สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7
เรื่อง ดังนี้
1. หลังจากที่ผมโพสต์เรื่อง “อยากให้ปรับปรุงสิทธิของ ครู ศรช.” ปรากฏว่ามีผู้เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผม เช่น
1. หลังจากที่ผมโพสต์เรื่อง “อยากให้ปรับปรุงสิทธิของ ครู ศรช.” ปรากฏว่ามีผู้เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผม เช่น
1) เย็นวันที่ 10 พ.ย.60
มีผู้เขียนต่อท้ายโพสต์ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า สัญญาจ้างเหมาบริการ เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ เมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ในฐานะเป็นลูกจ้างกับ
ส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) จึงเป็น นิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ์างกับนายจ้างตามมาตรา
5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนั้น
การที่ส่วนราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ์างเพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ.๒๕๓๓ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ
( คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๔๙/๒๕๕๖ http://www.admincourt.go.th/admincourt//upload//webcms//Academic//Academic_031017_091242.pdf )
( คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๔๙/๒๕๕๖ http://www.admincourt.go.th/admincourt//upload//webcms//Academic//Academic_031017_091242.pdf )
ผมตอบว่า เราทำผิด เราให้ทำงานเหมือนจ้างแรงงาน (
เหมือนจ้างลูกจ้างชั่วคราว )
ซึ่งศาลพิพากษาว่าถ้าจ้างให้ทำงานลักษณะนี้จะเป็นการจ้างแรงงาน ต้องได้สิทธิเหมือนลูกจ้างชั่วคราว
ซึ่งกระทรวงการคลังก็เคยย้ำมายังทุกส่วนราชการ ( ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0406.4/ว67 ลงวันที่ 14 ก.ค.53 ) ว่า การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุต้องไม่จ้างในลักษณะจ้างแรงงาน เช่น ต้องไม่จ้างต่อเนื่อง แต่ให้จ้างเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ ต้องมีการตรวจรับชิ้นงานที่จ้างจริง ๆ ไม่ใช่แค่มีใบตรวจรับงานจ้างเป็นหลักฐาน แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจรับงานจ้าง
( หนังสือกระทรวงการคลังฉบับนี้ สรุปได้ว่า
" ปัจจุบัน ส่วนราชการหลายแห่งได้ดำเนินการจ้างเอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อปฏิบัติงานในลักษณะเช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน ซึ่งไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับจ้างคิดว่าเป็นบุคลากรของรัฐ และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เหมือนบุคลากรของรัฐ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาข้อโต้แย้ง จึงให้ส่วนราชการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด ดำเนินการจ้างตามระเบียบพัสดุ ไม่ใช่ระเบียบลูกจ้าง
- จ้างดำเนินงานเฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจ้างเต็มปีงบประมาณ และ มิให้ทำสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง
- อัตราค่าจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่ให้เป็นอัตราค่าจ้างปกติทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับงานนั้น โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย
- ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ จากทางราชการ แต่เป็น "ผู้รับจ้างทำของ" ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ผู้รับจ้างสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตามมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ” )
ซึ่งกระทรวงการคลังก็เคยย้ำมายังทุกส่วนราชการ ( ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0406.4/ว67 ลงวันที่ 14 ก.ค.53 ) ว่า การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุต้องไม่จ้างในลักษณะจ้างแรงงาน เช่น ต้องไม่จ้างต่อเนื่อง แต่ให้จ้างเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ ต้องมีการตรวจรับชิ้นงานที่จ้างจริง ๆ ไม่ใช่แค่มีใบตรวจรับงานจ้างเป็นหลักฐาน แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจรับงานจ้าง
( หนังสือกระทรวงการคลังฉบับนี้ สรุปได้ว่า
" ปัจจุบัน ส่วนราชการหลายแห่งได้ดำเนินการจ้างเอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อปฏิบัติงานในลักษณะเช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน ซึ่งไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับจ้างคิดว่าเป็นบุคลากรของรัฐ และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เหมือนบุคลากรของรัฐ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาข้อโต้แย้ง จึงให้ส่วนราชการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด ดำเนินการจ้างตามระเบียบพัสดุ ไม่ใช่ระเบียบลูกจ้าง
- จ้างดำเนินงานเฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจ้างเต็มปีงบประมาณ และ มิให้ทำสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง
- อัตราค่าจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่ให้เป็นอัตราค่าจ้างปกติทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับงานนั้น โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย
- ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ จากทางราชการ แต่เป็น "ผู้รับจ้างทำของ" ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ผู้รับจ้างสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตามมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ” )
ทั้งศาล และกระทรวงการคลัง สอดคล้องกัน
ความผิดอยู่ที่เรา พฤตินัยของเราจ้างให้ทำงานเหมือนลูกจ้างชั่วคราว
แต่นิตินัยทำหลักฐานว่าจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ ซึ่งศาลบอกว่า
เป็นสัญญาจ้างอำพราง ศาลให้พิจารณาจากพฤตินัยเป็นหลัก ถ้าให้ทำงานเป็น “ลูกจ้าง” ไม่ใช่ “ผู้รับจ้าง”
ส่วนราชการก็ต้องให้สิทธิประโยชน์แบบลูกจ้าง
ปัญหาของเราคือ
เราไม่ได้งบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราวเลย (
ถ้าได้งบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราว
งบจะมาพร้อมเลขที่อัตราและเงินประกันสังคม+ค่าครองชีพตามเกณฑ์ )
เราจึงต้องใช้งบดำเนินงานและเงินอุดหนุนในการจ้าง ซึ่งงบนี้จะจ้างต่อเนื่องเป็นลูกจ้างและจ่ายค่าประกันสังคมไม่ได้ ต้องจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ)
เราจึงต้องใช้งบดำเนินงานและเงินอุดหนุนในการจ้าง ซึ่งงบนี้จะจ้างต่อเนื่องเป็นลูกจ้างและจ่ายค่าประกันสังคมไม่ได้ ต้องจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ)
ถ้าไม่ได้งบบุคลากรและจะทำให้ถูก
ก็ต้องเลิกจ้างต่อเนื่อง แต่ใช้งบดำเนินงานหรือเงินอุดหนุนจ้างเป็นเรื่อง
ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ ซึ่งจะเดือดร้อนกันทุกฝ่าย ข้าราชการและพนักงานราชการจะทำงานไม่ไหว
เช่นต้องสอน/พบกลุ่มแทนครู ศรช.
สรุป ถ้าจะทำให้ถูกต้อง คือ
ใช้งบบุคลากรจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งต้องทำประกันสังคมให้และมีค่าครองชีพชั่วคราวตามเกณฑ์ที่กำหนด
แต่ปัญหาของเราคือ ไม่ได้รับงบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราวเลย เมื่อนำงบดำเนินงานและเงินอุดหนุนมาจ้างแทน
ก็ต้องจ้างแบบจ้างเหมาบริการและทำประกันสังคมไม่ได้
เราทำผิด ที่ จ้างต่อเนื่องให้ทำงานเหมือนลูกจ้าง ไม่จ้างเป็นจ๊อบ ๆ
เราทำผิด ที่ จ้างต่อเนื่องให้ทำงานเหมือนลูกจ้าง ไม่จ้างเป็นจ๊อบ ๆ
2) วันเสาร์ที่ 11 พ.ย.60
มีผู้เขียนต่อท้ายโพสต์เรื่องเดียวกันของผมในเฟซบุ๊ก ว่า “พนักงานราชการทำงานในพิ้นที่ ข้าราชการรับงานอยู่ข้างบน
แปลกนะพอปรับเงินเดือนต้องนึกถึงข้าราชการก่อนทุกครั้ง”
ผมตอบว่า จริงหรือ... แต่ที่ผ่านมา เช่น ครั้งล่าสุด 1 ธ.ค.57 ปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ 4
% กฎหมายหลักฉบับเดียวกันครอบคลุมทั้งข้าราชการและพนักงานราชการ
โดยพนักงานราชการได้ปรับ 4 % ทุกคน
แต่ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปไม่ได้ปรับเลย
และ ข้าราชการครูระดับต่ำกว่าชำนาญการพิเศษได้ปรับช้ากว่าพนักงานราชการเกือบ 2 ปี เพราะข้าราชการครูต้องออกกฎหมายเงินเดือนตามหลังข้าราชการพลเรือนและต้องทยอยแก้ไขคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนก่อน ( ได้ปรับช้ากว่าก็ดีที่ได้ตกเบิกย้อนหลังเป็นเงินก้อน )
จะเขียนอะไรก็ขอให้ใช้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้วย อย่าใช้แต่ความคิด/อารมณ์
พนักงานราชการวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 18,000 บาท แต่ข้าราชการพลเรือนวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 15,000 บาท
และ ข้าราชการครูระดับต่ำกว่าชำนาญการพิเศษได้ปรับช้ากว่าพนักงานราชการเกือบ 2 ปี เพราะข้าราชการครูต้องออกกฎหมายเงินเดือนตามหลังข้าราชการพลเรือนและต้องทยอยแก้ไขคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนก่อน ( ได้ปรับช้ากว่าก็ดีที่ได้ตกเบิกย้อนหลังเป็นเงินก้อน )
จะเขียนอะไรก็ขอให้ใช้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้วย อย่าใช้แต่ความคิด/อารมณ์
พนักงานราชการวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 18,000 บาท แต่ข้าราชการพลเรือนวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 15,000 บาท
หลังจากที่ผมตอบไป ผู้เขียนมาเขียนต่ออีกว่า “สามปีแล้วคับ”
ผมตอบว่า หลังจาก "ครั้งล่าสุด" แล้ว
ก็ยังไม่มีการปรับเงินเดือนอีก ทั้งข้าราชการและพนักงานราชการ ( เข้าใจคำว่า
ครั้งล่าสุด ไหม )
หรือว่าที่เขียนนี่หมายถึง "การเลื่อนเงินเดือนประจำปี" ถ้าเป็นการเลื่อนเงินเดือนประจำปี ข้าราชการยิ่งช้ากว่า เพราะข้าราชการต้องออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโดยส่วนกลางซึ่งออกช้ากว่า และได้เงินตกเบิกช้ากว่าพนักงานราชการเป็นปกติ เช่นปีนี้ถึงวันนี้ ( 12 พ.ย.60 ) ข้าราชการแต่ละคนยังไม่รู้เลยว่าคำสั่งเลื่อนเงินเดือนจะออกเมื่อไร จะได้เลื่อนเงินเดือนเท่าไร จะได้ตกเบิกย้อนหลังเมื่อไร แต่ก็ยังไม่มีใครถามเพราะช้าอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ควรจะคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง
2. ก.ค.ศ.กำหนดจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ของข้าราชการครู กศน.
หรือว่าที่เขียนนี่หมายถึง "การเลื่อนเงินเดือนประจำปี" ถ้าเป็นการเลื่อนเงินเดือนประจำปี ข้าราชการยิ่งช้ากว่า เพราะข้าราชการต้องออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโดยส่วนกลางซึ่งออกช้ากว่า และได้เงินตกเบิกช้ากว่าพนักงานราชการเป็นปกติ เช่นปีนี้ถึงวันนี้ ( 12 พ.ย.60 ) ข้าราชการแต่ละคนยังไม่รู้เลยว่าคำสั่งเลื่อนเงินเดือนจะออกเมื่อไร จะได้เลื่อนเงินเดือนเท่าไร จะได้ตกเบิกย้อนหลังเมื่อไร แต่ก็ยังไม่มีใครถามเพราะช้าอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ควรจะคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง
2. ก.ค.ศ.กำหนดจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ของข้าราชการครู กศน.
https://www.dropbox.com/s/drne27s7gc3jyk9/hourTeacherNFE.pdf?dl=1
3. คืนวันที่ 13 พ.ย.60 มีบุคคลจาก กศน.อ.กร..... จ.สม..... ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า
1) ผอ.กศนอำเภอมีอำนาจย้ายครูกศนตำบลไปทำงานกศนจังหวัดได้มั้ย ในกรณีหาว่ากระดางกระเดื่อง
2) หัวหน้ากศนตำบลโดนผอให้ลดชั่นจากหัวหน้ามาเป็นทำงานสำนักงานกศนอำเภอเป็นหลัก ช่วยงานพัสดุและสารบัญ แล้วให้คนอื่นมาทำแทนตำแหน่งคนนั้นได้มั้ย
3. คืนวันที่ 13 พ.ย.60 มีบุคคลจาก กศน.อ.กร..... จ.สม..... ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า
1) ผอ.กศนอำเภอมีอำนาจย้ายครูกศนตำบลไปทำงานกศนจังหวัดได้มั้ย ในกรณีหาว่ากระดางกระเดื่อง
2) หัวหน้ากศนตำบลโดนผอให้ลดชั่นจากหัวหน้ามาเป็นทำงานสำนักงานกศนอำเภอเป็นหลัก ช่วยงานพัสดุและสารบัญ แล้วให้คนอื่นมาทำแทนตำแหน่งคนนั้นได้มั้ย
ผมตอบว่า ประเด็นเหล่านี้ผมตอบบ่อยแล้ว
เสิร์ชหาอ่านรายละเอียดดูนะ เช่นใน
- ข้อ 5 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/517220
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/n-net.html
- ข้อ 6 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/04/60.html
ตำแหน่ง “ครู กศน.ตำบล” กับตำแหน่ง “หัวหน้า กศน.ตำบล” นี้ เป็นคนละเรื่องกัน โดยตำแหน่งครู กศน.ตำบล เป็นพนักงานราชการตำแหน่งหนึ่ง ส่วนหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นหัวหน้าทีมบุคลากรที่ดำเนินงาน กศน.ตำบล ซึ่งมีตำบลละ 1 คน
หัวหน้า กศน.ตำบล ไม่จำเป็นต้องเป็นครู กศน.ตำบล เช่นในภาคกลาง ( ยกเว้น กทม.) ภาคตะวันออก ภาคใต้ ยังมีจำนวนครู กศน.ตำบล น้อยกว่าจำนวนตำบล จึงมีหลายตำบลที่ต้องแต่งตั้งบุคลากรอื่นเช่นครูอาสาฯเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล
ผู้แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล คือ ผอ.กศน.จังหวัด ถ้า ผอ.กศน.อำเภอต้องการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสนอให้จังหวัดออกคำสั่งเปลี่ยนแปลง
- ข้อ 5 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/517220
- ข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/n-net.html
- ข้อ 6 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/04/60.html
ตำแหน่ง “ครู กศน.ตำบล” กับตำแหน่ง “หัวหน้า กศน.ตำบล” นี้ เป็นคนละเรื่องกัน โดยตำแหน่งครู กศน.ตำบล เป็นพนักงานราชการตำแหน่งหนึ่ง ส่วนหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นหัวหน้าทีมบุคลากรที่ดำเนินงาน กศน.ตำบล ซึ่งมีตำบลละ 1 คน
หัวหน้า กศน.ตำบล ไม่จำเป็นต้องเป็นครู กศน.ตำบล เช่นในภาคกลาง ( ยกเว้น กทม.) ภาคตะวันออก ภาคใต้ ยังมีจำนวนครู กศน.ตำบล น้อยกว่าจำนวนตำบล จึงมีหลายตำบลที่ต้องแต่งตั้งบุคลากรอื่นเช่นครูอาสาฯเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล
ผู้แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล คือ ผอ.กศน.จังหวัด ถ้า ผอ.กศน.อำเภอต้องการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสนอให้จังหวัดออกคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ส่วนการเปลี่ยนพื้นที่ครู กศน.ตำบล
( พนักงานราชการ ) นั้น ส่วนกลางมอบให้จังหวัดเปลี่ยนพื้นที่ตามคำร้องขอ/ความจำนงของพนักงานราชการ
ได้เฉพาะตอนเปลี่ยนสัญญาจ้าง
โดยถ้าเป็นตำแหน่งครู กศน.ตำบล เลขที่ตำแหน่งจะระบุพื้นที่ถึงระดับตำบล ฉะนั้นการเปลี่ยนตำบลก็เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ จังหวัดเปลี่ยนได้เฉพาะตอนต่อสัญญาและต้องเป็นไปตามคำร้องขอ/ความจำนงของพนักงานราชการ
การเปลี่ยนพื้นที่นี้ต้องเปลี่ยนไปยังที่ ๆ มีเลขอัตราว่างในตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งที่จังหวัดไม่มีอัตราตำแหน่งครู กศน.ตำบล เพราะไม่ใช่สถานศึกษา อำเภอและจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานราชการไปช่วยราชการที่อื่น ถ้าพนักงานราชการทำความผิดก็ต้องดำเนินการพิจารณาและลงโทษไปตามขั้นตอน/หลักเกณฑ์ ซึ่งไม่มีขั้นตอน/หลักเกณฑ์ให้ส่งไปช่วยราชการที่อื่น
4. ดึกวันที่ 13 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อว่างลงแล้ว สำนักงาน กศน.จังหวัดสามารถขอเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปที่ กจ. เพื่อเรียกมาบรรจุที่สำนักงาน กศน.จังหวัด ได้เหรอ
โดยถ้าเป็นตำแหน่งครู กศน.ตำบล เลขที่ตำแหน่งจะระบุพื้นที่ถึงระดับตำบล ฉะนั้นการเปลี่ยนตำบลก็เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ จังหวัดเปลี่ยนได้เฉพาะตอนต่อสัญญาและต้องเป็นไปตามคำร้องขอ/ความจำนงของพนักงานราชการ
การเปลี่ยนพื้นที่นี้ต้องเปลี่ยนไปยังที่ ๆ มีเลขอัตราว่างในตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งที่จังหวัดไม่มีอัตราตำแหน่งครู กศน.ตำบล เพราะไม่ใช่สถานศึกษา อำเภอและจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานราชการไปช่วยราชการที่อื่น ถ้าพนักงานราชการทำความผิดก็ต้องดำเนินการพิจารณาและลงโทษไปตามขั้นตอน/หลักเกณฑ์ ซึ่งไม่มีขั้นตอน/หลักเกณฑ์ให้ส่งไปช่วยราชการที่อื่น
4. ดึกวันที่ 13 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อว่างลงแล้ว สำนักงาน กศน.จังหวัดสามารถขอเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปที่ กจ. เพื่อเรียกมาบรรจุที่สำนักงาน กศน.จังหวัด ได้เหรอ
ผมตอบว่า การขอเปลี่ยนตำแหน่ง
และ/หรือ เปลี่ยนพื้นที่ ของตำแหน่งว่าง ให้จังหวัดกับอำเภอหารือกัน แล้วเสนอเหตุผลความจำเป็นให้ส่วนกลางพิจารณาอนุมัติ
5. วันที่ 14 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เคื่องแบบที่ขายในเพจต่างๆ (ตามภาพ) ออกมาจากกรมไหม ถูกระเบียบไหม มีในระเบียบกศน.ไหม อยากทราบข้อเท็จจริง
5. วันที่ 14 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เคื่องแบบที่ขายในเพจต่างๆ (ตามภาพ) ออกมาจากกรมไหม ถูกระเบียบไหม มีในระเบียบกศน.ไหม อยากทราบข้อเท็จจริง
ผมตอบว่า เครื่องแบบนักศึกษาใช่ไหม
ส่วนกลางไม่ได้กำหนดบังคับเรื่องเครื่องแบบนักศึกษา กศน. โดย นศ.จะใช้แบบที่เอกชนเขาทำขายกันเองก็ได้
แต่จะบังคับหรือกำหนดให้ นศ.ซื้อไม่ได้ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
( ดูรายละเอียดในคำตอบเดิม เช่นในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2017/05/prgaccout.html )
( ดูรายละเอียดในคำตอบเดิม เช่นในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2017/05/prgaccout.html )
ผู้ถาม ถามต่อ ว่า เอกชนเอาตราสัญลักษณ์กศน.มาใช้ในการพาณิชย์ได้เหรอ
ผมตอบว่า เครื่องแบบข้าราชการสังกัดต่าง ๆ เอกชนเขาก็ทำขายกันนะ เช่นตราเสมาธรรมจักร
ตรา "เพื่อนเรียนรู้" นี้ ไม่ใช่ตราหน่วยงาน กศน. ตรานี้เราอาจไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ แต่ถ้าเราจะฟ้องจริง ๆ ก็คงจะฟ้องได้ และคงชนะ ( ไม่ 100 % ) แต่จะคุ้มไหม
( ไม่ได้ทำให้เราเสียหาย ไม่ได้ทำขายแข่งกับเรา ไม่ได้ทำให้เราขายได้น้อยลง เพราะเราไม่ได้ทำขาย )
ผมตอบว่า เครื่องแบบข้าราชการสังกัดต่าง ๆ เอกชนเขาก็ทำขายกันนะ เช่นตราเสมาธรรมจักร
ตรา "เพื่อนเรียนรู้" นี้ ไม่ใช่ตราหน่วยงาน กศน. ตรานี้เราอาจไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ แต่ถ้าเราจะฟ้องจริง ๆ ก็คงจะฟ้องได้ และคงชนะ ( ไม่ 100 % ) แต่จะคุ้มไหม
( ไม่ได้ทำให้เราเสียหาย ไม่ได้ทำขายแข่งกับเรา ไม่ได้ทำให้เราขายได้น้อยลง เพราะเราไม่ได้ทำขาย )
6. วันที่
15 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ในกรณีพนก.ยังทำงานไม่ครบ6
เดือนแล้วป่วยเข้ารพ.จะต้องทำยังงัยในเมื่องานบุคลากร
กศน.อำเภอบ้านโพธิ์บอกว่าทำงานไม่ครบ 6 เดือนไม่มีสิทธิ์ลาป่วย
ผมตอบว่า ถ้า “พนก.” ของคุณ ย่อมาจากพนักงานราชการ ผมโพสต์ระเบียบการลาของพนักงานราชการประมาณ
10 ครั้งแล้ว ดูระเบียบฉบับเต็มกับฉบับปรับปรุงเฉพาะเรื่องการลาพักผ่อนได้ที่
- https://www.dropbox.com/s/45lvflyejrgfqp0/benefit54.pdf?dl=1
- https://www.dropbox.com/s/rpz0d2zxfjw532l/PRGrelaxP.pdf?dl=1
การลาพักผ่อน ปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
การลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 ปีแล้วจึงจะมีสิทธิลา
ส่วนการลาอื่น ๆ เช่นลาป่วย ลากิจ มีสิทธิยื่นขอลาตั้งแต่วันแรกที่บรรจุ
7. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย.) นันทินี แก้วใส ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนถ้าตำแหน่งว่างลง สามารถสอบทดแทนตำแหน่งที่ว่างได้ไหม เจ้านายตอบว่าครูอาสาโดนทำหมัน
- https://www.dropbox.com/s/45lvflyejrgfqp0/benefit54.pdf?dl=1
- https://www.dropbox.com/s/rpz0d2zxfjw532l/PRGrelaxP.pdf?dl=1
การลาพักผ่อน ปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
การลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 ปีแล้วจึงจะมีสิทธิลา
ส่วนการลาอื่น ๆ เช่นลาป่วย ลากิจ มีสิทธิยื่นขอลาตั้งแต่วันแรกที่บรรจุ
7. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย.) นันทินี แก้วใส ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนถ้าตำแหน่งว่างลง สามารถสอบทดแทนตำแหน่งที่ว่างได้ไหม เจ้านายตอบว่าครูอาสาโดนทำหมัน
ผมตอบว่า ผมโพสต์เรื่องนี้บ่อยแล้ว เช่นใน
- ข้อ 2 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/05/70.html
- ข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/11/2.html
คือ สอบ/เรียกบรรจุครูอาสาฯคนใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งส่วนกลาง
เพียงแต่ บทบาทหน้าที่ที่ถูกต้อง ตามที่ตกลงไว้กับ กพร.นั้น ครูอาสาฯต้องสอนเป็นหลัก ถ้าไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ เช่นจะสอนเป็นรอง ก็ควรเสนอขอเปลี่ยนตำแหน่งว่างเป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่ง "ครู"
( ถ้าไม่สนใจกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์ จะเป็นสิ่งที่ผิดมากสำหรับหน่วยงานราชการและผู้จัดการศึกษา คล้ายกับหมอเมาแล้วขับเสียเอง จะสอนคนอื่นแบบไหน )
- ข้อ 2 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/05/70.html
- ข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/11/2.html
คือ สอบ/เรียกบรรจุครูอาสาฯคนใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งส่วนกลาง
เพียงแต่ บทบาทหน้าที่ที่ถูกต้อง ตามที่ตกลงไว้กับ กพร.นั้น ครูอาสาฯต้องสอนเป็นหลัก ถ้าไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ เช่นจะสอนเป็นรอง ก็ควรเสนอขอเปลี่ยนตำแหน่งว่างเป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่ง "ครู"
( ถ้าไม่สนใจกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์ จะเป็นสิ่งที่ผิดมากสำหรับหน่วยงานราชการและผู้จัดการศึกษา คล้ายกับหมอเมาแล้วขับเสียเอง จะสอนคนอื่นแบบไหน )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย