วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

1.ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแล้ว แต่เรายังจ้างไม่ถูกต้อง, 2.กำหนดจำนวนชั่วโมงสอนของ ขรก.ครู กศน., 3.ผอ.กศน.อำเภอ ย้ายครู กศน.ตำบล, 4.จังหวัดขอเปลี่ยนตำแหน่งครูอาสาฯที่ว่าง ไปเป็นนักจัดการงานทั่วไปที่จังหวัดได้หรอ, 5.เครื่องแบบ นศ.กศน. เอกชนเอาตรา กศน.ไปทำขายได้เหรอ, 6.งานบุคลากร กศน.อำเภอบ้านโพธิ์บอกว่าไม่มีสิทธิ์ลา, 7.คำถามซ้ำซากเรื่องครูอาสาฯ



สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  7  เรื่อง ดังนี้

         1. หลังจากที่ผมโพสต์เรื่อง อยากให้ปรับปรุงสิทธิของ ครู ศรช.ปรากฏว่ามีผู้เขียนความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ของผม เช่น

             1)  เย็นวันที่ 10 พ.ย.60 มีผู้เขียนต่อท้ายโพสต์ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก ว่า  สัญญาจ้างเหมาบริการ เป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ เมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ในฐานะเป็นลูกจ้างกับ ส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) จึงเป็น นิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ์างกับนายจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนั้น การที่ส่วนราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ์างเพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติ
                  
( คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๔๙/๒๕๕๖  http://www.admincourt.go.th/admincourt//upload//webcms//Academic//Academic_031017_091242.pdf )







                  ผมตอบว่า  เราทำผิด เราให้ทำงานเหมือนจ้างแรงงาน ( เหมือนจ้างลูกจ้างชั่วคราว ) ซึ่งศาลพิพากษาว่าถ้าจ้างให้ทำงานลักษณะนี้จะเป็นการจ้างแรงงาน ต้องได้สิทธิเหมือนลูกจ้างชั่วคราว
                  ซึ่งกระทรวงการคลังก็เคยย้ำมายังทุกส่วนราชการ ( ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค
0406.4/67 ลงวันที่ 14 ก.ค.53 ) ว่า การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุต้องไม่จ้างในลักษณะจ้างแรงงาน เช่น ต้องไม่จ้างต่อเนื่อง แต่ให้จ้างเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ ต้องมีการตรวจรับชิ้นงานที่จ้างจริง ๆ ไม่ใช่แค่มีใบตรวจรับงานจ้างเป็นหลักฐาน แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจรับงานจ้าง
                  
( หนังสือกระทรวงการคลังฉบับนี้ สรุปได้ว่า
                     
" ปัจจุบัน ส่วนราชการหลายแห่งได้ดำเนินการจ้างเอกชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อปฏิบัติงานในลักษณะเช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน ซึ่งไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับจ้างคิดว่าเป็นบุคลากรของรัฐ และเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เหมือนบุคลากรของรัฐ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาข้อโต้แย้ง จึงให้ส่วนราชการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด ดำเนินการจ้างตามระเบียบพัสดุ ไม่ใช่ระเบียบลูกจ้าง
                        
- จ้างดำเนินงานเฉพาะโครงการหรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจ้างเต็มปีงบประมาณ และ มิให้ทำสัญญาจ้างในลักษณะต่อเนื่อง
                        
- อัตราค่าจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่ให้เป็นอัตราค่าจ้างปกติทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับงานนั้น โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย
                        
- ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ จากทางราชการ แต่เป็น "ผู้รับจ้างทำของ" ผู้ว่าจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ผู้รับจ้างสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตามมาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ” )

                  ทั้งศาล และกระทรวงการคลัง สอดคล้องกัน ความผิดอยู่ที่เรา พฤตินัยของเราจ้างให้ทำงานเหมือนลูกจ้างชั่วคราว แต่นิตินัยทำหลักฐานว่าจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ ซึ่งศาลบอกว่า เป็นสัญญาจ้างอำพราง ศาลให้พิจารณาจากพฤตินัยเป็นหลัก ถ้าให้ทำงานเป็น ลูกจ้างไม่ใช่ ผู้รับจ้างส่วนราชการก็ต้องให้สิทธิประโยชน์แบบลูกจ้าง

                  ปัญหาของเราคือ เราไม่ได้งบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราวเลย ( ถ้าได้งบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราว งบจะมาพร้อมเลขที่อัตราและเงินประกันสังคม+ค่าครองชีพตามเกณฑ์ )
                  เราจึงต้องใช้งบดำเนินงานและเงินอุดหนุนในการจ้าง ซึ่งงบนี้จะจ้างต่อเนื่องเป็นลูกจ้างและจ่ายค่าประกันสังคมไม่ได้ ต้องจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ)

                  ถ้าไม่ได้งบบุคลากรและจะทำให้ถูก ก็ต้องเลิกจ้างต่อเนื่อง แต่ใช้งบดำเนินงานหรือเงินอุดหนุนจ้างเป็นเรื่อง ๆ/เป็นครั้ง ๆ/เป็นจ๊อบ ๆ ซึ่งจะเดือดร้อนกันทุกฝ่าย ข้าราชการและพนักงานราชการจะทำงานไม่ไหว เช่นต้องสอน/พบกลุ่มแทนครู ศรช.

                  สรุป  ถ้าจะทำให้ถูกต้อง คือ ใช้งบบุคลากรจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งต้องทำประกันสังคมให้และมีค่าครองชีพชั่วคราวตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ปัญหาของเราคือ ไม่ได้รับงบบุคลากรสำหรับจ้างลูกจ้างชั่วคราวเลย เมื่อนำงบดำเนินงานและเงินอุดหนุนมาจ้างแทน ก็ต้องจ้างแบบจ้างเหมาบริการและทำประกันสังคมไม่ได้
                  เราทำผิด ที่ จ้างต่อเนื่องให้ทำงานเหมือนลูกจ้าง ไม่จ้างเป็นจ๊อบ ๆ

             2)  วันเสาร์ที่ 11 พ.ย.60 มีผู้เขียนต่อท้ายโพสต์เรื่องเดียวกันของผมในเฟซบุ๊ก ว่าพนักงานราชการทำงานในพิ้นที่ ข้าราชการรับงานอยู่ข้างบน แปลกนะพอปรับเงินเดือนต้องนึกถึงข้าราชการก่อนทุกครั้ง

                  ผมตอบว่า  จริงหรือ... แต่ที่ผ่านมา เช่น ครั้งล่าสุด 1 ธ.ค.57 ปรับเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ 4 % กฎหมายหลักฉบับเดียวกันครอบคลุมทั้งข้าราชการและพนักงานราชการ โดยพนักงานราชการได้ปรับ 4 % ทุกคน แต่ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปไม่ได้ปรับเลย
                  และ ข้าราชการครูระดับต่ำกว่าชำนาญการพิเศษได้ปรับช้ากว่าพนักงานราชการเกือบ
2 ปี เพราะข้าราชการครูต้องออกกฎหมายเงินเดือนตามหลังข้าราชการพลเรือนและต้องทยอยแก้ไขคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนก่อน ( ได้ปรับช้ากว่าก็ดีที่ได้ตกเบิกย้อนหลังเป็นเงินก้อน )
                  จะเขียนอะไรก็ขอให้ใช้ข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้วย อย่าใช้แต่ความคิด/อารมณ์
                  พนักงานราชการวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร
4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 18,000 บาท แต่ข้าราชการพลเรือนวุฒิ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี บรรจุใหม่ได้เงินเดือน 15,000 บาท

                  หลังจากที่ผมตอบไป ผู้เขียนมาเขียนต่ออีกว่าสามปีแล้วคับ

                  ผมตอบว่า  หลังจาก "ครั้งล่าสุด" แล้ว ก็ยังไม่มีการปรับเงินเดือนอีก ทั้งข้าราชการและพนักงานราชการ ( เข้าใจคำว่า ครั้งล่าสุด ไหม )
                  หรือว่าที่เขียนนี่หมายถึง "การเลื่อนเงินเดือนประจำปี" ถ้าเป็นการเลื่อนเงินเดือนประจำปี ข้าราชการยิ่งช้ากว่า เพราะข้าราชการต้องออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโดยส่วนกลางซึ่งออกช้ากว่า และได้เงินตกเบิกช้ากว่าพนักงานราชการเป็นปกติ เช่นปีนี้ถึงวันนี้ (
12 พ.ย.60 ) ข้าราชการแต่ละคนยังไม่รู้เลยว่าคำสั่งเลื่อนเงินเดือนจะออกเมื่อไร จะได้เลื่อนเงินเดือนเท่าไร จะได้ตกเบิกย้อนหลังเมื่อไร แต่ก็ยังไม่มีใครถามเพราะช้าอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ควรจะคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง

         2. ก.ค.ศ.กำหนดจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ของข้าราชการครู กศน.

             https://www.dropbox.com/s/drne27s7gc3jyk9/hourTeacherNFE.pdf?dl=1

         3. คืนวันที่ 13 พ.ย.60 มีบุคคลจาก กศน.อ.กร..... จ.สม..... ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า
             1)  ผอ.กศนอำเภอมีอำนาจย้ายครูกศนตำบลไปทำงานกศนจังหวัดได้มั้ย ในกรณีหาว่ากระดางกระเดื่อง
             2)  หัวหน้ากศนตำบลโดนผอให้ลดชั่นจากหัวหน้ามาเป็นทำงานสำนักงานกศนอำเภอเป็นหลัก ช่วยงานพัสดุและสารบัญ แล้วให้คนอื่นมาทำแทนตำแหน่งคนนั้นได้มั้ย

             ผมตอบว่า  ประเด็นเหล่านี้ผมตอบบ่อยแล้ว เสิร์ชหาอ่านรายละเอียดดูนะ เช่นใน
             - ข้อ 5 ที่  https://www.gotoknow.org/posts/517220
             - ข้อ 4 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2014/01/n-net.html
             - ข้อ 6 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2014/04/60.html
             ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลกับตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบลนี้ เป็นคนละเรื่องกัน โดยตำแหน่งครู กศน.ตำบล เป็นพนักงานราชการตำแหน่งหนึ่ง ส่วนหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นหัวหน้าทีมบุคลากรที่ดำเนินงาน กศน.ตำบล ซึ่งมีตำบลละ 1 คน
             หัวหน้า กศน.ตำบล ไม่จำเป็นต้องเป็นครู กศน.ตำบล เช่นในภาคกลาง ( ยกเว้น กทม.) ภาคตะวันออก ภาคใต้ ยังมีจำนวนครู กศน.ตำบล น้อยกว่าจำนวนตำบล จึงมีหลายตำบลที่ต้องแต่งตั้งบุคลากรอื่นเช่นครูอาสาฯเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล
             ผู้แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล คือ ผอ.กศน.จังหวัด ถ้า ผอ.กศน.อำเภอต้องการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสนอให้จังหวัดออกคำสั่งเปลี่ยนแปลง

             ส่วนการเปลี่ยนพื้นที่ครู กศน.ตำบล ( พนักงานราชการ ) นั้น ส่วนกลางมอบให้จังหวัดเปลี่ยนพื้นที่ตามคำร้องขอ/ความจำนงของพนักงานราชการ ได้เฉพาะตอนเปลี่ยนสัญญาจ้าง
             โดยถ้าเป็นตำแหน่งครู กศน.ตำบล เลขที่ตำแหน่งจะระบุพื้นที่ถึงระดับตำบล ฉะนั้นการเปลี่ยนตำบลก็เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ จังหวัดเปลี่ยนได้เฉพาะตอนต่อสัญญาและต้องเป็นไปตามคำร้องขอ/ความจำนงของพนักงานราชการ
             การเปลี่ยนพื้นที่นี้ต้องเปลี่ยนไปยังที่ ๆ มีเลขอัตราว่างในตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งที่จังหวัดไม่มีอัตราตำแหน่งครู กศน.ตำบล เพราะไม่ใช่สถานศึกษา อำเภอและจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานราชการไปช่วยราชการที่อื่น ถ้าพนักงานราชการทำความผิดก็ต้องดำเนินการพิจารณาและลงโทษไปตามขั้นตอน/หลักเกณฑ์ ซึ่งไม่มีขั้นตอน/หลักเกณฑ์ให้ส่งไปช่วยราชการที่อื่น

         4. ดึกวันที่ 13 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อว่างลงแล้ว สำนักงาน กศน.จังหวัดสามารถขอเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปที่ กจ. เพื่อเรียกมาบรรจุที่สำนักงาน กศน.จังหวัด ได้เหรอ

             ผมตอบว่า   การขอเปลี่ยนตำแหน่ง และ/หรือ เปลี่ยนพื้นที่ ของตำแหน่งว่าง ให้จังหวัดกับอำเภอหารือกัน แล้วเสนอเหตุผลความจำเป็นให้ส่วนกลางพิจารณาอนุมัติ

             5. วันที่ 14 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  เคื่องแบบที่ขายในเพจต่างๆ (ตามภาพ) ออกมาจากกรมไหม ถูกระเบียบไหม มีในระเบียบกศน.ไหม อยากทราบข้อเท็จจริง

             ผมตอบว่า   เครื่องแบบนักศึกษาใช่ไหม ส่วนกลางไม่ได้กำหนดบังคับเรื่องเครื่องแบบนักศึกษา กศน. โดย นศ.จะใช้แบบที่เอกชนเขาทำขายกันเองก็ได้ แต่จะบังคับหรือกำหนดให้ นศ.ซื้อไม่ได้ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
              ( ดูรายละเอียดในคำตอบเดิม เช่นในข้อ 3 ที่  http://nfeph.blogspot.com/2017/05/prgaccout.html )

             ผู้ถาม ถามต่อ ว่า  เอกชนเอาตราสัญลักษณ์กศน.มาใช้ในการพาณิชย์ได้เหรอ
             ผมตอบว่า  เครื่องแบบข้าราชการสังกัดต่าง ๆ เอกชนเขาก็ทำขายกันนะ เช่นตราเสมาธรรมจักร
             ตรา "เพื่อนเรียนรู้" นี้ ไม่ใช่ตราหน่วยงาน กศน. ตรานี้เราอาจไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ แต่ถ้าเราจะฟ้องจริง ๆ ก็คงจะฟ้องได้ และคงชนะ ( ไม่ 100 % ) แต่จะคุ้มไหม
              ( ไม่ได้ทำให้เราเสียหาย ไม่ได้ทำขายแข่งกับเรา ไม่ได้ทำให้เราขายได้น้อยลง เพราะเราไม่ได้ทำขาย )






         6. วันที่ 15 พ.ย.60 มีผู้ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ในกรณีพนก.ยังทำงานไม่ครบ6 เดือนแล้วป่วยเข้ารพ.จะต้องทำยังงัยในเมื่องานบุคลากร กศน.อำเภอบ้านโพธิ์บอกว่าทำงานไม่ครบ 6 เดือนไม่มีสิทธิ์ลาป่วย

             ผมตอบว่า   ถ้า พนก.ของคุณ ย่อมาจากพนักงานราชการ ผมโพสต์ระเบียบการลาของพนักงานราชการประมาณ 10 ครั้งแล้ว ดูระเบียบฉบับเต็มกับฉบับปรับปรุงเฉพาะเรื่องการลาพักผ่อนได้ที่
             -
https://www.dropbox.com/s/45lvflyejrgfqp0/benefit54.pdf?dl=1
             -
https://www.dropbox.com/s/rpz0d2zxfjw532l/PRGrelaxP.pdf?dl=1
             การลาพักผ่อน  ปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
             การลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์  ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 ปีแล้วจึงจะมีสิทธิลา
             ส่วนการลาอื่น ๆ เช่นลาป่วย ลากิจ  มีสิทธิยื่นขอลาตั้งแต่วันแรกที่บรรจุ

         7. คืนวันเดียวกัน ( 15 พ.ย.) นันทินี แก้วใส ถามผมในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ว่า  ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนถ้าตำแหน่งว่างลง สามารถสอบทดแทนตำแหน่งที่ว่างได้ไหม เจ้านายตอบว่าครูอาสาโดนทำหมัน

             ผมตอบว่า   ผมโพสต์เรื่องนี้บ่อยแล้ว เช่นใน
             - ข้อ 2 ที่  
http://nfeph.blogspot.com/2014/05/70.html
             - ข้อ 5 ที่  
http://nfeph.blogspot.com/2014/11/2.html
             คือ  สอบ/เรียกบรรจุครูอาสาฯคนใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องแจ้งส่วนกลาง
             เพียงแต่ บทบาทหน้าที่ที่ถูกต้อง ตามที่ตกลงไว้กับ กพร.นั้น ครูอาสาฯต้องสอนเป็นหลัก ถ้าไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ เช่นจะสอนเป็นรอง ก็ควรเสนอขอเปลี่ยนตำแหน่งว่างเป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่ง "ครู"
             ( ถ้าไม่สนใจกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์ จะเป็นสิ่งที่ผิดมากสำหรับหน่วยงานราชการและผู้จัดการศึกษา คล้ายกับหมอเมาแล้วขับเสียเอง จะสอนคนอื่นแบบไหน )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย