1. ดึกวันที่ 5 มี.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์แฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า ถ้าส่งรายชื่อคนสอบe examกศน.ไม่ทัน ต้องทำไงบ้าง ครูเค้าลืมกรอก มารู้อีกทีหมดเขตลงแล้ว
เรื่องนี้ ท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ กศน.
บอกว่า ให้ กศน.อำเภอ
รีบทำเรื่องขอส่งรายชื่อเข้าสอบเพิ่มเติม ไปยัง กศน.จังหวัด ด่วน และ กศน.จังหวัด
ทำเรื่องขออนุญาตต่อไปยัง เลขาธิการ กศน. ถ้ามีจำนวนมากพอสมควร
จะกำหนดขยายเวลาการสอบออกไปอีก โดยอาจเปิดให้สอบเพิ่มในเดือนถัดไป หรือไม่ก็
ถ้ามีจำนวนไม่กี่คน อาจต้องรอเปิดสอบในภาคเรียนต่อไป
( ถ้าเป็นความบกพร่องของ นศ.
อาจให้รอสอบปลายภาคเรียนต่อไป แต่ถ้าเป็นความบกพร่องของบุคลากร
ควรมีการลงโทษบุคลากร ถ้าเป็นความบกพร่องครั้งแรกอาจแค่ว่ากล่าวตักเตือน
ถ้าบกพร่องครั้งที่ 2 ควรมากกว่าว่ากล่าวตักเตือน
มิฉะนั้นจะไม่ตระหนักในการปฏิบัติงานต่อไป )
2. สถานศึกษา ที่มี นศ.ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ( ยังไม่มีบัตรประจำตัว 13 หลัก เพราะยังไม่ไปขึ้นทะเบียนและจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวกับหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย )
2. สถานศึกษา ที่มี นศ.ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ( ยังไม่มีบัตรประจำตัว 13 หลัก เพราะยังไม่ไปขึ้นทะเบียนและจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวกับหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย )
ให้สถานศึกษาดำเนินการตามขั้นตอนกำหนดรหัสประจำตัว
นศ.เหล่านี้ ที่เว็บไซต์ http://www.gcode.moe.go.th
ดูหนังสือแจ้งที่ https://www.dropbox.com/s/2mp4qr6r8f7lepv/NoThaiStudent.pdf?dl=1
3. ค่าใช้จ่ายที่ เป็นและไม่เป็น การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
ดูหนังสือแจ้งที่ https://www.dropbox.com/s/2mp4qr6r8f7lepv/NoThaiStudent.pdf?dl=1
3. ค่าใช้จ่ายที่ เป็นและไม่เป็น การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
1) รายการค่าใช้จ่าย 15 รายการ ที่ถือเป็นการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ
แต่ถ้าซื้อครั้งหนึ่งไม่เกิน 10,000 บาท ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุข้อ 22
วรรค 1 ( ดูในตาราง 1 ) เช่น ค่าโล่
ใบประกาศเกียรติคุณ
2) รายการค่าใช้จ่าย 15 รายการ ที่ไม่ถือเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ ( ดูในตาราง 2 ) เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ดูตาราง 1-2 ในหนังสือแจ้งที่
https://www.dropbox.com/s/mdhjf482flkp8dn/pasaduV119.pdf?dl=1
4. วันเสาร์ที่ 10 มี.ค.51 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า เราเรียกนักศึกษา กศน. ที่ถูกต้อง ต้องเรียกว่าอะไร นักเรียน หรือ นักศึกษา ดร.อาจารย์ที่ปรึกษาทำวิจัย ป.โท แย้งมาว่า นักศึกษาเรียกระดับอุดมศึกษา เรามีแหล่งอ้างอิงไหม หาอ้างอิงให้ไม่ได้ รู้แต่เราใช้แบบนี้ ดูใน พรบ.ก็ไม่เห็น
2) รายการค่าใช้จ่าย 15 รายการ ที่ไม่ถือเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ ( ดูในตาราง 2 ) เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ดูตาราง 1-2 ในหนังสือแจ้งที่
https://www.dropbox.com/s/mdhjf482flkp8dn/pasaduV119.pdf?dl=1
4. วันเสาร์ที่ 10 มี.ค.51 มีผู้ถามผมทางไลน์ ว่า เราเรียกนักศึกษา กศน. ที่ถูกต้อง ต้องเรียกว่าอะไร นักเรียน หรือ นักศึกษา ดร.อาจารย์ที่ปรึกษาทำวิจัย ป.โท แย้งมาว่า นักศึกษาเรียกระดับอุดมศึกษา เรามีแหล่งอ้างอิงไหม หาอ้างอิงให้ไม่ได้ รู้แต่เราใช้แบบนี้ ดูใน พรบ.ก็ไม่เห็น
ผมตอบว่า เรื่องนี้ เคยมีคนแย้งว่า กศน.เรียกผิด เพราะ
ตามพจนานุกรม ให้ความหมายของคำว่า นักศึกษา หมายถึง “ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา”
กศน.ใช้คำว่า นักศึกษา เพราะ คำว่า นักเรียน ใช้กับวัยเรียนในระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ในระบบโรงเรียน แต่ นักศึกษา กศน.โดยปกติจะพ้นวัยตามเกณฑ์การศึกษาแล้ว แม้แต่ผู้สูงอายุก็ยังมาเรียน กศน.ระดับประถม จึงไม่เหมาะจะใช้คำว่านักเรียนกับบุคคลกลุ่มนี้
กศน.ใช้คำว่า นักศึกษา เพราะ คำว่า นักเรียน ใช้กับวัยเรียนในระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ในระบบโรงเรียน แต่ นักศึกษา กศน.โดยปกติจะพ้นวัยตามเกณฑ์การศึกษาแล้ว แม้แต่ผู้สูงอายุก็ยังมาเรียน กศน.ระดับประถม จึงไม่เหมาะจะใช้คำว่านักเรียนกับบุคคลกลุ่มนี้
ท่าน ดร.รุ่งอรุณ ผอ.กลุ่มพัฒนา
กศน. บอกว่า ใช้คำว่า “นักศึกษาผู้ใหญ่” มาตั้งแต่ “สมัยก่อน”
( กศน.ไม่ได้เป็นผู้คิดหรือกำหนดคำนี้ขึ้นมา แต่คำนี้มีมาก่อนที่จะมี กศน. คือใช้คำว่านักศึกษาผู้ใหญ่มาตั้งแต่มี “การศึกษาผู้ใหญ่” โดยรัฐบาลได้จัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2483 เพื่อให้ปฏิบัติงาน “ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้อ่านออกเขียนได้และรู้หน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย” ตั้งแต่พวกเรายังไม่เกิดกันเลย
แต่เริ่มทดลองวิธีการในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่เมื่อ พ.ศ.2484 ขยายงานในปี พ.ศ.2485 เน้นสอนประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปี ยังไม่มีระดับมัธยมศึกษา ยังไม่มีอาชีวศึกษาผู้ใหญ่ ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน และแม้เมื่อมีกรมสามัญศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่หรือ กญ. อยู่ในสังกัดกรมสามัญศึกษาคือนักศึกษาผู้ใหญ่อยู่ในสังกัดเดียวกับนักเรียนในระบบโรงเรียน ก็ไม่ได้เปลี่ยนมาเรียกนักศึกษาผู้ใหญ่ว่านักเรียน )
( กศน.ไม่ได้เป็นผู้คิดหรือกำหนดคำนี้ขึ้นมา แต่คำนี้มีมาก่อนที่จะมี กศน. คือใช้คำว่านักศึกษาผู้ใหญ่มาตั้งแต่มี “การศึกษาผู้ใหญ่” โดยรัฐบาลได้จัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2483 เพื่อให้ปฏิบัติงาน “ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้อ่านออกเขียนได้และรู้หน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย” ตั้งแต่พวกเรายังไม่เกิดกันเลย
แต่เริ่มทดลองวิธีการในการจัดการศึกษาผู้ใหญ่เมื่อ พ.ศ.2484 ขยายงานในปี พ.ศ.2485 เน้นสอนประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปี ยังไม่มีระดับมัธยมศึกษา ยังไม่มีอาชีวศึกษาผู้ใหญ่ ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน และแม้เมื่อมีกรมสามัญศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่หรือ กญ. อยู่ในสังกัดกรมสามัญศึกษาคือนักศึกษาผู้ใหญ่อยู่ในสังกัดเดียวกับนักเรียนในระบบโรงเรียน ก็ไม่ได้เปลี่ยนมาเรียกนักศึกษาผู้ใหญ่ว่านักเรียน )
ถ้าดูใน “หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” (
หลักสูตรปัจจุบันนี้ ) จะใช้คำว่า “ผู้เรียน” ส่วนใน “คู่มือดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”
ในส่วนของ บทนำ หลักการ จุดหมาย โครงสร้างหลักสูตร ฯลฯ จะใช้คำว่า “ผู้เรียน” แต่ในส่วนตั้งแต่การสมัครเรียนเป็นต้นไปจะใช้คำว่า
“นักศึกษา” เช่น ใบสมัครเป็นนักศึกษา
ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา การย้ายสถานศึกษาของนักศึกษา งานทะเบียนนักศึกษา
ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวปฏิบัติการรับนักศึกษาของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
และ ในใบระเบียนแสดงผลการเรียน ( หลักฐานการจบการศึกษา : Transcript of
Record ) ซึ่งออกตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ใช้คำว่า
รหัสประจำตัวนักศึกษา
ถ้าจะหาเอกสารไปอ้างอิงกับอาจารย์ ก็ใช้เอกสารเหล่านี้ โดยเฉพาะ ใบระเบียนแสดงผลการเรียน
ถ้าจะหาเอกสารไปอ้างอิงกับอาจารย์ ก็ใช้เอกสารเหล่านี้ โดยเฉพาะ ใบระเบียนแสดงผลการเรียน
หรือจะใช้คำว่า ผู้เรียน ก็ได้
ซึ่งคำว่าผู้เรียนนี้เป็นคำรวม ๆ ใช้ได้กับทั้ง ผู้เรียนสายสามัญ ( กศ.ขั้นพื้นฐาน
) และ ผู้เรียนสายอาชีพ ( กศ.ต่อเนื่อง )
โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2554 จะใช้คำว่า “ผู้เรียน” ซึ่งหมายความว่า “ผู้ที่ได้สมัครเข้ารับการศึกษาต่อเนื่อง...”
ในส่วนของ กศ.ต่อเนื่อง จะใช้คำว่าผู้เรียนตลอด มีเผลอใช้คำว่านักศึกษาอยู่ที่เดียวคือในคู่มือการจัดจัดการศึกษาต่อเนื่องใช้คำว่า “จำนวนนักศึกษา” ในตัวอย่างบัญชีลงเวลาเรียนการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
แต่ผมว่า กศ.ต่อเนื่อง ไม่น่าจะใช้คำว่าผู้เรียนทั้งหมด แต่ใช้คำว่าผู้เรียนกับ รูปแบบกลุ่มสนใจและชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนต้องลงทะเบียนเป็นผู้เรียน ส่วนรูปแบบอบรมประชาชน น่าจะใช้คำว่า ผู้เข้าอบรมหรือผู้เข้ารับการอบรม เพราะไม่ต้องลงทะเบียนเป็นผู้เรียน
โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2554 จะใช้คำว่า “ผู้เรียน” ซึ่งหมายความว่า “ผู้ที่ได้สมัครเข้ารับการศึกษาต่อเนื่อง...”
ในส่วนของ กศ.ต่อเนื่อง จะใช้คำว่าผู้เรียนตลอด มีเผลอใช้คำว่านักศึกษาอยู่ที่เดียวคือในคู่มือการจัดจัดการศึกษาต่อเนื่องใช้คำว่า “จำนวนนักศึกษา” ในตัวอย่างบัญชีลงเวลาเรียนการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
แต่ผมว่า กศ.ต่อเนื่อง ไม่น่าจะใช้คำว่าผู้เรียนทั้งหมด แต่ใช้คำว่าผู้เรียนกับ รูปแบบกลุ่มสนใจและชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนต้องลงทะเบียนเป็นผู้เรียน ส่วนรูปแบบอบรมประชาชน น่าจะใช้คำว่า ผู้เข้าอบรมหรือผู้เข้ารับการอบรม เพราะไม่ต้องลงทะเบียนเป็นผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม ทั้ง กศ.ต่อเนื่อง และ
กศ.ขั้นพื้นฐาน กศน.เราไม่ใช่คำว่า นักเรียน
สรุป
- กศ.ขั้นพื้นฐาน ( สายสามัญ ) ใช้คำว่า ผู้เรียน หรือ นักศึกษา
- กศน.ต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจและชั้นเรียน ใช้คำว่า ผู้เรียน
- กศน.ต่อเนื่อง รูปแบบอบรมประชาชน ใช้คำว่า ผู้เข้าอบรมหรือผู้เข้ารับการอบรม
5. วันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 10 มี.ค.) ผมนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา ฉบับใหม่ ไปลงในกลุ่มไลน์ ปรากฏว่า มีผู้ถาม ว่า “สงสัยว่าทำไมระเบียบการชักธงชาติในสถานศึกษา ไม่มีวันที่ 23 ตุลา”
สรุป
- กศ.ขั้นพื้นฐาน ( สายสามัญ ) ใช้คำว่า ผู้เรียน หรือ นักศึกษา
- กศน.ต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจและชั้นเรียน ใช้คำว่า ผู้เรียน
- กศน.ต่อเนื่อง รูปแบบอบรมประชาชน ใช้คำว่า ผู้เข้าอบรมหรือผู้เข้ารับการอบรม
5. วันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 10 มี.ค.) ผมนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา ฉบับใหม่ ไปลงในกลุ่มไลน์ ปรากฏว่า มีผู้ถาม ว่า “สงสัยว่าทำไมระเบียบการชักธงชาติในสถานศึกษา ไม่มีวันที่ 23 ตุลา”
ผมตอบว่า วันที่
23 ตุลา ไม่เคยให้ประดับธงชาติมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะเป็นวันสวรรคต (
วันตายมีแต่ให้ลดธงครึ่งเสา ส่วนวันเกิดหรือวันเฉลิมพระชนมพรรษา
จึงจะมีการให้ชักธง ) วันสวรรคตของรัชกาลที่
9 คือวันที่ 13 ตุลา ก็ให้เป็นวันหยุดราชการแต่ไม่ได้ให้ประดับธงชาติ
เรื่องนี้มักมีคนสับสน
จนผมเคยโพสต์ถามในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2556 ว่า “การประดับธงชาติ เช่นตามบ้านเรือน ในวันสำคัญ ให้ประดับในวันที่ 23 หรือ
24 ตุลา”
( คำตอบที่ถูกต้องเป็นวันที่ 24 ตุลา เพราะเป็นวันสหประชาชาติ )
( คำตอบที่ถูกต้องเป็นวันที่ 24 ตุลา เพราะเป็นวันสหประชาชาติ )
6. ลองตอบคำถามกันครับ..
1) เก้าอี้ไม้ ราคา 200 บาท เป็นพัสดุประเภทใด ?
ก. วัสดุคงทน
ข. วัสดุสิ้นเปลือง
ค. วัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ง. ครุภัณฑ์สำนักงาน
2) เก้าอี้พลาสติก ราคา 5,500 บาท เป็นพัสดุประเภทใด ?
( ใช้ตัวเลือกชุดเดียวกับข้อ 1.)
ก. วัสดุคงทน
ข. วัสดุสิ้นเปลือง
ค. วัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ง. ครุภัณฑ์สำนักงาน
2) เก้าอี้พลาสติก ราคา 5,500 บาท เป็นพัสดุประเภทใด ?
( ใช้ตัวเลือกชุดเดียวกับข้อ 1.)
กศน.อำเภอ/จังหวัด
จะใช้เงินงบดำเนินงานและเงินอุดหนุนรายหัว ซื้อครุภัณฑ์ไม่ได้นะ เงินงบประมาณที่จะใช้ซื้อครุภัณฑ์ได้
ต้องได้รับจัดสรรมาโดยระบุว่าสำหรับซื้อครุภัณฑ์ใดโดยเฉพาะ
ถ้าสงสัยว่า อะไรเป็นวัสดุ ( ซื้อได้ ), อะไรเป็นครุภัณฑ์ ( ซื้อไม่ได้ ) ให้ดูตัวอย่าง รายการสิ่งของที่เป็นวัสดุ และรายการสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ ที่
http://www.thailocalmeet.com/bbs/PDF/59/16816_1_1467001563095.pdf
สิ่งของใดไม่มีชื่อในรายการข้างต้น ให้พิจารณาดังนี้
- ครุภัณฑ์ คือ สิ่งของที่ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหายก็สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
- วัสดุ คือ สิ่งของที่ เมื่อใช้แล้วย่อมแปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป หรือเป็นอะไหล่/ส่วนประกอบสิ่งของอื่น หรือคงทนแต่อายุการใช้งานไม่ยืนนานเมื่อชำรุดก็ไม่คุ้มที่จะซ่อมแซม
ถ้าสงสัยว่า อะไรเป็นวัสดุ ( ซื้อได้ ), อะไรเป็นครุภัณฑ์ ( ซื้อไม่ได้ ) ให้ดูตัวอย่าง รายการสิ่งของที่เป็นวัสดุ และรายการสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ ที่
http://www.thailocalmeet.com/bbs/PDF/59/16816_1_1467001563095.pdf
สิ่งของใดไม่มีชื่อในรายการข้างต้น ให้พิจารณาดังนี้
- ครุภัณฑ์ คือ สิ่งของที่ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหายก็สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
- วัสดุ คือ สิ่งของที่ เมื่อใช้แล้วย่อมแปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป หรือเป็นอะไหล่/ส่วนประกอบสิ่งของอื่น หรือคงทนแต่อายุการใช้งานไม่ยืนนานเมื่อชำรุดก็ไม่คุ้มที่จะซ่อมแซม
ในการซื้อครุภัณฑ์
ส่วนมากเราจะได้รับการจัดสรรที่กำหนดราคาและสเป็คมาแล้ว
แต่บางกรณีที่เราจะกำหนดเองเพื่อขอตั้งงบประมาณ
หรือจะซื้อด้วยเงินรายได้สถานศึกษา/หน่วยงาน
เราต้องดูมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ ซึ่ง ณ มี.ค.61
ดูบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ฉบับเดือน ม.ค.61 ( จะมีการปรับปรุงราคาเป็นระยะ ๆ
) ดู "มาตรฐานครุภัณฑ์"
ได้ที่ http://www.bb.go.th/bbhome/page.asp?option=content&dsc=%C3%D2%A4%D2%C1%D2%B5%C3%B0%D2%B9&folddsc=32004
เฉลย : ปัจจุบันเลิกการกำหนดราคา 5,000 บาท แล้ว
เก้าอี้ไม้ เป็นครุภัณฑ์ เพราะมีในตัวอย่างรายการสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ และ สภาพคงทนถาวร ใช้นั่งแล้วไม่แปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป เมื่อชำรุดก็ให้ “ช่างไม้” ซ่อมแซมให้เป็นสภาพเดิมได้
ส่วน เก้าอี้พลาสติก เป็นวัสดุ เพราะมีในตัวอย่างรายการสิ่งของที่เป็นวัสดุ และ แม้จะมีสภาพคงทนใช้นั่งแล้วไม่แปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป แต่เมื่อชำรุดโดยปกติจะไม่มี “ช่างพลาสติก” ซ่อมให้สภาพเหมือนเดิม
7. จัดกันยังไง ? กป.กศน.กำหนดคู่มือให้จัดอบรมประชาชน 1-3 วัน แต่ให้อบรมภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ 30 ชม.
เย็นวันที่ 13 มี.ค.61 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ กศน.ให้จัดตามคู่มืออบรมประชาชน คำถามคือ เราสามารถ อบรบ แล้วก็ดูงาน ในโครงฯเดียวกันได้เลยมัย อบรม 2 วัน ดูงาน 1 วัน (แล้วทำไมในคู่มือต้องกำหนดโครงการ 1-3 วันด้วย ถ้าจัดมากกว่านี้ได้มัย)
เก้าอี้ไม้ เป็นครุภัณฑ์ เพราะมีในตัวอย่างรายการสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์ และ สภาพคงทนถาวร ใช้นั่งแล้วไม่แปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป เมื่อชำรุดก็ให้ “ช่างไม้” ซ่อมแซมให้เป็นสภาพเดิมได้
ส่วน เก้าอี้พลาสติก เป็นวัสดุ เพราะมีในตัวอย่างรายการสิ่งของที่เป็นวัสดุ และ แม้จะมีสภาพคงทนใช้นั่งแล้วไม่แปรเปลี่ยนสภาพหรือหมดไป แต่เมื่อชำรุดโดยปกติจะไม่มี “ช่างพลาสติก” ซ่อมให้สภาพเหมือนเดิม
7. จัดกันยังไง ? กป.กศน.กำหนดคู่มือให้จัดอบรมประชาชน 1-3 วัน แต่ให้อบรมภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ 30 ชม.
เย็นวันที่ 13 มี.ค.61 ผมตอบคำถามที่มีผู้ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ กศน.ให้จัดตามคู่มืออบรมประชาชน คำถามคือ เราสามารถ อบรบ แล้วก็ดูงาน ในโครงฯเดียวกันได้เลยมัย อบรม 2 วัน ดูงาน 1 วัน (แล้วทำไมในคู่มือต้องกำหนดโครงการ 1-3 วันด้วย ถ้าจัดมากกว่านี้ได้มัย)
ผมตอบว่า การจัดฝึกอบรมประชาชนในโครงการต่าง ๆ ก็ให้จัดอยู่ภายใน
กรอบ คู่มือฝึกอบรมประชาชน เป็นธรรมดา คู่มือฝึกอบรมประชาชน
ที่ว่า โครงการ 1-3
วัน นั้น เป็น "คู่มือของการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
รูปแบบการฝึกอบรมประชาชน ของทุกโครงการ/กิจกรรม" ( ยกเว้นการจัดเวทีประชาคม จำนวนวันตามความเหมาะสม
)
แต่ สำหรับ โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ นี้ กำหนดว่า ในแต่ละรุ่นให้จัดหลักสูตร 30 ชั่วโมง จำนวน 30 คน งบประมาณ 31,000 บาท
ในทางปฏิบัติคงทำได้ยากหรือทำไม่ได้ เพราะ
- จะให้ครบ 30 ชม.ใน 3 วัน ต้องเป็นลักษณะการเข้าค่ายมีภาคกลางคืนทั้ง 3 วัน รวมทั้งวันสุดท้ายด้วย ซึ่งไม่เหมาะกับประชาชน ( ชาวบ้าน ) นอกจากจะจัดกับ นศ.กศน.ตามสไตล์เราโดยบอกว่า นศ.เราเป็นกลุ่มอาชีพเดียวกัน
- ถ้าจะจัดเฉพาะกลางวัน 4 วัน ให้ครบ 30 ชม. ต้องวันละ 7 ชม. 30 นาที เริ่มตั้งแต่ 8.30 น. เลิก 17.00 น. พักกลางวัน 1 ชม. วันสุดท้ายก็ต้องเลิก 17.00 น. ซึ่งก็ไม่เหมาะกับชาวบ้าน
แต่ สำหรับ โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ นี้ กำหนดว่า ในแต่ละรุ่นให้จัดหลักสูตร 30 ชั่วโมง จำนวน 30 คน งบประมาณ 31,000 บาท
ในทางปฏิบัติคงทำได้ยากหรือทำไม่ได้ เพราะ
- จะให้ครบ 30 ชม.ใน 3 วัน ต้องเป็นลักษณะการเข้าค่ายมีภาคกลางคืนทั้ง 3 วัน รวมทั้งวันสุดท้ายด้วย ซึ่งไม่เหมาะกับประชาชน ( ชาวบ้าน ) นอกจากจะจัดกับ นศ.กศน.ตามสไตล์เราโดยบอกว่า นศ.เราเป็นกลุ่มอาชีพเดียวกัน
- ถ้าจะจัดเฉพาะกลางวัน 4 วัน ให้ครบ 30 ชม. ต้องวันละ 7 ชม. 30 นาที เริ่มตั้งแต่ 8.30 น. เลิก 17.00 น. พักกลางวัน 1 ชม. วันสุดท้ายก็ต้องเลิก 17.00 น. ซึ่งก็ไม่เหมาะกับชาวบ้าน
ตามหลักการ หลักสูตรเกิน 30 ชั่วโมง จำนวนคนเกิน 30 คน ไม่เป็นไร
แต่งบประมาณไม่เกิน 31,000 บาท เราต้องเขียนโครงการทำหลักสูตรขึ้นมา
จำนวนไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง ในจำนวนชั่วโมงนี้จะมีการศึกษาดูงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ขอให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ( ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตประจำวันได้
)
ตามกรอบการฝึกอบรมประชาชนทั่วไปให้จัดไม่เกิน 3 วัน แต่ถ้า 3 วัน ไม่ครบ 30 ชม. จะจัดเกิน 3 วันเพื่อให้ครบ 30 ชม.ก็ไม่เป็นไรหรอก ถ้าเงิน 31,000 บาทพอจัด ( จำนวนคนไม่น้อยกว่า 30 คนนะ )
ตามกรอบการฝึกอบรมประชาชนทั่วไปให้จัดไม่เกิน 3 วัน แต่ถ้า 3 วัน ไม่ครบ 30 ชม. จะจัดเกิน 3 วันเพื่อให้ครบ 30 ชม.ก็ไม่เป็นไรหรอก ถ้าเงิน 31,000 บาทพอจัด ( จำนวนคนไม่น้อยกว่า 30 คนนะ )
ครูแหม่ง
ราชมนตรี (กล้วยไม้ดิน คนนอกระบบ) บอกว่า ขั้นตอนที่นี่ จัดทำโครงการ ทำหลักสูตร
กำหนดตารางการอบรม จัดรูปแบบการฝึกอบรมประชาชน จัดฝึกอบรม 30 ช.ม. 6 วันๆละ 5 ช.ม.ค่ะ ตามแนวทางที่แนบมาพร้อมการจัดสรรงบประมาณค่ะ
ผมตอบว่า ก็คงต้องเป็นอย่างนั้น ผมก็งงว่าทำไมคู่มือการฝึกอบรมกำหนดว่าให้อบรม 1-3 วัน ซ้ำยังวงเล็บว่ายกเว้นการจัดเวทีประชาคมด้วย เป็นการย้ำว่าอย่างอื่นไม่ยกเว้น ต้องจัด 1-3 วัน
อาจเป็นเพราะโครงการนี้เหมาะที่จะจัดรูปแบบชั้นเรียนหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 30 ชม. แต่ก็อยากให้เบิกจ่ายเงินได้มากแบบฝึกอบรม จึงออกมาเป็นอย่างนี้
นายหนุ่ม เขาแก้ว ถามว่า หลักสูตรฝึกอบรมจะทำแบบชั้นเรียนได้มั้ย มีการวัดก่อนและหลัง มีหลักสูตรที่ชัดเจนอาจจะดึงเนื้อหามาจากหนังสือเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ผมตอบว่า ได้ซิ ทุกหลักสูตร หรือแม้แต่ทุกกิจกรรม ควรมีการประเมินผลว่าทำได้ดีหรือไม่แค่ไหน ซึ่งการ Post Test อย่างเดียว หรือ Pre + Post Test ก็เป็นการประเมินที่ชัดเจนกว่าการสังเกต/การสรุปแบบคิดเอาเอง เมื่อก่อน จังหวัดจัดอบรมต่าง ๆ ก็มีการ Pre-Post Test
เรื่อง หลักสูตร/เนื้อหา ก็เอามาจากหนังสือเรียนได้ เขาบอกประเด็นนี้ไว้ในแนวทางการดำเนินงานโครงการนี้แล้ว
ผมตอบว่า ก็คงต้องเป็นอย่างนั้น ผมก็งงว่าทำไมคู่มือการฝึกอบรมกำหนดว่าให้อบรม 1-3 วัน ซ้ำยังวงเล็บว่ายกเว้นการจัดเวทีประชาคมด้วย เป็นการย้ำว่าอย่างอื่นไม่ยกเว้น ต้องจัด 1-3 วัน
อาจเป็นเพราะโครงการนี้เหมาะที่จะจัดรูปแบบชั้นเรียนหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 30 ชม. แต่ก็อยากให้เบิกจ่ายเงินได้มากแบบฝึกอบรม จึงออกมาเป็นอย่างนี้
นายหนุ่ม เขาแก้ว ถามว่า หลักสูตรฝึกอบรมจะทำแบบชั้นเรียนได้มั้ย มีการวัดก่อนและหลัง มีหลักสูตรที่ชัดเจนอาจจะดึงเนื้อหามาจากหนังสือเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ผมตอบว่า ได้ซิ ทุกหลักสูตร หรือแม้แต่ทุกกิจกรรม ควรมีการประเมินผลว่าทำได้ดีหรือไม่แค่ไหน ซึ่งการ Post Test อย่างเดียว หรือ Pre + Post Test ก็เป็นการประเมินที่ชัดเจนกว่าการสังเกต/การสรุปแบบคิดเอาเอง เมื่อก่อน จังหวัดจัดอบรมต่าง ๆ ก็มีการ Pre-Post Test
เรื่อง หลักสูตร/เนื้อหา ก็เอามาจากหนังสือเรียนได้ เขาบอกประเด็นนี้ไว้ในแนวทางการดำเนินงานโครงการนี้แล้ว
Santitham Banchang MJ
บอกว่า กศน.ตำบลบ้านฉาง ระยอง รับสมัครผู้เรียนเป็นประชาชนทั่วไปเพื่อฝึกอาชีพนวดเพื่อสุขภาพ
หลักสูตร 60 ชั่วโมง จำนวน 20 คน
หลังจากฝึกอาชีพเสร็จ เว้น 2 วัน เปิดโครงการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพนวดแผนไทยต่ออีก
6 วัน วันละ 5 ชั่วโมง จำนวน 30
คน โดยมาจากผู้เรียน 20 คนแรกที่อบรมอาชีพมาร้อนๆกับอีก
10 คนจากสถานประกอบการนวดไทยที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เพราะเป็นสถานที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่แล้วจึงมีความต้องการด้านภาษา
ผมตอบว่า ดีจัง
ผมตอบว่า ดีจัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย