สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1.วันที่ 3 ก.ย.58 Pattanan Dondee ถามในอินบ๊อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
- เทียบระดับสูงสุด สำหรับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน จะให้ลงทะเบียนใหม่หรือเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร 51
- เทียบระดับแนวใหม่ (ไต่ระดับ) กรณีนักศึกษาสอบผ่านมิติความรู้ความคิดไม่ครบทั้ง 6 รายวิชา สามารถลงทะเบียนซ่อมในครั้งต่อไปในรายวิชาที่ยังไม่ผ่านได้หรือไม่ หรือต้องสอบใหม่ทั้งหมด
1.วันที่ 3 ก.ย.58 Pattanan Dondee ถามในอินบ๊อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า
- เทียบระดับสูงสุด สำหรับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน จะให้ลงทะเบียนใหม่หรือเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร 51
- เทียบระดับแนวใหม่ (ไต่ระดับ) กรณีนักศึกษาสอบผ่านมิติความรู้ความคิดไม่ครบทั้ง 6 รายวิชา สามารถลงทะเบียนซ่อมในครั้งต่อไปในรายวิชาที่ยังไม่ผ่านได้หรือไม่ หรือต้องสอบใหม่ทั้งหมด
ผมตอบว่า
- เทียบระดับฯสูงสุดฯ เทียบโอนวิชาที่ผ่านแล้วเข้าสู่หลักสูตร 51 ได้เฉพาะผูที่มีวุฒิ ม.3 เท่านั้น ส่วนผู้ที่มีวุฒิประถม เทียบโอนไม่ได้ ต้องไปเริ่มต้นเรียนใหม่หมด
ดาวน์โหลด หนังสือหลักเกณฑ์การเทียบโอนฯการเทียบระดับฯสูงสุดฯเข้าสู่ กศ.ขั้นพื้นฐาน
แบบเป็นเล่ม 144 หน้า ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/teabOonTeabHiest.pdfถ้า นศ.เก่ายังไม่จบและยืนยันที่จะลงทะเบียนเทียบระดับฯสูงสุดฯต่อไปอีก ก็ต้องเปิดให้ลงทะเบียนอีกในเดือน ต.ค.58 ( ให้ลงทะเบียนภายในวันที่ 31 ต.ค.58 )
- เทียบระดับแบบไต่ระดับ ถ้าสอบไม่ผ่านมิติความรู้ความคิด ต้องสอบมิติความรู้ความคิดใหม่หมด
2. ตามที่มีการสำรวจข้อมูลการจัดการศึกษาโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย นั้น วันที่ 4 ก.ย.58 ผอ.กศน.อ.บางปะอิน คุยกับผมทางโทรศัพท์ว่า ถ้าทั้งผู้จะเรียน และ กศน.อำเภอ ไม่รู้ข้อมูลต่างๆ ก็ยากที่จะพิจารณาตัดสินใจได้ ผอ.ถามผมว่า ผมรู้ข้อมูลต่างๆในเรื่องทวิศึกษานี้หรือไม่
เรื่องนี้ อ.สุณีย์ กลุ่มพัฒนา กศน.
บอกข้อมูลประกอบการพิจารณาดังนี้
- เรียนฟรี โดยทั้ง กศน. และอาชีวศึกษา ไม่เก็บค่าลงทะเบียนเรียน ( แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นบ้าง เช่นค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษาของอาชีวศึกษา )
- จะเปิดสาขาวิชาใด ให้แต่ละ กศน.อำเภอ/เขต ประสานงานกับสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา แห่งใดแห่งหนึ่ง ( อาจเป็นวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ แต่ต้องเป็นสถานศึกษาภาครัฐ ไม่ใช่สถานศึกษาเอกชน ) ว่า เขาพร้อมจะเปิดเรียนร่วมสาขาวิชาใด ที่จะมีผู้สนใจเรียนและจบแล้วจะมีงานทำ
- เรียนวิชาสามัญกับ กศน. เรียนวิชาช่างกับอาชีวะ โดยตกลงกันว่าจะเรียนในวันเวลาใด ( อาจเรียนกับ กศน.สัปดาห์ละ 1 วัน และเรียนกับอาชีวะอีกสัปดาห์ละ 3 วัน )
- กลุ่มหนึ่งต้องมีผู้เรียนไม่น้อยกว่า 20 คน ไม่เกิน 40 คน
- ใช้เวลาเรียน 3 ปี จบแล้วได้วุฒิ 2 ใบ คือวุฒิ ม.ปลาย กศน. และวุฒิ ปวช.อาชีวศึกษา
- ดู ร่างกรอบแนวทางการจัดการศึกษาโครงการเรียนร่วมฯ ได้ที่ https://db.tt/GppxpPsY
3. คืนวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.58 ดวงใจ ถุงน้ำคำ ถามต่อที่ผมโพสต์ในเฟซบุ๊คครูนอกระบบ ว่า พนักงานราชการลาคลอดมีผลต่อการประเมินไหม
- เรียนฟรี โดยทั้ง กศน. และอาชีวศึกษา ไม่เก็บค่าลงทะเบียนเรียน ( แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นบ้าง เช่นค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษาของอาชีวศึกษา )
- จะเปิดสาขาวิชาใด ให้แต่ละ กศน.อำเภอ/เขต ประสานงานกับสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา แห่งใดแห่งหนึ่ง ( อาจเป็นวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ แต่ต้องเป็นสถานศึกษาภาครัฐ ไม่ใช่สถานศึกษาเอกชน ) ว่า เขาพร้อมจะเปิดเรียนร่วมสาขาวิชาใด ที่จะมีผู้สนใจเรียนและจบแล้วจะมีงานทำ
- เรียนวิชาสามัญกับ กศน. เรียนวิชาช่างกับอาชีวะ โดยตกลงกันว่าจะเรียนในวันเวลาใด ( อาจเรียนกับ กศน.สัปดาห์ละ 1 วัน และเรียนกับอาชีวะอีกสัปดาห์ละ 3 วัน )
- กลุ่มหนึ่งต้องมีผู้เรียนไม่น้อยกว่า 20 คน ไม่เกิน 40 คน
- ใช้เวลาเรียน 3 ปี จบแล้วได้วุฒิ 2 ใบ คือวุฒิ ม.ปลาย กศน. และวุฒิ ปวช.อาชีวศึกษา
- ดู ร่างกรอบแนวทางการจัดการศึกษาโครงการเรียนร่วมฯ ได้ที่ https://db.tt/GppxpPsY
3. คืนวันเสาร์ที่ 5 ก.ย.58 ดวงใจ ถุงน้ำคำ ถามต่อที่ผมโพสต์ในเฟซบุ๊คครูนอกระบบ ว่า พนักงานราชการลาคลอดมีผลต่อการประเมินไหม
ผมตอบว่า ให้พิจารณาจาก
เกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ซึ่งมี 11 ข้อ คือ
- มีระยะเวลาปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 8 เดือน นับถึง วันที่ 30 กันยายน
- มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้งในปีนั้น ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ( นำคะแนนประเมินฯ 2 ครั้ง มารวมกันแล้วหารด้วย 2 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 75 % )
- ได้รับการต่อสัญญาจ้างแล้ว
- ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
- ไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- รอบปีที่แล้วมาไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 4 เดือน
- รอบปีที่แล้วมาไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แม้แต่ครั้งเดียว
- รอบปีที่แล้วมาได้รับการจ้างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน ( ถ้าเพิ่งบรรจุเข้าทำงานในตำแหน่งปัจจุบันเป็นปีแรก ต้องบรรจุไม่หลัง 1 ก.พ. )
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาป่วยรวมลากิจส่วนตัวเกินกว่า 16 ครั้ง
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาป่วยรวมลากิจส่วนตัว เกิน 40 วันทำการ
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่มาทำงานสายเกินกว่า 18 ครั้ง
- มีระยะเวลาปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 8 เดือน นับถึง วันที่ 30 กันยายน
- มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้งในปีนั้น ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ( นำคะแนนประเมินฯ 2 ครั้ง มารวมกันแล้วหารด้วย 2 ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 75 % )
- ได้รับการต่อสัญญาจ้างแล้ว
- ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
- ไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- รอบปีที่แล้วมาไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 4 เดือน
- รอบปีที่แล้วมาไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แม้แต่ครั้งเดียว
- รอบปีที่แล้วมาได้รับการจ้างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 เดือน ( ถ้าเพิ่งบรรจุเข้าทำงานในตำแหน่งปัจจุบันเป็นปีแรก ต้องบรรจุไม่หลัง 1 ก.พ. )
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาป่วยรวมลากิจส่วนตัวเกินกว่า 16 ครั้ง
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาป่วยรวมลากิจส่วนตัว เกิน 40 วันทำการ
- รอบปีที่แล้วมาต้องไม่มาทำงานสายเกินกว่า 18 ครั้ง
จะเห็นว่าไม่มีข้อไหนกำหนดว่า
"รอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาคลอดบุตร-ลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์เกิน ....
" ถ้าลาอุปสมบท 4 เดือน ก็ยังมีเวลาปฏิบัติงานครบ 8 เดือน แต่ถ้าเป็นการบรรจุเข้าทำงานปีแรกและไม่ได้บรรจุตั้งแต่
1 ต.ค. สมมุติว่าบรรจุเมื่อ 1 ธ.ค.
ปีแรกนี้ก็จะมีเวลาปฏิบัติงานเพียง 10 เดือน
และถ้ายังลาคลอดบุตรในปีนี้อีก 3 เดือน
ปีนี้ก็จะเหลือเวลาปฏิบัติงานเพียง 7 เดือน ไม่ครบ 8 เดือน ปีนี้ก็ไม่สามารถเลื่อนค่าตอบแทนได้ ( ส่วนการลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ปีแรกลาไม่ได้อยู่แล้ว ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 ปีจึงจะมีสิทธิลา )
ผลกระทบอีกอย่าง คือ ถึงแม้ลาแล้วยังมีเวลาปฏิบัติงานครบ 8 เดือน แต่การลานานอาจจะทำให้มีผลการปฏิบัติงานน้อยลง ส่งผลให้คะแนนประเมินฯลดลง ถ้าคะแนนต่ำ ( แต่ได้คะแนนถึง 75 % ) อาจส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การเพิ่มค่าตอบแทนน้อยลงก็ได้
( ถ้าตำแหน่งเดียวกันอำเภอเดียวกัน คะแนนผลการประเมินเท่ากันต้องได้เปอร์เซ็นต์เพิ่มค่าตอบแทนเท่ากัน คนที่คะแนนสูงกว่าจะได้เปอร์เซ็นต์เพิ่มค่าตอบแทนต่ำกว่าไม่ได้ แต่ถ้าต่างอำเภอจะไม่นำคะแนนไปเปรียบเทียบกับอำเภออื่น )
ผลกระทบอีกอย่าง คือ ถึงแม้ลาแล้วยังมีเวลาปฏิบัติงานครบ 8 เดือน แต่การลานานอาจจะทำให้มีผลการปฏิบัติงานน้อยลง ส่งผลให้คะแนนประเมินฯลดลง ถ้าคะแนนต่ำ ( แต่ได้คะแนนถึง 75 % ) อาจส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การเพิ่มค่าตอบแทนน้อยลงก็ได้
( ถ้าตำแหน่งเดียวกันอำเภอเดียวกัน คะแนนผลการประเมินเท่ากันต้องได้เปอร์เซ็นต์เพิ่มค่าตอบแทนเท่ากัน คนที่คะแนนสูงกว่าจะได้เปอร์เซ็นต์เพิ่มค่าตอบแทนต่ำกว่าไม่ได้ แต่ถ้าต่างอำเภอจะไม่นำคะแนนไปเปรียบเทียบกับอำเภออื่น )
ผมเคยตอบเรื่องนี้ เช่น ใน
- ข้อ 8 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/536565
- ข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/514905
4. วันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย.58 พรุ่งนี้ ก็เช้าแล้ว ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) เล่มปกสีเลือดหมู ของอำเภอหายไป ถ้าต้องการเล่มไหมหรือข้อมูลในเล่มจะหาได้จากที่ไหน
ผมตอบว่า ดาวน์โหลดได้ที่ https://db.tt/qE8iTCcS
5. วันเสาร์ที่ 5 ก.ย.58 ชุดอิสลาม ฮีญาบ ราคาเบาเบา ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การไปราชการ ระเบียบการประชุม ค่าที่พักสามารถเหมาจ่ายได้ แต่การไปอบรมสัมนา ค่าที่พักเหมาจ่ายไม่ได้ ถ้าการเดินทางไปอบรมเป็นการเดินทางจากภาคใต้ไปภาคเหนือ ค่าที่พักระหว่างการเดินทางที่ต้องพักก่อนและหลังวันอบรม สามารถเบิกเหมาจ่ายได้ไหม เช่น อบรมวันที 19-21 แต่คืนวันที่ 18 และ 22 ก็ต้องพัก ค่าที่พักของคืนวันที่ 18 และ 22 สามารถเบิกเหมาจ่ายได้ไหม ( เบิกจากต้นสังกัดทุกวัน )
- ข้อ 8 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/536565
- ข้อ 2 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/514905
4. วันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย.58 พรุ่งนี้ ก็เช้าแล้ว ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555) เล่มปกสีเลือดหมู ของอำเภอหายไป ถ้าต้องการเล่มไหมหรือข้อมูลในเล่มจะหาได้จากที่ไหน
ผมตอบว่า ดาวน์โหลดได้ที่ https://db.tt/qE8iTCcS
5. วันเสาร์ที่ 5 ก.ย.58 ชุดอิสลาม ฮีญาบ ราคาเบาเบา ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การไปราชการ ระเบียบการประชุม ค่าที่พักสามารถเหมาจ่ายได้ แต่การไปอบรมสัมนา ค่าที่พักเหมาจ่ายไม่ได้ ถ้าการเดินทางไปอบรมเป็นการเดินทางจากภาคใต้ไปภาคเหนือ ค่าที่พักระหว่างการเดินทางที่ต้องพักก่อนและหลังวันอบรม สามารถเบิกเหมาจ่ายได้ไหม เช่น อบรมวันที 19-21 แต่คืนวันที่ 18 และ 22 ก็ต้องพัก ค่าที่พักของคืนวันที่ 18 และ 22 สามารถเบิกเหมาจ่ายได้ไหม ( เบิกจากต้นสังกัดทุกวัน )
ผมตอบว่า ในเมื่อเป็นการไปอบรม
ก็เบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่ายไม่ได้ ( ต้องเบิกตามที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราที่กำหนด
ตลอดการเดินทางนั้น )
เรื่องที่พัก-เบี้ยเลี้ยงนี้
มีระเบียบ 2
ฉบับ ที่แตกต่างกัน ( เราต้องรู้ว่าเป็นการเดินทางไปราชการ หรือ
ไปฝึกอบรม ) คือ
1) พระราชกฤษฎีกา และ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ใช้กับการเดินทางไปเข้าประชุมราชการ เช่น การประชุมเพื่อติดตามงาน การประชุมเพื่อรับทราบนโยบาย การประชุมชี้แจง การประชุมลักษณะนี้ผู้จัดการประชุมจะขออนุมัติจัดประชุม แต่จะไม่ขออนุมัติโครงการ หรือหลักสูตร
2) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ ระเบียบนี้ใช้กับการเดินทางไปอบรม-ศึกษาดูงาน-ประชุมเชิงวิชาการ/เชิงปฏิบัติการ-เข้าค่ายฝึกอบรม ลักษณะที่เป็น “การฝึกอบรม-ศึกษาดูงาน-ประชุมเชิงวิชาการ/ปฏิบัติการ” ประกอบด้วย
- มีโครงการ หรือหลักสูตร
- มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคล หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่มีการรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
- เป็นการบรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติ ดูงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
1) พระราชกฤษฎีกา และ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ใช้กับการเดินทางไปเข้าประชุมราชการ เช่น การประชุมเพื่อติดตามงาน การประชุมเพื่อรับทราบนโยบาย การประชุมชี้แจง การประชุมลักษณะนี้ผู้จัดการประชุมจะขออนุมัติจัดประชุม แต่จะไม่ขออนุมัติโครงการ หรือหลักสูตร
2) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ ระเบียบนี้ใช้กับการเดินทางไปอบรม-ศึกษาดูงาน-ประชุมเชิงวิชาการ/เชิงปฏิบัติการ-เข้าค่ายฝึกอบรม ลักษณะที่เป็น “การฝึกอบรม-ศึกษาดูงาน-ประชุมเชิงวิชาการ/ปฏิบัติการ” ประกอบด้วย
- มีโครงการ หรือหลักสูตร
- มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคล หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่มีการรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
- เป็นการบรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติ ดูงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
ถ้าเป็นการฝึกอบรมฯ
ค่าที่พักเหมาจ่ายไม่ได้ ต้องเบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง (แนบใบเสร็จรับเงิน) และไม่เกินอัตราที่กำหนด
ถ้าไม่มีใบเสร็จรับเงินค่าที่พักก็เบิกไม่ได้
ส่วนการไปประชุมราชการ
กำหนดให้เลือกได้ว่าจะเบิกค่าที่พักแบบจ่ายจริง หรือแบบเหมาจ่าย ( ต้องดูนโยบายผู้บริหารด้วย
)
แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าไปด้วยกันเป็นหมู่คณะ ( 2 คนขึ้นไป ) ต้องเลือกเหมือนกันทุกคน
และต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่งตลอดเส้นทาง จะเลือกเบิก 2 แบบไม่ได้
ถ้าเลือกเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่าย ไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงิน แต่จะต้องระบุในบันทึกขออนุญาตเดินทางไปราชการว่าจะเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่าย
6. คืนวันที่ 7 ก.ย.58 แดง พัฒนสิน กศน.พิชัย ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การขึ้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ เหลือเงินคิดเป็น 4.09% อย่างนี้คิดให้ได้ไหม เพื่อให้เงินหมดพอดี
แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าไปด้วยกันเป็นหมู่คณะ ( 2 คนขึ้นไป ) ต้องเลือกเหมือนกันทุกคน
และต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่งตลอดเส้นทาง จะเลือกเบิก 2 แบบไม่ได้
ถ้าเลือกเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่าย ไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงิน แต่จะต้องระบุในบันทึกขออนุญาตเดินทางไปราชการว่าจะเบิกค่าที่พักแบบเหมาจ่าย
6. คืนวันที่ 7 ก.ย.58 แดง พัฒนสิน กศน.พิชัย ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การขึ้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ เหลือเงินคิดเป็น 4.09% อย่างนี้คิดให้ได้ไหม เพื่อให้เงินหมดพอดี
ผมตอบว่า การกำหนด
% เลื่อนค่าตอบแทนนี้ ในแต่ละอำเภอกำหนดเท่าไรก็ได้ ทศนิยม 2 ตำแหน่งจะเป็นเท่าไรก็ได้ 4.09 % ก็ได้ แต่ไม่เกิน 6.00
% และยอดรวมเงินเพิ่มค่าตอบแทนต้องอยู่ในวงเงิน 3.95 % ( ถ้ามีบางคนได้เพิ่มเกิน 3.95 % ก็ต้องต้องมีบางคนได้เพิ่มต่ำกว่า
3.95 % )
แต่.. ถ้าได้คะแนนประเมินเท่ากัน เช่น ในอำเภอเดียวกัน กลุ่มตำแหน่งเดียวกัน มีผู้ได้คะแนนประเมินเท่ากัน 3 คน ก็ต้องได้เปอร์เซ็นต์เลื่อนค่าตอบแทนเท่ากันทั้ง 3 คน จะให้เลือน 4.09 % 1 คน และเลื่อน 4.05 % 2 คน ไม่ได้ ถ้าเลื่อน 4.09 % ทั้ง 3 คนแล้วเกินวงเงิน ก็ลองเลื่อน 4.07 % ทั้ง 3 คนดู ( ถ้ายังมีวงเงินเหลือ จังหวัดนำไปเพิ่มให้อำเภออื่นได้ )
ผมเคยตอบเรื่องนี้ เช่นในข้อ 3 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/504565
7. วันที่ 11 ก.ย.58 TheJeab Ungkanawin ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า มีระเบียบในการฝากนักศึกษาสอบปลายภาคเรียนจากสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ไปสอบอีกแห่งหนึ่ง สามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากมี กศน.อำเภอแห่งหนึ่งที่นักศึกษาไปทำงานในจังหวัดนั้น ได้ฝากนักศึกษามาสอบยัง กศน.อำเภอที่ฉันปฏิบัติงานอยู่ โดยให้เหตุผลว่านักศึกษากลับบ้าน ซึ่งฉันดูคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร 51 (ปรับปรุง 2555) หน้า 44 มีแต่การขอเลื่อนสอบปลายภาค
แต่.. ถ้าได้คะแนนประเมินเท่ากัน เช่น ในอำเภอเดียวกัน กลุ่มตำแหน่งเดียวกัน มีผู้ได้คะแนนประเมินเท่ากัน 3 คน ก็ต้องได้เปอร์เซ็นต์เลื่อนค่าตอบแทนเท่ากันทั้ง 3 คน จะให้เลือน 4.09 % 1 คน และเลื่อน 4.05 % 2 คน ไม่ได้ ถ้าเลื่อน 4.09 % ทั้ง 3 คนแล้วเกินวงเงิน ก็ลองเลื่อน 4.07 % ทั้ง 3 คนดู ( ถ้ายังมีวงเงินเหลือ จังหวัดนำไปเพิ่มให้อำเภออื่นได้ )
ผมเคยตอบเรื่องนี้ เช่นในข้อ 3 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/504565
7. วันที่ 11 ก.ย.58 TheJeab Ungkanawin ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า มีระเบียบในการฝากนักศึกษาสอบปลายภาคเรียนจากสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ไปสอบอีกแห่งหนึ่ง สามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากมี กศน.อำเภอแห่งหนึ่งที่นักศึกษาไปทำงานในจังหวัดนั้น ได้ฝากนักศึกษามาสอบยัง กศน.อำเภอที่ฉันปฏิบัติงานอยู่ โดยให้เหตุผลว่านักศึกษากลับบ้าน ซึ่งฉันดูคู่มือการดำเนินงานหลักสูตร 51 (ปรับปรุง 2555) หน้า 44 มีแต่การขอเลื่อนสอบปลายภาค
ผมตอบว่า ปกติต้องฝากเรียนตั้งแต่ต้นภาคเรียน (
เรียนและสอบแล้วจึงส่ง คะแนน/เกรด ไปให้ )
ถ้าฝากเรียนตั้งแต่ต้นภาคเรียนก็จะนำเข้าโปรแกรม ITw ซึ่งจะเข้าระบบไป
ตั้งแต่การสั่งข้อสอบ การจัดเข้าห้องสอบ การตรวจกระดาษคำตอบ (
ผู้รับฝากเป็นผู้ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว ) แต่ถ้าฝากเฉพาะสอบปลายภาค
ต้องดูตัวอย่างที่สถาบันการศึกษาทางไกลเขาฝากสอบตามอำเภอต่างๆนั้น
เขาดำเนินการในเรื่องข้อสอบอย่างไร เขาส่งหรือสั่งข้อสอบมาให้อย่างไร
หรือแจ้งให้เราสั่งข้อสอบทันกำหนดหรือเปล่า ลองถามสถาบันการศึกษาทางไกลดู
ถ้าจะให้มาใช้ ข้อสอบ/ที่นั่งสอบ แทนนักศึกษาของเราที่ขาดสอบ หรือนำข้อสอบมาให้สอบนอกห้อง/นอกเวลา จะเป็นการปฏิบัติที่ผิด
( วิชาเลือกตรงกันไหม แม้แต่วิชาบังคับที่เหมือนกันก็ใช่ว่าทุกแห่งจะ เปิดเรียน/สั่งข้อสอบ ครบทั้ง 14 วิชา/ทุกระดับ/ทุกภาคเรียน
จะให้แห่งใดเป็นผู้นำกระดาษคำตอบไปตรวจด้วยเครื่องฯที่ภาคไหน ให้โปรแกรม ITw บันทึกคะแนนโดยการอ่านจากไฟล์คะแนนหรือเปล่า )
การดำเนินการนอกระบบ ซึ่งไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์รองรับนี้ จะมีปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ
ถ้าจะให้มาใช้ ข้อสอบ/ที่นั่งสอบ แทนนักศึกษาของเราที่ขาดสอบ หรือนำข้อสอบมาให้สอบนอกห้อง/นอกเวลา จะเป็นการปฏิบัติที่ผิด
( วิชาเลือกตรงกันไหม แม้แต่วิชาบังคับที่เหมือนกันก็ใช่ว่าทุกแห่งจะ เปิดเรียน/สั่งข้อสอบ ครบทั้ง 14 วิชา/ทุกระดับ/ทุกภาคเรียน
จะให้แห่งใดเป็นผู้นำกระดาษคำตอบไปตรวจด้วยเครื่องฯที่ภาคไหน ให้โปรแกรม ITw บันทึกคะแนนโดยการอ่านจากไฟล์คะแนนหรือเปล่า )
การดำเนินการนอกระบบ ซึ่งไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์รองรับนี้ จะมีปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย