สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. คืนวันที่ 10 ส.ค.60 มีผู้เขียนข้อความตอบกลับท้ายโพสต์ผมบนไทม์ไลน์เฟซบุ๊ก ว่า น่าสงสารกันนะพวกเราครูอาสา ครูกศน.ทำงานกันมา25ปีขึ้น เกษียนแล้วต้องกลับมาเริ่มต้น0 เพราะเราไม่มีเงินบำเน็จบำนาญกะเค้ากัน แต่เค้าเกษียนกันแล้วสบาย...เดินสายเที่ยวกันอย่างเดียว ?
ผมเขียนข้อความตอบกลับว่า ถ้าทำประกันสังคมแบบส่งเงินสมทบเข้ากองทุนชราภาพ
ก็มีบำเหน็จบำนาญตามเกณฑ์นะ ( ดูในข้อ 5 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/11/10-mpbs.html )
พนักงานราชการบรรจุใหม่ วุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี จะได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการพลเรือน 20 % โดยพนักงานราชการได้ 18,000 บาท แต่ข้าราชการได้ 15,000 บาท ส่วนที่เกินนี้ เป็นเงิน
- ชดเชยบำเหน็จบำนาญ 10 % โดยเมื่อ พรก.เกษียณจะไม่มีบำเหน็จบำนาญจากเงินงบประมาณอีก ( แต่ก็มีบำเหน็จบำนาญจากเงินประกันสังคมตามหลักเกณฑ์ )
- ชดเชยสวัสดิการ 5 % โดยจะเบิกค่าสวัสดิการเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ ค่าช่วยเหลือบุตร ค่าการศึกษาบุตรไม่ได้ ( แต่ก็เบิกจากระบบประกันสังคมได้ )
- ชดเชยเงินประกันสังคมส่วนที่ลูกจ้างจ่ายสมทบ 5 %
ส่วนที่เกินเดือนละประมาณ 3,000 บาทนี้ จะเป็นเงินชดเชยบำเหน็จบำนาญ ( 10 % ของเงิน 15,000 ) ประมาณ 1,500 บาท ซึ่งจะเป็นปีละประมาณ 18,000 บาท ถ้าทำงาน 25 ปี จะเป็นประมาณ 450,000 บาท นั่นคือเท่ากับพนักงานราชการได้เงินบำเหน็จบำนาญจากราชการประมาณ 450,000 บาท
2. วันที่ 7 ส.ค.60 มี ขรก.ครูจาก กศน.อ.เมือง จังหวัดใกล้เคียง ไปหาผมถึงที่ กศน.อ.ผักไห่ คุยกันเรื่องการดำเนินงาน กศ.ขั้นพื้นฐานอย่างเดียว แต่หลายประเด็น ที่จำได้ เช่น
พนักงานราชการบรรจุใหม่ วุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี จะได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการพลเรือน 20 % โดยพนักงานราชการได้ 18,000 บาท แต่ข้าราชการได้ 15,000 บาท ส่วนที่เกินนี้ เป็นเงิน
- ชดเชยบำเหน็จบำนาญ 10 % โดยเมื่อ พรก.เกษียณจะไม่มีบำเหน็จบำนาญจากเงินงบประมาณอีก ( แต่ก็มีบำเหน็จบำนาญจากเงินประกันสังคมตามหลักเกณฑ์ )
- ชดเชยสวัสดิการ 5 % โดยจะเบิกค่าสวัสดิการเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจสุขภาพ ค่าช่วยเหลือบุตร ค่าการศึกษาบุตรไม่ได้ ( แต่ก็เบิกจากระบบประกันสังคมได้ )
- ชดเชยเงินประกันสังคมส่วนที่ลูกจ้างจ่ายสมทบ 5 %
ส่วนที่เกินเดือนละประมาณ 3,000 บาทนี้ จะเป็นเงินชดเชยบำเหน็จบำนาญ ( 10 % ของเงิน 15,000 ) ประมาณ 1,500 บาท ซึ่งจะเป็นปีละประมาณ 18,000 บาท ถ้าทำงาน 25 ปี จะเป็นประมาณ 450,000 บาท นั่นคือเท่ากับพนักงานราชการได้เงินบำเหน็จบำนาญจากราชการประมาณ 450,000 บาท
2. วันที่ 7 ส.ค.60 มี ขรก.ครูจาก กศน.อ.เมือง จังหวัดใกล้เคียง ไปหาผมถึงที่ กศน.อ.ผักไห่ คุยกันเรื่องการดำเนินงาน กศ.ขั้นพื้นฐานอย่างเดียว แต่หลายประเด็น ที่จำได้ เช่น
1) นศ.หายไปหลายเทอม แล้วมาลงทะเบียนรักษาสถานภาพ
ต้องให้ลงทะเบียนรักษาสถานภาพย้อนหลังทุกภาคเรียนไหม
ผมตอบว่า ตามหลักการ ถ้าไม่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใด ก็ให้ติดต่อมาลงทะเบียนรักษาสถานภาพไว้ เพื่อให้รู้ว่ายังไม่เลิกเรียน ยังมีตัวตน ยังไม่หายไปไหน ถ้าภาคเรียนใดไม่มาลงทะเบียนอะไรเลย ครูควรติดตามถามปัญหาเพื่อการแนะแนวได้ทันสภาพปัญหา
แต่.. ถึงแม้ไม่ลงทะเบียนอะไรเลยติดต่อกัน ( ไม่เกิน 6 ภาคเรียน ) โปรแกรมก็ไม่ได้เปลี่ยนให้เขาพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ถ้าเขาหายไปติดต่อกัน 6 ภาคเรียน แล้วต้นภาคเรียนที่ 7 เขามาลงทะเบียนรักษาสภาพในช่วงที่ยังเปิดให้ลงทะเบียน ก็ให้ลงทะเบียนรักษาสถานภาพเฉพาะในภาคเรียนที่ 7 ภาคเรียนเดียว โดยลงทะเบียนรักษาสถานภาพในโปรแกรม ITw ด้วย ก็จะมีสถานภาพเป็นนักศึกษาต่อไป ไม่ต้องลงทะเบียนรักษาสถานภาพย้อนหลังในภาคเรียนที่ 1-6 เพราะไม่มีระเบียบให้ลงทะเบียนย้อนหลัง เนื่องจากเจตนาจะให้ นศ.มีการติดต่อสื่อสารกับสถานศึกษาทุกภาคเรียน
ผมตอบว่า ตามหลักการ ถ้าไม่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใด ก็ให้ติดต่อมาลงทะเบียนรักษาสถานภาพไว้ เพื่อให้รู้ว่ายังไม่เลิกเรียน ยังมีตัวตน ยังไม่หายไปไหน ถ้าภาคเรียนใดไม่มาลงทะเบียนอะไรเลย ครูควรติดตามถามปัญหาเพื่อการแนะแนวได้ทันสภาพปัญหา
แต่.. ถึงแม้ไม่ลงทะเบียนอะไรเลยติดต่อกัน ( ไม่เกิน 6 ภาคเรียน ) โปรแกรมก็ไม่ได้เปลี่ยนให้เขาพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา ถ้าเขาหายไปติดต่อกัน 6 ภาคเรียน แล้วต้นภาคเรียนที่ 7 เขามาลงทะเบียนรักษาสภาพในช่วงที่ยังเปิดให้ลงทะเบียน ก็ให้ลงทะเบียนรักษาสถานภาพเฉพาะในภาคเรียนที่ 7 ภาคเรียนเดียว โดยลงทะเบียนรักษาสถานภาพในโปรแกรม ITw ด้วย ก็จะมีสถานภาพเป็นนักศึกษาต่อไป ไม่ต้องลงทะเบียนรักษาสถานภาพย้อนหลังในภาคเรียนที่ 1-6 เพราะไม่มีระเบียบให้ลงทะเบียนย้อนหลัง เนื่องจากเจตนาจะให้ นศ.มีการติดต่อสื่อสารกับสถานศึกษาทุกภาคเรียน
2) นศ.พิการหลายคนเรียนได้ช้า
ถ้าพิการมากเช่นพิการทางสมอง จะไม่สามารถเรียนจบได้ภายใน 5 ปี
วิชาที่เรียนเกิน 5 ปีแล้ว ต้องเรียนใหม่เหมือน นศ.ปกติหรือไม่
ผมตอบว่า นศ.พิการ กับ นศ.ปกติ ยังใช้ระเบียบหลักเกณฑ์และหลักสูตรเดียวกัน ฉะนั้น วิชาที่เรียนเกิน 5 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนใหม่เหมือน นศ.ปกติ
( อาจช่วย นศ.พิการให้เรียนจบง่ายขึ้น โดย ลดจำนวนรายวิชาเลือกเสรีที่ต้องเรียนให้เหลือน้อยลง ด้วยการ พัฒนาวิชาเลือกเสรีสำหรับคนพิการขึ้นมาโดยเฉพาะ ให้แต่ละวิชามีเนื้อหาน้อยแต่หน่วยกิตมาก ซึ่งจำนวนหน่วยกิตกำหนดจากเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ ถ้าต้องใช้เวลาเรียนรู้ 40 ชม.จะเท่ากับ 1 หน่วยกิต ฉะนั้นเนื้อหาวิชา 2 หน่วยกิตของคนปกติ คนพิการเรียนได้ช้า ถ้าต้องใช้เวลาเรียนมากกว่าคนปกติ 2 เท่า วิชาที่มีเนื้อหาเท่า ๆ กันนั้น ถ้าคนพิการต้องใช้เวลาเรียน 160 ชม. วิชานั้นก็จะเป็น 4 หน่วยกิตสำหรับคนพิการ เมื่อแต่ละวิชาของคนพิการมีหน่วยกิตมาก จำนวนวิชาเลือกเสรีของคนพิการก็จะน้อยลง เรียนแต่ละเทอมไม่กี่วิชา
ส่วนนักศึกษาที่พิการทางสมองมาก ๆ จนไม่สามารถเรียนสายสามัญได้ ก็ไม่ต้องรับเข้าเรียน กศ.ขั้นพื้นฐาน )
ผมตอบว่า นศ.พิการ กับ นศ.ปกติ ยังใช้ระเบียบหลักเกณฑ์และหลักสูตรเดียวกัน ฉะนั้น วิชาที่เรียนเกิน 5 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนใหม่เหมือน นศ.ปกติ
( อาจช่วย นศ.พิการให้เรียนจบง่ายขึ้น โดย ลดจำนวนรายวิชาเลือกเสรีที่ต้องเรียนให้เหลือน้อยลง ด้วยการ พัฒนาวิชาเลือกเสรีสำหรับคนพิการขึ้นมาโดยเฉพาะ ให้แต่ละวิชามีเนื้อหาน้อยแต่หน่วยกิตมาก ซึ่งจำนวนหน่วยกิตกำหนดจากเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ ถ้าต้องใช้เวลาเรียนรู้ 40 ชม.จะเท่ากับ 1 หน่วยกิต ฉะนั้นเนื้อหาวิชา 2 หน่วยกิตของคนปกติ คนพิการเรียนได้ช้า ถ้าต้องใช้เวลาเรียนมากกว่าคนปกติ 2 เท่า วิชาที่มีเนื้อหาเท่า ๆ กันนั้น ถ้าคนพิการต้องใช้เวลาเรียน 160 ชม. วิชานั้นก็จะเป็น 4 หน่วยกิตสำหรับคนพิการ เมื่อแต่ละวิชาของคนพิการมีหน่วยกิตมาก จำนวนวิชาเลือกเสรีของคนพิการก็จะน้อยลง เรียนแต่ละเทอมไม่กี่วิชา
ส่วนนักศึกษาที่พิการทางสมองมาก ๆ จนไม่สามารถเรียนสายสามัญได้ ก็ไม่ต้องรับเข้าเรียน กศ.ขั้นพื้นฐาน )
3) ต้องนำวิชาเลือกบังคับให้คณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบไหม
คณะกรรมการต้องลงนามทุกคนไหม
ผมตอบว่า “หลักสูตร” ต่าง ๆ ต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบ คำว่าหลักสูตรนี้อาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หลักสูตรรายวิชาแต่ละรายวิชา กับ หลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งต้องผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาทั้ง 2 ส่วน
หลักสูตรสถานศึกษาคือ ภาพรวมโครงสร้างหลักสูตรทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ซึ่งรวมทั้งกำหนดวิชาบังคับและวิชาเลือกทั้งหมดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาด้วย
เมื่อส่วนกลางกำหนดวิชาเลือกบังคับเพิ่มขึ้น ก็จะไปกระทบให้หลักสูตรสถานศึกษาเปลี่ยนแปลง เมื่อหลักสูตรสถานศึกษาเปลี่ยนแปลง ตามหลักการก็ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาให้คณะกรรมการรับทราบด้วย
ผมตอบว่า “หลักสูตร” ต่าง ๆ ต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบ คำว่าหลักสูตรนี้อาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หลักสูตรรายวิชาแต่ละรายวิชา กับ หลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งต้องผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาทั้ง 2 ส่วน
หลักสูตรสถานศึกษาคือ ภาพรวมโครงสร้างหลักสูตรทั้งหมดในแต่ละระดับชั้น ซึ่งรวมทั้งกำหนดวิชาบังคับและวิชาเลือกทั้งหมดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาด้วย
เมื่อส่วนกลางกำหนดวิชาเลือกบังคับเพิ่มขึ้น ก็จะไปกระทบให้หลักสูตรสถานศึกษาเปลี่ยนแปลง เมื่อหลักสูตรสถานศึกษาเปลี่ยนแปลง ตามหลักการก็ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาให้คณะกรรมการรับทราบด้วย
หลักฐานสำคัญที่แสดงว่าหลักสูตรได้ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว
คือ รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา
การให้กรรมการสถานศึกษาลงนามในเล่มหลักสูตร ก็เป็นหลักฐานได้อีกอย่างหนึ่ง ถ้ากรรมการลงนามเกินครึ่งก็ใช้เป็นหลักฐานแทนรายงานการประชุมได้ แต่ถ้าจำนวนกรรมการที่ลงนามไม่ถึงครึ่งหรือประธานลงนามเพียงผู้เดียว ก็ยังต้องใช้รายงานการประชุมประกอบเป็นหลักฐานด้วย
การให้กรรมการสถานศึกษาลงนามในเล่มหลักสูตร ก็เป็นหลักฐานได้อีกอย่างหนึ่ง ถ้ากรรมการลงนามเกินครึ่งก็ใช้เป็นหลักฐานแทนรายงานการประชุมได้ แต่ถ้าจำนวนกรรมการที่ลงนามไม่ถึงครึ่งหรือประธานลงนามเพียงผู้เดียว ก็ยังต้องใช้รายงานการประชุมประกอบเป็นหลักฐานด้วย
4) จำเป็นต้องมีการสอบกลางภาคไหม
ประเด็นนี้คิดไม่ตรงกัน โดย ผมบอกว่า การวัดผลระหว่างภาค ไม่จำเป็นต้องมีการสอบกลางภาค โดยเฉพาะวิชาเลือกเสรีท่านอดีตเลขาฯสุรพงษ์เคยพูดว่า การวัดผลระหว่างภาคของวิชาเลือกเสรีอาจวัดจากโครงงานอย่างเดียวก็ได้ หรือสอบอัตนัยข้อเดียวก็ได้
แต่.. อาจารย์ท่านที่มาคุยด้วย บอกว่า หนังสือสั่งการจาก สนง.กศน. เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้กำหนดอย่างที่ผมบอก แต่กำหนดว่า
“การประเมินผลระหว่างภาคเรียน ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก ให้มีคะแนนจาก 3 ส่วน ( ไม่ได้ใช้คำว่า “ควรมีคะแนนจาก 3 ส่วน” ) คือ
- คะแนนจากการทำกิจกรรม ได้แก่ แบบฝึกหัด, กรต., รายงาน, ภาคปฏิบัติ เป็นต้น
- คะแนนจากการทำโครงงาน หรือแฟ้มประมวลผลงาน/ชิ้นงาน
- คะแนนจากการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบย่อย, การทดสอบระหว่างภาคเรียน ( เน้นอัตนัย )
( ดูหนังสือแจ้งนี้ได้ที่ https://db.tt/3fIuhsFW )
โดยส่วนที่ 3. กำหนดว่า “คะแนนจากการทดสอบ ได้แก่ ทดสอบย่อย ทดสอบระหว่างภาคเรียน” ( ใช้คำว่า “ได้แก่” ไม่ได้ใช้คำว่า “เช่น” ) ฉะนั้นต้องมีการ “ทดสอบ” ระหว่างภาคเรียน ซึ่งการทดสอบระหว่างภาคเรียนที่ไม่ใช่การทดสอบย่อย ก็คือการสอบกลางภาค สรุป ต้องมีการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคด้วย ทุกวิชา ทุกวิธีเรียน
ประเด็นนี้คิดไม่ตรงกัน โดย ผมบอกว่า การวัดผลระหว่างภาค ไม่จำเป็นต้องมีการสอบกลางภาค โดยเฉพาะวิชาเลือกเสรีท่านอดีตเลขาฯสุรพงษ์เคยพูดว่า การวัดผลระหว่างภาคของวิชาเลือกเสรีอาจวัดจากโครงงานอย่างเดียวก็ได้ หรือสอบอัตนัยข้อเดียวก็ได้
แต่.. อาจารย์ท่านที่มาคุยด้วย บอกว่า หนังสือสั่งการจาก สนง.กศน. เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้กำหนดอย่างที่ผมบอก แต่กำหนดว่า
“การประเมินผลระหว่างภาคเรียน ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก ให้มีคะแนนจาก 3 ส่วน ( ไม่ได้ใช้คำว่า “ควรมีคะแนนจาก 3 ส่วน” ) คือ
- คะแนนจากการทำกิจกรรม ได้แก่ แบบฝึกหัด, กรต., รายงาน, ภาคปฏิบัติ เป็นต้น
- คะแนนจากการทำโครงงาน หรือแฟ้มประมวลผลงาน/ชิ้นงาน
- คะแนนจากการทดสอบ ได้แก่ การทดสอบย่อย, การทดสอบระหว่างภาคเรียน ( เน้นอัตนัย )
( ดูหนังสือแจ้งนี้ได้ที่ https://db.tt/3fIuhsFW )
โดยส่วนที่ 3. กำหนดว่า “คะแนนจากการทดสอบ ได้แก่ ทดสอบย่อย ทดสอบระหว่างภาคเรียน” ( ใช้คำว่า “ได้แก่” ไม่ได้ใช้คำว่า “เช่น” ) ฉะนั้นต้องมีการ “ทดสอบ” ระหว่างภาคเรียน ซึ่งการทดสอบระหว่างภาคเรียนที่ไม่ใช่การทดสอบย่อย ก็คือการสอบกลางภาค สรุป ต้องมีการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคด้วย ทุกวิชา ทุกวิธีเรียน
ผมจึงถามประเด็นนี้กับคุณกิตติพงษ์
กลุ่มพัฒนา กศน. เมื่อ 8 ส.ค.60 ว่า เมื่อหนังสือสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นอย่างนี้ และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าวิชาใด วิธีเรียนใด ไม่สอบกลางภาค จะถือว่าทำผิดหรือไม่
คุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน. ตอบว่า หนังสือฉบับนี้ออกจากกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ น่าจะเป็นข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลตามหลักการมากกว่า.. การวัดระหว่างภาคจะมี 3 หรือกี่ส่วน ให้แล้วแต่ธรรมชาติของแต่ละวิชา
3. วันอาทิตย์ที่ 13 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า มีต่ออายุราชการของพนักงานราชการไม๊
คุณกิตติพงษ์ กลุ่มพัฒนา กศน. ตอบว่า หนังสือฉบับนี้ออกจากกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ น่าจะเป็นข้อแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลตามหลักการมากกว่า.. การวัดระหว่างภาคจะมี 3 หรือกี่ส่วน ให้แล้วแต่ธรรมชาติของแต่ละวิชา
3. วันอาทิตย์ที่ 13 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า มีต่ออายุราชการของพนักงานราชการไม๊
ผมตอบว่า ไม่มีการต่ออายุพนักงานราชการทั่วไปของ สป.ศธ.
( เดิม ปีหนึ่งท่านอดีตเลขาธิการ กศน. แจ้งในที่ประชุมว่าจ้างพนักงานราชการที่อายุ 60 ปีต่อได้ แต่ปีหลังท่านเดิมก็แจ้งในที่ประชุมให้จ้างแค่อายุ 60 และปี 54 ก็มีการกำหนดเรื่องอายุสูงสุดของพนักงานราชการ ไว้ในข้อ 3 ของข้อกำหนด สป.ศธ. ดูได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/PRGgasean.pdf )
4. วันเดียวกัน ( อาทิตย์ที่ 13 ส.ค.) มีพนักงานราชการถามผมทางไลน์ ว่า ปรึกษาหน่อย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ผมได้รับแล้ว คือ บ.ช. และยื่นขอปี 59 (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) คือ จ.ม. ถ้ามีประกาศ ผมจะซื้อ โดยมีเหรียญในหลวงด้วย รวมแบบในรูป ถูกไหม
( เดิม ปีหนึ่งท่านอดีตเลขาธิการ กศน. แจ้งในที่ประชุมว่าจ้างพนักงานราชการที่อายุ 60 ปีต่อได้ แต่ปีหลังท่านเดิมก็แจ้งในที่ประชุมให้จ้างแค่อายุ 60 และปี 54 ก็มีการกำหนดเรื่องอายุสูงสุดของพนักงานราชการ ไว้ในข้อ 3 ของข้อกำหนด สป.ศธ. ดูได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/PRGgasean.pdf )
4. วันเดียวกัน ( อาทิตย์ที่ 13 ส.ค.) มีพนักงานราชการถามผมทางไลน์ ว่า ปรึกษาหน่อย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ผมได้รับแล้ว คือ บ.ช. และยื่นขอปี 59 (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) คือ จ.ม. ถ้ามีประกาศ ผมจะซื้อ โดยมีเหรียญในหลวงด้วย รวมแบบในรูป ถูกไหม
ผมตอบว่า ( เหรียญซ้าย = จ.ช., เหรียญกลาง = บ.ช. ) ถ้าขอประจำปี
59 จะไม่มีการพระราชทานนะ เพราะ ร.9 สวรรคตก่อนวันที่ 5 ธ.ค.59 แต่ต้นสังกัดก็นำมาขอรวมให้ใหม่ในปี 60 (
ขอพระราชทานจาก ร.10 ) ซึ่งกว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประดับได้ก็ประมาณ ม.ค.61
ส่วนเหรียญด้านขวา เหรียญที่ระลึก ร.9 ทรงเจริญพระชนพรรษา 7 รอบ 84 พรรษาในปี พ.ศ.54 นั้น ใครเกิดไม่หลังปี 54 ก็ประดับได้
ส่วนเหรียญด้านขวา เหรียญที่ระลึก ร.9 ทรงเจริญพระชนพรรษา 7 รอบ 84 พรรษาในปี พ.ศ.54 นั้น ใครเกิดไม่หลังปี 54 ก็ประดับได้
5. วันที่
15 ส.ค.60 ผมเรียนถามเรื่องการประเมิน/ต่อสัญญา พนักงานราชการ จากท่าน ผอ.กจ.กศน.
ได้รับข้อมูลดังนี้
-
ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
เพื่อการต่อสัญญาและการเพิ่มค่าตอบแทนประจำปี ตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติปกติ
- ให้ประเมินทุกคนที่บรรจุอยู่ก่อนวันที่ 1 ต.ค.60 แม้ว่าจะอายุราชการไม่ถึง 4 เดือน ( ประเมินเพื่อต่อสัญญา ) โดยถ้าบรรจุแต่งตั้งหลังช่วงการประเมินครั้งที่ 1/60 ก็ให้ประเมินครั้งที่ 2/60 เพียงครั้งเดียว ( ถ้าประเมินครั้งเดียว คะแนนที่ได้ไม่ต้องหารด้วยสอง )
- ผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานในปี งปม.60 ไม่ครบ 8 เดือน เช่นบรรจุแต่งตั้งหลังวันที่ 1 ก.พ.60 ให้ประเมินเพื่อการต่อสัญญาอย่างเดียว ไม่ได้ประเมินเพื่อการเพิ่มค่าตอบแทนประจำปี
( ผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานไม่ครบ 8 เดือน จะต่อสัญญาด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม โดยผลการประเมินต้องอยู่ระหว่าง ดี ถึงดีเด่น )
- ผู้ที่ผ่านการประเมิน ( คือคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป ) ให้ต่อสัญญาครั้งนี้เป็นเวลา 3 ปี ทุกคน ส่วนผู้ที่คะแนนเฉลี่ยในปี งปม.60 ต่ำกว่าดี ให้เลิกจ้าง โดยถ้าเดิมอัตราไม่เกินกรอบอยู่ ให้เรียกบรรจุคนใหม่แทนในตำแหน่งเดิมที่เดิม ถ้าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นหรือย้ายที่ ให้ขออนุมัติส่วนกลางก่อน และถ้าเดิมอัตราครู กศน.ตำบล เกินกรอบอยู่ ให้แจ้งส่วนกลางเพื่อเกลี่ยอัตราไปให้จังหวัดอื่นที่มีครู กศน.ตำบลไม่ครบทุกตำบล
- ในส่วนของการย้าย นั้น ยังไม่มีนโยบายจากระดับกระทรวงในเรื่องนี้ว่ารอบนี้จะมีการให้ย้ายไปทำสัญญาใหม่ในที่ใหม่เหมือนรอบที่ผ่านมาหรือไม่ ( ไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์ให้ย้ายได้ )
6. คืนวันที่ 16 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ได้อ่านจากข้อความที่อาจารย์โพสต์เรื่องการประเมินต่อสัญญา พนง.ราชการในรอบเดือนตุลาคม 2560 ที่จะถึงนี้ ขอถามแทนเพื่อนว่า คือในการประเมินครั้งที่ 1 ที่ผ่านมาได้คะแนนพอใช้ ถ้าครั้งที่ 2 ได้คะแนนพอใช้อีก ผลคือ ไม่ต่อสัญญาใช่ไหม
- ให้ประเมินทุกคนที่บรรจุอยู่ก่อนวันที่ 1 ต.ค.60 แม้ว่าจะอายุราชการไม่ถึง 4 เดือน ( ประเมินเพื่อต่อสัญญา ) โดยถ้าบรรจุแต่งตั้งหลังช่วงการประเมินครั้งที่ 1/60 ก็ให้ประเมินครั้งที่ 2/60 เพียงครั้งเดียว ( ถ้าประเมินครั้งเดียว คะแนนที่ได้ไม่ต้องหารด้วยสอง )
- ผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานในปี งปม.60 ไม่ครบ 8 เดือน เช่นบรรจุแต่งตั้งหลังวันที่ 1 ก.พ.60 ให้ประเมินเพื่อการต่อสัญญาอย่างเดียว ไม่ได้ประเมินเพื่อการเพิ่มค่าตอบแทนประจำปี
( ผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานไม่ครบ 8 เดือน จะต่อสัญญาด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม โดยผลการประเมินต้องอยู่ระหว่าง ดี ถึงดีเด่น )
- ผู้ที่ผ่านการประเมิน ( คือคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป ) ให้ต่อสัญญาครั้งนี้เป็นเวลา 3 ปี ทุกคน ส่วนผู้ที่คะแนนเฉลี่ยในปี งปม.60 ต่ำกว่าดี ให้เลิกจ้าง โดยถ้าเดิมอัตราไม่เกินกรอบอยู่ ให้เรียกบรรจุคนใหม่แทนในตำแหน่งเดิมที่เดิม ถ้าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นหรือย้ายที่ ให้ขออนุมัติส่วนกลางก่อน และถ้าเดิมอัตราครู กศน.ตำบล เกินกรอบอยู่ ให้แจ้งส่วนกลางเพื่อเกลี่ยอัตราไปให้จังหวัดอื่นที่มีครู กศน.ตำบลไม่ครบทุกตำบล
- ในส่วนของการย้าย นั้น ยังไม่มีนโยบายจากระดับกระทรวงในเรื่องนี้ว่ารอบนี้จะมีการให้ย้ายไปทำสัญญาใหม่ในที่ใหม่เหมือนรอบที่ผ่านมาหรือไม่ ( ไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์ให้ย้ายได้ )
6. คืนวันที่ 16 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า ได้อ่านจากข้อความที่อาจารย์โพสต์เรื่องการประเมินต่อสัญญา พนง.ราชการในรอบเดือนตุลาคม 2560 ที่จะถึงนี้ ขอถามแทนเพื่อนว่า คือในการประเมินครั้งที่ 1 ที่ผ่านมาได้คะแนนพอใช้ ถ้าครั้งที่ 2 ได้คะแนนพอใช้อีก ผลคือ ไม่ต่อสัญญาใช่ไหม
ผมตอบว่า ใช่ครับ ถ้าได้พอใช้ 2 ครั้ง เฉลี่ยแล้วก็จะไม่เกินพอใช้แน่นอน ซึ่งถ้าเฉลี่ยต่ำกว่าดีก็ไม่ต่อสัญญา
คะแนน 2 ครั้งรวมกันแล้วหารด้วย 2 ต้องเป็น 75 % ขึ้นไป ( พอใช้ = 65-74 %, ดี = 75-84 %, ดีมาก = 85-94 % )
- ถ้าครั้งที่ 1 ได้ 74.9 ( พอใช้ ) ครั้งที่ 2 ต้องได้อย่างน้อย 75.1 ( ดี ) จึงจะเฉลี่ยเป็น ดีขึ้นไป
- ถ้าครั้งที่ 1 ได้ 65 ( พอใช้ ) ครั้งที่ 2 ต้องได้อย่างน้อย 85 ( ดีมาก ) จึงจะเฉลี่ยเป็น ดีขึ้นไป
ถ้าตั้งใจทำงานเต็มที่แล้ว คณะกรรมการและผู้บริหารเขาคงเพิ่มคะแนนให้
คะแนน 2 ครั้งรวมกันแล้วหารด้วย 2 ต้องเป็น 75 % ขึ้นไป ( พอใช้ = 65-74 %, ดี = 75-84 %, ดีมาก = 85-94 % )
- ถ้าครั้งที่ 1 ได้ 74.9 ( พอใช้ ) ครั้งที่ 2 ต้องได้อย่างน้อย 75.1 ( ดี ) จึงจะเฉลี่ยเป็น ดีขึ้นไป
- ถ้าครั้งที่ 1 ได้ 65 ( พอใช้ ) ครั้งที่ 2 ต้องได้อย่างน้อย 85 ( ดีมาก ) จึงจะเฉลี่ยเป็น ดีขึ้นไป
ถ้าตั้งใจทำงานเต็มที่แล้ว คณะกรรมการและผู้บริหารเขาคงเพิ่มคะแนนให้
( การประเมิน
ไม่ใช่ประเมินในเดือน ต.ค.นะ แต่ควรประเมินและประกาศผลก่อน เพราะจะหมดสัญญาเดิมเมื่อสิ้นเดือน
ก.ย. ถ้าให้ทำงานต่อในเดือน ต.ค.ไปแล้วแจ้งผลภายหลังว่าไม่ต่อสัญญา ก็อาจมีปัญหา )
7. วันที่ 18 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า งบอุดหนุน (รายหัว) กรณีเหลือ สามารถให้สถานศึกษาซื้อหนังสือได้ไหม หนังสือเรียน ทั้งบังคับ และทั่วไป กรณีได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
ผมตอบว่า ซื้อได้ตามระเบียบ/วงเงิน/แผน 7. วันที่ 18 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า งบอุดหนุน (รายหัว) กรณีเหลือ สามารถให้สถานศึกษาซื้อหนังสือได้ไหม หนังสือเรียน ทั้งบังคับ และทั่วไป กรณีได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
ตามคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 605/59 ลว.28 มี.ค.59 ข้อ 11 กำหนดให้เบิกจ่ายเงินอุดหนุน เป็นค่าดำเนินการเกี่ยวกับสื่อ วัสดุอุปกรณ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ การซื้อหนังสือเรียนวิชาบังคับ-วิชาเลือก ไว้ที่ กศน.ตำบล/ศรช. สำหรับให้ นศ. อ่าน/ยืมอ่าน ก็ถือเป็นการซื้อสื่อตามข้อ 11 นี้ ( แต่ถ้าซื้อแจก นศ. หรือซื้อหนังสือทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา ซื้อไม่ได้ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย