สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 19 พ.ย.61 มี
ผอ.กศน.อำเภอ ซึ่งเป็นผู้ร่วมออกข้อสอบปลายภาค กศน.คนหนึ่ง โพสต์ในเฟซบุ๊ก
ว่า เทอมที่ผ่านมาบางวิชานักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ย
ต่ำกว่าครึ่ง คณะทำงานสร้างข้อสอบเลยคุยกันว่า
“จะแก้ที่จุดไหน ?”
ผอ.ผู้โพสต์ แสดงความคิดเห็นพร้อมตั้งคำถามต่อไปเองว่า “คนออกข้อสอบ ก็กางหนังสือแบบเรียน(ของ กองพัฒฯ) ออกข้อสอบนี่แหละ แทบจะลอกข้อความตามหนังสือมาเลยทีเดียว
ปัญหาอยู่ที่ ???
ก.คนออกข้อสอบ ยาก
ข.นักศึกษาไม่เคยอ่านหนังสือสอบ
ค.ครูได้สอนมากน้อยแค่ไหน
ง.นักศึกษาอ่านข้อสอบตอนสอบไม๊ ใช้เวลาสอบเท่าไร”
“จะแก้ที่จุดไหน ?”
ผอ.ผู้โพสต์ แสดงความคิดเห็นพร้อมตั้งคำถามต่อไปเองว่า “คนออกข้อสอบ ก็กางหนังสือแบบเรียน(ของ กองพัฒฯ) ออกข้อสอบนี่แหละ แทบจะลอกข้อความตามหนังสือมาเลยทีเดียว
ปัญหาอยู่ที่ ???
ก.คนออกข้อสอบ ยาก
ข.นักศึกษาไม่เคยอ่านหนังสือสอบ
ค.ครูได้สอนมากน้อยแค่ไหน
ง.นักศึกษาอ่านข้อสอบตอนสอบไม๊ ใช้เวลาสอบเท่าไร”
เรื่องนี้ ผมร่วมแสดงความคิดเห็นว่า
“ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ข้อสอบ แต่อยู่ที่นักศึกษาและครู “รู้แกว” แล้วว่า ยังไง ๆ ก็จบ ( เพราะคะแนนเก็บมากแล้ว ) เลยไม่สนใจการเรียนการสอนการสอบ
การจะแก้ที่ข้อสอบ ที่ทำได้คือ ออกข้อสอบง่าย ๆ เพื่อให้นักศึกษามีกำลังใจอ่านข้อสอบ”
“ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ข้อสอบ แต่อยู่ที่นักศึกษาและครู “รู้แกว” แล้วว่า ยังไง ๆ ก็จบ ( เพราะคะแนนเก็บมากแล้ว ) เลยไม่สนใจการเรียนการสอนการสอบ
การจะแก้ที่ข้อสอบ ที่ทำได้คือ ออกข้อสอบง่าย ๆ เพื่อให้นักศึกษามีกำลังใจอ่านข้อสอบ”
แต่ก็มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นคนหนึ่ง
บอกว่า
คนออกข้อสอบหาทางออกจุดคิดได้หรือยัง...เขาอยากให้ “ใส่เสื้อเบอร์อะไรก็จัดการให้ใส่ได้”...เรียกว่าการพัฒนาตามจุดประสงค์...งงเดะ คริ คริ”
ผมจึงร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ว่า
การสอนและการสอบต้องยึดสิ่งเดียวกัน จึงจะออกมาตรงกัน คือยึด "ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง" ของหลักสูตรนั้น ๆ ซึ่งจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกระจายไว้แต่ละเนื้อหาตลอดหลักสูตรวิชานั้น ๆ อย่างเหมาะสม
ถ้าทั้งผู้เรียนผู้สอนและผู้ออกข้อสอบยึดสิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาตรงกัน
ส่วนกลางทำข้อสอบเฉพาะปลายภาค และเฉพาะ “วิชาบังคับ” เท่านั้น ในส่วนของ วิชาบังคับ ที่เป็นวิชาแกนกลางให้ หลักสูตรในระดับเดียวกัน "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ์ เหมือนกัน" ข้อสอบก็เหมือนกัน แต่บางแห่งเกรดเฉลี่ยอาจเป็น 3-4 บางแห่งอาจแค่ 1-2 ก็ไม่เป็นไร เกณฑ์ขั้นต่ำได้ถึง 50 % ก็ผ่าน
แต่ในส่วน "วิชาเลือกเสรี" ผู้กำหนดหลักสูตรวิชานั้น ๆ ก็กำหนด "ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง" เอง กำหนดให้เหมาะสมกับปัญหาและสภาพของชุมชน ส่วนกลางไม่ได้ทำข้อสอบวิชาเลือกเสรี
แม้หลักสูตรจะ "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ์ เหมือนกัน" แต่วิชาบังคับของหลักสูตร กศน. ก็ไม่ได้ลอกวิชาบังคับของในระบบมาทั้งหมด ( ลองเทียบกันดู )
นอกจากนี้ หลักสูตร กศน.กำหนดให้เรียนวิชาบังคับไม่มากนัก โดยเฉพาะระดับ ม.ปลาย มีวิชาบังคับเพียง 58 % เกินครึ่งนิดหน่อย ที่เหลือ 42 % เป็นหน่วยกิตของวิชาเลือก
จึงสรุปได้ว่า แม้จะ "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ เหมือนกัน" ผู้เรียนมีสิทธิไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเหมือนกัน แต่หลักสูตร กศน. โดยเฉพาะ ม.ปลาย ก็แตกต่างจากหลักสูตรในระบบมากกว่า 42 %
2. “กระบวนการ กศน.” ถ้าเปลี่ยน INPUT เป็น OUTPUT ตามภาพนี้ได้ ก็วิเศษ..
( ภาพกระบวนการในการพัฒนา ตามทฤษฎี "เตาหลอม" ของ “อ.ยักษ์” : ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร )
คนออกข้อสอบหาทางออกจุดคิดได้หรือยัง...เขาอยากให้ “ใส่เสื้อเบอร์อะไรก็จัดการให้ใส่ได้”...เรียกว่าการพัฒนาตามจุดประสงค์...งงเดะ คริ คริ”
ผมจึงร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ว่า
การสอนและการสอบต้องยึดสิ่งเดียวกัน จึงจะออกมาตรงกัน คือยึด "ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง" ของหลักสูตรนั้น ๆ ซึ่งจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกระจายไว้แต่ละเนื้อหาตลอดหลักสูตรวิชานั้น ๆ อย่างเหมาะสม
ถ้าทั้งผู้เรียนผู้สอนและผู้ออกข้อสอบยึดสิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาตรงกัน
ส่วนกลางทำข้อสอบเฉพาะปลายภาค และเฉพาะ “วิชาบังคับ” เท่านั้น ในส่วนของ วิชาบังคับ ที่เป็นวิชาแกนกลางให้ หลักสูตรในระดับเดียวกัน "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ์ เหมือนกัน" ข้อสอบก็เหมือนกัน แต่บางแห่งเกรดเฉลี่ยอาจเป็น 3-4 บางแห่งอาจแค่ 1-2 ก็ไม่เป็นไร เกณฑ์ขั้นต่ำได้ถึง 50 % ก็ผ่าน
แต่ในส่วน "วิชาเลือกเสรี" ผู้กำหนดหลักสูตรวิชานั้น ๆ ก็กำหนด "ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง" เอง กำหนดให้เหมาะสมกับปัญหาและสภาพของชุมชน ส่วนกลางไม่ได้ทำข้อสอบวิชาเลือกเสรี
แม้หลักสูตรจะ "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ์ เหมือนกัน" แต่วิชาบังคับของหลักสูตร กศน. ก็ไม่ได้ลอกวิชาบังคับของในระบบมาทั้งหมด ( ลองเทียบกันดู )
นอกจากนี้ หลักสูตร กศน.กำหนดให้เรียนวิชาบังคับไม่มากนัก โดยเฉพาะระดับ ม.ปลาย มีวิชาบังคับเพียง 58 % เกินครึ่งนิดหน่อย ที่เหลือ 42 % เป็นหน่วยกิตของวิชาเลือก
จึงสรุปได้ว่า แม้จะ "เทียบเท่า / มีศักดิ์และสิทธิ เหมือนกัน" ผู้เรียนมีสิทธิไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเหมือนกัน แต่หลักสูตร กศน. โดยเฉพาะ ม.ปลาย ก็แตกต่างจากหลักสูตรในระบบมากกว่า 42 %
2. “กระบวนการ กศน.” ถ้าเปลี่ยน INPUT เป็น OUTPUT ตามภาพนี้ได้ ก็วิเศษ..
( ภาพกระบวนการในการพัฒนา ตามทฤษฎี "เตาหลอม" ของ “อ.ยักษ์” : ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร )
3. วันที่ 28 พ.ย.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน..
กิจกรรมกีฬา กศน.อำเภอ ในวันอาทิตย์วันเดียว สามารถเบิกค่าอาหาร
อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายข้อ 1.1
และข้อ 1.2 ให้กับนักกีฬา กรรมการ เจ้าหน้าที่ในวันนั้น
ได้หรือไม่.. (ดูรายละเอียดจากหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนฯ ล่าสุด ลว 20 มี.ค.61.. แต่ไม่แน่ใจว่าจะเบิกได้หรือไม่
เพราะจัดในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันพบกลุ่ม)
ผมตอบว่า
1) เบิกได้ตามอัตราของกิจกรรมการการแข่งขันกีฬาในหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายข้อ 1.1 และ 1.2 ซึ่งค่าอาหาร/อาหารว่าง-เครื่องดื่ม อัตราจะต่ำกว่ากิจกรรมเข้าค่าย-อบรม
2) จัดแข่งขันในวันอาทิตย์ก็เบิกได้ โดยถ้าซ้ำซ้อนกับการพบกลุ่ม ก็อาจเลื่อนการพบกลุ่มไปวันอื่นให้ครบตามเกณฑ์การพบกลุ่ม
( บางคนอาจพูดว่า
- การแข่งขันกีฬาก็ถือเป็นการพบกลุ่มอย่างหนึ่ง หรือ
- การเรียน “วิธีพบกลุ่ม” สมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์ของการมาพบกลุ่มให้ครบตามเกณฑ์ บางแห่งเหลือพบกลุ่มจริงไม่ถึง 9 ครั้งก็ไม่เห็นเป็นไร
การพูด 2 ลักษณะนี้ เป็นการพูดแบบ กศน.ที่ยืดหยุ่น แต่ไม่ถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ แต่ละคนคิดต่างกันมีเหตุผลต่างกัน ผู้ที่ออกระเบียบก็ใช่ว่าจะไม่มีเหตุผล ถ้าคิดว่าระเบียบที่กำหนดเกณฑ์การพบกลุ่มล้าสมัยแล้วก็ต้องเสนอให้ผู้ออกระเบียบเห็นด้วยและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหลักเกณฑ์ก่อน )
4. วันที่ 6 ธ.ค.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า "การลงตำแหน่งของ ผอ. ในใบระเบียนแสดงผลการเรียน สามารถใช้เป็นตัวย่อได้รึเปล่า(เช่น ผอ.กศน.....)"
1) เบิกได้ตามอัตราของกิจกรรมการการแข่งขันกีฬาในหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายข้อ 1.1 และ 1.2 ซึ่งค่าอาหาร/อาหารว่าง-เครื่องดื่ม อัตราจะต่ำกว่ากิจกรรมเข้าค่าย-อบรม
2) จัดแข่งขันในวันอาทิตย์ก็เบิกได้ โดยถ้าซ้ำซ้อนกับการพบกลุ่ม ก็อาจเลื่อนการพบกลุ่มไปวันอื่นให้ครบตามเกณฑ์การพบกลุ่ม
( บางคนอาจพูดว่า
- การแข่งขันกีฬาก็ถือเป็นการพบกลุ่มอย่างหนึ่ง หรือ
- การเรียน “วิธีพบกลุ่ม” สมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์ของการมาพบกลุ่มให้ครบตามเกณฑ์ บางแห่งเหลือพบกลุ่มจริงไม่ถึง 9 ครั้งก็ไม่เห็นเป็นไร
การพูด 2 ลักษณะนี้ เป็นการพูดแบบ กศน.ที่ยืดหยุ่น แต่ไม่ถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ แต่ละคนคิดต่างกันมีเหตุผลต่างกัน ผู้ที่ออกระเบียบก็ใช่ว่าจะไม่มีเหตุผล ถ้าคิดว่าระเบียบที่กำหนดเกณฑ์การพบกลุ่มล้าสมัยแล้วก็ต้องเสนอให้ผู้ออกระเบียบเห็นด้วยและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหลักเกณฑ์ก่อน )
4. วันที่ 6 ธ.ค.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์ ITw NFE ว่า "การลงตำแหน่งของ ผอ. ในใบระเบียนแสดงผลการเรียน สามารถใช้เป็นตัวย่อได้รึเปล่า(เช่น ผอ.กศน.....)"
เรื่องนี้ คำว่า กศน. นั้น
ย่อได้อยู่แล้วเพราะมีกำหนดคำย่อนี้ไว้ในกฎหมาย ส่วนคำอื่น ( เช่น "รักษาการในตำแหน่ง", "ผู้อำนวยการ", "อำเภอ" ) ผมก็ไม่แน่ใจว่าย่อได้หรือไม่
ผมจึงนำคำถามนี้ไปถามในกลุ่มไลน์ต่าง ๆ
ท่าน ผอ.สนง.กศน.จ.น่าน ให้ความเห็นว่า “ถ้ายังไม่มีประกาศจากส่วนกลางให้ใช้คำย่อใด ก็ให้ใช้คำเต็ม” ( คำว่า “ผู้อำนวยการ”, “อำเภอ”, “รักษาการในตำแหน่ง” ยังต้องพิมพ์เต็ม ส่วนคำว่า “กศน.” ใช้ได้ )
5. เช้าวันนี้ 27 พ.ย.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์สแควร์ กศน. ว่า นักศึกษาต้องทำ กพช.คุณธรรม 50 ชั่วโมง จึงจะจบหลักสูตรไหม
ท่าน ผอ.สนง.กศน.จ.น่าน ให้ความเห็นว่า “ถ้ายังไม่มีประกาศจากส่วนกลางให้ใช้คำย่อใด ก็ให้ใช้คำเต็ม” ( คำว่า “ผู้อำนวยการ”, “อำเภอ”, “รักษาการในตำแหน่ง” ยังต้องพิมพ์เต็ม ส่วนคำว่า “กศน.” ใช้ได้ )
5. เช้าวันนี้ 27 พ.ย.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์สแควร์ กศน. ว่า นักศึกษาต้องทำ กพช.คุณธรรม 50 ชั่วโมง จึงจะจบหลักสูตรไหม
( กลุ่มไลน์สแควร์
กศน. นี้ รับสมาชิกกลุ่มเฉพาะบุคลากร กศน. ไม่รวมนักศึกษา
ปัจจุบันมีสมาชิกพันกว่าคน สื่อสารถามตอบกันในเรื่องวงใน กศน.
ใครสนใจจะเข้ากลุ่มนี้ ขอให้แจ้งขอเข้ากลุ่มโดยบอกทั้ง ตำแหน่ง และ สังกัด “ที่ชัดเจน” เช่น “ครูอาสาสมัคร กศน.อ.หนองหูลิง” ไปที่ผู้เป็นสมาชิกกลุ่มอยู่แล้ว หรือที่อินบ็อกซ์กล่องข้อความผมก็ได้ จะส่งลิ้งค์หรือ QR-code สำหรับเข้ากลุ่มให้ )
ใครสนใจจะเข้ากลุ่มนี้ ขอให้แจ้งขอเข้ากลุ่มโดยบอกทั้ง ตำแหน่ง และ สังกัด “ที่ชัดเจน” เช่น “ครูอาสาสมัคร กศน.อ.หนองหูลิง” ไปที่ผู้เป็นสมาชิกกลุ่มอยู่แล้ว หรือที่อินบ็อกซ์กล่องข้อความผมก็ได้ จะส่งลิ้งค์หรือ QR-code สำหรับเข้ากลุ่มให้ )
ผมตอบว่า กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช.)
ส่งตามหนังสือที่ ศธ 0210.04/5242 ลงวันที่ 21 พ.ย.55 ( กำหนดโดย กป.กศน. ตั้งแต่ กพช.ยังเป็น
ไม่น้อยกว่า 100 ชม.)
ถ้าอ่านและตีความหนังสือนำส่งฉบับนี้ จะสรุปได้ว่า ใน 100 ชม. นศ.ต้องทำกิจกรรมศีลธรรม 50 ชั่วโมง และกิจกรรมตามนโยบาย กศน. 50 ชั่วโมง
ต่อมามีการเพิ่ม กพช.เป็นไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง ( บังคับใช้เป็นเงื่อนไขการจบหลักสูตรสำหรับนักศึกษารหัส 562... เป็นต้นมา ) แต่ กป.กศน.ยังไม่ได้กำหนดกรอบใหม่
จึงยังต้องทำทั้ง 2 ส่วน ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่รวมไม่น้อยกว่า 200 ชม.
( กิจกรรมศีลธรรม ไม่จำเป็นต้องเข้าค่ายคุณธรรมเท่านั้น นักศึกษาอาจทำด้วยตนเองก็ได้ เช่น กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ ดูรายละเอียดในหนังสือแจ้งกรอบ กพช.ที่
https://drive.google.com/file/d/1kLatNTL4vYuFhL7QJt3kS85evhJ7uei_/view?usp=sharing )
6. วันที่ 12 ธ.ค.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์สแควร์ “กศน.” ว่า งบต่อเนื่อง การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรภายในองค์กรเป็นวิทยากรได้หรือไม่ เช่นครู ศรช./ครูกศน.
ถ้าอ่านและตีความหนังสือนำส่งฉบับนี้ จะสรุปได้ว่า ใน 100 ชม. นศ.ต้องทำกิจกรรมศีลธรรม 50 ชั่วโมง และกิจกรรมตามนโยบาย กศน. 50 ชั่วโมง
ต่อมามีการเพิ่ม กพช.เป็นไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง ( บังคับใช้เป็นเงื่อนไขการจบหลักสูตรสำหรับนักศึกษารหัส 562... เป็นต้นมา ) แต่ กป.กศน.ยังไม่ได้กำหนดกรอบใหม่
จึงยังต้องทำทั้ง 2 ส่วน ๆ ละ ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่รวมไม่น้อยกว่า 200 ชม.
( กิจกรรมศีลธรรม ไม่จำเป็นต้องเข้าค่ายคุณธรรมเท่านั้น นักศึกษาอาจทำด้วยตนเองก็ได้ เช่น กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ ดูรายละเอียดในหนังสือแจ้งกรอบ กพช.ที่
https://drive.google.com/file/d/1kLatNTL4vYuFhL7QJt3kS85evhJ7uei_/view?usp=sharing )
6. วันที่ 12 ธ.ค.61 มีผู้ถามในกลุ่มไลน์สแควร์ “กศน.” ว่า งบต่อเนื่อง การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรภายในองค์กรเป็นวิทยากรได้หรือไม่ เช่นครู ศรช./ครูกศน.
เรื่องนี้ อ.สุนีย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กศน. บอกว่า
การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบการอบรมประชาชน นั้น บุคลากรของหน่วยงานอื่นที่เป็นแหล่งศึกษาดูงาน เบิกค่าตอบแทนวิทยากรได้ ถ้า “ระบุในตารางการอบรมว่าเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อใดช่วงเวลาใด”
แต่ ถ้าวิทยากรคนนั้นเป็นบุคลากรในสังกัด กศน.ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยากรช่วงในหรือนอกเวลาราชการ ก็ไม่เหมาะสมที่จะรับค่าตอบแทนวิทยากร โดย วิทยากรสังกัดเดียวกับส่วนราชการผู้จัด อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัด ( อธิบดี/ปลัดกระทรวง )
7. วันที่ 14 ธ.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีแผนการจัดการเรียนรู้วิชาบังคับไหมคับ
การศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบการอบรมประชาชน นั้น บุคลากรของหน่วยงานอื่นที่เป็นแหล่งศึกษาดูงาน เบิกค่าตอบแทนวิทยากรได้ ถ้า “ระบุในตารางการอบรมว่าเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อใดช่วงเวลาใด”
แต่ ถ้าวิทยากรคนนั้นเป็นบุคลากรในสังกัด กศน.ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยากรช่วงในหรือนอกเวลาราชการ ก็ไม่เหมาะสมที่จะรับค่าตอบแทนวิทยากร โดย วิทยากรสังกัดเดียวกับส่วนราชการผู้จัด อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัด ( อธิบดี/ปลัดกระทรวง )
7. วันที่ 14 ธ.ค.61 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า มีแผนการจัดการเรียนรู้วิชาบังคับไหมคับ
ผมตอบว่า
1) กลุ่มพัฒนา กศน. ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาบังคับในหลักสูตร 2551 มีทั้งแผนฯแบบรายวิชา ( วิชาบังคับ ม.ต้น – ปลาย ครบหมดทั้ง 14 รายวิชา แต่ไม่มีระดับประถม ) และแผนฯแบบบูรณาการ ( มีไม่มาก ) ใครสนใจดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/2UK5alm
( ไฟล์ใหญ่มาก 46 MB ใช้เวลาดาวน์โหลดนานมาก ใครดาวน์โหลดไม่เป็นก็แล้วแต่นะ )
2) ชาว กศน. หลายคน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ต่าง ๆ ขึ้นเว็บเผยแพร่ไว้ ลองเสิร์ชหาดู จะพบไม่น้อย
เช่น ของคุณอาคม จันตะนี ที่ https://goo.gl/gkwYR6 เป็นต้น
1) กลุ่มพัฒนา กศน. ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาบังคับในหลักสูตร 2551 มีทั้งแผนฯแบบรายวิชา ( วิชาบังคับ ม.ต้น – ปลาย ครบหมดทั้ง 14 รายวิชา แต่ไม่มีระดับประถม ) และแผนฯแบบบูรณาการ ( มีไม่มาก ) ใครสนใจดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/2UK5alm
( ไฟล์ใหญ่มาก 46 MB ใช้เวลาดาวน์โหลดนานมาก ใครดาวน์โหลดไม่เป็นก็แล้วแต่นะ )
2) ชาว กศน. หลายคน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ต่าง ๆ ขึ้นเว็บเผยแพร่ไว้ ลองเสิร์ชหาดู จะพบไม่น้อย
เช่น ของคุณอาคม จันตะนี ที่ https://goo.gl/gkwYR6 เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย