วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

1.ใบ รบ.จะใช้ชื่อบิดามารดาจริง หรือบิดามารดาบุญธรรม, 2.ขอเอกสารการเปลี่ยนชื่อ ศบอ.เป็น กศน.อ., 3.คำถามจากครูผู้สอนคนพิการใน กทม. ยาวจัง, 4.ผอ.วิตกว่าต้องตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือเรียน, 5.ไม่จำกัดอายุผลการเรียนแล้วใช่ไหม, 6.กิจกรรมจิตอาสา เบิกค่าอาหารได้ไหม, 7.คนเดียวกัน เซ็นทั้งเป็นนายทะเบียนและผู้บริหาร


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. วันที่ 8 พ.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  อยากได้ระเบียบ การรับรองบุตรบุญธรรม กรณีืั้นักศึกษามายื่นเอกสารสมัครเรียนและจบ การออกใบรบ.ต้องใส่ชื่อบิดามารดาจริงหรือบิดามารดาที่นักศึกษาแนบหลักฐานการรับรองบุตรบุญธรรมค่ะ

             ผมตอบว่า   ให้ใช้ชื่อบิดามารดาตามใน “ทะเบียนบ้าน” ที่เป็นปัจจุบันก่อนจบ ( ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงชื่อเหล่านี้หลังจบ เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนตาม )

         2. วันเดียวกัน (8 พ.ย.) มีผู้ถามในไลน์โอเพนแช็ทกลุ่ม กศน. ว่า  ขอคำแนะนำเกี่ยวกับ คำสั่ง หรือ เอกสารที่จัดตั้ง กศน.อำเภอ......จากศูนย์บริการการศึกษา.....มาเป็น..ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ.......... (จะนำไปแนบเรื่องยื่นขอติดตั้งมิเตอร์น้ำประปา)

             ผมตอบว่า   เอกสารคือ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนฯ พ.ศ.2551
             ดาวโหลดได้ที่  http://bit.ly/2NUxONW

         3. วันอาทิตย์ที่ 10 พ.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เป็นครูสอนคนพิการ กศน เขต....... มีเรื่องสอบถามใน3ประเด็น
             ประเด็นที่1 ขอสอบถามว่า เด็กพิการที่มีความประสงค์จะเรียน กับ กศน แต่ไม่มีบัตรผู้พิการ สามารถเรียนได้หรือไม่ เนื่องด้วยทาง ผู้อำนวยการ กศน เขต....... ได้ให้ความช่วยเหลือ ศูนย์การเรียนรู้เด็กพิเศษแห่งหนึ่ง ที่เข้ามาติดต่อ กับทาง กศน เขต....... ทางท่าน ผอ ก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับทางศูนย์การเรียนเด็กพิเศษแห่งนั้น โดยการส่งครูเข้าไปจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในสถานที่นั้นเพื่อเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่พลาดโอกาส แต่เนื่องด้วยผู้เรียนบางรายในสถานที่นั้น บางรายก็มีบัตรผู้พิการ บางรายมีแค่ใบรับรองเเพทย์ว่ามีอาการของโรคประจำตัว และในบางรายมีความผิดปกติบางอย่างไม่เหมือนนักศึกษาปกติแต่ผู้ปกครองไม่พาไปทำบัตรผู้พิการ จึงสอบถามว่า สามารถนำผู้เรียนในลักษณะนี้เข้าเรียนในกลุ่มนักศึกษากลุ่มเป้าหมายพิเศษได้หรือไม่หรือต้องเรียนกับกลุ่มนักศึกษาปกติหากไม่มีบัตรผู้พิการ เนื่องด้วยหลายๆปัจจัยของผู้ปกครองและจากสภาพเเวดล้อมหลายปัจจัย ในด้านสังคมหลายเหตุผลของสถานที่พบกลุ่มเเห่งนั้น ที่ฉันเข้าไปสอน.
             ฉันสามารถ รับสมัครนักศึกษากลุ่มนี้เข้ารับการศึกษาของ กศน กลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้หรือไม่ หรือว่า ในรายที่ไม่มีบัตรผู้พิการจะต้องให้ไปเรียนกับนักศึกษาปกติหรือเปล่า.
             ประเด็นที่2 กรรมการสถานศึกษาของ กศน ทุกแห่งมีบทบาทหน้าที่ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช่มั้ย แต่ไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาของ นักศึกษา กศน และ ไม่ได้มีหน้าที่รับสมัครนักศึกษาและคัดเลือกคุณสมบัติของนักศึกษาในเเต่ละรายของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายพิเศษในการตรวจเอกสารในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน กศน ในเเต่ละเทอมใช่หรือไม่.
             หน้าที่การตรวจเอกสารและการรับสมัครฉันจำได้ว่าเป็นหน้าที่ของครูประจำกลุ่มและนายทะเบียนส่วนกรรมการสถานศึกษาไม่มีหน้าที่ตรงนี้ใช่มั้ย.
             ประเด็นที่3 ในขณะนี้ฉันทำงานใน กศน เขต....... แต่ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษของฉัน อาศัยอยู่เขตพื้นที่อื่น หรือ มีภูมิลำเนาอยู่เขตพื้นที่อื่น แต่ผู้เรียนมีความประสงค์ที่จะเรียน กศน เขต ที่ฉันทำงานอยู่ สามารถเรียนได้ใช่มั้ย และฉันสามารถขับรถไปสอนนักศึกษากลุ่มเป้าหมายพิเศษในเขตอื่นๆ ที่เป็นนักศึกษาของเขตที่ฉันทำงานอยู่ ได้ใช่มั้ย เพราะฉันได้ค่าเดินทางไปสอนนักศึกษาจากกรมทุกเดือน ประเด็นนี้ไม่ผิดระเบียบใช่มั้ย และการปฎิบัติของฉันถือว่าเป๋นการบริการผู้เรียนใช่มั่ย.

             ผมตอบดังนี้
             ตอบประเด็นที่ 1
             ผมไม่เห็นระเบียบหลักเกณฑ์ของ กศน.ที่ระบุว่า นักศึกษาพิการต้องมีบัตรผู้พิการ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีบัตรผู้พิการก็เข้าเป็นนักศึกษากลุ่มเป้าหมายพิเศษได้ แต่ ต้องพิการจริง มิฉะนั้นอาจมีปัญหาภายหลังถ้ามีการร้องกัน
             อย่างไรก็ตาม เขาก็ควรทำบัตรผู้พิการนะ มันทำยากนักหรือถ้าพิการจริง ทำแล้วจะได้เบี้ยยังชีพคนพิการอีกด้วยนะ
             ในส่วนของการเรียนร่วมกับนักศึกษาปกตินั้น เป็นอีกส่วนหนึ่ง นักษาพิการไม่ว่าจะมีบัตรผู้พิการหรือไม่ ก็สามารถจัดให้เรียนร่วมในกลุ่มนักศึกษาปกติ หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละราย
             ตอบประเด็นที่ 2
             กรรมการสถานศึกษาของ กศน. กับของ สพฐ. ใช้ระเบียบคนละฉบับนะ ไม่เหมือนกัน แต่บทบาทหน้าที่ตามที่ถามมานั้น ก็ไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของกรรมการสถานศึกษา อย่างไรก็ตอบ ผอ.สถานศึกษาอาจขอให้เขาร่วมทำได้เป็นรายกรณีไป
             ตอบประเด็นที่ 3
             นักศึกษา กศน.มีสิทธิเลือกสมัครเรียนที่อำเภอ/เขตไหนก็ได้ ตามที่เขาสะดวก ไม่จำเป็นต้องเรียนตามทะเบียนบ้าน แต่ไม่ใช่ว่าครูขอให้เขามาลงในกลุ่มตนโดยเขาไม่ได้สะดวกจะมาเรียนที่กลุ่มตนจริง
             อย่างไรก็ตาม กศน.อำเภอ/เขตมีหน้าที่จัดการศึกษาภายในอำเภอ/เขต การข้ามเขตจะเป็นการก้าวก่ายกันวุ่นวาย ถ้าเขาสะดวกจะเรียนในเขตไหนเขาก็ต้องเรียนในเขตนั้น ไม่ใช่ให้ครูไปสอนข้ามเขต

         4. วันที่ 11 พ.ย.62 มี ผอ.ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  พี่เอกคะ พี่มีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ไหม ที่ออกมาตอนท่านกฤษชัย เป็นเลขาค่ะ เรื่องที่ว่าหนังสือซื้อ กศน.อำเภอต้องตรวจเนื้อหาเอง ค่ะ ถ้ามี อยากได้ค่ะพี่ส่งให้ในเฟสฯก็ได้ค่ะ  ผอ.อำเภอ ที่สั่งซื้อหนังสือเรียน ไม่จ้างพิมพ์ วิตกว่าต้องตรวจสอบความถูกต้องเองค่ะ

             ผมตอบว่า   เขาไม่ได้หมายถึงตรวจละเอียด เพราะหนังสือของเอกชนก็ต้องผ่านการตรวจ มีหลักฐานการตรวจจากส่วนกลางหรือศูนย์ภาคก่อน
             แต่ที่ให้สถานศึกษาตรวจกรณีนี้หมายถึง หนังสือที่เคยผ่านการตรวจก่อนการเปลี่ยนรัชกาลแล้ว ก็ยังต้องปรับแก้คำหรือข้อความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์/ประวัติศาสตร์อีก
             คือให้สถานศึกษาตรวจว่าหนังสือนั้นปรับแก้ข้อความเกี่ยวกับพระมหากษัติย์/ประวัติศาสตร์แล้วหรือไม่ ไม่ใช่ตรวจละเอียดทั้งเล่ม
             ( แต่เพื่อความสะดวกและมาตรฐาน จะใช้วิธีจ้างพิมพ์ตามต้นฉบับของเรา ก็มีเหตุผลครับ )

         5. วันที่ 13 พ.ย.62 มี ผอ.ถามผมทางไลน์ ว่า  ขอสอบถามอายุของผลการเรียนที่เรียนกับ กศน.ค่ะ อันนี้ครูเอกชัยเคยตอบไว้ ( ผู้ถามลงภาพเอกสารมา 3 ภาพ ) ไม่จำกัดอายุผลการเรียนแล้วใช่ไหมคะ

             ผมตอบว่า   นำภาพเอกสารมา 3 ภาพ จนผมไม่รู้ว่าจะเจาะจงถามประเด็นไหน
             ประเด็นต่าง ๆ ยังเหมือนเดิมคือ ถ้าหมายถึงผลการเรียนสายสามัญที่จัดเป็นชั้นเรียน ( ไม่ใช่ผลการเรียนการศึกษาต่อเนื่อง ) จะนับอายุผลการเรียนรายวิชา เฉพาะในช่วงที่กำลังเรียนยังไม่จบยังไม่ลาออก แต่ถ้ารายวิชาเหล่านั้นไปปรากฏในใบ รบ.แล้ว ( เรียนจบหรือลาออก ) รายวิชาที่อยู่ในใบ รบ./ใบระเบียน ไม่ว่าจะเรียนมาจากสังกัดไหน จะไม่จำกัดอายุผลการเรียน เช่นลาออกจาก ป.5 มาตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน ก็ยังเทียบโอนได้

         6. วันที่ 18 พ.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ถ้าจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านจิตอาสาสามารถเบิกค่าอาหารได้ไหม

             ผมตอบว่า   ถ้าจัดในลักษณะ การเข้าค่าย ฝึกอบรม ก็มีอัตรากำหนดให้เบิกได้ ( ตามข้อ 1.1-1.2 ในตารางแนบท้ายคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 669/61 ลว.20 มี.ค.61 )

         7. วันที่ 21 พ.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ที่อำเภอตอนนี้ไม่มีผอ.กศน.เพราะเกษียณไปแล้ว แต่มีข้าราชการตำแหน่งนายทะเบียน และรักษาการในตำแหน่งผอ.กศน.(คนเดียวกัน) ถ้าออกใบระเบียนการศึกษา นี่สามารถเซ็นได้ทั้งสองที่เลยไหมคะ

             ผมตอบว่า   ใช่ครับ


วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

1.ชื่อภาษาอังกฤษของวิชาเลือก, 2.หาระเบียบที่ว่า อายุวิชา 5 ปี, 3.ผู้มีชื่อได้รับแต่งตั้งตามคำสั่ง ต้องรับผิดชอบ, 4.คู่มือ-โปรแกรมเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน, 5.ระเบียบออกฉบับใหม่ การพานักศึกษาไปนอกสถานศึกษา, 6.จบ ม.ปลาย แต่ยังไม่จบ ม.ต้น, 7.ใครเป็นกรรมการ/ส่งมอบ/รับมอบ ในใบตรวจรับการจ้างเหมาบริการ


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. วันที่ 24 ต.ค.62 มีการถาม-ตอบ เรื่องชื่อภาษาอังกฤษของวิชาเลือกเสรี ในไลน์กลุ่ม ITw NFE

             ตามภาพประกอบนี้






         2. วันที่ 24 ต.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ขอสอบถามเรื่องอายุวิชาค่ะ หนูอ่านบทความของอาจารย์แล้วเข้าใจว่าวิชาที่มีผลการเรียนแล้ว มีอายุ 5 ปี แต่หนูหาระเบียบที่จะมายืนยันให้กับครููเกี่ยวกับอายุวิชาไม่เจอค่ะ

             ผมตอบว่า   ผมเคยโพสต์เรื่องนี้ 4 หรือ 5 ครั้งแล้ว เรื่องนี้อยู่ในคู่มือการดำเนินงานทุกเล่ม คู่มือฯหลักสูตร 2544 ก็มี ถ้าเป็นคู่มือฯหลักสูตร 2551 ปกสีเหลือง จะอยู่ในหน้า 68 ข้อ 2.4

แต่ถ้าเป็นคู่มือการดำเนินงานฯ หลักสูตร 2551 ฉบับปรับปรุง 2555 ปกสีเลือดหมู จะอยู่ในหน้า 69 แต่เป็นข้อ 2.4 ย่อหน้าที่สองเหมือนกัน
             ( คู่มือการดำเนินงานฯเหล่านี้ เป็นเอกสารแนบประกาศ สป.ศธ. ทั้งเล่ม จึงเป็นระเบียบหลักเกณฑ์สำหรับถือปฏิบัติ )

         3. คืนวันเสาร์ที่ 26 ต.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  กรณี ผอ.มีคำสั่งให้รับผิดชอบเป็นหัวหน้าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีจ้างเหมาบริการเป็นผู้ช่วยงาน ซึ่งในส่วนงานการศึกษาขั้นพื้นฐานมีงานย่อยแยกออกมาอีกมากมาย ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้าสายงาน สามาถบันทึกเสนอ ผอ.ให้ผู้ช่วยงานปฏิบัติหน้าที่งานแทนในหน้าที่นั้นๆโดยตรงโดยไม่ต้องมีเราเข้าไปจัดการ เช่น งานวัดผล งานเทียบโอน อะไรแบบนี้ได้ป่าว ซึ่งในคำสั่งมีหัวหน้างานและผู้ช่วยเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ถ้าเราในฐานะหัวหน้างานจะบันทึกเสนอไปว่าให้ผู้ช่วยงาน เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้โดยตรงไปเลย แบบนี้ได้ป่าว

             ผมตอบว่า   ถ้าในคำสั่งกำหนดให้ใครรับผิดชอบเป็นหัวหน้างาน หัวหน้างานก็สามารถแบ่งงานย่อยให้ผู้ช่วยทำได้เลย แต่หัวหน้างานก็ยังต้องรับผิดชอบ แม้จะไม่ได้ทำเองก็ยังต้องลงนามรับรอง/รับผิดชอบอยู่ดี ไม่ว่าจะบันทึกเสนอ ผอ.อย่างไรก็ตาม
             ( เว้นแต่ ผอ.จะออกคำสั่งใหม่ ให้งานย่อยนั้นแยกออกเป็นงานที่มีหัวหน้างานโดยตรง ไม่เป็นงานย่อยของหัวหน้าสายงาน กศ.ขั้นพื้นฐาน )
             ลักษณะเดียวกับการแต่งตั้งนายทะเบียน บางอำเภอนายทะเบียนไม่ได้ทำเองแต่มีผู้ช่วยทำให้ บางอำเภอให้ครูทุกตำบลทำงานทะเบียนของ นศ.แต่ละตำบล แต่นายทะเบียนก็ต้องรับผิดชอบตรวจสอบ+วางระบบควบคุมตรวจสอบให้รัดกุมไม่ให้ผิดพลาด เอกสารหลักฐานทางทะเบียนต่าง ๆ ต้องเก็บรักษาที่ กศน.อำเภอ เพราะ กศน.ตำบลยังไม่ได้เป็นหน่วยเอกเทศ ผู้ที่ลงนามในฐานะนายทะเบียนและต้องรับผิดชอบก็ยังเป็นนายทะเบียน แม้จะไม่ได้ทำเองก็ตาม

         4. เย็นวันที่ 31 ต.ค.62 มีผู้เขียนในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า  ขอโปรแกรม อ่านบัตรปชช.ของระบบ itw ด้วยค่ะ

             เรื่องนี้  คุณ ด้า ส่งไฟล์ให้ ดังนี้
             - คู่มือการติดตั้ง Driver เครื่องอ่านบัตร SmartCard =  http://bit.ly/2oyLndh
             - driver เครื่องอ่านบัตร feitian 2562 =  http://bit.ly/2JAnmKc

         5. ระเบียบออกฉบับใหม่เดือน ตค.62

              ( ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2562 )
             http://bit.ly/2JEKCH4

         6. เย็นวันที่ 6 พ.ย.62 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  กรณีมีนักศึกษา 1 คน เรียนจบระดับม.ปลายของกศน.แล้ว ประมวลส่ง GPA/PR เรียบร้อย และผอ.กศน.อำเภอ อนุมัติการจบหลักสูตรแต่ปรากฏว่านักศึกษาคนนี้ยังไม่จบระดับ ม.3 เลย จะเอาสมัครเรียนม.ต้น ของกศน.ระบบไอที ก็บอกว่าจบระดับม.แล้ว จึงขอคำแนะนำ

             ผมตอบว่า   สรุปแล้วใช่ไหมว่า เขาจะสมัครเรียน ม.ต้นใหม่  แล้วจะถามว่าทำอย่างไรโปรแกรมจึงจะยอมให้ทำได้ ใช่ไหม
             ถ้าจะยกเลิกการเรียน ม.ปลาย ให้เข้าไปลบประวัตินักศึกษาในระดับ ม.ปลาย แล้วก็จะสามารถขึ้นทะเบียนเรียน ม.ต้นได้
             โดยเข้าไปที่เมนู 1-1-4 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน-บันทึกประวัตินักศึกษา-ลบประวัตินักศึกษา )

         7. วันที่ 6 พ.ย.62 บุคลากร กศน.จ. ถามผมทางอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  ตามแบบฟอร์มใบตรวจรับพัสดุ ในการตรวจรับงานจ้างเหมาบริการ มีช่องให้ กรรมการ ผู้ส่งมอบ ผู้รับมอบ ลงนามนั้น  1.ใครเป็นกรรมการ 2.ใครเป็นผู้ส่งมอบ 3.ใครเป็นผู้รับมอบ  เนื่องจากบุคลกรอยู่ในแต่ละอำเภอ

             ผมตอบว่า   แบบฟอร์มนี้ ( ตามภาพประกอบนี้ ) เป็นฟอร์มตรวจรับการจ้างแน่หรือ ลองเช็คดูอีกทีนะ
             ถ้าใช่
             1) กรรมการ คือ ผู้ที่ ผอ.สนง.กศน.จังหวัด แต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับงานจ้าง แต่งตั้งบุคลากรของ กศน.อำเภอเป็นกรรมการอำเภอละ 1 ชุดก็ได้ โดยคำสั่งแต่งตั้งเป็นคำสั่งจังหวัด จำนวนกรรมการในแต่ละชุดให้เป็นไปตามระเบียบ
             2) ผู้ส่งมอบ คือ ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างในแต่ละชุด
             3) ผู้รับมอบ คือ จนท.พัสดุของจังหวัด