วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ให้รักษาการโดยไม่มีคำสั่ง, ให้สรรหาพนักงานราชการทุกตำแหน่ง, ชื่อผู้มีสิทธิสมัครเรียน ป.บัณฑิต ตกหล่น, ครูอาสาฯสอน ปวช.แทน กศ.ขั้นพื้นฐานได้ไหม, ต้นฉบับใบ รบ.สูญหาย, ใช้ใบ รบ. ม.5 มาสมัคร, ย้ายอำเภอ โอน กพช.ได้ไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. คืนวันที่ 30 มิ.ย.57 ผมตอบคุณ พุทธชาด ทะลิ ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  กรณีที่ ผอ. อำเภอ ไปราชการ แต่ไม่ทำเรื่องให้ข้าราชการครูรักษาการ แต่ใช้คำพูดว่า ถ้า ผอ.ไม่อยู่ ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องรักษาการ  ขอถามเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ดังนี้
             1)  ไม่มีหนังสือสั่งให้รักษาการ เวลา ผอ.ไม่อยู่ ถือว่ารักษาการโดยปริยาย และเซ็นต์หนังสือได้ ถูกต้องไหม
             2)  ถ้าไม่เซ็นต์หรือไม่รับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ในวันที่ ผอ.ไม่อยู่ เพราะถือว่าไม่มีหนังสือสั่งการให้รักษาการ ครูบกพร่องหรือไม่
             3)  ที่ถูกต้อง เวลา ผอ.ไปราชการ ต้องทำหนังสือสั่งการให้ข้าราชการรักษาการหรือว่าอย่างไร
             ผมตอบว่า   ที่ถูกต้อง ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กศน.อำเภอ/เขต คือ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม.นะ ไม่ไช่แต่งตั้งโดย ผอ.กศน.อำเภอ/เขต  โดยจังหวัดสามารถแต่งตั้งไว้เป็นการถาวรได้ ไม่ต้องแต่งตั้งเป็นครั้งๆไป ถ้าแต่งตั้งไว้ถาวร เมื่อ ผอ.ไปราชการ ก็รักษาราชการแทนโดยปริยาย
             ถ้าไม่ออกคำสั่งแต่งตั้งไว้ ก็รักษาราชการแทนไม่ได้ ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น ถือเป็นความบกพร่องของผู้บริหารที่ไม่แต่งตั้งผู้รักษาราชการ

         2. คืนวันที่ 3 ก.ค.57 คุณ Nok Eang ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ที่มีหนังสือของสำนักงาน กศน. เรื่องการสรรหาพนักงานราชการ หมายความว่าให้เปิดสอบแต่ละจังหวัดใช่หรือไม่
             ผมตอบว่า   เรื่องการสอบ "พนักงานราชการ" เขาให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้จัดสอบมานานแล้ว
             อันนี้หมายถึงตำแหน่งที่เคยมีแล้วว่างลง อาจจะว่างจากการลาออก อายุครบหกสิบปี ตาย เลิกจ้าง ( ตำบลไหนไม่เคยมีก็ไม่เกี่ยว )   ถ้าว่างลงหลังจากเคยมีและไม่มีผู้สอบขึ้นบัญชีไว้ จังหวัดก็ต้องดำเนินการรับสมัครสอบและแต่งตั้งให้ครบเหมือนเดิม

         3. คืนวันเดียวกัน ( 3 ก.ค.57 ) ผมตอบคำถามคุณจิราธร ครู ศรช. กศน.อ.ผักไห่ ที่ถามผมทาง LINE ว่า  การสำรวจรายชื่อผู้มีสิทธิสมัค รเรียน ป.บัณฑิต ที่จังหวัดส่งไปมีชื่อ แต่ที่ตอบยืนยันกลับมาไม่มีชื่อ  จังหวัดบอกว่า ไม่สามารถทำอะไรให้ได้  ควรทำไงดี จะติดต่อคุรุสภาก็โทร.ไปไม่ติด
             ผมตอบว่า   คุณสมบัติหนึ่งของผู้ที่จะมีสิทธิสมัครเรียนคือ มีหนังสือจากคุรุสภาที่อนุญาติให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ออกให้ก่อนวันที่ 19 ก.ย.56 และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน  ( ดูคุณสมบัติได้ที่ http://www.kroobannok.com/68287 ดูรายชื่อผู้มีหนังสืออนุญาตก่อนวันที่ 19 ก.ย.56 ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/OTHER/nanelist19Sep56.xls )
             สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรอง กำลังเปิดรับสมัครเรียน บางแห่งก็ปิดรับสมัครไปแล้ว
             เรื่องนี้ กจ.กศน. บอกว่า ผู้ที่สงสัยเรื่องรายชื่อจากการสำรวจ ให้ติดต่อสอบถาม กจ.เองเป็นราย ๆ ไป  ส่วนคุรุสภาบอกว่า ให้ตรวจสอบรายชื่อที่สถาบันการศึกษาที่รับสมัคร โดยจะไม่มีการเพิ่มรายชื่ออีกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ

         4. วันที่ 7 ก.ค.57 ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ครูอาสาฯ สอนนักศึกษา ปวช. แทนพื้นฐานได้ไหม ( หานักศึกษาพื้นฐานยาก )
             ผมตอบว่า   ตามหนังสือสั่งการเรื่องบทบาทภารกิจของครูอาสาฯ ( ดูหนังสือสั่งการนี้ได้ในข้อ 13. ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/10/blog-post_8783.html )  กำหนดไว้ในข้อ 1. ว่า ให้ครูอาสาฯรับผิดชอบจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้มีนักศึกษา 1 ห้องเรียน จำนวน 60-66 คน ทุกภาคเรียน
             ถ้าตีความว่า ปวช. ก็เป็น กศ.ขั้นพื้นฐาน ( ต่ำกว่าอนุปริญญา ) ก็อนุโลมได้

         5. สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้โทรศัพท์มาถามผม ว่า  ต้นฉบับใบ รบ.สูญหาย ต้องทำอย่างไร
             ผมตอบว่า   ต้องประกาศยกเลิกต้นฉบับใบ รบ.นั้น   แต่เนื่องจากผมไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบ ผมจึงนำคำถามนี้ไปถามต่อในเฟซบุ๊ค ด้วย ว่า กรณีต้นฉบับใบ รบ. ฉบับที่อยู่กับ กศน.อำเภอ สูญหาย โดยที่คู่ฉบับ นศ.รับไปแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร  ถ้าจะประกาศยกเลิกเฉพาะต้นฉบับ จะกระทบกับคู่ฉบับที่อยู่กับ นศ.หรือไม่  มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไรบ้าง  ถ้าประกาศยกเลิกต้นฉบับแล้วจะทำอย่างไรจึงจะมีใบ รบ.นี้ไว้เป็นหลักฐานอีก
             ปรากฏว่า  ได้รับคำตอบจากท่าน ผอ.กศน.อ.เมืองเชียงใหม่ ( นิติธร เทพเทวิน ) ว่า  ตามระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานการศึกษา ต้องประกาศสถานศึกษายกเลิกฉบับที่สูญหาย โดยระบุเล่มที่เลขที่ที่หายทุกฉบับ แล้วส่งประกาศให้ สนง.กศน.จังหวัด  เมื่อยกเลิกต้นฉบับ ส่วนที่นักศึกษารับไปแล้วก็ใช้ไม่ได้ ต้องออกฉบับใหม่ ที่เล่มใหม่ เพื่อให้มีต้นฉบับไว้ตรวจสอบ   เมื่อนักศึกษานำไปใช้โดยสุจริต เขาตรวจสอบมา สถานศึกษาก็แจ้งเหตุไปพร้อมแนบฉบับที่ออกใหม่  ถ้าเขาไม่ตรวจสอบก็แล้วไป เพราะได้ออกอย่างถูกต้อง

         6. เช้าวันที่ 8 ก.ค.57 เด็กรามัญ บ้านฉาง ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  มี นศ.มาสมัครเรียนที่เราโดยใช้วุฒิ ม.5 มาสมัครเรียน  เวลาเราออกวุฒิให้เขา ชั้นเรียนสุดท้ายเราควรใส่ ม.3 หรือ ม.5 และเราควรส่งตรวจสอบวุฒิ วุฒิ ม.อะไร
             ผมตอบว่า   ตรง วุฒิเดิม ต้องใส่ ม.3 ( ส่วน ม.5 ใช้เพื่อการเทียบโอนเท่านั้น )  การตรวจสอบวุฒิก็ตรวจสอบวุฒิ ม.ส่วนวุฒิ ม.5 ถ้าจะเทียบโอนให้ก็ควรตรวจสอบด้วย   ดูข้อมูลจากคำตอบเก่าใน
             - ข้อ 1 ที่  http://www.gotoknow.org/posts/537318  และ
             - ข้อ 2 ที่  http://www.gotoknow.org/posts/532562

         7. วันที่ 14 ก.ค.57 ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า นศ.คนนึง เรียน กศน.อีกจังหวัดนึง ยังไม่จบ โดยมีกิจกรรม กพช.เกิน 100 ชั่วโมง แล้วลาออกมาเรียนอีกจังหวัดนึง กพช.จะสามารถนำมาลงกับสถานที่เรียนใหม่ได้ไหม
             ผมตอบว่า   อ่านในข้อ 2. ที่  http://www.gotoknow.org/posts/536565
             ต่อมา  ผู้ถาม บอกว่า จากข้อมูลที่ อ.ให้มานั้น ได้เอาไปให้นายทะเบียนดู เขาไม่ยอมโอน กพช.ให้ โดยได้อ้างว่า ไม่มีหนังสือเข้า หรือเอกสารว่าโอน กพช.ได้ อย่างชัดเจนครับ จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อครับ
             ผมตอบว่า  โทร.ปรึกษากลุ่มพัฒนา กศน. 02-2822853  ได้ความว่ายังไง ช่วยมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะ
             ต่อมา  ผู้ถาม บอกว่า โทรถามกลุ่มพัฒนาฯ แล้ว เขาบอกว่า เอา กพช. ที่ทำมานั้น มาต่อที่ใหม่ได้เลย ตามข้อมูลที่ อ. ให้มานั้นถูกต้อง ไม่ต้องเริ่ม กพช. ใหม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ยอมลง ให้เสนอถึง ผอ. อำเภอเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย