วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

1.กิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพ เบิกค่าป้ายได้ไหม, 2.เรื่องการขอย้ายประจำปี, 3.ทำไมครู ศรช.ต้องจ่ายเองหมด, 4.ที่ให้ผู้บริหารอยู่ไม่เกิน 4-6 ปีนั้น หมายถึง ผอ.กศน.อ.ใช่ไหม, 5.ปัญหาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพที่ กศน.ระหว่างเรียน ป.บัณฑิต, 6.ทัศนศึกษาศูนย์วิทย์ฯ เบิกค่าอะไรได้บ้าง, 7.เมื่อไหร่ครู กศน.ตำบลจะครบทุกตำบล



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. คืนวันที่ 2 ส.ค.60 Manoch Keeratikittikanlaya ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ค ว่า  งบรายจ่ายอื่น กิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เบิกค่าป้ายไวนิลได้ไหม

             ผมตอบว่า   ค่าป้ายไวนิลอะไร เขียนว่าอย่างไร เป็นวัสดุฝึกหรือเปล่า ฝึกวิชาอาชีพการทำป้ายหรือเปล่า
             งบศูนย์ฝึกอาชีพ ( รายจ่ายอื่น ) ให้จัดในรูปแบบกลุ่มสนใจหรือชั้นเรียน ไม่ให้จัดในรูปแบบฝึกอบรม ซึ่งการจัดในรูปแบบกลุ่มสนใจหรือชั้นเรียน ผมเคยโพสต์ตอบแล้วว่าเบิกค่าป้ายไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นวัสดุฝึก เช่นฝึกวิชาอาชีพการทำป้ายไวนิล
             ดูคำตอบเดิม ๆ เช่นใน
             - ข้อ 1 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2016/07/1-15.html
             - ข้อ 5.4 (1) ที่  http://nfeph.blogspot.com/2016/03/moenet.html

         2. วันที่ 31 ก.ค.60 มี ผอ.กศน.อ. ถามผมทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  วาระย้ายสิงหา มี ผอ.อำเภอที่เราต้องการย้ายไป ท่านเกษียณ 30 กันยานี้ เราเขียนขอลงเลยได้ไหม

             เรื่องนี้  ผมคิดว่า ได้ เพราะคำสั่งย้ายคงไม่ออกก่อนวันที่ 1 ต.ค. และปกติการขอย้ายเราจะเขียนขอลงที่ไหนก็ได้ที่คิดว่าจะว่าง ที่รู้ว่าจะมีคนขอย้ายออก ก็ได้  เพียงแต่เมื่อถึงเวลาที่เขาพิจารณาการย้าย ถ้าตำแหน่งนั้นไม่ว่าง ตำแหน่งเดิมไม่ได้ออกจริง เราก็จะไม่ได้ย้ายไปลงที่ตำแหน่งนั้น
             แต่เพื่อความแน่ใจ ผมได้เรียนถามประเด็นนี้กับท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และ รก.กจ.กศน. ท่านบอกว่า เขียนขอย้ายลงตำแหน่งที่คิดว่าจะว่าง จะเกษียณ ได้  ทั้งนี้ กจ.จะแจ้งเรื่องการขอย้ายประจำปีพร้อมตำแหน่งว่าง ( แต่ไม่แจ้งตำแหน่งที่จะเกษียณ ) มายังจังหวัด

             อนึ่งการประชุม อ.ก.ค.ศ.สป. ในวันที่ 4 ส.ค.60 ที่ประชุมให้ปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาย้าย ผอ. จาก 6 ข้อ เป็น 8 ข้อ

         3. คืนวันที่ 3 ส.ค.60 Aom Maylilinn ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ทำไม่ครู ศรช. ต้องออกค่าใช้จ่ายเองในการซื้ออุปกรณ์การสอน เช่น กระดานดำ เสาธง โต๊ะหนังสือ ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายจากรัฐไห้ใช้ไม่ และไปโครงการต่างจังหวัดก็ต้องจ่ายเองหมด หนูสงสัย

             ผมตอบว่า   ค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่ถาม จ่ายจากเงินรัฐ ( เงินอุดหนุน เงินรายได้สถานศึกษา งบบริหาร ) ได้  รวมทั้งค่าไปโครงการต่างจังหวัด ( ค่าไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ) ผมก็เคยโพสต์แล้วว่า ผู้รับจ้างเหมาบริการสามารถเบิกได้ในกรณีใด
             แต่ถ้าเป็นค่าครุภัณฑ์ จะจ่ายได้เฉพาะเงินรายได้สถานศึกษากับเงินที่ได้รับการจัดสรรเจาะจงมาให้ซื้อครุภัณฑ์อะไรโดยเฉพาะ ซึ่งเกือบทุกแห่งไม่มีเงินนี้หรอก
             ทุกแห่งจะมีเงินอุดหนุนกับงบบริหาร ซึ่งหลายแห่งเขาก็จัดสรรให้ครู ศรช.เบิกจ่ายได้นะ ไม่ได้ให้ครูจ่ายเองหมด ลองคุยขอความอนุเคราะห์กับ ผอ.ดู อาจเบิกได้บางส่วน   แต่ถ้ามากไป เงินอุดหนุนไม่พอ ( ยิ่งถ้าครู ศรช.มาก นักศึกษาน้อย จะได้รับเงินอุดหนุนน้อย ส่วนงบบริหารนั้นไม่พอกันอยู่แล้ว ) อาจต้องหาวิธีขอความร่วมมือช่วยเหลือจากเครือข่าย ซึ่งถ้าเราเข้ากับชุมชนได้ดีอาจประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษา+ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชน เต็มใจช่วยสนับสนุนได้  แต่ต้องระวังไม่เรี่ยไรโดยที่บางคนไม่เต็มใจ ( การขอรับการสนับสนุนจากนักศึกษา+ประชาชน ต้องได้รับความเห็นชอบหรือดำเนินการโดย ผอ. อย่าทำโดยพลการ )  บางอย่างเราก็จ่ายเองบ้าง

         4. เย็นวันเสาร์ที่ 5 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ตามหนังสือที่แจ้งว่า ให้ผู้บริหารอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 4 ปี ถ้าจำเป็นไม่เกิน 6 ปีนั้น หมายถึง ผอ.กศน.อำเภอ ใช่มั้ย  ถ้าใช่ ผอ.ที่ต้องย้ายเนื่องจาก ครบ 4-6 ปีแล้ว สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้มั้ย ประเด็นนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วประเทศ

             ผมตอบตามความเข้าใจตัวเองไปก่อน ( เพราะเพิ่งเห็นคำถามตอนกลางคืน ไม่กล้ารบกวนถามใครต่อ ) โดยตอบว่า
             1)  หมายถึงทั้ง ผอ./รอง ผอ.จังหวัด และ ผอ./รอง ผอ.สถานศึกษา ( รวม ผอ.กศน.อ.)

             2)  ถ้าไม่ได้ขอย้ายเอง ก็เบิกค่าเช่าบ้านได้ตามหลักเกณฑ์

             ต่อมาวันจันทร์ที่ 7 ส.ค. ผมเรียนถามเรื่องนี้กับท่านสัจจา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ได้รับคำตอบตรงกับที่ผมตอบไปแล้ว
             ( ดูหนังสือชุดนี้ ได้ที่ 
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/cheinge4y.pdf )

         5. เช้าวันเดียวกัน ( เสาร์ที่ 5 ส.ค.) มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  มาเรียน ป บัณฑิต ที่ ม.ราชภัฏภูเก็ต และกำลังเรียนเทอมที่ 2 ฝึกงาน คือเป็นครู กศน.ตำบล ตอนแรกก็ส่งเอกสารครูพี่เลี้ยงและผู้บริหารเป็นครู กศน.และฝึกงานที่ กศน.ที่ตนเองทำงานอยู่  แล้วอยู่ๆ อ.หัวหน้าหลักสูตร ป บัณฑิตบอกว่า คุรุสภาเค้าบอกว่าต้องไปฝึกสอนกับโรงเรียนในระบบ
             กศน.ฝึกงานการสอนไม่ได้  กศน.ไม่ผ่าน สมศ ทุกแห่ง เลยงงว่าต้องไปขอฝึกงานที่อื่น ต้องเปลี่ยนครูพี่เลี้ยงและผู้บริหารใหม่หมดเลย เป็นในระบบ ครูพี่เลี้ยงและผู้บริหารก็ในระบบหมดเลย ต้องไปสอนในระบบสัปดาห์ละอย่างน้อย 6 ชม  แล้วมันมีปันหาเวลาทำงานจันถึงศุกก็ต้องทำงานในตำแหน่งหน้าที่อยู่แล้ว และ กศน.ก็ต้องสอนนักศึกษาอยู่แล้วด้วยทั้ง ม.ต้นและ ม.ปลาย  เลยงงมาก อยากจะรบกวนสอบถามว่า กศน นี้ฝึกงานได้หรือไม่ในการเรียน ป บัณฑิตอะ และ กศน.ที่ทำงานอยู่ก็ผ่าน สมศ นะ

             ผมตอบว่า   ฝึกปฏิบัติวิชาชีพที่ กศน.ได้ บอกเขาหรือเปล่าว่า กศน.ที่คุณทำงานอยู่ก็ผ่านการประเมินจาก สมศ.  ลองนำหนังสือที่แจ้งว่าฝึกสอนที่ กศน.ได้ ที่ผมเคยนำมาโพสต์ เช่นในข้อ 5.2 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2016/03/moenet.html  ไปให้เขาดู ถ้าเขาสงสัยให้เขาถามคุรุสภา
             ( วันที่ 8 ส.ค.60 ผมถามสำนักมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภา 02-2806168 ได้คำตอบว่า ฝึกสอนที่ กศน.ได้ทุกแห่งที่ผ่านการประเมินภายนอกจาก สมศ. )

             มหาลัยเขาเอือมระอา ที่เขามานิเทศตามตารางสอน/แผนการสอน ที่ครู กศน.ส่งเขา แล้วปรากฏว่าครู กศน.ไม่ได้สอนตามตารางสอน/แผนการสอน  บางมหาลัยจึงไม่ยอมรับที่จะให้ปฏิบัติการสอนที่ กศน. ( คนสมัครเรียน ป.บัณฑิต จากสังกัดอื่นก็เกินโควต้าที่เขาจะรับได้แล้ว )

         6. วันที่ 4 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ค่าใช้จ่ายสำหรับนักศึกษา กรณีเบิกจ่ายโครงการทัศนศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์ เบิกค่าอะไรได้บ้าง ต้องจัดจ้างจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือค่าอาาร อาหารว่างมั้ย

             ผมตอบ   ( ตอบครั้งแรกวันที่ถาม แต่สังเกตภายหลังพบว่าผมคลิกส่งคำตอบไม่สมบูรณ์ คำตอบไม่ขึ้น จึงส่งใหม่เย็นวันเสาร์ที่ 5 ส.ค. ) ตอบว่า
             นักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐานใช่ไหม เป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนใช่ไหม
             ลองเสิร์ชหาดูที่ผมเคยโพสต์ เช่นในข้อ 5 ที่ 
http://nfeph.blogspot.com/2017/01/scienem.html  จะมีลิ้งค์ไปดู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาร่วมกับกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา” ( เอกสารนี้จะระบุเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ในข้อ 3.3 )

         7. เช้าวันเสาร์ที่ 5 ส.ค.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เคยถามแล้ว และคำตอบทำให้ฉันอึ้งไปพักใหญ่  ฉันเคยถามว่า เมื่อไหร่ครู กศน.ตำบลจะครบทุกตำบล เนื่องจากตัวเองเป็นครูอาสาที่ต้องรักษาการตำบล กางแขนกางขาคนเดียวหลายหน้าที่ ต้องทำหน้าที่ครูตำบลทุกอย่าง เน้นว่าทุกอย่าง แถมต้องนิเทศตำบลอื่นที่ตนเองดูแลอีก 2 ตำบล และยังงานหัวหน้างานต่อเนื่อง เจองานตำบลไปก็หลังแอ่น ทั้งจัดต่อเนื่อง ทั้งภารกิจ 4 ศูนย์ คือทำทุกอย่างที่ครูตำบลทำ แถมยังต้องลงนิเทศตำบลอื่นที่รับผิดชอบ บางทีกิจกรรมซ้ำกันในวันเดียวกัน ไปไม่ถูก ตั้งสติแป๊บ แล้วค่อยๆคิด 
             พยายามทำทุกอย่างให้เร็วกว่าคนอื่นเพราะตัวเองมีหลายหน้าที่ แต่ก็ยังไม่วายที่ต้องมานั่งทำนั่งดูนั่งแลครูตำบลที่ตนเองดูแล  งาน หน.ต่อเนื่องต้องรายงาน ต้องเข้าไปเซนชื่อให้กับครูทุกตำบลเวลาส่งงาน ตนเองทำงานอยู่ตำบลตนก็ต้องวิ่งไปวิ่งมาเพื่อเซนชื่อ ไหนจะค่าน้ำมันรถ ค่าดูแลนักศึกษา ค่าโน้นนี่นั้นในตำบล ไม่เคยเบิก อยากมีครูตำบลมาผ่อนแรงบ้าง  เหนื่อยมาก เหนื่อยกว่าครูตำบลแต่เงินเดือนเท่าเดิม  คำตอบอาจจะทำให้คนทำงานอย่างหนูอึ้งไปบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับเพราะวาสนาเรามีแค่นี้
             คิดว่าอย่างน้อย เสียงสะท้อนจากครูตัวเล็กๆอย่างฉันก็ได้บอกได้บ่น
             สรุป ฉันจะได้ครูตำบลเมื่อไหน่ ห้ามตอบเหมือนเดิมว่า เมื่อครู กศน.ตำบลของจังหวัดที่เกิน เกษียร เมื่อออก เมื่อตาย
             ปล. สอบถามทางจังหวัดเรื่องการทำงานของฉันเป็นยังงัยได้เลย ว่าสิ่งที่ฉันเล่าให้ฟังมันคือเรื่องจริง ฉันเป็นครูอาสาอยู่อำเภอบ....... จังหวัด....... ชื่อ..........

             ผมตอบว่า   ( เรื่องที่ว่า เมื่อไหร่ ครู กศน.ตำบล จะครบทุกตำบล นี้  ต้องถาม กจ. กศน. ว่า จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ มีการตรวจสอบจังหวัดที่มีครู กศน.ตำบลเกินอยู่ ว่าเขาแจ้งเมื่อมีครู กศน.ตำบลเสียชีวิต ลาออก อายุครบ 60 เลิกจ้าง ทุกครั้ง เพื่อโอนอัตราว่างให้จังหวัดที่ไม่ครบหรือเปล่า )  คำตอบผมก็คงเหมือนเดิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย