วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

1.คำสั่งย้ายข้าราชการ กศน.จะออกช่วงไหน, 2.บทบาทหน้าที่ครูอาสาฯ, 3.การบริหารจัดการ กศ.ขั้นพื้นฐาน, 4.วิธีที่ข้าราชการสังกัดอื่น จะโอนย้ายมา กศน., 5.ประชุมเชิงปฏิบัติการ เบิกเบี้ยเลี้ยงได้เต็มไหม, 6.เป็นเรื่องดี หรือเป็นปัญหาใหญ่ของ กศน., 7.ระเบียบเรื่องใบสมัครเป็นนักศึกษา กศน.


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้



         1. เย็นวันที่ 4 เม.ย.62 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊กผม ว่า  คำสั่งย้ายข้าราชการกศน.จะออกช่วงไหนค่ะ

             ผมตอบว่า   คำสั่งย้ายจะออกเมื่อไร ไม่แน่ ปกติการยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ก.พ. ถ้าได้ย้าย คำสั่งย้ายจะออกประมาณ เม.ย.-พ.ค., ถ้าขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค. คำสั่งย้ายจะออกประมาณ ต.ค.-พ.ย.
             คำร้องขอย้ายใช้ได้รอบเดียว ถ้าไม่ได้ย้ายตามคำขอ เมื่อถึงช่วงขอย้ายใหม่ต้องยื่นคำร้องใหม่

         2. คืนวันอาทิตย์ที่ 7 เม.ย.62 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ครูอาสาหน้าที่อะไร บังคับ ครูกศน.ตำบล ศรช.จ้างเหมาได้ไหม สามารถนิเทศจัดการเรียนการสอนครูตำบลได้ไหม ไม่มีได้ไหมครูอาสา ชี้เป็นชี้ตายครูกศนตำบลจริงหรือในการประเมิน ตรูอาสาตรวจเอกสารเบิกงบประมาณอำเภอตำบลไดัไหม การทำใหเอกวารล้าช้ารึไม่สามารถยืมเงินรึล้างหนี้ล้าช้าครูอาสาตรวจมีความผิดไหม

             ผมตอบว่า
             - มีหนังสือแจ้งบทบาทหน้าที่ครูอาสาฯไว้ชัดเจน เช่นครูอาสาฯต้องสอนด้วย ถ้าครูอาสาฯไม่ต้องสอนแล้ว กพร.รู้อาจให้เลิก/ไม่ต้องมีตำแหน่งครูอาสาฯ
             - ประเด็นสำคัญขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละท่าน จะมอบหมายให้ครูอาสาฯมีหน้าที่อื่นด้วยก็ได้ มอบหมายให้เป็นผู้นิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู กศน.ตำบล/ครู ศรช. ก็ได้ มอบหมายให้ตรวจเอกสารการเบิกเงินงบประมาณก็ได้
             - ถ้าทำให้เอกสารล่าช้า จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ก็ต้องดูในรายละเอียดว่าเป็นความผิดของใคร

         3. แน่มาก..! กศน.ขอนแก่น ข้อ 2-7 แต่ละข้อไม่ธรรมดาเลย !
             ตามภาพประกอบ






         4. วันที่ 9 เม.ย.62 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  กรณี พนักงานราชการตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ ได้สอบบรรจุเข้ารับราชการในสังกัดอื่น ต้องการจะกลับมาเป็นข้าราชการครู กศน.มีวิธีใดบ้างคะ

             ผมตอบว่า   มีหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติในการรับโอนย้ายของ กศน.อยู่ แต่เขาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสังกัดนั้นด้วย เช่น ถ้าสังกัดนั้นกำหนดในประกาศรับสมัครสอบรรจุว่าต้องทำงานครบ 5 ปีจึงจะโอนย้ายได้ เขาก็ต้องรอให้ครบ 5 ปีก่อน เป็นต้น ต้องถามต้นสังกัดเอาเอง แม้แต่สังกัดเดียวกันแต่ละปีแต่ละรุ่นก็กำหนดในประกาศรับสมัครสอบบรรจุต่างกัน
             - ดูหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติการรับโอนย้าย ( หนังสือแจ้ง ) ได้ที่
                http://bit.ly/2WR0qKM
             - ดูหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติการรับโอนย้าย ( สรุปเป็นตาราง ) ได้ที่
                http://bit.ly/2D2NoCE
             ซึ่งแนวปฏิบัติข้อ 1 กำหนดให้ สำนักงาน กศน.ประกาศจำนวนตำแหน่งว่างของ หน่วยงาน/สถานศึกษา ที่มีความประสงค์จะรับโอน โดยกำหนดคุณสมบัติ แนวปฏิบัติ และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน (อาจประกาศเป็นคราว ๆ ไป หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก็ได้)   ดูตัวอย่างประกาศนี้ได้ที่
             http://bit.ly/2Vu35K5

         5. เย็นวันที่ 9 เม.ย.62 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เรื่องประชุมเชิงปฎิบัติการ ในกำหนดการมีเลี้ยงอาหารเที่ยง และเย็น แต่ก็มีการถกเถียงกันว่าถ้ามีคำว่าประชุมเชิงปฎิบัติการ สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็ม 3 มื้อ คือ 240 บาท ค่าพาหนะในการเดินทางตามระยะทาง อยากทราบระเบียบเกี่ยวกับการประชุมนี้

             ผมตอบว่า   หมายถึงผู้เข้าประชุมปฏิบัติการจะเบิกจากต้นสังกัดเพราะหน่วยจัดประชุมฯจัดอาหารไม่ครบ 3 มื้อใช่ไหม
             แม้จะเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ( ฝึกอบรม ) ก็เบิกได้ไม่เต็มเหมือนกัน คือถ้าเขาจัดอาหารให้ 2 มื้อ ก็เบิกจากต้นสังกัดได้แค่ 1 ใน 3 ( ดูในระเบียบข้อ 18 )
             ดูระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2549 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ.2555 ได้ที่
             http://bit.ly/2uWJMNY
             ( ถ้าผู้ไปประชุมปฏิบัติการ เป็นผู้รับจ้างเหมาบริการ ซึ่งถือเป็นบุคคลภายนอก จะเบิกจากหน่วยงานต้นสังกัดไม่ได้ หน่วยงานที่จัดประชุมปฏิบัติการต้องจัดให้ครบ 3 มื้อ )

         6. วันที่ 17 เม.ย.62 มี ผอ.กศน.เขต ถามผมทางไลน์ ว่า  ถ้าครู กศน.ตำบล ปัจจุบันไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องทำอย่างไร ไม่เรียน ป.บัณฑิตทำอย่างไรดี

             เรื่องนี้  หลังจากที่ส่วนกลาง กศน.ทำหนังสือถึงคุรุสภา ขอให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ครูผู้สอนเด็กเร่ร่อน แต่ระบุคุณสมบัติของผู้ที่เป็นครูผู้สอนเด็กเร่ร่อน ว่า "จบ ป.ตรีที่ไม่จำเป็นต้อง ป.ตรีทางการศึกษา" ประกอบกับไม่ได้เน้นว่าครูผู้สอนเด็กเร่ร่อนต้องสอน กศ.ขั้นพื้นฐาน
             ปรากฏว่า คุรุสภาตอบกลับมาว่า ครู กศน.(ยกเว้นข้าราชการครู) สอนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และต่อไปนี้ไม่ต้องมี/ไม่ต้องขอ "หนังสืออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" อีกแล้ว

             ประเด็นนี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ ต่อไปนี้ครู กศน.สอนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และไม่ต้องขอ "หนังสืออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"
             ข้อเสียคือ เมื่อไม่มี "หนังสืออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ก็ไม่มีสิทธิ์เรียน ป.บัณฑิต  ปัจจุบันถ้าไม่ได้เรียน ป.บัณฑิต และไม่ได้จบปริญญาทางการศึกษา ก็ไม่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้ว
             ถ้าไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็จะเป็นข้าราชการครู(ครูผู้ช่วย)ไม่ได้แล้ว
             สรุป ถ้าชีวิตนี้ไม่คิดจะสอบเป็นข้าราชการครู(ครูผู้ช่วย)กันแล้ว ก็ไม่มีปัญหา
             นอกจากข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือ คงส่งผลกระทบต่อคุณภาพครู กศน. เพราะต่อไปจะไม่ได้เรียน ป.บัณฑิตกันแล้ว
             ( เย็นวันที่ 17 เม.ย.62 คุณสรสิช ครู กศน.ตำบล กศน.อ.ชนแดน บอกผมทางไลน์ว่า “เมื่อต้นเดือน มี.ค.62 พาแฟนซึ่งเป็น ครู ศรช.ไปขอต่ออายุใบขออนุญาตสอนโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ที่คุรุสภา แต่ผลปรากฎว่าเจ้าหน้าที่คุรุสภา ยื่นสำเนาเอกสารที่ตอบเรื่องครูผู้สอนเด็กเร่ร่อน และบอกว่า ครู กศน.ไม่ต้องขอแล้ว เพราะสอนได้ไม่ผิด”)

         7. วันที่ 18 เม.ย.62 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า  มีระเบียบเรื่องแบบฟอร์มใบสมัคร นศ กศน. กับ. สีของใบสมัครหรือไม่ เพราะบางอำเภอยึกตามคู่มือ ปี 55คือมีหน้าเดียว. บางอำเภอเอามาจาก กศน เขตพญาไท. ที่มีสองหน้า. บางอำเภอใช้สีฟ้ากระดาษสำหรับปริ้นใบสมัคร มปลาย เปิดดูในคู่มือปี 55ก็ไม่เห็นมีว่าเขาบังคับสีของใบสมัคร

             ผมตอบว่า   ใบสมัครขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐานใช่ไหม
             ไม่มีระเบียบกำหนดบังคับหรอก ไม่ใช่เอกสารหลักฐานการศึกษาควบคุมและบังคับแบบ มีแต่ตัวอย่าง
             ( ควรมีข้อมูลครบถ้วน และ เรียงตามลำดับ ที่จะคีย์ข้อมูลประวัตินักศึกษาในโปรแกรม ITw เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการคีย์ข้อมูล ถ้ายังคีย์ด้วยมือ )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย