วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เขียนชื่อ กศน.ตำบล และหน่วยงาน กศน.ต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ, การรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น, แนวข้อสอบ ศน., ออกจากประกันสังคม, คุมสอบคนเดียวได้ไหม, ชื่อรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ, คุณสมบัติสอบ ผอ.-รอง ผอ.



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


        
1. วันเสาร์ที่ 8 ก.พ.57 คุณประชิต หัวหน้า กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.จังหาร ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  กศน.ตำบล เขียนภาษาอังกฤษแบบไหน

             ผมตอบว่า
            
- ดูชื่อหน่วยงาน กศน.ภาษาอังกฤษ ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/stk.pdf
            
- ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง พ.ศ. 2553 ข้อ 3  ที่  http://www.nfe5110.com/acc/a2945142gorsornortambol.pdf   กำหนดชื่อเต็มของ กศน.ตำบลหรือแขวง คือ  "ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง"  จึงเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า  "ชื่อตำบล Sub-District Non-formal and Informal Education Centre"
            
- ถ้าเป็น กศน.อำเภอ เช่น กศน.อ.นครหลวง เขียนว่า  Nakhon Luang District Non-Formal and Informal Education Centre.
            
- ดูชื่อตำบล ภาษาอังกฤษ ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/Tambol.xls
            
- ดูชื่ออำเภอ-จังหวัด ภาษาอังกฤษ ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/nameprovincedistrict.pdf


         2. วันที่ 7 ก.พ.57 มีผู้ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ได้รับงบสนับสนุนหน่วยงานอื่น เช่นหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ต้องทำอย่างไร

             เรื่องนี้  ผมและเพื่อนในเฟซบุ๊ค เช่น ผอ.นงนุช ผอ.กศน.อ.งาว, คุณมัณฑนา หัวหน้า กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.อรัญประเทศ, คุณโสพิศ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ กศน.อ.พุนพิน  รวมกันตอบว่า
             - การรับเงินต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายตามระเบียบ และบันทึกสมุดทะเบียน และรายงานเงินคงเหลือประจำวัน   ผู้เซ็นชื่อรับเงินในใบเสร็จรับเงินต้องรับผิดชอบถ้าไม่บันทึกลงบัญชีและไม่มีหลักฐานเอกสารการเบิกจ่ายเหมือนเงินงบประมาณ  
( ปัจจุบัน ถ้าไม่มีการร้องเรียน สตง.จะไม่มีเวลาเข้าตรวจ กศน.อำเภอ จึงเกิดการหละหลวมกันมาก )
             - เจ้าหน้าที่การเงิน กศน.อำเภอ รับเช็คจากหน่วยงานอื่นที่สนับสนุนงบประมาณ โดยเจ้าหน้าที่การเงินอำเภอออกใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงานนั้น แล้วนำเช็คไปฝากเข้าบัญชีธนาคารของ กศน.อำเภอ เป็นเงินรายได้สถานศึกษา ( ถ้าจะเบิกจ่ายไม่ทันภายใน 15 วัน จึงจะต้องนำฝากจังหวัด )   ส่วนเจ้าของงานที่เกี่ยวข้องทำเรื่องขออนุมัติใช้จ่ายเงินจากผู้บริหาร กศน.อำเภอ จัดซื้อจัดจ้างตามโครงการที่ตกลงกับหน่วยงานนั้น เบิกจ่ายตามระเบียบเหมือนเงินงบประมาณทุกอย่าง โดยใช้แบบจัดซื้อจัดจ้างตามแบบของเรา

             - การบันทึกในทะเบียน
                 (1)  บันทึกในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ประเภท ... ... ( เช่นประเภทเงินอุดหนุน อบต.)  ช่องรับ จำนวนเงิน ... ... บาท  ( ถ้าฝากจังหวัด บันทึกช่องคงเหลือ เงินฝากจังหวัด ... ... บาท

                 (2)  บันทึกสมุดคู่ฝาก ช่องฝาก และออกยอดช่องคงเหลือ
                 (3)  รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
                 เมื่อจ่ายเงิน ถ้าถอนเงินจาก จว. ใช้ใบเบิกเงินฝาก
(คำขอถอน) โดยใช้หลักฐานการจ่าย ใบเสร้จรับเงินร้านค้า หลักฐานการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุ   บันทึกสมุดทะเบียนโดย
                 (1)  ทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงิน ... ... ช่องจ่าย จำนวนเงิน ... ... บาท (ที่เบิกจ่ายจริง อาจไม่เท่ากับจำนวนที่รับเงิน)   ช่องคงเหลือ ลดยอดเงินฝากจังหวัด
                 (2)  บันทึกสมุดคู่ฝาก ช่องถอน และลดยอดช่องคงเหลือ
                 (3)  รายงานเงินคงเหลือประจำวัน
                 สำหรับหน่วยงานอื่นที่ให้เงิน กศน.อำเภอ ถ้าเขาได้รับใบเสร็จรับเงินจาก กศน.อำเภอเป็นหลักฐานแล้ว ให้หลักฐานการจ่ายไว้ที่ กศน.อำเภอ รอการตรวจสอบตามปกติ   ถ้าหน่วยงานอื่นต้องการหลักฐานการจ่าย ให้ส่งหลักฐานชุดสำเนาไปให้ ส่วนต้นฉบับจริงเก็บไว้ที่ กศน.อำเภอ รอการตรวจสอบตามปกติ


         3. วันอาทิตย์ที่ 9 ก.พ.57 ผมเผยแพร่แนวข้อสอบ ศึกษานิเทศก์ ภาค ก. ของท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป.  ลงในเฟซบุ๊ค  ( แนวข้อสอบของ อ.จักราวุธ จะตรงกับข้อสอบของ กศน. มากกว่าแนวข้อสอบที่อื่น )

             ดูรายละเอียด ได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/DOC/testSN.docx


        4. วันเดียวกัน ( 9 ก.พ.) คุณนิยม โพธิ์ทอง ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  ถ้าเป็นครู กศน.ตำบล ที่จ่ายประกันสังคมมาแล้วสอบได้เป็นครูผู้ช่วย ซึ่งใช้สิทธิข้าราชการ  จะได้รับสิทธิประโยชน์ใดจากประกันสังคมบ้างไหม

             ผมร่วมตอบว่า
             1)  ถ้าลาออกไปบรรจุเป็นครูผู้ช่วย ยังสามารถส่งประกันสังคมต่อไปแบบสมัครใจ โดยต้องสมัครตามมาตรา 39  แต่ถ้าจะไม่สมัครตามมาตรา 39 ก็ไม่ต้องทำอะไร สิทธิจะคุ้มครองต่ออีก 6 เดือนใน 4 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย   และเมื่อนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบส่วนของเราติดต่อกัน 6 เดือน สิทธิของเราจะหมดไป เหลือเพียงเงินสงเคราะห์กรณีชราภาพเท่านั้น
                  ( การออกไปบรรจุเป็นข้าราชการ เขาจะไม่สมัครตามมาตรา 39 ต่อกัน เพราะจะขอจ่ายสมทบต่อเฉพาะเงินออมกรณีชราภาพไม่ได้ ต้องจ่ายรวมส่วนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งส่วนอื่น ๆ จะได้สิทธิ์คุ้มครองจากระบบข้าราชการที่ดีกว่าแล้ว )

             2)  กรณีไม่สมัครตามมาตรา 39 ต่อ
                  - จะได้คืนเฉพาะส่วนของเงินออมกรณีชราภาพ แต่จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์  โดยเมื่ออายุ 55 ปี สปส. จะมีหนังสือแจ้งให้ไปยื่นขอใช้สิทธิกรณีชราภาพ ส่งไปตามที่อยู่ของฐานทะเบียนราษฎร์ของเรา ถ้าเราไม่ได้พักอาศัยตามทะเบียนราษฎร์ก็อาจจะไม่ได้รับหนังสือ ต้องติดตามสอบถามเอง
                     ถ้าอยากรู้ว่าเงินออมกรณีชราภาพนี้มีอยู่เท่าไรแล้ว สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองที่ http://www.sso.go.th/wpr/login.jsp โดยถ้าเข้าเว็บครั้งแรกต้องสมัครสมาชิกใหม่ก่อน   ( กรณีชราภาพนี้ เริ่มมีการเก็บเงินสมทบเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 )
                  - เงินส่วนอื่น ๆ จะไม่ได้คืน เพราะ สปส.จ่ายเงินเหมาจ่ายส่วนของเราให้โรงพยาบาลไปทุกปีแล้ว


         5. วันที่ 11 ก.พ.57 คุณ “วาฬ ชานนท์ สมิธ” ถามสมาชิกในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  หากจะจัดสนามสอบปลายภาค กศ.ขั้นพื้นฐาน โดยใช้กรรมการกำกับห้องสอบ ห้องสอบละ 1 คน ได้หรือไม่ มีระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ หรือคู่มืออะไรรองรับมั้ย

             ผมตอบว่า   ตามหนังสือกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่ ศธ 1106/5409 ลงวันที่ 16 ส.ค.2536  ( หนังสือฉบับนี้เก่าแล้ว แต่ยังใช้ปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ ส่วนอัตราการจ่ายเงินจะไม่ใช้หนังสือฉบับนี้แล้ว )  กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า "กรรมการควบคุมการสอบ ห้องสอบละไม่เกิน 2 คน"  นั่นคือ ห้องสอบละ 1 คนได้  ( แต่ คงไม่เหมาะสมนะ )


         6. เย็นวันเดียวกัน ( 11 ก.พ.) ผมตอบคำถามคุณ Nima Jessadapha ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  จะออก รบ.เป็นภาษาอังกฤษให้นักศึกษา แต่ติดที่วิชาเลือก 2 วิชาที่ไม่มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ 1.วิชาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 2.วิชาอาเซียนศึกษา มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอะไร

             ผมตอบว่า
            
1)  วิชาพวกนี้เอามาจากไหน ก็ถามผู้พัฒนาหลักสูตรวิชานี้ ถ้าหาไม่ได้ก็ให้คนเก่งภาษาอังกฤษแปลให้เลย ( ทั้งอำเภอน่าจะมีคนเก่งภาษาอังกฤษนะ )
            
2)  วิชา "ความเป็นพลเมืองในระบอบบประชาธิปไตย" เอามาจากไหน ไม่มีในสารบบรายวิชา กศน.  วิชาเลือกที่คิดขึ้นเองต้องนำเข้าระบบของกลุ่มพัฒนา กศน. ให้ได้รหัสวิชาก่อน จึงจะใช้สอนได้นะ   เคยเห็นแต่วิชา สค02002 ความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย  ใช่ไหม   ถ้าแม้แต่ชื่อวิชาภาษาไทยยังเขียนผิด แปลเป็นภาษาอังกฤษก็คงถูกไปไม่ได้
            
3)  ตอนนี้ครู กศน.กำลังเรียนทางไกลวิชา อาเซียนศึกษากันไม่ใช่หรือ เอกสารประกอบการเรียนก็มีชื่อวิชาภาษาอังกฤษให้ ใช้ตามนั้นก็ได้
            
4)  วิชาอาเซียนศึกษาอาจแปลว่า ASEAN Studies   ส่วนวิชาความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย อาจแปลว่า Thailand Citizenship in a Democracy.


          7. เช้าวันที่ 14 ก.พ.57 ผมนำ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าสอบเป็น ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร, รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการสถานศึกษา ( กศน.อำเภอ/เขต ), รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  โดย ท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป.  ไปเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค 

             ดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/boss.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย