วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

1.โปรแกรม ITw ไม่ยอมให้จบเพราะเรียนวิชาเลือกบังคับไม่ครบ 2 วิชา, 2.การออกเลขที่ใบสำคัญวิชาชีพ, 3.เงินอุดหนุนรายหัว เบิกค่าอะไรได้บ้าง, 4.ส่งไปไหนแน่ ตรวจสอบวุฒิ รร.เอกชนที่ยุบเลิกแล้ว, 5.ใช้ตรานูนประทับใบ รบ. ?, 6.พิมพ์ชื่อในใบ รบ.ผิด ออกใบใหม่อย่างไร, 7.หาต้นขั้วใบ รบ. ไม่พบ



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. มีผู้ถามผมตรงกัน ทั้งทางไลน์ ทางหน้าเฟซ ทางอินบ็อกซ์ ว่า  นศ.เทียบโอนแล้วปกติจะเรียนเพียง 1 หรือ 2 ภาคเรียนจบ แต่โปรแกรม ITw ไม่ยอมให้จบ เพราะวิชาเลือกบังคับไม่ครบ 2 วิชา

             เรื่องนี้   ผมถามคุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน. เมื่อเย็นวันหยุดชดเชย 17 เม.ย.60 ได้รับคำตอบว่า
             นศ.รหัส 591..... เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็น นศ.ใหม่ หรือ นศ.เก่าที่ย้ายแล้วได้รหัสใหม่  ถ้าเทียบโอนหรือโอนย้ายวิชาเลือกแล้ววิชาเลือกยังไม่ครบ ก็ต้องเรียนวิชาเลือกบังคับ จึงจะจบ
             แต่ถ้า เทียบโอนหรือโอนย้ายวิชาเลือกแล้วได้วิชาเลือกครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด แล้ว แม้วิชาเลือกเหล่านั้นจะไม่ใช่วิชาเลือกบังคับเลย หรือเป็นวิชาเลือกบังคับไม่ครบ 2 วิชา ก็ให้จบได้ โดยกรณีนี้ถ้าโปรแกรม ITw ไม่ยอมให้จบ ก็ใช้วิธีในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2017/03/38k-2.html

             บางคนบอกว่า ไม่รู้มาก่อนว่าถ้าไม่ลงวิชาเลือกบังคับ 2 วิชา จะไม่จบ ไม่มีหนังสือแจ้งมา ถามอำเภออื่นก็ไม่รู้เหมือนกัน
             เรื่องนี้ ผมเคยโพสต์ 3-4 ครั้ง อยู่ในแนวทางการปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ปรับปรุง พ.ศ.2559 )" ซึ่งมีการประชุมชี้แจงในระดับต่าง ๆ พร้อมกับเรื่องวิชาเลือกเสรี/โปรแกรมการเรียนรู้ และชี้แจงผ่านรายการสายใย กศน. เมื่อวันที่ 17 มี.ค.59 ( แจ้งตามหนังสือ สนง.กศน. ที่ ศธ 0210.03/1453 ลงวันที่ 16 มี.ค.59 )
             แต่อำเภอ/จังหวัด ก็มีกิจกรรมมาก มักจะจัดกิจกรรมทับซ้อนกับช่วงเวลาของรายการสายใย กศน. และแต่ละคนก็ไม่ว่างที่จะดูรายการสายใย กศน.ย้อนหลัง จึงมีหลายเรื่องที่หลายคนไม่รู้ เช่นเรื่องการจัดการศึกษาทางไกลแบบใหม่ที่ให้นับเป็นจำนวน นศ.ของครู และ กศน.อำเภอได้เงินอุดหนุนรายหัวของ นศ.ที่เรียนทางไกล

         2. วันที่ 18 เม.ย.60 ผอ.กศน.อำเภอใน จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านหนึ่ง โทร.มาถามผม ว่า  การออกเลขที่ใบสำคัญวิชาชีพ ใช้เลขที่หนังสือราชการ หรือใช้เลขที่ทับปี พ.ศ. เมื่อขึ้นเดือน ม.ค.ก็เริ่มเลขที่ 1 ใหม่

             ผมตอบว่า   ใช้เลขที่ ทับ ปี พ.ศ. เมื่อขึ้นเดือน ม.ค.ก็เริ่มเลขที่ 1 ใหม่
             โดยทั่วไป การออกเลขที่ใบสำคัญ/วุฒิบัตร ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดของใบสำคัญ/วุฒิบัตร นั้น ๆ
             ถ้าใบสำคัญ/วุฒิบัตร ใด ไม่ได้กำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ในการออกเลขที่ไว้ ( ปัจจุบัน ระเบียบเกี่ยวกับใบสำคัญการจบหลักสูตรระยะสั้น ได้ยกเลิกไปแล้ว ระเบียบปัจจุบันคือ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2554 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 13 แต่เพียงว่า "ให้สถานศึกษาออกวุฒิบัตรที่แสดงการจบหลักสูตร โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม" เท่านั้น ไม่ได้กำหนดวิธีออกเลขที่ไว้ )  ก็ให้หน่วยงานกำหนดวิธีออกเลขที่เอง  ให้มีการเรียงลำดับที่สามารถค้นหาเพื่อการตรวจสอบได้ง่าย คือ ใช้เลขที่ ทับ ปี พ.ศ.
             โดยเฉพาะเอกสารของทางราชการจะมีการออกเลขที่เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ

             แต่ทั้งนี้ เมื่อมีการออกเลขที่ ก็ต้องมีสมุดทะเบียนในการออกเลขที่ ว่าใบสำคัญ/วุฒิบัตร เลขที่นั้นออกให้ในรายการใด แก่ใคร เมื่อไร ฯลฯ เมื่อมีการตรวจสอบในภายหลังว่าใบสำคัญ/วุฒิบัตรนั้น เป็นของจริงหรือไม่ ( ปัจจุบันใบสำคัญ/วุฒิบัตร ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ในการเทียบโอนความรู้ ใช้เป็นหลักฐานประกอบข้อมูลการเทียบระดับการศึกษา เป็นต้น จึงอาจมีการปลอมแปลงได้ ) ก็สามารถตรวจสอบจากสมุดทะเบียนได้โดยง่าย
             ถ้าออกเลขที่แต่ไม่มีทะเบียน ก็ลักษณะคล้ายการทำหนังสือมีเลขหน้าในแต่ละหน้า แต่ไม่มีเลขหน้าในสารบัญ หรือมีเลขหน้าในสารบัญ แต่ไม่มีเลขหน้าในแต่ละหน้า ซึ่งแทบจะไม่มีประโยชน์


         3. เย็นวันที่ 19 เม.ย.60 แดง พัฒนสิน กศน.พิชัย ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายหัว 3 ข้อ ดังนี้

             1)  เงินอุดหนุน(ไม่ใช่งบ กพร.)จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนเช่นเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาอาชีพ สามารถซื้อวัสดุเกี่ยวกับการทำกิจกรรม เช่น ต้นไม้ วัสดุที่เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก วัสดุการฝึกอาชีพของนักศึกษา ซึ่งจัดกิจกรรมไม่ใช่วันพบกลุ่ม ได้หรือเปล่า
                  ผมตอบว่า  เงินอุดหนุนรายหัว ( ที่ไม่ใช่งบพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ) ซื้อสื่อ/วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ได้ ( ตามข้อ 11 ของคำสั่ง สนง.ปลัดฯ ที่ 605/59 ) แม้จะจัดกิจกรรมเรียนรู้เสริมหลักสูตรในวันที่ไม่ได้พบกลุ่ม แต่เป็นสื่อ/วัสดุอุปกรณ์การศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับ นศ.กศ.ขั้นพื้นฐาน ก็ซื้อได้
                   ( แต่การซื้อสิ่งมีชีวิตต้องระวัง ถ้ายกผลผลิตให้ผู้เรียนก็ผิดระเบียบ.. ดูในข้อ 2 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2014/06/51.html )

             2)  กิจกรรมที่เป็นฐานการเรียนรู้เช่นส่งเสริมการอ่าน อาชีพ ไม่มีวิทยากรบรรยาย สามารถเบิกค่าอาหาร ค่าอาหารว่างฯ ค่าวัสดุเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดเสริมหลักสูตรได้หรือเปล่า
                  ผมตอบว่า  จะเบิกค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ตามข้อ 8 ของคำสั่ง สนง.ปลัดฯ ที่ 605/59 ต้องเป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้เสริมหลักสูตรในลักษณะการเข้าค่าย การฝึกอบรม ในสถานที่ของเอกชนหรือส่วนราชการอื่น โดยจ่ายให้แก่เอกชนหรือส่วนราชการอื่น ( จ่ายได้ตามอัตราแนบท้ายคำสั่ง สนง.ปลัดฯ ที่ 605/59 แม้จะไม่ได้จ่ายค่าวิทยากรบรรยายด้วย เช่นครูเป็นวิทยากรเอง )

             3)  ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องฯ(ข้อ15 ตามคำสั่งสำนักปลัด)เบิกอะไรได้บ้าง
                  ผมตอบว่า  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องฯ ( ตามข้อ 15 ของคำสั่ง สนง.ปลัดฯ ที่ 605/59 ) ก็เหมือนกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องฯ ตามข้อ 14 ของคำสั่งฉบับเดิม คือ หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัด กศ.ขั้นพื้นฐาน นอกเหนือจากข้อ 1-14  ซึ่งต้องขออนุมัติปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นรายกรณี” ( ดูที่คำตอบเดิมในข้อ 7 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2015/07/30.html )

         4. คืนวันที่ 20 เม.ย.60 มี ผอ.กศน.เขต โทร.มาถามผม ว่า  การตรวจสอบวุฒิที่จบจากโรงเรียนเอกชนที่ยุบเลิกแล้ว ต้องส่งไปตรวจสอบที่ไหน

             ครั้งแรก ผมตอบว่า ส่งไปตรวจสอบที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แต่หลังจากนั้นผมเปิดดูเรื่อง การตรวจสอบวุฒิการศึกษา ในหนังสือ "คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555)" หน้า 81 ปกสีเลือดหมู ที่ส่งให้ กศน.อำเภอ/เขตทุกแห่ง เมื่อ ธ.ค.55 ระบุว่าผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนที่ยุบเลิกแล้ว ให้ตรวจสอบไปที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน” ( สช.)
             เพื่อความชัดเจน ผมจึงถามกรณีโรงเรียนเอกชนเลิกกิจการแล้วนี้ จาก สช. ได้รับคำตอบว่า
             1)  ถ้าจบการศึกษาจากโรงเรียนสามัญศึกษาของเอกชนในเขต กทม. ให้ส่งไปตรวจสอบวุฒิที่ สช.
             2)  ถ้าจบจากโรงเรียนในต่างจังหวัด ต้องดูว่าจบนานก่อนตั้ง สนง.เขตพื้นที่การศึกษา หรือไม่ โดย
                  - ถ้าจบก่อนปีการศึกษา 2546 ให้ส่งไปตรวจสอบที่ สช.
                  - ถ้าจบตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา ให้ส่งไปตรวจสอบที่ สนง.เขตพื้นที่การศึกษา



         5. วันที่ 25 เม.ย.60 มีนายทะเบียน กศน.อำเภอ โทร.มาถามผม ว่า  ใบ รบ. ใช้ตรานูนประทับ ส่วนในใบประกาศนียบัตร จะใช้ตรานูน หรือจะใช้ตราที่ประทับด้วยหมึก และใช้หมึกสีอะไร

             ผมตอบว่า  ที่ถูกต้อง ทั้งในใบ รบ. และใบประกาศนียบัตร ให้ประทับตราด้วยหมึกสีแดงชาด  ไม่มีระเบียบให้ใช้ตรานูน
             - ตามคำอธิบายการกรอกระเบียนแสดงผลการเรียน ข้อ 5.7 กำหนดว่า ประทับตราประจำสถานศึกษาด้วยหมึกสีแดงชาดและ

             - ตามคำอธิบายการออกและกรอกรายการประกาศนียบัตร กำหนดไว้ในข้อ 2.4.7 ว่า ประกาศนียบัตรทุกฉบับ ทุกประเภท ต้องใช้ตราส่วนราชการหรือตราประจำสถานศึกษา ประทับบนลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามไว้เป็นสำคัญ โดยใช้สีแดงชาด

         6. วันเดียวกัน ( 25 เม.ย.) มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  ได้ออกใบ รบ.ให้ นศ.ไปเมื่อภาคเรียนที่ 2/58 แล้ว นศ.มาแจ้งว่าชื่อเขาผิด (เราทำผิดจริง) จะแก้ไขใหม่ต้องยกเลิกฉบับเดิมและออกใหม่ใช่หรือเปล่า และออกเป็นปัจจุบัน ณ วันนี้ใช่เปล่า บังเอิญว่า กศน.เปลี่ยน ผอ.ใหม่ด้วย และถ้าเราแก้ไขข้อมูล จะต้องทำรายงานผู้จบใหม่หรือเปล่า

             ผมตอบว่า   ให้นายทะเบียน และ ผอ.คนปัจจุบันลงนาม วันที่ใต้ลายเซ็น ผอ. ก็เป็นวันที่ปัจจุบัน แต่วันที่ของส่วนอื่น ๆ เหมือนเดิม
             ออกใบใหม่ให้เขา ส่วนใบเก่าไม่ต้องประกาศยกเลิกก็ได้ แต่ต้องนำใบเก่าทั้ง 2 ฉบับ ( ต้นขั้ว-คู่ฉบับ ) มาเก็บติดกันไว้ตลอดอย่าให้สูญหาย และขีดยกเลิกไม่ให้ใครนำไปใช้ได้อีก โดยเขียนระบุไว้ด้วยว่า พิมพ์ชื่อผิด ออกใบใหม่ให้แล้วเลขที่ .......
             และถ้าชื่อในรายงานผู้จบหลักสูตรผิดด้วย ก็ต้องทำรายงานผู้จบหลักสูตรใหม่

         7. เช้าวันที่ 27 เม.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  หลานเพื่อนจบโรงเรียนผู้ใหญ่ กศน. ไปสมัครเรียนต่อ ม.ปลาย แต่ทำใบ รบ.กศน.ม.ต้น ตัวจริงหาย ไปแจ้งหายที่ สน.ตำรวจ และไปที่ กศน. เพื่อขอใบแทน แต่ กศน.หาไม่พบ  กรณีนี้ต้องถามหน่วยงานไหน และจะต้องทำอย่างไรต่อไป

             ผมตอบว่า   ถ้าจบจากโรงเรียนผู้ใหญ่ ปัจจุบันจะเก็บหลักฐานเก่าไว้ที่ สนง.กศน.จังหวัด
             ถ้าหาต้นขั้วใบระเบียบไม่พบ ก็ต้องดูจากเอกสารหลักฐานอื่น ๆ  ถ้ามีเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เชื่อได้ว่า เรียนจบ/เป็นสำเนาใบ รบ.ที่สำเนาจากต้นฉบับ จริง ก็ออกหนังสือรับรองให้ได้ ตามวิธีที่ผมเคยตอบในข้อ 2 (5) ที่  http://nfeph.blogspot.com/2014/11/ep.html
             แต่ถ้าเอกสารหลักฐานอื่นก็สูญหายหมดแล้ว ต้องดำเนินการตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547คือไต่สวนก่อนออกหนังสือรับรอง ตามวิธีที่ผมเคยตอบในข้อ 4 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/534315 
             ถ้า จนท.สนง.กศน.จ. ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ควรสอบถามจากกลุ่มพัฒนา กศน.


วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

1.วันหยุดชดเชย, 2.การย้ายพนักงานราชการ, 3.ยื่นขอวิทยฐานะเชิงประจักษ์ใหม่อีกไม่ได้แล้ว, 4.หนังสือรับรองสิทธิคืออะไร, 5.ผอ.ไม่ให้เบิกค่าไปราชการ-ผอ.ใช้จ่ายเงินไม่มีรายละเอียด, 6.ออกใบวุฒิ ม.ต้น พร้อม ม.ปลาย, 7.อนุมัติจบหลักสูตรวันไหน พร้อมกันทั่วประเทศหรือไม่



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. คืนวันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.60 ผมโพสต์ในเฟซบุ๊กว่า หยุด 5 วัน ( 13-17 เม.ย.60 )"
             ปรากฏว่าคืนนั้นมีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์ว่า  
ปฏิทินหยุด 13-16 ชดเชย 17 หรือ
             ผมตอบว่า  
วันสงกรานต์จะหยุดราชการประจำปีในวันที่ 13-15 แต่ 15 ตรงกับวันเสาร์ จึงชดเชยวันจันทร์ที่ 17”
             ผู้ถาม ยังถามต่อ ว่า  
แต่ปฏิทินไม่ขึ้นเป็นวันหยุด ต้องทำเวรใหม่

             ผมตอบว่า  มีผู้ทำปฏิทินเป็นร้อยราย แตกต่างกัน ( ปฏิทินในไดอารี กศน. ก็ไม่หยุดชดเชยวันที่ 17 )  เราจะถือปฏิบัติตามปฏิทินไม่ได้ ต้องถือปฏิบัติตามมติ ครม.

             สำหรับ วันหยุดชดเชยวันหยุดราชการประจำปี” ( ไม่นับวันหยุดของรัฐวิสาหกิจหรือธนาคาร ) ในปัจจุบัน ครม.มีมติเมื่อวันที่ 1 พ.ค.44 ว่า
            
กรณีวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป โดยให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน 1 วัน
            
( และต่อมา ครม.มีมติในวันที่ 3 ก.พ.47 อีกว่า เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาประกาศกำหนดให้ งด วันหยุดชดเชยหรือเปลี่ยนวันหยุดชดเชยได้ตามความเหมาะสม” )

         2. เช้าวันที่ 28 มี.ค.60 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า  พอจะทราบเรื่องการย้ายสถานที่ปฎิบัติงานของพนักงานราชการมั้ย ที่ทำเรื่องย้ายข้ามอำเภอกลับภูมิลำเนาเทอมที่แล้ว แต่มาวันนี้ มีหนังสือแจ้งสั่งการให้กลับต้นสังกัดเดิมที่ขอย้ายมา ในวันที่ 1 พ.ค.60  จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนเลขาใหม่มั้ย โดนเรียกกลับหมดทุกตำแหน่งที่ขอย้ายเลยมั้ย แล้วจะมีโอกาสได้ย้ายกลับภูมิลำเนามั้ย

             ผมตอบว่า   ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนเลขาธิการ กศน.ใหม่  เลขาฯท่านก่อนก็ไม่มีนโยบายให้ย้ายหลังทำสัญญาจ้าง 1 ต.ค.59 แต่เคยมีนโยบายให้ย้ายก่อนนั้น  ผมเคยเห็นระเบียบที่ว่า ทำสัญญาจ้างแล้ว จะให้ไปปฏิบัติราชการนอกพื้นที่ตามสัญญาได้รวมปีละไม่เกิน 4 เดือน ระเบียบเป็นอย่างนี้ แต่ ผอ.จังหวัดบางจังหวัดยังให้ย้ายอยู่
             สำหรับโอกาสที่จะย้ายได้นั้น คงต้องรอดูตอนเปลี่ยนสัญญาใหม่

             หลังจากผมตอบไปแล้ว ผมได้ถามเรื่องนี้กับ กจ.กศน. ได้รับคำตอบว่า
             ที่ท่าน รก.ผอ.กจ. เคยบอกผมว่าเรื่องการย้ายพนักงานราชการภายในจังหวัด กำลังจะเสนอให้มอบอำนาจให้ ผอ.จังหวัด เป็นผู้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ค.พ.ร. เช่น ให้ไปปฏิบัติราชการนอกพื้นที่ที่กำหนดในสัญญาจ้างได้รวมปีละไม่เกิน 4 เดือน โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการด้วยนั้น
             ปรากฏว่า เสนอไปแล้ว ท่านปลัดกระทรวงไม่เห็นด้วย ท่านไม่มอบอำนาจ
             การย้ายพนักงานราชการทุกกรณี ( ทั้งภายใน-ภายนอกจังหวัด มีอัตราว่าง มีผู้ลาออก ) ท่านให้เสนอส่วนกลางพิจารณา
             ซึ่งก็จะพิจารณาให้พนักงานราชการไปปฏิบัติหน้าที่นอกพื้นที่ตามสัญญาได้เป็นครั้งคราว ไม่บ่อย รวมปี งปม.ละไม่เกิน 4 เดือน โดยจะระบุช่วงเวลาไป-กลับแต่ละครั้งชัดเจน

             กจ.กศน. จะแจ้งเรื่องนี้มาให้จังหวัดถือปฏิบัติ
             ผมถามต่อว่า  ถ้าจังหวัดให้ย้ายไปก่อนแล้ว จะต้องให้กลับไหม กจ.บอกว่า ถ้าปฏิบัติหน้าที่นอกพื้นที่ตามสัญญาถึง 4 เดือนแล้ว ก็ต้องให้กลับ

         3. เรื่องน่าสนใจจากที่ประชุมบอร์ด ก.ค.ศ. วันที่ 29 มี.ค.60

             1)  การสมัครสอบครูผู้ช่วย สำหรับ 36 สาขาที่ไม่ขาดแคลน ใช้เอกสารการสมัครที่คุรุสภาออกให้เพื่อแสดงว่าสามารถทำการสอนได้ ได้ทั้ง 4 ชนิด คือ
                 
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู = มีมาตรฐานครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนด
                 
- ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน = มีมาตรฐานความรู้ครบ 9 มาตรฐาน แต่ยังไม่มีประสบการณ์การสอน
                 
- หนังสือรับรองสิทธิ = ใบรับรองระหว่างรอการอนุมัติหลังยื่นขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
                 
- หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ = หนังสือที่ออกให้แก่สถานศึกษา ที่ขออนุญาตให้บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทำการสอนที่โรงสถานศึกษาตามเหตุจำเป็น

             2)  กรณีบางสาขาที่เรียนจบมา ชื่อไม่ตรงกับสาขาวิชาเอกที่จะสมัคร แต่มีความคล้ายคลึง ให้นับหน่วยกิตของรายวิชาที่ตรงสาขาวิชาเอกที่จะสมัคร ให้ได้ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต นั้น  ให้นับโดยไม่ต้องดูเกรด ( เดิมกำหนดให้นับเฉพาะวิชาที่ได้เกรดไม่ต่ำกว่า C )

             3)  ยกเลิกการขอวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตาม ว13 ปี 56 ไม่ให้ยื่นขอรายใหม่อีกแล้ว ส่วนรายเก่าที่ยื่นไว้แล้วยังไม่ได้รับการพิจารณา 5,183 คน จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ว13 ต่อไป แต่ใครจะขอถอนไปเปลี่ยนเป็นยื่นแบบใหม่ก็ได้ โดยคาดว่าจะประกาศใช้แบบใหม่ในวันที่ 5 ก.ค.60

         4. วันที่ 29 มี.ค.60 ZyBen ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า  หนังสือรับรองสิทธิคืออะไร

             ผมตอบว่า   หนังสือรับรองสิทธิ คือ หนังสือที่ออกให้แก่ผู้ที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเดิมต้องรออนุมัติภายใน 60 วัน  ในระหว่างที่ยังไม่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คุรุสภาจะออก หนังสือรับรองสิทธิ นี้ ให้ใช้แทนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ไปก่อน
             ( แต่ปัจจุบันคุรุสภาจะรีบออกใบอนุญาตฯให้ โดยไม่มีการออกหนังสือรับรองสิทธินี้แล้ว )



 


         5. วันที่ 31 มี.ค.60 มีบุคลากร กศน.อำเภอ ค... จังหวัด พ... ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า
             ฉันได้รับอนุญาตให้เดินทางไปราชการเข้าอบรมในจังหวัด 3 วัน เดินทางไปกลับ ระยะทางเที่ยวละ 50 กม. โดยขออนุญาตไปราชการตามขั้นตอน
             และเมื่ออบรมเสร็จ จึงขออนุญาตเบิกค่าเดินทางไปราชการครั้งนี้ แต่ ผอ.ไม่อนุญาตให้เบิก ( ผอ.จะเบิกด้วย แต่ ผอ.ไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตตามขั้นตอน จังหวัดไม่ให้ ผอ.เบิก ผอ.จึงไม่อนุญาตให้ฉันเบิกด้วย )
             อยากปรึกษาว่า  ฉันจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ให้ได้สิทธิดังกล่าว เพราะต้องไปราชการบ่อยครั้ง ไม่เคยได้เบิกเลย

             นอกจากนี้ การดำเนินงานโครงการกิจกรรมต่างๆ ผอ.เอาเงินที่ยืมงบประมาณไปถือเอง และใช้จ่ายโดยไม่มีรายละเอียดล้างเงินยืม โดย ผอ.ไม่ได้เป็นผู้ยืมเงิน ไม่ใช่เจ้าของโครงการ  วิธีการดังกล่าวสมควรหรือไม่  ผู้ยืมเงินต้องรับผิดชอบเมื่อเอกสารหลักฐานการล้างเงินยืมล่าช้า ควรดำเนินการอย่างไร

             ผมตอบว่า
             1)  ผอ.สามารถที่จะไม่ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ถ้ามีเหตุผล เช่น งบประมาณไม่พอ ค่าใช้จ่ายไม่มากน่าจะเสียสละได้ ช่วงเวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ครบตามเกณฑ์ เป็นต้น แต่ก็ควรบอกก่อนว่าจะไม่ให้เบิก โดยเมื่อคุณทำเรื่องขออนุญาตเดินทางไปราชการเสนอถึง ผอ. พร้อมระบุว่าการไปราชการครั้งนี้จะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการด้วย ถ้า ผอ.จะไม่ให้เบิกก็ต้องคุยกันตั้งแต่ตอนอนุญาตให้ไปราชการ
( ที่คุณบอกเหตุผลที่ ผอ.ไม่ให้เบิกมานั้น คงจะไม่ใช่มั้ง คุณอาจจะคิดคาดเดาไปเองมั้ง )

ในการขออนุญาตเดินทางไปราชการครั้งต่อไป ควรระบุให้ชัดเจนว่าจะขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และถ้า ผอ.จะไม่ให้เบิกก็ขอคุยกับ ผอ.ให้เข้าใจเหตุผลกัน

             2)  การที่ ผอ.นำเงินโครงการที่บุคลากรเป็นผู้ยืม ไปบริหารจัดการเอง แล้วไม่มีรายละเอียดล้างเงินยืม นั้น  ถ้าจังหวัดทวงหลักฐานล้างเงินยืมมาที่ผู้ยืม ผู้ยืมก็น่าจะเล่าให้จังหวัดฟังว่า ผอ.นำเงินยืมไปบริหารจัดการเองแล้วไม่มีรายละเอียดล้างเงินยืม ให้จังหวัดช่วยแนะนำวิธีแก้ปัญหา

              ( หลังจากที่โพสต์นี้ไป ท่านประเสริฐ หอมดี ซึ่งท่านเป็นทั้งผู้ตรวจราชการกระทรวง ศึกษาธิการภาค และยังทำหน้าที่รองเลขาธิการ กศน.อยู่ บอกว่า
                ข้อ 1) หากดำเนินการขออนุญาตไปราชการถูกต้อง ก็เบิกจ่ายได้ตามระเบียบ
                ข้อ 2) เรื่อง ผอ.นำเงินยืมที่ใช้ชื่อบุคลากรเป็นผู้ยืม ไปถือและใช้จ่ายเอง และยังไม่มีหลักฐานส่งล้างเงินยืมตามเวลา นั้น  ต้องดำเนินการตามระเบียบนะ หากแก้ไขไม่ได้ ให้แจ้งเรื่องไปที่ส่วนกลาง จะแจ้งประสานให้ดำเนินการให้ถูกต้อง )

         6. วันที่ 4 เม.ย.60 มีครูจาก กศน.อ.พรหมพิราม ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า  ในกรณีที่ นศ.มาขอวุฒิ แต่ นศ.มาขอวุฒิครั้งเดียวคือ ม.ต้นพร้อม ม.ปลาย แต่นายทะเบียนเขาบอกว่าต้องให้นายทะเบียนคนเดินเซ็นต์วุฒิ ม.ต้น แต่ ม.ปลายเซ็นต์ได้เพราะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
             สอบถามขอความกระจ่าง

             ผมตอบว่า   ปกติ ถ้าเพิ่งขอวุฒิ ม.ต้น ในตอนนี้ ทั้งนายทะเบียนและ ผอ.คนปัจจุบันก็เป็นผู้ลงนาม
             แต่.. วุฒิ ม.ต้น จะออกหลังวันสมัครขึ้นทะเบียนเป็น นศ.ม.ปลายไม่ได้
             ทำไมเพิ่งจะมาออก วุฒิ ม.ต้นตอนนี้ ถ้าออกตอนนี้ก็ต้องออกย้อนหลัง คือลงวันที่ไม่หลังวันสมัครขึ้นทะเบียนเป็น นศ.ม.ปลาย  เมื่อออกย้อนหลัง ก็ต้องให้นายทะเบียนและ ผอ.คนเก่าที่ดำรงตำแหน่งในวันออกใบ รบ.ย้อนหลัง เป็นผู้ลงนาม
              ( การออกใบวุฒิย้อนหลัง ไม่ถูกต้อง ถ้านายทะเบียนหรือ ผอ. ย้าย หรือเกษียณ หรือเสียชีวิตไปแล้ว จะทำอย่างไร )

         7. วันเดียวกัน ( 4 เม.ย.) Jum Jim ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  อนุมัติจบหลักสูตรวันไหน พร้อมกันทั่วประเทศหรือเปล่า

            ผมตอบว่า   อาจจะพร้อมกันทั่วประเทศหรือไม่ก็ได้ และในแต่ละภาคเรียนอนุมัติให้จบหลักสูตรได้หลายครั้ง คือแต่ละคนอาจจบไม่พร้อมกัน เช่น คนที่สอบซ่อม สอบ e-Exam อาจจบช้ากว่า   บางคนก็จบตั้งแต่ต้นเทอมเพราะเทอมนี้เหลือแต่ กพช.อย่างเดียว พอทำ กพช.ครบก็จบเลย   วันอนุมัติจบคือวันที่ผ่านเงื่อนไขการจบครบ 4 ข้อ ปกติโปรแกรม ITw จะกำหนดวันจบของ นศ.ส่วนใหญ่ไว้ให้แล้ว แต่ก็เปลี่ยนวันได้ เช่นไม่ได้อนุมัติในวันนั้นเพราะเป็นวันหยุด ผอ.ไม่ได้มาอนุมัติ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

1.เรื่อง เรียกบรรณารักษ์คืนตำแหน่ง ยกเลิกแล้วหรือ, 2.แผนจุลภาค กับ แผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล ใช่แผนเดียวกันไหม, 3.วิชาชีพ จ้างถ่ายเอกสารได้เท่าไร ซื้อวัสดุอุปกรณ์ช่างได้ไหม, 4.สาขาวิชาเอกใดจะสมัครสอบบรรจุในกลุ่มวิชาเอกใด, 5.การติดป้ายที่หน้าอก กรรมการคุมสอบ, 6.ผอ.บอกว่าออกใบรับรองไม่ได้, 7.นับปีทำชำนาญการจากวันที่เป็นครู คศ.1 ไม่ใช่นับจากวันที่เป็นครูผู้ช่วย



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 20 มี.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  ฉันเป็นบรรณารักษ์ รับงานประกัน กับงานบุคลากรมาสามปีแล้ว และงานแผนงานเพิ่งทำได้ 1 ภาคเรียน งานห้องสมุดแทบไม่ได้ทำเลย แต่ผู้บริหารอำเภอและรอง ผอ.จังหวัด ออกคำสั่งให้รับงานการเงินอีก ฉันทำไม่ไหว ไม่ถนัดงานการเงินเลย จะปฏิเสธอย่างไรดี เจ้านายไม่รับฟังเหตุผลเลย บอกว่าเป็นข้าราชการต้องรับงานให้มากกว่าพนักงานราชการ
             ไม่ทราบว่าคำสั่งเรื่องเรียกบรรณารักษ์คืนตำแหน่ง ของท่านอภิชาติ จีระวุฒิ เมื่อปี 2554 ยกเลิกแล้วหรือ

             ผมตอบในตอนเย็นวันเดียวกัน ว่า  หนังสือที่ว่าเรียกบรรณารักษ์คืนตำแหน่ง ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) ยังไม่ยกเลิก แต่หนังสือฉบับนี้หมายถึง ห้ามสั่งให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ไปช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ ที่ กศน.จังหวัด หรือ กศน.อำเภอ ( นอกห้องสมุด )
             แต่ ถ้า ให้ช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานอยู่ภายในห้องสมุด ก็จะผิดนโยบาย/ข้อสังการนี้ ครึ่งหนึ่ง ...
             ซึ่ง กศน.จังหวัด/อำเภอ ก็ไม่ควรสั่งอย่างนี้ โดยเฉพาะถ้ามีบรรณารักษ์และหรือ จนท.ห้องสมุดฯคนเดียว แม้บุคลากร กศน.อำเภอไม่พอก็ไม่น่าจะให้บรรณารักษ์ดูแลงานอื่นมากนัก
             ( ผมตอบอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ เพราะนโยบายให้ครูออกไปอยู่ กศน.ตำบลหมด แล้วงานต่าง ๆ เหล่านี้ใครจะทำไหว )





         2. เช้าวันที่ 21 มี.ค.60 koikunyarat  ถามผมทางไลน์ ว่า  แผนจุลภาค กับ แผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล ใช่แผนเดียวกันไหม

             ผมตอบว่า   ให้จัดทำแผนปฏิบัติการ กศน.ตำบล เป็นแผนประเภท แผนจุลภาค
             คำว่า แผนปฏิบัติการ กศน.ตำบลเป็นชื่อแผน  ส่วนคำว่า แผนจุลภาคเป็นประเภทหรือลักษณะของแผนประเภทหนึ่ง
             แผนจุลภาค (Micro Planning) คือ แผนปฏิบัติการประจำปี ที่ ใช้ข้อมูลสารสนเทศในระดับตำบล/หมู่บ้าน ที่จำเป็น ครบถ้วนทันสมัย ข้อมูลเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ โดยใช้ข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ข้อมูลประชากร ข้อมูลด้านสังคม อาชีพ การศึกษา วัฒนธรรม ฯลฯ  มากำหนดแผน


         3. เย็นวันอาทิตย์ที่ 19 มี.ค.60 กศน.ตำบลน้ำขุม ศรีนครซีสตี้ ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  วิชาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์พื้นฐาน สามารถจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ช่างได้หรือไม่ จ้างถ่ายเอกสารเกี่ยวกับวิชาชีพช่าง ได้ไม่เกินเท่าไหร่

             ผมตอบว่า   กศ.ต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ทั้งค่าถ่ายเอกสาร/ค่าสื่อหนังสือเรียน วัสดุอุปกรณ์ช่าง ก็รวมเป็นวัสดุฝึกทั้งหมด ซึ่งจ่ายค่าวัสดุฝึกได้ตามเกณฑ์ปกติ คือ
             หลักสูตร 31-50 ชม. จ่ายค่าวัสดุฝึกได้ไม่เกิน 3,000 บาท, หลักสูตร 51-70 ชม. ไม่เกิน 4,000 บาท, 71 ชม.ขึ้นไป ไม่เกิน 5,000 บาท
             ดูรายละเอียดได้ที่  https://db.tt/zDLTGTrC
             แต่ วัสดุฝึกนี้ จะเป็น "ครุภัณฑ์" ไม่ได้ ( งบดำเนินงาน งบอุดหนุนรายหัว ซื้อครุภัณฑ์ไม่ได้ )


         4. มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค เรื่องเดียวกัน 2 คน คือ
             1)  คืนวันที่ 23 มี.ค.60 หญิง จันทร์ธณา ถามว่า ลูกจบวิศวะ เอกวัสดุศาสตร์ จะสอบครู ถ้าเรานับหน่วยกิตที่เรียนคณิตศาสตร์แล้วสามารถสอบได้ไหม
             2)  เช้าวันที่ 24 มี.ค.60 Saowalak Poonperm ถามว่า หนูจบนิติศาสตร์ ปกติถ้าจะสอบครู เทียบได้กับครูสังคม แต่ประกาศรับสมัครสอบของ คศจ. ไม่มีบอกว่าจบนิติศาสตร์เลย มีแต่รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ .... หนูมีทางอื่นไหม หนูรู้คร่าวๆว่ามีการนับหน่วยกิตได้ แต่ไม่รู้จะนับหน่วยกิตยังไง

             ผมตอบว่า   ดูในใบทรานสคริปต์ ถ้านับรายวิชานั้น ๆ เช่น คณิตศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์ ที่เรียน ได้ครบ 30 หน่วยกิต ก็สมัครสอบเอกนั้น ๆ ได้  ( เอาใบทรานสคริปไปให้หน่วยรับสมัครเขานับ เท่าที่ทราบ วิศวะจะเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มาไม่ครบ 30 หน่วยกิต อาจสมัครสอบได้ในเอกอุตสาหกรรมศิลป์ )
             มีลิ้งค์สำหรับตรวจสอบว่าสาขาวิชาเอกใดจะสมัครสอบบรรจุในสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มวิชาเอกใดได้ อยู่ในข้อ 4 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/08/pa_29.html  ( ตอนท้ายของไฟล์นี้มีหนังสือแจ้งเรื่องการนับหน่วยกิตด้วย )
             แต่ข้อมูลในลิ้งค์นี้ก็ยังไม่ค่อยครบถ้วน ต้องดูในบัญชีแนบท้ายประกาศรับสมัครของแต่ละจังหวัดด้วย

         5. คืนวันที่ 24 มี.ค.60 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ขอความรู้ ไม่แน่ใจว่าในการจัดสอบ ของ กศน. มีส่วนไหนระบุเรื่องป้ายติดอกให้กรรมการคุมห้องสอบ กรรมการกลาง หรือไม่ เพราะอยู่ส่วนของ จ. ออกนิเทศสนามสอบ ปรากฏว่าทักกรรมการคุมสอบเป็นนักศึกษา เขิลเลย อีกอย่าง สมัยเคยไปหาสอบบรรจุเป็นข้าราชการ เห็นเขามีบัตรติดหน้าอก รบกวนขอความรู้และประสบการณ์

             ผมตอบว่า   การจัดสอบปลายภาค ไม่มีกำหนด ติดก็ได้ ไม่ติดก็ได้


         6. เช้าวันเสาร์ที่ 25 มี.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  การออกใบรับรองให้นักศึกษา เขาเรียนภาคเรียนสุดท้าย ขณะนี้รอผลคะแนนสอบปลายภาค เขาจะไปสมัครไม่ทันเวลา เขาขอใบรับรองว่า "กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนสุดท้าย" เพื่อจะไปสมัครสอบ เราออกใบรับรองให้เขาได้ไหม ผอ.บอกว่าออกให้ไม่ได้ใช่ไหม

             ผมตอบว่า   ออกใบรับรองได้ในเรื่องที่เป็นความจริงและอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของหน่วยงาน/สถานศึกษา เช่น ถ้าเขากำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนสุดท้าย แล้วเขาให้รับรองว่ากำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนสุดท้าย ก็รับรองได้
             โดยถ้าในโปรแกรม ITw ไม่มีแบบหนังสือรับรองที่ตรงตามความต้องการ ก็พิมพ์หนังสือรับรองขึ้นมาเองได้


         7. คืนวันเสาร์ที่ 25 มี.ค.60 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  หนูบรรจุครูผู้ช่วย 12 ก.ย.54 สามารถส่งชำนาญการได้หรือยัง จบ ป.โทแล้ว สำนักงาน กศน.ปรับคุณวุฒิ ป.โทให้ปี 58 แล้ว

             ผมตอบว่า   ไม่ได้นับตั้งแต่วันบรรจุเป็นครูผู้ช่วย แต่นับตั้งแต่วันที่เป็น ครู คศ.1 ให้ครบ 4 ปี ( ป.โท ) ก็ส่งชำนาญการได้
             ( ดูที่เคยตอบในข้อ 3.1.1 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/476995 )