สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 19 เม.ย.62
มีผู้ถามผมในไลน์สแควร์กลุ่ม กศน. ว่า ปัจจุบันนี้มีพระลงสมัครเรียนระดับ
ม.ปลาย เรียนกับกศน.ในภาคเรียนนี้ยังได้ไหม
ผมตอบว่า พระสงฆ์เรียน
กศ.ขั้นพื้นฐาน ระดับ ม.ปลาย ได้ มาตลอด เพียงแต่
ที่ถูกต้องนั้น มหาเถรสมาคมกำหนดว่า “ให้จัดพบกลุ่มที่ศูนย์การเรียนในวัด โดยให้ครูชายเป็นผู้สอน”
( กศน.อ.มักจะไม่พร้อมที่จะทำให้ถูกต้องตามมติมหาเถรสมาคม นอกจากจะมีพระเรียนจำนวนมาก )
เรื่องนี้มีอยู่ในคู่มือการดำเนินงานฯทุกเล่ม ถ้าเป็นฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 ปกสีเลือดหมู มติมหาเถรสมาคมจะอยู่ในหน้า 140 โดยมีวิธีปฏิบัติอยู่ในหน้า 139 ข้อ 3
2. วันที่ 21 เม.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เมื่อวานเฟสฉันโดนแฮก ฉันเข้าเปลียนรหัสแล้ว ฉันต้องทำยังต่อ ฉันเห็นเพื่อนทักมาว่าส่งอะไรมา ฉันก็งง ขอปรึกษา ขอโทษจริงๆ แต่เพื่อนแนะนำไปเปลียนรหัส
ที่ถูกต้องนั้น มหาเถรสมาคมกำหนดว่า “ให้จัดพบกลุ่มที่ศูนย์การเรียนในวัด โดยให้ครูชายเป็นผู้สอน”
( กศน.อ.มักจะไม่พร้อมที่จะทำให้ถูกต้องตามมติมหาเถรสมาคม นอกจากจะมีพระเรียนจำนวนมาก )
เรื่องนี้มีอยู่ในคู่มือการดำเนินงานฯทุกเล่ม ถ้าเป็นฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 ปกสีเลือดหมู มติมหาเถรสมาคมจะอยู่ในหน้า 140 โดยมีวิธีปฏิบัติอยู่ในหน้า 139 ข้อ 3
2. วันที่ 21 เม.ย.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า เมื่อวานเฟสฉันโดนแฮก ฉันเข้าเปลียนรหัสแล้ว ฉันต้องทำยังต่อ ฉันเห็นเพื่อนทักมาว่าส่งอะไรมา ฉันก็งง ขอปรึกษา ขอโทษจริงๆ แต่เพื่อนแนะนำไปเปลียนรหัส
ผมตอบว่า นอกจากเปลี่ยนรหัสผ่านแล้ว
ต้องลบแอพที่เป็นปัญหาออกจากเฟซบุ๊กของเราด้วย
วิธีลบนั้น อธิบายยากเพราะแต่ละคนใช้เฟซบุ๊กต่างกันมากมายหลายระบบหลายเวอร์ชั่น แต่ละระบบแต่ละเวอร์ชั่นก็มีวิธีการต่างกัน
ขอให้คุณแก้ในระบบเฟซบุ๊กของคุณ โดยลองหาเมนูหรือคำในทำนองต่อไปนี้
- เข้าไปที่ "การตั้งค่า" แล้วคลิกที่ "แอพและเว็บไซต์"
- ดูที่ "แอพและเว็บไซต์ที่กำลังใช้งาน" ถ้าพบว่ามีแอพที่ไม่น่าไว้ใจ ก็คลิกที่แอพนั้นและคลิกที่ "ลบออก"
เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับเข้าเฟซบุ๊กด้วย ถูกต้องแล้ว
วิธีลบนั้น อธิบายยากเพราะแต่ละคนใช้เฟซบุ๊กต่างกันมากมายหลายระบบหลายเวอร์ชั่น แต่ละระบบแต่ละเวอร์ชั่นก็มีวิธีการต่างกัน
ขอให้คุณแก้ในระบบเฟซบุ๊กของคุณ โดยลองหาเมนูหรือคำในทำนองต่อไปนี้
- เข้าไปที่ "การตั้งค่า" แล้วคลิกที่ "แอพและเว็บไซต์"
- ดูที่ "แอพและเว็บไซต์ที่กำลังใช้งาน" ถ้าพบว่ามีแอพที่ไม่น่าไว้ใจ ก็คลิกที่แอพนั้นและคลิกที่ "ลบออก"
เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับเข้าเฟซบุ๊กด้วย ถูกต้องแล้ว
( ถ้าเป็นไวรัส Special Video มันจะส่งไฟล์ไวรัสที่ชื่อขึ้นต้นและลงท้ายว่า
video .... .bz ใครเห็นอย่าคลิกเข้าไปดูนะ
จะติดไวรัส โดยมันจะใช้บัญชีและชื่อเรา ส่งไฟล์ไวรัสต่อไปให้เพื่อนคนอื่น ๆ ในเครือข่ายเมสเซนเจอร์และกลุ่มต่าง
ๆ ของเฟซบุ๊ก โดยไม่รู้ตัว
ดูวิธีแก้ไขไวรัสนี้ที่
https://officemanner.com/2014/07/28/วิธีแก้ไวรัส-special-video-ของแชท-facebook/?fbclid=IwAR1rPBzjjpzsEqFOiw8LasscfOiBa5aaZQ0rzb17sQ-PMnujJYTetfcYW_w )
3. จริงหรือที่แชร์กันว่า “ต้อง” เปลี่ยนแพรแถบย่อ (ที่ประดับเหนือกระเป๋าเสื้อเครื่องแบบสีกากี) ?
ดูวิธีแก้ไขไวรัสนี้ที่
https://officemanner.com/2014/07/28/วิธีแก้ไวรัส-special-video-ของแชท-facebook/?fbclid=IwAR1rPBzjjpzsEqFOiw8LasscfOiBa5aaZQ0rzb17sQ-PMnujJYTetfcYW_w )
3. จริงหรือที่แชร์กันว่า “ต้อง” เปลี่ยนแพรแถบย่อ (ที่ประดับเหนือกระเป๋าเสื้อเครื่องแบบสีกากี) ?
( ขอบอกเบื้องต้นก่อนว่า
สีแพรแถบของเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 กับ
รัชกาลที่ 10 คล้ายกัน คือมี 7 ริ้วเท่ากัน มีริ้วสีเหลืองทั้งคู่
ต่างกันที่ รัชกาลที่ 9 มีริ้วสีเหลือง 4 ริ้ว โดยริมทั้งสองด้านเป็นริ้วสีเหลือง แต่ของรัชกาลที่ 10 มีริ้วสีเหลือง 3 ริ้ว โดยริมทั้งสองด้านเป็นริ้วสีขาวนวล โปรดดูภาพประกอบ ในภาพจะอยู่บนสุดกับล่างสุด )
ต่างกันที่ รัชกาลที่ 9 มีริ้วสีเหลือง 4 ริ้ว โดยริมทั้งสองด้านเป็นริ้วสีเหลือง แต่ของรัชกาลที่ 10 มีริ้วสีเหลือง 3 ริ้ว โดยริมทั้งสองด้านเป็นริ้วสีขาวนวล โปรดดูภาพประกอบ ในภาพจะอยู่บนสุดกับล่างสุด )
ตอบว่า ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผงแพรแถบย่อ ( เปลี่ยนก็ได้
ไม่เปลี่ยนก็ได้ )
1) ในแผงแพรแถบย่อ จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- แพรแถบย่อของเหรียญตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเจาะจงเฉพาะบุคคล กับ
- แพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก ที่พระราชทานให้บุคคลทั่วไปประดับได้
โดย แพรแถบย่อของเหรียญตราเครื่องราชฯจะอบู่แถวบนสุดของแผง และอยู่ริมด้านซ้าย โดยจะมีช้างหรือมงกุฎเล็ก ๆ อยู่บนแพรแถบย่อ มีสิทธิประดับได้เฉพาะผู้ได้รับการประกาศรายชื่อพระราชทาน และให้ประดับเฉพาะเครื่องราชชั้นสูงสุดในแต่ละตระกูลเท่านั้น ( ตระกูลช้างเผือก กับตระกูลมงกุฎไทย ) จึงประดับได้ 2 ท่อน แทน 2 เหรียญ ( 2 ช่อง ) ถ้าได้ทั้ง 2 ตระกูลแล้ว โดยเครื่องราชที่สูงกว่า ( ได้รับทีหลัง ) จะอยู่ริมซ้ายสุด ส่วนท่อนที่ 2-3 ถ้าไม่มีช้างไม่มีมงกุฎก็เป็นแพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก
2) แพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก จะไม่มีช้างหรือมงกุฎติดอยู่
1) ในแผงแพรแถบย่อ จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- แพรแถบย่อของเหรียญตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเจาะจงเฉพาะบุคคล กับ
- แพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก ที่พระราชทานให้บุคคลทั่วไปประดับได้
โดย แพรแถบย่อของเหรียญตราเครื่องราชฯจะอบู่แถวบนสุดของแผง และอยู่ริมด้านซ้าย โดยจะมีช้างหรือมงกุฎเล็ก ๆ อยู่บนแพรแถบย่อ มีสิทธิประดับได้เฉพาะผู้ได้รับการประกาศรายชื่อพระราชทาน และให้ประดับเฉพาะเครื่องราชชั้นสูงสุดในแต่ละตระกูลเท่านั้น ( ตระกูลช้างเผือก กับตระกูลมงกุฎไทย ) จึงประดับได้ 2 ท่อน แทน 2 เหรียญ ( 2 ช่อง ) ถ้าได้ทั้ง 2 ตระกูลแล้ว โดยเครื่องราชที่สูงกว่า ( ได้รับทีหลัง ) จะอยู่ริมซ้ายสุด ส่วนท่อนที่ 2-3 ถ้าไม่มีช้างไม่มีมงกุฎก็เป็นแพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก
2) แพรแถบย่อของเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึก จะไม่มีช้างหรือมงกุฎติดอยู่
ประดับเรียงลำดับตามวันออกเหรียญจากออกก่อนไปยังออกหลัง
โดยเรียงจากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวา
คือเหรียญที่ออกก่อนจะอยู่แถวบนด้านซ้ายต่อจากท่อนหรือช่องของเหรียญเครื่องราชฯ
เรียงลำดับไปจนถึงเหรียญที่ออกหลังสุดจะอยู่แถวล่างสุดและขวาสุด
( แพรแถบย่อเหรียญเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 จะอยู่แถวล่างสุด-ขวาสุด ซึ่งจะมีริ้วสีขาวนวล 4 ริ้ว ริ้วสีเหลือง 3 ริ้ว โปรดดูภาพประกอบ )
3) ทำไมบางแผงมีน้อยแถว บางแผงมีหลายแถว
แผงแพรแถบย่อแต่ละแผง ส่วนใหญ่จะมี 3 ท่อน ( 3 ช่อง แทน 3 เหรียญ )
แต่ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีกี่ท่อน แล้วแต่ความสวยงาม-ความชอบ อาจมี 1-4 ท่อน
สำหรับเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกนั้น บุคคลทั่วไป ( ที่มีชีวิตในปีที่ออกเหรียญนั้น ) มีสิทธิประดับ ใครเกิดทันปีที่ออกเหรียญใด ก็มีสิทธิประดับเหรียญนั้นทุกคน
ประดับกี่เหรียญก็ได้ตามที่มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับความพอใจและความสวยงาม
สามารถสั่งทำแพรแถบย่อโดยระบุได้ว่าต้องการเหรียญใด/กี่ท่อน
ผู้ที่แผงอกไม่กว้าง การติดเหรียญหรือแพรแถบย่อที่มากเกินไปก็ทำให้ดูเทอะทะ ไม่สวย
( ผู้ชายยิ่งติดมากอาจจะยิ่งดูดี แต่ผู้หญิงมักจะตรงข้าม )
เหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกนี้ จะประดับท่อนเดียว เหรียญเดียว ก็ได้ จะไม่ประดับเลยซักเหรียญก็ได้ แต่ถ้าจะประดับ 2 เหรียญขึ้นไป ต้องเรียงลำดับให้ถูก
ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ-พนักงานราชการ แม้เพิ่งบรรจุใหม่ ๆ ยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ก็ประดับแพรแถบย่อเหนือกระเป๋าเสื้อชุดสีกากีได้ แต่เป็นแบบไม่มีช้างไม่มีมงกุฎ
4) ประชาชนทั่วไป-พ่อค้าคหบดี-ผู้รับจ้างเหมาบริการ ก็ประดับเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกได้
แต่ ก็ต้องประดับให้ถูกกับ งาน และใส่ชุดให้ถูก เช่น ประดับร่วมงานพิธีวันปิยมหาราชใช้แพรแถบย่อ ส่วนงานพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัวใช้เหรียญจริง
ชุด ที่ประดับได้ของประชาชนทั่วไป-พ่อค้าคหบดี-ผู้รับจ้างเหมาบริการ
- บุรุษ ประดับกับเครื่องแบบขอเฝ้า ( ชุดขาวราชประแตน เช่นเดียวกับชุดชาวข้าราชการทั่วไป แต่ที่ปกคอเสื้อใช้แผ่นทาบคอ กิ่งชัยพฤกษ์ประกอบด้วยใบข้างละ 5 ใบ แทนเครื่องหมายส่วนราชการ และไม่มีอินทรธนูที่บ่า กระดุมเสื้อเป็นกระดุมเกลี้ยงสีทอง )
- สตรีที่ไม่ใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะไม่มีเครื่องแบบขอเฝ้าที่เป็นชุดขาวเหมือนบุรุษ ให้ประดับกับ ชุดไทย คือชุดไทยจิตรลดา ไทยอมรินทร์ ไทยบรมพิมาน สีพื้น สวมถุงน่องไม่ให้เห็นผิวเนื้อเท้า
( แพรแถบย่อเหรียญเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 จะอยู่แถวล่างสุด-ขวาสุด ซึ่งจะมีริ้วสีขาวนวล 4 ริ้ว ริ้วสีเหลือง 3 ริ้ว โปรดดูภาพประกอบ )
3) ทำไมบางแผงมีน้อยแถว บางแผงมีหลายแถว
แผงแพรแถบย่อแต่ละแผง ส่วนใหญ่จะมี 3 ท่อน ( 3 ช่อง แทน 3 เหรียญ )
แต่ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีกี่ท่อน แล้วแต่ความสวยงาม-ความชอบ อาจมี 1-4 ท่อน
สำหรับเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกนั้น บุคคลทั่วไป ( ที่มีชีวิตในปีที่ออกเหรียญนั้น ) มีสิทธิประดับ ใครเกิดทันปีที่ออกเหรียญใด ก็มีสิทธิประดับเหรียญนั้นทุกคน
ประดับกี่เหรียญก็ได้ตามที่มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับความพอใจและความสวยงาม
สามารถสั่งทำแพรแถบย่อโดยระบุได้ว่าต้องการเหรียญใด/กี่ท่อน
ผู้ที่แผงอกไม่กว้าง การติดเหรียญหรือแพรแถบย่อที่มากเกินไปก็ทำให้ดูเทอะทะ ไม่สวย
( ผู้ชายยิ่งติดมากอาจจะยิ่งดูดี แต่ผู้หญิงมักจะตรงข้าม )
เหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกนี้ จะประดับท่อนเดียว เหรียญเดียว ก็ได้ จะไม่ประดับเลยซักเหรียญก็ได้ แต่ถ้าจะประดับ 2 เหรียญขึ้นไป ต้องเรียงลำดับให้ถูก
ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ-พนักงานราชการ แม้เพิ่งบรรจุใหม่ ๆ ยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ก็ประดับแพรแถบย่อเหนือกระเป๋าเสื้อชุดสีกากีได้ แต่เป็นแบบไม่มีช้างไม่มีมงกุฎ
4) ประชาชนทั่วไป-พ่อค้าคหบดี-ผู้รับจ้างเหมาบริการ ก็ประดับเหรียญเฉลิมพระเกียรติ/เหรียญที่ระลึกได้
แต่ ก็ต้องประดับให้ถูกกับ งาน และใส่ชุดให้ถูก เช่น ประดับร่วมงานพิธีวันปิยมหาราชใช้แพรแถบย่อ ส่วนงานพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัวใช้เหรียญจริง
ชุด ที่ประดับได้ของประชาชนทั่วไป-พ่อค้าคหบดี-ผู้รับจ้างเหมาบริการ
- บุรุษ ประดับกับเครื่องแบบขอเฝ้า ( ชุดขาวราชประแตน เช่นเดียวกับชุดชาวข้าราชการทั่วไป แต่ที่ปกคอเสื้อใช้แผ่นทาบคอ กิ่งชัยพฤกษ์ประกอบด้วยใบข้างละ 5 ใบ แทนเครื่องหมายส่วนราชการ และไม่มีอินทรธนูที่บ่า กระดุมเสื้อเป็นกระดุมเกลี้ยงสีทอง )
- สตรีที่ไม่ใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะไม่มีเครื่องแบบขอเฝ้าที่เป็นชุดขาวเหมือนบุรุษ ให้ประดับกับ ชุดไทย คือชุดไทยจิตรลดา ไทยอมรินทร์ ไทยบรมพิมาน สีพื้น สวมถุงน่องไม่ให้เห็นผิวเนื้อเท้า
4. เย็นวันที่
25 เม.ย.62 มีผู้ถามผมในกลุ่มไลน์สแควร์ กศน. ว่า สามารถลาออกจากการเป็นสมาชิก
ชพค.ได้ไหม แล้วเงินที่ส่งไปได้คืนไหม
ผมตอบว่า ลาออกได้ ( ไม่ได้ติดหนี้เงินกู้ใช่ไหม ) แต่เงินที่ส่งไปไม่ได้คืน เพราะเขานำไปให้ทายาทสมาชิกที่ถึงก็แก่กรรม
เดือนต่อเดือนไปแล้ว
5. คืนวันที่ 25 เม.ย.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ได้รับวุฒิ S.S.W.B. ขอสมัครตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือฯ ได้หรือไม่
5. คืนวันที่ 25 เม.ย.62 มีผู้ถามต่อท้ายโพสต์ของผมในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ได้รับวุฒิ S.S.W.B. ขอสมัครตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือฯ ได้หรือไม่
ผมตอบว่า ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด และผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
( รวมทั้งผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ ) ต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์
ดูรายละเอียดที่ http://www.scoutthailand.org/documents/gazette/inspector.pdf
6. วันที่ 2 พ.ค.62 มีผู้ถามในไลน์สแควร์กลุ่ม กศน. ว่า คนต่างด้าวทีาเข้าเมืองโดยถูกกฏหมาย(mou) ไม่มีใบท.ร.38/1 สามารถลงเรียนกศน.ได้หรือไม่
ดูรายละเอียดที่ http://www.scoutthailand.org/documents/gazette/inspector.pdf
6. วันที่ 2 พ.ค.62 มีผู้ถามในไลน์สแควร์กลุ่ม กศน. ว่า คนต่างด้าวทีาเข้าเมืองโดยถูกกฏหมาย(mou) ไม่มีใบท.ร.38/1 สามารถลงเรียนกศน.ได้หรือไม่
ผมตอบว่า เรื่องนี้ผมเคยโพสต์แล้ว เช่นในข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2018/05/gcode.html
ว่า ถ้าอ่านในประกาศ ศธ. ( ตามภาพประกอบโพสต์นี้ ) จะเข้าใจ
คือสิ่งสำคัญขอให้มีเลขประจำตัว 13 หลัก
1) หากมีเลขประจำตัว 13 หลัก ให้ดำเนินการตามขั้นตอนตามปกติของสถานศึกษา
( แบบ ท.ร.๓๘/๑ : “แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ” เป็นเพียงแบบหนึ่งที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งคนต่างด้าวบางประเภทอาจมีเอกสารอื่นที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ก็ได้ )
ถ้าไม่มี ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการกำหนดรหัสประจำตัวผู้เรียนตามที่ กศน.กำหนด ( รหัส G ) ไปจนกว่า นศ.จะได้เลขประจำตัว 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
( ดูวิธีการออกรหัส G ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2018/05/gcode.html )
2) เมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษารหัส G แล้ว สถานศึกษาต้องประสานผู้เรียน/ผู้ปกครอง ให้เขาไปขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เขาพักอาศัยอยู่ในท้องที่ใด ก็ไปขึ้นทะเบียนที่ฝ่ายทะเบียนของหน่วยงานมหาดไทยท้องที่นั้น
3) ถ้า นศ.ไปขึ้นทะเบียน ได้รับรหัสประจำตัว 13 หลัก จากหน่วยงานมหาดไทยมาแจ้งเราก่อนเรียนจบ เราต้องแก้รหัสประจำตัว 13 หลักในทะเบียนนักศึกษา ตามรหัสของมหาดไทย แทนรหัสที่ขึ้นต้นด้วย G
1) หากมีเลขประจำตัว 13 หลัก ให้ดำเนินการตามขั้นตอนตามปกติของสถานศึกษา
( แบบ ท.ร.๓๘/๑ : “แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ” เป็นเพียงแบบหนึ่งที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งคนต่างด้าวบางประเภทอาจมีเอกสารอื่นที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ก็ได้ )
ถ้าไม่มี ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการกำหนดรหัสประจำตัวผู้เรียนตามที่ กศน.กำหนด ( รหัส G ) ไปจนกว่า นศ.จะได้เลขประจำตัว 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
( ดูวิธีการออกรหัส G ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2018/05/gcode.html )
2) เมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษารหัส G แล้ว สถานศึกษาต้องประสานผู้เรียน/ผู้ปกครอง ให้เขาไปขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เขาพักอาศัยอยู่ในท้องที่ใด ก็ไปขึ้นทะเบียนที่ฝ่ายทะเบียนของหน่วยงานมหาดไทยท้องที่นั้น
3) ถ้า นศ.ไปขึ้นทะเบียน ได้รับรหัสประจำตัว 13 หลัก จากหน่วยงานมหาดไทยมาแจ้งเราก่อนเรียนจบ เราต้องแก้รหัสประจำตัว 13 หลักในทะเบียนนักศึกษา ตามรหัสของมหาดไทย แทนรหัสที่ขึ้นต้นด้วย G
คืนวันที่ 8 พ.ค.62
มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ถ้าเด็กเป็นต่างด้าว
แล้วเราลงเลขตัว G
แล้ว แต่เขายังไม่ไปติดต่อทำบัตรที่ สนง เขต จนถึวันจบ
สามารถออกวุฒิการศึกษา ลงเลขตัว G ในใบระเบียน ได้ไหมคะ
หรือต้องรอเลข 13 หลักจากมหาดไทย
ผมตอบว่า ออกใบวุฒิเป็นรหัส G ได้ (แต่ก็ควรพยายามย้ำให้เขาไปติดต่อทำบัตร)
ผมตอบว่า ออกใบวุฒิเป็นรหัส G ได้ (แต่ก็ควรพยายามย้ำให้เขาไปติดต่อทำบัตร)
7. เช้าวันที่
14 พ.ค.62 มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ตอนนี้การเทียบคุณสมบัติวุฒิทางธรนมที่พระมาสมัครเรียนเปลี่ยนแปลงไปมั้ยคะ
หลังมี พรบ. การศึกษาพระปริยัติธรรม 2561
ผมตอบว่า พรบ.นี้เพิ่งออกเดือนที่แล้ว (เม.ย.62 ไม่ใช่
61)
ดู พรบ.ที่ http://bit.ly/2VBDl2L มาตรา 22 ระบุว่า ผู้ที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ (ผมเข้าใจว่าปัจจุบันหมายถึงอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
ที่สำเร็จ
- ชั้นนักธรรมเอก มีวิทยฐานะระดับ ม.ต้น (เดิมนักธรรมเอก เทียบวุฒิระดับประถม)
- ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยค มีวิทยฐานะระดับ ม.ปลาย (เดิมเปรียญธรรม 3 ประโยค เทียบวุฒิระดับ ม.ต้น)
ผมไม่แน่ใจว่ารวมผู้ที่เรียนจบวุฒิทางธรรมอยู่ก่อน พรบ.นี้ออก ด้วยหรือไม่
ต้องถามกลุ่มพัฒนา กศน.นะครับ (ควรขอให้กลุ่มพัฒนา กศน.ศึกษาแล้วแจ้ง)
ดู พรบ.ที่ http://bit.ly/2VBDl2L มาตรา 22 ระบุว่า ผู้ที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ (ผมเข้าใจว่าปัจจุบันหมายถึงอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
ที่สำเร็จ
- ชั้นนักธรรมเอก มีวิทยฐานะระดับ ม.ต้น (เดิมนักธรรมเอก เทียบวุฒิระดับประถม)
- ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยค มีวิทยฐานะระดับ ม.ปลาย (เดิมเปรียญธรรม 3 ประโยค เทียบวุฒิระดับ ม.ต้น)
ผมไม่แน่ใจว่ารวมผู้ที่เรียนจบวุฒิทางธรรมอยู่ก่อน พรบ.นี้ออก ด้วยหรือไม่
ต้องถามกลุ่มพัฒนา กศน.นะครับ (ควรขอให้กลุ่มพัฒนา กศน.ศึกษาแล้วแจ้ง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย