สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง
ดังนี้
1. เย็นวันที่ 3 เม.ย.57 คุณเอมอร กศน.อ.เมืองชลบุรี ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กรณีผู้เข้าประเมินเทียบระดับสูงสุด รุ่นที่ 1/2556 (ผู้เข้าประเมินเก่าที่สอบไม่ผ่าน) ลงทะเบียนไม่ทันในรุ่นที่ 2/2556 จะสามารถลงทะเบียนในรุ่นที่ 3 ได้หรือไม่
1. เย็นวันที่ 3 เม.ย.57 คุณเอมอร กศน.อ.เมืองชลบุรี ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กรณีผู้เข้าประเมินเทียบระดับสูงสุด รุ่นที่ 1/2556 (ผู้เข้าประเมินเก่าที่สอบไม่ผ่าน) ลงทะเบียนไม่ทันในรุ่นที่ 2/2556 จะสามารถลงทะเบียนในรุ่นที่ 3 ได้หรือไม่
ผมตอบว่า ได้ จะเว้นแล้วไปลงทะเบียนรุ่นไหนก็ได้
( แต่สะสมได้แค่ 5 ปี )
2. วันที่ 4 เม.ย.57 คุณพิชญานิน ขรก.ครู กศน.อ.ระโนด ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า นักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ขอให้ใช้ชื่อใหม่ในใบ รบ. จะทำได้หรือไม่
2. วันที่ 4 เม.ย.57 คุณพิชญานิน ขรก.ครู กศน.อ.ระโนด ถามผมทางโทรศัพท์ ว่า นักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ขอให้ใช้ชื่อใหม่ในใบ รบ. จะทำได้หรือไม่
ผมตอบว่า เมื่อนักศึกษาเปลี่ยนชื่อ
ก็ต้องนำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ มายื่นขอเปลี่ยนชื่อ นายทะเบียนฯก็ต้องตรวจสอบหลักฐานการเปลื่อนชื่อ
ดูว่าเปลี่ยนวันที่เท่าไร ถ้าเปลี่ยนชื่อหลังวันอนุมัติจบหลักสูตร
เราจะเปลี่ยนชื่อให้ไม่ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนชื่อก่อนวันจบ
เราก็เปลี่ยนชื่อให้เขา
3. คืนวันเดียวกัน ( 4 เม.ย.) มีผู้ถามต่อท้ายที่ผมโพสต์เรื่องเงิน 15,000 ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ครู ศรช.ที่ยกระดับมาจากครูประจำกลุ่ม มีสิทธิ์จะได้เงิน 15,000 ไหม ผอ.ไม่ยอมให้มีเด็กครบ 60 คน กันไว้ บอกไม่มีเงิน ทั้งๆที่มีเด็กจะเรียนเกิน 60 คน แต่ให้จัดตั้งไม่ให้เกิน 50 คนเท่านั้น แล้วอย่างนี้หนูจะมีโอกาสได้รับเงินเดือน 1,5000 ไหม ทำงานเท่ากันกับครู กศน.ตำบล แต่ได้รับเงินเดือนยังไม่เท่าค่าแรงขั้นต่ำเลย
3. คืนวันเดียวกัน ( 4 เม.ย.) มีผู้ถามต่อท้ายที่ผมโพสต์เรื่องเงิน 15,000 ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า ครู ศรช.ที่ยกระดับมาจากครูประจำกลุ่ม มีสิทธิ์จะได้เงิน 15,000 ไหม ผอ.ไม่ยอมให้มีเด็กครบ 60 คน กันไว้ บอกไม่มีเงิน ทั้งๆที่มีเด็กจะเรียนเกิน 60 คน แต่ให้จัดตั้งไม่ให้เกิน 50 คนเท่านั้น แล้วอย่างนี้หนูจะมีโอกาสได้รับเงินเดือน 1,5000 ไหม ทำงานเท่ากันกับครู กศน.ตำบล แต่ได้รับเงินเดือนยังไม่เท่าค่าแรงขั้นต่ำเลย
ผมตอบว่า ครู ศรช.ที่นักศึกษาไม่ครบ 60 คน ก็ต้องเบิกเป็นรายหัว ๆ ละ 150 บาท/เดือน
ไม่ใช่เบิกตามวุฒิ ( 15,000 ) เป็นการบริหารจัดการของผู้บริหารที่ไม่ถึงกับผิดระเบียบ
4. คืนวันที่ 8 เม.ย.57 คุณ “Tamtam Tiemsan” ถามในกลุ่มครูนอกระบบ ว่า นักศึกษา กศน.ที่เรียนในระดับ ม.ปลาย สามารถสอบ get pet ได้ไหม
4. คืนวันที่ 8 เม.ย.57 คุณ “Tamtam Tiemsan” ถามในกลุ่มครูนอกระบบ ว่า นักศึกษา กศน.ที่เรียนในระดับ ม.ปลาย สามารถสอบ get pet ได้ไหม
ผมตอบว่า จบ กศน.มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าจบในระบบโรงเรียน
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครสอบ GAT PAT คือผู้ที่
1) จบ ม.6 ( ม.4-5 สมัครไม่ได้ )
2) เด็กซิ่ล สมัครได้
3) จบสายอาชีพ ปวช. ปวส. สมัครได้
4) จบ กศน.ม.ปลาย สมัครได้
5. เย็นวันที่ 9 เม.ย.57 มีผู้ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า จ.หนองคาย ไม่ให้บรรณารักษ์จ้างเหมาฯ เบิกค่าปฏิบัติงานเปิดห้องสมุดฯนอกเวลาฯ เกินเดือนละ 500 บาท และไม่ให้เบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาในงานอื่น ๆ จึงขอถามว่า จะเบิกเกินเดือนละ 500 บาท และจะเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาในงานอื่น ๆ ได้หรือไม่
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครสอบ GAT PAT คือผู้ที่
1) จบ ม.6 ( ม.4-5 สมัครไม่ได้ )
2) เด็กซิ่ล สมัครได้
3) จบสายอาชีพ ปวช. ปวส. สมัครได้
4) จบ กศน.ม.ปลาย สมัครได้
5. เย็นวันที่ 9 เม.ย.57 มีผู้ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า จ.หนองคาย ไม่ให้บรรณารักษ์จ้างเหมาฯ เบิกค่าปฏิบัติงานเปิดห้องสมุดฯนอกเวลาฯ เกินเดือนละ 500 บาท และไม่ให้เบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาในงานอื่น ๆ จึงขอถามว่า จะเบิกเกินเดือนละ 500 บาท และจะเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาในงานอื่น ๆ ได้หรือไม่
เรื่องนี้ อ.สกุลนา
หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ตอบว่า ที่ว่าเดือนละ
500 บาทนั้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณเมื่อ 2-3
ปีก่อน ซึ่งในการเบิกจ่าย ถ้าผู้บริหารเห็นว่ามีความจำเป็น
และมีงบประมาณเพียงพอ ก็ให้เบิกจ่ายเกินเดือนละ 500 บาทได้
( ปัจจุบันก็ไม่ได้กำหนดเรื่องเดือนละ 500 บาทแล้ว
) ส่วนเรื่องการทำงานนอกเวลาในงานอื่นที่ไม่ใช่งานห้องสมุด
ก็ต้องดูความจำเป็นว่าทำไมต้องให้บรรณารักษ์จ้างเหมาฯไปช่วยทำงานอื่นนอกเวลา
ซึ่งก็อาจจะมีความจำเป็นจริงก็ได้ เช่นต้องระดมคนช่วยกันทำงานอื่นในบางกรณี
สรุปว่า ขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็น และ งบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ โดยอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารเห็นว่ามีความจำเป็น และมีเงินมากพอก็ให้เบิกจ่ายได้ รวมทั้งเบิกจ่ายงบอื่นในการทำงานอื่นได้ ( ทำงานใด ก็ให้เบิกงบงานนั้น ) ไม่มีระเบียบห้าม
6. การประเมินภายนอก ปี 57 ระยะที่สอง ที่จะประเมินในช่วง พ.ค.-ก.ค.57 นี้ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักศึกษา และครู กศ.ขั้นพื้นฐาน จะดูข้อมูล 3 ปีการศึกษาย้อนหลัง คือ ปีการศึกษา 2556 ( 1/56+2/56 ), 2555 (1/55+2/55) และ 2554 ( 1/54+2/54 )
เฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน สมศ.จะใช้คะแนน N-NET ของภาคเรียนที่ 1/55, 2/55, 1/56 และ 2/56 โดย สมศ.จะรับข้อมูลตรงจาก สทศ.มาคำนวณเอง ไม่ได้ดูจากที่เราคำนวณ
เราไม่จำเป็นต้องคำนวณไว้ แต่ถ้าเราอยากรู้ผลล่วงหน้า ก็คำนวณเองได้ คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/OTHER/indicator5-1.xls
โปรแกรมนี้ใช้ไม่ยาก เพียงแค่หาตัวเลข “จำนวนผู้เข้าสอบ” กับ “จำนวนผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง” ไปใส่ในช่องสีเขียวเท่านั้น ค่าคะแนนต่าง ๆ ของ ตบช.ที่ 5.1 ก็จะปรากฏขึ้นมา โดย
1) “จำนวน” ที่จะกรอกในช่อง “ข้อมูลปีปัจจุบัน” ให้นำจำนวนในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปี กศ.2556 รวมกัน เช่น สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับประถม ถ้ามีจำนวนผู้เข้าสอบภาค 1/56 = 999 คน, ภาค 2/56 = 1,000 คน ให้นำตัวเลข 1,999 มากรอกในช่องจำนวนผู้เข้าสอบ ปีปัจจุบัน ( จำนวนผู้เข้าสอบนี้ เป็นจำนวนเฉพาะอำเภอ ไม่ใช่จำนวนทั้งประเทศ )
2) “จำนวน” ที่จะกรอกในช่อง “ข้อมูล 1 ปีย้อนหลัง” ให้นำจำนวนในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปี กศ.2555 รวมกัน ( ยกเว้นระดับประถม ให้ใช้ข้อมูลภาค 2/55 เพียงภาคเดียว เพราะภาค 1/55 ยังไม่มีการสอบ N-NET ในระดับประถม )
3) “จำนวนผู้เรียนที่มีผลการทดสอบระดับดี” หมายถึง จำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง
4) การนับจำนวนผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ตามตัวบ่งชี้ที่ 5.1 นี้ ต้องรวมเฉลี่ยคะแนนหลายวิชาของแต่ละคนให้เป็นคะแนนแต่ละสาระก่อน
- สาระความรู้พื้นฐาน ต้องรวม 4 วิชา แล้วหารด้วย 4 เสร็จแล้วจึงนำไปเทียบกับค่าขีดจำกัดล่าง ว่ามากกว่าขีดจำกัดล่างหรือไม่
- สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต และสาระการพัฒนาสังคม มีสาระละ 3 วิชา ต้องรวม 3 วิชา แล้วหารด้วย 3
- สาระทักษะการเรียนรู้ มีวิชาเดียว ไม่ต้องรวม ไม่ต้องหาร
ดูค่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ภาคเรียนที่ 1/55, 2/55, 1/56 และ 2/56 ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/DOC/lowerlimit1-55-2-56.docx ( ขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ที่ใช้ประเมินฯภายนอกนี้ คนละอย่างกับขีดจำกัดล่างของคะแนนปลายภาคที่ใช้ประเมินฯภายใน จะนำขีดจำกัดล่างนี้ไปใช้ทำ SAR ไม่ได้ )
อย่างไรก็ตาม การหา “จำนวนผู้เข้าสอบ” กับ “จำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง” นี้ ต้องใช้เวลามาก ถ้าไม่อยากรู้ผลล่วงหน้าก็ไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ เพราะ สมศ.จะคำนวณเองโดยขอข้อมูลจาก สทศ.โดยตรง
7. วันที่ 10 เม.ย.57 คุณ “Waritsara Nantakaiw” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การประเมินคุณธรรมผู้เรียน ในโปรแกรมยังมี 9 ข้ออยู่ แต่เราประกาศใช้ 11 ข้อไปแล้ว จะมีผลต่อการวัดผลประเมินผลหรือการประเมินภายนอกหรือเปล่า
สรุปว่า ขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็น และ งบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ โดยอยู่ที่ดุลยพินิจของผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารเห็นว่ามีความจำเป็น และมีเงินมากพอก็ให้เบิกจ่ายได้ รวมทั้งเบิกจ่ายงบอื่นในการทำงานอื่นได้ ( ทำงานใด ก็ให้เบิกงบงานนั้น ) ไม่มีระเบียบห้าม
6. การประเมินภายนอก ปี 57 ระยะที่สอง ที่จะประเมินในช่วง พ.ค.-ก.ค.57 นี้ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักศึกษา และครู กศ.ขั้นพื้นฐาน จะดูข้อมูล 3 ปีการศึกษาย้อนหลัง คือ ปีการศึกษา 2556 ( 1/56+2/56 ), 2555 (1/55+2/55) และ 2554 ( 1/54+2/54 )
เฉพาะตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน สมศ.จะใช้คะแนน N-NET ของภาคเรียนที่ 1/55, 2/55, 1/56 และ 2/56 โดย สมศ.จะรับข้อมูลตรงจาก สทศ.มาคำนวณเอง ไม่ได้ดูจากที่เราคำนวณ
เราไม่จำเป็นต้องคำนวณไว้ แต่ถ้าเราอยากรู้ผลล่วงหน้า ก็คำนวณเองได้ คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/OTHER/indicator5-1.xls
โปรแกรมนี้ใช้ไม่ยาก เพียงแค่หาตัวเลข “จำนวนผู้เข้าสอบ” กับ “จำนวนผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง” ไปใส่ในช่องสีเขียวเท่านั้น ค่าคะแนนต่าง ๆ ของ ตบช.ที่ 5.1 ก็จะปรากฏขึ้นมา โดย
1) “จำนวน” ที่จะกรอกในช่อง “ข้อมูลปีปัจจุบัน” ให้นำจำนวนในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปี กศ.2556 รวมกัน เช่น สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับประถม ถ้ามีจำนวนผู้เข้าสอบภาค 1/56 = 999 คน, ภาค 2/56 = 1,000 คน ให้นำตัวเลข 1,999 มากรอกในช่องจำนวนผู้เข้าสอบ ปีปัจจุบัน ( จำนวนผู้เข้าสอบนี้ เป็นจำนวนเฉพาะอำเภอ ไม่ใช่จำนวนทั้งประเทศ )
2) “จำนวน” ที่จะกรอกในช่อง “ข้อมูล 1 ปีย้อนหลัง” ให้นำจำนวนในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปี กศ.2555 รวมกัน ( ยกเว้นระดับประถม ให้ใช้ข้อมูลภาค 2/55 เพียงภาคเดียว เพราะภาค 1/55 ยังไม่มีการสอบ N-NET ในระดับประถม )
3) “จำนวนผู้เรียนที่มีผลการทดสอบระดับดี” หมายถึง จำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง
4) การนับจำนวนผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ตามตัวบ่งชี้ที่ 5.1 นี้ ต้องรวมเฉลี่ยคะแนนหลายวิชาของแต่ละคนให้เป็นคะแนนแต่ละสาระก่อน
- สาระความรู้พื้นฐาน ต้องรวม 4 วิชา แล้วหารด้วย 4 เสร็จแล้วจึงนำไปเทียบกับค่าขีดจำกัดล่าง ว่ามากกว่าขีดจำกัดล่างหรือไม่
- สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต และสาระการพัฒนาสังคม มีสาระละ 3 วิชา ต้องรวม 3 วิชา แล้วหารด้วย 3
- สาระทักษะการเรียนรู้ มีวิชาเดียว ไม่ต้องรวม ไม่ต้องหาร
ดูค่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ภาคเรียนที่ 1/55, 2/55, 1/56 และ 2/56 ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/DOC/lowerlimit1-55-2-56.docx ( ขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ที่ใช้ประเมินฯภายนอกนี้ คนละอย่างกับขีดจำกัดล่างของคะแนนปลายภาคที่ใช้ประเมินฯภายใน จะนำขีดจำกัดล่างนี้ไปใช้ทำ SAR ไม่ได้ )
อย่างไรก็ตาม การหา “จำนวนผู้เข้าสอบ” กับ “จำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนมากกว่าขีดจำกัดล่าง” นี้ ต้องใช้เวลามาก ถ้าไม่อยากรู้ผลล่วงหน้าก็ไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ เพราะ สมศ.จะคำนวณเองโดยขอข้อมูลจาก สทศ.โดยตรง
7. วันที่ 10 เม.ย.57 คุณ “Waritsara Nantakaiw” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การประเมินคุณธรรมผู้เรียน ในโปรแกรมยังมี 9 ข้ออยู่ แต่เราประกาศใช้ 11 ข้อไปแล้ว จะมีผลต่อการวัดผลประเมินผลหรือการประเมินภายนอกหรือเปล่า
ผมตอบว่า หลักสูตรกำหนดให้ต้องผ่านคุณธรรม 9 ประการ ส่วนที่เกิน 9 ประการนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขการจบหลักสูตร ลองอ่านคำตอบเก่าในข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/543949
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย