สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันเสาร์ที่ 10 พ.ค.57 คุณ “Kungking Woraweerin” กศน.อ.พาน ( แผ่นดินไหว 5 พ.ค.57 กศน.อ.พาน ปลอดภัยดี แต่ กศน.ตำบลมีร้าวบ้าง ข้าวของเสียหายเล็กน้อย ) ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นักศึกษาระดับ ม.ปลายเหลือหน่วยกิตที่จะต้องลงทะเบียน 26 หน่วยกิต ก็จะสำเร็จการศึกษา สามารถลงเต็มทั้ง 26 หน่วยในภาคเรียนนี้ได้หรือไม่ ซึ่งตามระเบียบให้ลงได้คือ ประถมไม่เกิน 14 หน่วยกิต ม.ต้น 17 หน่วยกิต และม.ปลาย 23 หน่วยกิต ที่นี่ถกเถียงกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว
1. วันเสาร์ที่ 10 พ.ค.57 คุณ “Kungking Woraweerin” กศน.อ.พาน ( แผ่นดินไหว 5 พ.ค.57 กศน.อ.พาน ปลอดภัยดี แต่ กศน.ตำบลมีร้าวบ้าง ข้าวของเสียหายเล็กน้อย ) ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นักศึกษาระดับ ม.ปลายเหลือหน่วยกิตที่จะต้องลงทะเบียน 26 หน่วยกิต ก็จะสำเร็จการศึกษา สามารถลงเต็มทั้ง 26 หน่วยในภาคเรียนนี้ได้หรือไม่ ซึ่งตามระเบียบให้ลงได้คือ ประถมไม่เกิน 14 หน่วยกิต ม.ต้น 17 หน่วยกิต และม.ปลาย 23 หน่วยกิต ที่นี่ถกเถียงกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว
ผมตอบว่า ถ้าเป็นนักศึกษาที่มีการเทียบโอนผลการเรียน หรือเคยสอบไม่ผ่าน ได้เกรด 0 นักศึกษารายนั้น “เฉพาะภาคเรียนสุดท้าย” ก็ยังสามารถเรียนมากกว่าที่กำหนดได้อีก 3 หน่วยกิต เพื่อให้จบพร้อมเพื่อนรุ่นเดียวกันได้ เป็นไปตามข้อ 2. ในหนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนมาก ที่ ศธ 0210.03/3805 ลงวันที่ 26 ต.ค.53
ถึงแม้หนังสือนี้จะเก่าแล้ว ตั้งแต่ปี 53 แต่ในข้อ 2. ของหนังสือฉบับนี้ ไม่ได้ระบุว่าใช้เฉพาะภาคใดภาคเดียว ฉะนั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับใหม่กว่า ที่กำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อกำหนดนี้ก็ยังมีผลใช้ได้อยู่ต่อไป
เมื่อวันที่ 26 ต.ค.55 ผมถามเรื่องนี้กับกลุ่มพัฒนา กศน.อีกครั้ง ( ถามหลังจากที่สำนักงาน กศน.แจ้งเมื่อ 12 เม.ย.55 ให้เพิ่มการลงทะเบียน ม.ปลายเป็น 23 หน่วยกิตแล้ว ) กลุ่มพัฒนาฯโดยคุณกิตติพงษ์ ตอบว่า เรื่องเรียนมากกว่าที่กำหนดในภาคเรียนสุดท้ายของบางคน ได้อีก 3 หน่วยกิตนี้ ยังมีผลใช้อยู่
2. วันวิสาขบูชา 13 พ.ค.57 คุณ “Khanom Pang” กศน.อ.พาน ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค 3 ข้อ เช่น การทำ กพช.ทำได้ตลอดเวลา หลังจากสอบปลายภาคเสร็จก็สามารถทำได้ แต่ให้ไปบันทึก กพช.ใน ITW ภาคเรียนต่อไปใช่ไหม ( คุยกับนายทะเบียนคนเก่า ให้ทำ กพช.ได้แค่ก่อนสอบปลายภาคเท่านั้น )
ผมตอบว่า การทำ กพช. ไม่มีข้อกำหนดห้ามทำในช่วงปิดภาคเรียน โดยเฉพาะถ้า นศ.จะจบ ขาดแต่ กพช.อย่างเดียว ก็ให้ทำในช่วงปิดภาคเรียน การทำในช่วงปิดภาคเรียนนี้ ถือว่าเป็นการทำของภาคเรียนที่ผ่านมานะ ไม่ใช่ไปลงทะเบียนในภาคเรียนต่อไป ถ้าทำในวันที่เปิดภาคเรียนใหม่แล้วจึงจะถือว่าทำในภาคเรียนใหม่ ( ถ้าโครงการทำ กพช.นั้นมากกว่า 1 วัน ตั้งแต่วันที่ยังไม่เปิดภาคเรียน ถึงวันที่เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว ให้ถือว่าทำในภาคเรียนใหม่ เพราะ ผอ.จะต้องอนุมัติผลหลังวันเปิดภาคเรียน ) การทำ กพช. หรือสอบ e-Exam ช่วงปิดภาคเรียนแล้วจบ จะถือว่าจบในภาคเรียนที่ผ่านมาเลย โดยถ้าจบหลังรายงาน GPA ไปแล้ว ก็เป็นการจบไม่พร้อมรุ่น
ดูคำตอบเก่า ๆ เรื่องนี้ เช่น
- ข้อ 13.1 (2) ที่ http://www.gotoknow.org/posts/506950
- ข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/485388
- ข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/itw-2.html
3. วันเดียวกัน ( วิสาขบูชา ) คุณ “พิ้งกี้ สวยดี” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กลุ้มใจมาก นักศึกษาหลักสูตร 44 ไม่มีกิจกรรม กพช. เรียนครบ 8 หมวดวิชา ปัจจุบันไม่มีหลักสูตรเก่าแล้ว และเกรดที่เรียนได้คลุมขาวเหมือนหมดสภาพแล้ว ตั้งแต่ 2547 ไม่ได้รักษาสภาพ ผ่านมาเกือบ 10 ปี แบบนี้สามารถออกใบรับรองว่าจบหรือหลักฐานอื่นได้ไหม ในเมื่อไม่มีรายชื่อในใบรายงานจบ เคยได้ยินมาว่าถ้าถึง 5 ปีแล้ว ผลการเรียนที่เรียนได้ จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ไม่เคยเห็นระเบียบ นอนไม่หลับ คิดมาก
ดูคำตอบเก่า ๆ เรื่องนี้ เช่น
- ข้อ 13.1 (2) ที่ http://www.gotoknow.org/posts/506950
- ข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/485388
- ข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/01/itw-2.html
3. วันเดียวกัน ( วิสาขบูชา ) คุณ “พิ้งกี้ สวยดี” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กลุ้มใจมาก นักศึกษาหลักสูตร 44 ไม่มีกิจกรรม กพช. เรียนครบ 8 หมวดวิชา ปัจจุบันไม่มีหลักสูตรเก่าแล้ว และเกรดที่เรียนได้คลุมขาวเหมือนหมดสภาพแล้ว ตั้งแต่ 2547 ไม่ได้รักษาสภาพ ผ่านมาเกือบ 10 ปี แบบนี้สามารถออกใบรับรองว่าจบหรือหลักฐานอื่นได้ไหม ในเมื่อไม่มีรายชื่อในใบรายงานจบ เคยได้ยินมาว่าถ้าถึง 5 ปีแล้ว ผลการเรียนที่เรียนได้ จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ไม่เคยเห็นระเบียบ นอนไม่หลับ คิดมาก
ผมตอบว่า
1) แต่ละวิชามีอายุ 5 ปี ถ้าเกินแล้วยังไม่ออกใบ รบ. ต้องเรียนเฉพาะวิชานั้นใหม่ และถ้าขาดการรักษาสภาพเกิน 6 ภาคเรียน จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
2) ถ้าออกใบ รบ.ไว้ตั้งแต่ตอนยังขาดการรักษาสภาพไม่เกิน 6 ภาคเรียน ( ออกใบ รบ.ว่า "ศึกษาต่อที่อื่น" โดยในใบ รบ. จะปรากฏเฉพาะวิชาที่ยังไม่หมดอายุ ) จะหยุดนับอายุวิชาตั้งแต่วันออกใบ รบ. สามารถนำใบ รบ.นั้นมาเทียบโอนเข้าเรียนหลักสูตรใหม่ในอีกกี่ปีก็ได้
3) ถ้าขาดการรักษาสภาพเกิน 6 ภาคเรียนไปแล้ว ถือว่าหมดสภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว คือ ออกใบ รบ.หรือใบรับรองไม่ได้แล้ว ถ้าจะออกหลักฐานอื่นก็อาจออกหนังสือรับรองตามระเบียบสารบรรณว่าเคยสมัครขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ดูข้อมูลเอกสารอ้างอิงได้จากคำตอบเก่า ๆ เช่น ที่
- ข้อ 7 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/505575
- ข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/426724
- ข้อ 9 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/506950
- ข้อ 1 (1) และข้อ 3.2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/484617
4. วันที่ 19 พ.ค.57 คุณ “Kammee Wongkaso” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า เรื่องการตรวจรับพัสดุ พนักงานราชการสามารถเป็นประธานตรวจรับได้ไหม ดูตามระเบียบแล้วน่าจะได้ แต่รอง ผอ.จังหวัดบอกว่าไม่ได้ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น
1) แต่ละวิชามีอายุ 5 ปี ถ้าเกินแล้วยังไม่ออกใบ รบ. ต้องเรียนเฉพาะวิชานั้นใหม่ และถ้าขาดการรักษาสภาพเกิน 6 ภาคเรียน จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
2) ถ้าออกใบ รบ.ไว้ตั้งแต่ตอนยังขาดการรักษาสภาพไม่เกิน 6 ภาคเรียน ( ออกใบ รบ.ว่า "ศึกษาต่อที่อื่น" โดยในใบ รบ. จะปรากฏเฉพาะวิชาที่ยังไม่หมดอายุ ) จะหยุดนับอายุวิชาตั้งแต่วันออกใบ รบ. สามารถนำใบ รบ.นั้นมาเทียบโอนเข้าเรียนหลักสูตรใหม่ในอีกกี่ปีก็ได้
3) ถ้าขาดการรักษาสภาพเกิน 6 ภาคเรียนไปแล้ว ถือว่าหมดสภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว คือ ออกใบ รบ.หรือใบรับรองไม่ได้แล้ว ถ้าจะออกหลักฐานอื่นก็อาจออกหนังสือรับรองตามระเบียบสารบรรณว่าเคยสมัครขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ดูข้อมูลเอกสารอ้างอิงได้จากคำตอบเก่า ๆ เช่น ที่
- ข้อ 7 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/505575
- ข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/426724
- ข้อ 9 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/506950
- ข้อ 1 (1) และข้อ 3.2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/484617
4. วันที่ 19 พ.ค.57 คุณ “Kammee Wongkaso” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า เรื่องการตรวจรับพัสดุ พนักงานราชการสามารถเป็นประธานตรวจรับได้ไหม ดูตามระเบียบแล้วน่าจะได้ แต่รอง ผอ.จังหวัดบอกว่าไม่ได้ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น
เรื่องนี้ ผมถามสำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ( 02-1277000 ต่อ 4551 ) เมื่อวันที่ 21 พ.ค.57 ได้รับคำตอบว่า พนักงานราชการเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้โดยไม่จำกัดวงเงิน อ้างอิงจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 พ.ศ.2552 ข้อ 35 ( ดูได้ที่ home.kku.ac.th/praudit/law/01_assets/07_2552_assets_edit7.pdf )
( กลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. บอกว่า ถ้าหน่วยงาน/สถานศึกษานั้นมีข้าราชการ ต้องให้ข้าราชการเป็นประธาน )
5. วันเดียวกัน ( 19 พ.ค.) “รากฐานชีวิต คือการศึกษา” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า พนักงานราชการสังกัด กศน. สามารถเสนอชื่อเข้ารับรางวัลหนึ่งแสนครูดีของคุรุสภาได้มั้ย ถ้าหากพนักงานราชการผู้นั้นมีใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด เจ้าหน้าที่งานบุคลากร กศน. จังหวัด แจ้งว่าพนักงานราชการเสนอชื่อรับรางวัลไม่ได้
( กลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. บอกว่า ถ้าหน่วยงาน/สถานศึกษานั้นมีข้าราชการ ต้องให้ข้าราชการเป็นประธาน )
5. วันเดียวกัน ( 19 พ.ค.) “รากฐานชีวิต คือการศึกษา” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า พนักงานราชการสังกัด กศน. สามารถเสนอชื่อเข้ารับรางวัลหนึ่งแสนครูดีของคุรุสภาได้มั้ย ถ้าหากพนักงานราชการผู้นั้นมีใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด เจ้าหน้าที่งานบุคลากร กศน. จังหวัด แจ้งว่าพนักงานราชการเสนอชื่อรับรางวัลไม่ได้
เรื่องนี้ ตาม “หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับรางวัลหนึ่งแสนครูดี ประจำปี พ.ศ.2557” ที่สำนักงาน กศน.ส่งให้จังหวัด ระบุว่า ให้ กศน.อำเภอ/เขต พิจารณาเสนอชื่อ “ข้าราชการครู” ฉะนั้น จึงเสนอชื่อพนักงานราชการเข้ารับรางวัลหนึ่งแสนครูดีไม่ได้
( เป็นนโยบายให้ปีแรก ๆ เสนอให้ “ข้าราชการ” รับรางวัล “หนึ่งแสนครูดี” ของคุรุสภา ซึ่งต่างจากรางวัล “ครูสอนดี” ของ สสค. ที่เขาคัดเลือกจากครูหลายประเภท )
6. วันเสาร์ที่ 24 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ Saifon Inplang ครู กศน.ตำบล กศน.อ.แม่สาย ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การเทียบโอนผลการเรียนจากในระบบ หลักสูตรปัจจุบัน (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ระดับประถมศึกษา ในเกณฑ์การเทียบโอนของกรม ได้แจ้งไว้ว่า สามารถเทียบโอนได้ไม่เกิน 36 หน่วยกิต ผลการเรียนที่เทียบโอน ให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนตามที่ปรากฎ นอกจากนี้และกรณีหากจบในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ใบสุทธิที่มีผลการเรียนรวม สามารถเทีียบโอนผลการเรียนได้จำนวน 24 หน่วยกิต ให้ผลการเรียนเป็นผ่าน
ปัญหามีอยู่ว่า ใบ รบ.ประถมศึกษา ในระบบ ไม่มีจำนวนหน่วยกิต มีแต่จำนวนชั่วโมงและเกรดบอกไว้แต่ละรายวิชา จึงอยากทราบแนวทางการเทียบโอนว่านักศึกษาคนนี้สามารถเทียบโอนได้ทั้งหมด 36 หน่วยกิตหรือไม่ และปรากฎเป็นระดับผลการเรียนได้หรือไม่ นอกจากนี้เราจะสาามารถเทียบจำนวนชั่วโมงเป็นหน่วยกิตได้อย่างไร ในคู่มือไม่ระบุชัดเจน
( เป็นนโยบายให้ปีแรก ๆ เสนอให้ “ข้าราชการ” รับรางวัล “หนึ่งแสนครูดี” ของคุรุสภา ซึ่งต่างจากรางวัล “ครูสอนดี” ของ สสค. ที่เขาคัดเลือกจากครูหลายประเภท )
6. วันเสาร์ที่ 24 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ Saifon Inplang ครู กศน.ตำบล กศน.อ.แม่สาย ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การเทียบโอนผลการเรียนจากในระบบ หลักสูตรปัจจุบัน (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ระดับประถมศึกษา ในเกณฑ์การเทียบโอนของกรม ได้แจ้งไว้ว่า สามารถเทียบโอนได้ไม่เกิน 36 หน่วยกิต ผลการเรียนที่เทียบโอน ให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนตามที่ปรากฎ นอกจากนี้และกรณีหากจบในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ใบสุทธิที่มีผลการเรียนรวม สามารถเทีียบโอนผลการเรียนได้จำนวน 24 หน่วยกิต ให้ผลการเรียนเป็นผ่าน
ปัญหามีอยู่ว่า ใบ รบ.ประถมศึกษา ในระบบ ไม่มีจำนวนหน่วยกิต มีแต่จำนวนชั่วโมงและเกรดบอกไว้แต่ละรายวิชา จึงอยากทราบแนวทางการเทียบโอนว่านักศึกษาคนนี้สามารถเทียบโอนได้ทั้งหมด 36 หน่วยกิตหรือไม่ และปรากฎเป็นระดับผลการเรียนได้หรือไม่ นอกจากนี้เราจะสาามารถเทียบจำนวนชั่วโมงเป็นหน่วยกิตได้อย่างไร ในคู่มือไม่ระบุชัดเจน
ผมตอบว่า
1) การเทียบโอน เป็นอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ส่วนกลางช่วยทำ “แนวทาง” ไว้เพียงบางหลักสูตร มีอีกหลายหลักสูตรที่ส่วนกลางไม่ได้ทำแนวทางไว้ เช่น หลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ หรือแม้แต่ของโรงเรียนในระบบหลักสูตรปัจจุบันทั้งระดับประถม-ม.ต้น-ม.ปลาย ก็ไม่ได้ช่วยทำแนวทางไว้ สถานศึกษาต้องดำเนินการเอง หลักการที่สำคัญคือ ถ้าเนื้อหารายวิชาใดตรงกัน 60 % ขึ้นไป ก็เทียบโอนได้ ไม่ว่าจะเป็นจากหลักสูตรใด ๆ ก็ตาม แต่ปัญหาคือ เรารู้แต่เนื้อหาของรายวิชาเรา ไม่รู้เนื้อหาของรายวิชาเขา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รายวิชาใดตรงกับรายวิชาของเราถึง 60 % ถ้าจะให้ดีก็หาเอกสารคำอธิบายรายวิชาของเขามาดู ในทางปฏิบัติบางครั้งจะไม่สามารถหาคำอธิบายรายวิชาของเขามาดูเนื้อหาวิชาได้ อาจพิจารณาจากชื่อรายวิชานั้นว่าน่าจะมีเนื้อหาเรื่องใด สอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาเลือกในหลักสูตรสถานศึกษาเรา ก็เทียบโอนเป็นผลการเรียนรายวิชาเลือก ไม่ใช่เน้นให้เทียบโอนแต่รายวิชาบังคับ ( ดูคำตอบเก่าในเรื่องนี้ ในข้อ 3 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/417195 )
จะเทียบโอนได้ 36 หน่วยกิตหรือไม่ ก็ให้เป็นไปตามหลักการนี้
2) ถ้ามีแต่จำนวนชั่วโมง ไม่มีจำนวนหน่วยกิต ให้เทียบ 40 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต
3) กรณีนี้ ต้องเทียบโอนเป็นเกรด ( กรณีใดจะเทียบโอนเป็นเกรด หรือเป็นผ่าน ดูในข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/507502 )
1) การเทียบโอน เป็นอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา ส่วนกลางช่วยทำ “แนวทาง” ไว้เพียงบางหลักสูตร มีอีกหลายหลักสูตรที่ส่วนกลางไม่ได้ทำแนวทางไว้ เช่น หลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลป์ หรือแม้แต่ของโรงเรียนในระบบหลักสูตรปัจจุบันทั้งระดับประถม-ม.ต้น-ม.ปลาย ก็ไม่ได้ช่วยทำแนวทางไว้ สถานศึกษาต้องดำเนินการเอง หลักการที่สำคัญคือ ถ้าเนื้อหารายวิชาใดตรงกัน 60 % ขึ้นไป ก็เทียบโอนได้ ไม่ว่าจะเป็นจากหลักสูตรใด ๆ ก็ตาม แต่ปัญหาคือ เรารู้แต่เนื้อหาของรายวิชาเรา ไม่รู้เนื้อหาของรายวิชาเขา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รายวิชาใดตรงกับรายวิชาของเราถึง 60 % ถ้าจะให้ดีก็หาเอกสารคำอธิบายรายวิชาของเขามาดู ในทางปฏิบัติบางครั้งจะไม่สามารถหาคำอธิบายรายวิชาของเขามาดูเนื้อหาวิชาได้ อาจพิจารณาจากชื่อรายวิชานั้นว่าน่าจะมีเนื้อหาเรื่องใด สอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาเลือกในหลักสูตรสถานศึกษาเรา ก็เทียบโอนเป็นผลการเรียนรายวิชาเลือก ไม่ใช่เน้นให้เทียบโอนแต่รายวิชาบังคับ ( ดูคำตอบเก่าในเรื่องนี้ ในข้อ 3 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/417195 )
จะเทียบโอนได้ 36 หน่วยกิตหรือไม่ ก็ให้เป็นไปตามหลักการนี้
2) ถ้ามีแต่จำนวนชั่วโมง ไม่มีจำนวนหน่วยกิต ให้เทียบ 40 ชั่วโมง เท่ากับ 1 หน่วยกิต
3) กรณีนี้ ต้องเทียบโอนเป็นเกรด ( กรณีใดจะเทียบโอนเป็นเกรด หรือเป็นผ่าน ดูในข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/507502 )
4) วิธีคำนวณเกรดที่เทียบโอนได้
- ถ้าเทียบโอนจากหลายวิชา มาเป็นวิชาเดียว เช่นเทียบโอนจากวิชาในระบบ 2 วิชาคือ วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต กับวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต มาเป็นวิชา C ของ กศน.จำนวน 4 หน่วยกิต ให้นำจำนวนหน่วยกิตคูณระดับผลการเรียนของรายวิชาทั้งสอง มาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด และปัดเศษ สมมุติว่า วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต ได้เกรด 2 ส่วนวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต ได้เกรด 4 วิชา C ที่เทียบโอนได้จะได้เกรด = (1 x 2) + (3 x 4) แล้วหารด้วย 4 = เกรด 3.5
- ถ้าเทียบโอนจาก 1 หรือหลายวิชา มาเป็น หลายวิชา เกรดของวิชาที่เทียบโอนได้ ให้เท่ากันทุกวิชา เช่น จากตัวอย่างแรก วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต ได้เกรด 2 กับวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต ได้เกรด 4 ถ้าเทียบโอนเป็นวิชาของ กศน. คือวิชา C จำนวน 2 หน่วยกิต กับวิชา D จำนวน 1 หน่วยกิต ( หน่วยกิตที่เทียบโอนได้ จะมากกว่าหน่วยกิตที่นำมาเทียบโอนไม่ได้ แต่น้อยกว่าได้ ) ทั้งวิชา C และ D จะได้เกรด 3.5 เท่ากัน
- ถ้าเทียบโอนจากวิชาเดียว มาเป็นวิชาเดียว เกรดของวิชาที่เทียบโอนได้จะเท่ากับเกรดของวิชาที่นำมาเทียบโอน
- ถ้าเทียบโอนจากหลายวิชา มาเป็นวิชาเดียว เช่นเทียบโอนจากวิชาในระบบ 2 วิชาคือ วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต กับวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต มาเป็นวิชา C ของ กศน.จำนวน 4 หน่วยกิต ให้นำจำนวนหน่วยกิตคูณระดับผลการเรียนของรายวิชาทั้งสอง มาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด และปัดเศษ สมมุติว่า วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต ได้เกรด 2 ส่วนวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต ได้เกรด 4 วิชา C ที่เทียบโอนได้จะได้เกรด = (1 x 2) + (3 x 4) แล้วหารด้วย 4 = เกรด 3.5
- ถ้าเทียบโอนจาก 1 หรือหลายวิชา มาเป็น หลายวิชา เกรดของวิชาที่เทียบโอนได้ ให้เท่ากันทุกวิชา เช่น จากตัวอย่างแรก วิชา A จำนวน 1 หน่วยกิต ได้เกรด 2 กับวิชา B จำนวน 3 หน่วยกิต ได้เกรด 4 ถ้าเทียบโอนเป็นวิชาของ กศน. คือวิชา C จำนวน 2 หน่วยกิต กับวิชา D จำนวน 1 หน่วยกิต ( หน่วยกิตที่เทียบโอนได้ จะมากกว่าหน่วยกิตที่นำมาเทียบโอนไม่ได้ แต่น้อยกว่าได้ ) ทั้งวิชา C และ D จะได้เกรด 3.5 เท่ากัน
- ถ้าเทียบโอนจากวิชาเดียว มาเป็นวิชาเดียว เกรดของวิชาที่เทียบโอนได้จะเท่ากับเกรดของวิชาที่นำมาเทียบโอน
ดูตัวอย่างการคำนวณเกรดที่เทียบโอนได้ ในตอนท้ายที่ http://www.gotoknow.org/posts/365824
5) ถ้าเขาเรียนเกิน ป.4 แล้ว แต่เราพิจารณาเทียบโอนให้เขาได้ไม่ถึง 24 หน่วยกิต ให้อนุโลมเทียบโอนให้ 24 หน่วยกิตเลย
7. วันอาทิตย์ที่ 25 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ “Thanasan Sriplang” ที่ถมผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กรณีเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักงาน กศน. มีใบประกอบวิชาชีพครู มีวุฒิศึกษาศาสตร์ (เอกเทคโนโลยีทางการศึกษา) รับราชการรวมแล้ว 16 ปี มาสิ้นสุดอยู่ที่ระดับชำนาญงานในแท่งทั่วไป เป็นเวลา 8 ปีแล้ว ต้องการเปลี่ยนสายงานมาเป็นครู กศน. ซึ่งขณะนี้กำลังเก็บชั่วโมงการสอนไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยมีคำสั่งจากสถานศึกษาแต่งตั้งให้เป็นครูประจำกลุ่ม เพื่อเป็นหลักฐานให้กับ กคศ.ต่อไป อยากทราบว่า ถ้าไปเป็นครู จะลงอยู่ที่ คศ.อะไร ปกติถ้าจบปริญญาตรีก็ 6 ปีถึงจะทำ คศ.2 หรือว่าจะสามารถมาลง คศ.2 ได้เลย แต่ยังไม่สามารถทำวิทยฐานะได้ต้องรอระยะเวลาอีก 6 เดือน หรือมีผลงานเทียบประสบการณ์ย้อนหลัง 6 ปีใช่หรือไม่
5) ถ้าเขาเรียนเกิน ป.4 แล้ว แต่เราพิจารณาเทียบโอนให้เขาได้ไม่ถึง 24 หน่วยกิต ให้อนุโลมเทียบโอนให้ 24 หน่วยกิตเลย
7. วันอาทิตย์ที่ 25 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ “Thanasan Sriplang” ที่ถมผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า กรณีเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักงาน กศน. มีใบประกอบวิชาชีพครู มีวุฒิศึกษาศาสตร์ (เอกเทคโนโลยีทางการศึกษา) รับราชการรวมแล้ว 16 ปี มาสิ้นสุดอยู่ที่ระดับชำนาญงานในแท่งทั่วไป เป็นเวลา 8 ปีแล้ว ต้องการเปลี่ยนสายงานมาเป็นครู กศน. ซึ่งขณะนี้กำลังเก็บชั่วโมงการสอนไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยมีคำสั่งจากสถานศึกษาแต่งตั้งให้เป็นครูประจำกลุ่ม เพื่อเป็นหลักฐานให้กับ กคศ.ต่อไป อยากทราบว่า ถ้าไปเป็นครู จะลงอยู่ที่ คศ.อะไร ปกติถ้าจบปริญญาตรีก็ 6 ปีถึงจะทำ คศ.2 หรือว่าจะสามารถมาลง คศ.2 ได้เลย แต่ยังไม่สามารถทำวิทยฐานะได้ต้องรอระยะเวลาอีก 6 เดือน หรือมีผลงานเทียบประสบการณ์ย้อนหลัง 6 ปีใช่หรือไม่
ผมตอบว่า
1) ถ้าอยู่ในแท่งทั่วไป ระดับชำนาญงาน อย่างนี้ ไม่ใช่แท่งวิชาการ ระดับชำนาญการ จะขอโอนเป็น ขรก.ครูยากมาก ต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ค.ศ.เป็นราย ๆ ไป เดิมแท่งทั่วไปจะโอนเป็นครูไม่ได้ ต้องสอบโอน เพิ่งจะมีระเบียบเปิดให้โอน และ กศน.เพิ่งขออนุมัติ ก.ค.ศ.ไปบางรายในปีนี้ เข้าใจว่า ณ วันนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ
2) ถ้าได้โอน ก็ลงแท่งเงินเดือนที่ตรงกับเดิม เช่นเดิมเป็นชำนาญการ ก็ลงแท่ง คศ.2 เลย แต่ไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ ต้องทำวิทยฐานะใหม่ตามลำดับ ตั้งแต่วิทยฐานะครูชำนาญการ ถ้าทำครูชำนาญการผ่านก็ได้เงินวิทยฐานะ 3,500 บาท ( ลองอ่านคำตอบเก่าในข้อ 4 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/533649 )
1) ถ้าอยู่ในแท่งทั่วไป ระดับชำนาญงาน อย่างนี้ ไม่ใช่แท่งวิชาการ ระดับชำนาญการ จะขอโอนเป็น ขรก.ครูยากมาก ต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ค.ศ.เป็นราย ๆ ไป เดิมแท่งทั่วไปจะโอนเป็นครูไม่ได้ ต้องสอบโอน เพิ่งจะมีระเบียบเปิดให้โอน และ กศน.เพิ่งขออนุมัติ ก.ค.ศ.ไปบางรายในปีนี้ เข้าใจว่า ณ วันนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ
2) ถ้าได้โอน ก็ลงแท่งเงินเดือนที่ตรงกับเดิม เช่นเดิมเป็นชำนาญการ ก็ลงแท่ง คศ.2 เลย แต่ไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ ต้องทำวิทยฐานะใหม่ตามลำดับ ตั้งแต่วิทยฐานะครูชำนาญการ ถ้าทำครูชำนาญการผ่านก็ได้เงินวิทยฐานะ 3,500 บาท ( ลองอ่านคำตอบเก่าในข้อ 4 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/533649 )
3) ถ้าได้โอนแล้ว สำหรับการเทียบประสบการณ์ในการสอนเพื่อทำวิทยฐานะครูชำนาญการ ของผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) นั้น ในเดือน ธ.ค.53 ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ว่า ถึงจะมีการเทียบประสบการณ์ฯ ก็ต้องโอนมาเป็นครูในสถานศึกษาครบ 2 ปีเต็มก่อน ( ต้องแสดงชั่วโมงสอนแยกแต่ละภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 10-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ) จึงจะทำวิทยฐานะชำนาญการได้ โดยการเทียบประสบการณ์ให้ทำรายงานประสบการณ์ในการสอนเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งเดิมก่อนโอนมาเป็นครู ชี้แจงให้ละเอียด เพื่อนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. พิจารณาเป็นราย ๆ ไป ทำเป็นรูปเล่มให้สวยงามเรียบร้อย แล้วส่งไปพร้อมกับแบบเสนอขอมีวิทยฐานะชำนาญการ คือแบบ ก.ค.ศ.1,2,3 ( แบบ ก.ค.ศ.1 ในส่วนที่ลงชื่อผู้ตรวจคุณสมบัติกับหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด ให้เว้นไว้ กจ.กศน.จะเป็นผู้ดำเนินการเอง ) เมื่อ กจ. ตรวจเสร็จแล้วจีงจะแจ้งให้แต่งตั้งกรรมการประเมินต่อไป
ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ ก.ค.ศ.เรื่องการพิจารณาประสบการณ์เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/experience.pdf
ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ ก.ค.ศ.เรื่องการพิจารณาประสบการณ์เพื่อขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/experience.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย