วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

1.จะเปลี่ยนการจ้างครูผู้สอนคนพิการ เป็นครู ศรช.จริงหรือ, 2.คุณสมบัติในการสมัคร "ข้าราชการครู" กับ "พนักงานราชการครู", 3.กศน.อำเภอ เก็บเงินบำรุงสถานศึกษา-ทำไมไม่จัดสรรให้สอนเสริม, 4.ผู้รักษาการฯ ลงนามในใบ รบ.ได้ไหม, 5.จะไปอบรมที่หน่วยงานอื่นจัด ต้องขออนุมัติสำนักงาน กศน.ก่อน, 6.ครูประจำกลุ่มเบิกค่าตอบแทน 2 กลุ่ม ได้หรือไม่, 7.วิชาชีพระยะสั้น สอนได้วันละกี่ชั่วโมง



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 15 ธ.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  ปัญหาคาใจ ได้รับทราบมาว่า ในภาคเรียนหน้าคือ 1/60 ครูผู้สอนคนพิการ จะได้ย้ายไปเป็นตำแหน่งครู ศรช. ทั้งหมด นั้น เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ และยังให้จัดการศึกษาทั้งกลุ่มเป้าหมายเดิม ร่วมกับนักศึกษาใหม่ที่ต้องหาเพิ่มอีก 40 คน เดิมมีนักศึกษาพิการ 20 คน ต่อครูผู้สอน 1 คน คำถามคือ ทาง กศน. มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และ ค่ายานพาหนะ 1000 บาท/เดือนยังคงจะได้อยู่หรือไม่ ผลกระทบมีมากอยู่นะ ผู้น้อยขวัญเสียกันใหญ่เลย

             เรื่องนี้  กลุ่มแผนงาน กศน.บอกว่า แล้วแต่ แต่ละจังหวัดจะบริหารจัดการ จะจ้างครูผู้สอนคนพิการตามเดิมก็ได้ หรือจะเปลี่ยนเป็นครู ศรช.ก็ได้  ถ้าเปลี่ยนเป็นครู ศรช. ก็ต้องมีจำนวน นศ.รวมตามเกณฑ์ครู ศรช. และไม่มีค่าพาหนะ
              ( เงินอุดหนุนรายหัว ทั้ง นศ.ปกติ และ นศ.พิการที่เรียน กศ.ขั้นพื้นฐาน ได้เท่ากัน แต่ต้องแบ่งไปเป็นค่าใช้จ่ายของครูผู้สอนคนพิการมากกว่า อาจทำให้อำเภอ/จังหวัดที่มีครูผู้สอนคนพิการมาก ขาดแคลนงบเงินอุดหนุน และเปลี่ยนการจ้างครูผู้สอนคนพิการให้เป็น ครู ศรช.)

         2. คุณสมบัติในการสมัคร "ข้าราชการครู" กับ "พนักงานราชการครู"
             คำว่า ปริญญาทางการศึกษา” ( ที่ภาษาพูดว่า วุฒิครู” ) นั้น ไม่ได้มีแค่ 3 วุฒิ แต่มีมาก คือ
             1)  การศึกษา
             2)  ครุศาสตร์
             3)  ศึกษาศาสตร์
             4)  ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
             5)  ศิลปศาสตร์ ( ศึกษาศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์การสอน )
             6)  วิทยาศาสตร์ ( ศึกษาศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์การสอน หรือ การสอน )
             7)  คหกรรมศาสตร์ วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ศึกษา
             8)  เกษตรศาสตร์ วิชาเอกเกษตรศึกษา
             9)  บริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจศึกษา
             ถ้าเป็นการสมัคร ข้าราชการครูไม่ว่าจะเป็น สพฐ. หรือ กศน. จะได้หมดทั้ง 1-9 นี้
แต่ถ้าเป็น พนักงานราชการครู กศน.จะระบุเฉพาะข้อ 1-3 ส่วนข้อ 4-9 ไม่ระบุ

             การสมัครสอบเป็น ข้าราชการครูทั้ง สพฐ. และ กศน. ถ้าไม่พูดถึงคุณสมบัติทั่วไปและวิชาเอก ก็จะเหลือคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ข้อ ( ต้องมีทั้ง 2 ข้อ ) คือ
             1)  มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ กคศ.กำหนด และ
             2)  มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
             ส่วนคุณสมบัติด้านนี้ในการสมัครสอบ พนักงานราชการครู กศน.จะไม่กำหนดคุณสมบัติข้อ 2 มีเพียงข้อ 1 คือ
             1)  มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา เฉพาะ 3 วุฒิ คือ ศึกษาศาสตร์ การศึกษา ครุศาสตร์ ถ้าเป็นคนในสังกัด กศน.เพิ่มอีก 1 วุฒิ คือ ป.บัณฑิต
              ( ป.บัณฑิตวิชาชีพครู เป็น "วุฒิ" ทางการศึกษา ที่สูงกว่า ป.ตรี แต่ต่ำกว่า ป.โท
                ส่วน "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ไม่ใช่ วุฒิ จึงไม่ได้ระบุไว้ )

         3. วันอาทิตย์ที่ 18 ธ.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า
             ทำไม กศน.อำเภอไม่จัดสรรงบประมาณให้เด็กในกลุ่มครู ศรช.เรียนเสริม
             อีกหนึ่งประเด็น คือทาง กศน.อำเภอ เรียกเก็บเงินค่าเทอมจากนักศึกษา หัวละ 120 บาท ผิดระเบียบมั้ย มีการออกใบเสร็จให้ แต่ได้นำเรื่องเก็บเงินไปขอมติที่ประชุมกรรมการสถานศึกษา และมติเห็นชอบให้เก็บได้ แต่ยังเป็นที่แคลงใจของคณะครูว่า ผอ.เก็บเงินส่วนนี้ผิดระเบียบ และเอาเงินไปทำอะไร

             ผมตอบว่า
             เรื่องงบสอนเสริม กศน.อำเภอสามารถบริหารจัดการตามความเหมาะสมของบริบทแต่ละอำเภอ
              ( งบสอนเสริมก็รวมอยู่ในงบเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้ทุกอำเภอนั่นแหละ แล้วแต่อำเภอจะบริหารจัดการงบเงินอุดหนุน  อาจใช้งบพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมาทำโครงการคล้ายการสอนเสริมก็ได้ )
             ส่วนเรื่องการเก็บเงินจากนักศึกษานั้น ผิด
             การใช้ใบเสร็จรับเงินในราชการ กศน. เป็นหลักฐานการรับเงิน จะต้องนำเงินเข้าระบบบัญชีของ กศน.อำเภอ ถ้านำเงินเก็บรักษาถูกต้องตามระบบและดำเนินการเบิกจ่ายถูกต้องตามระเบียบ ก็ถือว่าไม่ได้ทุจริต แต่ก็ยังผิด เพราะสถานศึกษาและกรรมการสถานศึกษาไม่มีสิทธิ์ไม่มีอำนาจลงมติเก็บเงินในรายการที่ไม่มีระเบียบรองรับ  ถ้าเป็นการบริจาค จะกำหนดให้บริจาคทุกคนไม่ได้ การจะบริจาคหรือไม่และจำนวนเงินต้องเป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละคน

         4. วันที่ 19 ธ.ค.59 รัตติกาล บุญแข็ง ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  ในการลงนามระเบียนแสดงผลการเรียนของนักศึกษาที่จบการศึกษา กรณีที่ผู้บริหารอำเภอไปราชการ ผู้รักษาการสามารถลงนามได้ไหม หรือต้องรอให้ ผอ. เป็นผู้ลงนามเพียงคนเดียว
             ( ผมเคยโพสต์เรื่องนี้แล้ว 2 ครั้งแล้ว )

             ผมตอบว่า   มีบางคนบอกว่า ผู้รักษาการในตำแหน่ง ไม่สามารถลงนามในบางเรื่อง เช่น ลงนามในใบ รบ.  ที่จริงเป็นความเข้าใจผิด ที่ถูกคือผู้รักษาการในตำแหน่ง มีอำนาจและหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้นเพียงแต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญ และไม่เร่งด่วน คอยได้ ผู้รักษาการในตำแหน่ง ก็อาจจะรอให้ผู้ดำรงตำแหน่งตัวจริงกลับมาตรวจสอบและลงนามเองก็ได้ การรอให้ผู้ดำรงตำแหน่งตัวจริงมาลงนามในเรื่องสำคัญนี้เป็นเพียง "มารยาท" ไม่มีในระเบียบกฎหมาย

         5. วันที่ 20 ธ.ค.59 มีผู้บริหารถามผมเรื่องการอนุญาตให้บุคลากรไปเข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่น นอกสังกัด กศน. เป็นผู้จัดฝึกอบรม

             เรื่องนี้  ตามหนังสือสำนักงาน กศน.ที่ ศธ 0210.118/272 ลงวันที่ 26 ม.ค.54 กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องการให้บุคลากรในสังกัดสำนักงาน กศน.ไปเข้ารับการฝึกอบรม กรณีส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ  โดยจังหวัดต้องขออนุมัติการส่งบุคลากรไปเข้ารับการฝึกอบรมต่อสำนักงาน กศน. ก่อน จึงจะอนุมัติให้บุคลากรผู้นั้นไปเข้ารับการฝึกอบรมได้ ( ถ้าหลักสูตรนั้นสำนักงาน กศน.ยังไม่เคยเห็นชอบ ) และการพิจารณาอนุมัติต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ยึดประโยชน์ของทางราชการและงบประมาณที่ใช้ สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของบุคลากร และเมื่อฝึกอบรมเสร็จบุคลากรผู้นั้นต้องทำรายงานเสนอภายใน 60 วัน
             ( ถาม กจ.กศน.เมื่อ 21 ธ.ค.59 กจ.บอกว่าหนังสือฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้ )




 
         6. วันที่ 22 ธ.ค.59 San Sriprapun ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ครูประจำกลุ่มสามารถเบิกค่าตอบแทน 2 กลุ่ม ได้หรือไม่

             ผมตอบว่า   การจ้างครูประจำกลุ่ม ( ยกเว้นครูประจำกลุ่มที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ )  ปัจจุบันไม่ได้ให้เบิกค่าตอบแทนเป็นกลุ่มหรือเป็นรายหัว แต่ให้เปลี่ยนเป็นการจ้างเหมาบริการ โดยมี "ขอบเขตงานจ้าง" ให้รับผิดชอบผู้เรียนไม่เกิน 50 คน อัตราค่าจ้าง 19,200 บาท/ภาคเรียน  ฉะนั้น ให้รับผิดชอบผู้เรียนกลุ่มละไม่เกิน 40 คน ไม่เกิน 2 กลุ่ม รวมไม่เกิน 50 คน
             ดูที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/teacherJang.pdf


         7. คืนวันที่ 26 ธ.ค.59 BenGy-Sirirat Chaywattana  ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  จะปรับแผนดำเนินกิจกรรม มีข้อสงสัย การศึกษาต่อเนื่อง กลุ่มสนใจระยะสั้น วิชาชีพระยะสั้นไม่เกิน 30 ชั่วโมง  ใน 1 วัน วิทยากรสามารถสอนได้ไม่เกินกี่ชั่วโมง

             ผมตอบว่า   กลุ่มสนใจ วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผมโพสต์เรื่องนี้ 3 ครั้งแล้ว
            
( ผมไม่แน่ใจกับความหมายของคำว่า กลุ่มสนใจระยะสั้น และวิชาชีพระยะสั้นไม่เกิน 30 ชั่วโมง ของคุณ )
             การจัดการศึกษาต่อเนื่อง นั้น ประกอบด้วย
            
- การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
            
- การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
            
- การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
             ให้ดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่องโดยจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้นใน
2 รูปแบบ ได้แก่


             รูปแบบที่ 1  ชั้นเรียนวิชาชีพระยะสั้น  ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน. ใช้วิทยากรในการสอน สามารถเบิกจ่ายค่าตอบแทนกับค่าวัสดุเท่านั้น จัดได้ 2 แบบ คือ
                        1.1  แบบกลุ่มสนใจ  เป็นการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรละไม่เกิน 30 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง
                        
1.2  แบบชั้นเรียนวิชาชีพระยะสั้น  เป็นการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรละ 31 ชั่วโมงขึ้นไป  ส่วนกลางไม่กำหนดจำนวนชั่วโมงต่อวัน ผู้บริหารระดับจังหวัด/อำเภอสามารถกำหนดได้

             รูปแบบที่ อบรมประชาชน  เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่ใช้กระบวนการฝึกอบรมให้กับประชาชน ไม่ต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน. สามารถเบิกจ่ายค่าตอบแทน ค่าวัสดุ ค่าอาหารว่าง และอาหารกลางวันได้


2 ความคิดเห็น:

  1. ครูผู้สอนคนพิการ เป็นข้าราชการหรือไม่. และ จะมีการบรรจุเป็นข้าราชการ รึเปร่าครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครูผู้สอนคนพิการ ไม่ได้เป็นข้าราชการ จะเป็นข้าราชการก็ต้องสอบ ถ้าสอบได้ก็ได้เป็นข้าราชการ

      ลบ

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย