วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คศ.3 ขอสายสะพาย, โปรแกรมคิดคะแนนของกรรมการ สมศ.-ถ้ากรอกได้แปลว่าพร้อมรับการประเมินแล้ว-เข้าใจผิดประเมินโดยต้นสังกัด, เนื้อหาและแนวข้อสอบครูผู้ช่วย, ลงคะแนนเทียบระดับฯ, อัตราสอบผู้บริหาร, วิจัยในชั้นเรียน, สอบครูผู้ช่วยมีเส้นไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 23 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง คศ.3 ยื่นขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย ไม่ต้องรอเกษียณ  ว่า
             ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ( ป.ม.) ได้ตามบัญชี 41 ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ที่ระบุเงื่อนไขและระยะเวลาการขอพระราชทานไว้เพียง 2 ข้อ คือ
             1)  ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับชำนาญการพิเศษ
             2)  ได้ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
             ไม่มีเงื่อนไขที่ต้องรอถึงปีที่จะเกษียณ
             ดูบัญชี 41 นี้ ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/rach52.pdf
             แต่บัญชี 41 นี้ ใช้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ไม่ใช่ข้าราชการครู

             ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการ โดย ก.ค.ศ. ได้เสนอการเทียบตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กับ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ประเภทวิชาการ ตามหลักเกณฑ์บัญชี 41 เพื่อประโยชน์ในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ให้ ก.พ.อนุมัติการเทียบตำแหน่ง แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ โดยเทียบตำแหน่งครู/ศึกษานิเทศก์/รองผู้อำนวยการ/ผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ เท่ากับ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
             ดูตารางทียบตำแหน่งต่าง ๆ ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/relativeposition.pdf

             และได้หารือแนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชฯตามบัญชี 41  ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตอบข้อหารือมาแล้วตามหนังสือที่ นร 0508/พท 5298 ลงวันที่ 8 ก.ค.56   โดย สป.ศธ. ( กศน. ) ได้ส่งหนังสือตอบข้อหารือฉบับนี้มาให้ สนง.กศน.จ. ทุกจังหวัดแล้ว ตามหนังสือที่ ศธ 0210.118/2409 ลงวันที่ 24 ก.ค.56 ( ดาวน์โหลดได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/SashFullteacher.pdf )
             ระบุว่า  ให้ใช่บัญชี 41 ได้  แต่การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯชั้น ป.ม.ให้ข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่มีคุณสมบัติ
             1)  ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของอันดับ คศ.3 ( 53,080 บาท )
             2)  ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯชั้น ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
             ให้จัดทำบัญชีเสนอขอ ป.ม. แยกเป็น 3 ประเภท คือ
             - กรณีขอในปีที่เกษียณ
             - กรณีขอในปีก่อนปีที่จะเกษียณ
             - กรณีที่ไม่ใช่ปีที่เกษียณ หรือปีก่อนปีที่จะเกษียณ

             สรุปว่า  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ยื่นขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย ( ป.ม. ) ได้โดยไม่ต้องรอเกษียณ ซึ่งขอได้ตั้งแต่ปี 56
             แต่... ผลการขอปี 56 ที่ออกมาแล้ว ยังมีแต่ผู้บริหารที่เกษียณ ( ดูประกาศผลปี 56 ได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/B/030/1.PDF )
             ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ผู้บริหารและผู้ที่ยังไม่เกษียณ ไม่ทราบว่า ผลจะออกภายหลัง หรือว่าไม่ได้รับพระราชทาน !?

             อย่างก็ตาม กจ.กศน. บอกว่า ปี 2557 นี้ ก็จะให้จังหวัดเสนอขอไปอีก
             ประมาณเดือน เม.ย.- พ.ค.57 ก็ถึงเวลาขอพระราชทานเครื่องราชฯประจำปี 2557
             ใครที่คุณสมบัติครบ ควรบอก จนท.งานบุคลากร สนง.กศน.จ./กทม. ว่าอย่าลืมขอพระราชทาน ป.ม.ให้ด้วย คุณสมบัติครบคือ
             1)  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เงินเดือนถึง 53,050 บาท ตั้งแต่ ก่อนวันที่ 1 ต.ค.57  ( สำหรับผู้ที่จะเกษียณปีนี้ ถ้าเงินเดือนจะถึง 53,050 บาท ในวันที่ 1 ต.ค.57 ก็ขอปีนี้ )
             2)  ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธ.ค.57

             อนึ่ง การเทียบตำแหน่งนี้ เป็นการเทียบตำแหน่งเพื่อประโยชน์ในการใช้บัญชี 41  ซึ่งการเทียบตำแหน่งเพื่อเรื่องที่ต่างกัน ก็เทียบต่างกัน  จะนำการเทียบตำแหน่งแต่ละเรื่องไปใช้กับเรื่องอื่นไม่ได้  เช่น การเทียบตำแหน่งเพื่อบัญชี 41 กำหนดให้ครูทุกคนที่ยังไม่มีวิทยฐานะชำนาญการ เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการระดับ ปฏิบัติการเท่านั้น   แต่ถ้าเป็นการเทียบตำแหน่งเพื่อการแต่งเครื่องแบบฯ ถึงแม้ครูจะยังไม่ได้วิทยฐานะชำนาญการ ถ้าเงินเดือนถึงขั้นที่ 3 ของ คศ.1 ก็ให้เทียบเท่าข้าราชการพลเรือนระดับ ชำนาญการเลย
             เวลาที่มีผู้ถามเรื่องการเทียบตำแหน่ง ผมจึงต้องถามกลับว่าจะเทียบเพื่ออะไร เช่นเทียบเพื่อเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง
             บางคนเห็นว่า ก.พ. เทียบตำแหน่งบรรณารักษ์ชำนาญการไว้ระดับเดียวกับครูชำนาญการ ก็คิดว่า บรรณารักษ์ชำนาญการสามารถสมัครสอบเป็น ผอ.กศน.อำเภอได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด  การเทียบของ ก.พ.นั้น เป็นคนละเรื่องกับการเทียบตำแหน่งเพื่อเป็นคุณสมบัติเฉพาะในการกำหนดตำแหน่ง   คุณสมบัติเฉพาะของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้น ก.ค.ศ.ไม่ได้กำหนดให้บรรณารักษ์ชำนาญการเทียบเท่าครูชำนาญการหรือ อาจารย์ 2 ระดับ 7   แต่ ก.ค.ศ.กำหนดว่า "ถ้าเป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่น ต้องมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี"  ซึ่งตำแหน่ง "บรรณารักษ์" ไม่ใช่หัวหน้ากลุ่มตามกฎหมาย ฉะนั้นบรรณารักษ์ชำนาญการ หรือชำนาญการพิเศษ จึงสมัครสอบ ผอ.กศน.อำเภอ และ ผอ.กศน.จังหวัด ไม่ได้
             ( ดูการเทียบตำแหน่งเพื่อการแต่งเครื่องแบบ/การใช้อินทรธนู ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/gif/fromteacher2.gif
                และ  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/kp1.jpg )


       2. วันเสาร์ที่ 25 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องโปรแกรมคิดคะแนนของกรรมการ สมศ.-ถ้ากรอกได้แปลว่าพร้อมรับการประเมินแล้ว-เข้าใจผิดประเมินโดยต้นสังกัด  ในเฟซบุ๊ค ว่า 
             เอกสารสำหรับกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ทั้ง 3 รายการต่อไปนี้ ถึงแม้จะเป็นเอกสารสำหรับกรรมการใช้ แต่อยากให้ผู้ดูแลแต่ละมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ ทดลองกรอก เพราะถ้ากรอกได้ก็หมายความว่า จะสามารถให้ข้อมูลหรือตอบคำถามกรรมการได้ ซึ่งสรุปได้ว่า พร้อมแล้วที่จะรับการประเมินฯ
             1)  แบบรวบรวมข้อมูลภาคสนามการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=..%2F..%2Fupload%2Fdownload%2Fuploadfile%2F550-2832.doc&DownloadFile=550-2832.doc&DownloadID=550
             2Template โปรแกรมช่วยประมวลผลการประเมินรอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)(ปรับปรุง 25 กรกฎาคม 2556)
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=../../upload/download/uploadfile/480-2209.xls&DownloadFile=480-2209.xls&DownloadID=480
             3)  รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสามการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                  http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/download/download.php?LinkPath=..%2F..%2Fupload%2Fdownload%2Fuploadfile%2F547-1340.doc&DownloadFile=547-1340.doc&DownloadID=547

             โดยเฉพาะโปรแกรมช่วยประมวลผลฯนั้น เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป เมื่อกรอกข้อมูลลงไป 3 ปี โปรแกรมจะคำนวณออกมาเป็นคะแนนให้เอง  ถ้าเราลองกรอก เราจะรู้อะไรหลายอย่าง รู้ว่าเราต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

             ( เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในส่วนของการประเมินภายในโดยต้นสังกัด หลายอำเภอเข้าใจผิดคิดว่าคณะกรรมการจะใช้ข้อมูลตาม SAR ปีล่าสุด ปีเดียว ซึ่งที่ถูกแล้วกรรมการต้องใช้ข้อมูล 3 ปีจึงจะคำนวณคะแนนออกมาได้เช่นกัน   กว่าจะรู้ก็ถึงวันที่คณะกรรมการไปถึงแล้ว หาข้อมูล 3 ปีไม่ทันแล้ว
                ในเรื่องของการคำนวณตัวบ่งชี้ภายใน ที่ 1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ  กรรมการก็ใช้ข้อมูล 3 ปี ปรากฏว่าโปรแกรม ITw คำนวณของปี งปม.54 ผิด ( คะแนนเชิงปริมาณถูก แต่เชิงพัฒนาการผิด ) เพราะ ปี งปม.54 เชิงพัฒนาการต้องเปรียบเทียบระหว่าง ปี 54 กับปี 53  แต่ปี 53 ยังไม่มีค่าขีดจำกัดล่าง จึงเปรียบเทียบไม่ได้ โปรแกรม ITw ให้คะแนนพัฒนาการปี 54 เต็ม ซึ่งผิด  ที่ถูกนั้น ต้องมีคะแนนพัฒนาการเฉพาะปี 55 กับ 56 เฉลี่ยด้วยการรวมกัน 2 ปี แล้วหารด้วย 2 ไม่ใช่หารด้วย 3


         3. เช้าวันที่ 29 ม.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องเนื้อหาและแนวข้อสอบครูผู้ช่วย กศน. ฉบับสมบูรณ์ รวบรวมและเรียบเรียงโดย ผอ. รัฐเขต เชื้อมหาวัน ( ผอ.กศน.ข.บางรัก )  ว่า
             ผอ.รัฐเขต รวบรวมจากในอินเตอร์เน็ต มาเรียบเรียงให้ตรงตามหัวข้อ ตรงตามวิชาที่จะสอบ
             ในส่วนของกลุ่ม ภาค ก กับกลุ่ม ภาค ข จะมีทั้งเนื้อหาและแนวข้อสอบที่เฉลยในข้อเลย โดยแยกให้รู้ว่าแต่ละภาคให้ศึกษาเรื่องใดบ้าง

             ไฟล์ร้อยกว่าเม็กฯ บีบอัดเป็นไฟล์สกุล rar ไฟล์ใหญ่มาก บางคนที่ใช้คอมฯใช้เน็ตความเร็วต่ำ อาจมีปัญหาในการดาวน์โหลด
             สามารถดาวน์โหลดได้ 2 ที่
             1)  ที่  http://www.4shared.com/rar/xjV1dN_Wce/001.html  ( คลิกที่ปุ่ม ดาวน์โหลดปุ่มเล็ก แล้วคลิกที่ ดาวน์โหลดฟรี” ... ... )
             2)  ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/testHelpTeacher.rar  ( อาจใช้เวลาดาวน์โหลดนานเป็นชั่วโมง )


         4. วันที่ 4 ก.พ.57 “เสรีชน คนแคมของ” ครู กศน.ตำบล ที่ กศน.อ.ธาตุพนม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ไฟล์คะแนนสอบเทียบระดับ ที่สำนักส่งให้ เป็นไฟล์เอ็กเซล แต่ต้องใส่รหัสผ่าน รหัสผ่านคืออะไร

             เรื่องนี้  คุณวรวุฒิ บัวสด สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา  บอกว่า  นำเข้าโปรแกรมเทียบระดับฯได้เลย ไม่ต้องใส่รหัสผ่าน   แต่ถ้าจะเปิดดูไฟล์ในระบบวินโดว์ จึงจะต้องใส่รหัสผ่าน และเขาก็ไม่บอกรหัสผ่านด้วย กลัวว่าเราเข้าไปดูไฟล์คะแนนได้แล้วจะมีการแก้ไขคะแนนก่อนนำเข้าโปรแกรมเทียบระดับ  ( ให้นำเข้าโปรแกรมฯเลย ห้ามแก้ไขคะแนน )


         5. คืนวันที่ 4 ก.พ.57 ผมนำข้อมูลอัตราว่างในการจะสอบผู้บริหาร กศน. จากท่าน อ.จักราวุธ ผู้แทน ขรก.ครูใน อ.ก.ค.ศ. สป. ไปเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค  ดังนี้

             ก)  ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม.

                   1)  รอง.ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัด (4 อัตรา)  แยกเป็น
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 2 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 2 อัตรา
                   2)  ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัด (13 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที - อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 6 อัตรา  รวมเป็น 6 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 6 อัตรา  รวมเป็น 7 อัตรา

             ข)  การสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา และ รอง ผอ.สถานศึกษา พื้นที่ปกติ นอกเหนือจากเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้
                   1)  รอง.ผอ.สถานศึกษา (14 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 6 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก – อัตรา  รวมเป็น 6 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 7 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 1 อัตรา  รวมเป็น 8 อัตรา
                   2)  ผอ.สถานศึกษา (74 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 34 อัตรา  รวมเป็น 36 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 36 อัตรา  รวมเป็น 38 อัตรา

             ค)  การสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา และ รอง ผอ.สถานศึกษา พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา
                   1)  รอง.ผอ.สถานศึกษา (1 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที - อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก - อัตรา  รวมเป็น - อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก – อัตรา  รวมเป็น 1 อัตรา
                   2)  ผอ.สถานศึกษา (7 อัตรา)
                       - กลุ่มทั่วไป  แต่งตั้งทันที 1 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 2 อัตรา  รวมเป็น 3 อัตรา
                       - กลุ่มประสบการณ์  แต่งตั้งทันที 2 อัตรา และคาดว่าจะว่างจากการเกษียณ 2 ปีอีก 2 อัตรา  รวมเป็น 4 อัตรา


         6. ถ้ากรรมการประเมินฯภายนอก ถามครูว่า งานวิจัยในชั้นเรียนของครู มีที่มาอย่างไร ( เช่น ทำไมทำวิจัยเรื่องนั้น ) ครูจะตอบว่าอย่างไร    ( คำตอบหลัก ๆ คือมาจากปัญหาในชั้นเรียน แต่อาจมีที่มาจากทางอื่นได้ด้วย )

             ตอนดึกวันที่ 4 ก.พ.57 คุณ Sulkiflee Sama-ae ให้ข้อมูลที่น่าสนใจในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เกี่ยวกับเรื่อง “วิจัยในชั้นเรียน ส่วนหนึ่งที่ได้รับคำแนะนำจาก สมศ./กศน. ( เพิ่งผ่านการประเมินมา )” ว่า
             1)  วิจัยในชั้นเรียน ต้องทำบันทึกการสอน/ระบุปัญหาที่เกิด/มี นศ. ที่มีปัญหา
             2)  เลือก 1 ปัญหาที่ บันทึกหลังการสอนมาทำวิจัย
             3)  เช่น นาย ก และ นาย จ มีปัญหาการเขียนคำสะกดภาษาไทย ครูเลยทำวิจัยเรื่องแบบฝึกเขียนการสะกด
             4)  ทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 2 คน จากกี่คนที่ลงทะเบียน
             5)  มีแบบฝึก / ผลการฝึกของ นาย ก และนาย จ / เทียบ ก่อน-หลัง
             6)  บทสรุปการวิจัย เปรียบเทียบว่า ก่อน-หลังเป็นอย่างไร
             7)  ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนมีมาก หาได้ใน google เอาที่สอดคล้องมาเป็นแนว  ( ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/Compressrd/researchClassroomWord.rar ก็มีตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน มากมาย เป็นไฟล์ Word สามารถปรับแก้ได้ )
             8)  ทำย้อนหลัง 3 ปี


         7. วันเสาร์ที่ 8 ก.พ.57 ผมเผยแพร่เรื่อง สอบครูผู้ช่วย กศน.มีเส้นไหม ในเฟซบุ๊ค  ดังนี้
             คนที่เคยสอบไม่ได้ก็บอกว่ามีเส้น
             พวกที่สอบได้ ย่อมรู้ดีกว่า ว่า ตนเองต้องใช้เส้นหรือไม่
             ลองดูตัวอย่างคำพูดของครูผู้ช่วย กศน. ที่สอบได้ครั้งที่แล้ว

             1)  คุณนาวี ผู้สอบครูผู้ช่วย กศน. ครั้งที่แล้ว ได้บรรจุทันทีชุดแรก  บรรจุที่ กศน.เขตป้อมปราบฯ บอกว่า  ตอนครั้งแรกที่คิดจะสอบผมเองก็คิดเหมือนหลายคนว่าเปิดสอบภายในมี้เส้นแน่นอน แต่ผมคิดผิดครับ เรื่องเส้นสายขอบอกเลยว่าในยุคท่านเลขาฯ ประเสริฐ บุญเรือง ไม่คิดว่าจะมีครับ ถ้ามีผมคงไม่ได้มาอยู่ที่ตรงจุดนี้ ทั้งที่ผมเป็นลูกตาสี หลานยายสา ไม่มีคนใหญ่หรือแบล็คหนุนหลัง และยังได้อันดับต้น ๆ ด้วย คนที่คิดจะสอบอย่ากลัวครับ ...
             2)  คุณ “Tuesday Mju” บอกว่า  "เป็นอีกคนค่ะ ที่ผ่านการสอบครูผู้ช่วย บรรจุ 15 กพ. 2555 นั่งยัน นอนยัน และยืนยันค่ะ ว่า โดยส่วนตัวที่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ และตัวเองสอบบรรจุได้ครูผู้ช่วย ไม่มีเส้นแน่คะ พวกเราทุกคนตั้งใจทำ ตั้งใจอ่าน ทุกคนมีภาระครอบครัวค่ะ ลูกเล็ก ไม่มีใครดูแล งานบ้านทั้งหมดอยู่ที่เรา  เวลาทำงาน ทำงานค่ะ เวลาเย็นทำงานบ้าน เวลาอ่านหนังสือ คือ สี่ทุ่ม ถึง ตีสาม เป็นแบบนี้ทุกวัน  คุณอย่ามาว่าใครใช้เส้น กรุณาดูว่าคุณเองพยายามดีที่สุดแล้วหรือยังจะดีกว่าค่ะ"
             3)  คุณ “Kung Mu Thadinjan” บอกว่า  "ไม่เห็นต้องใช้เส้นสายเลยค่ะ เป็นครูผู้ช่วยมาครบสองปีแล้ว จำได้ว่าก่อนสอบอ่านหนังสือ ก็แค่นั้นเอง"
             4)  คุณกฤติยา กศน.อ.พนัสนิคม ( อดีตครูอาสาฯ ) บอกว่า  "ให้กำลังใจทุกท่านที่จะสอบนะคะ พึ่งตัวเองก่อนนะคะ อย่าเพิ่งนึกถึงวาสนา สู้ๆ นะคะ เหนื่อยจากงานก็นอนให้อิ่มเพราะร่างกายเราล้า ตื่นมาอ่านตีสามแทบทุกวัน และต้องตั้งใจทำงาน มันเป็นบุญนะคะ ข้อสอบอยู่ในงานที่คุณตั้งใจทำทั้งนั้น"
             5)  คุณธีรตา “Theerata Uttaman” ครูผู้ช่วย ( อดีตครูอาสาฯ ) บอกว่า  "ลูกตาสีตาสาชาวบ้านธรรมดา...เข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น..ไม่เคยมีเส้นมีสายอะไรเลย...แต่...ไม่เคยดูถูกตัวเอง..และไม่ดูถูกข้อสอบ...ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเนื้องานที่เราทำ...ถ้างานไหนยังไม่รู้..อ่านเลยค่ะ..อ่านให้เข้าใจ..มองให้ทะลุ...เวลาทำข้อสอบก็ตีโจทย์ให้แตก..วิเคราะห์ว่าข้อสอบวัดอะไร... ขอเป็นกำลังให้ทุกท่านที่จะสอบครูผู้ช่วยนะคะ..."
             6)  คุณ Yawaluck Soblansawat กศน.สมุทรปราการ บอกว่า  "ลูกชาวนา เลือด กศน. เป็นครูดอย แค่อ่านหนังสือใต้แสงไฟดวงเล็กๆ จดทุกสิ่งที่จะลืม จำทุกอย่างที่คิดว่าใช่.. ไม่เคยมีเส้นที่ไหนช่วย ท้ังตอนสอบและเลือกพื้นที่ ..ไม่เคยมีใครใช้เส้น ใช้ความสามารถล้วนๆๆ"
             7)  คุณเปมิกา กศน.อ.บางบ่อ บอกว่า  "คืนวันสอบวันสุดท้ายของภาค ข. จำได้ว่าอ่านหนังสือยันเช้า แม้แต่ตอนเข้าห้องน้ำ..หลังชนฝา..อ่านจนถึงวินาทีสุดท้าย..จริงๆค่ะ..ไร้เส้น...มีแต่น้ำยา..ขอฝากไว้..จากครูผู้ช่วย..อีกคน"


1 ความคิดเห็น:

  1. จบต่างประเทศครับสมัยที่กลับมาแปลวุฒิม.6 มีนายกชวนหลีกภัยเป็นนายก ตอนนี้สมัครงานโรงแรมBanyantree Hotel และNovotel Hotel จำอป็นไหมครับต้องขอเอกสารเพิ่มเติ่มม.3เข้ากพ.

    ตอบลบ

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย