เกิน ม.ปลาย ) เป็นอำนาจหน้าที่ของ สพฐ.ส่วนกลาง ถ้าระดับปริญญา จะรับรองโดย กพ.
2) การเทียบโอน คือ กรณี ยังเรียน “ไม่จบ” ชั้นตัวประโยค เช่นเรียนแค่ ป.5 ม.2 ม.5 เป็นต้น )
ถ้ายังเรียนไม่จบ ลาออกมาเรียนต่อ กศน. ไม่ว่าจะเรียนมาจากหลักสูตรในหรือต่างประเทศ ก็สถานศึกษา กศน.นี่แหละเป็นผู้เทียบโอน โดย กศน.อำเภอ/เขต มีหน้าที่เทียบโอนตามหนังสือแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนฯ
การเทียบโอนผลการเรียนที่ กศน.อำเภอ/เขต เป็นผู้ดำเนินการนี้
เทียบโอนได้จาก 5 แหล่ง คือ
1. เทียบโอนจากหลักสูตร กศ.ขั้นพื้นฐาน ที่จัดการศึกษาเป็นระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย หรือเทียบเท่า ผลการเทียบโอนเป็น เกรด 8 ระดับ ยกเว้นการเทียบโอนระดับ ป.4 ผลเป็น ผ่าน
2. จากการศึกษาต่อเนื่อง เช่น หลักสูตรระยะสั้น ผลเป็น ผ่าน
3. จากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ทหารกองประจำการ ผู้นำท้องที่ อสม. ผลเป็น ผ่าน
4. จากหลักสูตรต่างประเทศ ผลเป็น ผ่าน
5. จากการประเมินความรู้และประสบการณ์ ผลเป็น เกรด 8 ระดับ
1. เทียบโอนจากหลักสูตร กศ.ขั้นพื้นฐาน ที่จัดการศึกษาเป็นระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย หรือเทียบเท่า ผลการเทียบโอนเป็น เกรด 8 ระดับ ยกเว้นการเทียบโอนระดับ ป.4 ผลเป็น ผ่าน
2. จากการศึกษาต่อเนื่อง เช่น หลักสูตรระยะสั้น ผลเป็น ผ่าน
3. จากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ทหารกองประจำการ ผู้นำท้องที่ อสม. ผลเป็น ผ่าน
4. จากหลักสูตรต่างประเทศ ผลเป็น ผ่าน
5. จากการประเมินความรู้และประสบการณ์ ผลเป็น เกรด 8 ระดับ
การเทียบโอนจากหลักสูตรต่างประเทศ ให้เขานำใบระเบียนแสดงผลการเรียนไปให้สถาบันที่เชื่อถือได้
แปลเป็นภาษาไทยมาก่อน ให้สถาบันที่แปลประทับตรารับรองการแปลมาด้วย
ถ้าเขาไม่จบ ม.ปลาย เช่นเรียนผ่านแค่เกรด 10 หรือ 11 ก็ให้นำวุฒิ ม.ต้น มาสมัครเรียน กศน.ม.ปลาย และยื่นขอเทียบโอน เราก็เทียบโอนตามในหนังสือแนวทางการเทียบโอนฯเล่มดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ละเอียด ( ในหน้า 50 ระบุว่า ถ้าเรียนผ่านเกรด 10 เทียบโอนได้ไม่เกิน 19 หน่วยกิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับรายวิชาต่อไปนี้ ... ... )
5. ผมไปประชุมที่โรงแรมสตาร์ จ.ระยอง เรื่องบรรณาธิการและจัดชุดข้อสอบ EP ปลายภาค 1/58 ประชุมวันที่ 15-19 มิ.ย. เมื่อขึ้นไปที่ห้องพัก รูมเมทไม่อยู่ในห้อง ( ไม่ฝากกุญแจไว้ ) พนักงานยกกระเป๋าจึงไปเอากุญแจสำรองมาเปิดห้องให้ผม เมื่อเข้าไปในห้องผมเห็นกระเป๋าผู้หญิง ผมเข้าใจว่าผมเข้าห้องผิดเพราะโรงแรมบอกเลขห้องผมผิดหรือผมจำเลขห้องผิด จึงให้พนักงานยกกระเป๋า ลงไปถาม จนท.โรงแรม ๆ โทร.เข้ามือถือรูมเมท เขาพูดเป็นผู้หญิง จนท.โรงแรมจึงโทร.มาบอกผมว่า รูมเมทเป็นสาวประเภทสองแต่งหญิง ผมจะเปลี่ยนห้องไหม ผมคิดว่า เขาก็คงไม่อยากพักกับคนอายุมากอย่างผม จึงเปลี่ยนห้อง ( หลังจากนั้น ทั้งห้องผมและห้องเขาก็มีผู้มาทีหลัง มาพักด้วย ผมคู่กับคนไทยด้วยกัน ส่วนห้องเขาพักคู่กับครู EP ชาวต่างประเทศ )
ถ้าเขาไม่จบ ม.ปลาย เช่นเรียนผ่านแค่เกรด 10 หรือ 11 ก็ให้นำวุฒิ ม.ต้น มาสมัครเรียน กศน.ม.ปลาย และยื่นขอเทียบโอน เราก็เทียบโอนตามในหนังสือแนวทางการเทียบโอนฯเล่มดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ละเอียด ( ในหน้า 50 ระบุว่า ถ้าเรียนผ่านเกรด 10 เทียบโอนได้ไม่เกิน 19 หน่วยกิต โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับรายวิชาต่อไปนี้ ... ... )
5. ผมไปประชุมที่โรงแรมสตาร์ จ.ระยอง เรื่องบรรณาธิการและจัดชุดข้อสอบ EP ปลายภาค 1/58 ประชุมวันที่ 15-19 มิ.ย. เมื่อขึ้นไปที่ห้องพัก รูมเมทไม่อยู่ในห้อง ( ไม่ฝากกุญแจไว้ ) พนักงานยกกระเป๋าจึงไปเอากุญแจสำรองมาเปิดห้องให้ผม เมื่อเข้าไปในห้องผมเห็นกระเป๋าผู้หญิง ผมเข้าใจว่าผมเข้าห้องผิดเพราะโรงแรมบอกเลขห้องผมผิดหรือผมจำเลขห้องผิด จึงให้พนักงานยกกระเป๋า ลงไปถาม จนท.โรงแรม ๆ โทร.เข้ามือถือรูมเมท เขาพูดเป็นผู้หญิง จนท.โรงแรมจึงโทร.มาบอกผมว่า รูมเมทเป็นสาวประเภทสองแต่งหญิง ผมจะเปลี่ยนห้องไหม ผมคิดว่า เขาก็คงไม่อยากพักกับคนอายุมากอย่างผม จึงเปลี่ยนห้อง ( หลังจากนั้น ทั้งห้องผมและห้องเขาก็มีผู้มาทีหลัง มาพักด้วย ผมคู่กับคนไทยด้วยกัน ส่วนห้องเขาพักคู่กับครู EP ชาวต่างประเทศ )
กรณีนี้ อ.ปนัดดา
หัวหน้ากลุ่มงานตรวจจ่าย กลุ่มการคลัง กศน. บอกว่า ถ้าชายพักเดี่ยว 2 ห้อง
จะเบิกจ่ายได้ห้องเดียว อีกห้องหนึ่งผู้พักต้องใช้เงินส่วนตัวจ่ายเอง
กลับไปเบิกต้นสังกัดก็ไม่ได้ เพศเดียวกันจะเบิกห้องเดี่ยว
2 ห้องได้เฉพาะกรณีมีเหตุจำเป็นเช่นคนหนึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
ส่วนการเป็นสาวประเภทสองโดยเฉพาะถ้ายังไม่แปลงเพศไม่ถือเป็นเหตุจำเป็น
ผมถามต่อว่า ถ้าแปลงเพศเป็นหญิงแล้วล่ะ
จำเป็นไหม อ.ปนัดดาตอบว่า ไม่แน่ใจ
ต้องถามกรมบัญชีกลาง
6. คืนวันที่ 22 มิ.ย.58 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาศึกษาต่อภาคปกติ ว่า
ถึงแม้จะมีกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ 8 ที่กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย
แต่กฎ ก.ค.ศ. ฉบับนี้ ก็กำหนดเงื่อนไขไว้จนเป็นไปได้น้อย
เริ่มตั้งแต่ระดับจังหวัดต้องพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ที่อยู่ระหว่างลาไปศึกษาฯ เฉพาะผู้ที่ ผู้บังคับบัญชาส่งหรืออนุญาตให้ลาไปศึกษาฯในวิชาที่จะได้ใช้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา และ มีผลการประเมินฯดีเด่นจริงๆ แล้ว
6. คืนวันที่ 22 มิ.ย.58 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาศึกษาต่อภาคปกติ ว่า
ถึงแม้จะมีกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ 8 ที่กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัย
แต่กฎ ก.ค.ศ. ฉบับนี้ ก็กำหนดเงื่อนไขไว้จนเป็นไปได้น้อย
เริ่มตั้งแต่ระดับจังหวัดต้องพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ที่อยู่ระหว่างลาไปศึกษาฯ เฉพาะผู้ที่ ผู้บังคับบัญชาส่งหรืออนุญาตให้ลาไปศึกษาฯในวิชาที่จะได้ใช้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้หรือคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา และ มีผลการประเมินฯดีเด่นจริงๆ แล้ว
เมื่อผ่านไปถึงส่วนกลางก็ต้องผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ. อีกครั้ง โดย
อ.ก.ค.ศ.ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ คือ
ต้องเรียนให้จบภายในเวลาตามที่หลักสูตรกำหนดไว้โดยไม่มีการขอขยายเวลา ( ป.โท 2 ปี, ป.เอก 3 ปี ) ถึงแม้จะได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ 4 ปี แต่ถ้าหลักสูตรนั้นกำหนดให้สามารถเรียนจบได้ใน 3 ปี ก็ต้องเรียนให้จบภายใน 3 ปี และถึงแม้ว่าจะรีบรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายใน 2 หรือ 3 ปี แต่ถ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการโดยที่ยังเรียนไม่จบ ก็ถือว่าผิดเงื่อนไข ต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างการลาศึกษาต่อ
และ ผลการศึกษาฯ ต้องเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ต้องเรียนให้จบภายในเวลาตามที่หลักสูตรกำหนดไว้โดยไม่มีการขอขยายเวลา ( ป.โท 2 ปี, ป.เอก 3 ปี ) ถึงแม้จะได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ 4 ปี แต่ถ้าหลักสูตรนั้นกำหนดให้สามารถเรียนจบได้ใน 3 ปี ก็ต้องเรียนให้จบภายใน 3 ปี และถึงแม้ว่าจะรีบรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายใน 2 หรือ 3 ปี แต่ถ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการโดยที่ยังเรียนไม่จบ ก็ถือว่าผิดเงื่อนไข ต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างการลาศึกษาต่อ
และ ผลการศึกษาฯ ต้องเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
( ต่างกันกับข้าราชการทหาร/ตำรวจ
ที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามปกติ,
ข้าราชการตำรวจที่ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรม เป็นพนักงานสอบสวน สบ 1
ก็จะได้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเดือนละ 3,500 บาท
ทุกคน โดยไม่ต้องยื่นเสนอผลงานให้ประเมินอีก และเงินเพิ่มรายเดือนนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเป็น
สบ 2 3 4 โดยไม่ต้องยื่นขอประเมินผลงานอีก ตำรวจที่ตำแหน่งเป็นผู้บริหารเท่าซี 8 ก็จะได้เงินประจำตำแหน่ง 5,600 X 2 = 11,200 บาท
โดยอัตโนมัติ )
7. ดึกวันที่ 22 มิ.ย.58 ไซยูตี มะนุ ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
1) ใครเป็นผู้กำหนดจำนวนชั่วโมงกิจกรรม กพช.ให้แต่ละครั้ง ( กำหนดโดย คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลโครงการ หรือ ครู กศน.ตำบล/ครูอาสาฯ หรือเจ้าหน้าที่ กพช. หรือผู้บริหาร )
2) กิจกรรมค่าย 3 วัน 2 คืน จำเป็นต้องให้ชั่วโมงกิจกรรม 25 ชั่วโมงหรือไม่ สามารถให้น้อยกว่าหรือมากกว่า 25 ชั่วโมงได้หรือไม่ มีหลักเกณพิจารณาอย่างไร
3) ถ้ากิจกรรม กพช.ทำทุกเทอม แต่เจ้าหน้าที่ไอทีไม่ได้คีย์ลงในโปรแกรมไอทีในแต่ละเทอมได้หรือไม่
7. ดึกวันที่ 22 มิ.ย.58 ไซยูตี มะนุ ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
1) ใครเป็นผู้กำหนดจำนวนชั่วโมงกิจกรรม กพช.ให้แต่ละครั้ง ( กำหนดโดย คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลโครงการ หรือ ครู กศน.ตำบล/ครูอาสาฯ หรือเจ้าหน้าที่ กพช. หรือผู้บริหาร )
2) กิจกรรมค่าย 3 วัน 2 คืน จำเป็นต้องให้ชั่วโมงกิจกรรม 25 ชั่วโมงหรือไม่ สามารถให้น้อยกว่าหรือมากกว่า 25 ชั่วโมงได้หรือไม่ มีหลักเกณพิจารณาอย่างไร
3) ถ้ากิจกรรม กพช.ทำทุกเทอม แต่เจ้าหน้าที่ไอทีไม่ได้คีย์ลงในโปรแกรมไอทีในแต่ละเทอมได้หรือไม่
ผมตอบว่า
1) เอกสารหลักฐานการทำ กพช. ที่สำคัญมี 2 ขั้นตอนคือ
- การเสนอโครงการก่อนทำ กพช. ให้ ผอ.สถานศึกษา หรือผู้ที่ ผอ.สถานศึกษาแต่งตั้ง/มอบหมาย เห็นชอบ
- การรายงานผลการทำ กพช. หลังทำ กพช.เสร็จแล้ว ให้ ผอ.สถานศึกษา อนุมัติ
ในส่วนของเอกสารการรายงานผลการทำ กพช. ต้องปรับปรุงให้มีการแนบรายชื่อ นศ.ทั้งหมดที่ทำ กพช.นั้น และมีจำนวนชั่วโมงที่ทำ กพช. ของ นศ.แต่ละคน ต่อท้ายด้านขวาของรายชื่อ นศ.แต่ละคนด้วย
รายชื่อ นศ. และจำนวนชั่วโมงนี้ พิจารณาเสนอโดย นศ.ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการ เมื่อเสนอรายงานไปถึง ผอ.สถานศึกษา และ ผอ.สถานศึกษาอนุมัติหรือไม่อย่างไร รายชื่อและจำนวนชั่วโมงก็เป็นไปตามที่ ผอ.สถานศึกษาอนุมัตินี้แหละ รายงานผลที่ ผอ.อนุมัติแล้วนี้ นายทะเบียนจะใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการบันทึกการทำกิจกรรม กพช.ของ นศ.แต่ละคน ลงในระบบทะเบียน
ในส่วนของเอกสารการเสนอโครงการก่อนทำ กพช.นั้น จะกำหนดให้แนบรายชื่อ นศ. และจำนวนชั่วโมง ด้วยเลยก็ได้ รายชื่อและจำนวนชั่วโมงแนบพร้อมการเสนอโครงการนี้ พิจารณาเสนอโดย นศ.ร่วมกับครูที่ดูแล นศ.กลุ่มนั้น
รายชื่อ นศ.และจำนวนชั่วโมง ในเอกสารทั้ง 2 ส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะในการทำกิจกรรม กพช.จริง อาจไม่เป็นไปตามโครงการที่เสนอก็ได้ แต่รายชื่อและจำนวนชั่วโมงที่นายทะเบียนใช้บันทึกในระบบทะเบียน คือรายชื่อและจำนวนชั่วโมงในรายงานผลการทำ กพช. หลังทำ กพช.เสร็จ ที่ ผอ.อนุมัติแล้วเท่านั้น
1) เอกสารหลักฐานการทำ กพช. ที่สำคัญมี 2 ขั้นตอนคือ
- การเสนอโครงการก่อนทำ กพช. ให้ ผอ.สถานศึกษา หรือผู้ที่ ผอ.สถานศึกษาแต่งตั้ง/มอบหมาย เห็นชอบ
- การรายงานผลการทำ กพช. หลังทำ กพช.เสร็จแล้ว ให้ ผอ.สถานศึกษา อนุมัติ
ในส่วนของเอกสารการรายงานผลการทำ กพช. ต้องปรับปรุงให้มีการแนบรายชื่อ นศ.ทั้งหมดที่ทำ กพช.นั้น และมีจำนวนชั่วโมงที่ทำ กพช. ของ นศ.แต่ละคน ต่อท้ายด้านขวาของรายชื่อ นศ.แต่ละคนด้วย
รายชื่อ นศ. และจำนวนชั่วโมงนี้ พิจารณาเสนอโดย นศ.ร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการ เมื่อเสนอรายงานไปถึง ผอ.สถานศึกษา และ ผอ.สถานศึกษาอนุมัติหรือไม่อย่างไร รายชื่อและจำนวนชั่วโมงก็เป็นไปตามที่ ผอ.สถานศึกษาอนุมัตินี้แหละ รายงานผลที่ ผอ.อนุมัติแล้วนี้ นายทะเบียนจะใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการบันทึกการทำกิจกรรม กพช.ของ นศ.แต่ละคน ลงในระบบทะเบียน
ในส่วนของเอกสารการเสนอโครงการก่อนทำ กพช.นั้น จะกำหนดให้แนบรายชื่อ นศ. และจำนวนชั่วโมง ด้วยเลยก็ได้ รายชื่อและจำนวนชั่วโมงแนบพร้อมการเสนอโครงการนี้ พิจารณาเสนอโดย นศ.ร่วมกับครูที่ดูแล นศ.กลุ่มนั้น
รายชื่อ นศ.และจำนวนชั่วโมง ในเอกสารทั้ง 2 ส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะในการทำกิจกรรม กพช.จริง อาจไม่เป็นไปตามโครงการที่เสนอก็ได้ แต่รายชื่อและจำนวนชั่วโมงที่นายทะเบียนใช้บันทึกในระบบทะเบียน คือรายชื่อและจำนวนชั่วโมงในรายงานผลการทำ กพช. หลังทำ กพช.เสร็จ ที่ ผอ.อนุมัติแล้วเท่านั้น
2) การพิจารณาจำนวนชั่วโมง
ของ นศ.ร่วมกับครูหรือคณะกรรมการฯ ว่าจะเป็นกี่ชั่วโมงนั้น หลักสูตรปี 51 แตกต่างและพิจารณาง่ายกว่าหลัก สูตรปี 30 โดยหลักสูตรปี 30 ใช้คำว่า “หน่วยกิจกรรม” ( ม.ต้น
ให้ทำ กพช. 41 หน่วยกิจกรรม, ม.ปลาย
ให้ทำ กพช. 48 หน่วยกิจกรรม ) ที่จริงเปลี่ยนเป็นให้ทำ กพช. 100 “ชั่วโมง” มาตั้งแต่หลักสูตรปี 44 แล้ว แต่หลายคนยังยึดติดและใช้คำว่า
หน่วยกิจกรรม มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เข้าใจผิดในการคิดจำนวนชั่วโมง กพช.
ถ้าเป็นหน่วยกิจกรรมตามหลักสูตรปี 30 โครงการใดจะให้กี่หน่วยต้องพิจารณาจากความสำคัญ-ประโยชน์-ความยากง่ายในการทำ แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นให้ทำ กพช. 100-200 ชั่วโมง ในหลักสูตรปี 44-51 แล้ว จำนวนชั่วโมง ก็คือ “เวลาเป็นจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมนั้น” แค่นั้นเอง ไม่ต้องคิดมาก ทุกโครงการที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำ กพช.แล้ว จะต้องมีความสำคัญ-ประโยชน์มากพอแล้ว จะให้กี่ชั่วโมงก็แค่พิจารณาให้ได้ว่ากิจกรรมนั้นต้องใช้เวลาทำทั้งหมดกี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง
การนับจำนวนชั่วโมง ให้นับจำนวนชั่วโมงที่ใช้ตั้งแต่ นศ.วางแผน-ประสานงาน-สรุปประเมินผล ด้วย ส่วนช่วงไหนที่ นศ.ไม่ได้ทำกิจกรรมตามที่กำหนดก็ไม่ต้องนับเวลา เช่น การไปเข้าค่าย ถ้านักศึกษามีการมาประชุมเขียนแผนกันล่วงหน้า 3 ชั่วโมง ก็นับรวม 3 ชั่วโมงนี้เข้าไปด้วย, ในระหว่างการเดินทางไปเข้าค่าย ถ้า นศ.นั่งรถไปโดยไม่มีกิจกรรมระหว่างเดินทาง ก็ไม่นับชั่วโมงในระหว่างเดินทางนี้ ถ้ามีการทำกิจกรรมถึงแม้จะทำกิจกรรมบนรถก็นับชั่วโมงด้วย ในภาคกลางคืน ถ้าปล่อยให้ นศ.ทำกิจวัตรของแต่ละคนและพักนอนตามอัธยาศัยก็ไม่นับชั่วโมงภาคกลางคืน แต่ถ้ามีกิจกรรมให้ทำในภาคกลางคืนก็นับจำนวนชั่วโมงที่ต้องทำกิจกรรมในภาคกลางคืนด้วย หรือไม่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในภาคกลางคืนแต่มีการบ้านให้ต่างคนต่างทำให้เสร็จในคืนนั้น ก็นับรวมจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการทำการบ้านด้วย เป็นต้น
ถ้าเป็นหน่วยกิจกรรมตามหลักสูตรปี 30 โครงการใดจะให้กี่หน่วยต้องพิจารณาจากความสำคัญ-ประโยชน์-ความยากง่ายในการทำ แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นให้ทำ กพช. 100-200 ชั่วโมง ในหลักสูตรปี 44-51 แล้ว จำนวนชั่วโมง ก็คือ “เวลาเป็นจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมนั้น” แค่นั้นเอง ไม่ต้องคิดมาก ทุกโครงการที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำ กพช.แล้ว จะต้องมีความสำคัญ-ประโยชน์มากพอแล้ว จะให้กี่ชั่วโมงก็แค่พิจารณาให้ได้ว่ากิจกรรมนั้นต้องใช้เวลาทำทั้งหมดกี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง
การนับจำนวนชั่วโมง ให้นับจำนวนชั่วโมงที่ใช้ตั้งแต่ นศ.วางแผน-ประสานงาน-สรุปประเมินผล ด้วย ส่วนช่วงไหนที่ นศ.ไม่ได้ทำกิจกรรมตามที่กำหนดก็ไม่ต้องนับเวลา เช่น การไปเข้าค่าย ถ้านักศึกษามีการมาประชุมเขียนแผนกันล่วงหน้า 3 ชั่วโมง ก็นับรวม 3 ชั่วโมงนี้เข้าไปด้วย, ในระหว่างการเดินทางไปเข้าค่าย ถ้า นศ.นั่งรถไปโดยไม่มีกิจกรรมระหว่างเดินทาง ก็ไม่นับชั่วโมงในระหว่างเดินทางนี้ ถ้ามีการทำกิจกรรมถึงแม้จะทำกิจกรรมบนรถก็นับชั่วโมงด้วย ในภาคกลางคืน ถ้าปล่อยให้ นศ.ทำกิจวัตรของแต่ละคนและพักนอนตามอัธยาศัยก็ไม่นับชั่วโมงภาคกลางคืน แต่ถ้ามีกิจกรรมให้ทำในภาคกลางคืนก็นับจำนวนชั่วโมงที่ต้องทำกิจกรรมในภาคกลางคืนด้วย หรือไม่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในภาคกลางคืนแต่มีการบ้านให้ต่างคนต่างทำให้เสร็จในคืนนั้น ก็นับรวมจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการทำการบ้านด้วย เป็นต้น
3) ในโครงการเดียวกันที่มี
นศ.หลายคนร่วมทำกิจกรรม กพช. นศ.แต่ละคนไม่จำเป็นต้องได้ชั่วโมง
กพช.เท่ากัน เช่น โครงการแข่งขันกีฬา มี
นศ.เพียงบางคนเป็นคณะทำงาน/คณะกรรมการจัดแข่งขันกีฬา ต้องมีการประชุมวางแผนกัน
จะได้ชั่วโมงมากกว่า นศ.ที่ไม่ได้มาร่วมประชุมวางแผน ส่วน นศ.บางคนเป็นนักกีฬาลงแข่งขันด้วย
ต้องมีการซ้อมก่อนแข่ง ก็นับชั่วโมงช่วงการซ้อมเข้าไปด้วยก็ได้ นศ.บางคนมาร่วมในวันเชียร์กีฬาเท่านั้นก็ได้ชั่วโมงน้อยกว่า
ถ้ามีการแข่งขันหลายรอบ
นศ.ที่มาร่วมกิจกรรมรอบเดียวก็ได้ชั่วโมงน้อยกว่า นศ.ที่มาร่วมกิจกรรมหลายวัน เป็นต้น
( ในบัญชีรายชื่อ
นศ.ที่ร่วมกิจกรรม กพช. แนบรายงานผลการทำ กพช. หรือแนบเสนอโครงการก่อนทำ กพช.
จึงให้ปรับแบบฟอร์มโดยระบุจำนวนชั่วโมงไว้ด้านขวาของรายชื่อเป็นรายคนเลย )
4) กรอบการจัด
กพช. ฉบับล่าสุด ยังเป็นปี 2555 ตอนนี้ยังไม่ได้กำหนดใหม่ แต่ในกรอบนี้ยังให้ทำ
กพช. 100 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
กิจกรรมศีลธรรม 50 ชั่วโมง และกิจกรรมตามนโยบาย กศน. 50
ชั่วโมง ปัจจุบันมีหนังสือแจ้งที่ให้เพิ่ม
กพช.ทั้งหมดเป็น 200 ชั่วโมง ก็ยังให้ทำตามกรอบนี้ทั้ง 2
ส่วน แต่ปรับเป็นส่วนละ ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง
( ผมเคยเขียนเรื่องนี้ในข้อ
7 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/550293
)
ในกรอบนี้ กำหนดว่า เข้าค่ายคุณธรรม 3 วัน 2 คืน 25 ชั่วโมง ซึ่ง เราไม่จำเป็นต้องให้ 3 วัน 2 คืน เป็น 25 ชั่วโมง อาจให้น้อยกว่าหรือมากกว่า 25 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำจริงตามที่ผมตอบในข้อ 2) นี้ โดยผู้พิจารณากำหนดจำนวนชั่วโมงก็เป็นไปตามในข้อ 1) นี้
ในกรอบนี้ กำหนดว่า เข้าค่ายคุณธรรม 3 วัน 2 คืน 25 ชั่วโมง ซึ่ง เราไม่จำเป็นต้องให้ 3 วัน 2 คืน เป็น 25 ชั่วโมง อาจให้น้อยกว่าหรือมากกว่า 25 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำจริงตามที่ผมตอบในข้อ 2) นี้ โดยผู้พิจารณากำหนดจำนวนชั่วโมงก็เป็นไปตามในข้อ 1) นี้
5) ถ้า
นศ.ทำกิจกรรม กพช.แล้วจริงแท้แน่นอน แต่ จนท.ไอที ไม่บันทึกข้อมูลในทะเบียนให้ ถ้ามีเอกสารรายงานผลการทำกิจกรรม
กพช.ที่ ผอ.อนุมัติแล้ว ก็นำเอกสารนี้มาบันทึกข้อมูลย้อนหลัง
หรือทำเอกสารขึ้นมาใหม่ได้ แต่ถ้าไม่มีเอกสารใดเลย
ทั้งๆที่มีการเสนอทำ กพช. และ นศ.ทำจริง ก็ต้องดูว่าเป็นความบกพร่องของใคร เป็นความบกพร่องของครู/เจ้าหน้าที่ หรือของ นศ. ถ้าเป็นความบกพร่องของครู/เจ้าหน้าที่
แต่แก้ไขได้ ไม่เสียหายถึงขั้นมีการฟ้องร้อง และเป็นความบกพร่องครั้งแรก ก็อาจแค่ว่ากล่าวตักเตือน/ภาคทัณฑ์
เพื่อให้เกิดการตื่นตัวพัฒนา ไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย