สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. เย็นวันที่ 26 ม.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ข้าราชการครูไปราชการโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ระหว่างเดินทางกลับเกิดอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เสียชีวิต ในกรณีนี้สำนักงานจังหวัดจะมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลืออย่างไรกับข้าราชการครู ดังกล่าว
1. เย็นวันที่ 26 ม.ค.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า ข้าราชการครูไปราชการโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ระหว่างเดินทางกลับเกิดอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เสียชีวิต ในกรณีนี้สำนักงานจังหวัดจะมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลืออย่างไรกับข้าราชการครู ดังกล่าว
เรื่องนี้ กลุ่มงานวินัยและนิติการ
กจ.กศน. บอกว่า ถ้าเป็นเรื่องความรับผิดชอบในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเสียชีวิต
โดยข้าราชการครูได้รับอนุญาตให้ใช้รถส่วนตัวไปราชการ ผู้รับผิดชอบคือ สนง.กศน.จังหวัด
ที่อนุญาตให้ข้าราชการครูใช้รถส่วนตัวไปราชการ
สนง.กศน.จังหวัดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ( เป็นคู่กรณีกับญาติผู้เสียหาย ) ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด สนง.กศน.จังหวัดต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายตามความผิดทางการละเมิด ( ใช้เงินกองกลางชดใช้ไปก่อน แล้วทำรายงานไปส่วนกลาง ) ส่วนข้าราชการครูที่ขับรถชนคนเสียชีวิตมีความผิดทางอาญา
หลังจากนั้น สนง.กศน.จังหวัด จึงดำเนินการกับข้าราชการครูในความผิดทางการละเมิด เพื่อเรียกชดใช้คืนจากข้าราชการครูในภายหลัง อาจจะเรียกค่าชดใช้ที่จ่ายไป คืนจากข้าราชการครูทั้งหมด หรือบางส่วน อยู่ที่ผลการพิจารณาทางการละเมิดว่า ข้าราชการครูประมาทเลินเล่อ หรือมีเหตุสุดวิสัยอย่างไรแค่ไหน
2. คืนวันที่ 28 ม.ค.59 ผมตอบ กศน. ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง ที่ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า มีโครงการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพอเป็นตัวอย่าง แนวทางหรือป่าว
สนง.กศน.จังหวัดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ( เป็นคู่กรณีกับญาติผู้เสียหาย ) ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด สนง.กศน.จังหวัดต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายตามความผิดทางการละเมิด ( ใช้เงินกองกลางชดใช้ไปก่อน แล้วทำรายงานไปส่วนกลาง ) ส่วนข้าราชการครูที่ขับรถชนคนเสียชีวิตมีความผิดทางอาญา
หลังจากนั้น สนง.กศน.จังหวัด จึงดำเนินการกับข้าราชการครูในความผิดทางการละเมิด เพื่อเรียกชดใช้คืนจากข้าราชการครูในภายหลัง อาจจะเรียกค่าชดใช้ที่จ่ายไป คืนจากข้าราชการครูทั้งหมด หรือบางส่วน อยู่ที่ผลการพิจารณาทางการละเมิดว่า ข้าราชการครูประมาทเลินเล่อ หรือมีเหตุสุดวิสัยอย่างไรแค่ไหน
2. คืนวันที่ 28 ม.ค.59 ผมตอบ กศน. ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง ที่ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า มีโครงการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพอเป็นตัวอย่าง แนวทางหรือป่าว
ผมตอบว่า ผมไม่มีตัวอย่างโครงการ
การเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นการศึกษาต่อเนื่องประเภทพัฒนาสังคมและชุมชน
( เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเหมือนกับการพัฒนาสังคมและชุมชน คือหัวละ 400 บาท ) ก็จัดโครงการลักษณะเดียวกับโครงการพัฒนาสังคมและชุมชนปีก่อน เพียงแต่เนื้อหาวิชาที่จัดเป็นเรื่องเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ผมเคยโพสต์ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้านการเกษตร เช่น
- การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์โดยใช้เทคนิควิธีใหม่ที่ให้ผลผลิต/กำไรมากขึ้น เช่น การปลูกพืชไร่โดยใช้ระบบน้ำหยด
- การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์พันธ์ใหม่ ๆ เช่น การเลี้ยงปลาหนังลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ ( ปลาสวายผสมปลาบึก ), การทำฟาร์มเห็ดนางฟ้าฮังการี เห็ดโคนญี่ปุ่น
- ฯลฯ
3. เย็นวันที่ 1 ก.พ.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า เป็นพนักงานราชการตำแหน่งครู กศน.ตำบล มีวุฒิคหกรรมศาสตร์บัณฑิต ( คหกรรมศาสตร์ศึกษา ) ซึ่งเป็นวุฒิครู และ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ต้องเรียน ป.บัณฑิต
ไปสมัครสอบเพื่อจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นครูอาสา แต่ เขาไม่รับสมัคร บอกว่าไม่มีวุฒิครู ตกลงไม่ใช่วุฒิครูหรือ
คุณสมบัติที่เขาต้องการ คือ
1) บุคคลทั่วไป มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา ดังนี้ ครุศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต หรือศึกษาศาสตรบัณฑิต ที่ ก.ค.ศ.รับรอง
2) บุคคลที่เป็นลูกจ้างในสังกัดสำนักงาน กศน.มีวุฒิไม่ต่ำปริญญาตรี และจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ผมเคยโพสต์ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้านการเกษตร เช่น
- การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์โดยใช้เทคนิควิธีใหม่ที่ให้ผลผลิต/กำไรมากขึ้น เช่น การปลูกพืชไร่โดยใช้ระบบน้ำหยด
- การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์พันธ์ใหม่ ๆ เช่น การเลี้ยงปลาหนังลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ ( ปลาสวายผสมปลาบึก ), การทำฟาร์มเห็ดนางฟ้าฮังการี เห็ดโคนญี่ปุ่น
- ฯลฯ
3. เย็นวันที่ 1 ก.พ.59 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า เป็นพนักงานราชการตำแหน่งครู กศน.ตำบล มีวุฒิคหกรรมศาสตร์บัณฑิต ( คหกรรมศาสตร์ศึกษา ) ซึ่งเป็นวุฒิครู และ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ต้องเรียน ป.บัณฑิต
ไปสมัครสอบเพื่อจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นครูอาสา แต่ เขาไม่รับสมัคร บอกว่าไม่มีวุฒิครู ตกลงไม่ใช่วุฒิครูหรือ
คุณสมบัติที่เขาต้องการ คือ
1) บุคคลทั่วไป มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา ดังนี้ ครุศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต หรือศึกษาศาสตรบัณฑิต ที่ ก.ค.ศ.รับรอง
2) บุคคลที่เป็นลูกจ้างในสังกัดสำนักงาน กศน.มีวุฒิไม่ต่ำปริญญาตรี และจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ผมตอบว่า วุฒิคหกรรมศาสตร์บัณฑิต ( คหกรรมศาสตร์ศึกษา )
เป็นวุฒิครู ( คำว่าวุฒิครู เป็นภาษาพูด
คำจริงคือ ปริญญาทางการศึกษา )
ปริญญาทางการศึกษา มีหลายสาขา คือ
1) การศึกษา...
2) ครุศาสตร....
3) ศึกษาศาสตร....
4) ครุศาสตรอุตสาหกรรม....
5) วิทยาศาสตร... (ศึกษาศาสตร...) หรือ (ศึกษาศาสตรการสอน...) หรือ (การสอน...)
6) ศิลปศาสตร... (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตรการสอน...)
7) คหกรรมศาสตรบัณฑิต วิชาเอกคหกรรมศาสตรศึกษา / เกษตรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกเกษตรศึกษา / บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจศึกษา
ปริญญาทางการศึกษา มีหลายสาขา คือ
1) การศึกษา...
2) ครุศาสตร....
3) ศึกษาศาสตร....
4) ครุศาสตรอุตสาหกรรม....
5) วิทยาศาสตร... (ศึกษาศาสตร...) หรือ (ศึกษาศาสตรการสอน...) หรือ (การสอน...)
6) ศิลปศาสตร... (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตรการสอน...)
7) คหกรรมศาสตรบัณฑิต วิชาเอกคหกรรมศาสตรศึกษา / เกษตรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกเกษตรศึกษา / บริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจศึกษา
แต่ คุณสมบัติที่ กศน.กำหนดสำหรับพนักงานราชการตำแหน่งครู นั้น ไม่ได้กำหนดแค่ว่ามีวุฒิครูอย่างเดียว
แต่กำหนดว่ามีวุฒิครูเฉพาะ 3 สาขาเท่านั้น
( ผมไม่ทราบว่าทำไม กศน.กำหนดแค่ 3 สาขา อาจเป็นเพราะสาขาอื่นไม่เหมาะจะเป็นครู กศน. หรือสาขาอื่นมีน้อย หรือลืมไปว่าวุฒิครูมีหลายสาขา หรือ กศน.อาจไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียด ควรถาม กศน.ผ่าน กจ.ว่าจะกรุณาแจ้งแก้ไขคุณสมบัติได้ไหม )
ถ้ากำหนดแค่ 3 สาขา ก็สมัครได้แค่ 3 สาขา
( ผมไม่ทราบว่าทำไม กศน.กำหนดแค่ 3 สาขา อาจเป็นเพราะสาขาอื่นไม่เหมาะจะเป็นครู กศน. หรือสาขาอื่นมีน้อย หรือลืมไปว่าวุฒิครูมีหลายสาขา หรือ กศน.อาจไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียด ควรถาม กศน.ผ่าน กจ.ว่าจะกรุณาแจ้งแก้ไขคุณสมบัติได้ไหม )
ถ้ากำหนดแค่ 3 สาขา ก็สมัครได้แค่ 3 สาขา
ผมเห็น กศน.จ.อุบลฯเขาเพิ่มเติมคุณสมบัติด้วยว่า “หรือมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”
ถ้ากำหนดแบบนี้คุณก็สมัครได้
( การที่แต่ละจังหวัดกำหนดคุณสมบัติแตกต่างเหลื่อมล้ำกัน ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ ท่าน ผอ.กจ.กศน.เคยบอกผมว่า ที่ไม่กำหนดเรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพราะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไม่ใช่วุฒิการศึกษา ส่วน ป.บัณฑิต เป็นวุฒิ ที่สูงกว่าปริญญาตรีต่ำกว่าปริญญาโท ผมเคยโพสต์ประเด็นนี้เช่นในข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/05/130-131.html )
4. วันที่ 4 ก.พ.59 ผมนำสรุปสาระจากการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 1/59 วันที่ 27 ม.ค.59 เรื่อง การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (ว13/56 ชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ) มาเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ว่า
( การที่แต่ละจังหวัดกำหนดคุณสมบัติแตกต่างเหลื่อมล้ำกัน ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ ท่าน ผอ.กจ.กศน.เคยบอกผมว่า ที่ไม่กำหนดเรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพราะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไม่ใช่วุฒิการศึกษา ส่วน ป.บัณฑิต เป็นวุฒิ ที่สูงกว่าปริญญาตรีต่ำกว่าปริญญาโท ผมเคยโพสต์ประเด็นนี้เช่นในข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/05/130-131.html )
4. วันที่ 4 ก.พ.59 ผมนำสรุปสาระจากการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 1/59 วันที่ 27 ม.ค.59 เรื่อง การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (ว13/56 ชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ) มาเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค ว่า
- รางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป ที่ใช้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน
มีจำนวน 281 รางวัล ( เดิม 206 รางวัล
เพิ่มใหม่อีก 75 รางวัล ) ก.ค.ศ. จะมีหนังสือแจ้งรายชื่อรางวัลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และเผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.
- ชำนาญการพิเศษ ใช้รางวัลไม่น้อยกว่า 2 รางวัล/เรื่อง, เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 3 รางวัล/เรื่อง
- ต้องเป็นรางวัลจากผลงานดีเด่นฯ ระหว่าง วันที่ 1 พ.ค.56 – 30 เม.ย.59 (3 ปี) และผลงานดีเด่นต้องตรงหรือสอดคล้องกับสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน
- กำหนดให้ยื่นคำขอ พร้อมแบบรายงานและข้อเสนอในการพัฒนางานต่อผู้บังคับบัญชา ระหว่างวันที่ 1-30 เม.ย.59
- จากนั้น ให้เขตพื้นที่การศึกษา และส่วนราชการ พิจารณาคัดกรองคุณสมบัติในเบื้องต้น แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 ก.ย.59 ( แต่ถ้าเป็นผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 ก.ย.59 ให้เสนอรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 มิ.ย.59 )
- ชำนาญการพิเศษ ใช้รางวัลไม่น้อยกว่า 2 รางวัล/เรื่อง, เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 3 รางวัล/เรื่อง
- ต้องเป็นรางวัลจากผลงานดีเด่นฯ ระหว่าง วันที่ 1 พ.ค.56 – 30 เม.ย.59 (3 ปี) และผลงานดีเด่นต้องตรงหรือสอดคล้องกับสาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน
- กำหนดให้ยื่นคำขอ พร้อมแบบรายงานและข้อเสนอในการพัฒนางานต่อผู้บังคับบัญชา ระหว่างวันที่ 1-30 เม.ย.59
- จากนั้น ให้เขตพื้นที่การศึกษา และส่วนราชการ พิจารณาคัดกรองคุณสมบัติในเบื้องต้น แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 ก.ย.59 ( แต่ถ้าเป็นผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 ก.ย.59 ให้เสนอรายชื่อถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 มิ.ย.59 )
ผู้มีคุณสมบัติที่จะขอรับการประเมินต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินทั้ง 3
ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านวินัย
คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ( พิจารณาจากการมีวินัย
การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ )
ด้านที่ 2
ด้านความรู้ความสามารถ
( พิจารณาจากความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
/ ความสามารถในการการบริหารจัดการสถานศึกษา / ความสามารถในการบริหารและการจัดการศึกษา
/ ความสามารถในการนิเทศการศึกษา และการพัฒนาตนเอง )
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คือ
- ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน / ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการสถานศึกษา / ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการศึกษา / ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา
- ส่วนที่ 2 ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ( รางวัลระดับชาติขึ้นไป จำนวนรางวัลตามที่กำหนด )
- ส่วนที่ 3 ผลงานทางวิชาการ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ซึ่งการพัฒนางานตามข้อตกลงจะต้องต่อยอดจากผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
5. เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ปี 2557 ผมถามสำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ( 02-1277000 ต่อ 4551 ) ได้รับคำตอบว่า พนักงานราชการเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้ โดยไม่ได้กำหนดจำกัดวงเงินไว้ อ้างอิงจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 “ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 พ.ศ.2552” ข้อ 35 ( ดูได้ที่ home.kku.ac.th/praud…/law/01_assets/07_2552_assets_edit7.pdf )
- ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน / ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการสถานศึกษา / ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารและจัดการศึกษา / ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา
- ส่วนที่ 2 ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ( รางวัลระดับชาติขึ้นไป จำนวนรางวัลตามที่กำหนด )
- ส่วนที่ 3 ผลงานทางวิชาการ ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ซึ่งการพัฒนางานตามข้อตกลงจะต้องต่อยอดจากผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
5. เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ปี 2557 ผมถามสำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ( 02-1277000 ต่อ 4551 ) ได้รับคำตอบว่า พนักงานราชการเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้ โดยไม่ได้กำหนดจำกัดวงเงินไว้ อ้างอิงจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 “ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 พ.ศ.2552” ข้อ 35 ( ดูได้ที่ home.kku.ac.th/praud…/law/01_assets/07_2552_assets_edit7.pdf )
ระเบียบฉบับที่ 7 ปี 2552 นี้
กำหนดไว้ในข้อ 4 ว่า
“ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 35 แห่งระเบียบปี 35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 35 คณะกรรมการตามข้อ 34 แต่ละคณะ ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน ซึ่งแต่งตั้งจาก ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ...”
“ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 35 แห่งระเบียบปี 35 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 35 คณะกรรมการตามข้อ 34 แต่ละคณะ ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน ซึ่งแต่งตั้งจาก ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ...”
ที่จริง ก่อนหน้าที่จะมีระเบียบฉบับที่ 7 ออกมาในปี 52
นี้ ก็มีหนังสือตอบข้อหารือก่อนแล้วว่า
ให้พนักงานราชการเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุได้ ( ผมจำไม่ได้ว่าหนังสือตอบข้อหารือฉบับนั้น
พูดถึงเฉพาะกรรมการ หรือเป็นประธานได้ด้วย
และเฉพาะกรณีหน่วยงานไม่มีข้าราชการหรือเปล่า เพราะเมื่อมีระเบียบฉบับที่ 7 ออกมาชัดเจนแล้ว ผมก็ทิ้งหนังสือตอบข้อหารือนั้นไป
ไม่ต้องนำมาใช้อ้างอิงอีกแล้ว )
ที่ระเบียบเดิม ปี 35 ไม่มีคำว่าพนักงานราชการไว้ เพราะ ปี 35 ประเทศไทยยังไม่มีพนักงานราชการ
ที่ระเบียบเดิม ปี 35 ไม่มีคำว่าพนักงานราชการไว้ เพราะ ปี 35 ประเทศไทยยังไม่มีพนักงานราชการ
หลังจากนั้น เดือน ม.ค. ปี 58 ผมหารือเรื่องนี้กับกลุ่มงานพัสดุ
กลุ่มการคลัง กศน. อีก ได้รับคำตอบว่า ถ้าหน่วยงานมีข้าราชการ ประธานกรรมการต้องเป็นข้าราชการ
สรุปคือ ถ้าหน่วยงานไม่มีข้าราชการ ให้พนักงานราชการเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุได้โดยไม่จำกัดวงเงิน แต่ถ้ามีข้าราชการต้องให้ข้าราชการเป็นประธานกรรมการ
สรุปคือ ถ้าหน่วยงานไม่มีข้าราชการ ให้พนักงานราชการเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุได้โดยไม่จำกัดวงเงิน แต่ถ้ามีข้าราชการต้องให้ข้าราชการเป็นประธานกรรมการ
แต่.. ต่อมา ปลายปี 58 มีผู้บอกว่า ถ้าวงเงินเกินแสน
ต้องให้ข้าราชการอำเภออื่นมาเป็นประธาน
ปลายเดือน ม.ค.59 ผมจึงหารือกลุ่มงานพัสดุ
กลุ่มการคลัง กศน. ในเรื่องนี้อีก ครั้งนี้ได้รับคำตอบใหม่ว่า
“เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้ถาม น้องที่กลุ่มงานพัสดุตอบตามระเบียบเดิมว่า ประธานกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น ผู้ถามอ้างระเบียบฉบับที่ 7 น้องที่ตอบจึงถามต่อไปที่กรมบัญชีกลาง ( ที่เดียวกับที่ผมถาม ) ได้รับคำตอบว่า จะให้พนักงานราชการใหญ่กว่าข้าราชการได้อย่างไร ประธานต้องเป็นข้าราชการ ส่วนพนักงานราชการเป็นกรรมการ”
“เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้ถาม น้องที่กลุ่มงานพัสดุตอบตามระเบียบเดิมว่า ประธานกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น ผู้ถามอ้างระเบียบฉบับที่ 7 น้องที่ตอบจึงถามต่อไปที่กรมบัญชีกลาง ( ที่เดียวกับที่ผมถาม ) ได้รับคำตอบว่า จะให้พนักงานราชการใหญ่กว่าข้าราชการได้อย่างไร ประธานต้องเป็นข้าราชการ ส่วนพนักงานราชการเป็นกรรมการ”
วันที่ 2 ก.พ.59 ผมจึงหารือสำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง ( 02-1277000 ต่อ 4551 ) อีก
เขาก็ยืนยันเหมือนเดิมว่าระเบียบฉบับที่ 7 ชัดเจนแล้ว ประธานกรรมการแต่งตั้งจากพนักงานราชการได้
โดยระเบียบไม่ได้ระบุจำกัดวงเงินไว้ ถ้าส่วนราชการใดจะกำหนด “นโยบาย” เป็นอย่างอื่น เช่นห้ามพนักงานราชการเป็นประธานกรณีวงเงินเกินแสน
ก็คงกำหนดได้ แต่ควรกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
วันที่ 4 ก.พ.59 ผมหารือกลุ่มงานพัสดุ
กลุ่มการคลัง กศน. อีกครั้ง
ครั้งนี้ หัวหน้า กลุ่มงานพัสดุ ( อรอัญญาญ์ ธีรกรณ์พัฒน์ ) สรุปชัดเจนว่า
ให้ยึดระเบียบฉบับที่ 7 ซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรที่อ้างอิงได้ คือ
“พนักงานราชการสามารถเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุได้โดยไม่จำกัดวงเงิน แต่ถ้าหน่วยงาน/สถานศึกษานั้นมีข้าราชการ ต้องให้ข้าราชการเป็นประธาน”
6. เนื่องจากวันที่ 4 ก.พ.59 กศน.อ.ผักไห่ ยังได้รับหนังสือเรียน กศ.ขั้นพื้นฐานที่จ้างพิมพ์ไม่ครบ ทั้งที่เกินกำหนดส่งแล้ว เวลาผ่านมาเกินกลางเทอมแล้ว ผู้รับจ้างทยอยนำหนังสือมาส่ง 3 ครั้งแล้ว วันนี้ ( 4 ก.พ.59 ) ก็ยังไม่ครบ หนังสือบางรายการ ( ประถม ) ก็เป็นหนังสือที่พิมพ์ไว้ก่อนกลุ่มพัฒนา กศน.แก้ไขคำผิด
ครั้งนี้ หัวหน้า กลุ่มงานพัสดุ ( อรอัญญาญ์ ธีรกรณ์พัฒน์ ) สรุปชัดเจนว่า
ให้ยึดระเบียบฉบับที่ 7 ซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรที่อ้างอิงได้ คือ
“พนักงานราชการสามารถเป็นประธานกรรมการตรวจรับพัสดุได้โดยไม่จำกัดวงเงิน แต่ถ้าหน่วยงาน/สถานศึกษานั้นมีข้าราชการ ต้องให้ข้าราชการเป็นประธาน”
6. เนื่องจากวันที่ 4 ก.พ.59 กศน.อ.ผักไห่ ยังได้รับหนังสือเรียน กศ.ขั้นพื้นฐานที่จ้างพิมพ์ไม่ครบ ทั้งที่เกินกำหนดส่งแล้ว เวลาผ่านมาเกินกลางเทอมแล้ว ผู้รับจ้างทยอยนำหนังสือมาส่ง 3 ครั้งแล้ว วันนี้ ( 4 ก.พ.59 ) ก็ยังไม่ครบ หนังสือบางรายการ ( ประถม ) ก็เป็นหนังสือที่พิมพ์ไว้ก่อนกลุ่มพัฒนา กศน.แก้ไขคำผิด
ผมบอกว่าจะต้องปรับ ( คิดว่าที่ไหนปรับเขาจะรีบส่งก่อน ที่ไหนไม่ปรับเขาจะส่งช้า
) ผู้รับจ้างบอกว่าถ้าปรับก็ปรับเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้ส่ง ส่วนรายการที่พิมพ์ไว้ก่อนแก้คำผิด
จะพิมพ์มาให้ใหม่ แต่ยังไม่กำหนดว่าพิมพ์ใหม่จะส่งเมื่อไร เล่มเก่าที่นำมาส่งแล้ว(ที่ไม่ได้แก้คำผิด)ก็จะยกให้ด้วย
ให้นำหนังสือที่ส่งแล้วทั้งหมดไปให้ นศ.ได้เลย
แต่ต่อมา ผู้รับจ้างก็ทำหนังสือมาขอยกเว้นค่าปรับ ให้เหตุผลว่า เขาไม่ได้ใช้ใบแทรกแก้คำผิดมาประกอบหนังสือเก่าแล้วนำมาส่ง แต่เขาพิมพ์หนังสือขึ้นมาใหม่ จึงล่าช้า
ผมจึงหารือเรื่องนี้กับหัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. เมื่อ 4 ก.พ.59 ได้รับคำตอบว่า
1) การจ้างพิมพ์หนังสือ ถ้ายังส่งมอบไม่ถูกต้อง/ครบถ้วน จะยังตรวจรับ/รับมอบ ไม่ได้
2) เมื่อยังตรวจรับ/รับมอบไม่ได้ การปรับก็ต้องปรับตามยอดเต็ม ปรับถึงวันที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน ( ถึงวันที่นำหนังสือที่พิมพ์แก้ไขคำผิดใหม่มาส่งครบถ้วน )
3) เมื่อยังตรวจรับ/รับมอบเป็นของเราไม่ได้ ก็ไม่มีสิทธิจะนำหนังสือส่วนที่ได้รับแล้วไปให้ นศ.
4) ผู้รับจ้างสามารถทำหนังสือขอยกเว้นค่าปรับมาให้กรรมการตรวจรับฯพิจารณาได้ เหตุผลเช่น ผู้จ้างส่งมอบต้นฉบับให้ช้า เป็นความบกพร่องของผู้จ้าง จึงจะพิจารณายกเว้นค่าปรับได้ แต่เหตุผลที่ว่าเขาพิมพ์ใหม่ไม่ได้ใช้หนังสือเก่ามาแทรกใบแก้คำผิดจึงล่าช้า นั้น เป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องเพราะต้นฉบับที่ใช้จ้างพิมพ์เป็นต้นฉบับที่แก้คำผิดแล้ว และเรามอบให้ตั้งแต่ทำสัญญาหรือสั่งจ้าง เขารู้ตั้งแต่รับจ้างแล้วว่าต้องพิมพ์เหมือนต้นฉบับ
7. คืนวันที่ 8 ก.พ.59 มี ผอ.กศน.อ. ถามผมทางไลน์ ว่า ย้ายข้าราชการครูและบุคลากรรอบนี้ 1-15 ก.พ. ผู้บริหารย้ายด้วยป่าว
แต่ต่อมา ผู้รับจ้างก็ทำหนังสือมาขอยกเว้นค่าปรับ ให้เหตุผลว่า เขาไม่ได้ใช้ใบแทรกแก้คำผิดมาประกอบหนังสือเก่าแล้วนำมาส่ง แต่เขาพิมพ์หนังสือขึ้นมาใหม่ จึงล่าช้า
ผมจึงหารือเรื่องนี้กับหัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. เมื่อ 4 ก.พ.59 ได้รับคำตอบว่า
1) การจ้างพิมพ์หนังสือ ถ้ายังส่งมอบไม่ถูกต้อง/ครบถ้วน จะยังตรวจรับ/รับมอบ ไม่ได้
2) เมื่อยังตรวจรับ/รับมอบไม่ได้ การปรับก็ต้องปรับตามยอดเต็ม ปรับถึงวันที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน ( ถึงวันที่นำหนังสือที่พิมพ์แก้ไขคำผิดใหม่มาส่งครบถ้วน )
3) เมื่อยังตรวจรับ/รับมอบเป็นของเราไม่ได้ ก็ไม่มีสิทธิจะนำหนังสือส่วนที่ได้รับแล้วไปให้ นศ.
4) ผู้รับจ้างสามารถทำหนังสือขอยกเว้นค่าปรับมาให้กรรมการตรวจรับฯพิจารณาได้ เหตุผลเช่น ผู้จ้างส่งมอบต้นฉบับให้ช้า เป็นความบกพร่องของผู้จ้าง จึงจะพิจารณายกเว้นค่าปรับได้ แต่เหตุผลที่ว่าเขาพิมพ์ใหม่ไม่ได้ใช้หนังสือเก่ามาแทรกใบแก้คำผิดจึงล่าช้า นั้น เป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องเพราะต้นฉบับที่ใช้จ้างพิมพ์เป็นต้นฉบับที่แก้คำผิดแล้ว และเรามอบให้ตั้งแต่ทำสัญญาหรือสั่งจ้าง เขารู้ตั้งแต่รับจ้างแล้วว่าต้องพิมพ์เหมือนต้นฉบับ
7. คืนวันที่ 8 ก.พ.59 มี ผอ.กศน.อ. ถามผมทางไลน์ ว่า ย้ายข้าราชการครูและบุคลากรรอบนี้ 1-15 ก.พ. ผู้บริหารย้ายด้วยป่าว
ผมตอบว่า ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3.1
ในหนังสือสำนักงาน กศน. กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาขอย้ายกรณีปกติปีละครั้งเดียว
ในช่วง 1-15 ส.ค. ( ดูหนังสือนี้ได้ที่ https://db.tt/LbkfNeHq )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย