วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา, ซื้อวัสดุฝึกเป็นสิ่งมีชีวิตเช่นลูกสัตว์ไม่ได้?, เตรียมประเมินตัวบ่งชี้ที่ 5.1 อย่างไร, จะตั้งแหล่งเรียนรู้(ชุมชนอ่านสร้างสุข), อายุราชการ ขรก.ครูที่เคยเป็นพนักงานราชการ, โปรแกรมคำนวณบำเหน็จบำนาญ, ผอ.กศน.อ. ออกใบรับรองเงินเดือน?



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 9 มิ.ย.57 คุณ ยุทธนา ถาวร ครู กศน.ตำบล กศน.อ.บ้านม่วง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี ใช้ประโยคไหนถูกครับ
             - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี 2555
             - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2555
             - แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2555

             ผมตอบว่า   หมายถึงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วไป ที่ทุกสถานศึกษาต้องทำใช่ไหม   การทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษานี้ ปกติจะทำเป็นปีงบประมาณหรือปีการศึกษาก็ได้ แต่ของ กศน.เรา ทำเป็นปีงบประมาณนะ ( โรงเรียนในระบบทำเป็นปีการศึกษา )
             แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษานี้ เป็นแผนระยะกลาง ( 3-5 ปั ) ไม่ใช่แผนปีเดียวนะ
             แผนปฏิบัติการประจำปี ( ทำครั้งละปีเดียว ) ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อน จากนั้นจึงดึงข้อมูลในแผนพัฒนาฯนี้ ไปทำแผนปฏิบัติการแต่ละปี  ซึ่ง กศน.เราทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ฉะนั้นเราจึงต้องทำแผนพัฒนาฯเป็นประจำปีงบประมาณด้วย จึงจะสอดคล้องกัน  และสอดคล้องกับนโยบายจุดเน้นเป้าหมายต่าง ๆ ที่ กศน.เรากำหนดนโยบายจุดเน้นเป้าหมายต่าง ๆ เป็นปีงบประมาณ
             ในชื่อแผนฯ จะมีคำว่า "ประจำปีงบประมาณ" ด้วยหรือไม่ก็ได้
             กลุ่มพัฒนา กศน. เคยทำหนังสือ "เค้าโครงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเอง" ไว้  มีตั้งแต่ชื่อแผนฯ  ดาวน์โหลดได้ที่ http://202.143.137.99/ebookzzzzz/planandsar/files/planandsar.pdf  หรือที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/planandsar.pdf   ( ในเล่มนี้มีเค้าโครง 2 เรื่องต่อกัน แต่เวลาทำจริง ๆ ต้องแยกทำคนละเล่มนะ  โดยเฉพาะในส่วนของเค้าโครงรายงานการประมาณตนเองนั้น ไม่ต้องดูในเล่มนี้แล้ว ส่วนนี้ล้าสมัยแล้ว )


         2. วันเดียวกัน ( 9 มิ.ย.) มีครู กศน.ตำบล โทร.มาถามผมว่า  จะเปิดสอนวิชาชีพระยะสั้น วิชาการเลี้ยงปลาดุก ( ใช้หลักสูตรของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ) โดยจะซื้อวัสดุฝึกเป็นลูกปลาดุก แต่ จนท.การเงิน สนง.กศน.จ.กำแพงเพชร บอกว่า ซื้อสิ่งมีชีวิตไม่ได้ เพราะเมื่อเลี้ยงโตแล้วจะต้องมีที่ไป เช่นจำหน่ายนำเงินเข้ารายได้แผ่นดิน ... ถามว่า ระเบียบเป็นอย่างไร

             เรื่องนี้  ผู้ตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า
              “ถ้ามีหลักสูตร มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ ก็ซื้อสิ่งมีชีวิตได้ แต่ เมื่อเลี้ยงโตแล้วจะมีปัญหาตามที่ จนท.การเงิน สนง.กศน.จ.กำแพงเพชรบอก คือต้องมีที่ไปที่ถูกระเบียบ ( จะบอกว่าเลี้ยงไม่รอด ตายหมดเลย ก็คงไม่ใช่ ) เช่น ถ้าสามารถจำหน่ายผลผลิตนำเงินเข้าเป็นรายได้แผ่นดินได้ ก็ไม่มีปัญหา  แต่ถ้าจะทำไม่ได้ก็อาจมีปัญหา
             ในทางปฏิบัติ บางแห่งจะยกผลผลิตให้ผู้เรียน แต่สิ่งที่ปฏิบัติกันนั้นไม่ถูกระเบียบ  ( ที่เคยมีโครงการจะให้อุปกรณ์การประกอบอาชีพแก่ผู้เรียนนั้น ไม่ได้รับอนุมัติจาก ครม.)  โดยเฉพาะถ้าทั้งลูกปลาและอาหารปลา ซื้อด้วยเงินราชการ จะยกผลผลิตให้ผู้เรียนไม่ได้  เมื่อมีผู้ทักท้วงก็ต้องคุยกันว่าจะทำอย่างไร
             บางแห่งใช้วิธีทำหลักฐานเป็นซื้อวัสดุสิ้นเปลืองอื่น ( ก็ไม่ใช่วิธีที่ถูกระเบียบนะ )


         3. วันที่ 11 มิ.ย.57 คุณ อภิชญาลักษณ์ ตันชูชีพ กศน.เฉลิมพระเกียรติ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ขอแนวทางในการเตรียมประเมินภายนอกของตัวบ่งชี้ที่ 5.1
             ผมตอบว่า   ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 "ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการจะได้ข้อมูลมาจาก สมศ. ( สมศ.ได้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละสถานศึกษามาจาก สทศ.)  ที่จริงมีวิธีที่เราสามารถคำนวณข้อมูลเองได้แต่ค่อนข้างยุ่งยากและไม่จำเป็น
             สิ่งที่ควรเตรียมไว้คือ
             1) ผลการสอบ N-NET ทั้ง 3 ระดับ
             2) งาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น
                 - การปรับพื้นฐานก่อนเรียน
                 - การสอนเสริม
                 - การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
                 - โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้มีชีวิต
                 - กิจกรรมวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
                 - กิจกรรมแนะแนวการเรียนรู้
                 - การนำเสนอผลงานของผู้เรียน การประกวดโครงงาน
                 - กิจกรรมส่งเสริมและตอบสนองความสามารถพิเศษ ความคิดสร้างสรรค์ และความถนัดของผู้เรียน
                 - การจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
                 - การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล สรุปและรายงานผล ตามวงจร PDCA
                 เป็นต้น
             คะแนนตัวบ่งชี้ที่ 5.1 นี้ จะได้จากโปรแกรมการคำนวณของ สมศ.   การเตรียม งาน/โครงการ/กิจกรรม ตามข้อ 2) ไว้ เป็นเพียงส่วนประกอบสำหรับโชว์กรรมการ



         4. เย็นวันที่ 13 มิ.ย.57 คุณ Nok Nong ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กศน.อำเภอ สามารถออกคำสั่ง/ประกาศ แต่งตั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้หรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอยู่ก่อนแล้วแต่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่น

             ผมตอบว่า   ทำไมต้องประกาศจัดตั้งด้วยล่ะ ปกติก็แค่สำรวจรวบรวมไว้ในทำเนียบ/ทะเบียน   ถ้าจะจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชน กศน.อำเภอสามารถจัดตั้งได้  ( คำว่า แต่งตั้ง ใช้กับคน ไม่ใช้กับหน่วยงาน/อาคารสถานที่ )
             คุณ Nok Nong บอกต่อ ว่า  กำลังสับสนกับการสำรวจข้อมูลชุมชนอ่านสร้างสุข ในส่วนของการสำรวจข้อมูลของแหล่งเรียนรู้พร้อมคำสั่งแต่งตั้งอ้างอิง  ก้อเลยสงสัยการดำเนินการว่าจะทำอย่างไร เพราะแหล่งเรียนรู้นี้เป็นของมูลนิธิในชุมชน
             ผมตอบว่า  เรื่องชุมชนอ่านสร้างสุข เขาหมายถึง สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้เอง โดยเปิดให้ ผู้เรียน/ชุมชน/เครือข่าย เข้ามาเรียนรู้ภายในสถานศึกษา  อาจจะออกประกาศประชาสัมพันธ์ให้ ผู้เรียน/ชุมชน/เครือข่าย ทราบและเข้ามาเรียนรู้ และออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการบริหารจัดการในส่วนนี้


         5. คืนวันเดียวกัน ( 13 มิ.ย.) คุณ ยุทธนา ถาวร ครู กศน.ตำบล กศน.อ.บ้านม่วง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  คนที่เป็นพนักงานราชตั้งแต่อายุ 30 ปี ถึงอายุ 37 ปี แล้วมาบรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย อายุ 38 ปี จนถึงอายุ 60 ปี  อายุราชการจะกี่ปี นับรวมกันไหม แล้วจะมีผลกับบำเหน็จบำนาญอย่างไร

             ผมตอบว่า   ไม่นับรวม แต่เริ่มนับหนึ่งใหม่เมื่อบรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย  ถ้าบรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วยเมื่ออายุ 38 ปี จนถึงอายุ 60 ปี ปกติก็จะมีอายุราชการ 22 ปี รับบำเหน็จ  ถ้าอายุราชการ 25 ปีขึ้นไปจึงจะเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญ  ส่วนบำนาญในช่วงที่เป็นพนักงานราชการแยกรับต่างหาก
             ( ข้าราชการไม่ต้องคอยต่อสัญญาทุก 4 ปี เงินเดือนขึ้นปีละ 2 ครั้ง  ไม่ถึง 10 ปีก็จะเริ่มแซงพนักงานราชการ  และอัตราบำเหน็จบำนาญของพนักงานราชการก็ไม่มาก )


         6. คืนวันเสาร์ที่ 14 มิ.ย.57  ผมนำโปรแกรมคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไปเผยแพร่ต่อ ในเฟซบุ๊ค ดังนี้

             โปรแกรมคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการปกติ อย่างง่าย ๆ  ที่  http://www.fpo.go.th/S-I/Source/GPCalculate/GPCalculate.php 
             เพียงกรอกข้อมูลไม่กี่ช่อง
             1. ชื่อ  กรอกอย่างไรก็ได้
             2. เลือก เป็นสมาชิก กบข.” (ถ้าจะไม่ลาออก) หรือ ไม่เป็นสมาชิก กบข.” (ถ้าจะลาออก)
             3. กรอกวันเกิด และวันบรรจุราชการ ในลักษณะ วว/ดด/ปปปป  เช่น 14/09/2515
             4. เลือกว่า จะอยู่ถึงเกษียณ หรือ เออร์ลี่ (จะเออร์ลี่เมื่อไร)
             5. เลือกให้คำนวณ บำเหน็จ หรือ บำนาญ
             6. กรอกเงินเดือนสุดท้าย ( ประมาณ )
             7. คลิกที่ คำนวณ
              ( ลองคำนวณบำเหน็จ บำนาญ แบบต่าง ๆ เปรียบเทียบกันดู เช่น แบบลาออก กับไม่ลาออกจาก กบข. ส่วนต่างบำนาญเดือนละเท่าไร รวมปีละเท่าไร ถ้าอายุยืนถึง 65-70 ปี ส่วนต่างเป็นเท่าไร เกินส่วนที่จะได้จาก กบข.เท่าไร )


         7. วันที่ 18 มิ.ย.57 คุณ Jintana Usin จาก กทม. ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  การขอใบรับรองเงินเดือนของพนักงานราชการ เคยเห็นหนังสือมอบอำนาจว่า ผอ.อำเภอ/ผอ.เขต สามารถลงนามให้กับครู กศน.ตำบล ได้เลยใช่ไหม  ถ้ามีหนังสือฉบับการมอบอำนาจ ขอดูเป็นตัวอย่างได้ไหม  มีการถกเถียงของ รก. ว่า ผอ.อำเภอ ลงนามไม่ได้ อ้างว่า นิติกรกรมบอกว่าผิดถ้า ผอ.อำเภอลงนาม

             ผมตอบว่า

             ดูคำตอบเก่า ในข้อ 5.3 ที่  http://www.gotoknow.org/posts/535023
             และดูข้อ 2 ในคำสั่งมอบอำนาจ ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/guarantee.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย