สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. คืนวันที่ 28
มิ.ย.63 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า พนักงานราชการ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล
อายุงานเท่าไร ถึงเขียนคำขอย้ายได้
ผมตอบว่า อายุงานเท่าไรก็ได้ วันเดียวก็ได้
แต่การย้ายภายในจังหวัดต้องมีเลขที่ตำแหน่งว่างให้ย้ายไป
ส่วนการย้ายข้ามจังหวัดถ้าไม่ใช่กรณีมีเหตุความจำเป็นพิเศษ ต้องรอช่วงต่อสัญญา 4
ปีครั้ง ครั้งต่อไปคือ 1 ต.ค.63 ซึ่งก็ต้องมีเลขที่ตำแหน่งว่างให้ย้ายไปเช่นกัน แต่ช่วงนี้
ส่วนกลางแจ้งให้ชะลอการย้ายทั้งหมดไว้ตั้งแต่ 4 มิ.ย.62
จนกว่าส่วนกลางจะทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการรอบที่ 5 (2564-2567) เสร็จ
ผู้ถาม ถามต่อว่า จะถามข้อมูลตำแหน่งว่างจากที่ไหน
ผมตอบว่า ถามได้ที่ สนง.กศน.จังหวัดที่ต้องการย้ายไป
2. วันที่ 1 ก.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า การเบิกจ่ายเงินเดือนของจ้างเหมาบริการค่ะ ปกติเงินเดือนจะเข้าทุกสิ้นเดือนค่ะ แต่ตั้งแต่ต่อสัญญาจ้างปี งปม.ใหม่ เงินเดือนเข้าช้ากว่าปกติ มักจะเข้าต้นเดือนของเดือนถัดไป ไม่แน่ใจว่าเป็นระเบียบใหม่หรือเปล่าวค่ะ เพราะได้สอบถามไปยัง กศน. บางที่ก็เป็นเหมือนกันค่ะ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นเหมือนกันทุกทีรึเปล่าค่ะ จะได้บริหารจัดการ การใช้เงินใหม่ค่ะ
ผู้ถาม ถามต่อว่า จะถามข้อมูลตำแหน่งว่างจากที่ไหน
ผมตอบว่า ถามได้ที่ สนง.กศน.จังหวัดที่ต้องการย้ายไป
2. วันที่ 1 ก.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า การเบิกจ่ายเงินเดือนของจ้างเหมาบริการค่ะ ปกติเงินเดือนจะเข้าทุกสิ้นเดือนค่ะ แต่ตั้งแต่ต่อสัญญาจ้างปี งปม.ใหม่ เงินเดือนเข้าช้ากว่าปกติ มักจะเข้าต้นเดือนของเดือนถัดไป ไม่แน่ใจว่าเป็นระเบียบใหม่หรือเปล่าวค่ะ เพราะได้สอบถามไปยัง กศน. บางที่ก็เป็นเหมือนกันค่ะ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นเหมือนกันทุกทีรึเปล่าค่ะ จะได้บริหารจัดการ การใช้เงินใหม่ค่ะ
ผมตอบว่า ระเบียบไม่ได้เปลี่ยน
ระเบียบให้เป็นไปตามรายละเอียดเงื่อนไขที่แนบสัญญาจ้างของแต่ละจังหวัด
ซึ่งแต่ละจังหวัดกำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่างกันได้ สัญญาปี
งปม.นี้ของจังหวัดนี้อาจเปลี่ยนรายละเอียดเงื่อนไข
ให้ดูเอกสาร “ผนวก 3” ที่แนบสัญญาจ้าง ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) ว่า กำหนดส่งมอบงานในแต่ละเดือน ในวันใด ถ้ากำหนดส่งมอบงานในวันสิ้นเดือน ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเบิกจ่ายค่าจ้างได้ทันวันสิ้นเดือน เพราะ เมื่อส่งมอบงานแล้วคณะกรรมการตรวจรับการจ้างต้องตรวจและลงนามรับในเอกสารตรวจรับ จากนั้นจึงจะดำเนินการเบิกจ่ายค่าจ้างให้ต่อไป แต่ถ้ากำหนดส่งมอบงานไม่เกินวันที่ 25 ของเดือน ก็เป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนให้เบิกจ่ายค่าจ้างทันสิ้นเดือน
ให้ดูเอกสาร “ผนวก 3” ที่แนบสัญญาจ้าง ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) ว่า กำหนดส่งมอบงานในแต่ละเดือน ในวันใด ถ้ากำหนดส่งมอบงานในวันสิ้นเดือน ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเบิกจ่ายค่าจ้างได้ทันวันสิ้นเดือน เพราะ เมื่อส่งมอบงานแล้วคณะกรรมการตรวจรับการจ้างต้องตรวจและลงนามรับในเอกสารตรวจรับ จากนั้นจึงจะดำเนินการเบิกจ่ายค่าจ้างให้ต่อไป แต่ถ้ากำหนดส่งมอบงานไม่เกินวันที่ 25 ของเดือน ก็เป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนให้เบิกจ่ายค่าจ้างทันสิ้นเดือน
3.
คืนวันอาทิตย์ที่ 30 มิ.ย.62 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า กรณีคณะกรรมการสถานศึกษาครบวาระแล้ว
ต้องมีการสรรหาใหม่ เราจะต้องทำหนังสือถึงคนเก่าก่อนไหมค่ะว่ายินดีจะเป็นคณะกรรมการต่อหรือไม่
เพราะบางคนเขาไม่ยินดีจะเป็นแล้วอ่ะค่ะ แต่บางคน ยินดีที่จะเป็นต่อ อ่ะค่ะ
ผมตอบว่า ตามระเบียบหลักเกณฑ์แล้ว กรณีครบวาระ 4 ปี
ต้องดำเนินการสรรหาใหม่ทั้งหมด ตามวิธีในข้อ 3-5 ของประกาศที่ประกอบโพสต์นี้
( ในทางปฏิบัติ กศน.อำเภอ/เขต ประกาศรับสมัคร แล้วอาจติดต่อเป็นการภายในให้คนนั้นคนนี้ทั้งคนเก่าคนใหม่กรอกใบสมัคร ในการติดต่อเป็นการภายในนี้ก็จะรู้ว่าใครยินดีหรือไม่ ไม่มีระเบียบให้ทำหนังสือถึงคนเก่าก่อน )
ดูเล่มคู่มือการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ที่ http://bit.ly/2XfOJ06
( ในทางปฏิบัติ กศน.อำเภอ/เขต ประกาศรับสมัคร แล้วอาจติดต่อเป็นการภายในให้คนนั้นคนนี้ทั้งคนเก่าคนใหม่กรอกใบสมัคร ในการติดต่อเป็นการภายในนี้ก็จะรู้ว่าใครยินดีหรือไม่ ไม่มีระเบียบให้ทำหนังสือถึงคนเก่าก่อน )
ดูเล่มคู่มือการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ที่ http://bit.ly/2XfOJ06
4. ดึกวันที่
3 ก.ค.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในเฟซบุ๊ก ว่า ถ้าทาง สนง.กศน อำเภอ ออกใบรับรองให้แล้ว
เมื่อปี2548 จากนั้น ยังไม่ได้ไปรับ ใบแสดงผลการเรียน ที่นี้นั้นทาง
สนง.กศนบอกให้พาหลักฐาน เพื่อที่จะออกใบแสดงผลให้
ที่นี้ทางเราก็พาหลักฐานให้ครบแล้ว จากนั้นทาง กศน หาต้นฉบับไม่เจอ
เขาเลยให้ไปถามว่า เรียนกับ อาจารย์หรือครูคนไหน สมัยนั้น และอยากทราบว่า
จำเป็นไหม ค้องตามล่าหาอาจารย์รุ่นที่เราเรียน
อยากและเมื่อเอกสารที่เราไปยืนครบแล้ว มีทั้ง นส.ใบรับรองของทาง สนง.กศน
อำเภอทุ่งยางแดง ออกให้แล้วว่าสำเร็จการศึกษาแล้ว มีรหัสประจำตัว นศ. สรุป เรา
หรือเขา ที่ต้องจัดการ 👉รบกวนช่วยตอบด้วยนะ
ผมตอบว่า ถ้าในหลักฐานใบรับรองว่าสำเร็จการศึกษา
มีรหัสประจำตัว นศ. ก็เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาโดยนายทะเบียน (
สถานศึกษาคงแค่ถามชื่อครู แต่ ทะเบียนหลักฐานต้องเก็บรักษาที่ กศน.อำเภอ
ไม่ใช่อยู่ที่ กศน.ตำบลหรือครู ) เว้นแต่จะมีข้อสงสัยไม่แน่ใจว่าเป็นใบรับรองปลอมหรือไม่
ก็จะมีการสอบถามสืบสวนให้ชัดเจน
ต้องให้เวลาเขาระยะหนึ่ง เพราะเป็นหลักสูตรเก่าที่คุณทิ้งไป 14 ปีแล้ว (กศน.อำเภอหลายแห่งไม่ค่อยมีประสบการณ์ ไม่ละเอียดรอบคอบในการเก็บรักษาเอกสารทะเบียนหลักฐาน) ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็แจ้งไปที่ สนง.กศน.จ.ปัตตานี
5. วันที่ 3 ก.ค.62 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า กศน.อำเภอ การนอนเวรกลางคืนปฏิบัติอย่างไร ที่ทำงานมีครูชาย 2 คน หญิง 12 คน
ต้องให้เวลาเขาระยะหนึ่ง เพราะเป็นหลักสูตรเก่าที่คุณทิ้งไป 14 ปีแล้ว (กศน.อำเภอหลายแห่งไม่ค่อยมีประสบการณ์ ไม่ละเอียดรอบคอบในการเก็บรักษาเอกสารทะเบียนหลักฐาน) ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็แจ้งไปที่ สนง.กศน.จ.ปัตตานี
5. วันที่ 3 ก.ค.62 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า กศน.อำเภอ การนอนเวรกลางคืนปฏิบัติอย่างไร ที่ทำงานมีครูชาย 2 คน หญิง 12 คน
ผมตอบว่า ปกติให้แต่งตั้ง ชายอยู่เวรกลางคืน
หญิงอยู่เวรกลางวัน ( ถ้าชายมีน้อย เมื่อแต่งตั้งแล้วอาจจะอะลุ่มอล่วยในการอยู่เวร
แต่ก็ต้องมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีผู้อยู่เวรทุกคืน มิฉะนั้นถ้าเกิดอะไรขึ้น
ผอ.จะมีความผิดที่ไม่กำหนดให้มีผู่อยูเวรทุกคืน )
6. วันที่ 4 ก.ค.62 มี ผอ.กศน.จ. ถามผมทางไลน์กลุ่มขับเคลื่อน พรบ.กศช. ว่า สตง.เข้าตรวจเงินอุดหนุน. สตง.ต้องการทราบว่า จว.มีหลักเกณฑ์ มีหนังสือราชการอะไร ในการหักเงินอุดหนุนไว้ที่จังหวัดบ้าง จนท.บอกฉันว่าไม่มี หักมาตามที่เคยทำ ขอรบกวนพี่ จะนำให้ สตง.ดู
6. วันที่ 4 ก.ค.62 มี ผอ.กศน.จ. ถามผมทางไลน์กลุ่มขับเคลื่อน พรบ.กศช. ว่า สตง.เข้าตรวจเงินอุดหนุน. สตง.ต้องการทราบว่า จว.มีหลักเกณฑ์ มีหนังสือราชการอะไร ในการหักเงินอุดหนุนไว้ที่จังหวัดบ้าง จนท.บอกฉันว่าไม่มี หักมาตามที่เคยทำ ขอรบกวนพี่ จะนำให้ สตง.ดู
ผมตอบว่า เมื่อส่วนกลางจัดสรรเงินอุดหนุนไปที่จังหวัด
จังหวัดจะหักเงินที่จังหวัดเป็นผู้เบิกจ่ายในการบริหารจัดการระดับจังหวัดไว้ก่อนแจ้งจัดสรรต่อให้อำเภอ
เช่น หักไว้เป็นเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนครูต่าง ๆ
ค่าอบรมพัฒนาครูที่จังหวัดเป็นผู้จัด
โดยแต่ละจังหวัดหักไว้ไม่เท่ากัน/ไม่แน่นอน ไม่มีเกณฑ์กำหนด ไม่มีหนังสือราชการกำหนดในเรื่องการหักเงินอุดหนุนของจังหวัด
( จังหวัดอาจทำแผนก่อน ว่า มีครู-บุคลากรกี่คน ต้องจ่ายเงินเดือน-ค่าตอบแทนทั้งหมดเท่าไร จะจัดโครงการระดับจังหวัดเพื่ออบรมพัฒนาครูในโครงการใดบ้าง แต่ละโครงการใช้งบเท่าไร ฯลฯ จัดสรรให้ กศน.อำเภอเท่าไร)
ประเด็นนี้ เคยมีปัญหาในบางจังหวัด กศน.อำเภอได้งบหลังจากที่จังหวัดหักไว้ ไม่พอใช้จ่าย แต่ก็ยังไม่มีเกณฑ์ออกมา อาจเพราะบริบทแต่ละจังหวัดต่างกัน ยากที่จะกำหนดเกณฑ์กลาง
7. วันนี้ (9 ก.ค.62) มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า น้องๆบรรณารักษ์จ้างเหมาที่ปทุมธานีฝากเรียนถามว่า ที่มีหนังสือแจ้งให้ห้องสมุดอำเภอมี บรรณารักษ์/ จ้างเหมา ได้ 1 คน น้องๆถามว่า เขาต้องโดนให้ออกหรือคะ
โดยแต่ละจังหวัดหักไว้ไม่เท่ากัน/ไม่แน่นอน ไม่มีเกณฑ์กำหนด ไม่มีหนังสือราชการกำหนดในเรื่องการหักเงินอุดหนุนของจังหวัด
( จังหวัดอาจทำแผนก่อน ว่า มีครู-บุคลากรกี่คน ต้องจ่ายเงินเดือน-ค่าตอบแทนทั้งหมดเท่าไร จะจัดโครงการระดับจังหวัดเพื่ออบรมพัฒนาครูในโครงการใดบ้าง แต่ละโครงการใช้งบเท่าไร ฯลฯ จัดสรรให้ กศน.อำเภอเท่าไร)
ประเด็นนี้ เคยมีปัญหาในบางจังหวัด กศน.อำเภอได้งบหลังจากที่จังหวัดหักไว้ ไม่พอใช้จ่าย แต่ก็ยังไม่มีเกณฑ์ออกมา อาจเพราะบริบทแต่ละจังหวัดต่างกัน ยากที่จะกำหนดเกณฑ์กลาง
7. วันนี้ (9 ก.ค.62) มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า น้องๆบรรณารักษ์จ้างเหมาที่ปทุมธานีฝากเรียนถามว่า ที่มีหนังสือแจ้งให้ห้องสมุดอำเภอมี บรรณารักษ์/ จ้างเหมา ได้ 1 คน น้องๆถามว่า เขาต้องโดนให้ออกหรือคะ
ผมตอบว่า ทุกจังหวัดต้องจัดทำกรอบการจ้างปี 63
ส่งส่วนกลางไปตั้งแต่ พ.ย.61 แล้ว โดยในกรอบนี้ต้องกำหนดไว้แล้วว่าปี 63
จะจ้างเหมาตำแหน่งอะไรที่ไหนเท่าไร แต่ จังหวัดจะกำหนดตามใจไม่ได้
ให้กำหนดจำนวนรวมทั้งจังหวัดไม่มากไปกว่าปีนี้
อาจจะลดตำแหน่งหนึ่งไปเพิ่มตำแหน่งหนึ่ง ลดจากที่หนึ่งไปเพิ่มที่หนึ่ง
ให้เป็นไปตาม “แนวทางการจ้างเหมาบริการ”
( ดูตัวอย่างกรอบ และ แนวทางการจ้างเหมา ได้ที่ http://bit.ly/2Leqg9Y ) และถ้ามีอัตราจ้างเหมาของแห่งที่เกิน "แนวทาง" ออกไประหว่างปีนี้ ก็ให้งดจ้างคนใหม่ ซึ่งอาจทำให้ปีหน้าจำนวนอัตราในภาพรวมลดลง
สรุปคือจังหวัดต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตาม “กรอบ” และ “แนวทางการจ้างเหมา” ส่วนจังหวัดใดจะต้องลดอัตราตำแหน่งใดหรือไม่อย่างไร ให้ถามจังหวัด ( โดยปกติจังหวัดจะทำกรอบรวมเท่าอัตราปีนี้ ถ้าตำแหน่งใดเกิน “แนวทางการจ้างเหมา” ก็จะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่น/ที่อื่น ที่ยังไม่เต็ม แต่ถ้าจังหวัดใดมีอัตราเกินทุกที่ทุกตำแหน่งก็ยาก )
( ดูตัวอย่างกรอบ และ แนวทางการจ้างเหมา ได้ที่ http://bit.ly/2Leqg9Y ) และถ้ามีอัตราจ้างเหมาของแห่งที่เกิน "แนวทาง" ออกไประหว่างปีนี้ ก็ให้งดจ้างคนใหม่ ซึ่งอาจทำให้ปีหน้าจำนวนอัตราในภาพรวมลดลง
สรุปคือจังหวัดต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตาม “กรอบ” และ “แนวทางการจ้างเหมา” ส่วนจังหวัดใดจะต้องลดอัตราตำแหน่งใดหรือไม่อย่างไร ให้ถามจังหวัด ( โดยปกติจังหวัดจะทำกรอบรวมเท่าอัตราปีนี้ ถ้าตำแหน่งใดเกิน “แนวทางการจ้างเหมา” ก็จะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่น/ที่อื่น ที่ยังไม่เต็ม แต่ถ้าจังหวัดใดมีอัตราเกินทุกที่ทุกตำแหน่งก็ยาก )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย