สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง ดังนี้
1. วันที่ 19 ก.พ.58 คุณอ้อย กศน.อ.ลำลูกกา โทรศัพท์มาถามผมว่า การเทียบระดับการศึกษาแบบเดิม บางอำเภอกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกับผู้เข้ารับการเทียบระดับ ว่า ถ้าไม่ส่งแฟ้มประมวลประสบการณ์ หรือไม่ผ่านมิติประสบการณ์ จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบมิติความรู้ความคิด กำหนดได้หรือไม่
1. วันที่ 19 ก.พ.58 คุณอ้อย กศน.อ.ลำลูกกา โทรศัพท์มาถามผมว่า การเทียบระดับการศึกษาแบบเดิม บางอำเภอกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกับผู้เข้ารับการเทียบระดับ ว่า ถ้าไม่ส่งแฟ้มประมวลประสบการณ์ หรือไม่ผ่านมิติประสบการณ์ จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบมิติความรู้ความคิด กำหนดได้หรือไม่
ผมตอบว่า ไม่ถูกต้อง โดยตามคู่มือการดำเนินงานฯ การประเมินมิติความรู้ความคิดไม่ได้ต่อเนื่องจากการประเมินมิติประสบการณ์
สามารถเข้าสอบมิติความรู้ความคิดโดยไม่ต้องผ่านมิติประสบการณ์ก่อน
2. คืนวันที่ 19 ก.พ.58 ผอ.กศน.อำเภอแห่งหนึ่ง เขียนในอินบ็อกซ์ผม ว่า ขอข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบที่ยกเลิกคำสั่ง ผอ.จังหวัด ในการให้ข้าราชการไปช่วยราชการจังหวัด
2. คืนวันที่ 19 ก.พ.58 ผอ.กศน.อำเภอแห่งหนึ่ง เขียนในอินบ็อกซ์ผม ว่า ขอข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบที่ยกเลิกคำสั่ง ผอ.จังหวัด ในการให้ข้าราชการไปช่วยราชการจังหวัด
ผมตอบว่า ดูในข้อ 6 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2015/01/n-net.html
ผอ.บอกว่า ขอระเบียบที่ ผอ.จังหวัดไม่มีอำนาจในการเอาครูไปช่วยราชการที่
สนง.จังหวัด ลงนามโดยเลขาการุณ มีไหม เพราะ กศน.อำเภอ... ... ผอ.จังหวัดเอาครูไปช่วยราชการไม่ยอมส่งครูกลับมา
ไปเป็นปีแล้ว
ผมตอบว่า ก็ใช้คำสั่งฉบับนี้แหละ ( ถ้าจังหวัดให้ครูไปช่วยราชการเกิน 30 วัน ยิ่งผิดมานานมากแล้ว เพราะปัจจุบันไม่มีระเบียบฉบับไหนให้อำนาจไว้ ผอ.จังหวัดหลายท่านไม่ให้ครูไปช่วยราชการแล้ว แต่บางท่านยังทำ ผอ.จังหวัดบางท่านชอบทำอย่างนี้ พอย้ายไปจังหวัดใหม่ก็ไปทำที่จังหวัดใหม่อีก ส่วนจังหวัดเดิมผู้ที่ย้ายมาแทนท่านก็ส่งตัวครูกลับ เพราะอาจถูกร้องเรียน ) คำสั่งฉบับนี้ใช้คลุมหมด
ถ้าไม่มีระเบียบมอบอำนาจ ก็คือ ไม่มีอำนาจ ( ไม่มีระเบียบ/คำสั่งฉบับไหนที่บอกว่า "มอบให้ ผอ.ไม่มีอำนาจ" ) ผู้ที่ว่ามีอำนาจ จะต้องเป็นฝ่ายหาระเบียบคำสั่ง
3. คืนวันที่ 22 ก.พ.58 ผมประชาสมพันธ์ในเฟซบุ๊ค เรื่องการสอบแบบ e-Exam ของศูนย์ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา ว่า
จะทำการเปิดสอบเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ สำหรับผู้ไม่ได้เข้าสอบ N-NET โดยการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างวันที่ 1 – 30 มีนาคม 2558 ( หยุดวันเสาร์ )
สถานศึกษาใดที่ต้องการให้นักศึกษาเข้าสอบ e-Exam ที่ศูนย์ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา สามารถส่งรายชื่อนักศึกษาขอเข้าสอบได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 035 – 213385 อ.น้ำฝน และ อ.ชิษณุพงศ์)
ผมตอบว่า ก็ใช้คำสั่งฉบับนี้แหละ ( ถ้าจังหวัดให้ครูไปช่วยราชการเกิน 30 วัน ยิ่งผิดมานานมากแล้ว เพราะปัจจุบันไม่มีระเบียบฉบับไหนให้อำนาจไว้ ผอ.จังหวัดหลายท่านไม่ให้ครูไปช่วยราชการแล้ว แต่บางท่านยังทำ ผอ.จังหวัดบางท่านชอบทำอย่างนี้ พอย้ายไปจังหวัดใหม่ก็ไปทำที่จังหวัดใหม่อีก ส่วนจังหวัดเดิมผู้ที่ย้ายมาแทนท่านก็ส่งตัวครูกลับ เพราะอาจถูกร้องเรียน ) คำสั่งฉบับนี้ใช้คลุมหมด
ถ้าไม่มีระเบียบมอบอำนาจ ก็คือ ไม่มีอำนาจ ( ไม่มีระเบียบ/คำสั่งฉบับไหนที่บอกว่า "มอบให้ ผอ.ไม่มีอำนาจ" ) ผู้ที่ว่ามีอำนาจ จะต้องเป็นฝ่ายหาระเบียบคำสั่ง
3. คืนวันที่ 22 ก.พ.58 ผมประชาสมพันธ์ในเฟซบุ๊ค เรื่องการสอบแบบ e-Exam ของศูนย์ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา ว่า
จะทำการเปิดสอบเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ สำหรับผู้ไม่ได้เข้าสอบ N-NET โดยการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างวันที่ 1 – 30 มีนาคม 2558 ( หยุดวันเสาร์ )
สถานศึกษาใดที่ต้องการให้นักศึกษาเข้าสอบ e-Exam ที่ศูนย์ กศน.อำเภอพระนครศรีอยุธยา สามารถส่งรายชื่อนักศึกษาขอเข้าสอบได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 035 – 213385 อ.น้ำฝน และ อ.ชิษณุพงศ์)
ส่วนกลางจะเปิดระบบการสอบในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของส่วนกลาง
ระหว่าง 1-31 มี.ค.58 แต่จุดสอบบางแห่งอาจกำหนดรายละเอียดในการเปิดสอบต่างกันบ้าง
เช่นบางแห่งอาจไม่เริ่มตั้งวันที่ 1
บางแห่งกำหนดวันหยุดต่างกัน ต้องสอบถามแต่ละแห่งด้วย (
แต่จะไม่มีเริ่มก่อนวันที่ 1 มี.ค.)
4. วันที่ 23 ก.พ.58 Anndear Natchanok Ninwong ถามในอินบ็อกซ์ผม ว่า ข่าวว่าจะมีการสอบบรรจุบรรณารักษ์ ขอถามว่าสอบประเภททั่วไป กับประเภทประสบการณ์ ต่างกันอย่างไร เตรียมตัวอ่านอะไรบ้าง แล้วจะสอบเดือนไหน มีติวมั้ย
4. วันที่ 23 ก.พ.58 Anndear Natchanok Ninwong ถามในอินบ็อกซ์ผม ว่า ข่าวว่าจะมีการสอบบรรจุบรรณารักษ์ ขอถามว่าสอบประเภททั่วไป กับประเภทประสบการณ์ ต่างกันอย่างไร เตรียมตัวอ่านอะไรบ้าง แล้วจะสอบเดือนไหน มีติวมั้ย
เรื่องนี้
ท่าน ผอ.กจ.กศน. บอกว่า “สอบบรรจุข้าราชการประเภทบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา
38 ค.(2) ตำแหน่งบรรณารักษ์
และตำแหน่งอื่น ๆ มีประเภทเดียว ไม่มีประเภทประสบการณ์ ตอนนี้ตำแหน่งบรรณารักษ์ว่างประมาณ 30-40 ตำแหน่ง
ส่วนตำแหน่งนักวิชาการศึกษากับตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปมีตำแหน่งว่างไม่มาก จะเปิดรับสมัครสอบประมาณปลายเดือนเมษายน 2558
โดยจะรับสมัครพร้อมกับตำแหน่งนักวิชาการศึกษา และนักจัดการงานทั่วไป”
ส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการสอบ รับสมัครทั่วไป
ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนใต้ สมัครผ่านจังหวัดได้ทุกจังหวัด แต่ไม่ได้สอบที่จังหวัด
และอัตราว่างที่จะบรรจุผู้สอบได้มีไม่ครบทุกจังหวัด
โดยในการประกาศรับสมัครจะระบุว่ามีตำแหน่งใดว่างที่ไหนเท่าไร ผู้สมัครไม่ต้องมีอายุงาน ไม่ต้องเคยทำงาน กศน. ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
รับผู้มีคุณวุฒิตามที่กำหนด
คุณวุฒิที่ใช้สมัครสอบในแต่ละตำแหน่ง คือ
1) ตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาทางบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ ในแต่ละมหาวิทยาลัย อาจตั้งชื่อสาขาวิชาเอกแตกต่างกันบ้าง ปกติถ้าสงสัยจะใช้วิธีดูทรานสคริปท์ว่าเรียนวิชาบรรณารักษ์มาครบหน่วยกิตหรือไม่ ถ้าจังหวัดไหนสงสัยก็บอกให้เขาโทร.หารือ กจ.กศน. ( ต้องจบ สาขาวิชาเอก ต่อไปนี้
- บรรณารักษศาสตร์
- บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
- บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
- สารสนเทศศึกษา หรือสารนิเทศศาสตร์ )
2) ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาทางการศึกษา ในสาขาดังนี้ (ถ้าจบสาขาอื่น ถึงแม้จะจบ ป.บัณฑิตด้วย ก็สมัครไม่ได้ )
- การศึกษา
- ครุศาสตร์
- ศึกษาศาสตร์
- ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- วิทยาศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...) หรือ (การสอน...)
- ศิลปศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...)
- คหกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ศึกษา) เกษตรศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกเกษตรศึกษา) บริหารธุรกิจบัณฑิต ( วิชาเอกธุรกิจศึกษา)
3) ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาในทุกสาขาวิชา
การสอบนี้ไม่ใช้ภาค ก. ของ ก.พ. เพราะเป็นข้าราชการสังกัด ก.ค.ศ. ไม่ใช่สังกัด ก.พ. การสอบครั้งนี้จะสอบทั้งภาค ก. ภาค ข. ตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ.กำหนด ในวันเดียวกัน โดยภาค ก. คือภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ( วิชาความสามารถด้านการคิดคำนวณ/ด้านเหตุผล, วิชาภาษาไทย ) ส่วนภาค ข. คือภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตามมาตรฐานตำแหน่ง )
การติว ต้องรวมตัวกันจัดติวกันเอง
คุณวุฒิที่ใช้สมัครสอบในแต่ละตำแหน่ง คือ
1) ตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาทางบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ ในแต่ละมหาวิทยาลัย อาจตั้งชื่อสาขาวิชาเอกแตกต่างกันบ้าง ปกติถ้าสงสัยจะใช้วิธีดูทรานสคริปท์ว่าเรียนวิชาบรรณารักษ์มาครบหน่วยกิตหรือไม่ ถ้าจังหวัดไหนสงสัยก็บอกให้เขาโทร.หารือ กจ.กศน. ( ต้องจบ สาขาวิชาเอก ต่อไปนี้
- บรรณารักษศาสตร์
- บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
- บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
- สารสนเทศศึกษา หรือสารนิเทศศาสตร์ )
2) ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาทางการศึกษา ในสาขาดังนี้ (ถ้าจบสาขาอื่น ถึงแม้จะจบ ป.บัณฑิตด้วย ก็สมัครไม่ได้ )
- การศึกษา
- ครุศาสตร์
- ศึกษาศาสตร์
- ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- วิทยาศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...) หรือ (การสอน...)
- ศิลปศาสตร์ (ศึกษาศาสตร์...) หรือ (ศึกษาศาสตร์การสอน...)
- คหกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ศึกษา) เกษตรศาสตร์บัณฑิต (วิชาเอกเกษตรศึกษา) บริหารธุรกิจบัณฑิต ( วิชาเอกธุรกิจศึกษา)
3) ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ = ได้รับปริญญาในทุกสาขาวิชา
การสอบนี้ไม่ใช้ภาค ก. ของ ก.พ. เพราะเป็นข้าราชการสังกัด ก.ค.ศ. ไม่ใช่สังกัด ก.พ. การสอบครั้งนี้จะสอบทั้งภาค ก. ภาค ข. ตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ.กำหนด ในวันเดียวกัน โดยภาค ก. คือภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ( วิชาความสามารถด้านการคิดคำนวณ/ด้านเหตุผล, วิชาภาษาไทย ) ส่วนภาค ข. คือภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตามมาตรฐานตำแหน่ง )
การติว ต้องรวมตัวกันจัดติวกันเอง
ดูหลักสูตรการสอบข้าราชการตำแหน่งบรรณารักษ์-นักวิชาการศึกษา-นักจัดการงานทั่วไป
จากประกาศรับสมัครของ กศน.ครั้งที่แล้ว ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/38k(2).pdf
5. เช้าวันที่ 24 ก.พ.58 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องกำหนดวันเงินเดือนออก ว่า กรมบัญชีกลางกำหนดให้โอนเงิน งบบุคลากร ที่กำหนดจ่ายสิ้นเดือน
- เข้าบัญชีผู้รับบำนาญ ล่วงหน้า 5 วันทำการ ก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
5. เช้าวันที่ 24 ก.พ.58 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องกำหนดวันเงินเดือนออก ว่า กรมบัญชีกลางกำหนดให้โอนเงิน งบบุคลากร ที่กำหนดจ่ายสิ้นเดือน
- เข้าบัญชีผู้รับบำนาญ ล่วงหน้า 5 วันทำการ ก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
- เข้าบัญชีข้าราชการและลูกจ้าง
ล่วงหน้า 3 วันทำการ ก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน (
ถ้านับเฉพาะวันทำการ ไม่นับวันหยุด ตั้งแต่วันเงินเดือนออก
ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน รวมเป็น 4 วัน ) ลูกจ้างในที่นี้คือลูกจ้างที่มีเลขที่อัตรา
( ถ้าจ้างเหมาบริการ จะไม่ใช่ลูกจ้าง แต่เป็น ผู้รับจ้าง )
6. วันตรุษจีน 19 ก.พ.58 สุนันทา สุขเคหา กศน.อ.บางปะหัน ถามผมทั้งทางอินบ็อกซ์ และทางโทรศัพท์ ว่า จำนวนเจ้าหน้าที่และกรรมการดำเนินการสอบ ดูจากระเบียบเก่าปี 36 ใช่ไหม ค่าคุมสอบปัจจุบันเท่าไร และถ้าคุมสอบ 8:30 - 13:30 น. จะเบิกจ่ายค่าคุมสอบครึ่งวันหรือเต็มวัน
ผมตอบไปแล้ว ว่า จำนวนเจ้าหน้าที่และกรรมการดำเนินการสอบ ดูจากระเบียบปี 36 ถูกแล้ว อ่านในข้อ 1 ที่ https://www.gotoknow.org/posts/481090
( หนังสือในลิ้งค์นี้ กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า "กรรมการควบคุมการสอบ ห้องสอบละไม่เกิน 2 คน" นั่นคือ ห้องสอบละ 1 คนได้ แต่ คงไม่เหมาะสม )
และผมตอบด้วยความหนักใจเพราะกลัวคนคุมสอบจะไม่พอใจ ว่า ปกติถ้าคุมสอบไม่เต็มวัน จะเบิกเต็มวันไม่ได้ ตามหลักการเบิกจ่ายเงินของทางราชการนั้น เบิกเงินต่ำกว่าเกณฑ์ได้ แต่เบิกเกินเกณฑ์ไม่ได้ เช่น คุมสอบไม่เต็มวันเบิกเงินเต็มวันไม่ได้ แต่คุมสอบเกินครึ่งวันเบิกเงินแค่ครึ่งวันได้
วันที่ 24 ก.พ.58 ผมได้เรียนถามประเด็นนี้กับหน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ( อ.สุณีย์ ) ได้รับคำตอบว่า
เต็มวันคือเวลาสอบ 8:30-16:30 น. แต่ถ้า 9:00-16:00
น. ก็อนุโลมให้เบิกเงินเต็มวันได้ เพราะถ้าจะเริ่มสอบ 9:00 น. ก็ต้องมาถึงสนามสอบตั้งแต่ 8:30 น.
และเมื่อหมดเวลาสอบ 16:00 น.
ก็อาจต้องจัดการเอกสารต่างๆต่อถึง 16:30 น.
แต่กรณีสอบถึง 13:30 น.ตามที่ถามนี้ ( กรณีเริ่มสอบหลัง 9:00 น. หรือหมดเวลาสอบก่อน 16:00 น. ) จะอนุโลมให้เบิกเต็มวันไม่ได้ ต้องเบิกครึ่งวัน ถ้าเวลาสอบไม่ถึงครึ่งวันจึงจะอนุโลมให้เบิกครึ่งวันได้
( กรณีนี้ ถ้าผู้คุมสอบจะไม่พอใจ ควรจัดให้บุคลากร กศน.เป็นผู้คุมสอบในห้องสอบนี้ )
7. ตั้งแต่คืนวันที่ 11 พ.ย.57 Mickeymouse FC และ วีรากร มณีทรัพย์สุคนธ์ ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า กศน.ตำบลที่ใช้อาคารสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐต่างสังกัดหรือเอกชน เช่น โรงเรียน จะเบิกค่าน้ำค่าไฟจากต้นสังกัดได้หรือไม่
แต่กรณีสอบถึง 13:30 น.ตามที่ถามนี้ ( กรณีเริ่มสอบหลัง 9:00 น. หรือหมดเวลาสอบก่อน 16:00 น. ) จะอนุโลมให้เบิกเต็มวันไม่ได้ ต้องเบิกครึ่งวัน ถ้าเวลาสอบไม่ถึงครึ่งวันจึงจะอนุโลมให้เบิกครึ่งวันได้
( กรณีนี้ ถ้าผู้คุมสอบจะไม่พอใจ ควรจัดให้บุคลากร กศน.เป็นผู้คุมสอบในห้องสอบนี้ )
7. ตั้งแต่คืนวันที่ 11 พ.ย.57 Mickeymouse FC และ วีรากร มณีทรัพย์สุคนธ์ ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า กศน.ตำบลที่ใช้อาคารสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐต่างสังกัดหรือเอกชน เช่น โรงเรียน จะเบิกค่าน้ำค่าไฟจากต้นสังกัดได้หรือไม่
ผมตอบไปแล้ว ว่า สามารถเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภค(ค่าน้ำค่าไฟ)
จากเงินอุดหนุนได้ ถ้า.. มีเงินอุดหนุนรายหัวมากพอและผู้บริหารอนุญาต
( ต่างกับการใช้สถานที่หน่วยงานอื่นเป็นสนามสอบปลายภาค หรือใช้สอนการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งใช้เพียงครั้งคราว ให้จ่ายเป็นเงินทดแทนหรือเงินชดเชยการใช้สถานที่ แต่ กศน.ตำบล และ ศรช. ถ้าขอใช้สถานที่หน่วยงานอื่นตลอดปี เบิกจ่ายเป็นค่าสาธารณูปโภคได้ )
( ต่างกับการใช้สถานที่หน่วยงานอื่นเป็นสนามสอบปลายภาค หรือใช้สอนการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งใช้เพียงครั้งคราว ให้จ่ายเป็นเงินทดแทนหรือเงินชดเชยการใช้สถานที่ แต่ กศน.ตำบล และ ศรช. ถ้าขอใช้สถานที่หน่วยงานอื่นตลอดปี เบิกจ่ายเป็นค่าสาธารณูปโภคได้ )
วันที่ 24 ก.พ.58
ผมได้เรียนถามประเด็นนี้กับหน่วยตรวจสอบภายใน กศน. ( อ.สุณีย์ )
อีกครั้ง ได้รับคำตอบว่า กรณีนี้เคยมี
กศน.อ.หาดใหญ่หารือ
กรมบัญชีกลางตอบว่าใช้ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคของหน่วยงานอื่นมาเบิกจ่ายได้ แต่ถ้าไม่แยกมิเตอร์จะมีปัญหาไม่มีระเบียบรองรับ
ถ้าจะขอใช้อาคารสถานที่เขาเป็นเวลานาน ให้เขาแยกมิเตอร์สำหรับส่วนที่เราใช้โดยเฉพาะ
และนำใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภคสำหรับมิเตอร์นี้ ( ใบเสร็จฉบับจริง )
มาเบิกจากเราได้
ถึงแม้ชื่อหน่วยงานในใบเสร็จนั้นจะเป็นชื่อหน่วยงานอื่นไม่ใช่ชื่อหน่วยงาน กศน. (
ใช้บันทึกการขอใช้อาคารสถานที่ ประกอบ )