วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1.ปกติไม่ให้พนักงานราชการเป็นกรรมการทำลายหนังสือ, 2.เพิ่มวิชาเลือกบังคับอีกสองวิชา, 3.นศ.ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว ต้องมาพบกลุ่ม 75 % ของ 18 สัปดาห์หรือไม่, 4.ปัญหาวิชาเลือกบังคับ, 5.ครู ศรช.มีนักศึกษาไม่ครบ 80 คน เบิกเป็นรายหัวถูกไหม, 6.ซักซ้อมแนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ, 7.เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ คุมสอบปลายภาคได้ไหม



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. สำนักนายกรัฐมนตรี ออกระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณฉบับที่ 3 ให้ ขรก.พลเรือนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับปฏิบัติการ/ชำนาญงาน ขึ้นไป หรือพนักงานราชการ รับรองสำเนาหนังสือ สำเนาถูกต้อง
             และ โดยปกติให้แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือจาก ขรก.พลเรือนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับปฏิบัติการ/ชำนาญงาน ขึ้นไป

             ( ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีใช้ทั่วไป
                การทำลายหนังสือตามระเบียบสารบรรณ ผอ.กศน.อำเภอแต่งตั้งกรรมการไม่ได้ ต้องแต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจคือ ผอ.กศน.จังหวัด
                ส่วนกรรมการ ก็คล้ายกับกรรมการตรวจรับพัสดุ คือ เดิม "ปกติ"ก็ไม่ให้พนักงานราชการตรวจรับพัสดุ เราต้องให้ข้าราชการอำเภออื่นมาเป็นกรรมการ แต่กรณีไม่ปกติเช่นหารือว่าไม่มีข้าราชการ ลำบาก ตอนนี้ก็ผ่อนพันให้พนักงานราชการตรวจรับพัสดุได้ แต่ก็ยังไม่ให้เป็นประธานกรรมการ
                สรุป กรณีไม่ปกติ ให้ขอความเห็นชอบ
                การแต่งตั้งผู้รักษาการ ผอ.กศน.อำเภอ ก็คล้ายกัน บางอำเภอไม่มีข้าราชการ ก็ต้องให้ข้าราชการอำเภออื่นมารักษาการ ยังไม่ยอมให้ลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการรักษาการ อำเภอใดมีข้าราชการก็ให้รักษาการ ผอ.ได้ ไม่ยุ่งยาก )






         2. เพิ่มวิชาเลือกบังคับอีก 2 วิชา คือ วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย กับ วิชาลูกเสือวิสามัญ ทั้ง 3 ระดับ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/61 เป็นต้นไป ซึ่งจะสอบปลายภาคโดยข้อสอบกลาง
             ถ้าสถานศึกษาใดให้ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่
2/60 นี้ เฉพาะภาคเรียนที่ 2/60 นี้ให้ กศน.จังหวัดกับสถานศึกษาจัดทำแบบทดสอบปลายภาคเอง






         3. วันที่ 26 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.เขต โทร.มาถามผม ว่า  ที่ว่า นศ.ต้องมาเรียนไม่น้อยกว่า 75 % ของเวลาเรียนนั้น ถ้าครูจัดพบกลุ่มวิชาละ 2 สัปดาห์ โดยตลอดภาคเรียนรวมเป็นจัดพบกลุ่ม 18 สัปดาห์ นศ.คนที่ภาคเรียนนี้ลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว จะต้องมาพบกลุ่มให้ครบ 75 % ของ 18 สัปดาห์ หรือมาเพียง 2 ครั้งแล้วไม่ต้องมาอีก

.............ผมตอบว่า   ตามประกาศสำนักงาน กศน.ฉบับลงวันที่ 8 ต.ค.55 ข้อ 2 กำหนดว่า ต้องมีเวลาพบกลุ่มหรือพบครูไม่น้อยกว่า 75 % ของเวลาตามแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตกลงร่วมกับครู จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปลายภาคเรียน ถ้าผู้เรียนมีระยะเวลาการพบกลุ่มหรือพบครูไม่ถึงร้อยละ 75 แต่ถึงร้อยละ 50 ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะพิจารณาอนุญาตให้เข้าสอบปลายภาคเรียน ( ถ้าไม่ถึงร้อยละ 50 ผู้บริหารก็อนุญาตให้เข้าสอบไม่ได้ ยกเว้น นศ.ของสถาบัน กศ.ทางไกล ) นั้น
.............หมายถึง
75 % ของเวลาตามแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล เช่น ถ้าผู้เรียนบางคนลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว และครูจัดพบกลุ่มวิชานั้นตลอดภาคเรียน 2 ครั้ง รวม 12 ชม. ผู้เรียนคนนั้นก็ต้องมาพบกลุ่มในวิชานั้น 75 % ของ 12 ชั่วโมง คือ 9 ชม., ถ้าผู้เรียนรายใดลงทะเบียนเรียน 2 วิชา และครูจัดพบกลุ่ม 2 วิชานั้นรวมตลอดภาคเรียน 24 ชม. ผู้เรียนคนนนั้นก็ต้องมาพบกลุ่มใน 2 วิชานั้น ให้ได้อย่างน้อย 18 ชม. ก็จะมีสิทธิเข้าสอบ 2 วิชานั้น เป็นต้น ส่วนวันพบกลุ่มวันอื่น ๆ ที่ไม่มีการพบกลุ่มวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องมา
.............แต่ ถ้าจัดแผนการพบกลุ่มแบบสัปดาห์ละหลายวิชา เช่นเรียนวิชาละ
30 นาที โดยแต่ละครั้งเรียนทุกวิชาทั้ง 18 ครั้ง แม้ผู้เรียนจะลงทะเบียนเรียนวิชาเดียว ก็ต้องมาพบกลุ่มให้ได้ 75 % ของ 18 ครั้ง คืออย่างน้อย 13.5 ครั้ง 






         4. เช้าวันที่ 27 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอ เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผมในเฟซบุ๊กกลุ่มครูนอกระบบ ว่า  วิชาเลือก แต่บังคับ ภาษาวิบัติหมด ทำไมไม่เอาไปใส่ในวิชาบังคับหมวดสังคม ทุกคนจะได้เรียน ..พื้นฐานเขาเอาไปไว้ในหมวดสังคม นะ ..งงจริงๆกับนักวิชาการ กศน.

             ผมตอบว่า   "เลือกบังคับ" คือ ไม่ถึงกับบังคับ ไม่ต้องเรียนก็จบได้
            
"วิชาเลือกบังคับ" ในแต่ละระดับมีมากกว่า 2 วิชา ตอนนี้ ( ธ.ค.60 ) มี 6 วิชาแล้ว แต่ให้เลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับนี้ไม่น้อยกว่า 2 วิชา จะเลือกเรียนเพียง 2 วิชาก็ได้ เมื่อเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับแล้วหน่วยกิตยังไม่ครบก็ไปเลือกเรียนจากวิชาเลือกเสรีให้ครบ
            
( สรุปว่า การเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับ+วชาเลือกเสรีที่มีทั้งหมด ต้องเลือกเรียนจากวิชาเลือกบังคับอย่างน้อย 2 วิชา )
             ถ้านำวิชาเลือกบังคับไปรวมไว้ใน "วิชาบังคับ" ทุกคนก็ต้องเรียน จะเลือกไม่ได้
             และการเปลี่ยนวิชาบังคับต้องเปลี่ยนหลักสูตร ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจเปลี่ยน เปลี่ยนยากกว่ามาก ขณะนี้จึงเปลี่ยนแบบนี้ไปก่อนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนหลักสูตร

             ผอ.ผู้เขียน เขียนต่อ ว่า  ความต่างมันอยู่ที่วิชาเลือกนี้ถ้าเลือกไปสองวิชาแล้ว วิชาเลือกหมวดวิทยาศาสตร์ 19 หน่วย ภาษาอังกฤษเลือก และคณิตศาตร์เพิ่มเติ่มที่เป็นทางเลือกให้กับ นศ.กศน.ที่จะไปเรียนพยาบาล หรือสายวิทย์ หน่วยกิตจะเกิน ..ถ้า จะเอาแค่พอดีกับหน่วยกิต โดยมีวิชาเลือกบังคับด้วย ทางเลือกที่ว่า ก็หมดกัน
             ผมตอบว่า  วิชาในวิชาเลือกบังคับ น่าจะเป็นวิชาสายวิทย์ด้วยนะ ( วิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
, การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ, วัสดุศาสตร์ ) แต่ถ้าไม่ใช่ และการต้องเรียนวิชาเลือกบังคับ 2 วิชา ทำให้วิชาเลือกเสรีเหลือไม่พอที่จะเป็นสายวิทย์ ก็คงต้องเรียนวิชาเลือกเสรีเกินกว่าที่กำหนด ( บางคนเรียนจบไปแล้วยังมาเรียนเพิ่มบางวิชาเพื่อให้เป็นสายวิทย์ )

         5. คืนวันที่ 26 ธ.ค.60 มี ผอ.กศน.อำเภอถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ครู ศรช มีนักศึกษาไม่ครบ80คนให้เบิกค่าตอบแทนเป็นรายหัวถูกไหม ถ้า80คนเหมาจ่าย15000บาทใช่ไหม

             ผมตอบว่า   ดูข้อมูลที่ผมเคยโพสต์ในข้อ 4 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/12/thai.html
             ซึ่งสรุปได้ว่า

             - เกณฑ์สำหรับครู ศรช. ให้แต่ละจังหวัดกำหนดเอง ไม่จำเป็นต้องเป็น 80 คน ( แต่ถ้าครบ 100 คน ก็เบิกเหมาจ่าย 15,000 บาทได้แล้ว จังหวัดจะกำหนดว่าเกิน 100 คนจึงจะให้เบิกเหมาจ่าย 15,000 บาท ไม่ได้ )
            
- ถ้ามี นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์ที่จังหวัดกำหนด เช่นจังหวัดนั้นกำหนด 50-90 คน แล้วมีไม่ครบ 50 คน หนังสือสั่งการฉบับล่าสุดไม่ได้ระบุให้เบิกจ่ายเป็นรายหัวแบบที่เมื่อก่อนเคยกำหนด
            
- แต่ถ้าเป็น ครูประจำกลุ่ม จากหนังสือสั่งการ 2 ฉบับล่าสุด สรุปให้เบิกจ่ายเป็นรายหัวได้ถ้า นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์
            
- ฉะนั้น ถ้า นศ.ไม่ครบตามเกณฑ์ น่าจะจ้างเป็นครูประจำกลุ่ม โดยถ้ามี นศ. 40-50 คน ครูประจำกลุ่มเบิกเหมาจ่ายเดือนละ 3,200 บาท  ถ้าไม่ครบ 40 คน เบิกรายหัว ๆ ละ 80 บาท

         6. ซักซ้อมความเข้าใจแนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการ กศน. เช่นเรื่อง การให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ( ย้าย : ต้องมีเลขที่ตำแหน่งว่างในตำแหน่งเดียวกัน ), การขอใช้บัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรของจังหวัดอื่น
             ดาวน์โหลดได้ที่ 
https://www.dropbox.com/s/jx7mfhgzu03eg4m/PRGunderstan.pdf?dl=1

         7. วันที่ 29 ธ.ค.60 มีผู้โทร.ถามผม ( ให้ตอบด่วนทางไลน์ ) ว่า เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ คุมสอบปลายภาคได้ไหม

             ผมตอบว่า   ผมเคยโพสต์เรื่องนี้ 4-5 ครั้ง เช่นใน
            
- ข้อ 6 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/08/oudnhun.html
            
- ข้อ 6 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/09/relax.html
             ซึ่งสรุปว่า
            
- ในส่วนของกรรมการคุมห้องสอบ ต้องเป็น ข้าราชการทุกสังกัด(ไม่รวมผู้เกษียณแล้ว) พนักงานราชการทุกสังกัด ครูในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน ( ผู้รับจ้างเหมาบริการ คุมสอบได้เฉพาะตำแหน่งครูต่าง ๆ เท่านั้น ) แต่ครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน กศน. ไม่ให้คุมห้องสอบนักศึกษาของตนเอง
            
- ในส่วนของกรรมการกลาง จนท.กศน. ทั้งข้าราชการ-พนักงานราชการ-จ้างเหมา ทุกตำแหน่ง เป็นกรรมการกลางได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย