สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. เช้าวันที่ 1 ธ.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ครู กศน.ตำบล มีหน้าที่เกี่ยวกับผู่ไม่รู้หนังสือมั้ย เห็นเขาว่าไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความจริงแล้ว ครูอาสาจะสอนได้ต้องมาจากการสำรวจข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือจากตำบลใช่มั้ย ครูอาสายังลงพื้นที่ได้เหมือนเดิมมั้ย
1. เช้าวันที่ 1 ธ.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ครู กศน.ตำบล มีหน้าที่เกี่ยวกับผู่ไม่รู้หนังสือมั้ย เห็นเขาว่าไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความจริงแล้ว ครูอาสาจะสอนได้ต้องมาจากการสำรวจข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือจากตำบลใช่มั้ย ครูอาสายังลงพื้นที่ได้เหมือนเดิมมั้ย
ผมตอบว่า ตามบทบาทหน้าที่ครูอาสาฯที่กำหนดไว้กับ
ก.พ.ร.นั้น ครูอาสาฯต้องสอนผู้ไม่รู้หนังสือ 35 คน ( ปีละ 2 รอบการประเมิน รวมปีละ 70 คน )
แต่ก็ไม่ได้แปลว่าครูอาสาฯจะผูกขาดห้ามคนอื่นเกี่ยวข้องกับผู้ไม่รู้หนังสือ (
ท่านเลขาฯคนเก่า ให้ครู กศน.ทุกคนแบ่งกันสอนผู้ไม่รู้หนังสือ ) ฉะนั้น
จึงอยู่ที่บริบทและการบริหารจัดการของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
ตามบทบาทหน้าที่ครูอาสาฯ
"ต้อง" ลงพื้นที่นะ
เฉพาะการสอนผู้ไม่รู้หนังสืออย่างเดียวก็ต้องลงพื้นที่แล้ว
ถ้าไม่มีผู้ไม่รู้หนังสือครูอาสาฯก็ต้องสอน กศ.ขั้นพื้นฐานภาคเรียนละ 60 คน ครูอาสาฯบางคนก็เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล ถ้าครูอาสาฯดูแล 4 ตำบล จะให้ครูอาสาฯสำรวจผู้ไม่รู้หนังสือเองทั้งใน 4 ตำบล หรือจะให้ครู กศน.ตำบลสำรวจ หรือช่วยกันสำรวจ
ก็อยู่ที่การบริหารจัดการของแต่ละอำเภอ ( แต่ “กศน.ตำบล”
ต้องมีข้อมูลจุลภาค ซึ่งรวมข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือในตำบลนั้น )
การลงโปรแกรม ใครเป็นผู้สอนหรือดูแลรับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือก็ให้ครูคนนั้นเป็นผู้ลงเป็นผลงาน ส่วนครูที่สำรวจผู้ไม่รู้หนังสือแต่ไม่ได้สอนหรือรับผิดชอบก็ไม่ต้องลงในความรับผิดชอบของตน กรณีครูอาสาฯดูแลมากกว่า 1 ตำบล ให้นำงานของครูอาสาฯมาลงโปรแกรมเป็นบุคลากรของในระดับอำเภอ เช่นเดียวกับ ขรก.ครู โดยไม่ต้องไปลงในระดับตำบลเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
2. วันเสาร์ที่ 3 ธ.ค.59 ผมตอบคำถาม ฟ้าส่งมา ฟ้าส่งมา ที่ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คว่า
1) กรณีครู กศน.ตำบล ลาคลอดลูก 90 วัน ใครมีอำนาจอนุญาต
2) ระเบียบการมาสายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และ พรก. มีมั้ย สายกี่ครั้ง/ลงโทษอย่างไร
3) ระเบียบการลาต่างๆ ของลูกจ้างประจำใช้แบบเดียวกันกับข้าราชการทั้งหมดเลยมั้ย
การลงโปรแกรม ใครเป็นผู้สอนหรือดูแลรับผิดชอบผู้ไม่รู้หนังสือก็ให้ครูคนนั้นเป็นผู้ลงเป็นผลงาน ส่วนครูที่สำรวจผู้ไม่รู้หนังสือแต่ไม่ได้สอนหรือรับผิดชอบก็ไม่ต้องลงในความรับผิดชอบของตน กรณีครูอาสาฯดูแลมากกว่า 1 ตำบล ให้นำงานของครูอาสาฯมาลงโปรแกรมเป็นบุคลากรของในระดับอำเภอ เช่นเดียวกับ ขรก.ครู โดยไม่ต้องไปลงในระดับตำบลเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
2. วันเสาร์ที่ 3 ธ.ค.59 ผมตอบคำถาม ฟ้าส่งมา ฟ้าส่งมา ที่ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คว่า
1) กรณีครู กศน.ตำบล ลาคลอดลูก 90 วัน ใครมีอำนาจอนุญาต
2) ระเบียบการมาสายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และ พรก. มีมั้ย สายกี่ครั้ง/ลงโทษอย่างไร
3) ระเบียบการลาต่างๆ ของลูกจ้างประจำใช้แบบเดียวกันกับข้าราชการทั้งหมดเลยมั้ย
ผมตอบว่า กรณีพนักงานราชการลาคลอดใครอนุญาต - กรณีระเบียบการลาของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/พนักงานราชการ/ลูกจ้างชั่วคราว
ใช้คนละฉบับ - และกรณีมาสายเกิน 18 ครั้ง ไม่มีสิทธิเลื่อนขั้น/เลื่อนค่าตอบแทน
เหล่านี้ ผมเคยโพสต์ 3 ครั้งแล้ว ครั้งนี้จะขอไม่ตอบซ้ำ ๆ
ซาก ๆ อีก
ส่วนประเด็นมาสายกี่ครั้งลงโทษอย่างไร
นอกเหนือจากไม่ได้เลื่อนขั้น/เลื่อนค่าตอบแทนถ้ามาสายเกิน 18 ครั้ง นั้น ถ้าหมายถึงการลงโทษทางวินัย การมาสายเฉย ๆ
ยังไม่ถึงกับผิดวินัย ต้องประกอบกับอื่น ๆ ด้วย เช่น มาสายเป็นประจำโดยเคยตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้แล้ว
แต่ก็ไม่ปฏิบัติตนให้ดีขึ้น หรือมาสายแล้วเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเช่นทำงานไม่ทัน
ก็จะผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะและเอาใจใส่
สำหรับการลงโทษ ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของพฤติกรรมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
3. คืนวันที่ 6 ธ.ค.59 Suphawan PHolyiam ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ในการประเมินพนักงานราชการ คะแนนที่เราได้เป็นความลับไหม เราสามารถขอดูคะแนนที่เราได้ ได้ไหม
3. คืนวันที่ 6 ธ.ค.59 Suphawan PHolyiam ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ในการประเมินพนักงานราชการ คะแนนที่เราได้เป็นความลับไหม เราสามารถขอดูคะแนนที่เราได้ ได้ไหม
ผมตอบว่า ไม่เป็นความลับ แต่ต้องเปิดเผย
โดย
1) ในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการทั่วไป พนักงานราชการต้องลงลายมือชื่อรับทราบผลการประเมิน ซึ่งระบุคะแนนและระดับผลการประเมิน
ทั้งนี้ ค.พ.ร. กำหนดหลักการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการว่า "มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม" จะให้ลงชื่อรับทราบโดยปิดบังไม่ให้เห็นระดับผลการประเมินไม่ได้
2) บัญชีรายละเอียดแนบท้ายคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทน ก็ระบุคะแนนของแต่ละราย ซึ่งต้องให้พนักงานราชการรับทราบคำสั่ง
( ประเด็นนี้ เคยตอบแล้ว เช่นในข้อ 7 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/02/15y.html )
4. วันที่ 7 ธ.ค.59 แดง พัฒนสิน กศน.พิชัย ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจและแบบชั้นเรียนวิชาชีพ สอนเกินวันละ 3 ชั่วโมงได้หรือเปล่า อ่านไม่พบข้อห้าม เกรงจะเบิกค่าวิทยากรผิดพลาด
1) ในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการทั่วไป พนักงานราชการต้องลงลายมือชื่อรับทราบผลการประเมิน ซึ่งระบุคะแนนและระดับผลการประเมิน
ทั้งนี้ ค.พ.ร. กำหนดหลักการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการว่า "มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม" จะให้ลงชื่อรับทราบโดยปิดบังไม่ให้เห็นระดับผลการประเมินไม่ได้
2) บัญชีรายละเอียดแนบท้ายคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทน ก็ระบุคะแนนของแต่ละราย ซึ่งต้องให้พนักงานราชการรับทราบคำสั่ง
( ประเด็นนี้ เคยตอบแล้ว เช่นในข้อ 7 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/02/15y.html )
4. วันที่ 7 ธ.ค.59 แดง พัฒนสิน กศน.พิชัย ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจและแบบชั้นเรียนวิชาชีพ สอนเกินวันละ 3 ชั่วโมงได้หรือเปล่า อ่านไม่พบข้อห้าม เกรงจะเบิกค่าวิทยากรผิดพลาด
ผมตอบว่า กลุ่มสนใจวันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง เป็นข้อสั่งการ-นโยบาย ดูในข้อสั่งการฯโดยเลขาฯ ข้อ 13.1 (1) ที่
- https://www.dropbox.com/s/96bdpkol63o6vvl/briefPolicy60.pdf?dl=1
- https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10205884682956615
5. เย็นวันที่ 8 ธ.ค.59 ผอ.กศน.อ. ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ค ว่า หากเช่าซื้อในอำเภอ ก แต่จะขอย้ายไปอำเภอ ข ในต่างจังหวัด แล้วที่เบิกเช่าซื้อไว้จะเบิกในอำเภอ ก ได้ไหม
- https://www.dropbox.com/s/96bdpkol63o6vvl/briefPolicy60.pdf?dl=1
- https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10205884682956615
5. เย็นวันที่ 8 ธ.ค.59 ผอ.กศน.อ. ถามต่อท้ายโพสต์ผมในเฟซบุ๊ค ว่า หากเช่าซื้อในอำเภอ ก แต่จะขอย้ายไปอำเภอ ข ในต่างจังหวัด แล้วที่เบิกเช่าซื้อไว้จะเบิกในอำเภอ ก ได้ไหม
ผมตอบว่า ไม่ได้
ถ้าย้ายไปท้องที่ใหม่ที่ไม่ใช่ท้องที่เดิมที่เคยเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน
จะเบิกค่าเช่าซื้อบ้านต่อได้เฉพาะกรณีท้องที่ใหม่ก็มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
แต่การย้ายตามคำร้องขอของตนเองนี้ท้องที่ใหม่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
จึงไม่สามารถเบิกค่าเช่าซื้อบ้านต่อได้
6. วันที่ 9 ธ.ค.59 ผมได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากผู้ใหญ่ในส่วนกลาง ให้โพสต์ทำความเข้าใจเรื่องการย้าย ดังนี้
6. วันที่ 9 ธ.ค.59 ผมได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากผู้ใหญ่ในส่วนกลาง ให้โพสต์ทำความเข้าใจเรื่องการย้าย ดังนี้
1) การขอย้ายตามความประสงค์/ความจำนง ของ ขรก.ครู และผู้บริหารสถานศึกษา
จะเบิกค่าเช่าบ้านไม่ได้ เป็นไปตาม ว 8
หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( ดูหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 ก.ค.49 นี้ได้ที่ https://db.tt/8IFK2giK
)
2) ส่วนการย้าย ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ไม่ใช่สถานศึกษา ไม่ได้ใช้ ว 8 และมีจำนวนน้อย ส่วนกลางจะพิจารณาให้ย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องแสดงความประสงค์/ความจำนงขอย้าย
3) การพิจารณาย้าย ผอ. ต้องดูขนาดสถานศึกษาด้วย
4) ถ้าจะยื่นขอให้ส่วนกลางพิจารณาย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ต้องมีรายละเอียดประกอบให้เข้าเกณฑ์การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
7. วันที่ 15 ธ.ค.59 ถามในเฟซบุ๊กกลุ่มครูนอกระบบ ว่า การขอให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องทำยังไงบ้าง และใช้หลักฐานการยื่นอะไรบ้าง
2) ส่วนการย้าย ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ไม่ใช่สถานศึกษา ไม่ได้ใช้ ว 8 และมีจำนวนน้อย ส่วนกลางจะพิจารณาให้ย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องแสดงความประสงค์/ความจำนงขอย้าย
3) การพิจารณาย้าย ผอ. ต้องดูขนาดสถานศึกษาด้วย
4) ถ้าจะยื่นขอให้ส่วนกลางพิจารณาย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ต้องมีรายละเอียดประกอบให้เข้าเกณฑ์การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
7. วันที่ 15 ธ.ค.59 ถามในเฟซบุ๊กกลุ่มครูนอกระบบ ว่า การขอให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องทำยังไงบ้าง และใช้หลักฐานการยื่นอะไรบ้าง
มีผู้ช่วยกันตอบ โดยผมร่วมตอบ ว่า
หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
นี้ สถานศึกษาเป็นผู้ขอ ( ผอ.ลงนามในหนังสือราชการถึงคุรุสภา )
ขอในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ้างคนที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
มาเป็นครูสอน กศ.ขั้นพื้นฐาน
หนังสืออนุญาตนี้ใช้สมัครเรียน ป.บัณฑิตได้ แต่ใช้สมัครสอบครูผู้ช่วยไม่ได้ ถ้าหนังสืออนุญาตนี้หมดอายุหรือย้ายสถานศึกษา
ก็ต้องขออีกเป็นครั้งที่สอง - สาม ( ขอได้สามครั้งรวมไม่เกิน 6 ปีเท่านั้น ต้องรีบเรียน ป.บัณฑิต หรืออบรม
ให้ผ่านก่อนหนังสือจะหมดอายุครั้งที่สาม )- ดูแนวปฏิบัติการขอหนังสืออนุญาต ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/teacherOKcri.pdf
- ดาวน์โหลดแบบขออนุญาตฯ (คส.09.10) และตัวอย่างหนังสือนำส่งจากสถานศึกษา ที่ http://www.pattani2.go.th/activity/detail_download.php?aid=31
- ดูตัวอย่างตารางสอน ตอนท้ายข้อ 8 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/507502
( สถานศึกษาต้องส่งเรื่องถึงคุรุสภาก่อนสิ้นสุดสัญญาจ้างไม่น้อยกว่า 4 เดือน ครูจ้างเหมาบริการก็ต้องขอ )
เรียนถามค่ะ เด็กเรียนกศน ม.ต้น จบตามเกณฑ์ ในสองปี ขณะเรียนจบ เด็กมีอายุ 13ปี6เดือน สามารถได้วุฒิ ม.ต้น มั๊ยค่ะ
ตอบลบต้องรอให้อายุครบ 15 ปีครับ
ลบ( ปกติต้องจัดแผนฯให้เรียนไม่จบเร็ว เพราะถ้าเรียนครบแล้วไม่ให้จบเขาจะไม่เข้าใจ จะมีปัญหา )