สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. คืนวันอาทิตย์ที่ 12 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบซ่อม เช่น สอบซ่อมได้แค่ 3 คะแนน ทำไมเกรดยังขึ้นเป็น 1 ดังนี้
1. คืนวันอาทิตย์ที่ 12 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบซ่อม เช่น สอบซ่อมได้แค่ 3 คะแนน ทำไมเกรดยังขึ้นเป็น 1 ดังนี้
ก. หนังสือ “คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555)” ปกสีเลือดหมู ที่ส่งให้ กศน.อำเภอทุกแห่ง เมื่อต้นเดือน
ธ.ค.55
- หน้า 37 ข้อ 1.4 กำหนดว่า “การประเมินซ่อม สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( หมายถึงประเมินซ่อมได้หลายวิธี ) เช่น การทดสอบ หรือการมอบหมายให้ทำรายงานเพิ่มเติม หรือการจัดทำแฟ้มสะสมงาน หรือการเข้าร่วมกิจกรรม หรืออื่น ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยให้ค่าระดับผลการเรียนไม่เกิน 1”
- หน้า 44 ข้อ 6) กำหนดว่า “การประเมินซ่อม ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินซ่อมคือ ผู้เรียนที่เข้าสอบปลายภาคเรียนแต่ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลรายวิชา โดยให้ผู้เรียนเข้ารับการประเมินซ่อมตามวัน เวลา สถานที่ และวิธี ที่สถานศึกษาหรือต้นสังกัดกำหนด”
- หน้า 37 ข้อ 1.4 กำหนดว่า “การประเมินซ่อม สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( หมายถึงประเมินซ่อมได้หลายวิธี ) เช่น การทดสอบ หรือการมอบหมายให้ทำรายงานเพิ่มเติม หรือการจัดทำแฟ้มสะสมงาน หรือการเข้าร่วมกิจกรรม หรืออื่น ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยให้ค่าระดับผลการเรียนไม่เกิน 1”
- หน้า 44 ข้อ 6) กำหนดว่า “การประเมินซ่อม ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินซ่อมคือ ผู้เรียนที่เข้าสอบปลายภาคเรียนแต่ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลรายวิชา โดยให้ผู้เรียนเข้ารับการประเมินซ่อมตามวัน เวลา สถานที่ และวิธี ที่สถานศึกษาหรือต้นสังกัดกำหนด”
ข. หนังสือราชการ สำนักงาน กศน.
แจ้งเมื่อ ม.ค.52 กำหนดในข้อ 3 ว่า “การสอบซ่อม ให้สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
แต่จะต้องมีกระบวนการและการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด
โดยให้ดำเนินการซ่อมให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์”
สรุปคือ
1) สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม การไม่ผ่านการประเมินรายวิชา ปัจจุบันมี 2 กรณี ได้แก่
1) สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม การไม่ผ่านการประเมินรายวิชา ปัจจุบันมี 2 กรณี ได้แก่
-
คะแนนรวมระหว่างภาคกับปลายภาคไม่ถึง 50 คะแนน
หรือ
- คะแนนปลายภาคไม่ถึง 12 คะแนน
( เฉพาะวิชาบังคับ
ส่วนวิชาเลือกสถานศึกษาจะกำหนดอย่างไรหรือไม่ก็ได้ )
ให้ประเมินซ่อมเหมือนกันทั้ง 2 กรณีนี้ ( นศ.ที่ไม่เข้าสอบปลายภาค ต้องได้เกรด 0 ไม่มีสิทธิประเมินซ่อม )
ให้ประเมินซ่อมเหมือนกันทั้ง 2 กรณีนี้ ( นศ.ที่ไม่เข้าสอบปลายภาค ต้องได้เกรด 0 ไม่มีสิทธิประเมินซ่อม )
2) การประเมินซ่อม ( ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ) ทำได้หลายวิธี เช่น การสอบซ่อม หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้
แต่ให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด คือ ถ้าเป็นรายวิชาเดียวกัน
ให้ประเมินซ่อมด้วยวิธีเดียวกันทั้งจังหวัด ถ้าจะใช้วิธีสอบซ่อม
ก็ใช้ข้อสอบฉบับเดียวกัน จะเป็นข้อสอบปรนัย หรืออัตนัย หรือผสม ก็ได้
3) การประเมินซ่อม
เป็นการเปลี่ยนคะแนนปลายภาค (
คะแนนปลายภาคเดิม ไม่ว่าจะได้เท่าไรก็ตัดทิ้งไปเลย ใช้คะแนนการประเมินซ่อมแทน ) ส่วนคะแนนระหว่างภาคจะเป็นไปตามเดิม
การประเมินซ่อมจะมีคะแนนเต็ม 40 คะแนน ไม่จำเป็นต้องได้ 12 คะแนนอีกแล้ว
แต่ต้องรวมกับคะแนนระหว่างภาคเดิมแล้วได้ 50 คะแนนขึ้นไป จึงจะได้เกรด 1 ถ้ารวมกับคะแนนระหว่างภาคเดิมแล้วได้ไม่ถึง 50
คะแนน ก็ได้เกรด 0
( เมื่อไม่จำเป็นต้องได้ถึง 12 คะแนน อาจทำให้ นศ.ที่มีคะแนนระหว่างภาคถึง 50 คะแนนอยู่แล้ว ไม่ตั้งใจทำข้อสอบประเมินซ่อม เพราะได้ 0 คะแนนก็ผ่าน บางสถานศึกษาจึงกำหนดว่า การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 5 คะแนน ซึ่งก็สามารถกำหนดได้ ) ถ้าได้คะแนนระหว่างภาค 30 คะแนน การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 20 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 จึงจะได้เกรด 1 ถ้าได้ต่ำกว่า 20 คะแนนก็ได้เกรด 0
( เมื่อไม่จำเป็นต้องได้ถึง 12 คะแนน อาจทำให้ นศ.ที่มีคะแนนระหว่างภาคถึง 50 คะแนนอยู่แล้ว ไม่ตั้งใจทำข้อสอบประเมินซ่อม เพราะได้ 0 คะแนนก็ผ่าน บางสถานศึกษาจึงกำหนดว่า การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 5 คะแนน ซึ่งก็สามารถกำหนดได้ ) ถ้าได้คะแนนระหว่างภาค 30 คะแนน การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 20 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 จึงจะได้เกรด 1 ถ้าได้ต่ำกว่า 20 คะแนนก็ได้เกรด 0
4) เคยมีผู้เสนอว่า
ถ้าคะแนนระหว่างภาคต่ำ โอกาสที่ประเมินซ่อมแล้วผ่านจะมีน้อย
ควรให้ทำโครงงานเพิ่มคะแนนระหว่างภาค โดยแก้คะแนนเก็บที่โปรแกรม IT ด้วย เพื่อให้รวมกับคะแนนซ่อมแล้วได้ 50 เป็นการช่วย นศ.อีกทางหนึ่ง เรื่องนี้ ไม่มีระเบียบให้ซ่อมคะแนนระหว่างภาค
ถ้าจะเพิ่มคะแนนระหว่างภาคก็เป็นเรื่องภายในสถานศึกษา
ซึ่งที่ถูกที่ควรการให้ทำโครงงานหรือทำอะไรเพื่อจะได้เพิ่มคะแนนระหว่างภาค
ต้องดำเนินการก่อนที่จะบันทึกคะแนนระหว่างภาค
5) มีผู้ถามว่า จะกำหนดให้ครู
ให้คะแนนระหว่างภาคไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน ได้หรือไม่ เรื่องนี้ คะแนนไม่ได้เป็นไปตามที่ครูให้ แต่คะแนนต้องเป็นไปตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
ถ้าเรากำหนดเพื่อช่วยมากไป นศ.จะเห็นว่า
ยังไง ๆ ก็จบทุกคนพร้อมกันหมด ส่งผลให้ มีนักศึกษามาพบกลุ่ม/ตั้งใจเรียนรู้
จำนวนลดลงทุกปี
กรณีการคีย์คะแนนประเมินซ่อมในโปรแกรม ITw ถ้าคีย์คะแนนประเมินซ่อมแล้วไม่มีเกรดขึ้นมา ก็คือ เกรดเป็น 0 ( จะไม่ปรากฏในใบ รบ. ) โดยถ้าคะแนนระหว่างภาค รวมกับคะแนนสอบซ่อม ไม่ถึง 50 จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดเป็น 0 ) ถ้าขาดสอบซ่อม ก็ไม่ต้องคีย์ข้อมูลใดลงไป ปล่อยว่างไว้ ซึ่งก็จะไม่มีเกรดขึ้นมา
2. วันเสาร์ที่ 18 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องนโยบายและข้อตกลงเบื้องต้นในการดำเนินงานปี 2558 ( บรรยายโดย ท่านสุรพงษ์ จำจด รองเลขาธิการ ) และ เรื่องการปฏิบัติไม่ถูกต้องที่ผ่านมา ( บรรยายโดย นายสัจจา วงศาโรจน์ ผอ.กลุ่มการเจ้าหน้าที่ ) ซึ่ง สรุปโดยท่านรองฯ สุพรพรรณ นาคปานเอี่ยม ดังนี้
กรณีการคีย์คะแนนประเมินซ่อมในโปรแกรม ITw ถ้าคีย์คะแนนประเมินซ่อมแล้วไม่มีเกรดขึ้นมา ก็คือ เกรดเป็น 0 ( จะไม่ปรากฏในใบ รบ. ) โดยถ้าคะแนนระหว่างภาค รวมกับคะแนนสอบซ่อม ไม่ถึง 50 จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดเป็น 0 ) ถ้าขาดสอบซ่อม ก็ไม่ต้องคีย์ข้อมูลใดลงไป ปล่อยว่างไว้ ซึ่งก็จะไม่มีเกรดขึ้นมา
2. วันเสาร์ที่ 18 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องนโยบายและข้อตกลงเบื้องต้นในการดำเนินงานปี 2558 ( บรรยายโดย ท่านสุรพงษ์ จำจด รองเลขาธิการ ) และ เรื่องการปฏิบัติไม่ถูกต้องที่ผ่านมา ( บรรยายโดย นายสัจจา วงศาโรจน์ ผอ.กลุ่มการเจ้าหน้าที่ ) ซึ่ง สรุปโดยท่านรองฯ สุพรพรรณ นาคปานเอี่ยม ดังนี้
1) จะทำงานภายใต้กิจกรรม/งานเดิม
แต่จะใช้โครงสร้างของ กศน.เป็นตัวนำ ( ทุกหน่วยงานของ กศน.บูรณาการร่วมกัน
กลุ่มศูนย์ฯจังหวัดมีบทบาท กศน.ตำบลเป็นฐานการจัดกิจกรรม )
2) ค่านิยม 12 ประการ สิ่งที่ต้องดำเนินงานต่อคือ
2.1 การจัดค่าย เพื่อปลูกฝังค่านิยมให้เป็นวิถีชีวิต อย่างน้อยอำเภอละ 1 ค่าย โดยใช้ งปม.อุดหนุน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.2 สอดแทรกค่านิยม 12 ประการในหลักสูตร กศ.ขั้นพื้นฐาน
2) ค่านิยม 12 ประการ สิ่งที่ต้องดำเนินงานต่อคือ
2.1 การจัดค่าย เพื่อปลูกฝังค่านิยมให้เป็นวิถีชีวิต อย่างน้อยอำเภอละ 1 ค่าย โดยใช้ งปม.อุดหนุน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.2 สอดแทรกค่านิยม 12 ประการในหลักสูตร กศ.ขั้นพื้นฐาน
2.3 ประกวดคำขวัญเรื่องค่านิยม
3) การพัฒนาคุณภาพในค่ายทหาร กศน.จะจับมือกับหน่วยทหาร จัดสอน 1 ระดับ + 1 อาชีพ จังหวัด/อำเภอ เติมสื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น
4) ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน สร้างกิจกรรมให้มีสีสัน ( นายกรัฐมนตรีอยากเห็นคนรักการอ่าน กศน.จึงสานต่อแนวทางการสร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งเสริม "บ้านหนังสืออัจฉริยะ" ให้เป็น "บ้านหนังสือของชุมชน" )
5) กศน.จังหวัดในเขตลุ่มเจ้าพระยา/ลุ่มน้ำแม่กลอง ต้องวางแผน/จัดกิจกรรมรองรับสถานการณ์เกี่ยวกับการปลูกพืชฤดูแล้ง
6) ใช้ ETV ช่วยสอน เน้นวิชายาก 3 วิชา คือภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ออกแบบการสอนให้ง่าย และถ่ายทอดให้ครูนำมาช่วยสอน โดยจะออกอากาศครั้งแรก วันที่ 9 พย.57 ( ประชุมชี้แจงสถานศึกษา/ผู้เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมก่อนออกอากาศ )
7) จะนำคูปองการศึกษา มาใช้ในการจัดการศึกษา กศน.ร่วมกับสถานประกอบการ
8) การจัดสรรเงินรายหัวที่เป็นงบปกติ งบที่สถานศึกษาได้รับจัดสรรได้น้อยกว่ายอดรายหัวจริง เพราะต้องถูกแบ่งไปจัดสรรเป็นงบสำหรับผู้พิการ
9) การทำแผนปฎิบัติงาน ต้องมีข้อมูล และทำในลักษณะของแผนจุลภาคตั้งแต่ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด
10) ศูนย์อาเซียนศึกษา ต้องทำแผนการจัด หากเตรียมคนให้สามารถสื่อสารได้ในอาเซียนถือว่าประสบความสำเร็จ จัดอาชีพที่รองรับการนำประชาชนเข้าสู่สังคมอาเซียน
11) การศึกษาทางไกล ขอให้ช่วยกันรับนักศึกษาให้ได้ 100 คนต่อจังหวัด ทั่วประเทศ
12) การสร้างอุดมการณ์รักชาติ จัดเวทีในเรื่องของอุดมการณ์รักชาติ ควบคู่ไปกับค่านิยม 12 ประการ
( สำนักงาน กศน.จะจัดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติศาสนาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
ในส่วนของกลุ่มภาคกลาง/ตะวันออก/กทม. จะจัดในวันที่ 24 พย.2557 ผู้เข้าประชุมได้แก่ ผอ.จังหวัด/ผอ.อำเภอ ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและ กทม. โดยมอบหมายให้สำนักงาน กศน.กทม. รับผิดชอบในการจัดหาและเตรียมสถานที่ ขอให้เป็นสถานที่ในหน่วยงานราชการเพื่อความประหยัดและเป็นไปตามนโยบายของ รมต.ศธ. )
13) งบประมาณจัดสรรไป 2 ไตรมาส เน้นย้ำเรื่องการเบิกจ่าย โดยไตรมาส 1 ต้องได้ 35 % ไตรมาส 2 ต้องได้ 23 % รวมแล้ว 2 ไตรมาส ต้องเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่า 58% ของ งปม.ที่ได้รับจัดสรร
14) กลุ่มแผนงานจะทำแบบฟอร์มแผนฯให้ แผนต้องลงสู่ตำบล กศน.ตำบล ต้องมีแผนฯ
การปฏิบัติไม่ถูกต้องที่ผ่านมา ( บรรยายโดย นายสัจจา วงศาโรจน์ ผอ.กลุ่มการเจ้าหน้าที่ )
3) การพัฒนาคุณภาพในค่ายทหาร กศน.จะจับมือกับหน่วยทหาร จัดสอน 1 ระดับ + 1 อาชีพ จังหวัด/อำเภอ เติมสื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น
4) ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน สร้างกิจกรรมให้มีสีสัน ( นายกรัฐมนตรีอยากเห็นคนรักการอ่าน กศน.จึงสานต่อแนวทางการสร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งเสริม "บ้านหนังสืออัจฉริยะ" ให้เป็น "บ้านหนังสือของชุมชน" )
5) กศน.จังหวัดในเขตลุ่มเจ้าพระยา/ลุ่มน้ำแม่กลอง ต้องวางแผน/จัดกิจกรรมรองรับสถานการณ์เกี่ยวกับการปลูกพืชฤดูแล้ง
6) ใช้ ETV ช่วยสอน เน้นวิชายาก 3 วิชา คือภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ออกแบบการสอนให้ง่าย และถ่ายทอดให้ครูนำมาช่วยสอน โดยจะออกอากาศครั้งแรก วันที่ 9 พย.57 ( ประชุมชี้แจงสถานศึกษา/ผู้เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมก่อนออกอากาศ )
7) จะนำคูปองการศึกษา มาใช้ในการจัดการศึกษา กศน.ร่วมกับสถานประกอบการ
8) การจัดสรรเงินรายหัวที่เป็นงบปกติ งบที่สถานศึกษาได้รับจัดสรรได้น้อยกว่ายอดรายหัวจริง เพราะต้องถูกแบ่งไปจัดสรรเป็นงบสำหรับผู้พิการ
9) การทำแผนปฎิบัติงาน ต้องมีข้อมูล และทำในลักษณะของแผนจุลภาคตั้งแต่ระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด
10) ศูนย์อาเซียนศึกษา ต้องทำแผนการจัด หากเตรียมคนให้สามารถสื่อสารได้ในอาเซียนถือว่าประสบความสำเร็จ จัดอาชีพที่รองรับการนำประชาชนเข้าสู่สังคมอาเซียน
11) การศึกษาทางไกล ขอให้ช่วยกันรับนักศึกษาให้ได้ 100 คนต่อจังหวัด ทั่วประเทศ
12) การสร้างอุดมการณ์รักชาติ จัดเวทีในเรื่องของอุดมการณ์รักชาติ ควบคู่ไปกับค่านิยม 12 ประการ
( สำนักงาน กศน.จะจัดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติศาสนาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
ในส่วนของกลุ่มภาคกลาง/ตะวันออก/กทม. จะจัดในวันที่ 24 พย.2557 ผู้เข้าประชุมได้แก่ ผอ.จังหวัด/ผอ.อำเภอ ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและ กทม. โดยมอบหมายให้สำนักงาน กศน.กทม. รับผิดชอบในการจัดหาและเตรียมสถานที่ ขอให้เป็นสถานที่ในหน่วยงานราชการเพื่อความประหยัดและเป็นไปตามนโยบายของ รมต.ศธ. )
13) งบประมาณจัดสรรไป 2 ไตรมาส เน้นย้ำเรื่องการเบิกจ่าย โดยไตรมาส 1 ต้องได้ 35 % ไตรมาส 2 ต้องได้ 23 % รวมแล้ว 2 ไตรมาส ต้องเบิกจ่ายได้ไม่น้อยกว่า 58% ของ งปม.ที่ได้รับจัดสรร
14) กลุ่มแผนงานจะทำแบบฟอร์มแผนฯให้ แผนต้องลงสู่ตำบล กศน.ตำบล ต้องมีแผนฯ
การปฏิบัติไม่ถูกต้องที่ผ่านมา ( บรรยายโดย นายสัจจา วงศาโรจน์ ผอ.กลุ่มการเจ้าหน้าที่ )
1) เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
1.1 จัดซื้อในลักษณะ แบ่งซื้อ/แบ่งจ้าง
1.2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ / เอกสารไม่ครบ / ไม่มีแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
1.3 ตรวจรับงาน แต่งานไม่เป็นไปตามรายการ
1.4 การจัดซื้อจัดจ้างหากเกิน 5,000 บาท ต้องทำในระบบ PO และหากทดรองจ่ายต้องยืมเงินของทางราชการไม่ควรใช้เงินส่วนตัวทดรองจ่าย
1.5 กำหนดราคากลางสูงกว่าราคาท้องตลาด หรือไม่มีการกำหนดราคากลาง ( รมต.ศธ เน้นย้ำเรื่องความสุจริตโปร่งใส การจัดจ้างวิธีพิเศษไม่เหมาะสม ขอให้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการทางพัสดุ รถยนต์ของทางราชการต้องเก็บในสถานที่ของทางราชการ การจัดหาสื่อให้มีราคากลาง ให้ยืมเรียนมิให้แจกฟรี สื่อที่ใช้จัดการเรียนในกศน.ตำบล ขอให้หลากหลาย เหมาะสม )
1.6 ไม่ลงทะเบียนควบคุมทรัพย์สิน หากไม่ลงทะเบียนแล้วทรัพย์สินสูญหายต้องหาผู้ชดใช้
1.1 จัดซื้อในลักษณะ แบ่งซื้อ/แบ่งจ้าง
1.2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ / เอกสารไม่ครบ / ไม่มีแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
1.3 ตรวจรับงาน แต่งานไม่เป็นไปตามรายการ
1.4 การจัดซื้อจัดจ้างหากเกิน 5,000 บาท ต้องทำในระบบ PO และหากทดรองจ่ายต้องยืมเงินของทางราชการไม่ควรใช้เงินส่วนตัวทดรองจ่าย
1.5 กำหนดราคากลางสูงกว่าราคาท้องตลาด หรือไม่มีการกำหนดราคากลาง ( รมต.ศธ เน้นย้ำเรื่องความสุจริตโปร่งใส การจัดจ้างวิธีพิเศษไม่เหมาะสม ขอให้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการทางพัสดุ รถยนต์ของทางราชการต้องเก็บในสถานที่ของทางราชการ การจัดหาสื่อให้มีราคากลาง ให้ยืมเรียนมิให้แจกฟรี สื่อที่ใช้จัดการเรียนในกศน.ตำบล ขอให้หลากหลาย เหมาะสม )
1.6 ไม่ลงทะเบียนควบคุมทรัพย์สิน หากไม่ลงทะเบียนแล้วทรัพย์สินสูญหายต้องหาผู้ชดใช้
2. เบิกเงินโดยมิชอบ
2.1 เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้อง
2.2 ฝึกอบรม คนมาไม่ครบ แต่เบิกเงิน
2.1 เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้อง
2.2 ฝึกอบรม คนมาไม่ครบ แต่เบิกเงิน
ขอให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด
ดำเนินการด้วยความถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
เรื่องเกี่ยวกับการย้าย
1) ผอ./รอง ผอ.กศน.จังหวัด คำสั่งย้ายจะออกภายในสัปดาห์หน้า จึงขอให้เตรียมมอบหมายงาน
1) ผอ./รอง ผอ.กศน.จังหวัด คำสั่งย้ายจะออกภายในสัปดาห์หน้า จึงขอให้เตรียมมอบหมายงาน
2) ผอ.กศน.อำเภอ
ย้ายภายในจังหวัดก่อน
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการและพิจารณาการย้ายให้เป็นธรรมตามหลักเกณฑ์
และดูเรื่องขนาดของสถานศึกษาด้วย
3) ขรก.ครูและบรรณารักษ์
จะพิจารณาดำเนินการต่อไป
4) จะสอบ บรรณารักษ์ และสอบ รอง
ผอ.จังหวัด / ผอ.สถานศึกษา / รอง ผอ.สถานศึกษา อีก
3.
คืนวันอาทิตย์ที่ 19 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่อง กศน.อ.โชคชัย
เด่นไม่ค่อยเหมือนใคร แต่นายทะเบียนเคร่งครัดไปไหม ( ..ไม่หรอก ) ว่า
กศน.อ.โชคชัย บรรยายการไปรับสมัคร นศ.ถึงบ้าน ว่า “มาแล้ว
ฤดูกาลลงพื้นที่รับสมัครนักศึกษา ทุกประเภท
10 ตำบล 128 หมู่บ้าน หมื่นหลังคาเรือน ใกล้-ไกล ทุรกันดาล
เราไปหมดครับ กระท่อมทุกหลัง
บ้านทุกหลังคา ทุกภาคเรียน ทุกปี
เสาร์อาทิตย์ เราไม่หยุด”
จำได้ว่าปีก่อน จัดทีมออกไปกับรถประชาสัมพันธ์รับสมัครถึงบ้าน 3 สาย ลักษณะเดียวกับเซลขายประกันหรือเซลตัดแว่น ทุกสายมีเครื่องถ่ายเอกสารไปด้วย พร้อมที่จะถ่ายเอกสารประกอบใบสมัคร เพราะนายทะเบียนเคร่งครัดเรื่องหลักฐาน
ปรากฏว่า มีสมาชิกกลุ่มครูนอกระบบบางคนวิจารณ์ว่า นายทะเบียนเคร่งครัดไปไหม เหมาะกับ กศน.ไหม...
จำได้ว่าปีก่อน จัดทีมออกไปกับรถประชาสัมพันธ์รับสมัครถึงบ้าน 3 สาย ลักษณะเดียวกับเซลขายประกันหรือเซลตัดแว่น ทุกสายมีเครื่องถ่ายเอกสารไปด้วย พร้อมที่จะถ่ายเอกสารประกอบใบสมัคร เพราะนายทะเบียนเคร่งครัดเรื่องหลักฐาน
ปรากฏว่า มีสมาชิกกลุ่มครูนอกระบบบางคนวิจารณ์ว่า นายทะเบียนเคร่งครัดไปไหม เหมาะกับ กศน.ไหม...
ผมเขียนว่า มีบางแห่ง
ไม่ขอดูใบวุฒิฉบับจริง อีกทั้งยังไม่ส่งสำเนาไปตรวจสอบวุฒิกับสถานศึกษาเดิมด้วย
จึงเป็นแหล่งฟอกวุฒิ ( นำใบวุฒิ ม.ต้นปลอม มาเรียน 2 ปี ได้ใบวุฒิ ม.ปลายจริง ปัจจุบันนี้ใบวุฒิปลอมมีมาก )
แม้แต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในหน่วยงานทหาร . กศน.ก็ยังแจ้งเรื่องหลักฐาน
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.57 (
ดูหนังสือแจ้งได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/timeout.pdf ) ว่า “ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของหลักฐานก่อนรับสมัคร แต่สำหรับทหารกองประจำการ
ให้สถานศึกษาขยายเวลาในการส่งหลักฐาน ได้ถึง
ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบปลายภาค 30 วัน
แต่ต้องมีผู้บังคับหน่วยหรือผู้บังคับกองพันทำหนังสือขอผ่อนผัน หากไม่สามารถนำหลักฐานมาส่งตามเวลาที่กำหนด
ให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา” ( เพราะทหารเกณฑ์ต้องใช้เวลาติดต่อขอหลักฐานจากทางบ้านที่อยู่ไกล
)
4. ดึกวันเดียวกัน ( 19 ต.ค.57 ) ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการแยกเครื่องคอมฯ ( โปรแกรม ITw ) ว่า ทำได้ ถ้าทำเป็น ไม่มีปัญหา..
4. ดึกวันเดียวกัน ( 19 ต.ค.57 ) ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการแยกเครื่องคอมฯ ( โปรแกรม ITw ) ว่า ทำได้ ถ้าทำเป็น ไม่มีปัญหา..
การแยกคอมพิวเตอร์ให้ครู กศน.ตำบล ต่างคนต่างบันทึกข้อมูลโปรแกรม ITw
ตำบลละเครื่อง ต้อง “กำหนดสิทธิในการใช้ระบบงาน”
ให้ กศน.ตำบล เข้าบางเมนูไม่ได้ เช่น แก้ไขคะแนนสอบไม่ได้
มีขั้นตอนดังนี้
1) ควร BACKUP ข้อมูลจากเครื่องอำเภอ ไป RESTORE ในเครื่องตำบล เพื่อจะได้ไม่ต้องไปกำหนดในตารางรหัสใหม่ ซึ่งจะมีปัญหาถ้ากำหนดไม่ตรงกันเช่น กลุ่มเดียวกันแต่กำหนดรหัสกลุ่มหรือชื่อกลุ่มต่างกัน
ก่อน BACKUP ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของเครื่องแม่ที่อำเภอ ( เครื่องที่นายทะเบียนมีสิทธิ์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้ทุกเรื่อง ) เป็นรหัสผ่านที่ไม่มีใครรู้ แล้วกำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านของครู กศน.ตำบล ให้แตกต่างจากรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านของนายทะเบียน ซึ่งเราสามารถกำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านให้กี่คนก็ได้ อาจจะให้รหัสต่างกันทุกตำบล หรือทุกตำบลใช้รหัสเดียวกันก็ได้ โดยกำหนดสิทธิ์ให้ครู กศน.ตำบลสามารถเข้าเมนูแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้เพียงบางอย่าง เช่น เพิ่มประวัติ ลงทะเบียนเรียน
มีขั้นตอนดังนี้
1) ควร BACKUP ข้อมูลจากเครื่องอำเภอ ไป RESTORE ในเครื่องตำบล เพื่อจะได้ไม่ต้องไปกำหนดในตารางรหัสใหม่ ซึ่งจะมีปัญหาถ้ากำหนดไม่ตรงกันเช่น กลุ่มเดียวกันแต่กำหนดรหัสกลุ่มหรือชื่อกลุ่มต่างกัน
ก่อน BACKUP ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของเครื่องแม่ที่อำเภอ ( เครื่องที่นายทะเบียนมีสิทธิ์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้ทุกเรื่อง ) เป็นรหัสผ่านที่ไม่มีใครรู้ แล้วกำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านของครู กศน.ตำบล ให้แตกต่างจากรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านของนายทะเบียน ซึ่งเราสามารถกำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านให้กี่คนก็ได้ อาจจะให้รหัสต่างกันทุกตำบล หรือทุกตำบลใช้รหัสเดียวกันก็ได้ โดยกำหนดสิทธิ์ให้ครู กศน.ตำบลสามารถเข้าเมนูแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้เพียงบางอย่าง เช่น เพิ่มประวัติ ลงทะเบียนเรียน
- กำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่าน
ได้ที่เมนู 4 – A – 1 ( บำรุงรักษาระบบ – ความปลอดภัยของระบบ – กำหนดผู้ใช้งานระบบ )
-
เมื่อกำหนดรหัสผู้ใช้-รหัสผ่านแล้ว
กำหนดสิทธิในการใช้ระบบงานของแต่รหัส ได้ที่เมนู 4 – A – 3 ( บำรุงรักษาระบบ – ความปลอดภัยของระบบ – กำหนดสิทธิในการใช้งานระบบ )
ตอนที่ BACKUP ข้อมูล ให้ติ๊กให้มีเครื่องหมายถูกหน้า
"ข้อมูลผู้ใช้และสิทธิการใช้งาน" (ในหัวข้อ "ประเภทข้อมูล")
ด้วย เมื่อ RESTORE ลงเครื่องตำบลก็จะได้ user และ password ทั้งหมดมาด้วย
2) การคีย์ข้อมูลในเครื่องแต่ละตำบล ถ้าเป็นนักศึกษาเก่าที่มีชื่ออยู่ในโปรแกรมแล้ว
แต่ละตำบลก็คีย์ข้อมูลในเครื่องตำบลตามปกติ เพียงแต่
ตอนที่นำข้อมูลออกจากเครื่องฯตำบล ไปรวมที่เครื่องฯอำเภอ ต้อง EXPORT ออกจากแต่ละเครื่อง ทางเมนู 4-3 ( บำรุงรักษาระบบ - นำข้อมูลออก )
แล้วนำข้อมูลไป IMPORT รวมในเครื่องของอำเภอ ทางเมนู 4-7 (
บำรุงรักษาระบบ - นำเข้าข้อมูล ) เท่านั้นเอง
( ไม่ใช่ BACKUP ไป RESTORE ) การ IMPORT สามารถเลือกได้ว่าจะนำข้อมูลเข้าเครื่องอำเภอเฉพาะข้อมูลใด
3) แต่ถ้าเป็นนักศึกษาใหม่ เมื่อบันทึกข้อมูลเพิ่มประวัติแล้ว ต้องเปลี่ยนรหัสนักศึกษาในแต่ละเครื่องก่อนจะ EXPORT มิฉะนั้นรหัสนักศึกษาของแต่ละตำบลจะซ้ำกัน
เพราะแต่ละตำบล รหัสนักศึกษาใหม่จะเริ่มที่รหัส 1 ทุกตำบล วิธีเปลี่ยนก็ไม่ยาก
สั่งเปลี่ยนที่เดียวเป็นช่วงเลย โดยใช้เมนู 1-1-6 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน
-บันทึกประวัตินักศึกษา - เปลี่ยนรหัสนักศึกษา ) เช่น ตำบลที่ 1 มี 18 คน (ตำบลที่
1 ไม่ต้องเปลี่ยน ) ก็เปลี่ยนรหัสนักศึกษาตำบลที่ 2 ให้เริ่มต้นที่รหัส 19
และเปลี่ยนตำบลที่ 3, 4, 5, ...
ไปตามลำดับ ( เปลี่ยนรหัสได้เฉพาะคนที่ยังไม่ได้สั่งให้โปรแกรมพิมพ์บัตรนักศึกษานะ ฉะนั้นต้องระวังอย่าพิมพ์บัตรฯก่อนเปลี่ยน ) เสร็จแล้วก็ EXPORT ไป IMPORT
เช่นเดียวกัน ( ไม่ใช่ BACKUP ไป RESTORE
)
( การแยกคอมพิวเตอร์นี้
ใช้ในกรณีที่นักศึกษาทั้งอำเภอมีมาก คอมฯเครื่องเดียวทำไม่ทัน ส่วนจะกำหนดให้
กศน.ตำบลคีย์ข้อมูลอะไรได้บ้าง ก็แล้วแต่นายทะเบียนและ ผอ.
จะกำหนดสิทธิ์ในการใช้ระบบงาน )
5. ดึกวันที่ 21 ต.ค.57 Sirin Sue ถามผ่านอินบ็อกซ์ผม ว่า การเรียนแบบทางไกล เวลาที่จะปฐมนิเทศ-ปัจฉิม เวลาสอบ การทำกิจกรรม กพช. สถานที่ทำกิจกรรมต่างๆ คือที่ไหน
5. ดึกวันที่ 21 ต.ค.57 Sirin Sue ถามผ่านอินบ็อกซ์ผม ว่า การเรียนแบบทางไกล เวลาที่จะปฐมนิเทศ-ปัจฉิม เวลาสอบ การทำกิจกรรม กพช. สถานที่ทำกิจกรรมต่างๆ คือที่ไหน
ผมตอบในเบื้องต้นว่า
- การปฐมนิเทศ ที่ผ่านมา เขาจะส่งแผ่น CD ปฐมนิเทศไปให้ดูที่บ้าน แต่ส่วนกลางก็จัดปฐมมนิเทศ ใครจะเข้าไปหรือไม่ก็ได้
- การประเมินผลระหว่างภาค สอบด้วยข้อสอบอัตนัย ทำที่บ้าน ด้วยลายมือ ส่งทางไปรษณีย์
- กพช.+ปัจฉิมนิเทศ ในส่วนของ กพช.นั้น ต่างคนทำกันเอง หรือใครจะทำร่วมกันก็ได้ แล้วรายงานทางไปรษณีย์ 80 ชม. และมีการสัมมนาก่อนจบซึ่งเป็นทั้งการปัจฉิมนิเทศและการทำ กพช.อีก 20 ชั่วโมง การสัมมนานี้เพื่อการประเมินคุณธรรมด้วย โดย 20 ชม.นี้ทุกคนต้องเข้าร่วม แต่จะจัดที่ใดคงต้องดูจำนวน นศ.อีกครั้ง ส่วน กพช.อีก 100 ชม.นั้น จะให้กับผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดหลักสูตรครบถ้วนทุกขั้นตอน
- การสอบปลายภาค จังหวัดเป็นผู้จัดสอบ
- ปฏิทินการเรียนแบบทางไกล https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/calenderfared.pdf
- คู่มือนักศึกษา กศน.แบบทางไกล https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/faredSTmanual.pdf
- ไฟล์ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/faredPBB.jpg
- การปฐมนิเทศ ที่ผ่านมา เขาจะส่งแผ่น CD ปฐมนิเทศไปให้ดูที่บ้าน แต่ส่วนกลางก็จัดปฐมมนิเทศ ใครจะเข้าไปหรือไม่ก็ได้
- การประเมินผลระหว่างภาค สอบด้วยข้อสอบอัตนัย ทำที่บ้าน ด้วยลายมือ ส่งทางไปรษณีย์
- กพช.+ปัจฉิมนิเทศ ในส่วนของ กพช.นั้น ต่างคนทำกันเอง หรือใครจะทำร่วมกันก็ได้ แล้วรายงานทางไปรษณีย์ 80 ชม. และมีการสัมมนาก่อนจบซึ่งเป็นทั้งการปัจฉิมนิเทศและการทำ กพช.อีก 20 ชั่วโมง การสัมมนานี้เพื่อการประเมินคุณธรรมด้วย โดย 20 ชม.นี้ทุกคนต้องเข้าร่วม แต่จะจัดที่ใดคงต้องดูจำนวน นศ.อีกครั้ง ส่วน กพช.อีก 100 ชม.นั้น จะให้กับผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดหลักสูตรครบถ้วนทุกขั้นตอน
- การสอบปลายภาค จังหวัดเป็นผู้จัดสอบ
- ปฏิทินการเรียนแบบทางไกล https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/calenderfared.pdf
- คู่มือนักศึกษา กศน.แบบทางไกล https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/faredSTmanual.pdf
- ไฟล์ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/JPG/faredPBB.jpg
สอบถามข้อมูลรายละเอียด ได้ที่เฟซบุ๊ค สถาบัน
การศึกษาทางไกล
6. คืนวันที่ 22 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการทำรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (กศน.3) ซึ่งต้องใช้แบบฟอร์มควบคุมและบังคับแบบ ( ซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ) ว่า
ต้องจัดทำ 2 ชุด ใช้แบบฟอร์มที่ซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภาทั้ง 2 ชุด เพื่อเก็บไว้ที่สถานศึกษา 1 ชุด ส่ง สนง.กศน.จ./กทม. 1 ชุด
7. วันปิยะ 23 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องห้ามซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษก่อนดำเนินการด้วยวิธีอื่นๆ ว่า
การจัดหาแบบเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ห้าม ซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษก่อนดำเนินการด้วยวิธีอื่นๆ และถ้ามีแบบเรียน/สื่อมากพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องจัดหามาเพิ่มอีก
6. คืนวันที่ 22 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการทำรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (กศน.3) ซึ่งต้องใช้แบบฟอร์มควบคุมและบังคับแบบ ( ซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ) ว่า
ต้องจัดทำ 2 ชุด ใช้แบบฟอร์มที่ซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภาทั้ง 2 ชุด เพื่อเก็บไว้ที่สถานศึกษา 1 ชุด ส่ง สนง.กศน.จ./กทม. 1 ชุด
7. วันปิยะ 23 ต.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องห้ามซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษก่อนดำเนินการด้วยวิธีอื่นๆ ว่า
การจัดหาแบบเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ห้าม ซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษก่อนดำเนินการด้วยวิธีอื่นๆ และถ้ามีแบบเรียน/สื่อมากพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องจัดหามาเพิ่มอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย