สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 31 ก.ค.61 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า การฝึกอบรมหลักสูตร BTC ทั้งวิสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ อายุเท่าไหร่ขึ้นไปครับถึงจะเข้าการอบรมได้
1. วันที่ 31 ก.ค.61 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า การฝึกอบรมหลักสูตร BTC ทั้งวิสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ อายุเท่าไหร่ขึ้นไปครับถึงจะเข้าการอบรมได้
ผมตอบว่า ผู้ที่จะเข้าอบรมหลักสูตรผู้กำกับลูกเสือ
ขั้นความรู้เบื้องต้น ( B.T.C.)
ต้องผ่านการอบรมขั้นความรู้ทั่วไป
ส่วนผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมขั้นความรู้ทั่วไป ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
แต่เขามักจะจัดอบรมขั้นความรู้ทั่วไป ควบคู่กับขั้นความรู้เบื้องต้น โดยใช้เวลาอบรมรวม 3 คืน 4 วัน ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
( ดูในข้อ 6-7 ที่ https://www.dropbox.com/s/jrcn3gzu79mvtvo/scoutT.pdf?dl=0 )
2. วันที่ 2 ส.ค.61 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ในกรณีที่พนักงานราชการได้รับพระราชทานเครื่องราชฯปีนี้ และผอ.จังหวัดให้มีพิธีการรับต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ เราจะใช้คำอย่างไรครับสำหรับเขียนป้าย
พิธีเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ หรือว่าอย่างไรครับ
ส่วนผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมขั้นความรู้ทั่วไป ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
แต่เขามักจะจัดอบรมขั้นความรู้ทั่วไป ควบคู่กับขั้นความรู้เบื้องต้น โดยใช้เวลาอบรมรวม 3 คืน 4 วัน ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
( ดูในข้อ 6-7 ที่ https://www.dropbox.com/s/jrcn3gzu79mvtvo/scoutT.pdf?dl=0 )
2. วันที่ 2 ส.ค.61 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ในกรณีที่พนักงานราชการได้รับพระราชทานเครื่องราชฯปีนี้ และผอ.จังหวัดให้มีพิธีการรับต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ เราจะใช้คำอย่างไรครับสำหรับเขียนป้าย
พิธีเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ ต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ หรือว่าอย่างไรครับ
ผมตอบว่า ควรใช้ประโยคว่า
พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ หน้าพระฉายาลักษณ์ ( ไม่ต้องมีคำว่า "เข้า",
"ต่อ" เพราะคำนี้เป็นภาษาพูด )
3. ผู้ถาม ถามต่อ ว่า ค่าตอบแทนสอนเสริมฯ ไม่เกิน ชม. ละ ๒๐๐ บาท/คน คำถามคือเบิกได้วันละกี่ ชม.ครับ
3. ผู้ถาม ถามต่อ ว่า ค่าตอบแทนสอนเสริมฯ ไม่เกิน ชม. ละ ๒๐๐ บาท/คน คำถามคือเบิกได้วันละกี่ ชม.ครับ
ผมตอบว่า สอนเสริม กศ.ขั้นพื้นฐานใช่ไหม ในหนังสือ
“คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551” หน้า 87 กำหนดไว้เพียงสั้น ๆ ว่า “ค่าตอบแทนวิทยากรสอนเสริม
ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด”
ส่วน “คู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2549 กำหนดไว้ในหน้า 60 ว่า
“กำหนดให้มีการสอนเสริมในการจัดการเรียนรู้วิธีเรียนแบบพบกลุ่ม ทุกระดับการศึกษา ในหมวดวิชาพื้นฐาน สาระการเรียนรู้ที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจ ได้แก่ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ หมวดวิชาละไม่เกิน 12 ชั่วโมง ในแต่ละภาคเรียน สำหรับจำนวนผู้เรียนที่เข้ารับการสอนเสริมแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับค่าตอบแทนวิทยากรสอนเสริม ให้เบิกจ่ายในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท ตามหนังสือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 0210.03/7113 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ( ซึ่งอ้างอิงหนังสือกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.7/15059 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 )”
ฉะนั้น ปัจจุบันไม่ได้กำหนดจำกัดว่า สอนเสริมได้ไม่เกินวันละกี่ชั่วโมง
( อนึ่ง ครูหรือวิทยากรสอนเสริม ต่างจากวิทยากรการอบรม โดยการอบรมอาจมีวิทยากรพร้อมกันมากกว่า 1 คน แต่ครูสอนเสริมคงต้องมีคนเดียวในกลุ่มเดียวกันเวลาเดียวกัน )
4. วันที่ 3 ส.ค.61 มีผู้ถามผมในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การที่จะได้รับเข็มเชิดชูเกียรตินั้น นับอายุการทำงานเป็นพนักงานราชการมาหรือ ฉันเป็นครูอาสาปี 2540 จนถึงปัจจุบัน งานบุคคลบอกว่ายังไม่ถึงเกณฑ์รับเหรียญ เพราะนับเวลาเริ่มเป็นพนังานราชการ อยากเรียนถามว่าใช่หรือไม่ เพราะเช็คชื่อแล้วไม่มีชื่อรับเหรียญทองปีนี้
ส่วน “คู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2549 กำหนดไว้ในหน้า 60 ว่า
“กำหนดให้มีการสอนเสริมในการจัดการเรียนรู้วิธีเรียนแบบพบกลุ่ม ทุกระดับการศึกษา ในหมวดวิชาพื้นฐาน สาระการเรียนรู้ที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจ ได้แก่ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ หมวดวิชาละไม่เกิน 12 ชั่วโมง ในแต่ละภาคเรียน สำหรับจำนวนผู้เรียนที่เข้ารับการสอนเสริมแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับค่าตอบแทนวิทยากรสอนเสริม ให้เบิกจ่ายในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท ตามหนังสือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 0210.03/7113 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ( ซึ่งอ้างอิงหนังสือกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.7/15059 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 )”
ฉะนั้น ปัจจุบันไม่ได้กำหนดจำกัดว่า สอนเสริมได้ไม่เกินวันละกี่ชั่วโมง
( อนึ่ง ครูหรือวิทยากรสอนเสริม ต่างจากวิทยากรการอบรม โดยการอบรมอาจมีวิทยากรพร้อมกันมากกว่า 1 คน แต่ครูสอนเสริมคงต้องมีคนเดียวในกลุ่มเดียวกันเวลาเดียวกัน )
4. วันที่ 3 ส.ค.61 มีผู้ถามผมในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การที่จะได้รับเข็มเชิดชูเกียรตินั้น นับอายุการทำงานเป็นพนักงานราชการมาหรือ ฉันเป็นครูอาสาปี 2540 จนถึงปัจจุบัน งานบุคคลบอกว่ายังไม่ถึงเกณฑ์รับเหรียญ เพราะนับเวลาเริ่มเป็นพนังานราชการ อยากเรียนถามว่าใช่หรือไม่ เพราะเช็คชื่อแล้วไม่มีชื่อรับเหรียญทองปีนี้
ผมตอบว่า นับรวมระยะเวลา 3 ตำแหน่ง คือ ครูอาสาฯ ครู
กศน.ตำบล ครู ศรช. ที่ต่อเนื่องกัน ถ้าเว้นช่วงแล้วเข้ามาใหม่ให่้เริ่มต้นนับใหม่
เช่นถ้าลาออกจากครู ศรช. 30 ก.ย.58 แล้วเป็นครูอาสาฯ 1 ต.ค.58 ต่อเลย
ก็จะนับเวลารวมต่อกัน เศษเกิน 6 เดือน
นับเป็น 1 ปี
ครบปีนี้ รับปีหน้า เช่น ครบ 20 ปี ภายใน 30 ก.ย.60 รับเข็มทองในปี 2561 เป็นต้น
ส่วนกลางให้จังหวัดสำรวจรายชื่อส่งไป
( ถ้านับเวลาเฉพาะตอนเป็นพนักงานราชการ ประเทศไทยก็ยังไม่มีพนักงานราชการคนไหนได้เข็มทองหรอก เพราะเจ้าหน้าที่รัฐประเภทพนักงานราชการ มีกำหนดขึ้นมายังไม่ครบ 20 ปี )
5. วันที่ 7 ส.ค.61 มี ผอ.กศน.เขต โทร.มาถามผมเรื่องนายทะเบียน 2 คำถาม ว่า
ครบปีนี้ รับปีหน้า เช่น ครบ 20 ปี ภายใน 30 ก.ย.60 รับเข็มทองในปี 2561 เป็นต้น
ส่วนกลางให้จังหวัดสำรวจรายชื่อส่งไป
( ถ้านับเวลาเฉพาะตอนเป็นพนักงานราชการ ประเทศไทยก็ยังไม่มีพนักงานราชการคนไหนได้เข็มทองหรอก เพราะเจ้าหน้าที่รัฐประเภทพนักงานราชการ มีกำหนดขึ้นมายังไม่ครบ 20 ปี )
5. วันที่ 7 ส.ค.61 มี ผอ.กศน.เขต โทร.มาถามผมเรื่องนายทะเบียน 2 คำถาม ว่า
1)
นายทะเบียนลา 1 สัปดาห์ ถ้าต้องออกใบ รบ.ในช่วงที่นายทะเบียนลานี้
จะให้คนอื่นเป็นนายทะเบียนแทน หรือ ผอ.ลงนามในนามนายทะเบียนด้วย ได้หรือไม่
ผมตอบว่า ไม่ได้ ปกติต้องรอ แต่ถ้ามีความจำเป็นรอไม่ได้ ผอ.ก็ออกคำสั่งแต่งตั้งคนอื่นเป็นนายทะเบียนชั่วคราว และเมื่อนายทะเบียนคนเดิมกลับมาทำงานโดย ผอ.ต้องการให้คนเดิมเป็นนายทะเบียน ผอ.ก็ออกคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียนใหม่อีกครั้ง
ผมตอบว่า ไม่ได้ ปกติต้องรอ แต่ถ้ามีความจำเป็นรอไม่ได้ ผอ.ก็ออกคำสั่งแต่งตั้งคนอื่นเป็นนายทะเบียนชั่วคราว และเมื่อนายทะเบียนคนเดิมกลับมาทำงานโดย ผอ.ต้องการให้คนเดิมเป็นนายทะเบียน ผอ.ก็ออกคำสั่งแต่งตั้งนายทะเบียนใหม่อีกครั้ง
2)
การแต่งตั้งนายทะเบียน ถ้ามีข้าราชการต้องแต่งตั้งจากข้าราชการ
กรณีที่มีข้าราชการคนเดียวใกล้เกษียณและไม่ต้องการเป็นนายทะเบียน
จะแต่งตั้งพนักงานราชการเป็นนายทะเบียนได้หรือไม่
ผมตอบว่า เหตุผลที่ว่าใกล้เกษียณยังไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอ แต่เหตุผลที่ว่าเขาไม่ต้องการเป็นนายทะเบียน ต้องให้เขาบันทึกแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะพิจารณาแต่งตั้งพนักงานราชการเป็นนายทะเบียนได้
6. วันที่ 8 ส.ค.61 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การจัดตารางสอบรายวิชาเลือกเสรี เป็นอำนาจของ จังหวัด หรือว่า กศน.อำเภอ
ผมตอบว่า มีนโยบาย 2 นโยบาย ที่ต่างกัน แต่นโยบายที่ออกทีหลัง
เป็นการแจ้งในที่ประชุมอบรม ดังนี้ผมตอบว่า เหตุผลที่ว่าใกล้เกษียณยังไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอ แต่เหตุผลที่ว่าเขาไม่ต้องการเป็นนายทะเบียน ต้องให้เขาบันทึกแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะพิจารณาแต่งตั้งพนักงานราชการเป็นนายทะเบียนได้
6. วันที่ 8 ส.ค.61 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การจัดตารางสอบรายวิชาเลือกเสรี เป็นอำนาจของ จังหวัด หรือว่า กศน.อำเภอ
1) นโยบายเดิม การจัดสอบปลายภาควิชาเลือก ให้อยู่ในความดูแลของจังหวัด โดยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด เช่น ถ้ามีวิชาเลือกวิชาเดียวกัน 2 อำเภอขึ้นไป ต้องสอบในเวลาและเครื่องมือเดียวกัน ( ถ้าวิชาเลือกใดมีเพียงอำเภอเดียวจึงอนุโลมให้อำเภอนั้นดำเนินการเอง )
2) นโยบายใหม่ ตั้งแต่มีโปรแกรมการเรียนรู้ มีวิชาเลือกเสรี ซึ่งอาจมีวิชาเลือกเสรีเป็นร้อยเป็นพันวิชาตามบริบทของแต่ละอำเภอ มีการแจ้งในที่ประชุมอบรมตั้งแต่สมัยท่านเลขาฯสุรพงษ์ว่า การประเมินผลวิชาเลือกเสรีให้เป็นบทบาทหน้าที่ของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งบางวิชาอาจไม่ต้องสอบแต่ประเมินจากโครงงาน หรือสอบอัตนัยข้อเดียว ฯลฯ
7. วันอาทิตย์ที่ 19 ส.ค.61 ผมสนทนาทางไลน์กับหัวหน้ากลุ่มงานหนึ่งของส่วนกลาง กศน. ถึงเรื่องบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาถูกจับหลายท่าน บางท่านเป็นคนคุ้นเคยพวกเรา
ผมบอกว่า “บางครั้งก็อยู่ที่สถานการณ์ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ ยากที่จะยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง”
แล้วผมก็ระบายว่า
ผมรู้สึกดีใจมาก ๆ ที่ผมรอดพ้นมาจนเกษียณแล้ว
ผมมีปัญหาสำคัญ 2 เรื่อง
1) ผมหงุดหงิดกับพฤติกรรมของเด็กยุคใหม่ ถ้าผมเป็นครูในโรงเรียน วันหนึ่งผมต้องโดนแจ้งความ ลงข่าวหน้าหนึ่ง เรื่องลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุแน่ แต่โชคดีที่ผมเป็นข้าราชการครู กศน.ที่ไม่ได้สอนเด็ก
2) ผมเป็นคนตรง ( ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อดีหรือไม่ เพราะทำให้ผมมีความทุกข์ มีปัญหาในการทำงานหลายครั้ง แต่ผมก็เปลี่ยนนิสัยไม่ได้ ) ผมเคยเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุสำคัญหลายครั้ง เช่น อบจ.ตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุที่ อบจ.ซื้อให้หน่วยงาน กศน., เคยเป็นหัวหน้างานการเงินระดับจังหวัด, เคยรักษาการในตำแหน่ง ผอ.จัดซื้อจัดจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ฯลฯ การดำเนินการเหล่านี้ทำให้ผมกลายเป็นคนมีปัญหาในสายตาของหลายคน
ตลอดเวลารับราชการ 40 ปี ผมได้ฉายาเกี่ยวกับความตรงหลายฉายา เช่นสมัยที่ทีวีไทยนำเรื่องเปาบุ้นจิ้นเข้ามาฉายยุคแรก ผมก็ได้รับฉายาว่าเปาบุ้นจิ้น บางครั้งก็ได้รับฉายาว่าไม้บรรทัดเหล็ก ผมไม่ยอมทำงาน "นายทะเบียน" เพราะต้องดำเนินการในลักษณะให้อภิสิทธิ์คนบางประเภท และอีกหลายงานในยุคของผู้บริหารบางคน ผมทำงานได้หลายงานแต่ต้องยอมให้ผมทำตามระเบียบ
บางคนบอกว่าผมตรงขนาดเสาไฟฟ้าอยู่ตรงหน้าผมก็ไม่เดินอ้อมแต่เดินชนเสา คนแบบนี้จะประสบปัญหา ไม่ก้าวหน้า
แต่ผมก็ดีใจมากที่รอดมาถึงเกษียณแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย