วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

1.ทำไมพนักงานราชการไม่รู้เรื่อง, 2.นำข้อมูลโปรแกรม ITw ลงในเครื่องอื่น ให้ครูใช้เช็คข้อมูลต่างๆ ผิดไหม, 3.ขรก.เกษียณโดยอายุราชการไม่ครบ 25 ปี เลือกรับบำนาญได้ไหม, 4.อบรมประชาชนวันละไม่เกินกี่ชั่วโมง กี่ชั่วโมงจึงเบิกค่าอาหารกลางวันได้, 5.การรับ นศ.ที่ไม่มีทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย, 6.ขออนุญาตใครแน่ ถ้าพานักศึกษาไปค้างคืน, 7.จะทำยังไง กรณีครู กศน.ตำบล ถูกเปลี่ยนพื้นที่



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. เย็นวันที่ 25 ม.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  อยากตะขอสอบถามว่า พนักงานราชการที่ขอลาออก จะมีสิทธิ์ได้บำเหน็จตามระเบียบไหม
             ผมถามกลับ ว่า  พูดถึงเรื่องประกันสังคม หรือเรื่องอะไร จะรับบำเหน็จจากไหน
             ผู้ถาม บอกว่า  จากกรม

             ผมตอบว่า  พนักงานราชการทุกกระทรวง ตอนออก ไม่มีบำเหน็จบำนาญ จากกรม เพราะ ได้รับอยู่ทุกเดือนแล้ว  ผมโพสต์ 4-5 ครั้งแล้ว เช่น ใน
             - ข้อ 7 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/508111
             - ข้อ 1 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/08/prggasean.html
             - เรื่องแรก ที่  https://www.gotoknow.org/posts/550346
             - ในความเห็นด้านท้าย ที่  https://www.gotoknow.org/posts/479534
             - ข้อ 7 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/531213
             - ข้อ 7 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/480329
             ว่า

             พนักงานราชการบรรจุใหม่ จะได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการพลเรือนบรรจุใหม่ที่วุฒิเดียวกัน อยู่ 20 % เช่นปัจจุบันพนักงานราชการบรรจุใหม่ได้ 18,000 บาท แต่ข้าราชการได้ 15,000 บาท
              ( มากกว่า 20 % มาตลอดตั้งแต่ประเทศไทยมี พรก.  ตอน ขรก.ได้ 7,940 บาท พรก.บรรจุใหม่ได้ 9,530 บาท ไม่รวมค่าครองชีพ, เมื่อปรับเงินเดือนให้ ขรก.ได้ 9,140 บาท พรก.ได้ 10,970, 1 ม.ค.55 ขรก.บรรจุใหม่ได้ 11,680 พรก.ได้ 14,020 )
             ส่วนที่พนักงานราชการได้เกินข้าราชการในแต่ละเดือน
20 % นี้ แบ่งเป็น
             - ค่าประกันสังคมส่วนที่หักจากลูกจ้าง 5 %
             - ค่าสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าการศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ 5 %
             - บำเหน็จบำนาญ 10 %

             ผู้ถาม ๆ ต่อ ว่า  ค่าการศึกษาบุตรได้ด้วยหรือ ไม่ทราบมาก่ินเลย สงสัยคงต้องอ่านระเบียบให้แม่นแล้วล่ะ ส่วนเงินบำเหน็จบำนาญ10%คิดอย่างไร และเมื่อไร ถ้าขอลาออกจะได้ในส่วนนี้หรือไม่
             ผมตอบว่า  โอย.. ก็เงินเหล่านี้คุณได้ไปแล้ว ได้ไปทุกเดือนแล้วไง เงินเดือนที่คุณได้มากกว่าข้าราชการอยู่ทุก ๆ เดือนนั่นแหละ

             ส่วนข้าราชการเขายังไม่ได้เงินเหล่านี้ เขาต้องทำเรื่องเบิกเอาเป็นครั้ง ๆ  โดยบำเหน็จบำนาญก็ต้องคอยไปได้ตอนเกษียณ
             แต่พนักงานราชการได้โดยอัตโนมัติทุกเดือน
             เช่นบรรจุใหม่ได้เดือนละ
3,000 บาท ( เงินเดือนข้าราชการ 15,000 เงินเดือนพนักงานราชการ 18,000 ซึ่งมากกว่า 3,000 ) รวมเป็นปีละ 36,000 บาท ถ้าทำงาน 30 ปีเกษียณก็เท่ากับรวมได้ประมาณ 1 ล้าน 8 หมื่นบาท เฉลี่ยเป็นบำเหน็จบำนาญประมาณ 540,000 บาท เป็นค่าสวัสดิการต่าง ๆ 270,000 บาท เป็นค่าลูกจ้างสมทบประกันสังคม 270,000 บาท )
             จึงรับเพิ่มไม่ได้อีก
             นอกจากไปรับทาง ประกันสังคม

         2. คืนวันศุกร์ที่ 26 ม.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ข้อมูล it งานพื้นฐาน สามารถนำข้อมูลจากตัวแม่มาลงในเครื่องตัวลูก เพื่อความสะดวกในการเช็คข้อมูลให้ครูๆ ได้มั้ย เพื่อความสะดวกในการทำงานสามารถเช็ครายการลงทะเบียน/นักศึกษาที่คาดว่าจะจบ/กพช. และตารางสอบได้สารพัด มีความผิดมั้ยถ้านำมาลงให้ครูในเครื่องลูกในสำนักงานหรือโน้ตบุ๊คครูๆเขา

             ผมตอบว่า   ผมโพสต์วิธีการทำ 4-5 ครั้งแล้ว ซึ่งเราต้องไม่ให้คนอื่นรู้รหัสผ่านที่สามารถแก้ข้อมูลสำคัญได้ รหัสผ่านที่จะให้คนอื่นใช้ในการเข้าโปรแกรมได้ต้องเป็นรหัสผ่านที่ดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ แต่แก้ไขข้อมูลสำคัญบางอย่างไม่ได้
             อ่านในข้อ 8 (12) ที่ 
http://nfeph.blogspot.com/2013/10/itw.html

             ผู้ถาม ถามต่อว่า  ตัวแม่ ครูๆไม่ยุ่ง เพราะจะมีการแก้ไขข้อมูล แต่จะอัพข้อมูลให้เครื่องอีกเครื่องหนึ่ง เพื่อไว้เช็คข้อมูลเฉยๆ ได้มั้ย
             ผมตอบว่า  ถึงจะเป็นเครื่องลูก ถ้าเขาเข้าโดยรหัสผ่านที่ใช้ทำอะไรได้ทุกอย่าง เขาก็อาจนำเครื่องปริ้นท์มาต่อตอนคนอื่นไม่อยู่ แล้วแก้ข้อมูลออกใบ รบ.ปลอมได้ง่าย
             ( เพื่อความไม่ประมาทเลินเล่อ ควรกำหนดว่า เครื่องลูกเข้าโปรแกรมได้ด้วยรหัสผ่านอะไร และแจ้งรหัสผ่านนั้นให้ทุกคนรู้ โดยกำหนดในโปรแกรม ว่ารหัสผ่านนั้นซึ่งไม่ใช่รหัสเดียวกับเครื่องแม่ ไม่สามารถเข้าแก้ไขข้อมูลบางเมนูได้ )
             รหัสผ่านเครื่องแม่ ต้องไม่ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ รู้

         3. วันเสาร์ที่ 27 ม.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เกิด 23 มี.ค 2507 บรรจุเป็นข้าราชการครู มีนาคม 2544 มีสิทธิ์รับบำนาญใหม

             ผมตอบว่า   ถ้าออกตอนอายุราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และอายุตัว 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปด้วย เลือกรับบำนาญได้ ( ดูข้อ 4.2 ในตารางที่  https://www.gpf.or.th/thai2013/about/pension-thai-compare.asp )

         4. วันที่ 29 ม.ค.61 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  มีคนขอดูระเบียบการศึกษาต่อเนื่อง การอบรมประชาชน ว่าอบรมได้วันละกี่ ช.ม. ดูแล้วไม่เห็นกำหนด  แต่ถ้าเรียนวิชาชีพกำหนดให้ไม่เกินวันละ 5 ช.ม.  ถ้าจะเบิกอาหารกลางวันต้องอบรมวันละกี่ ช.ม. จึงจะเบิกค่าอาหารได้ ดูในระเบียบอบรมไม่พูดถึง ดูจากไหน

             ผมตอบว่า
             - ระเบียบหลักเกณฑ์การศึกษาต่อเนื่องปัจจุบัน ส่วนกลางกำหนดจำนวนชั่วโมงเฉพาะแบบกลุ่มสนใจ วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ส่วนแบบชั้นเรียนและแบบอบรมประชาชน ส่วนกลางไม่ได้กำหนดจำนวนชั่วโมงต่อวันแล้ว จึงอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารระดับจังหวัด/อำเภอสามารถกำหนดอย่างไรหรือไม่ก็ได้
             - การจัดแบบอบรมประชาชน ถ้า มีการอบรมทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย ก็สามารถเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวันได้
             - ที่ว่า วิชาชีพกำหนดให้ไม่เกินวันละ 5 ชั่วโมงนั้น เป็นระเบียบหลักเกณฑ์เก่า ระเบียบหลักเกณฑ์ปัจจุบันไม่ได้กำหนดแล้ว ดูจากระเบียบหลักเกณฑ์ในคู่มือปัจจุบันนั้นแหละ ถ้าระเบียบหลักเกณฑ์ในคู่มือปัจจุบันไม่ได้กำหนดจำนวนชั่วโมงในแต่ละวันไว้ ก็แปลว่าไม่กำหนดจำกัดแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารอำเภอ/จังหวัด
             อย่าไปดูระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับที่ถูกยกเลิกโดยระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับล่าสุดแล้ว
             ถ้าผู้บริหารเห็นว่าเนื้อหาวิชาและวัยผู้เรียนนั้น เรียน 6 ชั่วโมงไม่มาก ก็ 6 ชั่วโมงได้ ไม่มีระเบียบห้ามแล้ว ถ้าผู้บริหารเห็นว่า เนื้อหาวิชานั้นหนักมาก ผู้เรียนเป็นผู้สูงอายุ ไม่ควรเรียนเกินวันละ 3 ชั่วโมง ก็กำหนดให้เรียนวันละ 3 ชั่วโมงก็ได้

         5. การรับ นศ.ที่ไม่มีทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ให้สถานศึกษาประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อรวบรวมหลักฐานประสานกับสำนักทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น เพื่อจัดทำทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัว
             ดังรายละเอียดในประกาศที่
            
https://www.dropbox.com/s/uosubcc87jhe1qw/thainationST.pdf?dl=1
 





         6. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 7 กำหนดว่า ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษาขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและอนุญาตตามข้อ 5 (2) ( การพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน)
             แต่ ตามคำสั่งมอบอำนาจของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 489/2551 มอบอำนาจ ข้อ 16 ให้ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต มีอำนาจ
การอนุญาตการพานักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ประเภทค้างคืน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548

             วันที่ 2 ก.พ.61 ผมจึงเรียนถามกลุ่มงานวินัยและนิติการ กจ.กศน. ว่า  การพานักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ค้างคืน ผอ.กศน.อำเภอ หรือ ผอ.กศน.จังหวัด เป็นผู้อนุญาต  ได้รับคำตอบจาก กจ.โดย อ.นคร ว่า ให้ยึดตามคำสั่งมอบอำนาจ คือ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต เป็นผู้อนุญาต

         7. วันอาทิตย์ที่ 4 ก.พ.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ฉันเป็นครูกศน.ตำบลทำเรื่องย้ายข้ามจังหวัดดยได้สับเปลี่ยนพื้นที่และสับเปลี่ยนเลขที่ตำแหน่งกันซึ่งตามที่จริงแล้วเมื่อฉันย้ายไปแบบนี้ฉันก็ต้องไปลงพื้นที่ตามคำสั่งของกรมถูกต้องใช่ไม่ แต่ปรากฏว่าพอฉันไปทำงานที่อำเภอใหม่ผอ.อำเภอนั้นได้ทำหนังสือให้ครูคนอื่นมาอยู่พื้นที่ฉันแล้วจะให้ฉันไปยังศูนย์การเรียนชุมชนที่ตำบลอื่น ทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ ฉันจะต้องทำยังไงถ้าเกิดกรณีแบบนี้ ฉันยืยยันที่จะขอลงพื้นที่ตามคำสั่งที่ฉันย้ายมา แล้วตามระเบียนสามารถมาเปลี่ยนพื้นที่แบบนี้ได้ด้วยเหรอ ฉันมายังไม่ทันจะได้ปฏิบัติหน้าที่เลย ก็มีเหตุแบบนี้แล้ว ยังไงฉันรบกวนอาจารย์ให้คำแนะนำชี้แนวทางให้ฉันด้วยนะ

             ผมตอบว่า   ผมโพสต์ประเด็นนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งแล้วว่า ครู กศน.ตำบล ต่างจาก ครูอาสาฯ โดยเลขที่ตำแหน่งครูอาสาฯระบุเพียงชื่ออำเภอ  ผอ.กศน.อำเภอสามารถย้ายเปลี่ยนพื้นที่ครูอาสาฯภายในอำเภอได้  แต่เลขที่ตำแหน่งครู กศน.ตำบล ระบุชื่อตำบล  ฉะนั้น ผอ.กศน.อำเภอจึงไม่มีอำนาจเปลี่ยนพื้นที่ตำบลของครู กศน.ตำบล แม้จะอยู่ในอำเภอเดียวกัน  ถ้าเปลี่ยนเป็นการภายใน โดยเจ้าตัวยอม ก็คงจะไม่เป็นไร  ( ถ้าพนักงานราชการทำความผิด ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ "วินัย" )
             จังหวัดหรือสถานศึกษาขึ้นตรงสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ได้ แต่ต้องกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่ชัดเจน รวมไม่เกินปี งปม.ละ 4 เดือน
             ส่วนกรณีการเปลี่ยนพื้นที่โดยเปลี่ยนเลขที่ตำแหน่งของพนักงานราชการแต่ละคน ตาม
คำขอ ของพนักงานราชการต้องมีตำแหน่งว่างหรือสับเปลี่ยนบุคคลกัน ( เลขที่ตำแหน่งเดิมต้องอยู่ที่ตำบล/อำเภอเดิมถ้าเป็นการเกลี่ยอัตราย้ายเลขที่ตำแหน่งต้องดำเนินการโดยส่วนกลาง ) นั้น ให้ดำเนินการตามข้อ 4.1-4.6 ใน แนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ สังกัดสำนักงาน กศน.ฉบับล่าสุด ธ.ค.60  ดูที่ 

https://www.dropbox.com/s/jx7mfhgzu03eg4m/PRGunderstan.pdf?dl=1  โดยต้องรายงานให้สำนักงาน กศน.ทราบภายใน 30 วัน

             คำแนะนำของผมในกรณีที่ คุณไม่ได้ขอเปลี่ยนพื้นที่ นี้คือ
             - คุยกับ ผอ.อีกครั้ง
             - ถ้ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ทำหนังสือแจ้ง ผอ.สนง.กศน.จังหวัด ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ ให้ จนท.ลงชื่อรับในสำเนาหนังสือ  ( หน่วยงานที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ จะดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ซึ่งต่างกับการคุยกันด้วยวาจาที่อาจอ้างระเบียบหลักเกณฑ์ผิด )  อาจขอคุยด้วยวาจากับท่าน ผอ.กศน.จังหวัดก่อน
             - ถ้าผ่านไป 1 เดือน ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้แจ้งตรงไปยังเลขาธิการ กศน. อย่างเป็นทางการเช่นเดียวกัน  ส่วนกลางก็จะแจ้งจังหวัดให้แก้ไขให้ถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ปัจจุบัน โดยที่เราไม่ต้องแจ้ง รมต.
             แต่.. การทำอย่างนี้อาจทำให้เราทำงานกับ ผอ.คนนี้ต่อไปอย่างไม่ราบรื่น ไม่มีความสุข ( ผอ.จะอยู่ที่เดิมประมาณ 4 ปี )  คุณต้องคิด และตัดสินใจเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย