สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 8 ก.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า การเบิกเงินค่าป้ายการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ยังคงทำได้หรือไม่ เพราะในหลักเกณฑ์ไม่มีในเรื่องของการจ้างประชาสัมพันธ์ แต่ทางอำเภอยังคงส่งเบิก
1. วันที่ 8 ก.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า การเบิกเงินค่าป้ายการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ยังคงทำได้หรือไม่ เพราะในหลักเกณฑ์ไม่มีในเรื่องของการจ้างประชาสัมพันธ์ แต่ทางอำเภอยังคงส่งเบิก
ผมตอบว่า ถ้าจัดในรูปแบบกลุ่มสนใจหรือชั้นเรียนวิชาชีพ
จะเบิกค่าป้ายไม่ได้
เพราะเบิกได้แต่ค่าตอบแทนวิทยากรกับค่า
"วัสดุฝึก" ซึ่งชัดเจนว่า ป้ายไม่ใช่วัสดุฝึก
แต่ถ้าจัดในรูปแบบการฝึกอบรม สามารถเบิกจ่ายค่าวัสดุในการจัดฝึกอบรมเท่าที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด ซึ่งอาจตีความว่า การจ้างทำป้าย เป็นการจ้างทำวัสดุในการจัดฝึกอบรมที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด
2. คืนวันเสาร์ที่ 16 ก.ค.59 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊กผม ว่า พนักงานราชการทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาตั้งกรรมการสอบสวน พบมีมูล กรรมการสรุปว่าผิดวินัยร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาต้องสรุปและออกคำสั่งลงโทษตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเรื่องแนวทางการดำเนินการทางวินัยพนักงานราชการ พ.ศ. 2559 ใช่หรือไม่ หากไม่สั่งลงโทษ ผิดหรือไม่ ไม่จัดการให้จบด้วยตนเอง ส่งต่อไป ผิดหรือไม่ ในประกาศนี้ ห้วหน้าส่วนราชการหมายถึงเลขา กศน.หรือ ผอ.จังหวัด หรือมีการมอบอำนาจจากเลขา หรือไม่ หรือมอบเฉพาะวินัยไม่ร้ายแรง
แต่ถ้าจัดในรูปแบบการฝึกอบรม สามารถเบิกจ่ายค่าวัสดุในการจัดฝึกอบรมเท่าที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด ซึ่งอาจตีความว่า การจ้างทำป้าย เป็นการจ้างทำวัสดุในการจัดฝึกอบรมที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด
2. คืนวันเสาร์ที่ 16 ก.ค.59 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊กผม ว่า พนักงานราชการทำผิดวินัยร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาตั้งกรรมการสอบสวน พบมีมูล กรรมการสรุปว่าผิดวินัยร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาต้องสรุปและออกคำสั่งลงโทษตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเรื่องแนวทางการดำเนินการทางวินัยพนักงานราชการ พ.ศ. 2559 ใช่หรือไม่ หากไม่สั่งลงโทษ ผิดหรือไม่ ไม่จัดการให้จบด้วยตนเอง ส่งต่อไป ผิดหรือไม่ ในประกาศนี้ ห้วหน้าส่วนราชการหมายถึงเลขา กศน.หรือ ผอ.จังหวัด หรือมีการมอบอำนาจจากเลขา หรือไม่ หรือมอบเฉพาะวินัยไม่ร้ายแรง
ผมตอบว่า
- หัวหน้าส่วนราชการ กศน. ปัจจุบันหมายถึง ปลัดกระทรวง ศธ. ซึ่งมอบอำนาจให้ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ทั้งการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และร้ายแรง แก่พนักงานราชการ ตามคำสั่ง สป.ที่ 270/51 ข้อ 2, 3
- ถ้าผู้มีอำนาจไม่ดำเนินการในเวลาที่สมควร ก็ถือว่าผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่การที่ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ส่งเรื่องต่อให้ส่วนกลาง โดยมีเหตุผลที่สมควร ในเวลาที่สมควร ก็ไม่ใช่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ( อาจมีเหตุผลบางประการที่ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ยังไม่สั่งลงโทษ มั้ง ผมไม่ทราบว่า ที่ว่า “ส่งต่อไป” นั้นคือส่งอะไร ตามหลักเกณฑ์ สนง.กศน.จังหวัดก็ต้อง “รายงานผลการลงโทษ” ให้ส่วนกลางทราบ )
- หัวหน้าส่วนราชการ กศน. ปัจจุบันหมายถึง ปลัดกระทรวง ศธ. ซึ่งมอบอำนาจให้ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ทั้งการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และร้ายแรง แก่พนักงานราชการ ตามคำสั่ง สป.ที่ 270/51 ข้อ 2, 3
- ถ้าผู้มีอำนาจไม่ดำเนินการในเวลาที่สมควร ก็ถือว่าผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่การที่ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ส่งเรื่องต่อให้ส่วนกลาง โดยมีเหตุผลที่สมควร ในเวลาที่สมควร ก็ไม่ใช่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ( อาจมีเหตุผลบางประการที่ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ยังไม่สั่งลงโทษ มั้ง ผมไม่ทราบว่า ที่ว่า “ส่งต่อไป” นั้นคือส่งอะไร ตามหลักเกณฑ์ สนง.กศน.จังหวัดก็ต้อง “รายงานผลการลงโทษ” ให้ส่วนกลางทราบ )
เมื่อระยะเวลาผ่านไปตามสมควร
ประมาณ 1 เดือน ถ้าผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมยังไม่ได้รับความเป็นธรรมและยังไม่ทราบความเคลื่อนไหวของการดำเนินการ ก็สามารถแจ้งต่อไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป
3. ค่ำวันที่ 21 ก.ค.59 มี ขรก.ครู กศน.ใน จ.อยุธยา ถามผมด้วยวาจา ว่า บรรจุเป็นครูผู้ช่วยครบ 2 ปีเมื่อ 1 ก.ค.59 แต่ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู คศ.1 จะยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค.59 ได้ไหม จะดูอัตราว่างได้ที่ไหน
3. ค่ำวันที่ 21 ก.ค.59 มี ขรก.ครู กศน.ใน จ.อยุธยา ถามผมด้วยวาจา ว่า บรรจุเป็นครูผู้ช่วยครบ 2 ปีเมื่อ 1 ก.ค.59 แต่ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู คศ.1 จะยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค.59 ได้ไหม จะดูอัตราว่างได้ที่ไหน
เรื่องนี้ ผมเรียนถามท่าน ผอ.กจ.กศน. ท่านบอกว่า
1) ถ้าบรรจุเป็นครูผู่ช่วยครบ 2 ปีแล้ว ให้อำเภอ/จังหวัดรีบประเมินฯและรายงานเข้าไปส่วนกลาง แต่ถึงแม้จะยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู คศ.1 ก็ยื่นคำร้องขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค. ได้ เพราะกว่าคำสั่งย้ายจะออกก็อีก 2-3 เดือน ( จะพิจารณาย้ายหลังได้รับผลการประเมินฯ คำสั่งย้ายจะไม่ออกก่อนคำสั่งให้เป็นครู คศ.1 ) โดยให้ใส่ตำแหน่งในคำร้องขอย้ายว่า ครูผู่ช่วย และหมายเหตุว่า อยู่ระหว่างรอคำสั่งให้พ้นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข็ม
2) ส่วนกลางจะแจ้งบัญชีอัตราว่างเร็ว ๆ นี้
4. ในวันเดียวกัน ( 21 ก.ค.) มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตรพัฒนาอาชีพ (ต่อยอดอาชีพเดิม) ในกรณีที่กลุ่มในศูนย์ฝึกทำเห็ดนางฟ้า มีความรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า แต่ต้องการที่จะพัฒนาอาชีพคือทำเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำคล้ายกับ เห็ดนางฟ้า ถือว่าเป็นการต่อยอดมั้ย หรือการต่อยอดคือการแปรรูปเห็ดเท่านั้น คำจำกัดความมันค่อนข้างที่จะสับสนตรงที่การต่อยอดคือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่อาจจะมาจากผลิตภัณฑ์เดิม ถ้าจะแปลความหมายว่าผลิตภัณฑ์เดิมคือเห็ดแต่ทำให้เป็นเห็ดอีกชนิด แบบนี้จะได้มั้ย
1) ถ้าบรรจุเป็นครูผู่ช่วยครบ 2 ปีแล้ว ให้อำเภอ/จังหวัดรีบประเมินฯและรายงานเข้าไปส่วนกลาง แต่ถึงแม้จะยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครู คศ.1 ก็ยื่นคำร้องขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค. ได้ เพราะกว่าคำสั่งย้ายจะออกก็อีก 2-3 เดือน ( จะพิจารณาย้ายหลังได้รับผลการประเมินฯ คำสั่งย้ายจะไม่ออกก่อนคำสั่งให้เป็นครู คศ.1 ) โดยให้ใส่ตำแหน่งในคำร้องขอย้ายว่า ครูผู่ช่วย และหมายเหตุว่า อยู่ระหว่างรอคำสั่งให้พ้นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข็ม
2) ส่วนกลางจะแจ้งบัญชีอัตราว่างเร็ว ๆ นี้
4. ในวันเดียวกัน ( 21 ก.ค.) มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตรพัฒนาอาชีพ (ต่อยอดอาชีพเดิม) ในกรณีที่กลุ่มในศูนย์ฝึกทำเห็ดนางฟ้า มีความรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า แต่ต้องการที่จะพัฒนาอาชีพคือทำเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำคล้ายกับ เห็ดนางฟ้า ถือว่าเป็นการต่อยอดมั้ย หรือการต่อยอดคือการแปรรูปเห็ดเท่านั้น คำจำกัดความมันค่อนข้างที่จะสับสนตรงที่การต่อยอดคือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่อาจจะมาจากผลิตภัณฑ์เดิม ถ้าจะแปลความหมายว่าผลิตภัณฑ์เดิมคือเห็ดแต่ทำให้เป็นเห็ดอีกชนิด แบบนี้จะได้มั้ย
ผมตอบว่า การพัฒนาอาชีพ/ต่อยอดอาชีพเดิม
หมายถึง การขยายกิจการ/การแปรรูปเพิ่มมูลค่า/การใช้ผลผลิตเดิมเป็นส่วนประกอบของผลผลิตใหม่/การผลิตวัตถุดิบเอง
ในที่นี้จะหมายถึงการแปรรูปเห็ด
แต่ถ้าบอกว่าอาชีพเดิมคือการเพาะเห็ดจำหน่าย ก็อนุโลมได้ว่าการเพิ่มชนิดของเห็ด เป็นการขยายกิจการ ถือเป็นการต่อยอดอาชีพเดิมได้ แล้วแต่ผู้บริหารจะพิจารณาอนุญาต
5. คืนวันเสาร์ที่ 23 ก.ค.59 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
1) ข้าราชการตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ และนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ของสำนักงาน กศน. ที่เพิ่งบรรจุเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 มีสิทธิ์โอนย้ายไปส่วนราชการอื่นที่ไม่ใช่สังกัดสำนักงาน กศน. ได้หรือไม่ และต้องมีอายุราชการเท่าใดถึงจะเขียนคำขอโอนย้ายได้
2) การเขียนคำขอย้ายหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงาน กศน.นั้น ข้าราชการบรรจุใหม่ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ และนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ต้องมีอายุราชการเท่าไรถึงจะเขียนคำร้องขอย้ายได้ และถ้าบรรจุเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 มีสิทธิ์เขียนย้ายในเดือนสิงหาคม 59 ได้หรือไม่
ในที่นี้จะหมายถึงการแปรรูปเห็ด
แต่ถ้าบอกว่าอาชีพเดิมคือการเพาะเห็ดจำหน่าย ก็อนุโลมได้ว่าการเพิ่มชนิดของเห็ด เป็นการขยายกิจการ ถือเป็นการต่อยอดอาชีพเดิมได้ แล้วแต่ผู้บริหารจะพิจารณาอนุญาต
5. คืนวันเสาร์ที่ 23 ก.ค.59 มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
1) ข้าราชการตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ และนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ของสำนักงาน กศน. ที่เพิ่งบรรจุเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 มีสิทธิ์โอนย้ายไปส่วนราชการอื่นที่ไม่ใช่สังกัดสำนักงาน กศน. ได้หรือไม่ และต้องมีอายุราชการเท่าใดถึงจะเขียนคำขอโอนย้ายได้
2) การเขียนคำขอย้ายหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงาน กศน.นั้น ข้าราชการบรรจุใหม่ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ และนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ต้องมีอายุราชการเท่าไรถึงจะเขียนคำร้องขอย้ายได้ และถ้าบรรจุเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 มีสิทธิ์เขียนย้ายในเดือนสิงหาคม 59 ได้หรือไม่
ผมตอบว่า
ถ้าหมายถึง
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38
ค.(2) จะใช้ระเบียบหลักเกณฑ์เดียวกับ
ขรก.ครู คือ
- จะยื่นขอโอน/ย้ายได้ต้องพ้นทดลองปฏิบัติราชการ/เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
และดำรงตำแหน่งในหน่วยงาน/สถานศึกษาปัจจุบันไม่น้อยกว่า 12 เดือน ( นับถึงวันสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่ให้ยื่นคำร้อง )
- การขอย้ายไปภายใน กศน. กรณีปกติ ให้ยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ก.พ. และ 1-15 ส.ค.ของทุกปี ( ถ้ายื่นในช่วง 1-15 ก.พ.ให้นับถึงวันที่ 31 มี.ค.ให้ครบ 12 เดือน, ถ้ายื่นในช่วง 1-15 ส.ค.ให้นับถึงวันที่ 30 ก.ย.ให้ครบ 12 เดือน )
บุคลากรทางการศึกษาอื่น ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ต้องขอย้ายไปยังตำแหน่งว่างที่เป็นระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการเท่านั้น
การขอโอนย้ายไปส่วนราชการอื่นยื่นขอโอนย้ายได้ตลอดปี การขอย้ายไปส่วนราชการอื่นต้องยึดระเบียบหลักเกณฑ์ของส่วนราชการที่จะย้ายไปด้วย
- จะยื่นขอโอน/ย้ายได้ต้องพ้นทดลองปฏิบัติราชการ/เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
และดำรงตำแหน่งในหน่วยงาน/สถานศึกษาปัจจุบันไม่น้อยกว่า 12 เดือน ( นับถึงวันสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่ให้ยื่นคำร้อง )
- การขอย้ายไปภายใน กศน. กรณีปกติ ให้ยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ก.พ. และ 1-15 ส.ค.ของทุกปี ( ถ้ายื่นในช่วง 1-15 ก.พ.ให้นับถึงวันที่ 31 มี.ค.ให้ครบ 12 เดือน, ถ้ายื่นในช่วง 1-15 ส.ค.ให้นับถึงวันที่ 30 ก.ย.ให้ครบ 12 เดือน )
บุคลากรทางการศึกษาอื่น ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ต้องขอย้ายไปยังตำแหน่งว่างที่เป็นระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการเท่านั้น
การขอโอนย้ายไปส่วนราชการอื่นยื่นขอโอนย้ายได้ตลอดปี การขอย้ายไปส่วนราชการอื่นต้องยึดระเบียบหลักเกณฑ์ของส่วนราชการที่จะย้ายไปด้วย
ดูหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ได้ที่ https://db.tt/LbkfNeHq
6. ดึกวันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 23 ก.ค.) มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า ครู กศน.ตำบลสามารถทำหนังสือ บันทึกข้อความ ออกเลขส่งของ กศน.ตำบล ถึงต่างหน่วยงานได้ไหม เช่นถึง อบต. หรือทำหนังสือส่ง ใช้ตราครุฑ แต่ใช้เลขส่งออกโดย กศน.ตำบล สามารถทำได้ไหม
6. ดึกวันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 23 ก.ค.) มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า ครู กศน.ตำบลสามารถทำหนังสือ บันทึกข้อความ ออกเลขส่งของ กศน.ตำบล ถึงต่างหน่วยงานได้ไหม เช่นถึง อบต. หรือทำหนังสือส่ง ใช้ตราครุฑ แต่ใช้เลขส่งออกโดย กศน.ตำบล สามารถทำได้ไหม
ผมตอบว่า ไม่ได้
เรากำหนดเลขส่งเองไม่ได้ ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดเลขส่งให้หน่วยงานที่มีสิทธิ์ออกหนังสือราชการ
กศน.ตำบล หรือ ห้องสมุด หรือกลุ่ม/ฝ่ายต่าง ๆ ของ กศน.อำเภอ เป็นเพียงส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ กศน.อำเภอ ไม่มีผู้บริหารที่จะลงนามในหนังสือราชการได้ ไม่ใช่หน่วยงานหน่วยหนึ่ง
7. วันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค.59 เกรียงไกร คนดี ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การเทียบโอนผลการเรียน กศน.หลักสูตร 51 ให้กับ นศ. กรณีย้ายสถานศึกษา วิชาเลือกเสรีเราโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาเดิมได้มั้ย
เรากำหนดเลขส่งเองไม่ได้ ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดเลขส่งให้หน่วยงานที่มีสิทธิ์ออกหนังสือราชการ
กศน.ตำบล หรือ ห้องสมุด หรือกลุ่ม/ฝ่ายต่าง ๆ ของ กศน.อำเภอ เป็นเพียงส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ กศน.อำเภอ ไม่มีผู้บริหารที่จะลงนามในหนังสือราชการได้ ไม่ใช่หน่วยงานหน่วยหนึ่ง
7. วันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค.59 เกรียงไกร คนดี ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การเทียบโอนผลการเรียน กศน.หลักสูตร 51 ให้กับ นศ. กรณีย้ายสถานศึกษา วิชาเลือกเสรีเราโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาเดิมได้มั้ย
ผมตอบว่า การย้ายสถานศึกษา
หลักสูตรเดียวกัน ( เช่นหลักสูตร กศน. 51 เหมือนกัน )
จะ "โอน"
ได้ทุกวิชาที่มีในหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาที่ย้ายไป
ถ้าวิชาเลือกใดไม่มีในสถานศึกษาที่ย้ายไป ก็โอนไม่ได้ แต่ถ้าวิชาที่ไม่มีนั้น เนื้อหาไปสอดคล้องกับวิชาเลือกอื่นของสถานศึกษาที่ย้ายไปถึง 60 % วิชานั้นก็ใช้วิธี "เทียบโอน" ได้
ถ้าไม่มี และไม่สอดคล้องกับวิชาเลือกอื่น แต่อยากโอนให้เขา ก็ต้องเพิ่มวิชาเลือกนั้นในหลักสูตรสถานศึกษาก่อน ซึ่งการเพิ่มวิชาในหลักสูตรสถานศึกษาต้องผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา และควรเพิ่มเฉพาะวิชาที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
อ่านคำตอบเดิม ในข้อ 13 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/509493
ถ้าวิชาเลือกใดไม่มีในสถานศึกษาที่ย้ายไป ก็โอนไม่ได้ แต่ถ้าวิชาที่ไม่มีนั้น เนื้อหาไปสอดคล้องกับวิชาเลือกอื่นของสถานศึกษาที่ย้ายไปถึง 60 % วิชานั้นก็ใช้วิธี "เทียบโอน" ได้
ถ้าไม่มี และไม่สอดคล้องกับวิชาเลือกอื่น แต่อยากโอนให้เขา ก็ต้องเพิ่มวิชาเลือกนั้นในหลักสูตรสถานศึกษาก่อน ซึ่งการเพิ่มวิชาในหลักสูตรสถานศึกษาต้องผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา และควรเพิ่มเฉพาะวิชาที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
อ่านคำตอบเดิม ในข้อ 13 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/509493
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย