สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. เย็นวันที่ 28 ก.ย.61 คุณวงศ์ธวัช ครู กศน.ตำบล ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ผอ.กศน.เขต มีอำนาจในการส่งตัว ครู กศน.ตำบล ไปช่วยราชการ กศน.จ.มั้ย (พอดี มีปัญหากับ ผอ.เขต เรื่องผมไปตรวจสอบการทุจริตเบิกจ่ายงบประมาณ)
1. เย็นวันที่ 28 ก.ย.61 คุณวงศ์ธวัช ครู กศน.ตำบล ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ผอ.กศน.เขต มีอำนาจในการส่งตัว ครู กศน.ตำบล ไปช่วยราชการ กศน.จ.มั้ย (พอดี มีปัญหากับ ผอ.เขต เรื่องผมไปตรวจสอบการทุจริตเบิกจ่ายงบประมาณ)
ผมตอบว่า ตามข้อ 2.1 ใน “แนวปฏิบัติของระบบพนักงานราชการสังกัดสำนักงาน
กศน.” กำหนดไว้ว่า
1) การสั่งให้ไปปฏิบัติ งาน นอกเหนือจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดการไปปฏิบัติงานที่ชัดเจน ( จะต้องไม่เกิน 4 เดือน ในรอบปีงบประมาณ )
2) งาน ที่สั่งให้ไปปฏิบัติ ไม่ควรจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ( จะต้องคำนึงถึงลักษณะงาน ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระงาน สภาพการปฏิบัติงาน คุณลักษณะและคุณสมบัติของพนักงานราชการ และเงื่อนไขอื่น ๆ )
3) เคสนี้ เมื่อ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต ประสานงานกับ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. แล้ว ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ต้องเป็นผู้สั่ง โดยระบุว่าให้ไปปฏิงานอะไร ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร จากนั้น ผอ.กศน.อำเภอจึงทำหนังสือส่งตัวไป
1) การสั่งให้ไปปฏิบัติ งาน นอกเหนือจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ต้องมีระยะเวลาสิ้นสุดการไปปฏิบัติงานที่ชัดเจน ( จะต้องไม่เกิน 4 เดือน ในรอบปีงบประมาณ )
2) งาน ที่สั่งให้ไปปฏิบัติ ไม่ควรจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ( จะต้องคำนึงถึงลักษณะงาน ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระงาน สภาพการปฏิบัติงาน คุณลักษณะและคุณสมบัติของพนักงานราชการ และเงื่อนไขอื่น ๆ )
3) เคสนี้ เมื่อ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต ประสานงานกับ ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. แล้ว ผอ.กศน.จังหวัด/กทม. ต้องเป็นผู้สั่ง โดยระบุว่าให้ไปปฏิงานอะไร ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร จากนั้น ผอ.กศน.อำเภอจึงทำหนังสือส่งตัวไป
2. วันที่ 1 ต.ค.61
มีผู้ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า แฟนฉันเป็นหัวหน้ากศน.ตำบล ฉันเป็นครูกศน.ตำบล
อยู่ตำบลเดียวกัน มีครู กศน.ตำบล 3 คน ผอ.จะให้แยกกันอยู่
ให้แฟนฉันไปเป็นลูกน้องตำบลใหม่ เลขที่ตำแหน่งอยู่ที่เดิม ถามว่า ถ้าไม่ย้ายได้ไหม
ผมตอบว่า ถ้าย้ายแบบที่เจ้าตัวไม่ได้ยื่นขอย้ายเอง
ต้องให้ไปปฏิบัติงานในลักษณะงานตามสัญญาจ้าง ปีงบประมาณละไม่เกิน 4 เดือน
ระบุว่าให้ไปปฏิบัติงานอะไรและสิ้นสุดเมื่อใด ไว้ตั้งแต่วันให้ไป โดยเสนอให้
ผอ.จังหวัดเป็นผู้สั่ง
ส่วนการตั้ง "หัวหน้า" กศน.ตำบล ก็ต้องเสนอให้ ผอ.จังหวัดเป็นผู้ตั้งเช่นกัน
3. วันที่ 27 ก.ย.61 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การจัดซื้อแบบพิมพ์ (ระเบียนฯ) ผู้ที่ไปซื้อ ต้องเป็นข้าราชการ หรือไม่
ส่วนการตั้ง "หัวหน้า" กศน.ตำบล ก็ต้องเสนอให้ ผอ.จังหวัดเป็นผู้ตั้งเช่นกัน
3. วันที่ 27 ก.ย.61 มีผู้ถามผมทางกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า การจัดซื้อแบบพิมพ์ (ระเบียนฯ) ผู้ที่ไปซื้อ ต้องเป็นข้าราชการ หรือไม่
ผมตอบว่า ตามระเบียบของ กศน. ( ในคู่มือการดำเนินงานฯ
ปกสีเลือดหมู หน้า 157 ) ระบุแต่เพียงว่า "การสั่งซื่อแบบพิมพ์ ให้
ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. เป็นผู้สั่งซื้อ”
ในทางปฏิบัติ ถ้าไม่ได้สั่งซื้อทางไปรษณีย์ แต่ให้คนไปซื้อที่ร้านค้าของ สกสค. .. สนง.กศน.จังหวัด ต้องเป็นผู้ออกหนังสือสั่งซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุชื่อผู้ไปซื้อ ไว้ในหนังสือนี้ด้วย และผู้ไปซื้อต้องนำบัตรประจำตัวไปแสดงกับผู้ขายด้วย
แต่ระเบียบของ องค์การค้า สกสค. กำหนดว่าผู้ไปซื้อต้องเป็น “ข้าราชการหรือบุคลากรทางการศึกษา”
วันที่ 2 ต.ค.61 ผมถาม สกสค. ว่า คำว่าบุคลากรทางการศึกษา หมายถึงใครได้บ้าง
ได้รับคำตอบว่า ใครก็ได้ที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา/สถานศึกษานั้น เป็นลูกจ้างประจำก็ได้ เป็นพนักงานราชการก็ได้ ขอให้เป็นคนที่ระบุชื่อสกุลไว้ในหนังสือสั่งซื้อ
4. เย็นวันที่ 1 ต.ค.61 มีผู้ถามผมในกลุ่มไลน์ กศน. ว่า การทำลายข้อสอบ ที่ผ่านการสอบไปแล้ว ต้องดำเนินการขั้นตอนอย่างไร
ในทางปฏิบัติ ถ้าไม่ได้สั่งซื้อทางไปรษณีย์ แต่ให้คนไปซื้อที่ร้านค้าของ สกสค. .. สนง.กศน.จังหวัด ต้องเป็นผู้ออกหนังสือสั่งซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุชื่อผู้ไปซื้อ ไว้ในหนังสือนี้ด้วย และผู้ไปซื้อต้องนำบัตรประจำตัวไปแสดงกับผู้ขายด้วย
แต่ระเบียบของ องค์การค้า สกสค. กำหนดว่าผู้ไปซื้อต้องเป็น “ข้าราชการหรือบุคลากรทางการศึกษา”
วันที่ 2 ต.ค.61 ผมถาม สกสค. ว่า คำว่าบุคลากรทางการศึกษา หมายถึงใครได้บ้าง
ได้รับคำตอบว่า ใครก็ได้ที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา/สถานศึกษานั้น เป็นลูกจ้างประจำก็ได้ เป็นพนักงานราชการก็ได้ ขอให้เป็นคนที่ระบุชื่อสกุลไว้ในหนังสือสั่งซื้อ
4. เย็นวันที่ 1 ต.ค.61 มีผู้ถามผมในกลุ่มไลน์ กศน. ว่า การทำลายข้อสอบ ที่ผ่านการสอบไปแล้ว ต้องดำเนินการขั้นตอนอย่างไร
ผมตอบว่า ที่ถูกต้อง การทำลายข้อสอบ
ทั้งกระดาษคำถามและกระดาษคำตอบ
ทั้งข้อสอบที่มาจากส่วนกลางและข้อสอบวิชาเลือกเสรีของอำเภอเอง
ใช้ระเบียบการทำลายหนังสือ ตามระเบียบสารบรรณ
ซึ่งตามระเบียบสารบรรณกำหนดเรื่องการทำลายหนังสือให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรม แต่ของเราระดับอธิบดีกรมคือปลัดกระทรวง และปลัดกระทรวง ศธ.มอบอำนาจเรื่องนี้ให้ ผอ.กศน.จังหวัด ตามคำสั่งมอบอำนาจที่ 531/51 ข้อ 7 ซึ่ง ผอ.กศน.จังหวัดจะมอบอำนาจต่อไม่ได้ ต้องออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการเอง โดยถ้าจะทำลายหนังสือหรือข้อสอบที่อยู่ที่อำเภอ จังหวัดอาจแต่งตั้งบุคลากรของอำเภอเป็นคณะกรรมการ
เรื่องการทำลายหนังสือนี้ จังหวัดควรเป็นผู้เริ่มดำเนินการ แต่หลายจังหวัดไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยทำเรื่องนี้ ลองคุยกับจังหวัดให้จังหวัดศึกษาดูซีครับ
อนึ่งเรื่องการทำลายข้อสอบนี้ ในคู่มือของกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ ระบุว่าทำลายตามระเบียบพัสดุ ซึ่งผมคิดว่าไม่ถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ วันที่ 2 ต.ค.61 ผมถามอดีตหัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. ( เกษียณแล้ว ) ว่า
การทำลายข้อสอบปลายภาค ที่สอบเสร็จแล้ว ( กระดาษคำถาม และ กระดาษคำตอบ ) ทำลายตามระเบียบสารบรรณ หรือ ระเบียบพัสดุ
ท่านตอบว่า ทำลายตามระเบียบสารบรรณ ( แต่ในส่วนของ ถ้ามีค่าใช้จ่ายเช่นค่าจ้างทำลาย ให้จ้างตามระเบียบพัสดุ )
ในทางปฏิบัติ เคยมีหนังสือแจ้งเมื่อปี 2551 เรื่องการทำลายข้อสอบ ( ชุดคำถาม ) ให้จังหวัดเป็นผู้ทำลาย เมื่อสอบเสร็จต้องขนส่งไปจังหวัด ไม่ได้อยู่ที่อำเภอ โดยอาจทำลายด้วยการเผา หรือให้เอกชนทำการย่อยเป็นเส้น ๆ ให้ไม่สามารถอ่านได้ เมื่อย่อยแล้วก็ ให้ หรือ ขาย เอกชนไป ( แทนที่จะมีค่าใช้จ่าย กลับมีรายได้ถ้าใช้วิธีทำให้ไม่สามารถอ่านได้แล้วขาย ซึ่งปัจจุบันมักใช้วิธีนี้ เอกชนมีเครื่องมือทำลายต่อหน้ากรรมการ ส่วนการเผากระดาษจำนวนมากนั้นไม่ง่ายและการเผาทำลายสิ่งแวดล้อม ) ส่วนกระดาษคำตอบ ก็เป็นอำนาจของจังหวัดเหมือนกัน เพียงแต่เอกสารถ้าอยู่ที่อำเภอ จังหวัดมักจะออกคำสั่งแต่งตั้งคนอำเภอเป็นกรรมการทำลายอยู่ที่อำเภอ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2560 กำหนดว่า “คณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วยประธานและกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดย ปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ”
ถ้าอำเภอมีข้าราชการไม่ครบ 3 คน อาจให้ข้าราชการอำเภออื่นร่วมเป็นกรรมการ หรืออาจอนุโลมให้เป็นข้าราชการเฉพาะประธาน ส่วนกรรมการอาจเป็นลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการ
5. “...ก็ให้ทำเหมือนอำเภอเพื่อนๆ เค้ามั่งนะ ทำอะไร ไม่ใช่ว่าแลอำเภอข้างเคียงก็ไม่แล ทำตามใจตัวเอง อยู่อำเภออื่นที่ผ่านมาเขาเข้าใจเรื่องนี้ว่าส่วนต่างที่ได้มานี่ ผอ.ไม่ได้เอาไปไหนนะ บอกทุกที่ ที่อยู่ ว่าส่วนต่างที่ได้มา พอเวลาทอดกฐิน ทอดผ้าป่าในปีงบประมาณหนึ่ง ประเทศไทยนั้นนะ ศาสนาพุทธมีเดือนไหนนะ เดือนตุลา เดือนพฤศจิกา เค้าต้องมีเรี่ยไรกันม่าย เค้าก็ต้องเรี่ยไรมา ถึงเค้ามาเรี่ยไรแล้วนั้นเราไม่ให้หรือ เราก็ต้องให้ ถึงให้ ให้ตามอัธยาศัย ให้ 10 บาท 20 บาท ต่ออำเภอนั้นมันก็ให้ได้ แต่คิดว่ามันเหมาะสมม่าย อำเภอเค้าให้สี่หลัก ไม่ใช่สามหลัก ห้าหลัก อำเภอใหญ่เค้าก็ให้มากตามงบประมาณที่ได้”
ซึ่งตามระเบียบสารบรรณกำหนดเรื่องการทำลายหนังสือให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรม แต่ของเราระดับอธิบดีกรมคือปลัดกระทรวง และปลัดกระทรวง ศธ.มอบอำนาจเรื่องนี้ให้ ผอ.กศน.จังหวัด ตามคำสั่งมอบอำนาจที่ 531/51 ข้อ 7 ซึ่ง ผอ.กศน.จังหวัดจะมอบอำนาจต่อไม่ได้ ต้องออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการเอง โดยถ้าจะทำลายหนังสือหรือข้อสอบที่อยู่ที่อำเภอ จังหวัดอาจแต่งตั้งบุคลากรของอำเภอเป็นคณะกรรมการ
เรื่องการทำลายหนังสือนี้ จังหวัดควรเป็นผู้เริ่มดำเนินการ แต่หลายจังหวัดไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยทำเรื่องนี้ ลองคุยกับจังหวัดให้จังหวัดศึกษาดูซีครับ
อนึ่งเรื่องการทำลายข้อสอบนี้ ในคู่มือของกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ ระบุว่าทำลายตามระเบียบพัสดุ ซึ่งผมคิดว่าไม่ถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ วันที่ 2 ต.ค.61 ผมถามอดีตหัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. ( เกษียณแล้ว ) ว่า
การทำลายข้อสอบปลายภาค ที่สอบเสร็จแล้ว ( กระดาษคำถาม และ กระดาษคำตอบ ) ทำลายตามระเบียบสารบรรณ หรือ ระเบียบพัสดุ
ท่านตอบว่า ทำลายตามระเบียบสารบรรณ ( แต่ในส่วนของ ถ้ามีค่าใช้จ่ายเช่นค่าจ้างทำลาย ให้จ้างตามระเบียบพัสดุ )
ในทางปฏิบัติ เคยมีหนังสือแจ้งเมื่อปี 2551 เรื่องการทำลายข้อสอบ ( ชุดคำถาม ) ให้จังหวัดเป็นผู้ทำลาย เมื่อสอบเสร็จต้องขนส่งไปจังหวัด ไม่ได้อยู่ที่อำเภอ โดยอาจทำลายด้วยการเผา หรือให้เอกชนทำการย่อยเป็นเส้น ๆ ให้ไม่สามารถอ่านได้ เมื่อย่อยแล้วก็ ให้ หรือ ขาย เอกชนไป ( แทนที่จะมีค่าใช้จ่าย กลับมีรายได้ถ้าใช้วิธีทำให้ไม่สามารถอ่านได้แล้วขาย ซึ่งปัจจุบันมักใช้วิธีนี้ เอกชนมีเครื่องมือทำลายต่อหน้ากรรมการ ส่วนการเผากระดาษจำนวนมากนั้นไม่ง่ายและการเผาทำลายสิ่งแวดล้อม ) ส่วนกระดาษคำตอบ ก็เป็นอำนาจของจังหวัดเหมือนกัน เพียงแต่เอกสารถ้าอยู่ที่อำเภอ จังหวัดมักจะออกคำสั่งแต่งตั้งคนอำเภอเป็นกรรมการทำลายอยู่ที่อำเภอ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2560 กำหนดว่า “คณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วยประธานและกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดย ปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ”
ถ้าอำเภอมีข้าราชการไม่ครบ 3 คน อาจให้ข้าราชการอำเภออื่นร่วมเป็นกรรมการ หรืออาจอนุโลมให้เป็นข้าราชการเฉพาะประธาน ส่วนกรรมการอาจเป็นลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการ
5. “...ก็ให้ทำเหมือนอำเภอเพื่อนๆ เค้ามั่งนะ ทำอะไร ไม่ใช่ว่าแลอำเภอข้างเคียงก็ไม่แล ทำตามใจตัวเอง อยู่อำเภออื่นที่ผ่านมาเขาเข้าใจเรื่องนี้ว่าส่วนต่างที่ได้มานี่ ผอ.ไม่ได้เอาไปไหนนะ บอกทุกที่ ที่อยู่ ว่าส่วนต่างที่ได้มา พอเวลาทอดกฐิน ทอดผ้าป่าในปีงบประมาณหนึ่ง ประเทศไทยนั้นนะ ศาสนาพุทธมีเดือนไหนนะ เดือนตุลา เดือนพฤศจิกา เค้าต้องมีเรี่ยไรกันม่าย เค้าก็ต้องเรี่ยไรมา ถึงเค้ามาเรี่ยไรแล้วนั้นเราไม่ให้หรือ เราก็ต้องให้ ถึงให้ ให้ตามอัธยาศัย ให้ 10 บาท 20 บาท ต่ออำเภอนั้นมันก็ให้ได้ แต่คิดว่ามันเหมาะสมม่าย อำเภอเค้าให้สี่หลัก ไม่ใช่สามหลัก ห้าหลัก อำเภอใหญ่เค้าก็ให้มากตามงบประมาณที่ได้”
“ตามความคิดผมนะ ผอ.
ถ้าเหมือนแหลงถึงแล้ว ถ้าเหมือนว่ามันต่างกัน
ก็มันไม่แตกต่างกับคอรัปชั่นหรือว่าโกง ในขณะที่เราสอนเด็กว่าอย่างงั้น
แม้ว่าข้ออ้างไปทำบุญ ทำไรก็แล้วแต่ แต่ว่าเบี้ยทำบุญ สมมุติว่าเบี้ยขายยาเสพติด
นี่แหละไปทำบุญ มันอิได้บุญมั้ย ตรงนั้นผมว่าไม่เห็นด้วยตรงนั้นนะ นี้ส่วนตัวผม เพราะว่าเราไปสอนเด็กว่า
อย่าโกงพันโน้นพันนี้ ประเทศไทยในขณะที่เราด่าคนรุ่นก่อน
ประเทศไทยเป็นพันนี้เพราะว่าเราเป็นพันนั้น ถึงเราอีทำแบบนั้นต่อไปก็ไม่รู้
ผมว่ามันแลว่าเราแหลงไหรไม่กล้าสบตาคน แม้ว่าเรามีข้ออ้าง ที่ว่ามันแลดูดี
ว่าซื้อน้ำไว้ทำบุญพันนี้แหละ แต่ถ้าเหมือนว่าของมันแพงขึ้น
ผมว่าก็คือโกงนั่นแหละ”
https://mgronline.com/south/detail/9610000100752
( มีคลิปเสียงอยู่ท้ายเว็บ )
6. ตามที่ผมเคยถามท่านผู้รู้ ว่า "กศน.จังหวัดต่าง ๆ นำอำนาจหน้าที่ของ กศน.จังหวัด 13 ข้อ มาจากไหน มาจากระเบียบกฎหมายหรือคำสั่ง/หนังสือสั่งการ/หนังสือแจ้งฉบับไหน" นั้น
6. ตามที่ผมเคยถามท่านผู้รู้ ว่า "กศน.จังหวัดต่าง ๆ นำอำนาจหน้าที่ของ กศน.จังหวัด 13 ข้อ มาจากไหน มาจากระเบียบกฎหมายหรือคำสั่ง/หนังสือสั่งการ/หนังสือแจ้งฉบับไหน" นั้น
ท่าน ดร.ปาน กิมปี
ได้กรุณานำเอกสารประกาศฯ มาลงให้ในกลุ่มไลน์
สรุปว่า อำนาจหน้าที่ของ กศน.จังหวัด/กทม. 13 ข้อ กำหนดไว้ใน “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ...จังหวัดและ...กรุงเทพ...เป็นหน่วยงานการศึกษา...”
ประกาศ ณ วันที่ 4 มี.ค.51 ( ชื่อประกาศยาว 3-4 บรรทัด ผมเลยย่อชื่อ )
ขอบพระคุณท่าน ดร.ปาน กิมปี มากครับ
สรุปว่า อำนาจหน้าที่ของ กศน.จังหวัด/กทม. 13 ข้อ กำหนดไว้ใน “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ...จังหวัดและ...กรุงเทพ...เป็นหน่วยงานการศึกษา...”
ประกาศ ณ วันที่ 4 มี.ค.51 ( ชื่อประกาศยาว 3-4 บรรทัด ผมเลยย่อชื่อ )
ขอบพระคุณท่าน ดร.ปาน กิมปี มากครับ
7. วันที่ 11 ต.ค.61
สำนักงาน กศน.แจ้งเรื่อง การบริหารอัตรากำลังพนักงานราชการ/จ้างเหมาบริการ
จำกัดการจ้างเหมาบริการ ระบุว่างบประมาณค่าจ้างเหมาบริการของสำนักงาน
กศน.ถูกตัดลดลง
( สวนทางกับ สพฐ.ที่ปีนี้จัดสรรอัตราให้ทุกโรงเรียนจ้าง จนท.ธุรการ )
ดูหนังสือ กศน.นี้ได้ที่
https://www.dropbox.com/s/aqj3iuvt3k9t4bd/JangMhao.pdf?dl=1
( สวนทางกับ สพฐ.ที่ปีนี้จัดสรรอัตราให้ทุกโรงเรียนจ้าง จนท.ธุรการ )
ดูหนังสือ กศน.นี้ได้ที่
https://www.dropbox.com/s/aqj3iuvt3k9t4bd/JangMhao.pdf?dl=1
ในเรื่องนี้
มีผู้โพสต์ในกลุ่มไลน์ ว่า
“ปัญหาที่พบเห็นก็คือให้บรรณารักษ์ไปนั่งทำงานที่สถานศึกษา เช่นทำการเงินให้ ผอ. ทำพัสดุให้ ผอ. แม้บรรณารักษ์ที่เป็นข้าราชการก็ไม่เว้น หรือแม้แต่ครูตำบลแทนที่จะได้นั่งทำงานในพื้นที่กลับต้องนั่งในหน่วยงาน
ประดางานที่ทำก็เลยกลายเป็นธุรการเสียส่วนใหญ่
จะแก้ไขกันอย่างไร? ทีนี้ครูตำบลก็เลยกลายเป็นคนแปลกหน้าของตำบล ไปทีไรก็ใส่กุญแจปิด.เหลือแต่ป้าย ระวังชาวบ้านเขาจะส่งภาพมาเน้อ.
เหตุที่เกิดคือไปพบน้องบรรณารักษ์ปรับทุกข์ให้ฟัง เขาต้องไปทำงานที่อำเภอด้วย”
“ปัญหาที่พบเห็นก็คือให้บรรณารักษ์ไปนั่งทำงานที่สถานศึกษา เช่นทำการเงินให้ ผอ. ทำพัสดุให้ ผอ. แม้บรรณารักษ์ที่เป็นข้าราชการก็ไม่เว้น หรือแม้แต่ครูตำบลแทนที่จะได้นั่งทำงานในพื้นที่กลับต้องนั่งในหน่วยงาน
ประดางานที่ทำก็เลยกลายเป็นธุรการเสียส่วนใหญ่
จะแก้ไขกันอย่างไร? ทีนี้ครูตำบลก็เลยกลายเป็นคนแปลกหน้าของตำบล ไปทีไรก็ใส่กุญแจปิด.เหลือแต่ป้าย ระวังชาวบ้านเขาจะส่งภาพมาเน้อ.
เหตุที่เกิดคือไปพบน้องบรรณารักษ์ปรับทุกข์ให้ฟัง เขาต้องไปทำงานที่อำเภอด้วย”
อีกท่านหนึ่ง ตอบว่า
“บางทีก็ต้องคิดมุมกลับอีกนะ บางครั้งสำนักส่วนกลางมีหลายหน่วยงาน กองโน่นนี่นั่นจะเอาข้อมูลเรื่องนี้ด่วน อ้าวกพ.จะเอาเรื่องนี้ กองแผนให้ทำแผนและข้อมูลด่วนๆๆ กจ.อบรมครู ศกพ.อบรมครูพิการ เชิญชวนจัด กศน.คนพิการอีก นโยบายด่วนจากกระทรวงมาอีก ส่งเสริมการอ่านอีก มากมายเลย งานประจำก็มี จังหวัดจะอบรมอีก ศท.จะมาถ่ายทำวิดีโอกศน. กิจกรรมต่างๆมากมายหายใจไม่ทันเลย เลยเป็นอย่างที่ได้ยินมานะ ก็เลยต้องลุยและรู้ทุกงานยกเว้นงานในหน้าที่ โชคดีที่เป็นอดีต ศน.ที่ออกนิเทศก็เห็นใจทั้งหน่วยเหนือและหน่วยปฏิบัติ”
“บางทีก็ต้องคิดมุมกลับอีกนะ บางครั้งสำนักส่วนกลางมีหลายหน่วยงาน กองโน่นนี่นั่นจะเอาข้อมูลเรื่องนี้ด่วน อ้าวกพ.จะเอาเรื่องนี้ กองแผนให้ทำแผนและข้อมูลด่วนๆๆ กจ.อบรมครู ศกพ.อบรมครูพิการ เชิญชวนจัด กศน.คนพิการอีก นโยบายด่วนจากกระทรวงมาอีก ส่งเสริมการอ่านอีก มากมายเลย งานประจำก็มี จังหวัดจะอบรมอีก ศท.จะมาถ่ายทำวิดีโอกศน. กิจกรรมต่างๆมากมายหายใจไม่ทันเลย เลยเป็นอย่างที่ได้ยินมานะ ก็เลยต้องลุยและรู้ทุกงานยกเว้นงานในหน้าที่ โชคดีที่เป็นอดีต ศน.ที่ออกนิเทศก็เห็นใจทั้งหน่วยเหนือและหน่วยปฏิบัติ”
ผมร่วมแสดงความคิดเห็น ว่า
“อยู่ระดับอำเภอไม่มีใครทำงานหน้าเดียวหรอกครับ โดยเฉพาะครู กศน. ทำงานมากกว่า 8 หน้า
เวลาเห็นใครปกป้องจะให้บางตำแหน่งทำงานหน้าเดียวแล้ว รู้สึกระทมขมขื่นแทนครู กศน. ( ใครดูแลงานใดก็ให้ความสำคัญแต่งานนั้น )
หลายคนในส่วนกลางบอกว่า ครู กศน.ต้องอยู่ประจำตำบล ไม่ให้มาทำงานที่อำเภอ แล้วที่อำเภอมีตำแหน่ง จนท.ธุรการไหม มีตำแหน่ง จนท.พัสดุไหม มีตำแหน่ง จนท.การเงินไหม มีตำแหน่ง จนท.แผนฯไหม มีตำแหน่ง จนท.บัญชีไหม มีตำแหน่ง จนท.ฯลฯ ไหม แม้แต่ตำแหน่ง จนท.ทะเบียนนักศึกษาก็ไม่มี
บางอำเภอมี ขรก.คนเดียวคือ ผอ. อำเภอส่วนใหญ่มี ขรก.ครูอีก 1 คน ถ้าเป็น อ.ในเมืองจึงจะมี ขรก.ครู 2-3 คน อำเภอ 99 % ไม่มีนักการฯ/คนงาน
( คนไม่พอทุกตำแหน่ง ทำให้ผลงานมีปัญหาทั้งห้องสมุดและ กศน.ตำบลหลายแห่ง บางกลุ่มงานในส่วนกลางมีอัตราจ้างเหมาบริการเป็น 10 )
อำเภอในภาคกลาง(ยกเว้น กทม.)+ตะวันออก+ใต้ ส่วนใหญ่ ยังมีครู กศน.ตำบลไม่ครบทุกตำบล ที่ อ.ผักไห่ ช่วงที่ผมยังไม่เกษียณ ต้องใช้ครูอาสาฯ+ครู กศน.ตำบล+จ้างครู ศรช. จึงจะครบทุกตำบล ( เงินที่จ้างครู ศรช.ก็ได้ตามรายหัว นศ. บางตำบลมี นศ.น้อยเงินรายหัวน้อยไม่อยากจ้างก็ไม่ได้ เพราะไม่มีครูอาสา+ครู กศน.ตำบลเลย ก็ต้องจ้างครู ศรช.เพื่อให้มีคนอย่างน้อยตำบลละ 1 คน ตำบลไหนมีครูอาสาฯหรือครู กศน.ตำบลดูแลแล้วก็ไม่จ้างครู ศรช. จึงจะทำให้เงินอุดหนุนรายหัวเพียงพอ
แต่หนังสือฉบับนี้ ก็ระบุว่าจะเกลี่ยครูอาสาฯให้เหลืออำเภอละคนเดียว อีกแล้ว
คนส่วนกลางบางคน มีหน้าที่ดูแลงานห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อชาวตลาด ทำรายงานผลแต่ละเล่ม ใช้เวลาทำ/ตรวจปรู้ฟ เล่มละ 1 ปี อำเภอทำเอกสารเดือนละหลายเล่ม
“อยู่ระดับอำเภอไม่มีใครทำงานหน้าเดียวหรอกครับ โดยเฉพาะครู กศน. ทำงานมากกว่า 8 หน้า
เวลาเห็นใครปกป้องจะให้บางตำแหน่งทำงานหน้าเดียวแล้ว รู้สึกระทมขมขื่นแทนครู กศน. ( ใครดูแลงานใดก็ให้ความสำคัญแต่งานนั้น )
หลายคนในส่วนกลางบอกว่า ครู กศน.ต้องอยู่ประจำตำบล ไม่ให้มาทำงานที่อำเภอ แล้วที่อำเภอมีตำแหน่ง จนท.ธุรการไหม มีตำแหน่ง จนท.พัสดุไหม มีตำแหน่ง จนท.การเงินไหม มีตำแหน่ง จนท.แผนฯไหม มีตำแหน่ง จนท.บัญชีไหม มีตำแหน่ง จนท.ฯลฯ ไหม แม้แต่ตำแหน่ง จนท.ทะเบียนนักศึกษาก็ไม่มี
บางอำเภอมี ขรก.คนเดียวคือ ผอ. อำเภอส่วนใหญ่มี ขรก.ครูอีก 1 คน ถ้าเป็น อ.ในเมืองจึงจะมี ขรก.ครู 2-3 คน อำเภอ 99 % ไม่มีนักการฯ/คนงาน
( คนไม่พอทุกตำแหน่ง ทำให้ผลงานมีปัญหาทั้งห้องสมุดและ กศน.ตำบลหลายแห่ง บางกลุ่มงานในส่วนกลางมีอัตราจ้างเหมาบริการเป็น 10 )
อำเภอในภาคกลาง(ยกเว้น กทม.)+ตะวันออก+ใต้ ส่วนใหญ่ ยังมีครู กศน.ตำบลไม่ครบทุกตำบล ที่ อ.ผักไห่ ช่วงที่ผมยังไม่เกษียณ ต้องใช้ครูอาสาฯ+ครู กศน.ตำบล+จ้างครู ศรช. จึงจะครบทุกตำบล ( เงินที่จ้างครู ศรช.ก็ได้ตามรายหัว นศ. บางตำบลมี นศ.น้อยเงินรายหัวน้อยไม่อยากจ้างก็ไม่ได้ เพราะไม่มีครูอาสา+ครู กศน.ตำบลเลย ก็ต้องจ้างครู ศรช.เพื่อให้มีคนอย่างน้อยตำบลละ 1 คน ตำบลไหนมีครูอาสาฯหรือครู กศน.ตำบลดูแลแล้วก็ไม่จ้างครู ศรช. จึงจะทำให้เงินอุดหนุนรายหัวเพียงพอ
แต่หนังสือฉบับนี้ ก็ระบุว่าจะเกลี่ยครูอาสาฯให้เหลืออำเภอละคนเดียว อีกแล้ว
คนส่วนกลางบางคน มีหน้าที่ดูแลงานห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อชาวตลาด ทำรายงานผลแต่ละเล่ม ใช้เวลาทำ/ตรวจปรู้ฟ เล่มละ 1 ปี อำเภอทำเอกสารเดือนละหลายเล่ม
ครู กศน. แปลงร่าง..
- เวลาจะสอน แปลงร่างเป็นครู
- ไฟเจ๊ง ครู กศน.แปลงร่างเป็น ช่างไฟ
- น้ำไม่ไหล ครูแปลงร่างเป็นช่างประปา
- เจ้านายอยากได้อาคาร ครูแปลงร่างเป็นช่างปูน
- เจ้านายอยากได้โปสเตอร์ ไวนิล ครูแปลงร่างเป็นช่างกราฟฟิค
- เจ้านายอยากได้ป้ายผ้า ครู กศน.ก็แปลงร่างเป็นช่างศิลป
- เจ้านายอยากได้รูปกิจกรรม ครูแปลงร่างเป็นช่างภาพ
- มีของมาลงที่สำนักงาน ครูแปลงร่างเป็นกรรมกร
- มีงานภาคเวที ครูแปลงร่างเป็นพิธีกร
- รถ นศ. เจ๊ง ครูแปลงร่างเป็นช่างยนต์
- ขยะเต็มสำนักงาน ครูแปลงร่างเป็นภารโรง
- กลางคืนเกิดเหตุการณ์ไม่ค่อยสงบ ครูแปลงร่างเป็นยาม
- เทศกาลกีฬา กศน. ครูแปลงร่างเป็นกองเชียร์ เป็นนักกีฬา
- ในตำบลมีงานการกุศล ครูแปลงร่างเป็นเด็กโบกรถ
- กำนันจัดงานแต่งลูกสาว ครูแปลงร่างเป็นเด็กเสิร์ฟ เด็กล้างจาน
โดย Enrico Piaggio กศน.อ.มายอ จ.ปัตตานี
- เวลาจะสอน แปลงร่างเป็นครู
- ไฟเจ๊ง ครู กศน.แปลงร่างเป็น ช่างไฟ
- น้ำไม่ไหล ครูแปลงร่างเป็นช่างประปา
- เจ้านายอยากได้อาคาร ครูแปลงร่างเป็นช่างปูน
- เจ้านายอยากได้โปสเตอร์ ไวนิล ครูแปลงร่างเป็นช่างกราฟฟิค
- เจ้านายอยากได้ป้ายผ้า ครู กศน.ก็แปลงร่างเป็นช่างศิลป
- เจ้านายอยากได้รูปกิจกรรม ครูแปลงร่างเป็นช่างภาพ
- มีของมาลงที่สำนักงาน ครูแปลงร่างเป็นกรรมกร
- มีงานภาคเวที ครูแปลงร่างเป็นพิธีกร
- รถ นศ. เจ๊ง ครูแปลงร่างเป็นช่างยนต์
- ขยะเต็มสำนักงาน ครูแปลงร่างเป็นภารโรง
- กลางคืนเกิดเหตุการณ์ไม่ค่อยสงบ ครูแปลงร่างเป็นยาม
- เทศกาลกีฬา กศน. ครูแปลงร่างเป็นกองเชียร์ เป็นนักกีฬา
- ในตำบลมีงานการกุศล ครูแปลงร่างเป็นเด็กโบกรถ
- กำนันจัดงานแต่งลูกสาว ครูแปลงร่างเป็นเด็กเสิร์ฟ เด็กล้างจาน
โดย Enrico Piaggio กศน.อ.มายอ จ.ปัตตานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย