วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

1.ลองภูมิเรื่องการเทียบโอนฯ, 2.ทำชำนาญการ, 3.พนักงานราชการจะลาเพื่อดูแลภรรยาคลอดบุตร, 4.นายทะเบียนขั้นพื้นฐาน กับเทียบระดับ ต้องเป็นคนเดียวกันไหม, 5.นักศึกษาขาดสอบเกินครึ่ง ผอ.ให้บันทึกไปจังหวัด จะมีผลอย่างไร, 6.เลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำปี, 7.ไปรับเข็มไม่ได้ จะได้รับเข็มหรือไม่ อย่างไร



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

        
1. วันที่ 21 ส.ค.57 ผมเผยแพร่เรื่องการเทียบโอนฯ ในเฟซบุ๊ค ว่า  เมื่อวันที่ 19 ส.ค.57 ผมไปเป็นวิทยากรเรื่องการเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน 51 ที่ กศน.อ.เสนา ( 09:00 - 15:00 น.)  โดยมีการทดสอบทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี   ข้อสอบภาคทฤษฎีมี 16 ข้อ ตามตัวอย่างข้างล่างนี้  ( ใครสนใจ PowerPoint ที่ผมทำไปประกอบการบรรยาย  เนื้อหาครอบคลุมคำตอบทั้ง 16 ข้อ  ดาวน์โหลดได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/tiebOon.rar )
             3)  ทำไมครู กศน. ต้องรู้เรื่องการเทียบโอนฯ ?
                  ก. เป็นกรรมการเทียบโอน
                  ข. เป็นผู้ดำเนินการเทียบโอน
                  ค. เป็นผู้ตรวจสอบรักษาสิทธิ์ให้นักศึกษา
                  ง. เป็นผู้ แนะนำ/แนะแนว/ตอบคำถาม นักศึกษา
             5)  เทียบโอนผลการเรียนเพื่ออะไร ?
                  ก. เรียนน้อย ๆ จบเร็ว ๆ
                  ข. ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
                  ค. ส่งเสริมการเรียนหลักสูตรอื่น ๆ
                  ง. ไม่ต้องเรียนซ้ำในวิชาที่มีความรู้แล้ว
             7)  เทียบโอนแบบใด ให้ผลการเทียบโอนเป็นเกรด ?
                  ก. ป.
4
                  ข. การศึกษาต่อเนื่อง
                  ค. หลักสูตรต่างประเทศ
                  ง. ประเมินความรู้และประสบการณ์
            13)  เรียน ปวช. มา
                  - วิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ 2 นก. ได้เกรด 2
                  - วิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน 2 นก. ได้เกรด 2
                  - วิชาวิถีธรรมวิถีไทย 2 นก. ได้เกรด 2.5
                  เทียบโอนเป็นวิชาสังคมศึกษา (
3 นก.) กับ ศาสนาและหน้าที่พลเมือง (2 นก.) ได้เกรดเท่าไร?
                  ก. ได้เกรด
2 ทั้งสองวิชา
                  ข. ได้เกรด
2.17 ทั้งสองวิชา
                  ค. ได้เกรด
2.5 ทั้งสองวิชา
                  ง. สังคมฯได้
2 ศาสนาและหน้าที่พลเมืองได้ 2.5
             16)  กศน.อำเภอ จัดสอนทักษะอาชีพ ดนตรีไทย 50 ชม. ดนตรีสากล 50 ชม. ผู้ผ่านทั้งสองวิชาจะเทียบโอนเป็นรายวิชาศิลปศึกษา ได้หรือไม่ ?
                  ก. ไม่ได้
                  ข. ได้ระดับเดียว
                  ค. ได้ไม่เกินระดับ ม.ต้น
                  ง. ได้เฉพาะระดับประถม

         2. เย็นวันที่ 22 ส.ค.57 Rossiri Thong-am เขียนในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ขอแบบประเมินเพื่อปรับระดับจากปฏิบัติการเป็นชำนาญการ ของบุคลากรทางการศึกษา 38 ค (2)  รวมถึงขั้นตอนกระบวนการที่จะปรับระดับด้วย
             ผมตอบว่า   บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ นักวิชาการศึกษา หรืออื่น ๆ ก็เหมือนกัน  ถ้าบรรจุใหม่ รับเงินเดือนในระดับปฏิบัติการ จะทำชำนาญการ ( บุคลากรทางการศึกษาอื่น จะไม่ใช้คำว่า วิทยฐานะ ) ได้เมื่อครบ 6 ปี (สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี ), หรือครบ 4 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาโททางสาขาที่กำหนด ), หรือครบ 2 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาเอกทางสาขาที่กำหนด )
             ปัจจุบันไม่มีการกำหนดคุณสมบัติเรื่องเงินเดือนขั้นต่ำ  ส่วนผู้ที่ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และเฉพาะ อ.นาทวี อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย ใน จ.สงขลา ) นับระยะเวลาเป็นทวีคูณ จึงลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง เช่น ทำชำนาญการได้เมื่อเป็นบรรณารักษ์ครบ 3 ปี ( สำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี )
             การทำ  ให้ยื่นแบบ ปส. ลักษณะเดียวกับการทำชำนาญการพิเศษ แต่เปลี่ยนคำว่าชำนาญการพิเศษในแบบฟอร์ม เป็นชำนาญการเฉย ๆ  ( ดูลักษณะแบบฟอร์ม ปส. ในหนังสือที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/library.pdf )

             รายละเอียดและตัวอย่างการทำ ลองสมัครเข้ากลุ่มในเฟซบุ๊คเช่น "กลุ่มบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน..คนขยัน" แล้วถามสมาชิกในกลุ่ม
             อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดปลีกย่อยอีก  ติดต่อสอบถามโดยตรงที่ สนง.กศน.จ. หรือ กจ.กศน.


         3. เย็นวันอาทิตย์ที่ 31 ส.ค.57 ดอกหญ้า ไกลบ้าน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  พนักงานราชการ กศน.มีสิทธิ์ลาดูแลภรรยาคลอดบุตรได้ไหม
             ผมตอบว่า   พนักงานราชการทุกตำแหน่ง ทุกกระทรวง ยังไม่ได้ปรับแก้ระเบียบให้ลาประเภทนี้ได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีสิทธิ์ลาประเภทนี้  ( ดูคำตอบเก่า ในข้อ 5 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/533649 )

         4. วันที่ 3 ก.ย.57 กี้ เปรี้ยวซ่อนหวาน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  นายทะเบียนขั้นพื้นฐาน กับเทียบระดับ ต้องเป็นคนๆเดียวกันมั้ย สถานศึกษาหนึ่งๆนายทะเบียนมีคนเดียวใช่มั้ย
             ผมตอบว่า  ถ้าเป็นการจัดการศึกษาคนละประเภท/คนละหลักสูตร นายทะเบียนจะเป็นคนเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เช่น กศ.ขั้นพื้นฐาน การเทียบระดับฯแบบเดิม การเทียบระดับฯสูงสุด กศ.ต่อเนื่อง อาจมีนายทะเบียนเป็น 1-4 คน ก็ได้

         5. เย็นวันอาทิตย์ที่ 22 ก.ย.57 Kanokwan Khuawara ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ถ้านักศึกษาขาดสอบเกิน 50 % จะมีผลอย่างไร แก้ปัญหายังไง   ผอ.ให้บันทึกข้อความไปจังหวัด ไม่รู้จะโดนอะไรอีก
             ผมตอบว่า   อยู่ที่ผู้บริหารแต่ละอำเภอแต่ละจังหวัด  ต้องดูพฤติกรรมอื่น ๆ ของครูด้วย  ( คนส่วนใหญ่รู้วิธีแก้ปัญหา แต่.. ถ้า กศน.จัดการศึกษาเพื่อปริมาณ เพื่อให้ครูมีงานทำ ก็แก้ยาก )

         6. คืนวันที่ 2 ถึงดึกวันที่ 4 ก.ย.57 ปรเมศวร์ อ่อนสกุล ครู กศน.ตำบล กศน.อ.จัตุรัส ถามผมทางข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ถามทางแฟนเพจ และทางอีเมล์  ว่า  การประเมินพนักงานราชการจะทำปีละ 2 ครั้งคือช่วงเดือนเมษายนกับตุลาคมใช่หรือไม่ เดือนเมษายนต้องมีการประเมินเพื่อปรับเงินเดือนอีกหรือไม่ การที่ กศน.จังหวัดไม่มีการประเมินหรือปรับเงินเดือนพนักงานราชการตอนเดือนเมษายนจะมีผลอย่างไรบ้างหรือสามารถประเมินแล้วปรับรวบตอนเดือนตุลาคมได้ ถ้าเดือนตุลาคมมีการประเมินปรับเงินเดือนโดยไม่เอาของเดือนเมษายนมารวมจะถือว่าเราเสียสิทธิ์หรือไม่
             ผมตอบว่า   การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการมีมากกว่า 1 กรณี เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่กรณี คือ การเลื่อนค่าตอบแทน การเลิกจ้าง การต่อสัญญาจ้าง และอื่น ๆ
             ในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีเพื่อการเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการทั่วไป ใช้ผลการประเมินปีละ 2 รอบหรือ 2 ครั้ง แต่เลื่อนค่าตอบแทนปีละครั้งเดียว
             - รอบที่ 1  ประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่าง 1 ต.ค.- 31 มี.ค.
             - รอบที่ 2  ประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่าง 1 เม.ย.- 30 ก.ย.
             ผู้ที่จะได้เลื่อนค่าตอบแทน จะต้องได้คะแนนประเมินเฉลี่ย 2 รอบ ( นำคะแนนรอบที่ 1 กับรอบที่ 2 มาบวกกัน แล้วหารด้วย 2 ) ไม่ต่ำกว่าระดับ ดี  คือได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 75 %
             ดูรายละเอียดในระเบียบหลักเกณฑ์ที่  
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/evalPRG.pdf  


         7. วันที่ 5 ก.ย.57 ผมเผยแพร่เรื่องไปรับเข็มไม่ได้ จะได้รับเข็มหรือไม่ อย่างไร  ลงในเฟซบุ๊ค ว่า 
             ถ้าเป็นเข็มเชิดชูเกียรติ ( 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี ) เป็นเรื่องของ กป.
             อ.สร้อยทิพย์ กป. บอกว่า เหมือนปีก่อน ๆ คือ จะส่งเข็มพร้อมประกาศนียบัตรไปที่จังหวัด โดย
             - กรณีไม่ได้ตอบรับว่าจะไปรับ ก็ไม่ต้องทำอะไรอีก หลังงาน กป.จะส่งไปให้ที่จังหวัด
             - กรณีตอบรับว่าจะไปรับ แล้วพอถึงเวลาไปไม่ได้ จะติดเชียร์/แข่งกีฬา ฯลฯ  ต้องรีบแจ้ง อ.สร้อยทิพย์ ทางโทรศัพท์ 086-9713168 ด่วน  จะได้รีบจัดคิวใหม่และแจ้งลดอาหารทัน ( ค่าอาหารหัวละ 300 บาท )  กรณีนี้ถ้าจะให้คนอื่นรับแทนก็ได้ แต่ก็ต้องรีบแจ้งอย่างเป็นทางการเช่นกัน โดยผู้ขึ้นรับแทนแต่ละคนจะรับได้ชุดเดียวเท่านั้น ( แต่งเครื่องแบบเช่นกัน ) คนเดียวจะขึ้นรับของตนเองและขึ้นรับแทนคนอื่นอีกไม่ได้
             ส่วนเข็มวิทยพัฒน์ ( ผู้ผ่านการอบรมพัฒนาฯ ) เป็นเรื่องของ กจ.
             ลักษณะเดียวกับ กป. ให้ติดต่อ อ.อุบลวรรณ กจ. 089-444-7196  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย