วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คุณสมบัติ+เอกสาร ขอโอนเป็น ขรก.ครู, โปรแกรม ปวช.กศน., ขอรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์ภาษาอาเซียน, จะสมัครเป็นข้าราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ จบเอกใดได้บ้าง, ปัญหาโปรแกรม ITw พิมพ์ใบ รบ., ขอคำอธิบายรายวิชา, “พบกลุ่ม” เป็นคำหยาบ



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 26 พ.ย.56 “กศน.เขตลาดกระบัง รักในหลวง” ขอโปรแกรม ปวช.กศน. กับคูมือการใช้งานโปรแกรม ในหน้าเฟซบุ๊คผม  

             ผมตอบว่า   ในการติดตั้งโปรแกรม ให้อ่านวิธีการติดตั้งจากคู่มือก่อน
             - ในขั้นตอนการติดตั้ง จะให้กรอกข้อมูล Name(ชื่อ) และ Organization(หน่วยงาน) ให้กรอกอะไรก็ได้
             - ค่าตั้งต้นในการเข้าโปรแกรมครั้งแรก UserName = admin, Password = 097484787
             - เมื่อเข้าไปแล้วให้คลิกที่ stop
             - ถ้าจะออกจากโปรแกรม ให้ออกทางเมนู File --> Exit
             - โปรแกรมนี้พัฒนาโดยท่าน อ.มานิตย์ หิมานันโต วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี   โปรแกรมนี้ยังใช้ต่อกับหลักสูตร ปวช.56 ได้ แต่ควรปรับปรุงให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ได้แล้ว เช่น รหัสวิชาไม่เหมือนเดิม  การคีย์รหัสวิชาตามหลักสูตร 56 ถ้ายังไม่ปรับปรุงโปรแกรมให้คีย์ 4 ตัว แล้วเคาะ แล้วคีย์อีก 4 ตัว
             - ถ้าถึงเวลาพิมพ์ใบ รบ.หลักสูตร 56 ต้องพัฒนาโปรแกรมนี้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ จึงจะพิมพ์ใบ รบ.ลงแบบฟอร์มใหม่ได้ ซึ่งพวกเราต้องช่วยกันแจ้งกลุ่ม พัฒนา กศน. ( หรือกลุ่มแผนงาน ไม่แน่ใจ ) ให้ประสานงานกับท่าน อ.มานิตย์ หิมานันโต วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี 089-7484787 ให้พัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใหม่ให้

             1. คู่มือการใช้งานโปรแกรม
                 https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/namnulNFE2010.pdf
             2. โปรแกรมทะเบียนและวัดผล สำหรับงาน ปวช.กศน. รุ่น Nfe2010-Ver106-10-11-53
                 https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/Nfe2010-Ver106-10-11-53.zip

         2. วันที่ 27 พ.ย.56 คุณ “@กฐิน เสีอเขียว บุญเทียม” ( ขรก.ครู ) ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  มีรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์ภาษาอาเซียนหรือปล่าว ถ้ามีช่วยส่งให้ได้ปล่าว

             ผมตอบว่า   ดาวน์โหลดได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/ASEAN.pdf


         3. วันเดียวกัน ( 26 พ.ย.) คุณ “ลูก น้ำกว๊าน” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  มีเกณฑ์ในการขอโอนเป็นข้าราชการครูอย่างไร

             ผมตอบว่า   คุณสมบัติของข้าราชการพลเรือนหรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น เช่น บรรณารักษ์ ( ข้าราชการ ) ที่มีสิทธิ์ขอโอนเป็นข้าราชการครู คือ
             1. จบปริญญาสาขาวิชาที่ ก.ค.ศ.รับรองและกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการครู  ( ปกติข้าราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ จะมีคุณสมบัติข้อนี้อยู่แล้ว )
             2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
             3. มีประสบการณ์การสอน 2 ปี

             ปกติการยื่นคำร้องขอโอนเป็นข้าราชการครูนี้ ใช้แบบฟอร์มคำร้องขอโอนแบบเดียวกับคำร้องขอย้าย  

             สำหรับเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอโอนเป็นข้าราชการครู ก็เป็นเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 1.- 3.  โดยเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 3. ( ประสบการณ์การสอน ) ค่อนข้างจะจัดหา/จัดทำยากสักหน่อย  เท่าที่ทราบ ก.ค.ศ.เคยขอเอกสารหลักฐานตามข้อ 3. คือ

             - หนังสือรับรองประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในการสอน หรือ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน จากสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่ผู้ขอโอนเคยปฏิบัติหน้าที่ในการสอน  ระบุช่วงเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่  และรายงานว่าทำการสอนวิชาใดบ้าง จำนวนกี่คาบ/สัปดาห์ รวมทั้งรายชื่อนักเรียน/นักศึกษาที่ทำการสอนในแต่ละภาคเรียน  โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย
             - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน/นักศึกษา จากการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน  โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย

 
         4. วันที่ 28 พ.ย.56 คุณ “@Large White” กศน.อ.บึงโขงหลง ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  จบสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จะมีสิทธิ์สอบข้าราชการบรรณารักษ์มั้ย เพราะเรียนมาก็เรียนวิชาของบรรณารักษ์ แต่เพิ่ม IT เข้ามาในหลักสูตรด้วย จึงเปลี่ยนชื่อจากบรรณารักษศาสตร์เป็นสารสนเทศศาสตร์

             ผมตอบว่า   เขาจะดูทรานสคริปท์ว่าเรียนวิชาบรรณารักษ์มาครบหน่วยกิตหรือไม่ แต่ครั้งที่ผ่านมาเห็นว่าสาขาวิชาเอกต่อไปนี้ ครบนะครับ มีสิทธิ์สอบ

             - บรรณารักษศาสตร์
             - สารนิเทศศาสตร์
             - บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
             - สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์

         5. วันเดียวกัน ( 28 พ.ย.) คุณ “วาฬ ชานนท์ สมิธ” ถามสมาชิกในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ลงโปรแกรมไอทีใหม่ แล้วมีปัญหาเวลาจะปริ้นวุฒิให้นักศึกษา มันจะแจ้งว่า Page header band is too large to fit on page และไม่สามารถปริ้นวุฒิได้   ใครทราบวิธีแก้ไขมั๊ย

             ผมตอบว่า   คิดว่าเป็นที่เครื่องปริ๊นท์   ถ้าเครื่องปริ๊นท์ปรับ Minimize margins ได้ ลองปรับเป็น On   ถ้าปรับ Resolution ได้ ลองปรับเปลี่ยนดู   หรือลองเปลี่ยนเครื่องปริ๊นท์ดู  ( เมื่อปรับเปลี่ยนแล้ว ต้องออกจากโปรแกรม ITw ก่อนแล้วเข้าโปรแกรมใหม่ จากนั้นลองสั่งพิมพ์ใหม่ )



         6. วันเดียวกัน ( 28 พ.ย.) คุณ “Sky Non Wilairat” กศน.กทม. ถามผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  มีคำอธิบายรายวิชา ปลูกผักคะน้า ความหลากหลายของแหล่งเรียนรู้ และ คุ้มครองผู้บริโภค หรือปล่าว

             ผมตอบว่า   ดูหลักสูตร ( คำอธิบายรายวิชา + รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ) ทุกรายวิชา ได้ในข้อ 24 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/10/blog-post_8783.html

             - คลิกที่ Login  (ถ้าจะดูข้อมูลเฉย ๆ ไม่ต้องใส่ user id และ password ก็ได้ )

             - เข้าไปแล้ว ชี้ที่ "ระบบค้นหาข้อมูล" คลิกที่ "ระบบค้นหาข้อมูลหลักสูตรวิชาเลือก"

             - จากนั้น คลิกให้มีเครื่องหมายถูก เลือก "ชื่อหลักสูตร" หรือ/และ "สาระการเรียนรู้" หรือ/และ "ประเภทรายวิชา" หรือ/และ "ระดับการศึกษา"  ตามต้องการ  เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม "ค้นหา" เช่น ถ้ารู้ชื่อวิชา ( สมมุติว่าจะหาหลักสูตรวิชาลูกเสือ กศน.1 ) ก็คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า "ชื่อหลักสูตร" และพิมพ์คำว่าลูกเสือลงไปในช่องชื่อหลักสูตร แล้วคลิกที่ปุ่มค้นหาเลย

             - ถ้าจะดูข้อมูลย่อของรายวิชาใด คลิกที่ปุ่ม View   ถ้าจะดูคำอธิบายรายวิชาและรายละเอียดคำอธิบายรายวิชา คลิกที่ปุ่มเปิดไฟล์



         7. คืนวันเดียวกัน ( 28 พ.ย.) คุณอาธิป บูสา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สนง.กศน.จ.ยะลา โพสท์ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า

             " ท่านเลขาฯ ย้ำ
             ห้ามใช้คำว่า "พบกลุ่ม" เด็ดขาด เพราะถือเป็นคำหยาบ
             ต่อไปนี้จะมีแต่ "การเรียนการสอน" นักศึกษามาเรียน ครูมาสอน
             สัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา "

             ( ไม่ได้หมายความว่าเป็นคำหยาบจริง ๆ  แต่หมายถึงว่า ให้ความสำคัญมากต่อ "การเรียนการสอน" อย่างมีคุณภาพ   เพราะที่ผ่านมา กศน.ใช้คำว่า "พบกลุ่ม" โดยมักจะใช้เวลาไปกับการพูดคุยประสานงานกัน
             ต่อไปนี้ให้เน้นการเรียนการสอน  ซึ่งท่านเคยบอกให้เปลี่ยนการพบกลุ่มเป็นการเรียนการสอนมาระยะหนึ่งแล้ว แต่มีบางคนยังไม่ค่อยตระหนัก ท่านจึงพูดคำนี้ขึ้นมาเพื่อดึงความสนใจให้ตระหนัก    เป็นการเล่นคำคล้ายกับที่มีคนพูดว่า คำว่า "อ้วน" เป็นคำหยาบ )


วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อินเตอร์เน็ต กศน.อำเภอ เร็วถึง 10 เม็ก ถ้า..., อินเทอร์เน็ต ไม่ใช่อินเตอร์เน็ต, ถ้า นศ.ไม่ครบหรือเกิน จะเกิดอะไร, ประชุมโรงแรม อ.เมือง บุคลากร อ.เมืองเบิกที่พักได้ไหม, กำหนดการสอบต่างๆ, บำเหน็จบำนาญผู้ทำประกันสังคม, ทำบัตรนักศึกษานานาชาติ, เทียบโอนอย่างเดียวได้เงินอุดหนุนรายหัว



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 29 ต.ค.56 เจ้าหน้าที่ MOENet จากกระทรวงศึกษาธิการ โทร.ไปที่ กศน.อ.ผักไห่ บังเอิญผมเป็นผู้รับสาย
             จนท. MOENet บอกว่า เช็คอยู่ที่กระทรวงฯ ไม่เห็นลิ้งค์เน็ตของ กศน.อ.ผักไห่ มา 2 วันแล้ว มีปัญหาอะไรหรือเปล่า 
              ( จากการตรวจดู พบว่าไฟที่ Fiber Media Converter ไม่ติด เมื่อขยับสายขยับปลั๊กให้แน่นปรากฏว่าไฟติดขึ้นมา แล้ว จนท.MOENet บอกว่า เขามองเห็นลิ้งค์แล้ว แสดงว่าปัญหาอยู่ที่ปลั๊กหลวม   ผมถามว่า แล้วทำไมยังเล่นอินเทอร์เน็ตได้  เขาเบอกว่าเป็นเพราะ กศน.อ.ผักไห่ ไม่ได้เล่นอินเทอร์เน็ตผ่าน Fiber Media Converter กับ Enterprise Router แต่เล่นผ่าน Wireless ADSL ของ TOT )
             ผมถือโอกาสถามว่า โครงการเพิ่มความเร็ว Leased Line เป็น 10 เม็ก ( 10 Mpbs ) เมื่อไรจะถึงระดับอำเภอ ระดับตำบล   เขาบอกว่า ตอนนี้ระดับอำเภอเร็วถึง 10 เม็กแล้ว แต่ระดับตำบลยังไม่ถึง    ถ้า กศน.อ.ผักไห่เล่นผ่าน Fiber Media Converter กับ Enterprise Router ก็จะเร็วถึง 10 เม็ก แต่ถ้าเล่นผ่าน Wireless ADSL ของ TOT ก็ไม่ถึง   แต่การเล่นผ่าน Fiber Media Converter กับ Enterprise Router นั้น ต้องใช้สายแลนเชื่อมต่อจาก Enterprise Router เข้าสู่เครื่องคอมฯแต่ละเครื่องโดยตรง   หรือถ้าจะไม่ต้องเดินสายแลน ยังอยากจะเล่นผ่านไวเรสเหมือนเดิม ก็ต้องซื้อ ไวเรส แอคเซส พ้อยท์ ( Wireless access point ) มาใช้

             ( เดิมผมเผยแพร่เรื่องนี้ในเฟซบุ๊ค แต่พิมพ์อินเทอร์เน็ต เป็น อินเตอร์เน็ต  ได้รับคำแนะนำจาก ผอ.ต้อย Toy Fongjan กศน.อ.ฝาง ว่า   คณะกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ ของราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติ Internet ว่า อินเทอร์เน็ตเพราะถือว่า Internet (ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่) เป็นชื่อเฉพาะที่ต้องสื่อสารกันเป็นสากลทั่วโลก จึงให้ใช้คำทับศัพท์  และได้ถอดทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่า t ที่เป็นพยัญชนะต้นให้ใช้ ท (ยกเว้น inter- ให้ใช้ อินเตอร์)  ส่วนบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้ใช้ว่า อินเตอร์เน็ต เป็นชื่อบริษัทถือเป็นชื่อเฉพาะ จะไม่ใช้ตามหลักเกณฑ์ก็ได้    ที่จริงผมก็รู้นะ แต่เผลอทุกที เวลาผมไปคัดเลือกข้อสอบวิชาทักษะการเรียนรู้ ที่มีคำว่าอินเทอร์เน็ตอยู่ในข้อสอบ เขาก็กำหนดให้ใช้คำว่าอินเทอร์เน็ต )
          2. เนื่องจากมีคำถามในลักษณะ “ถ้าได้นักศึกษา ไม่ครบ หรือ เกิน เกณฑ์ .. จะเกิดอะไรขึ้น”  เข้ามาพอสมควร  วันที่ 3 พ.ย.56 ผมจึงเผยแพร่เรื่องนี้ในเฟซบุ๊ค ดังนี้

             ในส่วนของ กศ.ขั้นพื้นฐาน ( ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ไม่รวมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ, ปวช.และ EP ) มีเกณฑ์อยู่ 2 เกณฑ์ คือ
             1)  เกณฑ์ในภาพรวมของแต่ละอำเภอ เป็นเกณฑ์ขั้นสูง ( ต่ำกว่าไม่เป็นไร ) คือ
                  จำนวนนักศึกษารวมทั้งอำเภอ ต้องเกินจำนวนครู ( ครูอาสาฯ+ครู กศน.ตำบล+ครู ศรช. อัตรา 1 : 60 ) ไปไม่ถึง 60 คน โดยถ้ามีเศษเหลือถึง 60 ให้จ้างครู ศรช.เพิ่ม  เช่น ถ้า กศน.อำเภอมีครูอาสาฯ+ครู กศน.ตำบล+ครู ศรช. รวม 10 คน จะต้องมีนักศึกษาไม่เกิน 659 คน ถ้ามีนักศึกษาถึง 660 คน ต้องจ้างครู ศรช.เพิ่ม
                  ผู้รับผิดชอบเกณฑ์นี้คือ ผอ. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกินเกณฑ์
                  ถ้าเกินเกณฑ์ ก็คือ ไม่ปฏิบัติตามนโยบายส่วนจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ปฏิบัติตามนโยบาย ก็ขึ้นอยู่กับ ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป  ผมไม่ทราบ

             2)  เกณฑ์ของครูแต่ละคน เป็นเกณฑ์ทั้งขั้นต่ำและขั้นสูง คือ
                  - ครูอาสาฯรวมครูอาสาปอเนาะ-ครู กศน.ตำบล-ครู ศรช.  1 คน  รับผิดชอบผู้เรียนไม่น้อยกว่า 60 คน  ไม่เกิน 66 คน
                  - ครู ปวช.  1 คน  รับผิดชอบผู้เรียนไม่น้อยกว่า 40 คน  ไม่เกิน 45 คน
                  - ครูสอนเด็กเร่ร่อน  1 คน  รับผิดชอบผู้เรียนไม่น้อยกว่า 20 คน  ไม่เกิน 25 คน
                  - ครูสอนคนพิการทางการเห็น การได้ยิน ทางร่างกาย การเคลื่อนไหว และสุขภาพ  1 คน  รับผิดชอบผู้เรียนไม่น้อยกว่า 10 คน  ไม่เกิน 15 คน
                  - ครูสอนคนพิการทางสติปัญญา การเรียนรู้ การพูด ภาษา พฤติกรรมหรืออารมณ์ ออทิสติก พิการซ้อน  1 คน  รับผิดชอบผู้เรียนไม่น้อยกว่า 5 คน  ไม่เกิน 8 คน

                  ถ้าเกินเกณฑ์ขั้นสูง เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารเช่นเดียวกับข้อ 1)    ถ้ารายบุคคลเกินเกณฑ์ แต่ภาพรวมทั้งอำเภอ/เขต เหลือเศษไม่พอที่จะจัดอีก 1 กลุ่ม คือไม่เกินเกณฑ์ตามข้อ 1)  ก็คงไม่เป็นไร
                  จะเกิดอะไรขึ้นถ้าครูมีนักศึกษาน้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
                  สิ่งที่จะเกิดขึ้น แตกต่างกันใน 2 กลุ่ม
                  2.1  กลุ่มครูที่ไม่ได้เป็นพนักงานราชการ ( ครู ศรช. ครู ปวช. ครูสอนเด็กเร่ร่อน ครูสอนคนพิการ ) ถ้ามีนักศึกษาไม่ครบตามเกณฑ์ จะไม่ได้ค่าตอบแทนรายเดือนเต็มตามวุฒิ เช่น ถ้าครู ศรช. รายใดมีนักศึกษาไม่ครบ 60 คน ต้องเบิกเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามจำนวนนักศึกษา หัวละไม่เกิน 150 บาท/เดือน เป็นต้น
                  2.2  กลุ่มครูที่เป็นพนักงานราชการ ( ครูอาสาฯ ครู กศน.ตำบล ) ถ้ามีนักศึกษาไม่ครบ 60 คน ถือว่าไม่ไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ เป็นความผิด อาจเลิกสัญญาจ้าง   ( ในกรณีที่ครูอาสาฯ ครู กศน.ตำบล ไม่มีนักศึกษาแม้แต่คนเดียว หรือไม่ได้สอน กศ.ขั้นพื้นฐาน และมีการตรวจสอบ อาจมีผลให้ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบครูผู้ช่วย ไม่มีสิทธิขอหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ ไม่มีสิทธิ์เรียน ป.บัณฑิต )



         3. วันที่ 4 พ.ย.56 กศน.ตำบลท่าแยก จังหวัดสระแก้ว ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  "จังหวัดจัดประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่องเตรียมประกันรอบสาม  จังหวัดไม่ให้อำเภอพื้นที่จัด เบิกค่าที่พักนั้น ใช้ระเบียบไหนครับ ถ้าจะเบิกให้ใช้ระเบียบข้อไหนครับ   เช่นจัดประชุมที่โรงแรมในอำเภอเมืองฯ จังหวัดบอกว่าบุคลากร กศน.อำเภอเมืองฯพักโรงแรมไม่ได้เพราะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน”

             ผมตอบว่า   เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการ มาตรา 17 ที่กำหนดว่า การเดินทางไปราชการ "ที่จำเป็นต้องพักแรม" จึงจะเบิกค่าเช่าที่พักได้ การไปราชการภายในเขตท้องที่ สามารถกลับไปนอนในที่พักอาศัยของตนได้ ไม่จำเป็นต้องพักแรมที่อื่น
             กศน.ตำบลท่าแยก ถามต่อว่า  "ตารางการอบรมเริ่ม 8.30 น. เลิกสามทุ่ม ถือเป็นความจำเป็นต้องพักแรมได้หรือไม่"

             เรื่องนี้  อ.สกุลนา หน่วยตอบสอบภายใน กศน. ตอบว่า  ถึงจะเลิกสามทุ่ม แต่ความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ให้พิจารณา "เป็นราย ๆ ไป"   ผู้พิจารณาคือผู้บริหารของหน่วยเบิกจ่ายเงินนั้น เช่น ถ้าเบิกต้นสังกัด ผู้พิจารณาคือ ผอ.อำเภอ  ถ้าเบิกจากจังหวัด(ผู้จัดโครงการ) ผู้พิจารณาคือ ผอ.จังหวัด
             - บางราย อาจเดินทางกลับในเวลาสามทุ่มได้ไม่ลำบาก
            
- บางท้องที่สามทุ่มก็ยังมีรถประจำทาง

             - บางราย เป็นสตรี และบ้านอยู่ในตรอกซอยลึก ไม่ปลอดภัย

            
ถ้าพิจารณาเห็นว่ารายใดมีความจำเป็น ก็ให้พักและเบิกค่าที่พักได้

          4. วันที่ 6 พ.ย.56 ผมเผยแพร่กำหนดการสอบ ในเฟซบุ๊ค ดังนี้

             1)  สอบเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดฯ ภาคทฤษฎี
                  1.1  ของ สทศ. (
http://202.29.102.142/index.php/system_niest/index/14 )
                       - รุ่นที่ 1/56 ครั้งที่ 2  สอบวันที่ 23-24 พ.ย.56  ประกาศผลสอบวันที่ 25 ธ.ค.56
                       - รุ่นที่ 2/56 ครั้งที่ 1  สอบวันที่ 7-8 มิ.ย.57 
ประกาศผลสอบวันที่ 30 มิ.ย.57
                       - รุ่นที่ 2/56 ครั้งที่ 2  และรุ่นที่ 1/57 ครั้งที่ 1  สอบด้วยกันวันที่ 26-27 ก.ค.57

                 
1.2  ของ กศน.
                        - รุ่นที่ 1/56 ครั้งที่ 2   สอบวันที่ 30 พ.ย.- 1 ธ.ค.56
                        - รุ่นที่ 2/56 ครั้งที่ 1 สอบวันที่ 26-27 เม.ย.57
                        - รุ่นที่ 2/56 ครั้งที่ 2  และรุ่นที่ 1/57 ครั้งที่ 1  สอบด้วยกันวันที่ 9-10 ส.ค.57
                           ( ภาคประสบการณ์ รุ่นที่ 2/56 ประเมินโดยสถานศึกษา ครั้งที่ 1  มิ.ย.- ก.ค.57   ครั้งที่ 2 ส.ค.57 ) ( https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/testtableTS1-2-57.jpg ,
http://www.pattanadownload.com/download/g.5/g5.25.PDF )
             2)  สอบเทียบระดับการศึกษา แบบเดิม มิติความรู้ความคิด ( ของ กศน.) 
                  - ครั้งที่ 2/56 สอบวันที่ 22-23 ก.พ.57
                  - ครั้งที่ 1/57 สอบวันที่ 23-24 ส.ค.57, ครั้งที่ 2/57 สอบวันที่ 21-22 ก.พ.58 ( https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/testtableTD1-2-57.jpg )

             3)  N-NET ของ สทศ. ก่อนจบ กศ.ขึ้นพื้นฐาน กศน. (
http://202.29.102.142/index.php/system_niest/index/5 )  ปลายภาคเรียนที่ 2/56   สอบวันที่ 23 ก.พ.57  ประกาศผลสอบวันที่ 25 มี.ค.57  
             4)  สอบปลายภาค กศ.ขั้นพื้นฐาน ของ กศน.  ปลายภาคเรียนที่ 2/56
                  - หลักสูตรปกติ   สอบวันที่ 8-9 มี.ค.57
                  - หลักสูตร
EP   สอบวันที่ 9 มี.ค.57



         5. วันที่ 17 พ.ย.56 ผมเผยแพร่เรื่อง วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ พนักงานราชการ ( และทุกคนที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ ประกันสังคม )  ในเฟซบุ๊ค  ดังนี้
             สิ้นปีนี้รับกันได้แล้ว...
             ผู้ประกันสังคมที่มีสิทธิ์เลือกรับ บำเหน็จชราภาพ ( รับเงินก้อนเดียว )  หรือบำนาญชราภาพ ( รับเป็นเงินรายเดือน )  จะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์  และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพครบ 15 ปี ( 180 เดือน ) แล้ว  ซึ่งสิ้นปี 2556 นี้ จะเริ่มมีผู้ส่งเงินสมทบครบ 15 ปี    ( ถ้ายังส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จะได้เฉพาะผู้ที่ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต และได้เฉพาะบำเหน็จ )
             ผู้ที่เลือกรับบำนาญ แล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ  ให้จ่ายเงินก้อนเดียวให้ลูกหลานผู้ประกันตนจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

             การคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญกรณีชราภาพนั้น แยกได้ 3 รูปแบบ คือ
             1)  กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน แล้วทุพพลภาพหรือเสียชีวิต   จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ได้สมทบจริง  เช่น หากเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่งสมทบเดือนละ 450 บาท ส่งสมทบไป 10 เดือน ก็จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 450 x 10 = 4,500 บาท

             2)  กรณีส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 15 ปี   จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ลูกจ้างส่ง และนายจ้างสมทบ กลับคืนไป  บวกดอกผลจากการลงทุนของ สปส.ในช่วงเวลาที่ลูกจ้างส่งเงิน สมทบเข้ากองทุน ตามที่ สปส.กำหนด  ตัวอย่างเช่น กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่งสมทบเดือนละ 450 บาท และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 10 ปี  จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 450 x 2 (ส่วนที่นายจ้างสมทบ) x 12 เดือน x 10 ปี คิดเป็นเงินประมาณ 108,000 บาท บวกดอกผลจากการลงทุนของ สปส.

             3)  กรณีส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม   จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน และได้รับไปตลอดชีวิต   เท่ากับร้อยละ 20 ของเงินเฉลี่ย 60 เดือน หรือ 5 ปีสุดท้ายของการทำงาน  และทุกๆ 12 เดือนที่สมทบเพิ่ม (คือนับตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) จะได้รับโบนัสในส่วนเพิ่มเท่ากับร้อยละ 1.5 ของเงินเดือนเฉลี่ย   แต่ สปส.ได้กำหนดเกณฑ์ให้ผู้ที่มีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป คำนวณเงินบำนาญชราภาพโดยใช้ฐาน เงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย อยู่ที่ 15,000 บาท เท่านั้น แม้ผู้ประกันตนมีเงินเดือน 20,000 บาท หรือ 30,000 บาท หรือ 40,000 บาท
                  ตัวอย่างเช่น  กรณีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่งสมทบเดือนละ 450 บาท และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ จำนวน 15,000 x ร้อยละ 20 = 3,000 บาทต่อเดือน
                  หรือหากส่งเงินสมทบ 30 ปี  จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ จำนวน
                  = (15,000 x ร้อยละ 20) + (15,000 x 15 ปี ที่ส่งเงินสมทบเพิ่ม x ร้อยละ 1.5)
                  = 3,000 + 3,375
                  = 6,375  บาท/เดือน

                  คำนวณอย่างคร่าวๆ พบว่า
                  - ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือน 9,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ ประมาณ 1,800 บาท
                  - เงินเดือน 10,000 บาท ได้รับเดือนละประมาณ 2,000 บาท
                  - เงินเดือน 12,000 บาท ได้รับเดือนละประมาณ 2,400 บาท
                  - เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ได้รับเดือนละประมาณ 3,000 บาท
                  ซึ่งผู้ประกันตนแต่ละคนอาจจะได้รับเงินบำนาญชราภาพไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอายุการทำงาน

             หากผู้ประกันตนรายใดอายุครบ 55 ปีแล้ว ยังต้องการจะทำงานต่อ ยังไม่ไปขอรับสิทธิประโยชน์นี้ ก็สามารถทำได้ โดยต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 ปี
             ส่วนผู้ประกันตนที่ต้องการรับเงินสิทธิประโยชน์ ให้นำบัตรประชาชนไปแสดงเพื่อรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยให้ไปยื่นขอรับสิทธิได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ใกล้บ้าน ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557  ( การจ่ายเงินอาจมีความล่าช้าบ้าง เนื่องจาก สปส.ต้องใช้เวลากว่า 2 เดือน ในการรอนายจ้างจ่ายเงินสมทบงวดสุดท้าย และคำนวณเงินสิทธิประโยชน์พร้อมผลตอบแทนที่ได้จากการนำเงินผู้ประกันตนไปลงทุน ก่อน จึงจะสามารถโอนเงินให้ผู้ประกันตนได้ )

         6. วันที่ 21 พ.ย.56 คุณ Rene Christopher ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  นักเรียน กศน. สามารถใช้บัตรนักษึกษา ในการทำบัตร ISIC ได้มั้ย พอดีต้องการรหัสยืนยันของ ISIC ในการใช้ระบบต่างๆของโปรแกรมในคอมพ์พิวเตอร์พื้นฐาน ในฐานะนักเรียน
             ( หลังจากถามแล้วยังไม่มีใครตอบ คุณ Rene Christopher ก็หาคำตอบเองมาบอกว่า ทำได้ )

             ผมร่วมให้ข้อมูล ว่า  เป็นคำตอบที่ถูกต้อง คือ ทำได้ ถึงแม้อายุมาก แต่ถ้ายังมีสถานะเป็นนักศึกษา สามารถทำบัตร ISIC ได้ )

             ก. ทำทำไม ?
                 นักศึกษาที่มีบัตรนักศึกษานานาชาติ ( International Student Identity card: ISIC ) จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ
                 เป็นบัตรเดียวที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ว่าผู้ถือบัตรมีสถานภาพเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
                 ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ที่เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวว่า เป็นวิธีเรียนรู้ด้านการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เศรษกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ ที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่งของการศึกษา และนักเรียนนักศึกษาควรจะได้รับส่วนลดในรูปแบบต่างๆ ในการเดินทางด้วย
                 สามารถใช้บัตรเพื่อ ส่วนลด
                 - ในการซื้อตั๋วเครื่องบิน ราคาพิเศษสำหรับนักเรียนนักศึกษา
                 - รถไฟในยุโรป อเมริกา, รถโค้ช, รถโดยสาร
                 - โรงแรมและที่พัก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                 - การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ โรงละคร โรงภาพยนต์ หอศิลป์ ห้องสมุด
                 - การซื้อสินค้าตามร้านค้าชั้นนำต่างๆ และห้างสรรพสินค้า รวมทั้งภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านหนังสือ อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง สถาบันความงาม และ อื่นๆ

             ข. ใครมีสิทธิ์ทำบัตร ?
                 คุณสมบัติผู้ขอมีบัตร ISIC คือ
                 1. ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาต่างๆทั่วโลก ทุกระดับชั้น
                 2. อายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป

             ค. ถ้านักศึกษาสนใจ จะทำบัตรอย่างไร ?
                 สมัครทำบัตร โดย ส่งเอกสารต่อไปนี้
                 1. ใบสมัคร ( ดาวโหลดได้ที่ http://www.ieostudyabroad.com/Download/ISIC-invoice.pdf )
                 2. สำเนาหนังสือรับรองจากสถานศึกษา หรือบัตรนักศึกษา (ที่ยังไม่หมดอายุ)
                 3. รูปถ่าย 1 นิ้ว ยิ้มสวยๆ จำนวน 1 รูป
                 4. ค่าธรรมเนียม 450 บาท ( เฉพาะ ไปรับด้วยตนเอง) ในกรณีที่ต้องการให้ส่งบัตรทาง EMS เพิ่มค่าจัดส่งอีก 50 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเลขที่ 404-386802-1 ชื่อบัญชี คุณลินลี่ พันธุ์พฤกษ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลชิดลม
                 5. สำเนาหน้าพาสปอร์ต ( หน้าที่แสดง ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ) ที่ยังไม่หมดอายุ
                 6. เอกสารยืนยันการโอนเงินค่าธรรมเนียม ( ติดไปในใบสมัคร )

                 ส่งไปที่
                 สถาบัน IEO Studyabroad
                 ห้อง 11A, ชั้น 11 อาคารวานิสสา เลขที่ 29 ซ. ชิดลม ถ.เพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
                 Email : webmaster@ieo.co.th โทรสาร: 0-2650-3534
                 สอบถามรายละเอียดที่ http://www.ieostudyabroad.com/services/isic-card.php
                 โทร : 0-2650-3532-3


         7. วันเดียวกัน (21 พ.ย.) คุณ Somchid Buaphan ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  นักศึกษาที่ลงทะเบียนเทียบโอนอย่างเดียว จะได้ค่ารายหัวไหม
             เรื่องนี้  อ.สุนีย์ กลุ่มแผนงาน กศน. ได้สอบถามกับ อ.กษิพัฒ และ คุณสุขุม แล้ว ได้รับคำตอบว่า  ได้   โดยโปรแกรม ITW51 จะส่งออกไฟล์ข้อมูล นศ.ลงทะเบียนในภาคเรียนนั้นทุกคน ที่บันทึกตามเมนู 1-3-1 หรือ 1-3-2 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน-บันทึกการลงทะเบียน-ลงทะเบียน... ) ซึ่ งจะรวม นศ.ที่ลงทะเบียนเทียบโอนอย่างเดียวอยู่ด้วย  ส่งให้กลุ่มแผนงานใช้ดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว
             โดยเมื่อ import ไฟล์ดังกล่าวเข้าระบบ mis.nfe.go.th ระบบจะนำเข้าทั้งหมด หักที่ซ้ำซ้อนกันออกไป เป็นยอดคงเหลือสำหรับจัดสรร งปม. ทั้งหมด
             ( แต่ถ้าภาคเรียนนั้น นศ.ทำ กพช.อย่างเดียว จะไม่ได้รับการนับหัวเพื่อจัดสรรเงินรายหัว  เพราะการบันทึก กพช. ไม่ได้บันทึกในเมนู 1-3-1 หรือ 1-3-2 )